คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
การไฟฟ้า

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 23 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6683/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความสิทธิเรียกร้องค่ากระแสไฟฟ้าของผู้ประกอบการค้า การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคโจทก์เป็นรัฐวิสาหกิจมีวัตถุประสงค์ในการจำหน่ายพลังงานไฟฟ้าเพื่อประโยชน์แก่โจทก์ ดังนั้น โจทก์จึงเป็นผู้ประกอบการค้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/34(1) สิทธิของโจทก์ในการเรียกร้องค่ากระแสไฟฟ้าจากผู้ใช้ไฟฟ้าที่ค้างชำระจึงมีอายุความ 2 ปี
ตามสัญญาซื้อขายกระแสไฟฟ้า จำเลยที่ 1 จะต้องชำระค่ากระแสไฟฟ้าให้แก่โจทก์เป็นรายเดือนทุกเดือน ค่ากระแสไฟฟ้าที่จำเลยที่ 1 ค้างชำระในเดือนพฤษภาคม2538 ต้องเริ่มนับอายุความตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2538 อันเป็นวันที่โจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องดังกล่าวได้เป็นต้นไป เมื่อโจทก์ฟ้องเรียกค่ากระแสไฟฟ้าที่ค้างชำระเมื่อวันที่ 28มกราคม 2542 เกินกำหนด 2 ปี คดีโจทก์จึงขาดอายุความ และโจทก์ไม่มีสิทธิที่จะฟ้องบังคับให้จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ค้ำประกันรับผิดได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4800/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องค่าทดแทนการใช้ที่ดิน กรณีการไฟฟ้าฝ่ายผลิตฯ กำหนดเขตเดินสายส่งไฟฟ้า
การที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยจำเลยที่ 3 กำหนดเขตเดินสายส่งไฟฟ้าพาดผ่านที่ดินแปลงใด ย่อมทำให้สิทธิต่าง ๆ ที่เกิดจากกรรมสิทธิ์ในที่ดินแปลงดังกล่าวถูกจำกัดตัดรอน ผู้เป็นเจ้าของที่ดินที่ถูกเขตเดินสายส่งไฟฟ้าพาดผ่านไม่ว่าจะเป็นเจ้าของที่ดินที่มีกรรมสิทธิ์อยู่ในขณะดำเนินการสำรวจเพื่อดำเนินการก่อสร้างระบบส่งไฟฟ้าแรงสูงหรือผู้ที่รับโอนกรรมสิทธิ์มาภายหลังดำเนินการสำรวจแล้วก็ถูกจำกัดตัดรอนสิทธิเหมือนกัน เมื่อจำเลยที่ 3 ยังไม่ได้จ่ายเงินค่าทดแทนการใช้ที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ซึ่งเป็นเจ้าของเดิม และโจทก์ได้รับโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทมาจากจำเลยที่ 1 และที่ 2 ก่อนที่จำเลยที่ 3 จะเข้าไปใช้ที่ดินพิพาท โจทก์ผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทมาจึงเป็นเจ้าของผู้มีสิทธิที่จะได้รับเงินค่าทดแทนการใช้ที่ดินพิพาทตาม พ.ร.บ.การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยพ.ศ. 2511 มาตรา 30 (1) และมีสิทธิฟ้องเรียกเงินค่าทดแทนการใช้ที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 3
พ.ร.บ.การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2511มาตรา 30 มีเจตนารมณ์เหมือนกับ พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ. 2530 มาตรา 21 วรรคหนึ่ง ซึ่งต่างมุ่งประสงค์ที่จะให้มีการจ่ายเงินค่าทดแทนให้เป็นธรรมแก่เจ้าของหรือผู้ครอบครองทรัพย์สินหรือผู้ทรงสิทธิอื่น เพียงแต่พ.ร.บ.การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2511 มาตรา 30 ไม่ได้บัญญัติถึงรายละเอียดของหลักเกณฑ์ที่จะให้นำมาใช้คำนึงในการกำหนดและจ่ายเงินค่าทดแทนอย่างเป็นธรรมไว้เหมือนอย่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530มาตรา 21 วรรคหนึ่ง (1) ถึง (5) ดังนี้ การที่จะกำหนดและจ่ายเงินค่าทดแทนตามความเป็นธรรมตาม พ.ร.บ.การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2511มาตรา 30 จึงควรคำนึงถึงปัจจัยอื่น ๆ ในทำนองเดียวกันกับที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 21 วรรคหนึ่ง (1) ถึง (5)เพื่อใช้เป็นฐานในการกำหนดเงินค่าทดแทนให้แก่เจ้าของหรือผู้ครอบครองทรัพย์สินหรือผู้ทรงสิทธิอื่นด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4804/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างรุกล้ำเขตเดินสายไฟฟ้าตาม พ.ร.บ.การไฟฟ้าฯ ไม่ขาดอายุความ
