พบผลลัพธ์ทั้งหมด 107 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1482/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยเกินกรอบอุทธรณ์ โจทก์ไม่ได้อุทธรณ์เรื่องการกู้เงิน ศาลฎีกายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโดยฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยทำสัญญากู้เงินกับโจทก์เพื่อเป็นหลักฐานการรับเงินมัดจำตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินที่โจทก์ทำกับจำเลย และจำเลยมีสิทธิริบเงินมัดจำได้เนื่องจากโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาจะซื้อจะขาย โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกเงินคืน พิพากษายกฟ้อง โจทก์อุทธรณ์ประการเดียวว่า เมื่อจำเลยรับแล้วว่าได้ทำสัญญากู้เงินจึงไม่มีสิทธินำสืบว่าได้รับจากโจทก์หรือสามีโจทก์เป็นค่ามัดจำที่ดิน เพราะเป็นการนำสืบแก้ไขข้อความในเอกสาร อันเป็นปัญหาข้อกฎหมาย ศาลอุทธรณ์ภาค 8 วินิจฉัยว่า จำเลยมีสิทธินำสืบได้ เพราะเป็นการนำสืบว่าสัญญาหรือหนี้ที่ระบุไว้ในเอกสารไม่สมบูรณ์ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 วรรคสอง เป็นการวินิจฉัยครบถ้วนตามอุทธรณ์ของโจทก์แล้ว แต่ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 วินิจฉัยข้อเท็จจริงต่อไปอีกว่า พยานหลักฐานของโจทก์มีน้ำหนักมากกว่าพยานหลักฐานของจำเลย ฟังได้ว่าจำเลยกู้เงินโจทก์ แล้วพิพากษากลับให้จำเลยชำระเงินกู้แก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ย โดยโจทก์มิได้อุทธรณ์โต้แย้งข้อวินิจฉัยของศาลชั้นต้นในการรับฟังข้อเท็จจริงจากพยานหลักฐานแต่อย่างใด คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 8 ในส่วนนี้จึงเป็นการวินิจฉัยเกินไปกว่าที่ปรากฏในคำฟ้องอุทธรณ์ของโจทก์ ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 142 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 246 ปัญหานี้แม้จำเลยไม่ได้ยกขึ้นฎีกา แต่เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และ 247 ดังนี้ แม้ศาลอุทธรณ์ภาค 8 จะวินิจฉัยและฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยกู้เงินโจทก์ แต่เมื่อเป็นเรื่องนอกประเด็นซึ่งศาลอุทธรณ์ภาค 8 ยกขึ้นวินิจฉัยโดยไม่ชอบ จึงไม่ก่อให้เกิดสิทธิแก่จำเลยที่จะฎีกาว่าจำเลยมิได้กู้เงินโจทก์ตามที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 วินิจฉัย เพราะถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 8 ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1651/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เอกสารกู้เงินปลอม: สัญญาที่ไม่ได้รับความยินยอมไม่ใช้เป็นหลักฐานได้
