คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
กิจการ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 65 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5378/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ องค์ประกอบความผิด พ.ร.บ.ความลับทางการค้า ต้องเป็นข้อมูลเกี่ยวกับกิจการของผู้ควบคุมความลับฯ และได้มาจากการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่
ตาม พ.ร.บ.ความลับทางการค้าฯ มาตรา 35 ข้อมูลที่นำไปเปิดเผยอันเป็นองค์ประกอบความผิดตามมาตรานี้ คือข้อเท็จจริงเกี่ยวกับกิจการของผู้ควบคุมความลับทางการค้า ส่วนองค์ประกอบความผิดในส่วนของผู้กระทำความผิดตามมาตรา 35 วรรคแรก คือผู้กระทำที่เปิดเผยข้อเท็จจริงใดเกี่ยวกับกิจการของผู้ควบคุมความลับทางการค้า จะต้องเป็นข้อเท็จจริงที่ผู้กระทำได้มาหรือล่วงรู้เนื่องจากการปฏิบัติการตาม พ.ร.บ.ความลับทางการค้าฯ ซึ่งผู้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติดังกล่าวได้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งรัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติดังกล่าวแต่งตั้งให้ปฏิบัติราชการเท่านั้น สำหรับองค์ประกอบความผิดในส่วนของผู้กระทำความผิดตามมาตรา 35 วรรคสอง คือผู้กระทำที่ได้มาหรือล่วงรู้ข้อเท็จจริงใดจากผู้ปฏิบัติการตาม พ.ร.บ.ความลับทางการค้าฯ โดยได้มาหรือล่วงรู้เนื่องในการปฏิบัติราชการหรือการสอบสวน หรือการพิจารณาคดีแล้วเปิดเผยข้อเท็จจริงนั้น ดังนั้น ที่โจทก์บรรยายฟ้องและนำสืบว่า จำเลยที่ 1 เป็นผู้ดูแลโรงงานของโจทก์ที่ 2 ซึ่งเป็นบริษัทที่เป็นเจ้าของและผู้ควบคุมความลับทางการค้าเกี่ยวกับกิจการผลิตน้ำหมักสมุนไพรไวน์พลูคาว ตรา โพรแลค (PROLAC) และจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 เป็นกรรมการบริษัทจำเลยที่ 5 จำเลยทั้งห้าร่วมกันเปิดเผยข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการผลิตน้ำหมักสมุนไพรไวน์พลูคาว ตรา โพรแลค (PROLAC) โดยร่วมกันนำสูตรดังกล่าวผลิตและจำหน่ายโดยไม่ได้รับอนุญาตจากโจทก์ทั้งสอง เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า ข้อมูลที่นำไปเปิดเผยเป็นความลับทางการค้า มิใช่ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับกิจการของผู้ควบคุมความลับทางการค้า ประกอบกับจำเลยทั้งห้ามิใช่ผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการตาม พ.ร.บ.ความลับทางการค้าฯ ซึ่งหมายถึง พนักงานเจ้าหน้าที่ที่รัฐมนตรีแต่งตั้งอันเป็นองค์ประกอบความผิดในมาตรา 35 คดีโจทก์จึงไม่มีมูลความผิดตาม พ.ร.บ.ความลับทางการค้าฯ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2680/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดินและการเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ กรณีที่ดินใช้ในกิจการ ไม่ใช่เพื่อขาย
มาตรา 91/1 (4) แห่ง ป.รัษฎากร ให้คำนิยามคำว่า ขาย ว่า หมายความรวมถึงสัญญาจะขาย ขายฝาก แลกเปลี่ยน ให้ ให้เช่าซื้อ หรือจำหน่าย จ่าย โอน ไม่ว่าจะมีประโยชน์ตอบแทนหรือไม่ ตามบทนิยามดังกล่าวเห็นได้ว่า แม้โจทก์จะโอนที่ดินดังกล่าวให้แก่กรมทางหลวงซึ่งเป็นไปตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 ก็ถือว่าเป็นการขายอสังหาริมทรัพย์ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 91/1 (4)
ส่วนการขายอสังหาริมทรัพย์ที่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะนั้น แม้ ป.รัษฎากร มาตรา 91/2 บัญญัติว่า ภายใต้บังคับมาตรา 91/4 การประกอบกิจการดังต่อไปนี้ในราชอาณาจักรให้อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะตามบทบัญญัติในหมวดนี้... (6) การขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไรไม่ว่าอสังหาริมทรัพย์นั้นจะได้มาโดยวิธีใดก็ตาม ทั้งนี้ เฉพาะที่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา และ พ.ร.ฎ.ออกตามความใน ป. รัษฎากร ว่าด้วยการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นทางค้าหรือหากำไร (ฉบับที่ 244) พ.ศ.2534 ออกโดยอาศัยบทบัญญัติดังกล่าวและใช้บังคับขณะนั้น มาตรา 3 บัญญัติว่า ให้การขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นทางค้าหรือหากำไรตามมาตรา 91/2 (6) แห่ง ป. รัษฎากร มีดังต่อไปนี้... (5) การขายอสังหาริมทรัพย์ที่ผู้ขายมีไว้ในการประกอบกิจการ แต่ไม่รวมถึงที่ดินที่ผู้นั้นใช้ในเกษตรกรรม แต่อสังหาริมทรัพย์ที่โจทก์โอนไปดังกล่าว โจทก์จำเป็นต้องมีไว้ในการประกอบกิจการเพราะใช้ทำสำนักงานและโรงงานผลิตเฟอร์นิเจอร์จำหน่าย ไม่ใช่มีไว้เพื่อขาย ประกอบกับการที่โจทก์ถูกเวนคืนไม่ใช่การโอนโดยเจตนาหรือเพื่อประโยชน์ในกิจการของโจทก์ ย่อมไม่เป็นการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นทางค้าหรือหากำไรที่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะตามมาตรา 91/2 (6) แห่ง ป. รัษฎากร
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 1/2549)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8167-8172/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สถานีบรรจุสินค้าของการรถไฟฯ ได้รับยกเว้นภาษีโรงเรือนและที่ดิน เพราะเป็นทรัพย์สินที่ใช้ในกิจการของการรถไฟโดยตรง
การดำเนินกิจการสถานีบรรจุและแยกสินค้ากล่องที่โจทก์ทั้งหกได้รับสัมปทานจากการรถไฟแห่งประเทศไทยเกี่ยวเนื่องกับระบบการขนส่งสินค้ากล่องเชื่อมต่อกับท่าเรือพาณิชย์แหลมฉบัง เพื่อสนับสนุนกิจการนำเข้าและส่งออกของประเทศและการเติบโตของท่าเรือพาณิชย์แหลมฉบัง โดยผู้ดำเนินการที่สถานีดังกล่าวจะทำหน้าที่ขนถ่ายและแยกสินค้าที่บรรจุมาในตู้สินค้าที่บรรทุกมาจากต่างประเทศโดยทางเรือมาที่ท่าเรือพาณิชย์แหลมฉบัง แล้วขนขึ้นรถไฟมาที่สถานีดังกล่าวเพื่อนำส่งให้แก่ผู้นำเข้าหรือนำสินค้าที่จะต้องส่งไปต่างประเทศโดยทางเรือมาบรรจุในตู้สินค้าเพื่อขนขึ้นรถไฟไปที่ท่าเรือพาณิชย์แหลมฉบัง โดยคิดค่าบริการจากผู้ใช้บริการ การดำเนินกิจการของสถานีบรรจุและแยกสินค้ากล่องดังกล่าว จึงเป็นการดำเนินธุรกิจอันเกี่ยวกับการขนส่งของรถไฟ คือการรับขนส่งสินค้าตามมาตรา 6 และมาตรา 9 (7) แห่ง พ.ร.บ. การรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2494 ดังนั้นสถานีบรรจุและแยกสินค้ากล่องจึงเป็นทรัพย์สินของการรถไฟแห่งประเทศไทยที่ใช้ในกิจการของการรถไฟโดยตรง ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินตามมาตรา 9 (2) แห่ง พ.ร.บ. ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475
ปัญหาว่าสถานีบรรจุและแยกสินค้ากล่องของการรถไฟแห่งประเทศไทยตามฟ้อง ได้รับยกเว้นภาษีโรงเรือนและที่ดินตามกฎหมายหรือไม่ เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้โจทก์ทั้งหกจะมิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลชั้นต้น โจทก์ที่ 2 ก็ยกขึ้นอุทธรณ์ได้ และสำหรับโจทก์ที่ 1 และที่ 3 ถึงที่ 6 แม้จะมิได้ยกขึ้นกล่าวอ้างในอุทธรณ์ ศาลฎีกาแผนกคดีภาษีอากรเห็นสมควรยกขึ้นวินิจฉัย ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 29 ประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) และมาตรา 225 วรรคสอง
โจทก์ทั้งหกเป็นผู้รับสัมปทานเข้าดำเนินกิจการสถานีบรรจุและแยกสินค้ากล่องของการรถไฟแห่งประเทศไทยได้ชำระค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินตามคำชี้ขาดให้แก่จำเลยที่ 1 แทนการรถไฟแห่งประเทศไทยตามสัญญาสัมปทานโดยเข้าใจว่าการรถไฟแห่งประเทศไทยมีหน้าที่ต้องชำระตามกฎหมาย เมื่อสถานีดังกล่าวได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีโรงเรือนและที่ดิน จำเลยที่ 1 จึงไม่มีสิทธิยึดเงินค่าภาษีไว้ โจทก์ทั้งหกมีอำนาจฟ้องบังคับให้จำเลยที่ 1 คืนเงินค่าภาษีที่ได้รับไว้ดังกล่าวให้แก่โจทก์ทั้งหกได้
(วรรคแรก ประชุมใหญ่ครั้งที่ 10/2548)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6960/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหยุดงานชั่วคราวต้องมีเหตุจำเป็นสำคัญจากการประกอบกิจการจริง มิใช่ปัญหาการบริหารจัดการภายใน
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 75 วรรคหนึ่ง เป็นกฎหมายที่คุ้มครองนายจ้างที่ประสบปัญหามีความจำเป็นต้องหยุดกิจการทั้งหมดหรือบางส่วนเป็นการชั่วคราว แต่นายจ้างยังมีความประสงค์จะประกอบกิจการของตนอีกต่อไป เพื่อเป็นการบรรเทาค่าใช้จ่ายจึงให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างในระหว่างการหยุดงานเพียงครึ่งเดียว แต่ก็ถือว่าเป็นบทบัญญัติที่คุ้มครองลูกจ้างด้วย สำหรับความจำเป็นของนายจ้างที่จะยกขึ้นอางจะต้องเป็นความจำเป็นที่สำคัญอันจะมีผลกระทบต่อการประกอบกิจการของนายจ้างอย่างมาก ทำให้ไม่สามารถประกอบกิจการตามปกติได้มิใช่เป็นแต่เพียงความจำเป็นทั่ว ๆ ไป เล็ก ๆ น้อย ๆ ซึ่งไม่ส่งผลกระทบแก่กิจการมากนัก อีกทั้งระยะเวลาในการแก้ไขเหตุแห่งความจำเป็นดังกล่าวจะต้องมีกำหนดเวลาที่แน่นอนติดต่อกันอย่างพอสมควร
โจทก์มีคำสั่งให้ลูกจ้างบางส่วนคือ ท. กับพวกรวม 444 คน หยุดงานชั่วคราวเป็นระยะ ๆ จำนวน 17 ครั้ง ครั้งหนึ่งไม่เกิน 2 คน รวม 31 วัน แม้โจทก์จะอ้างว่ายอดสั่งซื้อสินค้าลดลง แต่ลักษณะการสั่งให้หยุดงานชั่วคราวของโจทก์เป็นการคาดหมายว่าจะประสบปัญหาการสั่งซื้อสินค้าของลูกค้าซึ่งไม่มีความแน่นอน ประกอบกับโจทก์มีปัญหาด้านแรงงานกับลูกจ้าง และบางครั้งโจทก์ขาดวัตถุดิบเนื่องจากไม่ได้กักตุนวัตถุดิบไว้ ความจำเป็นในการหยุดงานชั่วคราวของโจทก์เป็นผลสืบเนื่องมาจากการบริหารจัดการของโจทก์เองที่ขาดการวางแผนที่ดีและมีปัญหาด้านแรงงาน มิใช่เป็นเหตุจำเป็นถึงขนาดต้องหยุดกิจการทั้งหมดหรือบางส่วนเป็นการชั่วคราวตามที่พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 75 วรรคหนึ่ง บัญญัติไว้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6960/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหยุดงานชั่วคราวของนายจ้างต้องมีเหตุผลสำคัญกระทบต่อกิจการ มิใช่ปัญหาการบริหารจัดการหรือขาดการวางแผน
ความจำเป็นของนายจ้างที่จะยกขึ้นอ้างเพื่อให้ได้รับความคุ้มครองตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 75 วรรคหนึ่ง จะต้องเป็นความจำเป็นที่สำคัญอันจะมีผลกระทบต่อการประกอบกิจการของนายจ้างอย่างมาก ทำให้นายจ้างไม่สามารถประกอบกิจการตามปกติได้ มิใช่เป็นแต่เพียงความจำเป็นทั่ว ๆ ไป เล็ก ๆ น้อย ๆ ซึ่งไม่ส่งผลกระทบต่อกิจการของนายจ้างมากนัก อีกทั้งระยะเวลาในการแก้ไขเหตุแห่งความจำเป็นนั้นจะต้องมีกำหนดเวลาที่แน่นอนติดต่อกันอย่างพอสมควร การที่ในระหว่างวันที่ 1 กันยายน 2545 ถึงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2545 โจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างมีคำสั่งให้ลูกจ้างบางส่วนคือ ท. กับพวกรวม 444 คน หยุดงานชั่วคราวเป็นระยะ ๆ จำนวน 17 ครั้ง ครั้งหนึ่งไม่เกิน 2 วัน รวม 31 วัน แม้โจทก์จะอ้างว่ายอดสั่งซื้อสินค้าลดลงก็ตาม ลักษณะการสั่งให้หยุดงานชั่วคราวของโจทก์ดังกล่าวเป็นการหยุดงานตามที่โจทก์คาดหมายว่าจะประสบปัญหาการสั่งซื้อสินค้าของลูกค้าซึ่งไม่มีความแน่นอน ประกอบกับโจทก์มีปัญหาด้านแรงงานกับลูกจ้างและบางครั้งโจทก์ขาดวัตถุดิบเนื่องจากไม่ได้กักตุนวัตถุดิบไว้ ความจำเป็นในการหยุดงานชั่วคราวของโจทก์จึงเป็นผลสืบเนื่องมาจากการบริหารจัดการของโจทก์เองที่ขาดการวางแผนงานที่ดีและมีปัญหาด้านแรงงาน มิใช่เป็นเหตุจำเป็นถึงขนาดต้องหยุดกิจการทั้งหมดหรือบางส่วนเป็นการชั่วคราวตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 75 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3274/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ รายจ่ายค่าไฟฟ้าที่เป็นส่วนตัวและเพื่อกิจการ การปันส่วนเพื่อคำนวณกำไรสุทธิ
ตาม ป.รัษฎากรฯ มาตรา 65 ตรี บัญญัติว่า "รายการต่อไปนี้ ไม่ให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ...(3) รายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการส่วนตัว... (13) รายจ่ายซึ่งมิใช่รายจ่ายเพื่อหากำไรหรือเพื่อกิจการโดยเฉพาะ" หมายความว่า รายจ่ายที่จะนำมาคำนวณเพื่อหากำไรสุทธิได้นั้นต้องเป็นรายจ่ายเพื่อหากำไรหรือเพื่อกิจการของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นโดยเฉพาะเท่านั้น มิใช่รายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการส่วนตัว ข้อเท็จจริงปรากฏว่าโจทก์ประกอบกิจการโรงงานหล่อดอกยางรถยนต์และจำหน่ายยางรถยนต์ โดยใช้อาคาร 2 ชั้น ชั้นหนึ่งใช้ประกอบกิจการ ส่วนอีกชั้นใช้เป็นที่อยู่อาศัยของหุ้นส่วนโจทก์ ไฟฟ้าที่ใช้ในอาคารสถานประกอบของโจทก์จึงแยกเป็น 2 มิเตอร์ เป็นชื่อโจทก์ 1 มิเตอร์ และ จ. หุ้นส่วนโจทก์อีก 1 มิเตอร์ ดังนั้น ค่าไฟฟ้ามิเตอร์ของ จ. หุ้นส่วนโจทก์เป็นค่าไฟฟ้าสำหรับเครื่องใช้ไฟฟ้าประเภทอำนวยความสะดวกสบายแก่ผู้เป็นหุ้นส่วนของโจทก์และครอบครัว มิได้ใช้สำหรับงานในกิจการของโจทก์ และไม่ได้ใช้เพื่อดูแลทรัพย์สินที่ใช้ในกิจการโดยเฉพาะ จึงเป็นรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการส่วนตัวที่มิใช่เป็นรายจ่ายเพื่อหากำไรหรือเพื่อกิจการโดยเฉพาะ ซึ่งนำมาเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิไม่ได้ตาม ป.รัษฎากรณ 65 ตรี (3) และ (13)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3274/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ รายจ่ายค่าไฟฟ้าส่วนตัวที่ใช้ร่วมกับกิจการ การปันส่วนรายจ่ายเพื่อคำนวณกำไรสุทธิ
ค่าไฟฟ้าสำหรับมิเตอร์ที่ใช้สำหรับเครื่องใช้ไฟฟ้าที่หุ้นส่วนของห้างหุ้นส่วนจำกัดโจทก์และครอบครัวที่พักอาศัยอยู่ที่ชั้น 2 ของอาคารสถานประกอบการของโจทก์ เป็นค่าไฟฟ้าสำหรับเครื่องใช้ไฟฟ้าประเภทอำนวยความสะดวกสบายแก่ผู้เป็นหุ้นส่วนของโจทก์และครอบครัว มิได้ใช้สำหรับงานในกิจการของโจทก์ และไม่ได้ใช้เพื่อดูแลทรัพย์สินที่ใช้ในกิจการของโจทก์ จึงเป็นรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการส่วนตัวที่มิใช่เป็นรายจ่ายเพื่อหากำไรหรือเพื่อกิจการโดยเฉพาะซึ่งนำมาเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิไม่ได้ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี (3) และ (13) แต่เมื่อรายจ่ายค่าไฟฟ้าจากมิเตอร์นั้นมีรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการส่วนตัวระคนปนกับรายจ่ายเพื่อหากำไรหรือเพื่อกิจการของโจทก์โดยเฉพาะ ไม่สามารถแบ่งแยกออกได้ชัดเจนว่ารายจ่ายส่วนใดมีจำนวนใด การที่เจ้าพนักงานของจำเลยที่ 1 ใช้วิธีปันส่วนโดยแบ่งค่าไฟฟ้าให้หักรายจ่ายได้ร้อยละ 50 นั้น นับว่าถูกต้องสมควรและเป็นคุณแก่โจทก์แล้ว
การพิจารณาว่าเป็นรายจ่ายต้องห้ามนำมาคำนวณกำไรสุทธิตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี หรือไม่ ต้องพิเคราะห์ถึงลักษณะของรายจ่าย หลักเกณฑ์และวิธีการจ่าย ผู้รับรายจ่ายตลอดจนเหตุผลความจำเป็นและหลักฐานในการจ่ายประกอบด้วยซึ่งต้องพิจารณาจากข้อเท็จจริงเป็นเรื่องๆ ไปว่ารายจ่ายนั้นเป็นรายจ่ายต้องห้ามหรือไม่ จำนวนเท่าใด ตามความเป็นจริง ไม่จำต้องถือเป็นรายจ่ายต้องห้ามทั้งจำนวน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2694/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนอสังหาริมทรัพย์โดยยังมิได้จดทะเบียนถือเป็นการขายทางภาษี หากมีไว้ในกิจการ
เมื่อคำนิยามคำว่า "ขาย" ตาม ป. รัษฎากร มาตรา 91/1 (4) หมายความรวมถึงสัญญาจะขายด้วย ทำให้เห็นได้ชัดว่าเพียงแต่ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินเท่านั้น แม้ไม่ได้ไปทำสัญญาซื้อขายกันตามแบบพิธี คือ ไม่ได้ไปจดทะเบียนต่อเจ้าพนักงานที่ดิน ก็ถือได้ว่าเป็นการขายตามคำนิยามดังกล่าวแล้ว การที่โจทก์ได้ส่งมอบโอนการครอบครองที่ดิน อาคารและส่วนปรับปรุงอาคารให้องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย และองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยยอมรับไว้แล้ว แต่ยังไม่มีการจดทะเบียนการโอนต่อเจ้าพนักงานที่ดินก็ต้องถือว่าเป็นการขายตาม ป. รัษฎากรแล้ว เมื่อ พ.ร.ฎ. ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นทางค้าหรือหากำไร (ฉบับที่ 244) พ.ศ. 2534 ซึ่งใช้บังคับในขณะมีกรณีพิพาท ตามมาตรา 3 บัญญัติให้การขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นทางการค้าหรือหากำไรตามมาตรา 91/2 (6) แห่ง ป. รัษฎากร มีดังต่อไปนี้ (5) การขายอสังหาริมทรัพย์ที่ผู้ขายมีไว้ในการประกอบกิจการ แต่ไม่รวมถึงที่ดินที่ผู้นั้นใช้ในเกษตรกรรม การที่โจทก์โอนการครอบครองที่ดิน อาคารและส่วนปรับปรุงอาคารให้องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย ย่อมเข้าลักษณะการขายอสังหาริมทรัพย์ของโจทก์ที่มีไว้ในการประกอบกิจการแล้ว จึงเป็นการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไร โจทก์ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะตาม ป. รัษฎากร มาตรา 91/2 (6)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6180/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความหนี้ค่าสินค้าของผู้ประกอบการค้า: พิจารณาการใช้สินค้าในกิจการของผู้ซื้อ
สิทธิเรียกร้องในมูลหนี้ค่าขายสินค้าจากผู้ซื้อของผู้ประกอบการค้ามีอายุความต่างกันตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (1) ประกอบกับมาตรา 193/33 (5) กล่าวคืออายุความสองปีตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (1) และห้าปีตามข้อยกเว้นในมาตรา 193/34 (1) ตอนท้าย ที่ว่า "...เว้นแต่เป็นการที่ได้ทำเพื่อกิจการของฝ่ายลูกหนี้นั้นเอง" กรณีที่จะเข้าข้อยกเว้นดังกล่าวจะต้องนำกิจการหรือการงานที่ผู้ซื้อสินค้าประกอบการค้าอยู่นั้นมาพิจารณารวมกับสินค้าที่ซื้อว่า ผู้ซื้อนำสินค้านั้นไปใช้ในกิจการหรือการงานที่ผู้ซื้อประกอบการค้าหรือไม่ หากผู้ซื้อนำสินค้าที่ซื้อไปใช้ในกิจการที่ผู้ซื้อประกอบการค้าแล้ว สิทธิเรียกร้องในมูลหนี้ค่าขายสินค้าของผู้ประกอบการค้ามีอายุความห้าปี ทั้งนี้ หาได้มีข้อจำกัดว่าสินค้าที่ซื้อขายกันนั้นต้องเป็นสินค้าที่ผู้ประกอบการค้าผลิตขึ้นเพื่อขายให้แก่ผู้ซื้อโดยเฉพาะเจาะจงไม่ แม้เป็นสินค้าที่ซื้อขายกันทั่วไปในท้องตลาดก็อยู่ในบังคับของบทบัญญัติแห่งกฎหมายสองมาตรานี้ดุจกัน สำหรับคำว่า "กิจการ" ก็มีความหมายครอบคลุมถึงการใด ๆ ที่ได้ทำเพื่อเป็นการทำมาหาได้ ลักษณะเป็นการประกอบอาชีพ มิได้จำกัดอยู่แต่เฉพาะต่อการเลี้ยงสัตว์เพื่อขายหรือซื้อสินค้ามาเพื่อขายต่อหรือเพื่อผลิตเป็นสินค้าใหม่ จำเลยเป็นบริษัทจำกัดประกอบกิจการโรงแรมและห้องอาหารอันเป็นกิจการให้บริการและจำหน่ายอาหารแก่ผู้มาใช้บริการของโรงแรมของจำเลย สินค้าที่จำเลยซื้อจากโจทก์ก็เป็นเครื่องอุปโภคจำพวกถ้วย โถ จาน ชาม ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการรับประทานอาหารและให้บริการจำหน่ายอาหารในห้องอาหาร อันเป็นส่วนหนึ่งของกิจการของจำเลย ทั้งจำเลยก็รับว่าจำเลยซื้อสินค้าดังกล่าวมาใช้เป็นอุปกรณ์ในการให้บริการในกิจการของจำเลย กรณีจึงตกอยู่ในบังคับของ ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (1) ตอนท้าย สิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงมีอายุความห้าปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5827/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ รายจ่ายซื้อแผ่นทองแดงชดเชยความสูญเสียในการผลิตลวดทองแดง ไม่ถือเป็นรายจ่ายเพื่อหากำไรหรือกิจการตามประมวลรัษฎากรมาตรา 65 ตรี
โจทก์อ้างว่าได้จ่ายค่าซื้อแผ่นทองแดงมาชดเชยในการผลิตลวดทองแดงให้ลูกค้าในปี 2533 จำนวน 13,244,463.88 บาท และในปี 2534 จำนวน 20,144,606.20บาท ทั้งที่โจทก์เป็นเพียงผู้รับจ้างผลิตและในสัญญาว่าจ้างผลิตเส้นลวดทองแดงก็ไม่มีข้อความระบุว่าโจทก์จะต้องผลิตเส้นลวดทองแดงให้มีน้ำหนักเท่ากับแผ่นทองแดงที่ผู้ว่าจ้างนำมามอบให้โจทก์เพื่อใช้ในการผลิตและโจทก์จะต้องรับผิดชอบในน้ำหนักที่ขาดหายไป รายจ่ายค่าซื้อแผ่นทองแดงของโจทก์จึงไม่ใช่รายจ่ายที่โจทก์จะต้องรับผิดชอบในความสูญเสียในการผลิตทองแดงตามสัญญา แต่หากเป็นรายจ่ายที่โจทก์สมัครใจจ่ายไปเองทั้งที่โจทก์ไม่มีหน้าที่ต้องรับผิดชอบต่อผู้ว่าจ้างแต่ประการใด ย่อมเป็นรายจ่ายซึ่งมิใช่รายจ่ายเพื่อหากำไรหรือเพื่อกิจการของโจทก์โดยเฉพาะ จึงเป็นรายจ่ายที่ไม่ให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิตามประมวลรัษฎากรฯ มาตรา 65 ตรี(13)เมื่อรายจ่ายของโจทก์ดังกล่าวไม่ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิแล้ว โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินภาษีคืนพร้อมดอกเบี้ย
of 7