พบผลลัพธ์ทั้งหมด 13 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3859/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการขายทอดตลาด: ราคาต่ำกว่าราคาจริง, การไม่ไต่สวน, สิทธิลูกหนี้
ก่อนวันขายทอดตลาด 1 วัน จำเลยนำเงินไปชำระหนี้ตามคำพิพากษาบางส่วนแก่ น.ภริยาโจทก์ที่บ้าน และ น.ตกลงกับจำเลยที่ 2 ว่าจะงดการขายทอดตลาดทรัพย์ที่ยึดไว้จากจำเลยทั้งสองตามประกาศซึ่งกำหนดจะขายในวันรุ่งขึ้น แม้โจทก์มิได้ขอให้งดการขายทอดตลาดทรัพย์ของจำเลยดังกล่าว เมื่อข้อตกลงระหว่างจำเลยกับ น.ดังกล่าว ไม่กี่ยวกับการขายทอดตลาดทรัพย์ของจำเลยที่ถูกยึดเป็นเรื่องที่หาก น.ผิดข้อตกลงกับจำเลยที่ 2 เท่านั้น ย่อมไม่กระทบกระเทือนถึงการขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดี ซึ่งได้ขายทอดตลาดตามวันเวลาที่ได้กำหนดไว้ตามประกาศขายทอดตลาดที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ประกาศให้ทราบทั่วกันล่วงหน้าก่อนแล้ว ไม่ทำให้การขายทอดตลาดดังกล่าวของเจ้าพนักงานบังคับคดีเสียไป
จำเลยยื่นคำร้องว่าที่ดินและบ้าน 2 ชั้น ของจำเลยทั้งสองมีราคาจริงถึง 1,500,000 บาท แต่เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์ดังกล่าวให้แก่ ธ.ผู้ซื้อในราคาเพียง 500,000 บาท ซึ่งเป็นการขายทอดตลาดต่ำกว่าราคาจริงหลายเท่า เป็นการที่เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทรัพย์ที่ขายทอดตลาดไปในราคาต่ำเกินสมควร ขัดต่อ ป.พ.พ.มาตรา 513 ซึ่งอาจถือได้ว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีปฏิบัติฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติ ป.พ.พ.มาตรา 308 ที่บังคับให้การขายทอดตลาดต้องดำเนินไปตาม ป.พ.พ.ว่าด้วยการขายทอดตลาด จำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาชอบที่จะยื่นคำร้องต่อศาลขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดนั้นได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา296 วรรคสอง การที่ศาลล่างทั้งสองมีคำสั่งและคำพิพากษาให้ยกคำร้องของจำเลยโดยยังมิได้ทำการไต่สวนคำร้องของจำเลยทั้งสองให้ได้ความชัดว่า ข้อกล่าวอ้างเกี่ยวกับราคาที่ดินและบ้านเป็นความจริงหรือไม่ จึงเป็นการไม่ชอบ
จำเลยยื่นคำร้องว่าที่ดินและบ้าน 2 ชั้น ของจำเลยทั้งสองมีราคาจริงถึง 1,500,000 บาท แต่เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์ดังกล่าวให้แก่ ธ.ผู้ซื้อในราคาเพียง 500,000 บาท ซึ่งเป็นการขายทอดตลาดต่ำกว่าราคาจริงหลายเท่า เป็นการที่เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทรัพย์ที่ขายทอดตลาดไปในราคาต่ำเกินสมควร ขัดต่อ ป.พ.พ.มาตรา 513 ซึ่งอาจถือได้ว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีปฏิบัติฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติ ป.พ.พ.มาตรา 308 ที่บังคับให้การขายทอดตลาดต้องดำเนินไปตาม ป.พ.พ.ว่าด้วยการขายทอดตลาด จำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาชอบที่จะยื่นคำร้องต่อศาลขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดนั้นได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา296 วรรคสอง การที่ศาลล่างทั้งสองมีคำสั่งและคำพิพากษาให้ยกคำร้องของจำเลยโดยยังมิได้ทำการไต่สวนคำร้องของจำเลยทั้งสองให้ได้ความชัดว่า ข้อกล่าวอ้างเกี่ยวกับราคาที่ดินและบ้านเป็นความจริงหรือไม่ จึงเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8155/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลและการนำผลขาดทุนสะสมมาหักลดหย่อน การที่ผู้เสียภาษีไม่นำเอกสารหลักฐานให้ตรวจสอบ ย่อมมีผลต่อการประเมิน
แม้อัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารพาณิชย์จ่ายให้แก่ผู้ฝากประจำจะไม่เกินร้อยละ 12ต่อปี แต่ก็เป็นอัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารซึ่งเป็นผู้ค้าเงินจ่ายให้แก่ผู้ฝากประจำ ไม่ใช่อัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารเรียกจากผู้กู้จึงถือไม่ได้ว่าเป็นอัตราดอกเบี้ยตามราคาตลาดสำหรับการให้กู้ยืมเงิน เมื่อโจทก์กู้ยืมเงินจากบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์โดยเสียดอกเบี้ยอัตราสูงถึงร้อยละ 21 ต่อปี จึงไม่มีเหตุที่โจทก์จะยอมให้บุคคลอื่นกู้ในอัตราดอกเบี้ยร้อยละ13.5 ต่อปี โดยยอมขาดทุนดอกเบี้ยเป็นจำนวนมากเช่นนี้ เจ้าพนักงานประเมินจึงมีอำนาจประเมินดอกเบี้ยรับตามราคาตลาดในวันให้กู้ยืมเงินได้ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 65 ทวิ(4) โดยประเมินในอัตราเดียวกันกับดอกเบี้ยที่โจทก์จ่ายให้บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ดังกล่าว และในชั้นพิจารณาอุทธรณ์คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้ลดอัตราดอกเบี้ยให้โจทก์คงเหลือร้อยละ 15 ต่อปีก็เป็นคุณแก่โจทก์มากแล้ว
โจทก์หลีกเลี่ยงไม่นำบัญชีและเอกสารไปให้เจ้าพนักงานประเมินทำการไต่สวนและเจ้าพนักงานประเมินของจำเลยได้อาศัยอำนาจตามมาตรา 71(1) แห่งประมวลรัษฎากร ประเมินให้โจทก์เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2527 ถึงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2528 ในอัตราร้อยละ 5 ของยอดรายรับก่อนหักรายจ่ายใด ๆ ย่อมทำให้โจทก์ไม่มีสิทธิเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในรอบระยะเวลาบัญชีดังกล่าว โดยคำนวณจากยอดกำไรสุทธิ แต่ต้องเสียโดยคำนวณจากยอดรายรับก่อนหักรายจ่ายใด ๆ ในอัตราร้อยละ 5 จำนวนเงินค่าภาษีที่โจทก์ต้องเสียตามที่เจ้าพนักงานประเมินเรียกเก็บเพิ่ม จึงเป็นภาษีเงินได้นิติบุคคลซึ่งตามกฎหมายโจทก์จะต้องชำระอยู่แล้ว มีผลเท่ากับว่าโจทก์ไม่ได้ขาดทุนตามที่ยื่นรายการไว้ โจทก์จึงจะนำเอาผลขาดทุนสุทธิที่แสดงไว้ในรอบระยะเวลาบัญชีดังกล่าวมาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิในปีต่อไปหาได้ไม่
เจ้าพนักงานประเมินอาศัยอำนาจตามมาตรา 71(1) แห่งประมวลรัษฎากรประเมินให้โจทก์เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลและแจ้งการประเมินไปยังโจทก์เป็นการปฏิบัติตามบทกฎหมายซึ่งให้อำนาจเจ้าพนักงานประเมินทำการประเมินด้วยวิธีดังกล่าวได้เมื่อมิใช่เป็นการประเมินโดยอาศัยพยานหลักฐานที่ปรากฏ เจ้าพนักงานประเมินของจำเลยจึงไม่อาจทราบได้ว่าโจทก์มีผลขาดทุนสุทธิที่แตกต่างไปจากที่ได้ยื่นรายการไว้เดิมอันเจ้าพนักงานประเมินจะต้องมีคำสั่งแจ้งการประเมินเปลี่ยนแปลงผลขาดทุนสุทธิให้โจทก์ทราบตามมาตรา 20 แห่งประมวลรัษฎากร แต่อย่างใดไม่ เจ้าพนักงานประเมินของจำเลยจึงไม่ต้องแจ้งเปลี่ยนแปลงผลขาดทุนสุทธิสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีดังกล่าวให้โจทก์ทราบ
โจทก์หลีกเลี่ยงไม่นำบัญชีและเอกสารไปให้เจ้าพนักงานประเมินทำการไต่สวนและเจ้าพนักงานประเมินของจำเลยได้อาศัยอำนาจตามมาตรา 71(1) แห่งประมวลรัษฎากร ประเมินให้โจทก์เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2527 ถึงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2528 ในอัตราร้อยละ 5 ของยอดรายรับก่อนหักรายจ่ายใด ๆ ย่อมทำให้โจทก์ไม่มีสิทธิเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในรอบระยะเวลาบัญชีดังกล่าว โดยคำนวณจากยอดกำไรสุทธิ แต่ต้องเสียโดยคำนวณจากยอดรายรับก่อนหักรายจ่ายใด ๆ ในอัตราร้อยละ 5 จำนวนเงินค่าภาษีที่โจทก์ต้องเสียตามที่เจ้าพนักงานประเมินเรียกเก็บเพิ่ม จึงเป็นภาษีเงินได้นิติบุคคลซึ่งตามกฎหมายโจทก์จะต้องชำระอยู่แล้ว มีผลเท่ากับว่าโจทก์ไม่ได้ขาดทุนตามที่ยื่นรายการไว้ โจทก์จึงจะนำเอาผลขาดทุนสุทธิที่แสดงไว้ในรอบระยะเวลาบัญชีดังกล่าวมาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิในปีต่อไปหาได้ไม่
เจ้าพนักงานประเมินอาศัยอำนาจตามมาตรา 71(1) แห่งประมวลรัษฎากรประเมินให้โจทก์เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลและแจ้งการประเมินไปยังโจทก์เป็นการปฏิบัติตามบทกฎหมายซึ่งให้อำนาจเจ้าพนักงานประเมินทำการประเมินด้วยวิธีดังกล่าวได้เมื่อมิใช่เป็นการประเมินโดยอาศัยพยานหลักฐานที่ปรากฏ เจ้าพนักงานประเมินของจำเลยจึงไม่อาจทราบได้ว่าโจทก์มีผลขาดทุนสุทธิที่แตกต่างไปจากที่ได้ยื่นรายการไว้เดิมอันเจ้าพนักงานประเมินจะต้องมีคำสั่งแจ้งการประเมินเปลี่ยนแปลงผลขาดทุนสุทธิให้โจทก์ทราบตามมาตรา 20 แห่งประมวลรัษฎากร แต่อย่างใดไม่ เจ้าพนักงานประเมินของจำเลยจึงไม่ต้องแจ้งเปลี่ยนแปลงผลขาดทุนสุทธิสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีดังกล่าวให้โจทก์ทราบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2902/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขาดนัดยื่นคำให้การ, ดุลพินิจศาลในการจำหน่ายคดี, และการไต่สวนคำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การ
พนักงานเดินหมายส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 โดยวิธีปิดหมาย จำเลยที่ 1 ที่ 2 มีสิทธิยื่นคำให้การภายใน 23 วันแต่จำเลยที่ 1 ที่ 2 เพิ่งนำหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องไปให้ทนายความในวันสุดท้ายที่ต้องยื่นคำให้การ แสดงว่าจำเลยที่ 1ที่ 2 ไม่สนใจเกี่ยวกับการถูกฟ้องและไม่สนใจที่จะต่อสู้คดีทนายจำเลยที่ 1 ที่ 2 เป็นเพียงตัวแทนของจำเลยที่ 1 ที่ 2จะอ้างเหตุที่เพิ่งได้รับแต่งตั้งเป็นทนายความ ไม่ได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงและรายละเอียดว่าเป็นพฤติการณ์พิเศษตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 ไม่ได้ ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ที่ 2 จงใจขาดนัดยื่นคำให้การ โจทก์ไม่ยื่นคำขอให้ศาลสั่งว่าจำเลยที่ 1 ที่ 2 ขาดนัดยื่นคำให้การภายใน 15 วัน นับแต่วันครบกำหนดยื่นคำให้การ แม้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 198 วรรคสอง ใช้คำว่า"ให้ศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดี" ก็ไม่ใช่เป็นบทบังคับศาล