พบผลลัพธ์ทั้งหมด 11 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8887/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความหนี้ค่าไฟฟ้า: การไฟฟ้านครหลวงเป็นผู้ประกอบการค้า ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 193/34(1)
การไฟฟ้านครหลวงโจทก์เป็นรัฐวิสาหกิจมีวัตถุประสงค์ในการจำหน่ายพลังงานไฟฟ้า และดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับพลังงานไฟฟ้าเป็นผู้ประกอบการค้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 193/34(1) โจทก์ฟ้องเรียกค่ากระแสไฟฟ้าเป็นค่าสินค้าเกินกำหนด2 ปี จึงขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6081/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ที่ดินตกเป็นทางสาธารณะ การไฟฟ้านครหลวงวางเสาไฟฟ้าไม่ละเมิดสิทธิเจ้าของที่ดิน
คดีก่อน โจทก์ฟ้องการไฟฟ้านครหลวงเป็นจำเลยกล่าวหาว่าจำเลยเข้าไปปักเสาไฟฟ้าและพาดสายไฟฟ้าในเขตที่ดินโฉนดเลขที่ 1006 เลขที่77997 เลขที่ 77998 และเลขที่ 78000 ของโจทก์ ขอให้บังคับจำเลยรื้อถอนเสาไฟฟ้าและสายไฟฟ้าออกไปจากที่ดินโฉนดเลขที่ 1006 เฉพาะส่วนนอกจากที่แบ่งไว้เป็นถนน และที่ดินโฉนดเลขที่ 77997 เลขที่ 77998 และเลขที่ 78000การไฟฟ้านครหลวงให้การว่า เมื่อ ล.เจ้าของที่ดินเดิมได้แบ่งที่ดินโฉนดเลขที่1006 ออกเป็น 72 แปลง จัดสรรให้บุคคลอื่น การแบ่งแยกได้กันที่ดินทำเป็นถนนเพื่อให้ประชาชนในบริเวณนั้นใช้ โดย ล.มีเจตนาจะให้ที่ดินส่วนที่กันไว้เป็นทางสาธารณะและประชาชนได้ใช้สัญจรมากว่า 20 ปีแล้ว การไฟฟ้านครหลวงได้เข้าไปปักเสาไฟฟ้าและพาดสายไฟฟ้าแรงสูงเชื่อมจากถนนไปสู่ที่ดินดังกล่าว เมื่อโจทก์รับโอนที่ดินโฉนดเลขที่ 1006 ซึ่งเป็นทางสาธารณะไปแล้วนั้นก็ได้แบ่งแยกออกเป็นแปลงย่อย ๆ อีกหลายแปลง รวมทั้งที่ดินโฉนดเลขที่ 77997 เลขที่ 77998 และเลขที่ 78000 ปัญหาที่ว่าที่ดินทั้งสี่โฉนดของโจทก์เป็นทางสาธารณะหรือไม่ จึงเป็นประเด็นที่พิพาทกันโดยตรงในคดีก่อน ซึ่งในคดีก่อนศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่าที่ดินของโจทก์ตกเป็นทางสาธารณะแล้ววินิจฉัยว่าการกระทำของการไฟฟ้านครหลวงไม่เป็นการละเมิด พิพากษายกฟ้อง และคดีถึงที่สุด โดยศาลฎีกาก็ฟังข้อเท็จจริงในปัญหาดังกล่าวเช่นเดียวกันว่า ล.ได้อุทิศที่ดินทั้งสี่โฉนดให้เป็นทางสาธารณะแล้วดังนี้ คำพิพากษาศาลฎีกาในคดีก่อนจึงมีผลผูกพันโจทก์ในคดีนี้ด้วยเพราะเป็นคู่ความในกระบวนพิจารณาของศาลที่พิพากษาคดีนั้น ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 วรรคแรก ข้อเท็จจริงในคดีนี้จึงต้องฟังว่าที่ดินทั้งสี่แปลงพิพาทในคดีนี้เป็นทางสาธารณะ การที่กรุงเทพมหานคร จำเลยที่ 1 มีหนังสือแจ้งกรมที่ดินจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 2 บันทึกลงในโฉนดที่ดินทั้งสี่แปลงว่าเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1304 (2) จึงมิใช่เป็นการละเมิดสิทธิของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2874/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดีค่าไฟฟ้า: การไฟฟ้านครหลวงในฐานะรัฐวิสาหกิจมิใช่พ่อค้า ใช้บังคับอายุความสิบปี
การไฟฟ้านครหลวงโจทก์เป็นนิติบุคคลตามพระราชบัญญัติการไฟฟ้านครหลวง พ.ศ. 2501 มีฐานะเป็นรัฐวิสาหกิจมีวัตถุประสงค์ในการจ่ายกระแสไฟฟ้าแก่ประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครอันมีลักษณะเป็นสาธารณูปโภค และได้รับทุนในการดำเนินการจากงบประมาณแผ่นดิน โจทก์จึงมิได้เป็นพ่อค้าตามความในมาตรา 165(1)แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เมื่อมิได้มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้เป็นอย่างอื่นก็ต้องถืออายุความสิบปีตามมาตรา 164.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5290-5293/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับอายุงานลูกจ้างเก่าเมื่อโอนมาทำงานการไฟฟ้านครหลวงตามกฎหมาย
พระราชบัญญัติการไฟฟ้านครหลวง พ.ศ. 2501 มาตรา 53 ที่บัญญัติว่า"นับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับเป็นต้นไป ให้ข้าราชการและลูกจ้างของกองไฟฟ้าหลวงกรมโยธาเทศบาล ซึ่งต้องออกจากราชการเพราะการยุบเลิกกองไฟฟ้าหลวง กรมโยธาเทศบาลและลูกจ้างของการไฟฟ้ากรุงเทพ กระทรวงมหาดไทย มีฐานะเป็นพนักงาน โดยได้รับเงินเดือนหรือค่าจ้างรวมทั้งเงินเพิ่มเท่าที่ได้รับอยู่เดิมไปพลางก่อน และให้คณะกรรมการกำหนดอัตราเงินเดือนพนักงานดังกล่าว ซึ่งจำเป็นจะต้องบรรจุโดยให้รับเงินเดือนหรือค่าจ้างไม่น้อยกว่าที่รับอยู่เดิม ทั้งนี้ให้เสร็จภายในหกสิบวัน"นั้น เป็นการกำหนดให้ลูกจ้างของกองไฟฟ้าหลวงกรมโยธาเทศบาล โอนมาเป็นพนักงานของการไฟฟ้านครหลวงตั้งแต่วันที่กฎหมายมีผลบังคับใช้และมิได้ระบุถึงลูกจ้างประเภทใด จึงต้องหมายถึงลูกจ้างของกองไฟฟ้าหลวงทุกประเภทแม้โจทก์จะเป็นลูกจ้างชั่วคราวรายชั่วโมงของกองไฟฟ้าหลวง ก็มีฐานะเป็นลูกจ้างตามความหมายของบทกฎหมายดังกล่าว เมื่อพระราชบัญญัติการไฟฟ้านครหลวง พ.ศ. 2501 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2501 โจทก์จึงมีฐานะเป็นพนักงานของจำเลยตั้งแต่วันดังกล่าวโดยผลของกฎหมาย ส่วนการที่จำเลยจะดำเนินการเกี่ยวกับวิธีบรรจุโจทก์อย่างไรและเมื่อใดนั้น เป็นการกระทำเพื่อให้ถูกต้องตามวิธีการของจำเลยเท่านั้น ไม่ทำให้สิทธิของโจทก์ที่มีอยู่ตามบทกฎหมายดังกล่าวเสียไป
ข้อบังคับการไฟฟ้านครหลวงว่าด้วยกองทุนเงินบำเหน็จพนักงานอันเป็นข้อบังคับที่กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจ่ายเงินบำเหน็จ กำหนดว่า "การนับอายุงานของพนักงานเพื่อคำนวณเงินบำเหน็จสำหรับพนักงานซึ่งเดิมเป็นข้าราชการหรือลูกจ้างกองไฟฟ้าหลวงกรมโยธาเทศบาล และได้รับบรรจุให้ปฏิบัติงานในการไฟฟ้านครหลวงตามความในมาตรา 53 แห่งพระราชบัญญัติการไฟฟ้านครหลวง พ.