พบผลลัพธ์ทั้งหมด 58 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 464/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิภาระจำยอมโดยการครอบครองปรปักษ์: การใช้ทางต่อเนื่องยาวนานโดยสงบ เปิดเผย และเจตนาที่จะได้สิทธิ
โจทก์ที่ 1 ใช้ทางพิพาทเป็นทางเข้าออกสู่ทางสาธารณประโยชน์โดยใช้ทางตั้งแต่ที่ดินของโจทก์ที่ 1 เป็นกรรมสิทธิ์ของ ม. และ ก. จนกระทั่งต่อมาที่ดินตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ที่ 1 เป็นการใช้ทางพิพาทสืบเนื่องต่อกันมาด้วยความสงบโดยเปิดเผย โดยเจตนาใช้ทางพิพาทเป็นทางเข้าออกเกินกว่า 10 ปี เมื่อคดีไม่ได้ความว่าเคยมีการขออนุญาตหรือมีการให้ค่าตอบแทนแก่จำเลยทั้งหกเพื่อใช้ทางพิพาทเป็นทางเข้าออก ทั้งพฤติการณ์ไม่อาจถือได้ว่าโจทก์ที่ 1 ใช้ทางพิพาทโดยการถือวิสาสะ แสดงว่ามีการใช้ทางพิพาทอย่างประสงค์จะให้ได้สิทธิทางภาระจำยอมโดยมิได้อาศัยสิทธิของผู้ใด จึงนับได้ว่ามีลักษณะเป็นการใช้สิทธิที่เป็นปรปักษ์ต่อจำเลยทั้งหกผู้เป็นเจ้าของทางพิพาท โจทก์ที่ 1 ย่อมได้สิทธิในทางพิพาทเป็นทางภาระจำยอมโดยอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 1401 ประกอบด้วยมาตรา 1382
การรื้อถอนลวดหนามออกจากทางพิพาทนั้น หากจำเลยทั้งหกไม่ปฏิบัติตามคำบังคับของศาล โจทก์ที่ 1 อาจยื่นคำร้องต่อศาลขอให้ตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีจัดการตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 ทวิ ได้อยู่แล้ว โจทก์ที่ 1 จะเป็นผู้รื้อถอนเองโดยให้จำเลยทั้งหกเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายหาได้ไม่
การรื้อถอนลวดหนามออกจากทางพิพาทนั้น หากจำเลยทั้งหกไม่ปฏิบัติตามคำบังคับของศาล โจทก์ที่ 1 อาจยื่นคำร้องต่อศาลขอให้ตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีจัดการตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 ทวิ ได้อยู่แล้ว โจทก์ที่ 1 จะเป็นผู้รื้อถอนเองโดยให้จำเลยทั้งหกเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1768/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทางจำเป็น: คลองสาธารณะแม้ไม่ใช้งานบ่อย ยังคงเป็นทางสาธารณะได้
แม้คลองมหาชัยจะมีเขื่อนกั้นอยู่บริเวณปากคลอง แต่มิได้ปิดกั้นตลอดเวลา เป็นการปิดกั้นเพื่อป้องกันน้ำทะเลหนุน คลองมหาชัยยังเป็นคลองที่ประชาชนใช้ในการสัญจรไปมาอยู่ในปัจจุบัน จึงเป็นทางสาธารณะตามความหมายของ ป.พ.พ. มาตรา 1349 การที่ปัจจุบันประชาชนส่วนใหญ่มิได้ใช้เป็นทางสัญจรทางน้ำ เนื่องจากไม่สะดวกเท่าการสัญจรทางบก หาได้ทำให้คลองมหาชัยสิ้นสภาพการเป็นทางสาธารณะไปไม่ เมื่อที่ดินของโจทก์ทั้งสองอยู่ติดคลองมหาชัย ซึ่งเป็นทางสาธารณะอยู่แล้ว โจทก์ทั้งสองจึงไม่มีสิทธิเรียกให้จำเลยเปิดทางพิพาทเป็นทางจำเป็นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3748/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิภารจำยอม: การขัดขวางการใช้ทางภารจำยอมถือเป็นการลดทอนประโยชน์ตามกฎหมาย