คงให้อยู่ในดุลพินิจของศาลที่จะสั่งจำหน่ายคดีหรือไม่ก็ได้ การที่จำเลยยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การนั้น ไม่มีกฎหมายบัญญัติให้ศาลต้องไต่สวนคำร้องดังกล่าวก่อน ศาลจึงมีอำนาจใช้ดุลพินิจว่าจะทำการไต่สวนคำร้องดังกล่าวหรือไม่ สำหรับบทบัญญัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 21(4) ไม่ได้เป็นบทบังคับศาลที่จะต้องทำการไต่สวนคำร้องดังกล่าวเสมอไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4732/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การผิดนัดตามสัญญาประนีประนอมยอมความ: การพิจารณาเจตนาและพฤติการณ์ของคู่สัญญา
แม้สัญญาประนีประนอมยอมความตามคำพิพากษาจะกำหนดให้โจทก์จำเลยไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทในวันที่ 20 ตุลาคม2532 เวลา 11 นาฬิกาก็ตาม แต่ตามคำร้องของโจทก์อ้างว่าได้มอบหมายให้ทนายไปที่สำนักงานที่ดินเวลา 10.45 นาฬิกาและได้แจ้งให้ทนายจำเลยที่ 2 ทราบ โดยขอให้แจ้งเจ้าพนักงานเตรียมหลักฐานการโอนไว้ด้วย และโจทก์ได้ไปถึงสำนักงานที่ดินพร้อมทั้งเช็คและเงินสดเมื่อเวลา 12.10 นาฬิกา แต่จำเลยที่ 2 ไม่ยอมดำเนินการให้มีการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่โจทก์ ซึ่งหากข้อเท็จจริงเป็นไปตามคำร้อง ก็ไม่อาจถือว่าโจทก์ผิดนัดผิดสัญญา เพราะเวลา11 นาฬิกาที่กำหนดนัดหมาย ในสัญญาประนีประนอมยอมความนั้น หมายถึงเวลาที่ทั้งสองฝ่ายไปพร้อมกันเพื่อเริ่มดำเนินการตามแบบพิธีของทางราชการมิใช่หมายถึงเวลาที่ทำการโอนเสร็จเรียบร้อย แต่ข้อเท็จจริงตามคำร้องของโจทก์ จำเลยที่ 2 แถลงคัดค้านอยู่ จะต้องมีการไต่สวนทั้งสองฝ่ายว่าความจริงเป็นประการใดจึงจะวินิจฉัยได้ว่าฝ่ายใดเป็นฝ่ายผิดนัดผิดสัญญา ที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดนัดโดยพิจารณาเฉพาะคำร้องนั้นเป็นการไม่ชอบด้วยวิธีพิจารณา.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2616/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเมิดอำนาจศาล: การไต่สวนที่ไม่ชอบและขอบเขตการละเมิด
คดีละเมิดอำนาจศาล ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า ศาลชั้นต้นดำเนินการไต่สวนโดยไม่ชอบ เนื่องจากไม่อนุญาตให้ผู้ถูกกล่าวหาถามค้านพยานที่ศาลหมายเรียกมาไต่สวน และไม่อนุญาตให้ผู้ถูกกล่าวหานำพยานของตนเข้าสืบ การที่ผู้ถูกกล่าวหาฎีกาว่า การกระทำของผู้ถูกกล่าวหาไม่เป็นการละเมิดอำนาจศาลดังนี้ มิใช่เป็นฎีกาที่คัดค้านข้อชี้ขาดคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 310/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีที่มิชอบ เมื่อเอกสารสำคัญสูญหายจากการยึดของหน่วยงานอื่น โจทก์ไม่ต้องรับผิด
โจทก์ไม่สามารถนำเอกสารตามหมายเรียกไปมอบให้เจ้าพนักงานประเมินทำการไต่สวนโดยมิใช่เพราะความผิดของโจทก์ ถือไม่ได้ว่าโจทก์จงใจขัดขืนหรือหลีกเลี่ยงไม่นำเอกสารมาให้เจ้าพนักงานประเมินทำการไต่สวนตามมาตรา 19 แห่งประมวลรัษฎากร เจ้าพนักงานประเมินจึงไม่มีอำนาจประเมินให้โจทก์เสียภาษีในอัตราร้อยละ 2 ของยอดรายรับก่อนหักรายจ่าย ตามมาตรา 71(1) และแม้โจทก์จะให้ความยินยอมในการประเมิน ดังกล่าวก็หาทำให้การประเมินซึ่งไม่ชอบด้วยกฎหมายกลับกลายเป็นการประเมินที่ชอบไปแต่อย่างใดไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 949/2515
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตผลคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในคดีผู้จัดการมรดกเฉพาะผู้ที่อุทธรณ์ การไม่ขยายผลถึงผู้ไม่เคยอุทธรณ์
ในคดีร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกซึ่งมีผู้คัดค้านหลายคน และผู้คัดค้านเหล่านั้นต่างร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกด้วย ผู้ร้องขอถอนคำร้องไม่ติดใจดำเนินคดี ศาลชั้นต้นสั่งอนุญาตให้ถอนคำร้องได้ และสั่งจำหน่ายคดีทั้งหมด ให้ผู้คัดค้านไปดำเนินคดีใหม่ เมื่อผู้คัดค้านคนหนึ่งอุทธรณ์ขอให้ศาลชั้นต้นไต่สวนคำร้องของตนต่อไป หากศาลอุทธรณ์เห็นว่าคำสั่งศาลชั้นต้นยังไม่ถูกต้อง ก็ชอบที่จะพิพากษายกคำสั่งศาลชั้นต้น ให้ดำเนินการไต่สวนคำร้องเฉพาะของผู้คัดค้านที่อุทธรณ์เท่านั้น จะให้ดำเนินการไต่สวนคำร้องของผู้คัดค้านอื่นซึ่งมิได้อุทธรณ์ด้วยหาได้ไม่ เพราะกรณีไม่เกี่ยวด้วยการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 350/2503
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดียึดทรัพย์สินสมรส: สิทธิของผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ร่วมและหน้าที่ของศาลในการไต่สวน
โจทก์ได้นำเจ้าพนักงานกองหมายยึดที่ดินมีชื่อจำเลยและภรรยาเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์และทำการขายทอดตลาดได้เงินมา และกองหมายได้กันเงินส่วนของภรรยาไว้ โจทก์ยื่นคำร้องว่าทรัพย์รายนี้เป็นสินสมรสขอให้ศาลสั่งกองหมายแก้บัญชีโดยไม่ต้องหักเงินเป็นส่วนของภรรยาศาลชั้นต้นสอบโจทก์และเจ้าพนักงานกองหมายและมีคำสั่งว่า ที่ดินที่ขายเป็นสินบริคณห์ ให้กองหมายจ่ายเงินค่าขายที่ทั้งหมดชำระหนี้โจทก์ตามคำพิพากษา นั้นหาเป็นการชอบไม่เพราะภรรยามีชื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ร่วมกับสามีถือได้ว่าภรรยาเป็นผู้มีส่วนได้เสียตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 280(2) แต่ศาลชั้นต้นไม่เคยไต่สวนหรือสอบผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์แต่ประการใดจึงสมควรให้โอกาสแก่ภรรยาของจำเลยจะโต้แย้งประการใดหรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 604/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้พยานจากสำนวนแพ่งในคดีอาญา: ศาลต้องฟังพยานสำหรับคดีอาญาโดยตรง
ในการไต่สวนมูลฟ้องคดีอาญา โจทก์จะอ้างแต่คำพะยานบุคคลในสำนวนคดีแพ่ง ซึ่งเป็นมูลกรณีเดียวกันและสืบเนื่องกันมายันแก่จำเลยแทนพะยานบุคคลที่จะมาเบิกความหาได้ไม่ เมื่อโจทก์อ้างแต่คำพะยานในสำนวนอื่นโดยไม่ติดใจสืบพะยานบุคคลแล้ว ก็เป็นอันไม่มีพะยานในสำนวน ดังนี้นับว่า คดีไม่มีมูล ศาลต้องยกฟ้อง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 604/2492
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้พยานจากสำนวนแพ่งในคดีอาญา: ห้ามอ้างแทนพยานบุคคลที่จะเบิกความ
ในการไต่สวนมูลฟ้องคดีอาญา โจทก์จะอ้างแต่คำพยานบุคคลในสำนวนคดีแพ่งซึ่งเป็นมูลกรณีเดียวกันและสืบเนื่องกันมายันแก่จำเลยแทนพยานบุคคลที่จะมาเบิกความหาได้ไม่ เมื่อโจทก์อ้างแต่คำพยานในสำนวนอื่นโดยไม่ติดใจสืบพยานบุคคลแล้วก็เป็นอันไม่มีพยานในสำนวน ดังนี้ นับว่า คดีไม่มีมูล ศาลต้องยกฟ้อง