คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
กำหนดระยะเวลา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 81 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3622/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิประโยชน์ทดแทนประกันสังคม: การยื่นคำขอเกินกำหนดระยะเวลา 1 ปี และเหตุผลความจำเป็น
ตาม พ.ร.บ.ประกันสังคมฯ มาตรา 56 วรรคหนึ่ง หากผู้ยื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทนมิได้ยื่นคำขอภายในกำหนดระยะเวลา 1 ปี นับแต่วันที่มีสิทธิรับประโยชน์ทดแทนตามปกติบุคคลนั้นย่อมเสียสิทธิ แต่เมื่อมาตรา 56 วรรคหนึ่ง ไม่ได้บัญญัติตัดสิทธิผู้ยื่นคำขอไว้โดยเด็ดขาดก็ต้องแปลว่า การที่ผู้ยื่นคำขอยื่นคำขอเกินกำหนดระยะเวลา 1 ปี อันจะทำให้ผู้ยื่นคำขอต้องเสียสิทธินั้นต้องเป็นกรณีที่ผู้ยื่นคำขอไม่มีเหตุอันสมควรเหรือมีความจำเป็นต้องใช้สิทธิล่าช้า หากผู้ยื่นคำขอมีเหตุผลอันสมควรหรือความจำเป็นต้องใช้สิทธิล่าช้าก็จะนำระยะเวลาดังกล่าวมาตัดสิทธิผู้ยื่นคำขอเสียทีเดียวหาได้ไม่ คดีนี้ข้อเท็จจริงรับฟังยุติตามคำฟ้องของโจทก์ว่า สาเหตุที่โจทก์ไม่ได้ยื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทนในกรณีชราภาพภายใน 1 ปี นับแต่สิ้นสภาพการเป็นลูกจ้างเนื่องจากโจทก์ไม่ทราบว่าจะต้องยื่นคำขอภายในกำหนดดังกล่าว และโจทก์อ้างว่าเมื่อสิทธิของโจทก์เกิดขึ้นแล้วจำเลยก็น่าจะแจ้งให้โจทก์ทราบ ดังนี้ ข้ออ้างของโจทก์ดังกล่าวมิใช่เหตุอันสมควรหรือความจำเป็นที่จะต้องใช้สิทธิล่าช้าแต่อย่างใด การที่โจทก์มิได้ยื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีชราภาพภายใน 1 ปี นับแต่วันที่มีสิทธิขอรับประโยชน์ทดแทน โจทก์ย่อมเสียสิทธิดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1725/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิประโยชน์ทดแทนกรณีคลอดบุตรเกินกำหนดระยะเวลา, การงดสืบพยาน, และกระบวนพิจารณานอกห้องพิจารณาคดี
คำสั่งเรียกพยานเอกสารเป็นกระบวนพิจารณานอกจากการนั่งพิจารณาและพิพากษาคดี การที่ผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางจดรายงานกระบวนพิจารณาสั่งให้จำเลยส่งประกาศของจำเลยเรื่อง หลักเกณฑ์และอัตราสำหรับประโยชน์ทดแทนในกรณีคลอดบุตรไปให้ศาลแรงงานกลาง แม้มิได้มีคำสั่งในระหว่างพิจารณาคดีในห้องพิจารณาต่อหน้าคู่ความ และมิได้มีผู้พิพากษาสมทบฝ่ายนายจ้างและลูกจ้างลงชื่อในรายงานกระบวนพิจารณาด้วย ก็ชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 18 และมาตรา 45 แล้ว
วันที่ 8 ตุลาคม 2545 เป็นวันนัดพร้อมมิใช่วันสืบพยาน โจทก์ไม่มาศาลในวันดังกล่าวตาม ป.วิ.พ. มาตรา 200 วรรคสอง ให้ถือว่าโจทก์สละสิทธิการดำเนินกระบวนพิจารณาของตนในนัดนั้น และทราบกระบวนพิจารณาที่ศาลได้ดำเนินไปในนัดนั้นด้วย ส่วนวันที่ 25 ตุลาคม 2545 ศาลแรงงานกลางนัดสืบพยานจำเลยและนัดฟังคำพิพากษา เมื่อถึงวันนัดศาลแรงงานกลางเห็นว่า คดีพอวินิจฉัยได้แล้ว ให้งดสืบพยานและได้อ่านคำพิพากษาให้ทนายจำเลยฟัง โดยถือว่าโจทก์ซึ่งมิได้มาศาลได้ฟังคำพิพากษาโดยชอบแล้ว เมื่อมิได้มีการสืบพยานจำเลย ย่อมถือว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณาไม่ได้ ที่ศาลแรงงานกลางไม่มีคำสั่งจำหน่ายคดีจึงชอบแล้ว
ผู้มีสิทธิขอรับประโยชน์ทดแทนมิได้ยื่นคำขอรับสิทธิภายในกำหนดระยะเวลา 1 ปี นับแต่วันที่มีสิทธิขอรับประโยชน์ทดแทน ตามปกติย่อมเสียสิทธิ แต่ พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 มาตรา 56 วรรคหนึ่ง ไม่ได้บัญญัติตัดสิทธิผู้ยื่นคำขอไว้โดยเด็ดขาดก็ต้องแปลว่าการยื่นคำขอเกินกำหนด 1 ปี ที่จะทำให้ผู้ยื่นคำขอเสียสิทธิ ต้องเป็นกรณีผู้ยื่นคำขอไม่มีเหตุอันสมควรหรือจำเป็นต้องใช้สิทธิล่าช้า หากผู้ยื่นคำขอมีเหตุผลอันสมควรหรือมีความจำเป็นต้องใช้สิทธิล่าช้าก็นำระยะเวลาดังกล่าวมาตัดสิทธิผู้ยื่นคำขอไม่ได้ โจทก์อ้างเหตุที่ยื่นล่าช้าเนื่องจากพนักงานบริษัทที่โจทก์ทำงานซึ่งดูแลงานด้านนี้ ไม่แจ้งให้โจทก์ทราบว่าโจทก์จะต้องยื่นขอรับประโยชน์ทดแทนเมื่อใด เมื่อพนักงานผู้นั้นลาออกแล้วพนักงานใหม่ที่มาดูแลงานด้านนี้แทนได้แจ้งให้โจทก์ทราบเกี่ยวกับสิทธิของกองทุนประกันสังคมก็เกินกำหนดเวลาที่จะยื่นแล้ว จึงมีเหตุอันสมควรที่ทำให้โจทก์ยื่นคำขอล่าช้า แม้โจทก์จะยื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทนเกิน 1 ปี นับแต่วันที่มีสิทธิขอรับประโยชน์ทดแทน โจทก์ก็ยังมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีคลอดบุตร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8572/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่ปฏิบัติตามกำหนดระยะเวลาการชำระค่าขึ้นศาล ส่งผลให้คำสั่งศาลถึงที่สุด แม้จะอ้างเหตุสุดวิสัย
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องของจำเลยที่ 2 ที่ขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดี จำเลยที่ 2 ได้ยื่นอุทธรณ์พร้อมกับลงลายมือชื่อไว้ในอุทธรณ์ว่าจะมาฟังคำสั่งภายใน 7 วัน นับแต่วันยื่นอุทธรณ์ หากไม่มาให้ถือว่าทราบคำสั่งแล้ว ต่อมาศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำเลยที่ 2 เสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์เพิ่มภายใน 7 วัน นับแต่วันทราบคำสั่ง แต่จำเลยที่ 2 ไม่เสียภายในกำหนด ศาลชั้นต้นจึงมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ ในกรณีเช่นนี้หากจำเลยที่ 2 ไม่เห็นพ้องด้วยกับคำสั่งศาลชั้นต้น ก็ต้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ภายในกำหนด 15 วัน ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 234 ปรากฏว่าศาลชั้นต้นได้แจ้งคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ให้จำเลยที่ 2 ทราบโดยวิธีปิดหมายเมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2545 แต่จำเลยที่ 2 มิได้ยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งแต่อย่างใด คำสั่งศาลชั้นต้นที่สั่งไม่รับอุทธรณ์ย่อมเป็นอันถึงที่สุด การที่จำเลยที่ 2 ยื่นคำร้องขอวางเงิน ค่าขึ้นศาลเพิ่มเมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2545 ซึ่งพ้นระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดและสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 แล้วก็ดี และเมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาต จำเลยที่ 2 จึงได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นรับเงินค่าขึ้นศาลเพิ่มพร้อมกับสั่งรับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 โดยอ้างเหตุว่ามิได้จงใจที่จะไม่เสียค่าขึ้นศาลเพิ่มก็ดี ก็หามีผลลบล้างคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ถึงที่สุดดังกล่าวแล้วไม่ ดังนั้น แม้ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งยกคำร้องของจำเลยที่ 2 ในครั้งหลังนี้ ก็ไม่ทำให้จำเลยที่ 2 มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นเกี่ยวกับเรื่องเงินค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์และขอให้สั่งรับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 647/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำขอรับชำระหนี้ในคดีฟื้นฟูกิจการต้องทำภายในกำหนดระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด
การขอแก้ไขเพิ่มเติมคำขอรับชำระหนี้ในคดีฟื้นฟูกิจการต้องยื่นคำขอภายในกำหนดระยะเวลาหนึ่งเดือนนับแต่วันโฆษณาคำสั่งตั้งผู้ทำแผนตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 90/26 และก่อนการมีคำสั่งชี้ขาดเรื่องการขอรับชำระหนี้ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
เมื่อการขอแก้ไขเพิ่มเติมคำขอรับชำระหนี้ที่จะต้องดำเนินการภายในกำหนดระยะเวลายื่นคำขอรับชำระหนี้นั้น พ.ร.บ.ล้มละลายฯ บัญญัติไว้โดยเฉพาะแล้ว จึงไม่อาจนำบทบัญญัติเกี่ยวกับการขอแก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 179, 180 มาอนุโลมใช้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1651/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความ: กำหนดระยะเวลาเป็นเพียงกรอบการปฏิบัติตามสัญญา ไม่ใช่เงื่อนไขสิ้นสุดสัญญา
วัตถุประสงค์ในการทำสัญญาประนีประนอมยอมความเป็นกรณีที่โจทก์จำเลยมุ่งระงับข้อพิพาทระหว่างกันด้วยการที่จำเลยจะโอนที่ดินให้แก่โจทก์ภายใน 6 เดือน ส่วนโจทก์ก็จะชำระราคารวมทั้งภาระค่าธรรมเนียมและค่าภาษีอื่นๆ ให้แก่จำเลย เมื่อคู่สัญญาตามสัญญาประนีประนอมยอมความมีวัตถุประสงค์ดังกล่าว การกำหนดระยะเวลา 6 เดือนไว้จึงเป็นการกำหนดระยะเวลาให้โจทก์จำเลยปฏิบัติตามสัญญาเท่านั้น หากไม่ปฏิบัติก็บังคับคดีกันไปเพื่อให้สมวัตถุประสงค์แห่งการทำสัญญาที่ต้องการให้ข้อพิพาทระหว่างกันระงับไปด้วยวิธีดังกล่าว หาใช่ว่าหากไม่ปฏิบัติตามสัญญาภายในกำหนดเวลาดังกล่าวแล้วจะทำให้ข้อกำหนดในสัญญาประนีประนอมยอมความสิ้นผลไปโดยคู่สัญญาไม่จำเป็นต้องปฏิบัติตามสัญญาแต่อย่างใด เนื่องจากไม่เป็นการระงับข้อพิพาทระหว่างกันตามที่โจทก์จำเลยมีเจตนาในการเข้าทำสัญญามาตั้งแต่ต้น ดังนั้น เมื่อโจทก์วางเงินจำนวน 200,000 บาท ต่อศาลแล้วแม้จะเกินเวลา 6 เดือน จำเลยจึงต้องรับเงินและมีหน้าที่จดทะเบียนโอนสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทให้โจทก์ หากจำเลยไม่ปฏิบัติโจทก์ก็ชอบที่จะขอให้บังคับตามสัญญาประนีประนอมยอมความได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 53/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบอกเลิกสัญญาเช่าก่อนกำหนดและการบังคับใช้สัญญาเช่าที่ไม่ได้จดทะเบียน
สัญญาเช่าอาคารที่โจทก์ทำกับจำเลยมีกำหนดระยะเวลาเช่า 10 ปี โดยมิได้จดทะเบียนการเช่า สัญญาดังกล่าวจึงบังคับได้เพียง 3 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 538 และต้องถือว่าการเช่าใน 3 ปีแรก เป็นการเช่าที่มีกำหนดระยะเวลา การที่โจทก์บอกเลิกสัญญาเช่าหลังจากเช่าไปแล้ว 1 ปีเศษ ถือว่าโจทก์ประสงค์บอกเลิกสัญญาที่มีกำหนดระยะเวลา เมื่อสัญญาดังกล่าวไม่มีข้อความตอนใดให้สิทธิแก่โจทก์ในอันที่จะเลิกสัญญาได้ การที่โจทก์บอกเลิกสัญญาเช่าก่อนกำหนดจึงไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 386

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3542/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องเพิกถอนคำวินิจฉัยเครื่องหมายการค้าไม่มีกำหนดระยะเวลาฟ้องที่แน่นอน ศาลฎีกายกคำสั่งไม่รับฟ้อง
การฟ้องคดีขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าที่ปฏิเสธไม่รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ายืนตามคำสั่งของนายทะเบียน การใช้สิทธิทางศาล ในกรณี เช่นนี้ ไม่มีบทบัญญัติใดในพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 หรือในกฎหมายอื่นใด บัญญัติให้โจทก์ต้องใช้สิทธิทางศาลหรือฟ้องคดีภายใน 90 วัน นับแต่วันทราบคำวินิจฉัยของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้า ดังนั้นโจทก์ย่อมมีสิทธิยื่นฟ้องภายหลังกำหนดดังกล่าวได้โดยไม่จำเป็นต้องยื่นคำร้องขอให้ศาลขยายกำหนดระยะเวลาให้แต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3140/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าขึ้นศาลคำร้องขอพิจารณาใหม่ & เหตุพ้นกำหนดระยะเวลา การส่งคำบังคับโดยชอบ
จำเลยที่ 2 ยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่และศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องจำเลยที่ 2 อุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์พิพากษายกคำสั่งศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นไต่สวนคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ แล้วมีคำสั่งใหม่ตามรูปคดีโดยไม่ได้อุทธรณ์ขอให้ตนเป็นฝ่ายชนะคดี อุทธรณ์ดังกล่าวจึงเป็นคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ต้องเสียค่าขึ้นศาล 200 บาทตามตาราง 1 ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2542 เจ้าพนักงานศาลจังหวัดนนทบุรีได้ส่งคำบังคับโดยการปิดคำบังคับ ณ ภูมิลำเนาของจำเลยที่ 2 ตามที่ปรากฏในทะเบียนราษฎรจึงเป็นการส่งโดยชอบ จำเลยที่ 2 ต้องยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ภายในวันที่ 13 กรกฎาคม2542 แต่จำเลยที่ 2 ยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2542 จึงพ้นกำหนดระยะเวลาตามกฎหมาย ส่วนข้ออ้างในคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ว่ามีพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้เพราะจำเลยที่ 2 พักอาศัยอยู่ ณ บ้านเลขที่ 194/28 และเพิ่งไปพบคำบังคับที่หน้าบ้านตามทะเบียนราษฎรเมื่อต้นเดือนกรกฎาคม 2542 ไม่ใช่พฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2190-2193/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างงานตามสัญญาที่มีกำหนดระยะเวลา และเหตุสุดวิสัย นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยหากไม่เข้าหลักเกณฑ์
การจ้างงานที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอน อันเข้าข้อยกเว้นที่ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยเมื่อเลิกจ้าง นอกจากเป็นการจ้างงานที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอนแล้วยังต้องเป็นงานโครงการเฉพาะที่มิใช่งานปกติของธุรกิจหรือการค้าของนายจ้างและนายจ้างต้องเลิกจ้างลูกจ้างตามกำหนดระยะเวลานั้นด้วย จำเลยประกอบธุรกิจรับเหมาก่อสร้างเป็นปกติ จำเลยจ้างโจทก์ให้ทำงานก่อสร้างอันเป็นธุรกิจปกติของจำเลยและจำเลยมิได้เลิกจ้างโจทก์ตามระยะเวลาการจ้างที่กำหนด กรณีจึงไม่เข้าหลักเกณฑ์ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 118 วรรคสามและวรรคสุดท้าย ที่จำเลยจะเลิกจ้างโจทก์โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 118และมาตรา 119 ไม่มีข้อยกเว้นว่านายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยเมื่อเลิกจ้างลูกจ้างเนื่องจากเหตุสุดวิสัย และประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 ก็มิได้มีข้อยกเว้นว่านายจ้างไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าในกรณีเลิกจ้างเพราะเหตุสุดวิสัยเช่นเดียวกัน ดังนั้น การวินิจฉัยว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์เนื่องจากเหตุสุดวิสัยหรือไม่ ย่อมไม่อาจเปลี่ยนแปลงผลคำวินิจฉัยของศาลแรงงานกลางเรื่องการจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าจึงเป็นข้อกฎหมายที่ไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 วรรคหนึ่งประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 849/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าชดเชยลูกจ้างตามสัญญาจ้างที่มีกำหนดระยะเวลา ต้องพิจารณาลักษณะงานตามประกาศกระทรวงฯ
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 46 วรรคสาม และวรรคสี่ บัญญัติว่า "ความในข้อนี้มิให้ใช้บังคับแก่ลูกจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอน และเลิกจ้างตามกำหนดระยะเวลานั้น การจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาตามวรรคสามจะกระทำได้สำหรับการจ้างงานในโครงการเฉพาะที่มิใช่งานปกติของธุรกิจหรือการค้าของนายจ้างซึ่งต้องมีระยะเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดของงานที่แน่นอน หรือในงานอันมีลักษณะเป็นครั้งคราวที่มีกำหนดการสิ้นสุดหรือความสำเร็จของงานหรือในงานที่เป็นไปตามฤดูกาลและได้จ้างในช่วงเวลาของฤดูกาลนั้น ซึ่งงานนั้นจะต้องแล้วเสร็จภายในเวลาไม่เกินสองปีโดยนายจ้างและลูกจ้างได้ทำสัญญาเป็นหนังสือไว้ตั้งแต่เมื่อเริ่มจ้าง"หมายความว่า การจ้างตามกำหนดระยะเวลาที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอนซึ่งนายจ้างไม่จำต้องจ่ายค่าชดเชยแก่ลูกจ้างนั้นการจ้างดังกล่าวจะต้องเป็นกรณีที่มีลักษณะงานตามที่กำหนดไว้ในบทบัญญัติข้างต้น ส่วนงานที่โจทก์ทำมิได้มีลักษณะงานประเภทใดประเภทหนึ่งตามบทบัญญัติดังกล่าว เมื่อโจทก์ทำงานกับจำเลยติดต่อกันครบ 1 ปีตามสัญญาจ้าง จำเลยจึงต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์ไม่น้อยกว่าอัตราค่าจ้างสุดท้ายเก้าสิบวัน
of 9