โจทก์เป็นเจ้าของที่ดินซึ่งเป็นสามยทรัพย์ โจทก์ย่อมมีสิทธิใช้ทางภารจำยอมซึ่งกว้าง 4 เมตร เข้าออกสู่ถนนสาธารณะตรงจุดใด บริเวณใดในเวลาใดก็ได้ การที่จำเลยนำเสาไม้มาปักย่อมทำให้ทางแคบลง การเทปูนซีเมนต์เพื่อทำให้ทางลาดชันย่อมทำให้การสัญจรผ่านไปมาไม่สะดวก การทำประตูเหล็กปิดกั้นรถยนต์ที่จะผ่านเข้าออก แม้จำเลยจะอ้างว่าเพื่อตรวจสอบบุคคลที่ไม่มีสิทธิใช้ทางภารจำยอมมาใช้ทางก็เป็นเรื่องระหว่างจำเลยกับบุคคลภายนอก แต่โจทก์เข้าออกได้ไม่สะดวกเพราะโจทก์จะต้องคอยขออนุญาตจำเลยเปิดประตู ไม่สามารถใช้ประโยชน์จากทางภารจำยอมได้เต็มตามสิทธิ ถือได้ว่าจำเลยกระทำการอันเป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งภารจำยอมลดไปหรือเสื่อมความสะดวก ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1390 จำเลยไม่มีสิทธิที่จะทำเช่นนั้น
จำเลยนำอิฐและหินมาทิ้งไว้ในลักษณะนำมากองปล่อยทิ้งไว้ไม่ได้บดอัดให้แน่นเพื่อมิให้โจทก์ใช้ทางภารจำยอมได้โดยสะดวก เป็นการต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1390
จำเลยนำอิฐและหินมาทิ้งไว้ในลักษณะนำมากองปล่อยทิ้งไว้ไม่ได้บดอัดให้แน่นเพื่อมิให้โจทก์ใช้ทางภารจำยอมได้โดยสะดวก เป็นการต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1390
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8727/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาระจำยอมต้องเพื่อประโยชน์แก่ทรัพย์สินอื่น การใช้เพื่อประโยชน์ส่วนตัวไม่ก่อให้เกิดภาระจำยอม
ภาระจำยอมเป็นทรัพยสิทธิที่กฎหมายก่อตั้งขึ้นเพื่อประโยชน์แก่อสังหาริมทรัพย์อื่นอันเรียกว่า สามยทรัพย์ จำเลยเป็นเจ้าของอาคารตึกแถวซึ่งปลูกอยู่ในที่ดินที่อยู่ติดทางพิพาท และจำเลยใช้ทางพิพาทวางสินค้าเพื่อจำหน่ายใน กิจการค้าของจำเลย เป็นการใช้ทางพิพาทเพื่อประโยชน์ส่วนตัวของจำเลยโดยเฉพาะมิได้เกี่ยวกับประโยชน์ของอสังหาริมทรัพย์ที่จำเลยเป็นเจ้าของ ภาระจำยอมจึงไม่อาจเกิดมีขึ้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3551/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาระจำยอม: ขอบเขตการใช้ทาง, การเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิต, และการดูแลรักษาทาง
จำเลยทั้งสองเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ทางภาระจำยอม ส่วนบริษัท ท. เป็นนิติบุคคลมีจำเลยที่ 1 อยู่ในฐานะเป็น ผู้แทนของบริษัท การที่จำเลยทั้งสองยอมให้รถยนต์ของบริษัทและรถยนต์ของผู้มาติดต่อธุรกิจกับบริษัทจอดในทางภาระจำยอมนั้นในลักษณะปิดกั้น หรือกีดขวางการใช้ทางดังกล่าวเข้าออก ทำให้เกิดความไม่สะดวกในการใช้ทาง ภาระจำยอม ย่อมเป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งภาระจำยอมลดไปหรือเสื่อมความสะดวก ตาม ป.พ.พ. ม. 1390 โจทก์มีสิทธิ ห้ามจำเลยทั้งสองประกอบกรรมดังกล่าวได้
แม้คำขอจดทะเบียนทางภาระจำยอมจะระบุให้ใช้เป็นทางเดิน แต่เมื่อวิถีชีวิตของผู้คนเปลี่ยนแปลงไปมีการสัญจรตามถนนและตรอกซอกซอยด้วยรถยนต์เป็นปกติธรรมดาเช่นเดียวกับทางเท้า อีกทั้งจำเลยทั้งสองก็ใช้รถยนต์ในทางภาระจำยอมเช่นกัน ฉะนั้นการที่โจทก์ผู้เป็นเจ้าของที่ดินสามยทรัพย์ใช้รถยนต์ผ่านทางภาระจำยอมซึ่งเดิมเคยใช้เป็นทางเท้า ย่อมเป็นการใช้ทางภาระจำยอมสัญจรตามปกติ ไม่เป็นการทำให้เกิดการเพิ่มขึ้นแก่ภารยทรัพย์ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1388 และโจทก์ก็ย่อมมีสิทธิใช้รถยนต์เข้าออกทางภาระจำยอมตามความจำเป็นเพื่อประโยชน์ของเจ้าของสามยทรัพย์นั้น มิได้ขึ้นอยู่กับจำนวนรถยนต์ที่ใช้ว่ามีจำนวนมากหรือน้อย เหตุนี้การใช้รถยนต์เข้าออกเป็นจำนวน 200 คัน ผ่านทางภาระจำยอม หากโจทก์ผู้เป็นเจ้าของสามยทรัพย์ยังดูแลรักษาทางภาระจำยอมมิให้เกิดความเสียหาย ก็ถือได้ว่าโจทก์มิได้ทำให้เกิดการเพิ่มขึ้นแก่ทางภาระจำยอมนั้น ส่วนเสาไฟฟ้าที่จำเลยทั้งสองขอให้รื้อถอนเป็นเสาไฟฟ้าถาวร ที่โจทก์ขอให้การไฟฟ้านครหลวงดำเนินการเพิ่มแทนเสาไฟฟ้าเดิม ซึ่งเป็นไปตามความเปลี่ยนแปลงและความเจริญของบ้านเมือง หาได้ทำให้เกิดภาระเพิ่มขึ้นแก่ภารยทรัพย์ไม่ โจทก์จึงมีสิทธิปักเสาไฟฟ้าทั้งสองต้นนั้นได้
แม้คำขอจดทะเบียนทางภาระจำยอมจะระบุให้ใช้เป็นทางเดิน แต่เมื่อวิถีชีวิตของผู้คนเปลี่ยนแปลงไปมีการสัญจรตามถนนและตรอกซอกซอยด้วยรถยนต์เป็นปกติธรรมดาเช่นเดียวกับทางเท้า อีกทั้งจำเลยทั้งสองก็ใช้รถยนต์ในทางภาระจำยอมเช่นกัน ฉะนั้นการที่โจทก์ผู้เป็นเจ้าของที่ดินสามยทรัพย์ใช้รถยนต์ผ่านทางภาระจำยอมซึ่งเดิมเคยใช้เป็นทางเท้า ย่อมเป็นการใช้ทางภาระจำยอมสัญจรตามปกติ ไม่เป็นการทำให้เกิดการเพิ่มขึ้นแก่ภารยทรัพย์ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1388 และโจทก์ก็ย่อมมีสิทธิใช้รถยนต์เข้าออกทางภาระจำยอมตามความจำเป็นเพื่อประโยชน์ของเจ้าของสามยทรัพย์นั้น มิได้ขึ้นอยู่กับจำนวนรถยนต์ที่ใช้ว่ามีจำนวนมากหรือน้อย เหตุนี้การใช้รถยนต์เข้าออกเป็นจำนวน 200 คัน ผ่านทางภาระจำยอม หากโจทก์ผู้เป็นเจ้าของสามยทรัพย์ยังดูแลรักษาทางภาระจำยอมมิให้เกิดความเสียหาย ก็ถือได้ว่าโจทก์มิได้ทำให้เกิดการเพิ่มขึ้นแก่ทางภาระจำยอมนั้น ส่วนเสาไฟฟ้าที่จำเลยทั้งสองขอให้รื้อถอนเป็นเสาไฟฟ้าถาวร ที่โจทก์ขอให้การไฟฟ้านครหลวงดำเนินการเพิ่มแทนเสาไฟฟ้าเดิม ซึ่งเป็นไปตามความเปลี่ยนแปลงและความเจริญของบ้านเมือง หาได้ทำให้เกิดภาระเพิ่มขึ้นแก่ภารยทรัพย์ไม่ โจทก์จึงมีสิทธิปักเสาไฟฟ้าทั้งสองต้นนั้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4221/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้จัดการมรดกมีอำนาจฟ้องภารจำยอมได้ และสิทธิภารจำยอมเกิดขึ้นได้จากการใช้ทางต่อเนื่อง
ผู้จัดการมรดกมีอำนาจทำการแทนทายาทเกี่ยวกับทรัพย์มรดกได้การฟ้องคดีนี้ก็เพื่อปลดเปลื้องการรบกวนและเป็นการทำการอันจำเป็นเพื่อรักษาไว้ซึ่งภารจำยอมแทนทายาทผู้เป็นเจ้าของสามยทรัพย์ ถือได้ว่าเป็นการทำการอันจำเป็นเพื่อจัดการมรดกโดยทั่วไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1719 ส. กับโจทก์ใช้ทางบนที่ดินที่พิพาทมาโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของติดต่อกันเป็นเวลา 10 ปีแล้ว ทางพิพาทจึงตกเป็นทางภารจำยอม จำเลยเพิ่งซื้อที่ดินพิพาทมาภายหลังจาก ส.