ศ. 2501 ติดต่อกันมาจนถึงวันที่พ้นจากตำแหน่งหน้าที่และได้รับบำเหน็จ บำนาญ หรือเงินทดแทนกรณีที่ต้องออกจากราชการเพราะยุบเลิกกองไฟฟ้าหลวงกรมโยธาเทศบาลแล้ว ให้นับอายุงานตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2501... โจทก์เป็นลูกจ้างของกองไฟฟ้าหลวงและได้รับบรรจุให้ปฏิบัติงานในการไฟฟ้านครหลวงโดยได้ทำงานติดต่อกันมาจนถึงวันที่พ้นหน้าที่เพราะเกษียณอายุ การนับอายุงานของโจทก์จึงต้องนับแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2501 ตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับของจำเลย
ข้อบังคับการไฟฟ้านครหลวงว่าด้วยกองทุนเงินบำเหน็จพนักงานอันเป็นข้อบังคับที่กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจ่ายเงินบำเหน็จ กำหนดว่า "การนับอายุงานของพนักงานเพื่อคำนวณเงินบำเหน็จสำหรับพนักงานซึ่งเดิมเป็นข้าราชการหรือลูกจ้างกองไฟฟ้าหลวงกรมโยธาเทศบาล และได้รับบรรจุให้ปฏิบัติงานในการไฟฟ้านครหลวงตามความในมาตรา 53 แห่งพระราชบัญญัติการไฟฟ้านครหลวง พ.ศ. 2501 ติดต่อกันมาจนถึงวันที่พ้นจากตำแหน่งหน้าที่และได้รับบำเหน็จ บำนาญ หรือเงินทดแทนกรณีที่ต้องออกจากราชการเพราะยุบเลิกกองไฟฟ้าหลวงกรมโยธาเทศบาลแล้ว ให้นับอายุงานตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2501... โจทก์เป็นลูกจ้างของกองไฟฟ้าหลวงและได้รับบรรจุให้ปฏิบัติงานในการไฟฟ้านครหลวงโดยได้ทำงานติดต่อกันมาจนถึงวันที่พ้นหน้าที่เพราะเกษียณอายุ การนับอายุงานของโจทก์จึงต้องนับแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2501 ตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับของจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 746/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไฟฟ้านครหลวงฟ้องเรียกค่ากระแสไฟฟ้าที่คำนวณผิดพลาด และประเด็นอายุความของหนี้
การไฟฟ้านครหลวงโจทก์มีฐานะเป็นรัฐวิสาหกิจ มีวัตถุประสงค์ในการจ่ายกระแสไฟฟ้าแก่ประชาชนเป็นสาธารณูปโภคและได้รับทุนในการดำเนินการจากงบประมาณแผ่นดิน จึงมิใช่พ่อค้าตามมาตรา 165(1)แห่ง ป.พ.พ. การฟ้องเรียกค่ากระแสไฟฟ้าที่พนักงานของโจทก์จดหน่วยไฟฟ้าจากเครื่องวัดหน่วยไฟฟ้าโดยไม่ได้คูณด้วย 10 ตามลักษณะของเครื่องวัดไฟฟ้าที่โจทก์ติดตั้งทำให้จำเลยชำระค่าไฟฟ้าให้โจทก์ขาดไปนั้น เมื่อมิได้มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้เป็นอย่างอื่น ต้องถือว่ามีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 164 โจทก์คำนวณหน่วยกระแสไฟฟ้าที่จำเลยใช้ผิดไปเพราะไม่ได้นำตัวเลขในเครื่องวัดหน่วยไฟฟ้ามาคูณด้วย 10 ตามลักษณะของเครื่องวัดหน่วยไฟฟ้าที่โจทก์ติดตั้งให้จำเลย จำเลยได้รับประโยชน์ในการใช้กระแสไฟฟ้าที่โจทก์คำนวณผิด ไม่ใช่เป็นเรื่องที่โจทก์ออกใบเสร็จรับเงินให้จำเลยโดยไม่อิดเอื้อนตาม ป.พ.