คำฟ้องของโจทก์ดังกล่าวได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์ว่า สิ่งปลูกสร้างที่จำเลยทั้งสองสร้างขึ้นบนที่ดินของจำเลยที่ 2 ตามฟ้องข้อ 3 รวม 5 รายการ ได้รุกล้ำเข้าไปในเขตเดินสายไฟฟ้าตามสำเนาภาพถ่ายแผนผังสิ่งปลูกสร้างเอกสารท้ายฟ้องทั้งได้บรรยายข้ออ้างซึ่งอาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาดังกล่าวว่าโจทก์ได้ประกาศเขตกำหนดเดินสายไฟฟ้า โดยมีรายละเอียดเกี่ยวกับความกว้างระยะเริ่มต้นและระยะสิ้นสุดของเขตกำหนดเดินสายไฟฟ้าสิ่งปลูกสร้างที่รุกล้ำอยู่ที่ไหน และมีสภาพอย่างไรรวมทั้งมีคำขอบังคับให้จำเลยทั้งสองรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างที่รุกล้ำนั้นออกไปจากแนวเขตเดินสายไฟฟ้าที่โจทก์ได้ประกาศไว้คำฟ้องของโจทก์ได้แสดงโดยแจ้งชัดในเรื่องที่โจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองให้รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างที่รุกล้ำเข้าไปในเขตกำหนดเดินสายไฟฟ้าได้ตามพระราชบัญญัติการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยพ.ศ. 2511 มาตรา 29 และ 32 โดยมิพักต้องคำนึงว่าจำเลยทั้งสองได้กระทำละเมิดต่อโจทก์หรือไม่ ฟ้องของโจทก์ในส่วนนี้จึงไม่เคลือบคลุม ส่วนที่โจทก์บรรยายฟ้องเป็นทำนองว่า จำเลยทั้งสองได้กระทำละเมิดต่อโจทก์ และโจทก์เพิ่งทราบการกระทำของจำเลยทั้งสองในปี 2536 แต่ปรากฏความจริงตามเอกสารท้ายฟ้องว่าโจทก์ทราบเรื่อง นี้ตั้งแต่ปี 2532 แล้ว ซึ่งขัดกันอยู่ ทั้งคำบรรยายฟ้องของโจทก์ในส่วนนี้มิได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาที่จำเลยทั้งสองกระทำละเมิดต่อโจทก์ ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 วรรคสองจึงไม่มีประเด็นเกี่ยวกับเรื่องละเมิดที่ศาลจะต้องวินิจฉัย คำฟ้องของโจทก์เป็นเรื่องที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างที่รุกล้ำเข้าไปในเขตเดินสายไฟฟ้าที่โจทก์ได้ประกาศไว้ ซึ่งโจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยได้ตามพระราชบัญญัติการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2511 มาตรา 29(3) ในกรณีที่สิ่งปลูกสร้างนั้นได้ปลูกสร้างขึ้นก่อนประกาศเขตกำหนดเดินสายไฟฟ้าโดยโจทก์จะต้องแจ้งเป็นหนังสือให้จำเลยทราบก่อน และโจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยได้ตามมาตรา 32 วรรคสอง ในกรณีได้ปลูกสร้างสิ่งก่อสร้างนั้นขึ้นภายหลังจากที่ได้ประกาศเขตกำหนดเดินสายไฟฟ้าแล้วโดยมิได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากโจทก์ อำนาจฟ้องขอให้รื้อถอนของโจทก์ตามมาตรา 29(3) และมาตรา 32 วรรคสองดังกล่าวนี้ มิใช่สิทธิเรียกร้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/9 จึงไม่มีอายุความโจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องขอให้รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างที่รุกล้ำอยู่ในเขตกำหนดเดินสายไฟฟ้าได้ตลอดเวลาที่สิ่งก่อสร้างนั้นรุกล้ำอยู่ เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าโจทก์ได้ประกาศเขตกำหนดเดินสายไฟฟ้าและโจทก์ได้แจ้งเป็นหนังสือให้จำเลยรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างที่รุกล้ำอยู่ภายในเขตกำหนดเดินสายไฟฟ้า โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3328/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องจำเลยที่ 4: การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคเขต 1 ภาค 4 ไม่เป็นบุคคลหรือนิติบุคคล จึงไม่มีอำนาจเป็นคู่ความ
การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคเขต 1 ภาค 4 มิได้เป็นบุคคลหรือนิติบุคคลไม่อาจเป็นคู่ความในคดีได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2364/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าทดแทนการใช้ที่ดินและต้นยางพารา กรณีการไฟฟ้าฯ ก่อสร้างเสาไฟฟ้า ต้องพิจารณาความเสียหายที่น้อยกว่าการเวนคืน
การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ ฝ่ายเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ต้องเสียไปซึ่งกรรมสิทธิ์ ส่วนการที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยใช้ที่ดินก่อสร้างเสาไฟฟ้าแรงสูงและเดินสายไฟฟ้าผ่าน เจ้าของที่ดินมิได้เสียไปซึ่งกรรมสิทธิ์ เพียงแต่เสียสิทธิเกี่ยวกับการใช้ที่ดินดังกล่าวไปบ้าง จึงเป็นการเสียหายน้อยกว่ามากการจ่ายค่าทดแทนการใช้ที่ดินย่อมต้องให้ต่ำกว่าการจ่ายค่าทดแทนการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ จึงนำบทบัญญัติแห่ง พ.ร.บ.การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2511 มาตรา 28 วรรคสามมาใช้ เช่นเดียวกับการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์โดยให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตจ่ายค่าทดแทนที่ดินตามราคาที่ซื้อขายกันในท้องตลาดไม่ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2364/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าทดแทนการใช้ที่ดินของการไฟฟ้าฯ แตกต่างจากการเวนคืน: การใช้สิทธิที่ดิน vs. การสูญเสียกรรมสิทธิ์
การที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยจำเลย ใช้ที่ดินก่อสร้างเสาไฟฟ้าแรงสูงและเดินสายไฟฟ้าผ่านนั้น ฝ่ายเจ้าของที่ดินมิได้เสียไปซึ่งกรรมสิทธิ์ เพียงแต่เสียสิทธิเกี่ยวกับการใช้ที่ดินไปบ้าง เป็นการเสียหายน้อยกว่าการเวนคืนที่ดินมากการจ่ายค่าทดแทนการใช้ที่ดินย่อมต้องให้ต่ำกว่าการจ่ายค่าทดแทนการเวนคืนที่ดิน จึงนำบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์มาใช้ตามพระราชบัญญัติการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยพ.ศ. 2511 มาตรา 28 มาใช้เช่นเดียวกับการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์โดย ให้จำเลยจ่ายค่าทดแทนที่ดินตามราคาที่ดินที่ซื้อขายกันในท้องตลาดให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 746/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไฟฟ้านครหลวงฟ้องเรียกค่ากระแสไฟฟ้าที่คำนวณผิดพลาด อายุความ 10 ปี ไม่ถือเป็นฟ้องซ้ำ
การไฟฟ้านครหลวงโจทก์มีฐานะเป็นรัฐวิสาหกิจ มีวัตถุประสงค์ในการจ่ายกระแสไฟฟ้าแก่ประชาชนเป็นสาธารณูปโภคและได้รับทุนในการดำเนินการจากงบประมาณแผ่นดิน จึงมิใช่พ่อค้าตามมาตรา 165(1)แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ การฟ้องเรียกค่ากระแสไฟฟ้าที่พนักงานของโจทก์จดหน่วยไฟฟ้าจากเครื่องวัดหน่วยไฟฟ้าโดยไม่ได้คูณด้วย 10 ตามลักษณะของเครื่องวัดไฟฟ้าที่โจทก์ติดตั้ง ทำให้จำเลยชำระค่าไฟฟ้าให้โจทก์ขาดไปนั้น เมื่อมิได้มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้เป็นอย่างอื่น ต้องถือว่ามีอายุความ 10 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 โจทก์คำนวณหน่วยกระแสไฟฟ้าที่จำเลยใช้ผิดไปเพราะไม่ได้นำตัวเลขในเครื่องวัดหน่วยไฟฟ้ามาคูณด้วย 10 ตามลักษณะของเครื่องวัดหน่วยไฟฟ้าที่โจทก์ติดตั้งให้จำเลย จำเลยได้รับประโยชน์ในการใช้กระแสไฟฟ้าที่โจทก์คำนวณผิด ไม่ใช่เป็นเรื่องที่โจทก์ออกใบเสร็จรับเงินให้จำเลยโดยไม่อิดเอื้อนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 327 จำเลยจึงต้องรับผิดใช้เงินค่ากระแสไฟฟ้าที่โจทก์คำนวณขาดไปและจะถือว่าโจทก์ฟ้องจำเลยโดยใช้สิทธิไม่สุจริตหาได้ไม่ คดีสำนวนแรกโจทก์ฟ้องเรียกค่ากระแสไฟฟ้าที่โจทก์คิดขาดไประหว่างเดือนธันวาคม 2505 จนถึงเดือนมกราคม 2525 สำนวนหลังโจทก์ฟ้องเรียกค่ากระแสไฟฟ้าที่โจทก์คิดขาดไปในระหว่างวันที่13 กุมภาพันธ์ 2525 ถึงวันที่ 29 ตุลาคม 2525 ซึ่งเป็นคนละช่วงเวลากัน ฟ้องโจทก์ทั้งสองคดีจึงไม่ใช่ฟ้องเรื่องเดียวกันและโดยอาศัยเหตุเดียวกัน จึงไม่เป็นฟ้องซ้อนหรือฟ้องซ้ำ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6280/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการใช้พื้นที่โดย พ.ร.บ.การไฟฟ้าฯ ไม่จำเป็นต้องเวนคืนที่ดินหากไม่ได้โอนกรรมสิทธิ์
พ.ร.บ. การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2511 มาตรา 29 ให้อำนาจจำเลยที่ 1 เดินสายส่งไฟฟ้า ปักหรือตั้งเสาลงในหรือบนที่ดินของโจทก์ และตัดฟันต้นไม้หรือพืชผลในเขตเดินสายไฟฟ้าได้เมื่อได้แจ้งเป็นหนังสือให้โจทก์ทราบ จำเลยที่ 1 ไม่ได้ถือว่าที่ดินในเขตเดินสายไฟฟ้าเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 1ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ตามมาตรา 36จึงไม่จำเป็นต้องนำบทบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์มาใช้และไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6280/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการใช้พื้นที่โดย พ.ร.บ.การไฟฟ้าฯ ไม่จำเป็นต้องเวนคืนที่ดิน แม้มีการเดินสายไฟฟ้าและตัดต้นไม้
พ.ร.บ. การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2511 มาตรา 29ให้อำนาจจำเลยที่ 1 เดินสายส่งไฟฟ้า ปักหรือตั้งเสาลงในหรือบนที่ดินของโจทก์ และตัดฟันต้นไม้หรือพืชผลในเขตเดินสายไฟฟ้าได้เมื่อได้แจ้งเป็นหนังสือให้โจทก์ทราบ จำเลยที่ 1 ไม่ได้ถือว่าที่ดินในเขตเดินสายไฟฟ้าเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 1ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ตามมาตรา 36จึงไม่จำเป็นต้องนำบทบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์มาใช้และไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1143/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างโดยการปลดออกชอบด้วยระเบียบ หากลูกจ้างกระทำผิดวินัยร้ายแรงตามข้อบังคับ
ข้อบังคับเกี่ยวกับการลงโทษของจำเลยซึ่ง เป็นนายจ้างกำหนดว่า เมื่อพนักงานผู้ใดกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง แต่ โทษยังไม่ถึงต้อง ถูก ไล่ออกหรือถึง ต้อง ถูก ไล่ออกแต่ มีเหตุผลอื่นอันสมควรลดหย่อนก็ให้ลงโทษปลดออกได้ ดังนี้เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าโจทก์ซึ่ง เป็นลูกจ้างนำรถของจำเลยไปปักเสาและยกหม้อแปลงขึ้นคานให้แก่ผู้รับเหมา ซึ่ง เป็นการกระทำผิดระเบียบและมีโทษถึง ไล่ออก การที่จำเลยลงโทษโจทก์โดย การปลดออก จึงชอบด้วยระเบียบดังกล่าว ไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม.
of 3