กับโจทก์ได้ภารจำยอมไปแล้ว แม้ ส. กับโจทก์จะยังไม่ได้จดทะเบียนภารจำยอมหรือ(จำเลย)รับโอนภารยทรัพย์มาโดยสุจริตหรือไม่ก็ตาม จำเลยก็ไม่อาจต่อสู้กับสิทธิภารจำยอมของ ส. กับโจทก์ได้ โจทก์บรรยายฟ้องชัดแจ้งว่า ขอให้ทางพิพาทตกเป็นทางภารจำยอมแก่ที่ดินโฉนดเลขที่ 11835 ของ ส. ด้วย แม้ในคำขอท้ายฟ้องไม่ได้ระบุที่ดินโฉนดเลขที่ดังกล่าว แต่ก็ได้ระบุเลขที่ดินของ ส. ไว้แล้ว ถือได้ว่าโจทก์มีคำขอบังคับให้ทางพิพาทตกเป็นภารจำยอมแก่ที่ดินโฉนดเลขที่ 11835 ของ ส. แล้ว ศาลอุทธรณ์ภาค 2 วินิจฉัยว่า ทางพิพาทตกเป็นภารจำยอมแก่ที่ดินของ ส.กับโจทก์ แต่ในคำพิพากษามิได้ระบุที่ดินโฉนดเลขที่ 11835 ด้วย ย่อม ทำให้คำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ภาค 2 ในส่วนที่ดินโฉนด เลขที่ 11835 ดังกล่าวนั้นไร้ผล ถือว่าเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย ของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้เสียให้ถูกต้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1981/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิของเจ้าของกรรมสิทธิ์รวม การใช้ทางร่วม และการขัดขวางสิทธิของเจ้าของรวมคนอื่น
โจทก์ทั้งสาม จำเลยและบุคคลอื่นเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพิพาท เมื่อไม่ปรากฏว่าเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินดังกล่าวได้มีการแบ่งแยกกันครอบครองเป็นส่วนสัด แม้โจทก์ทั้งสามจะใช้ทางพิพาทมานานเพียงใด ก็เป็นเพียงการใช้สิทธิของเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมเท่านั้น ไม่ก่อให้เกิดสิทธิภาระจำยอมในทางพิพาทแต่อย่างใด
จำเลยเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมคนหนึ่ง จึงมีสิทธิที่จะใช้ทางพิพาทได้ แต่การใช้นั้นต้องไม่ขัดต่อสิทธิแห่ง เจ้าของรวมคนอื่น ๆ การที่จำเลยปิดกั้นทางเดินพิพาทย่อมเห็นได้ว่าเป็นการขัดต่อสิทธิของโจทก์ทั้งสามซึ่งเป็น เจ้าของรวมด้วย
การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 วินิจฉัยว่ากรณีเป็นเรื่องการใช้สิทธิของเจ้าของกรรมสิทธิ์รวม แม้โจทก์ทั้งสามจะตั้งรูปเรื่องฟ้องคดีมาโดยอ้างว่าเป็นทางภาระจำยอม แต่เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าเป็นกรณีพิพาทระหว่างเจ้าของรวม ศาลมีอำนาจที่จะยกบทกฎหมายที่ถูกต้องขึ้นปรับได้ ที่ศาลชั้นต้นให้จำเลยรื้อถอนประตูไม้สังกะสีออกไปจากทางพิพาทนั้น ศาลอุทธรณ์ภาค 2 เห็นด้วยในผล พิพากษายืน โดยที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ทางพิพาทเป็นทางภาระจำยอม การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษายืน คำพิพากษาจึงมีผลไม่ตรงกับการวินิจฉัย ถือว่าคำวินิจฉัยและคำพิพากษาขัดกัน เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้เสียให้ถูกต้องได้
จำเลยเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมคนหนึ่ง จึงมีสิทธิที่จะใช้ทางพิพาทได้ แต่การใช้นั้นต้องไม่ขัดต่อสิทธิแห่ง เจ้าของรวมคนอื่น ๆ การที่จำเลยปิดกั้นทางเดินพิพาทย่อมเห็นได้ว่าเป็นการขัดต่อสิทธิของโจทก์ทั้งสามซึ่งเป็น เจ้าของรวมด้วย
การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 วินิจฉัยว่ากรณีเป็นเรื่องการใช้สิทธิของเจ้าของกรรมสิทธิ์รวม แม้โจทก์ทั้งสามจะตั้งรูปเรื่องฟ้องคดีมาโดยอ้างว่าเป็นทางภาระจำยอม แต่เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าเป็นกรณีพิพาทระหว่างเจ้าของรวม ศาลมีอำนาจที่จะยกบทกฎหมายที่ถูกต้องขึ้นปรับได้ ที่ศาลชั้นต้นให้จำเลยรื้อถอนประตูไม้สังกะสีออกไปจากทางพิพาทนั้น ศาลอุทธรณ์ภาค 2 เห็นด้วยในผล พิพากษายืน โดยที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ทางพิพาทเป็นทางภาระจำยอม การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษายืน คำพิพากษาจึงมีผลไม่ตรงกับการวินิจฉัย ถือว่าคำวินิจฉัยและคำพิพากษาขัดกัน เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้เสียให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7477/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภารจำยอมและการบุกรุก: เจ้าของที่ดินจัดสรรต้องยอมรับการใช้ทางของผู้อื่น แม้มีการเช่าพื้นที่
โจทก์ประกอบธุรกิจจัดสรรที่ดิน บริเวณที่ดินที่เกิดเหตุของโจทก์มีสภาพเป็นถนนและเป็นสาธารณูปโภคที่โจทก์จัดให้มีขึ้น ซึ่งเป็นภารจำยอมเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินจัดสรร ดังนั้น แม้โจทก์เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดิน โจทก์ก็จำต้องยอมรับกรรมบางอย่างซึ่งกระทบถึงทรัพย์สินของตนหรือต้องงดเว้นการใช้สิทธิบางอย่างอันมีอยู่ในกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1387 เมื่อจำเลยผ่านเข้าไปในถนนซึ่งเป็นที่ดินของโจทก์ หรือใช้ให้ผู้ใดผ่านถนนไปมาย่อมไม่เป็นการรบกวนการครอบครองอสังหาริมทรัพย์ของโจทก์โดยปกติสุข แม้ว่าโจทก์จะได้นำที่ดินส่วนที่เป็นถนนนั้นไปให้ผู้อื่นเช่าตั้งเต็นท์ก็ตาม การกระทำของจำเลยก็ไม่เป็นความผิดฐานบุกรุก โจทก์เพียงแต่เป็นเจ้าของที่ดินที่รถยนต์และเต็นท์ตั้งอยู่ในขณะเกิดเหตุเท่านั้น มิได้เป็นเจ้าของหรือผู้ครอบครองดูแลรักษาและรับผิดชอบในทรัพย์ดังกล่าวด้วยโจทก์จึงไม่เป็นผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 2(4)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 446/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภารจำยอมโดยอายุความและการย้ายทางภารจำยอม การได้มาซึ่งภารจำยอมโดยการใช้ทางต่อเนื่อง และผลของการย้ายทางภารจำยอม
เดิม ค. สามีโจทก์ที่ 1 และโจทก์ทั้งสองได้ใช้ทางเดินบนที่ดินของ พ. ทางด้านทิศตะวันออกสู่ทางสาธารณะโดยสงบและเปิดเผยติดต่อกันเกินกว่า 10 ปี ที่ดินของ พ.ดังกล่าวจึงตกเป็นภารจำยอมแก่ที่ดินของ ค. ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1401 ประกอบกับมาตรา 1382ต่อมา พ.ขอให้ค. ย้ายทางภารจำยอมเดิมมายังทางพิพาทเพื่อประโยชน์ของ พ. ซึ่งประสงค์จัดสรรที่ดินขายทางพิพาทจึงตกเป็นภารจำยอมแทนทางเดิม ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1392 เมื่อโจทก์ได้รับโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินสามยทรัพย์มาจาก ค. และโจทก์ที่ 2ได้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินสามยทรัพย์มาจากโจทก์ที่ 1โจทก์ทั้งสองจึงมีสิทธิฟ้องบังคับให้จำเลยทั้งสองซึ่งเป็นผู้รับโอนที่ดินจาก พ. ซึ่งมีทางพิพาทอันเป็นภารยทรัพย์ให้เปิดทางพิพาทและจดทะเบียนภารจำยอมให้แก่ที่ดินของโจทก์ทั้งสองได้ เพราะการจดทะเบียนภารจำยอมนั้นถือว่าเป็นการอันจำเป็นเพื่อรักษาและใช้ภารจำยอมประการหนึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1391 วรรคแรก โจทก์ทั้งสองใช้ทางเดินในที่ดินของ พ. โดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาให้เป็นทางภารจำยอมมิใช่ถือวิสาสะจนได้ภารจำยอมโดยอายุความแล้ว แม้โจทก์ที่ 1 จะทราบหรือไม่ทราบระหว่างโจทก์ที่ 1 หรือ ค. เจ้าของที่ดินเดิมที่โจทก์ที่ 1 รับโอนที่ดินมา ผู้ใดเป็นผู้ได้สิทธิภารจำยอมตามกฎหมาย ก็ไม่ใช่สาระสำคัญ เหตุที่ พ.ขอให้ค. ย้ายทางภารจำยอมนั้นเนื่องจากพ. จะนำที่ดินแปลงที่เป็นภารยทรัพย์มาจัดสรรขาย ดังนั้นการย้ายทางภารจำยอมไปใช้ทางพิพาทจึงเป็นไปเพื่อประโยชน์แก่ พ. การย้ายทางภารจำยอมดังกล่าวไม่มีกฎหมายบังคับให้ต้องทำเป็นหนังสือ หรือมีหลักฐานเป็นหนังสือ และการที่ค. เจ้าของที่ดินแปลงที่เป็นสามยทรัพย์ตกลงจ่ายเงินจำนวนหนึ่งให้แก่ พ.ก็เป็นค่าตอบแทนในส่วนที่ค.จะได้ใช้ทางพิพาทกว้างขึ้นจากเดิมนั้น คู่กรณีย่อมสามารถตกลงกันด้วยความสมัครใจได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1392 โจทก์ทั้งสองจึงสามารถสืบพยานบุคคลถึงข้อตกลงดังกล่าวเพื่ออธิบายประกอบให้เห็นถึงเจตนารมณ์ของคู่กรณีได้ โจทก์ทั้งสองได้ใช้ทางพิพาทจนได้สิทธิภารจำยอมในที่ดินของจำเลยโดยอายุความ และโจทก์ฟ้องโดยอาศัยสิทธิที่ได้ภารจำยอมในทางพิพาทโดยอายุความ มิใช่ฟ้องโดยอาศัยสิทธิตามสัญญาประนีประนอมยอมความระหว่าง ค. กับโจทก์แม้ว่า ค. จะผิดสัญญาการชำระเงินหรือไม่ก็ตาม ก็หาทำให้สิทธิภารจำยอมในทางพิพาทของโจทก์ทั้งสองที่มีอยู่สิ้นไปไม่ การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า ทางพิพาทตกเป็นภารจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์ทั้งสองทุกแปลง ตามรายละเอียดในแผนที่เอกสารหมาย จ.1 ที่โจทก์อ้างส่ง แต่ในคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ระบุเลขโฉนดที่ดินของโจทก์ที่ 1 ไม่ครบทุกแปลงโดยไม่ระบุที่ดินตามฟ้องของโจทก์ที่ 1 ด้วย ย่อมทำให้คำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ในส่วนที่ดินของโจทก์ที่ 1 แปลงดังกล่าวนั้นไร้ผล เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2527/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการใช้ทางและการละเมิดสิทธิในที่ดิน การติดตั้งประตูและการใช้ทางส่วนบุคคล
จำเลยที่ 2 เป็นภริยาของจำเลยที่ 3 จำเลยที่ 2 และที่ 3เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในตึกแถวเลขที่ 20, 22 และ 24 โดยใช้เป็นที่ตั้งสำนักงานใหญ่ของบริษัทจำเลยที่ 1 ซึ่งด้านหน้าติดถนนซอยเจริญนคร 33 ส่วนด้านหลังติดถนนซอยเจริญนคร 35 ที่ดินโฉนดเลขที่ 2021 และโฉนดเลขที่ 2022 อยู่ติดต่อกันและเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ โจทก์ใช้ที่ดินทั้งสองแปลงดังกล่าวทำเป็นถนนซอยเจริญนคร 35ที่พิพาท และทางทิศตะวันตกของที่ดินทั้งสองแปลงดังกล่าวติดต่อกับที่ดินโฉนดเลขที่ 783ซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 3 การที่จำเลยที่ 3 ผู้เจาะกำแพงซึ่งใช้เป็นผนังด้านหลังของตึกแถวเลขที่ 20 แล้วทำเป็นประตูพิพาทซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 3แม้ประตูพิพาทเวลาปิดเปิดใช้วิธีเปิดเข้าหาตัวบ้านซึ่งไม่รุกล้ำออกไปในถนนซอยเจริญนคร 35 ของโจทก์ก็ตาม แต่เมื่อจำเลยที่ 2 และที่ 3 ในฐานะเจ้าของตึกแถวเลขที่ 20 ไม่มีสิทธิใช้ถนนซอยเจริญนคร 35 ดังนั้นการผ่านประตูพิพาทเพื่อใช้ถนนพิพาทของจำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงเป็นการละเมิดต่อโจทก์