พ. มาตรา 327จำเลยจึงต้องรับผิดใช้เงินค่ากระแสไฟฟ้าที่โจทก์คำนวณขาดไปและจะถือว่าโจทก์ฟ้องจำเลยโดยใช้สิทธิไม่สุจริตหาได้ไม่ คดีสำนวนแรกโจทก์ฟ้องเรียกค่ากระแสไฟฟ้าที่โจทก์คิดขาดไประหว่างเดือนธันวาคม 2505 จนถึงเดือนมกราคม 2525 สำนวนหลังโจทก์ฟ้องเรียกค่ากระแสไฟฟ้าที่โจทก์คิดขาดไปในระหว่างวันที่ 13กุมภาพันธ์ 2525 ถึงวันที่ 29 ตุลาคม 2525 ซึ่งเป็นคนละช่วงเวลากัน ฟ้องโจทก์ทั้งสองคดีจึงไม่ใช่ฟ้องเรื่องเดียวกันและโดยอาศัยเหตุเดียวกัน จึงไม่เป็นฟ้องซ้อนหรือฟ้องซ้ำ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2494/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความค่ากระแสไฟฟ้า: การไฟฟ้านครหลวงไม่ใช่พ่อค้า อายุความ 10 ปี
การไฟฟ้านครหลวงมีฐานะเป็นรัฐวิสาหกิจ มีวัตถุประสงค์ในการจ่ายกระแสไฟฟ้าแก่ประชาชนอันมีลักษณะเป็นการสาธารณูปโภคและได้รับทุนในการดำเนินการจากงบประมาณแผ่นดิน จึงมิได้เป็นพ่อค้าตามความในมาตรา 165(1) แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์การฟ้องเรียกค่ากระแสไฟฟ้าดังกล่าว เมื่อมิได้มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้เป็นอย่างอื่น ต้องถือว่ามีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2494/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความค่ากระแสไฟฟ้า: การไฟฟ้านครหลวงไม่ใช่พ่อค้า ใช้ อายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
การไฟฟ้านครหลวงมีฐานะเป็นรัฐวิสาหกิจ มีวัตถุประสงค์ในการจ่ายกระแสไฟฟ้าแก่ประชาชนอันมีลักษณะเป็นการสาธารณูปโภคและได้รับทุนในการดำเนินการจากงบประมาณแผ่นดิน จึงมิได้เป็นพ่อค้าตามความในมาตรา 165(1) แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ การฟ้องเรียกค่ากระแสไฟฟ้าดังกล่าว เมื่อมิได้มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้เป็นอย่างอื่น ต้องถือว่ามีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 401/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตอำนาจตัวแทนและการเริ่มนับอายุความคดีละเมิด กรณีการไฟฟ้านครหลวงได้รับมอบหมายเฉพาะการดำเนินการเบื้องต้น
โจทก์เพียงแต่มอบหมายให้การไฟฟ้านครหลวงดำเนินการเก็บรักษา ซ่อมแซม แจ้งความ กล่าวโทษ แจ้งราคาค่าเสียหายของทรัพย์และรับชำระหนี้ที่ผู้ละเมิดยอมชดใช้ให้ในชั้นแจ้งความที่สถานีตำรวจ ส่วนการติดตามทวงถามเรียกร้องค่าเสียหายจากผู้ละเมิดซึ่งไม่ยอมชดใช้ โจทก์จะเป็นผู้ดำเนินการเอง โดยขอให้การไฟฟ้านครหลวงแจ้งเหตุที่เกิดขึ้น พร้อมกับรวบรวมหลักฐานส่งไปให้โจทก์ ดังนี้ยังถือไม่ได้ว่าโจทก์มอบอำนาจให้การไฟฟ้านครหลวงเป็นตัวแทนโจทก์ในการติดตามทวงถามเรียกร้องให้ผู้ทำละเมิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่า เหตุละเมิดเกิดขึ้นวันที่ 22 สิงหาคม 2524 ครั้น วันที่16 กุมภาพันธ์ 2525 การไฟฟ้านครหลวงแจ้งเรื่องการละเมิดและผู้ทำละเมิดให้โจทก์ทราบโจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 29 กันยายน 2525 คดีจึงไม่ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1080/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไฟฟ้านครหลวงไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าไฟฟ้า หากผู้เช่าไม่ชำระ และการบอกเลิกสัญญาต้องเป็นลายลักษณ์อักษร
