พบผลลัพธ์ทั้งหมด 13 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 482/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กำหนดระยะเวลาฟ้องคดีภาษีอากรเป็นกำหนดเวลาตามกฎหมายเฉพาะ ไม่ใช่อายุความทั่วไป
โจทก์เป็นผู้รับประเมินให้เสียภาษีโรงเรือนและที่ดิน โจทก์ไม่พอใจในการประเมินได้ยื่นคำร้องต่อผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครให้พิจารณาการประเมินนั้นใหม่ เมื่อผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมีคำชี้ขาดและแจ้งไปยังโจทก์เป็นลายลักษณ์อักษรแล้ว ถ้าโจทก์ไม่พอใจจะต้องปฏิบัติตามมาตรา 31 วรรคแรก แห่งพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 โดยต้องฟ้องศาลภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันรับแจ้งความให้ทราบคำชี้ขาด กำหนดระยะเวลาดังกล่าวเป็นกำหนดระยะเวลาที่กฎหมายบัญญัติให้ผู้รับประเมินฟ้องต่อศาลคือศาลภาษีอากรกลาง มิใช่อายุความฟ้องร้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 1 ลักษณะ 6 จึงนำบทบัญญัติเรื่องอายุความสะดุดหยุดลงมาใช้บังคับไม่ได้ แม้คดีจะอยู่ในอำนาจของศาลภาษีอากรกลาง แต่เมื่อโจทก์มิได้ฟ้องคดีภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 903/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลเยาวชนฯ, กำหนดเวลาฟ้อง, และข้อยกเว้นกรณีพนักงานสอบสวนรับผิดชอบในเขตอำนาจศาล
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 มาตรา 58 บัญญัติว่า"คดีอาญาที่มีข้อหาว่าเด็กหรือเยาวชนกระทำความผิดให้ศาลเยาวชนและครอบครัว ซึ่งมีเขตอำนาจในท้องที่ที่เด็กหรือเยาวชนมีถิ่นที่อยู่ปกติ มีอำนาจพิจารณาคดีเกี่ยวกับความผิดนั้น แต่ถ้า (1)...(2) มีศาลเยาวชนและครอบครัวทั้งในท้องที่ที่เด็กหรือเยาวชนมีถิ่นที่อยู่ปกติและในท้องที่ที่เด็กหรือเยาวชนกระทำความผิด เพื่อประโยชน์แก่เด็กหรือเยาวชนให้ศาลแห่งท้องที่ที่เด็กหรือเยาวชนกระทำความผิดมีอำนาจรับพิจารณาคดีนั้นได้ด้วย" นั้นมีความหมายว่าหากในท้องที่ที่เด็กหรือเยาวชนซึ่งเป็นจำเลยมีถิ่นที่อยู่ปกติและในท้องที่ที่เด็กหรือเยาวชนกระทำความผิดต่างมีศาลเยาวชนและครอบครัวทั้งสองแห่งเช่นนี้ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยต่อศาลเยาวชนและครอบครัวศาลใดศาลหนึ่งก็ได้ กำหนดเวลาฟ้องคดีต่อศาลเยาวชนและครอบครัวตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 มาตรา 51 วรรคหนึ่งที่กำหนดให้ต้องยื่นฟ้องให้ทันภายใน 30 วัน นับแต่วันที่จำเลยถูกจับกุม และหากเกิดความจำเป็นไม่สามารถฟ้องให้ทันภายในระยะเวลาดังกล่าวแล้ว พนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการแล้วแต่กรณีชอบที่จะยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อขอผัดฟ้องต่อไปได้อีกครั้งละไม่เกิน 15 วัน เป็นคราว ๆ ไปตามมาตรา 51 วรรคสอง และวรรคสาม ส่วนในมาตรา 51 วรรคห้า ที่บัญญัติว่า บทบัญญัติมาตรา 51 นี้มิให้ใช้บังคับในกรณีที่พนักงานสอบสวน ผู้รับผิดชอบแห่งท้องที่นอกเขตอำนาจของศาลเยาวชนและครอบครัว เป็นผู้ดำเนินการสอบสวน มีความหมายว่า ในกรณีที่ท้องที่ ที่พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบเป็นผู้ดำเนินการสอบสวน ไม่มีศาลเยาวชนและครอบครัว และคดีนั้นต้องฟ้องต่อ ศาลเยาวชนและครอบครัวแล้ว พนักงานอัยการมีสิทธิยื่นฟ้อง จำเลยต่อศาลเยาวชนและครอบครัวได้ แม้จะพ้นกำหนด 30 วัน นับแต่วันที่จำเลยถูกจับกุมโดยพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการ มิต้องยื่นคำร้องขอผัดฟ้องต่อศาลเยาวชนและครอบครัว ตาม มาตรา 51 วรรคหนึ่ง วรรคสอง หรือวรรคสาม ด้วย แต่ถ้าใน ท้องที่ที่พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบเป็นผู้ดำเนินการสอบสวน มีศาลเยาวชนและครอบครัวอยู่ในเขตอำนาจแล้ว แม้จะมี ศาลเยาวชนและครอบครัวอื่นที่มีอำนาจพิจารณาคดีเกี่ยวกับ ความผิดนั้นได้ด้วยตามมาตรา 58 ก็ตาม กรณีจะนำบทบัญญัติ ในมาตรา 51 วรรคห้า มาใช้บังคับหาได้ไม่ และหากพนักงานอัยการ มีเหตุจำเป็นไม่สามารถฟ้องจำเลยต่อศาลให้ทันภายในระยะเวลา 30 วัน นับแต่วันที่จำเลยถูกจับกุมแล้ว พนักงานสอบสวนหรือ พนักงานอัยการก็ชอบที่จะยื่นคำร้องขอผัดฟ้องต่อ ศาลเยาวชนและครอบครัวศาลใดศาลหนึ่งได้ตาม มาตรา 51 วรรคสองและวรรคสาม คดีนี้เหตุเกิดในท้องที่ตำบลบางกรวย อำเภอบางกรวยจังหวัดนนทบุรี และเจ้าพนักงานตำรวจสถานีตำรวจภูธรอำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี เป็นผู้จับกุมจำเลย ดังนั้นพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอบางกรวย จึงเป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 18 วรรคสาม เมื่อปรากฏว่าคดีนี้พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบซึ่งเป็นผู้ดำเนินการสอบสวนอยู่ในเขตอำนาจของศาลจังหวัดนนทบุรีแผนกคดีเยาวชนและครอบครัว อันเป็นศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีเกี่ยวกับความผิดของจำเลยเช่นนี้จึงมิใช่กรณีที่พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบแห่งท้องที่ นอกเขตอำนาจของศาลเยาวชนและครอบครัวเป็นผู้ดำเนินการสอบสวนกรณีไม่อาจนำบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและ ครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 มาตรา 51 วรรคห้า มาใช้บังคับแก่กรณีนี้ได้ พนักงานอัยการโจทก์ จึงไม่มีอำนาจยื่นฟ้องจำเลยต่อศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง เมื่อพ้นกำหนด 30 วัน นับแต่วันที่จำเลยถูกจับกุม โดยมิได้ ขอผัดฟ้องหรือมิได้รับอนุญาตจากอัยการสูงสุด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7286/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กำหนดเวลาฟ้องคดีอาญาในศาลแขวง และข้อยกเว้นการนับเวลาเดินทาง
คดีนี้เกิดขึ้นในท้องที่ที่ต้องนำวิธีพิจารณาความอาญาตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับ เมื่อปรากฏตามบันทึกการฟ้องคดีอาญาด้วยวาจาของพนักงานอัยการโจทก์ว่า เจ้าพนักงานจับจำเลยเมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2539 เวลา 14 นาฬิกา และควบคุมตัวจำเลยเมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2539 เวลา 14.30 นาฬิกา และโจทก์ยื่นฟ้องต่อศาลชั้นต้นเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2539 เวลา 15 นาฬิกา เห็นได้ว่า ฟ้องโจทก์ดังกล่าวนั้น ยื่นต่อศาลชั้นต้นเกินกำหนด 72 ชั่วโมง เพียงเล็กน้อย ดังนั้นการที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยแต่เพียงว่า โจทก์จะต้องฟ้องจำเลยภายใน 72 ชั่วโมงนับแต่เวลาถูกจับ โดยมิได้นำข้อยกเว้นที่กฎหมายบัญญัติให้นับเวลาเดินทางตามปกติที่นำตัวผู้ต้องหาจากที่จับมาที่ทำการของพนักงานสอบสวน จากที่ทำการของพนักงานสอบสวนและหรือจากที่ทำการของพนักงานอัยการมาศาล ขึ้นวินิจฉัยด้วย จึงยังไม่เป็นการถูกต้องตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499มาตรา 7 และเมื่อคดียังไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่า ฟ้องโจทก์เข้าข้อยกเว้นตามกฎหมายหรือไม่ ดังนี้ ศาลฎีกาให้ยกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ให้ศาลชั้นต้นไต่สวนข้อเท็จจริงว่าโจทก์ได้ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 7 หรือไม่ แล้วส่งสำนวนให้ศาลอุทธรณ์พิพากษาใหม่ตามรูปคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7286/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กำหนดเวลาฟ้องคดีอาญาในศาลแขวง: การพิจารณาข้อยกเว้นเรื่องเวลาเดินทาง
คดีนี้เกิดขึ้นในท้องที่ที่ต้องนำวิธีพิจารณาความอาญาตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับ เมื่อปรากฏตามบันทึกการฟ้องคดีอาญาด้วยวาจาของพนักงานอัยการโจทก์ว่า เจ้าพนักงานจับจำเลยเมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2539 เวลา 14 นาฬิกา และควบคุมตัวจำเลยเมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2539 เวลา 14.30 นาฬิกา และโจทก์ยื่นฟ้องต่อศาลชั้นต้นเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2539 เวลา 15 นาฬิกา เห็นได้ว่า ฟ้องโจทก์ดังกล่าวนั้น ยื่นต่อศาลชั้นต้นเกินกำหนด 72 ชั่วโมง เพียงเล็กน้อย ดังนั้นการที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยแต่เพียงว่า โจทก์จะต้องฟ้องจำเลยภายใน 72 ชั่วโมงนับแต่เวลาถูกจับ โดยมิได้นำข้อยกเว้นที่กฎหมายบัญญัติให้นับเวลาเดินทางตามปกติที่นำตัวผู้ต้องหาจากที่จับมาที่ทำการของพนักงานสอบสวน จากที่ทำการของพนักงานสอบสวนและหรือจากที่ทำการของพนักงานอัยการมาศาล ขึ้นวินิจฉัยด้วย จึงยังไม่เป็นการถูกต้องตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499มาตรา 7 และเมื่อคดียังไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่า ฟ้องโจทก์เข้าข้อยกเว้นตามกฎหมายหรือไม่ ดังนี้ ศาลฎีกาให้ยกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ให้ศาลชั้นต้นไต่สวนข้อเท็จจริงว่าโจทก์ได้ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 7 หรือไม่ แล้วส่งสำนวนให้ศาลอุทธรณ์พิพากษาใหม่ตามรูปคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6399/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กำหนดเวลาฟ้องคดีเวนคืน และผลของการฟ้องพ้นกรอบเวลาตามกฎหมาย
พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับในขณะเกิดกรณีพิพาทคดีนี้ มาตรา 26 วรรคหนึ่งได้วางหลักเกณฑ์ในการนำคดีมาฟ้องศาลเมื่อผู้มีสิทธิได้รับค่าทดแทนยังไม่พอใจคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีไว้ 2 กรณี คือ กรณีแรกเป็นกรณีที่รัฐมนตรีได้วินิจฉัยอุทธรณ์เสร็จสิ้นใน 60 วัน นับแต่วันที่ได้รับอุทธรณ์ เมื่อผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนยังไม่พอใจคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีก็มีสิทธินำคดีมาฟ้องต่อศาลภายใน 1 ปี นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยนั้น กรณีที่สองเป็นกรณีที่รัฐมนตรีวินิจฉัยอุทธรณ์ไม่เสร็จสิ้นภายใน60 วัน นับแต่วันรับอุทธรณ์ กรณีเช่นนี้ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนมีสิทธินำคดีมาฟ้องศาลภายใน 1 ปี นับแต่พ้นกำหนด 60 วัน นับแต่วันที่รัฐมนตรีได้รับอุทธรณ์
โจทก์อุทธรณ์เงินค่าทดแทนต่อรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์2537 โดยรัฐมนตรีได้รับอุทธรณ์ในวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2537 ดังนี้ โจทก์จะต้องอุทธรณ์ภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งเป็นหนังสือจากเจ้าหน้าที่หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่ให้มารับเงินค่าทดแทน โจทก์ได้รับแจ้งเป็นหนังสือจากเจ้าหน้าที่เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2537 โจทก์ทั้งสองจึงมีสิทธิอุทธรณ์ได้ภายในวันที่ 9 กรกฎาคม 2537 หากถือว่าโจทก์ทั้งสองอุทธรณ์และรัฐมนตรีรับอุทธรณ์ในวันดังกล่าวนี้ เมื่อรัฐมนตรีมิได้วินิจฉัยอุทธรณ์มาภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ได้รับอุทธรณ์ สิทธิในการนำคดีมาฟ้องต่อศาลภายใน 1 ปี จึงเริ่มนับแต่วันที่ 8 กันยายน2537 ซึ่งจะครบ 1 ปีในวันที่ 7 กันยายน 2538 โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 25ตุลาคม 2538 เกินกว่า 1 ปี นับแต่วันพ้นกำหนด 60 วัน นับแต่วันที่ที่รัฐมนตรีได้รับอุทธรณ์อันพ้นกำหนดเวลาที่กฎหมายกำหนด โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้อง
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องและเห็นว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเมื่อโจทก์อุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกาตาม ป.วิ.พ.มาตรา223 ทวิ ว่า โจทก์ทั้งสองฟ้องคดีภายในเวลาที่กฎหมายกำหนดแล้ว แม้หากอุทธรณ์ของโจทก์ในปัญหาดังกล่าวฟังขึ้นก็ตาม แต่เมื่อศาลฎีกาไม่มีอำนาจวินิจฉัยอุทธรณ์ข้ออื่นของโจทก์ทั้งสองได้ และต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยในประเด็นอื่นอีก อุทธรณ์ของโจทก์เช่นนี้จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ต้องเสียค่าขึ้นศาลเพียง 200 บาท ตามบัญชีท้าย ป.วิ.พ.ตาราง1 ข้อ 2 (ก) โจทก์ทั้งสองเสียค่าขึ้นศาลในชั้นนี้มาจำนวน 200,000 บาท จึงต้องคืนค่าขึ้นศาลส่วนที่เกินกว่า 200 บาท ให้แก่โจทก์
โจทก์อุทธรณ์เงินค่าทดแทนต่อรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์2537 โดยรัฐมนตรีได้รับอุทธรณ์ในวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2537 ดังนี้ โจทก์จะต้องอุทธรณ์ภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งเป็นหนังสือจากเจ้าหน้าที่หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่ให้มารับเงินค่าทดแทน โจทก์ได้รับแจ้งเป็นหนังสือจากเจ้าหน้าที่เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2537 โจทก์ทั้งสองจึงมีสิทธิอุทธรณ์ได้ภายในวันที่ 9 กรกฎาคม 2537 หากถือว่าโจทก์ทั้งสองอุทธรณ์และรัฐมนตรีรับอุทธรณ์ในวันดังกล่าวนี้ เมื่อรัฐมนตรีมิได้วินิจฉัยอุทธรณ์มาภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ได้รับอุทธรณ์ สิทธิในการนำคดีมาฟ้องต่อศาลภายใน 1 ปี จึงเริ่มนับแต่วันที่ 8 กันยายน2537 ซึ่งจะครบ 1 ปีในวันที่ 7 กันยายน 2538 โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 25ตุลาคม 2538 เกินกว่า 1 ปี นับแต่วันพ้นกำหนด 60 วัน นับแต่วันที่ที่รัฐมนตรีได้รับอุทธรณ์อันพ้นกำหนดเวลาที่กฎหมายกำหนด โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้อง
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องและเห็นว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเมื่อโจทก์อุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกาตาม ป.วิ.พ.มาตรา223 ทวิ ว่า โจทก์ทั้งสองฟ้องคดีภายในเวลาที่กฎหมายกำหนดแล้ว แม้หากอุทธรณ์ของโจทก์ในปัญหาดังกล่าวฟังขึ้นก็ตาม แต่เมื่อศาลฎีกาไม่มีอำนาจวินิจฉัยอุทธรณ์ข้ออื่นของโจทก์ทั้งสองได้ และต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยในประเด็นอื่นอีก อุทธรณ์ของโจทก์เช่นนี้จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ต้องเสียค่าขึ้นศาลเพียง 200 บาท ตามบัญชีท้าย ป.วิ.พ.ตาราง1 ข้อ 2 (ก) โจทก์ทั้งสองเสียค่าขึ้นศาลในชั้นนี้มาจำนวน 200,000 บาท จึงต้องคืนค่าขึ้นศาลส่วนที่เกินกว่า 200 บาท ให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6399/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กำหนดเวลาฟ้องคดีเวนคืนที่ดิน: คำวินิจฉัยเมื่อรัฐมนตรีไม่พิจารณาอุทธรณ์ภายใน 60 วัน
พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ. 2530 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับในขณะเกิดกรณีพิพาทคดีนี้ มาตรา 26 วรรคหนึ่ง ได้วางหลักเกณฑ์ในการนำคดีมาฟ้องศาลเมื่อผู้มีสิทธิได้รับค่าทดแทนยังไม่พอใจคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีไว้ 2 กรณี คือ กรณีแรกเป็นกรณีที่รัฐมนตรีได้วินิจฉัยอุทธรณ์เสร็จสิ้นใน 60 วัน นับแต่วันที่ได้รับอุทธรณ์ เมื่อผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนยังไม่พอใจคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีก็มีสิทธินำคดีมาฟ้องต่อศาลภายใน1 ปี นับแต่วันที่ ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยนั้น กรณีที่สองเป็นกรณีที่รัฐมนตรีวินิจฉัยอุทธรณ์ไม่เสร็จสิ้นภายใน 60 วันนับแต่วันรับอุทธรณ์ กรณีเช่นนี้ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนมีสิทธินำคดีมาฟ้องศาลภายใน 1 ปี นับแต่พ้นกำหนด 60 วันนับแต่วันที่รัฐมนตรีได้รับอุทธรณ์ โจทก์อุทธรณ์เงินค่าทดแทนต่อรัฐมนตรี เมื่อวันที่8 กุมภาพันธ์ 2537 โดยรัฐมนตรีได้รับอุทธรณ์ในวันที่9 กุมภาพันธ์ 2537 ดังนี้ โจทก์จะต้องอุทธรณ์ภายใน 60 วันนับแต่วนที่ได้รับแจ้งเป็นหนังสือจากเจ้าหน้าที่หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่ให้มารับเงินค่าทดแทนโจทก์ได้รับแจ้งเป็นหนังสือจากเจ้าหน้าที่เมื่อวันที่10 พฤษภาคม 2537 โจทก์ทั้งสองจึงมีสิทธิอุทธรณ์ได้ภายในวันที่ 9 กรกฎาคม 2537 หากถือว่าโจทก์ทั้งสองอุทธรณ์และรัฐมนตรีรับอุทธรณ์ในวันดังกล่าวนี้ เมื่อรัฐมนตรีมิได้วินิจฉัยอุทธรณ์มาภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ได้รับอุทธรณ์สิทธิในการนำคดีมาฟ้องต่อศาลภายใน 1 ปี จึงเริ่มนับแต่วันที่ 8 กันยายน 2537 ซึ่งจะครบ 1 ปี ในวันที่ 7 กันยายน2538 โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2538 เกินกว่า1 ปี นับแต่วันพ้นกำหนด 60 วัน นับแต่วันที่ที่รัฐมนตรีได้รับอุทธรณ์อันพ้นกำหนดเวลาที่กฎหมายกำหนด โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้อง ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องและเห็นว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเมื่อโจทก์อุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 223 ทวิ ว่าโจทก์ทั้งสองฟ้องคดีภายในเวลาที่กฎหมายกำหนดแล้วแม้หากอุทธรณ์ของโจทก์ในปัญหาดังกล่าวฟ้องขึ้นก็ตามแต่เมื่อศาลฎีกาไม่มีอำนาจวินิจฉัยอุทธรณ์ข้ออื่นของโจทก์ทั้งสองได้ และต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยในประเด็นอื่นอีก อุทธรณ์ของโจทก์เช่นนี้จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ต้องเสียค่าขึ้นศาลเพียง 200 บาท ตามบัญชีท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ตาราง 1 ข้อ 2(ก)โจทก์ทั้งสองเสียค่าขึ้นศาลในชั้นนี้มาจำนวน 200,000 บาทจึงต้องคืนค่าขึ้นศาลส่วนที่เกินกว่า 200 บาท ให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 230/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดินสูญเสียหากไม่ฟ้องแย่งคืนภายใน 1 ปี นับจากถูกแย่งการครอบครอง
เดิมที่ดินพิพาทเป็นที่ดินรกร้างว่างเปล่าและได้มีการขึ้นทะเบียนเป็นที่ราชพัสดุอยู่ในความดูแลของจำเลยที่ 2 ต่อมาปี 2512 จำเลยที่ 2 ได้ยื่นคำขอออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวง โดยก่อนที่จะออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวงนั้นได้มีการรังวัดที่ดินพิพาทโดยให้เจ้าของที่ดินข้างเคียงมาระวังแนวเขต และได้มีประกาศตามประมวลกฎหมายที่ดินเพื่อให้มีผู้มาคัดค้านแต่ไม่ปรากฏว่ามีผู้ใดมาคัดค้านทางกรมที่ดินได้ออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวงให้จำเลยที่ 2 เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์และได้มอบให้จำเลยที่ 1 ใช้ประโยชน์ตลอดมา จึงถือได้ว่าจำเลยที่ 2 ได้แย่งการครอบครองที่ดินพิพาทจากโจทก์ตั้งแต่ปี 2512 แล้วโจทก์เพิ่งนำคดีมาฟ้องเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองที่ดินพิพาทจากจำเลยทั้งสองเป็นคดีนี้เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2534ซึ่งพ้นกำหนดระยะเวลา 1 ปี นับแต่วันที่โจทก์ถูกแย่งการครอบครองที่ดินพิพาทแล้ว
การฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองที่พิพาท ป.พ.พ.มาตรา 1375 วรรคสอง นั้นเป็นบทบังคับเรื่องกำหนดเวลาสำหรับฟ้อง หากไม่ฟ้องภายในกำหนดเวลาดังกล่าวก็หมดสิทธิฟ้อง คือโจทก์หมดสิทธิครอบครองที่พิพาทอำนาจฟ้องเรียกคืนที่พิพาทก็ไม่มี ฉะนั้นกำหนดเวลาตามมาตรา 1375 วรรคสองจึงเป็นระยะเวลาให้สิทธิฟ้องเรียกคืนการครอบครองที่ดินมือเปล่า ไม่ใช่เรื่องอายุความ
การฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองที่พิพาท ป.พ.พ.มาตรา 1375 วรรคสอง นั้นเป็นบทบังคับเรื่องกำหนดเวลาสำหรับฟ้อง หากไม่ฟ้องภายในกำหนดเวลาดังกล่าวก็หมดสิทธิฟ้อง คือโจทก์หมดสิทธิครอบครองที่พิพาทอำนาจฟ้องเรียกคืนที่พิพาทก็ไม่มี ฉะนั้นกำหนดเวลาตามมาตรา 1375 วรรคสองจึงเป็นระยะเวลาให้สิทธิฟ้องเรียกคืนการครอบครองที่ดินมือเปล่า ไม่ใช่เรื่องอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 230/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคืนการครอบครองที่ดินมือเปล่าต้องฟ้องภายใน 1 ปี มิใช่เรื่องอายุความ
เดิมที่ดินพิพาทเป็นที่ดินรกร้างว่างเปล่าและได้มีการขึ้นทะเบียนเป็นที่ราชพัสดุอยู่ในความดูแลของจำเลยที่2ต่อมาปี2512จำเลยที่2ได้ยื่นคำขอออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวงโดยก่อนที่จะออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวงนั้นได้มีการรังวัดที่ดินพิพาทโดยให้เจ้าของที่ดินข้างเคียงมาระวังแนวเขตและได้มีประกาศตามประมวลกฎหมายที่ดินเพื่อให้มีผู้คัดค้านแต่ไม่ปรากฏว่ามีผู้ใดมาคัดค้านทางกรมที่ดินได้ออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวงให้จำเลยที่2เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์และได้มอบให้จำเลยที่1ใช้ประโยชน์ตลอดมาจึงถือได้ว่าจำเลยที่2ได้แย่งการครอบครองที่ดินพิพาทจากโจทก์ตั้งแต่ปี2512แล้วโจทก์เพิ่งนำคดีมาฟ้องเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองที่ดินพิพาทจากจำเลยทั้งสองเป็นคดีนี้เมื่อวันที่24เมษายน2534ซึ่งพ้นกำหนดระยะเวลา1ปีนับแต่วันที่โจทก์ถูกแย่งการครอบครองที่ดินพิพาทแล้ว การฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองที่พิพาทประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1375วรรคสองนั้นเป็นบทบังคับเรื่องกำหนดเวลาสำหรับฟ้องหากไม่ฟ้องภายในกำหนดเวลาดังกล่าวก็หมดสิทธิฟ้องคือโจทก์หมดสิทธิครอบครองที่พิพาทอำนาจฟ้องเรียกคืนที่พิพาทก็ไม่มีฉะนั้นกำหนดเวลาตามมาตรา1375วรรคสองจึงเป็นระยะเวลาให้สิทธิฟ้องเรียกคืนการครอบครองที่ดินมือเปล่าไม่ใช่เรื่องอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2450/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กำหนดเวลาฟ้องคดีอาญาหลังการมอบตัว: การจับกุมเริ่มนับเมื่อใด และผลหากพ้นกำหนด
จำเลยเข้ามอบตัวต่อพนักงานสอบสวนพนักงานสอบสวนแจ้งข้อหาและทำการสอบสวนแล้วส่งตัวให้พนักงานอัยการฟ้องพนักงานอัยการได้สั่งปล่อยจำเลยชั่วคราวโดยมีประกันตัวในวันเดียวกับที่ได้รับตัวจากพนักงานสอบสวนไปจนถึงวันฟ้อง พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงว่าเป็นการจับกุมจำเลยแล้วในวันที่จำเลยเข้ามอบตัวต่อพนักงานสอบสวน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2778/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กำหนดเวลาฟ้องคดีเด็กและเยาวชนและการขออนุญาตจากอธิบดีกรมอัยการหากพ้นกำหนด
การฟ้องคดีเด็กและเยาวชนจะต้องอยู่ในบังคับของมาตรา 24 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีเด็กและเยาวชน พ.ศ. 2494 ทั้งสิ้น กล่าวคือจะต้องยื่นฟ้องต่อศาลภายใน 30 วัน นับแต่วันที่เด็กหรือเยาวชนถูกจับกุม หรือได้รับอนุญาตจากศาลให้ผัดฟ้องได้เป็นคราวๆไป หากพ้นกำหนดนี้แล้วจะฟ้องได้ต่อเมื่อได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมอัยการแม้จะเป็นการฟ้องคดีตามคำชี้ขาดให้ฟ้องคดีของอธิบดีกรมอัยการก็ตาม (อ้างฎีกาที่ 10/2522)