จำเลยกู้เงินโจทก์จำนวน 10,000 บาท และได้ลงลายมือชื่อไว้ในแบบพิมพ์หนังสือสัญญากู้เงินที่ยังไม่ได้กรอกข้อความมอบไว้ให้แก่โจทก์ ต่อมาโจทก์ได้กรอกข้อความและจำนวนเงินในหนังสือสัญญากู้เงินว่า จำเลยกู้เงินโจทก์ไป 300,000 บาท โดยจำเลยมิได้รู้เห็นยินยอมด้วยสัญญากู้เงินตามฟ้องจึงเป็นเอกสารปลอม โจทก์จึงไม่อาจอ้างเอกสารดังกล่าวมาเป็นพยานหลักฐานในคดีได้ ถือว่าโจทก์ไม่มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือที่จะฟ้องร้องให้บังคับคดีได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 653 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2261/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฉ้อโกง-ใช้เอกสารปลอม: จำเลยรู้เห็นการใช้โฉนดที่ดินปลอมเพื่อกู้เงิน ทำให้โจทก์เสียหาย
โจทก์ร่วมตกลงจะให้จำเลยกู้เงินตามที่ ภ. แนะนำมา แต่จำเลยไม่มีชื่อในโฉนดที่ดิน โจทก์ร่วมจึงให้ชายที่อ้างเป็น ถ. ทำสัญญากู้เงินแทนและยึดโฉนดที่ดินของ ถ. ไว้เป็นประกัน หากจำเลยไม่มีหลักทรัพย์มาวางเป็นประกันการชำระหนี้แล้วโจทก์ร่วมคงจะไม่ให้จำเลยกู้เงินแน่ การที่จำเลยร่วมกับชายที่อ้างเป็น ถ. นำโฉนดที่ดินของปลอมมาหลอกลวงโจทก์ร่วม ทำให้โจทก์ร่วมหลงเชื่อจ่ายเงินให้แก่จำเลยและชายคนดังกล่าวไป หลังจากนั้นโจทก์ร่วมติดต่อให้จำเลยชำระดอกเบี้ยและโจทก์ร่วมให้จำเลยไปพบที่ทำงานกับแจ้งให้ทราบว่า ถ. นำโฉนดที่ดินปลอมมาวางเป็นหลักประกัน ประมาณต้นเดือนเมษายน 2540 จำเลยทำสัญญากู้เงินจำนวน 500,000 บาท ไว้ให้แก่โจทก์ร่วม ตามสัญญากู้เงินกับสั่งจ่ายเช็คธนาคาร ส. จำกัด (มหาชน) จำนวน 500,000 บาท ประมาณปลายเดือนเมษายน 2540 จำเลยนำเช็คธนาคาร ก. จำกัด (มหาชน) สาขาสีลม จำนวนเงิน 50,000 บาท มาชำระค่าดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ร่วม เมื่อโจทก์ร่วมนำไปเรียกเก็บเงิน ธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คและใบคืนเช็ค แม้โจทก์ร่วมจะเบิกความตอบทนายจำเลยขออนุญาตศาลถามว่า โจทก์ร่วมมอบเงินให้แก่ชายที่อ้างเป็น ถ. ไปแต่จำเลยเป็นผู้นับเงินซึ่งเจือสมกับที่จำเลยนำสืบว่าที่อ้างเป็น ถ. เป็นผู้ตรวจนับเงิน จำเลยตรวจนับ 1 ปึก จำนวน 100,000 บาท จึงมิได้เป็นพิรุธว่าพยานโจทก์และโจทก์ร่วมเบิกความไม่อยู่แก่ร่องแก่รอยแต่อย่างใด การที่จำเลยเข้าไปเกี่ยวข้องกับการกู้เงินและเข้าร่วมลงลายมือชื่อเป็นพยานในสัญญากู้เงินเป็นการผิดวิสัยของการเป็นนายหน้าหาเงินกู้ นอกจากนี้จำเลยยังทำสัญญากู้เงินและสั่งจ่ายเช็คตามจำนวนกู้เงินไปให้แก่โจทก์ร่วมรวมทั้งจ่ายเช็คชำระหนี้ค่าดอกเบี้ยไว้อีก แสดงให้เห็นว่าจำเลยร่วมกับพวกแบ่งหน้าที่กันทำโดยนำโฉนดที่ดินปลอมไปวางเป็นหลักประกันเงินกู้ อันเป็นการหลอกลวงด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จและปกปิดข้อความจริงอันควรบอกให้แจ้ง ทำให้จำเลยกับพวกได้เงินไปจากโจทก์ร่วม พยานหลักฐานโจทก์และโจทก์ร่วมฟังได้ว่า จำเลยร่วมกับพวกกระทำความผิดฐานใช้เอกสารสิทธิอันเป็นเอกสารราชการปลอมและฉ้อโกง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9842/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดส่วนตัวของกรรมการกองทุนสวัสดิการที่ลงนามกู้เงิน แม้กองทุนไม่มีสภาพเป็นนิติบุคคล
แม้จำเลยทั้งสามจะเป็นคณะกรรมการกองทุนสวัสดิการผู้บริหารสำนักงานการประถมศึกษาอำเภอ ซึ่งจัดตั้งขึ้นโดยระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการจัดสวัสดิการให้ส่วนราชการ และระเบียบการจัดสวัสดิการในส่วนราชการของสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ และจำเลยทั้งสามกู้ยืมเงินในฐานะคณะกรรมการกองทุนดังกล่าว ก็ตาม แต่ไม่ปรากฏว่าคณะกรรมการกองทุนสวัสดิการผู้บริหารสำนักงานการประถมศึกษาอำเภอดังกล่าวมีสภาพเป็น นิติบุคคล หน่วยงานที่จำเลยอ้างว่าทำแทนไม่มีตัวตนอยู่ตามกฎหมาย เมื่อจำเลยทั้งสามเป็นผู้ลงลายมือชื่อเป็นผู้กู้ในหนังสือสัญญากู้ยืมและได้รับเงินกู้ไปจากผู้ให้กู้ จำเลยทั้งสามจึงต้องรับผิดเป็นส่วนตัว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6463/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำหรือไม่: คดีอาญาเช็คกับคดีแพ่งสัญญา กู้เงิน ประเด็นอยู่ที่เหตุแห่งการวินิจฉัย
คดีก่อนโจทก์ฟ้องจำเลยว่ากระทำผิดอาญาฐานออกเช็คโดยเจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็ค ซึ่งมีประเด็นว่าจำเลยกระทำผิดตามฟ้องหรือไม่ ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยว่าทำสัญญากู้และรับเงินกู้ไปจากโจทก์แล้วจำเลยผิดสัญญา ขอให้พิพากษาให้จำเลยชำระเงินตามสัญญากู้ คดีอาญาถึงที่สุดโดยศาลวินิจฉัยว่า สัญญากู้มิได้ขีดฆ่าอากรแสตมป์ ไม่อาจรับฟังเป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งจึงฟังไม่ได้ว่ามีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อจำเลยผู้กู้ หนี้ตามเช็คเป็นหนี้ที่ไม่สามารถบังคับได้ตามกฎหมายพิพากษายกฟ้องแต่คดีนี้มีประเด็นว่าจำเลยทำสัญญากู้และรับเงินกู้ไปจากโจทก์หรือไม่จำเลยผิดสัญญาหรือไม่ เมื่อโจทก์ได้ขีดฆ่าอากรแสตมป์ในสัญญากู้แล้ว จึงมิใช่ประเด็นที่วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ
คดีก่อนศาลวินิจฉัยว่า การกระทำของจำเลยขาดองค์ประกอบความผิดตามมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 เพราะเป็นหนี้ที่ไม่อาจบังคับได้ตามกฎหมาย แต่คดีนี้มีประเด็นวินิจฉัยว่าจำเลยทำสัญญากู้และรับเงินกู้จากโจทก์หรือไม่ จำเลยผิดสัญญาหรือไม่ซึ่งประเด็นเหล่านี้ยังมิได้วินิจฉัยชี้ขาด จึงไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำอันจะต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 144 วรรคหนึ่ง
คดีก่อนศาลวินิจฉัยว่า การกระทำของจำเลยขาดองค์ประกอบความผิดตามมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 เพราะเป็นหนี้ที่ไม่อาจบังคับได้ตามกฎหมาย แต่คดีนี้มีประเด็นวินิจฉัยว่าจำเลยทำสัญญากู้และรับเงินกู้จากโจทก์หรือไม่ จำเลยผิดสัญญาหรือไม่ซึ่งประเด็นเหล่านี้ยังมิได้วินิจฉัยชี้ขาด จึงไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำอันจะต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 144 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4124/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
รายงานสรุปยอดเอกสารที่ไม่ลงรายการกู้เงิน ไม่ถือเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.บริษัทจำกัด
พ.ศ. 2499 มาตรา 42
โจทก์กับ ภ. ฝ่ายหนึ่งกับจำเลยทั้งสองอีกฝ่ายหนึ่งเข้าหุ้นกันทำธุรกิจส่งผักสดให้แก่บริษัท ก. จำกัด (มหาชน) ในนามบริษัท พ. มีระยะเวลาตั้งแต่กลางเดือนมกราคม 2538 ถึงสิ้นเดือนกุมภาพันธ์ 2538 เมื่อครบกำหนดสัญญาได้ชวน ต. เข้าร่วมหุ้นอีกฝ่ายหนึ่งทำธุรกิจนี้ต่อไป โดยลงทุนเป็นเงินจำนวนฝ่ายละ 1,000,000 บาท แล้วจดทะเบียนเพิ่มทุนและเปลี่ยนแปลงกรรมการให้โจทก์กับจำเลยทั้งสอง และ ต. เป็นกรรมการของบริษัทผู้มีอำนาจกระทำการในนามบริษัท คือจำเลยที่ 1 ลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญของบริษัท หรือจำเลยที่ 2 กับ ต. ลงลายมือชื่อร่วมกันและประทับตราสำคัญของบริษัท จำเลยที่ 1 มีอำนาจหน้าที่รับจ่ายและเก็บรักษาเงิน จำเลยที่ 2 มีหน้าที่จัดทำบัญชีและเอกสารอื่น ๆ บริษัท พ. ประมูลส่งผักสดให้บริษัท ก. จำกัด (มหาชน) ครั้งต่อไปได้ มีระยะเวลาตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2538 ถึงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2538 จำเลยทั้งสองร่วมกันทำสัญญากู้เงินและสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีจากธนาคารในนามบริษัท พ. โดยยอมให้หักชำระหนี้จากบัญชีเงินฝากของบริษัท พ. ที่เปิดไว้ที่ธนาคารดังกล่าวมีการรับเงินที่กู้กับเบิกเงินเกินบัญชีไป และธนาคารหักชำระหนี้จากบัญชีเงินฝากแล้ว ต่อมาวันที่ 19 มีนาคม 2539 จำเลยทั้งสองร่วมกันทำรายงานสรุปยอดเอกสารฉบับพิพาทโดยไม่ได้ลงรายการกู้เงินและเบิกเงินเกินบัญชีดังกล่าวไว้ เมื่อปรากฏว่าจำเลยทั้งสองทำรายงานสรุปยอดเอกสารฉบับพิพาทเพื่อแสดงรายรับรายจ่ายให้ทราบผลกำไรขาดทุนต่อฝ่ายโจทก์กับฝ่าย ต. เท่านั้น มิใช่เพื่อให้เป็นหลักฐานทางบัญชีหรืองบดุลของบริษัท จึงไม่จำเป็นต้องลงรายการกู้เงินและเบิกเงินเกินบัญชีซึ่งเป็นแหล่งที่มาของการนำเงินมาเป็นรายจ่ายด้วย รายการดังกล่าวมิใช่ข้อความสำคัญในเอกสารรายการสรุปยอดเอกสารฉบับพิพาทของบริษัท แม้จำเลยทั้งสองจะมิได้ลงไว้ ก็ไม่มีความผิดตาม พ.ร.บ.กำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคม และมูลนิธิ พ.ศ. 2499 มาตรา 42 และ ป.อ. มาตรา 83
โจทก์กับ ภ. ฝ่ายหนึ่งกับจำเลยทั้งสองอีกฝ่ายหนึ่งเข้าหุ้นกันทำธุรกิจส่งผักสดให้แก่บริษัท ก. จำกัด (มหาชน) ในนามบริษัท พ. มีระยะเวลาตั้งแต่กลางเดือนมกราคม 2538 ถึงสิ้นเดือนกุมภาพันธ์ 2538 เมื่อครบกำหนดสัญญาได้ชวน ต. เข้าร่วมหุ้นอีกฝ่ายหนึ่งทำธุรกิจนี้ต่อไป โดยลงทุนเป็นเงินจำนวนฝ่ายละ 1,000,000 บาท แล้วจดทะเบียนเพิ่มทุนและเปลี่ยนแปลงกรรมการให้โจทก์กับจำเลยทั้งสอง และ ต. เป็นกรรมการของบริษัทผู้มีอำนาจกระทำการในนามบริษัท คือจำเลยที่ 1 ลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญของบริษัท หรือจำเลยที่ 2 กับ ต. ลงลายมือชื่อร่วมกันและประทับตราสำคัญของบริษัท จำเลยที่ 1 มีอำนาจหน้าที่รับจ่ายและเก็บรักษาเงิน จำเลยที่ 2 มีหน้าที่จัดทำบัญชีและเอกสารอื่น ๆ บริษัท พ. ประมูลส่งผักสดให้บริษัท ก. จำกัด (มหาชน) ครั้งต่อไปได้ มีระยะเวลาตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2538 ถึงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2538 จำเลยทั้งสองร่วมกันทำสัญญากู้เงินและสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีจากธนาคารในนามบริษัท พ. โดยยอมให้หักชำระหนี้จากบัญชีเงินฝากของบริษัท พ. ที่เปิดไว้ที่ธนาคารดังกล่าวมีการรับเงินที่กู้กับเบิกเงินเกินบัญชีไป และธนาคารหักชำระหนี้จากบัญชีเงินฝากแล้ว ต่อมาวันที่ 19 มีนาคม 2539 จำเลยทั้งสองร่วมกันทำรายงานสรุปยอดเอกสารฉบับพิพาทโดยไม่ได้ลงรายการกู้เงินและเบิกเงินเกินบัญชีดังกล่าวไว้ เมื่อปรากฏว่าจำเลยทั้งสองทำรายงานสรุปยอดเอกสารฉบับพิพาทเพื่อแสดงรายรับรายจ่ายให้ทราบผลกำไรขาดทุนต่อฝ่ายโจทก์กับฝ่าย ต. เท่านั้น มิใช่เพื่อให้เป็นหลักฐานทางบัญชีหรืองบดุลของบริษัท จึงไม่จำเป็นต้องลงรายการกู้เงินและเบิกเงินเกินบัญชีซึ่งเป็นแหล่งที่มาของการนำเงินมาเป็นรายจ่ายด้วย รายการดังกล่าวมิใช่ข้อความสำคัญในเอกสารรายการสรุปยอดเอกสารฉบับพิพาทของบริษัท แม้จำเลยทั้งสองจะมิได้ลงไว้ ก็ไม่มีความผิดตาม พ.ร.บ.กำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคม และมูลนิธิ พ.ศ. 2499 มาตรา 42 และ ป.อ. มาตรา 83
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4124/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
รายงานสรุปยอดไม่ใช่เอกสารบัญชี - ไม่ต้องลงรายการกู้เงิน
จำเลยทำรายงานสรุปยอดเพื่อแสดงรายรับรายจ่ายให้ทราบผลกำไรขาดทุนต่อฝ่ายโจทก์กับฝ่าย ต. เท่านั้น มิใช่เพื่อให้เป็นหลักฐานทางบัญชีหรืองบดุลของบริษัท จึงไม่จำเป็นต้องลงรายการกู้เงินและเบิกเงินเกินบัญชีซึ่งเป็นแหล่งที่มาของการนำเงินมาเป็นรายจ่ายด้วยรายงานดังกล่าวมิใช่ข้อความสำคัญในเอกสารรายการสรุปยอดของบริษัท แม้จำเลยจะมิได้ลงไว้ ก็ไม่มีความผิดฐานไม่ลงข้อความสำคัญในบัญชีหรือเอกสารของบริษัท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1599/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เอกสารสัญญากู้เงินและค้ำประกันที่ถูกแก้ไขเปลี่ยนแปลงโดยไม่ได้รับความยินยอม ทำให้สัญญาเป็นโมฆะและไม่มีผลผูกพัน
จำเลยที่ 1 กู้ยืมเงินโจทก์ มีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกัน โดยจำเลยทั้งสองได้ลงลายมือชื่อในหนังสือสัญญากู้เงินในหนังสือสัญญาค้ำประกันให้โจทก์ไว้การที่โจทก์มากรอกข้อความในหนังสือสัญญากู้เงินและค้ำประกันในภายหลังผิดไปจากความเป็นจริงตามที่ตกลงทำสัญญากันไว้ในภายหลัง เกินกว่าความเป็นจริง โดยไม่ได้รับความยินยอมของจำเลยทั้งสอง สัญญากู้และสัญญาค้ำประกันดังกล่าวจึงเป็นเอกสารปลอม ถือได้ว่าการกู้ยืมเงินและการค้ำประกันคดีนี้ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ โจทก์จึงไม่อาจฟ้องร้องบังคับคดีแก่จำเลยทั้งสองได้ จำเลยทั้งสองให้การว่า จำเลยที่ 1กู้เงินโจทก์ และจำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันเงินกู้โจทก์เพียง 30,000 บาท และได้ลงชื่อไว้ในสัญญากู้และสัญญาค้ำประกันโดยยังไม่ได้กรอกข้อความ โจทก์ปลอมแปลงเอกสารสัญญากู้และสัญญาค้ำประกันโดยกรอกข้อความและจำนวนเงินเป็น 300,000บาท โดยจำเลยทั้งสองมิได้ยินยอม