เมื่อศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า การที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ในฐานะเจ้าของตึกแถวเลขที่ 20 ใช้ถนนซอยเจริญนคร 35 โดยใช้เดินออกจากบ้านเลขที่ 4ซึ่งปลูกอยู่บนที่ดินโฉนดเลขที่ 783 ไปยังตึกแถวเลขที่ 20 โดยผ่านทางประตูพิพาทนั้นเป็นการละเมิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงชอบที่จะฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในปัญหาดังกล่าวได้ จะเพียงแต่กล่าวอ้างมาในคำแก้ฎีกาว่าไม่เป็นการละเมิดหาได้ไม่
ตามคำฟ้องของโจทก์เป็นเรื่องที่โจทก์ขอให้บังคับจำเลยทั้งสามรื้อประตูด้านหลังตึกแถวเลขที่ 20 ที่จำเลยทำขึ้นในตึกแถวของจำเลย แล้วให้ก่ออิฐฉาบปูนเป็นผนังทึบด้วยค่าใช้จ่ายของจำเลยเอง ซึ่งคำขอดังกล่าวเป็นคำขอประธานส่วนที่โจทก์มีคำขอเรียกค่าเสียหายมาด้วยนั้นเป็นเพียงส่วนประกอบ คดีของโจทก์จึงเป็นคดีฟ้องขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ไม่ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ.มาตรา 248 วรรคสอง
ตึกแถวเลขที่ 20 และกำแพงด้านหลังเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 3 เอง และประตูพิพาทก็ใช้วิธีปิดเปิดโดยเปิดเข้าหาตัวบ้านซึ่งไม่มีการรุกล้ำออกไปดังนั้นจำเลยที่ 3 ชอบที่จะทำประตูพิพาทได้ ไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์แต่ประการใด
ฎีกาโจทก์ที่ว่า การที่จำเลยที่ 3 ทำประตูด้านหลังตึกแถวก็เพื่อจงใจจะใช้ถนนซอยเจริญนคร 35 ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายเดือดร้อนเกินสมควรแก่เหตุ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1337 จำเลยที่ 3 จึงไม่มีสิทธิทำประตูดังกล่าวนั้นเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ทั้งมิใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยตามคำขอท้ายฟ้องรวม 3 ข้อ คือข้อ (1) ให้จำเลยทั้งสามร่วมกันรื้อประตูพิพาทออกและก่ออิฐเป็นผนังทึบ ข้อ (2)ให้จำเลยทั้งสามร่วมกันใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เดือนละ 3,000 บาท นับแต่วันที่ 1เมษายน 2533 จนกว่าจะรื้อและปิดประตูพิพาท และข้อ (3) ให้จำเลยทั้งสามร่วมกันใช้ค่าเสียหาย 100,000 บาท แก่โจทก์ หากจำเลยทั้งสามไม่สามารถรื้อและปิดประตูพิพาทตามคำขอข้อ (1) ได้ ปรากฏว่าศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยแล้วว่าไม่สามารถจะบังคับให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ปฏิบัติตามคำขอข้อ (1) ได้ เพราะตึกแถวและประตูพิพาทเป็นของจำเลยที่ 2 และที่ 3 เอง ซึ่งจำเลยที่ 2 และที่ 3ชอบที่จะทำได้ และศาลอุทธรณ์ก็ไม่ได้พิพากษาให้บังคับจำเลยที่ 2 และที่ 3 ปฏิบัติตามคำขอข้อ (3) ของโจทก์ เพราะคำขอบังคับตามข้อ (2) และข้อ (3) เป็นคำขอต่อเนื่องกัน อาศัยเหตุอย่างเดียวกัน จึงถือได้ว่าศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยในปัญหาข้อดังกล่าวโดยชอบแล้ว
เมื่อศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า การที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ในฐานะเจ้าของตึกแถวเลขที่ 20 ใช้ถนนซอยเจริญนคร 35 โดยใช้เดินออกจากบ้านเลขที่ 4ซึ่งปลูกอยู่บนที่ดินโฉนดเลขที่ 783 ไปยังตึกแถวเลขที่ 20 โดยผ่านทางประตูพิพาทนั้นเป็นการละเมิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงชอบที่จะฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในปัญหาดังกล่าวได้ จะเพียงแต่กล่าวอ้างมาในคำแก้ฎีกาว่าไม่เป็นการละเมิดหาได้ไม่
ตามคำฟ้องของโจทก์เป็นเรื่องที่โจทก์ขอให้บังคับจำเลยทั้งสามรื้อประตูด้านหลังตึกแถวเลขที่ 20 ที่จำเลยทำขึ้นในตึกแถวของจำเลย แล้วให้ก่ออิฐฉาบปูนเป็นผนังทึบด้วยค่าใช้จ่ายของจำเลยเอง ซึ่งคำขอดังกล่าวเป็นคำขอประธานส่วนที่โจทก์มีคำขอเรียกค่าเสียหายมาด้วยนั้นเป็นเพียงส่วนประกอบ คดีของโจทก์จึงเป็นคดีฟ้องขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ไม่ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ.มาตรา 248 วรรคสอง
ตึกแถวเลขที่ 20 และกำแพงด้านหลังเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 3 เอง และประตูพิพาทก็ใช้วิธีปิดเปิดโดยเปิดเข้าหาตัวบ้านซึ่งไม่มีการรุกล้ำออกไปดังนั้นจำเลยที่ 3 ชอบที่จะทำประตูพิพาทได้ ไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์แต่ประการใด
ฎีกาโจทก์ที่ว่า การที่จำเลยที่ 3 ทำประตูด้านหลังตึกแถวก็เพื่อจงใจจะใช้ถนนซอยเจริญนคร 35 ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายเดือดร้อนเกินสมควรแก่เหตุ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1337 จำเลยที่ 3 จึงไม่มีสิทธิทำประตูดังกล่าวนั้นเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ทั้งมิใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยตามคำขอท้ายฟ้องรวม 3 ข้อ คือข้อ (1) ให้จำเลยทั้งสามร่วมกันรื้อประตูพิพาทออกและก่ออิฐเป็นผนังทึบ ข้อ (2)ให้จำเลยทั้งสามร่วมกันใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เดือนละ 3,000 บาท นับแต่วันที่ 1เมษายน 2533 จนกว่าจะรื้อและปิดประตูพิพาท และข้อ (3) ให้จำเลยทั้งสามร่วมกันใช้ค่าเสียหาย 100,000 บาท แก่โจทก์ หากจำเลยทั้งสามไม่สามารถรื้อและปิดประตูพิพาทตามคำขอข้อ (1) ได้ ปรากฏว่าศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยแล้วว่าไม่สามารถจะบังคับให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ปฏิบัติตามคำขอข้อ (1) ได้ เพราะตึกแถวและประตูพิพาทเป็นของจำเลยที่ 2 และที่ 3 เอง ซึ่งจำเลยที่ 2 และที่ 3ชอบที่จะทำได้ และศาลอุทธรณ์ก็ไม่ได้พิพากษาให้บังคับจำเลยที่ 2 และที่ 3 ปฏิบัติตามคำขอข้อ (3) ของโจทก์ เพราะคำขอบังคับตามข้อ (2) และข้อ (3) เป็นคำขอต่อเนื่องกัน อาศัยเหตุอย่างเดียวกัน จึงถือได้ว่าศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยในปัญหาข้อดังกล่าวโดยชอบแล้ว