ข้อบังคับของการไฟฟ้านครหลวงจำเลยที่ 1 ระบุความรับผิดชอบของผู้ใช้ไฟฟ้าไว้ว่าจะต้องรับผิดชอบชำระค่าไฟฟ้าจนกว่าจะแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรบอกเลิกหรือโอนการใช้ไฟฟ้าให้จำเลยที่ 1 ทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 3 วัน ดังนั้น การที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้ใช้ไฟฟ้าขอให้จำเลยที่ 1 งดจ่ายกระแสไฟฟ้าชั่วคราวสำหรับตึกแถวของโจทก์ที่ให้บุคคลอื่นเช่าจึงไม่เป็นการบอกเลิกการใช้ไฟฟ้าตามข้อบังคับดังกล่าว หามีผลให้จำเลยที่ 1 จำต้องปฏิบัติตามแต่ประการใดไม่ โจทก์ต้องรับผิดชอบชำระค่ากระแสไฟฟ้าที่ได้ใช้ไปในตึกแถวดังกล่าวการกระทำของจำเลยที่ 1 ย่อมไม่เป็นละเมิดต่อโจทก์
ฎีกาโจทก์มิได้กล่าวให้ชัดแจ้งว่าเอกสารหมาย ล. 2 ส่งเข้ามาในสำนวนโดยผิดกฎหมายอย่างไร เพียงแต่โจทก์กล่าวอ้างขึ้นลอย ๆ มิได้อ้างอิงข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายขึ้นโต้เถียงในประเด็นข้อพิพาทไว้โดยชัดแจ้งในฎีกาจึงเป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ฎีกาโจทก์มิได้กล่าวให้ชัดแจ้งว่าเอกสารหมาย ล. 2 ส่งเข้ามาในสำนวนโดยผิดกฎหมายอย่างไร เพียงแต่โจทก์กล่าวอ้างขึ้นลอย ๆ มิได้อ้างอิงข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายขึ้นโต้เถียงในประเด็นข้อพิพาทไว้โดยชัดแจ้งในฎีกาจึงเป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1080/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดชอบค่าไฟฟ้าของผู้ใช้ไฟฟ้าตามข้อบังคับของการไฟฟ้านครหลวง การบอกเลิกสัญญาใช้ไฟฟ้า
ข้อบังคับของการไฟฟ้านครหลวงจำเลยที่ 1 ระบุความรับผิดชอบของผู้ใช้ไฟฟ้าไว้ว่าจะต้องรับผิดชอบชำระค่าไฟฟ้าจนกว่าจะแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรบอกเลิกหรือโอนการใช้ไฟฟ้าให้จำเลยที่ 1ทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 3 วัน ดังนั้น การที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้ใช้ไฟฟ้าขอให้จำเลยที่ 1 งดจ่ายกระแสไฟฟ้าชั่วคราวสำหรับตึกแถวของโจทก์ที่ให้บุคคลอื่นเช่าจึงไม่เป็นการบอกเลิกการใช้ไฟฟ้าตามข้อบังคับดังกล่าวหามีผลให้จำเลยที่ 1 จำต้องปฏิบัติตามแต่ประการใดไม่ โจทก์ต้องรับผิดชอบชำระค่ากระแสไฟฟ้าที่ได้ใช้ไปในตึกแถวดังกล่าวการกระทำของจำเลยที่ 1ย่อมไม่เป็นละเมิดต่อโจทก์ ฎีกาโจทก์มิได้กล่าวให้ชัดแจ้งว่าเอกสารหมาย ล.2 ส่ง เข้ามาใน สำนวนโดยผิดกฎหมายอย่างไรเพียงแต่โจทก์กล่าวอ้างขึ้นลอยๆมิได้อ้างอิงข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายขึ้นโต้เถียงในประเด็นข้อพิพาทไว้ โดยชัดแจ้งในฎีกาจึงเป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย