คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
การให้

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 55 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1190/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายอำพรางการให้ และการรับฟังพยานหลักฐานในคดีแพ่ง
สำเนาคำแถลงและหน้าสำนวนเป็นเอกสารที่ถ่ายจากต้นฉบับในคดีแพ่งของศาลชั้นต้นในคดีก่อน เป็นเอกสารในสำนวนคดีเรื่องอื่นอันต้องด้วยข้อยกเว้นที่จำเลยไม่ต้องส่งสำเนาเอกสารดังกล่าวให้โจทก์ก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่า 7 วัน ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 90 วรรคสาม (1) จึงไม่ต้องห้ามรับฟังเป็นพยานหลักฐานในคดี
จำเลยให้การต่อสู้ว่าโจทก์ขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยแต่ในสารบัญจดทะเบียนระบุว่าเป็นการให้เพราะไม่ต้องการเสียภาษีมาก เท่ากับกล่าวอ้างว่าโจทก์ทำนิติกรรมยกให้อำพรางนิติกรรมซื้อขาย นิติกรรมยกให้จึงตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 118 วรรคหนึ่ง เดิม ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น (มาตรา 155 วรรคหนึ่ง ที่แก้ไขใหม่) และต้องบังคับตามนิติกรรมซื้อขายที่ถูกอำพรางไว้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 118 วรรคสอง เดิม (มาตรา 155 วรรคสอง ที่แก้ไขใหม่) เมื่อสัญญาหรือหนี้ที่ระบุไว้ในเอกสารสารบัญจดทะเบียนตามสำเนาโฉนดที่ดินและตามสำเนาหนังสือสัญญาให้ที่ดินไม่สมบูรณ์ จำเลยจึงนำสืบพยานบุคคลหักล้างพยานเอกสารดังกล่าวได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 วรรคท้าย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5126/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การให้ที่ดินในโอกาสสมรส และสิทธิในการถอนคืนการให้เมื่อจำเลยประพฤติเนรคุณ
แม้ในวันที่จำเลยที่ 1 อ้างตนเองเข้าเบิกความต่อศาล ก. ได้นั่งฟังอยู่ในห้องพิจารณาด้วยอันเป็นการผิดระเบียบ แต่เมื่อคำเบิกความของ ก. มีเหตุผลน่าเชื่อฟัง ศาลย่อมฟังคำเบิกความของ ก. เพื่อประกอบการพิจารณาได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 114 วรรคสอง
การที่จำเลยทั้งสองนำสืบว่าโจทก์จดทะเบียนให้ที่ดินพิพาทแก่จำเลยทั้งสองเนื่องในโอกาสที่จำเลยทั้งสองสมรสกันเพื่อให้ใช้ทำมาหากินเลี้ยงครอบครัวสืบไปนั้นหาใช่เป็นการนำสืบแก้ไขเปลี่ยนแปลงเอกสารหลักฐานการจดทะเบียนที่ระบุว่าเป็นการให้โดยเสน่หาไม่ เพราะเป็นการนำสืบให้เห็นถึงมูลเหตุจูงใจที่โจทก์ให้ที่ดินพิพาทแก่จำเลยทั้งสองว่าเป็นการให้เนื่องในโอกาสใด จำเลยทั้งสองจึงมีสิทธินำสืบได้
โจทก์ให้ที่ดินพิพาทแก่จำเลยทั้งสองในการสมรส ดังนั้น ไม่ว่าจำเลยทั้งสองจะได้ประพฤติเนรคุณโจทก์หรือไม่ก็ตาม โจทก์ก็จะฟ้องขอถอนคืนการให้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 535(4) ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1656/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การให้โดยมีค่าภารติดพัน vs. การให้โดยเสน่หา: สิทธิในการถอนคืนการให้
โจทก์ยกที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 1 ตอบแทนที่จำเลยที่ 1ไถ่ถอนจำนองที่ดินพิพาทให้ เป็นการให้โดยมีค่าภารติดพันแม้หนังสือสัญญาให้ที่ดินระบุว่า เป็นการให้โดยเสน่หาไม่มีค่าตอบแทนจำเลยที่ 1 ก็นำสืบได้ว่าเป็นการให้โดยจำเลยที่ 1 ต้องไปกู้เงินจาก ส. มาไถ่ถอนจำนองที่ดินจาก ฉ. หาใช่เป็นการนำสืบแก้ไขเปลี่ยนแปลงเอกสารไม่ โจทก์ไม่มีสิทธิถอนคืนการให้เพราะเหตุประพฤติเนรคุณ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3600/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนมรดกตามพินัยกรรม: สิทธิฟ้องถอนคืนการให้
โจทก์กับ ช.เจ้ามรดก มีบุตรด้วยกัน 2 คน คือจำเลยและ ล.จำเลยรับโอนที่ดินพิพาทตามพินัยกรรมที่ ช.ทำไว้อันเป็นการได้มาโดยทางมรดกมิใช่รับโอนมาโดยโจทก์ยกให้ โจทก์จึงมิใช่ผู้ให้ที่ดินพิพาทแก่จำเลย โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องเรียกถอนคืนการให้
ปัญหาว่า พินัยกรรมฉบับที่ ช. ทำดังกล่าวมีผลบังคับได้เพียงใดหรือไม่ โจทก์ซึ่งเป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของ ช. ชอบที่จะไปว่ากล่าวกันเป็นคดีใหม่
การที่โจทก์ลงชื่อให้ความยินยอมในพินัยกรรมของ ช.ก็ถือไม่ได้ว่าโจทก์ทำนิติกรรมยกที่ดินพิพาทให้แก่จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6393/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินโดยการครอบครองปรปักษ์ แม้ไม่มีการจดทะเบียนการให้
ซ.ได้ยกที่ดินพิพาทให้แก่ ท.และ อ. พร้อมทั้งมอบโฉนดที่ดินให้ไว้ แต่มิได้จดทะเบียนการให้ ท.และ อ.ได้ครอบครองที่ดินพิพาทโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของติดต่อกันเป็นเวลาเกินกว่า 10 ปี แล้วจึงยื่นคำร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท และในการดำเนินกระบวนพิจารณาไต่สวนของศาล ไม่ปรากฏว่าโจทก์หรือทายาทอื่นของ ซ.ไปแถลงคัดค้านหรือโต้แย้งทั้งมีการประกาศนัดไต่สวนให้ผู้มีส่วนได้เสียทราบทั้งทางหนังสือพิมพ์และที่หน้าศาลและที่ต่าง ๆ อันเป็นการกระทำโดยเปิดเผยต่อสาธารณะชน ย่อมถือว่าทุกคนทราบประกาศดังกล่าวแล้ว นอกจากนี้คดีตามคำร้องขอของ ท.ที่ขอให้ศาลชั้นต้นไต่สวนและมีคำสั่งดังกล่าวเป็นคำร้องขอฝ่ายเดียวที่ไม่มีคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งที่จะต้องส่งหมายเรียกให้แก้คดี การที่ศาลไต่สวนแล้วมีคำสั่งว่าที่ดินพิพาทตกเป็นกรรมสิทธิ์ของท.โดยการครอบครองปรปักษ์ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1382 จึงชอบด้วยกฎหมายและถือได้ว่า ท.ใช้สิทธิโดยสุจริตแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3849/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการใช้กฎหมายอิสลามในคดีครอบครัวและมรดก: การให้ทรัพย์สินระหว่างมีชีวิตอยู่
บทบัญญัติมาตรา 3 แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการใช้กฎหมายอิสลามในเขตจังหวัดปัตตานี นราธิวาส ยะลา และสตูล พ.ศ.2489 นั้น หมายความว่าคดีแพ่งที่เกี่ยวด้วยเรื่องครอบครัวและมรดกตาม ป.พ.พ.ว่าด้วยครอบครัวและมรดกของผู้นับถือศาสนาอิสลามอันเกิดขึ้นในศาลของสี่จังหวัดดังกล่าว ให้ศาลใช้กฎหมายอิสลามว่าด้วยครอบครัวและมรดกบังคับแทน ดังนั้น กรณีที่จะเป็นคดีต้องด้วยพ.ร.บ.ดังกล่าวจึงต้องเป็นคดีมรดกตาม ป.พ.พ.เสียก่อน
คดีนี้เป็นเรื่องเจ้ามรดกยกที่ดินอันเป็นอสังหาริมทรัพย์ให้เป็นสิทธิแก่จำเลยและจำเลยร่วมตั้งแต่เจ้ามรดกยังไม่ถึงแก่ความตาย การยกที่ดินพิพาทให้ดังกล่าวแม้จะทำตามหลักกฎหมายอิสลามที่เรียกว่าพิธีแฮร์เบอะ โดยทำพิธีอย่างถูกต้องที่บ้านโต๊ะอิหม่ามก็ตาม กรณีก็ไม่ใช่เรื่องมรดกเพราะเป็นเรื่องให้ระหว่างมีชีวิตอยู่ บทกฎหมายในเรื่องนี้จึงต้องใช้ ป.พ.พ.บังคับแก่คดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5791/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การให้เพื่อบำเหน็จสินจ้าง: ถอนคืนการให้ไม่ได้เมื่อเป็นการชำระหนี้และไถ่ถอนจำนอง
การที่โจทก์ยกที่ดินเฉพาะส่วนของโจทก์ให้จำเลยเพราะจำเลยได้ชำระหนี้เงินกู้และไถ่ถอนจำนองที่ดินพิพาทจากธนาคารซึ่งเป็นหนี้ที่โจทก์ก่อขึ้นเพื่อประโยชน์ของโจทก์ฝ่ายเดียวนั้น ถือเป็นการให้เพื่อบำเหน็จสินจ้างโดยแท้ โจทก์จึงถอนคืนการให้ไม่ได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 535(1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9347/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาการให้ที่ดินตามบันทึกข้อตกลงมีผลผูกพัน แม้ไม่มีวันเดือนปี และลายมือชื่อผู้ให้ที่ดิน
ช. ได้จดทะเบียนให้โจทก์ซึ่งเป็นหลานและจำเลยซึ่งเป็นบุตรเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพิพาทซึ่งมีเนื้อที่19ไร่26ตารางวาแต่ได้ทำบันทึกแบ่งที่ดินพิพาทให้โจทก์เพียง4ไร่ด้านหน้าติดคลองภาษีเจริญกว้างประมาณ10วาโดยวัดเป็นเส้นตรงขึ้นไปโดยโจทก์จำเลยลงลายมือชื่อเป็นเส้นตรงขึ้นไปโดยโจทก์จำเลยลงลายมือชื่อเป็นผู้รับให้ไว้โดยชอบแม้ช. จะไม่ได้พิมพ์ลายนิ้วมือไว้เป็นผู้ให้ในบันทึกเช่นที่พิมพ์ไว้ในหนังสือสัญญาให้ที่ดินด้วยก็ตามแต่ช. ก็ลงลายมือชื่อไว้ในบันทึกนั้นหรือแม้จะไม่ได้ลงวันเดือนปีที่ทำบันทึกไว้ในบันทึกแต่ก็ทำในวันเดียวกับที่ช. จดทะเบียนการให้ทั้งก็ระบุถึงวันเดือนปีที่จดทะเบียนการให้ลงในบันทึกด้วยแล้วทั้งสองประการนี้จึงไม่เป็นเหตุที่จะทำให้การรับฟังบันทึกดังกล่าวเสียไปบันทึกดังกล่าวก็หาใช่คำมั่นจะให้ของช. แต่อย่างใดไม่แม้จะเป็นการทำขึ้นภายหลังที่มีการจดทะเบียนการให้แต่ก็เป็นเพียงเอกสารอันเป็นหลักฐานยืนยันถึงเจตนาของการจดทะเบียนการให้ที่ดินพิพาทแก่โจทก์จำเลยนั้นช.แบ่งส่วนให้โจทก์มีกรรมสิทธิ์ที่ดินเพียง4ไร่ตามที่ระบุในบันทึกเท่านั้นที่ดินส่วนที่เหลือนอกนั้นเป็นของจำเลยซึ่งโจทก์จำเลยก็ลงลายมือชื่อรับรู้แล้วย่อมรับฟังประกอบการจดทะเบียนได้โจทก์คงมีส่วนเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพิพาทเพียง4ไร่ด้านหน้าติดคอลงภาษีเจริญกว้างประมาณ10วาโดยวัดเป็นเส้นตรงขึ้นไปโจทก์จึงมีสิทธิขอแบ่งแยกกรรมสิทธิ์ที่ดินตามส่วนดังกล่าวเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 480/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การให้ที่ดินแก่มูลนิธิที่ยังไม่ได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลเป็นโมฆะ เจ้าพนักงานที่ดินเพิกถอนการจดทะเบียนได้
มูลนิธิที่จะเป็นนิติบุคคลได้ต้องเป็นมูลนิธิที่ได้รับจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลแล้วเมื่อขณะรับการให้มูลนิธิผู้รับโอนยังไม่เป็นนิติบุคคลย่อมถือว่าเป็นการให้ที่ผู้โอนให้สำคัญผิดในสาระสำคัญแห่งนิติกรรมทำให้นิติกรรมการให้เป็นโมฆะจำเลยที่1และที่2ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานผู้ได้รับเรื่องราวตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา61ย่อมเพิกถอนการจดทะเบียนนิติกรรมการให้ได้หาจำต้องให้ผู้โอนให้ไปฟ้องร้องเพื่อเพิกถอนการให้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยการเพิกถอนการให้ก่อนไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 144/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การให้ทรัพย์สินโดยเสน่หาและการประพฤติเนรคุณ การสมรสกับผู้อื่นไม่ถือเป็นการประพฤติเนรคุณ
การที่จำเลยไปสมรสกับหญิงอื่นไม่ได้เป็นเหตุผลที่จะแสดงว่าโจทก์เป็นคนไม่ดีแต่อย่างใดทั้งไม่ปรากฏว่าการกระทำของจำเลยทำให้โจทก์ต้องเสียชื่อเสียงอย่างร้ายแรงถึงขนาดจะถอนคืนการให้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา531(2)ได้การกระทำของจำเลยจึงถือไม่ได้ว่าเป็นการกระทำอันเป็นการประพฤติเนรคุณโจทก์
of 6