แม้ตามสัญญาทั้งสองจะระบุจำนวนเงินไว้ 300,000บาท และสัญญากู้จะระบุว่าได้รับเงินครบถ้วนแล้ว จำเลยทั้งสองก็มีสิทธินำสืบพยานบุคคลมาสืบประกอบข้ออ้างว่า พยานเอกสารที่แสดงนั้นเป็นเอกสารปลอมหรือไม่ถูกต้องทั้งหมดหรือแต่บางส่วน หรือสัญญาหรือหนี้อย่างอื่นที่ระบุไว้ในเอกสารนั้นไม่สมบูรณ์ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 94 วรรคท้าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1599/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เอกสารกู้เงินและค้ำประกันปลอม การพิสูจน์ข้อเท็จจริง และสิทธิในการนำสืบพยานบุคคล
จำเลยที่ 1 กู้ยืมเงินโจทก์จำนวน 30,000 บาท มีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกัน โดยจำเลยทั้งสองได้ลงลายมือชื่อใน หนังสือสัญญากู้เงินในหนังสือสัญญาค้ำประกันให้โจทก์โดยไม่ได้กรอกข้อความใด ๆ ให้โจทก์ไว้การที่โจทก์มากรอกข้อความในหนังสือสัญญากู้เงินและค้ำประกันในภายหลังผิดไปเกินกว่าความเป็นจริงว่าจำเลยที่ 1 กู้ยืมเงินโจทก์ไป 300,000 บาทโดยมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันโดยไม่ได้รับความยินยอมของจำเลยทั้งสอง สัญญากู้และสัญญาค้ำประกันดังกล่าวจึงเป็นเอกสารปลอมถือได้ว่าการกู้ยืมเงินและการค้ำประกันคดีนี้ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ โจทก์จึงไม่อาจฟ้องร้องบังคับคดีแก่จำเลยทั้งสองได้ จำเลยทั้งสองให้การว่า จำเลยที่ 1 กู้เงินโจทก์ และจำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันเงินกู้โจทก์เพียง 30,000 บาทและได้ลงชื่อไว้ในสัญญากู้และสัญญาค้ำประกันโดยยังไม่ได้กรอกข้อความ โจทก์ปลอมแปลงเอกสารสัญญากู้และสัญญาค้ำประกันโดยกรอกข้อความและจำนวนเงินเป็น 300,000 บาท โดยจำเลยทั้งสองมิได้ยินยอม แม้ตามสัญญาทั้งสองจะระบุจำนวนเงินไว้ 300,000 บาทและสัญญากู้จะระบุว่าได้รับเงินครบถ้วนแล้ว จำเลยทั้งสองก็มีสิทธินำสืบพยานบุคคลมาสืบประกอบข้ออ้างว่า พยานเอกสารที่แสดงนั้นเป็นเอกสารปลอมหรือไม่ถูกต้องทั้งหมด หรือแต่บางส่วนหรือสัญญาหรือหนี้อย่างอื่นที่ระบุไว้ในเอกสารนั้นไม่สมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 วรรคท้าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2818/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยกู้เงิน: สัญญาจำนองเป็นประกัน ต้องดูอัตราดอกเบี้ยในสัญญากู้เงินเป็นหลัก แม้มีข้อตกลงดอกเบี้ยสูงกว่า
สัญญากู้เงินเป็นหนี้ประธาน ส่วนหนี้ตามหนังสือสัญญาจำนองที่ดินเป็นประกันเป็นหนี้อุปกรณ์ แม้ในสัญญาจำนองจำเลยจะตกลงเสียดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ อัตราร้อยละ 18 ต่อปี ก็มิใช่ว่าจำเลยจะต้องเสียดอกเบี้ยให้แก่โจทก์อัตราร้อยละ 18 ต่อปี เสมอไป จำเลยจะรับผิดเสียดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ตามสัญญาจำนองซึ่งเป็นหนี้อุปกรณ์เพียงใด ต้องดูข้อตกลงเรื่องดอกเบี้ยตามสัญญากู้เงินซึ่งเป็นหนี้ประธาน เมื่อโจทก์ยอมรับดอกเบี้ยตามสัญญากู้เงินอัตราร้อยละ12.75 ต่อปี อัตราดอกเบี้ยดังกล่าวจึงเป็นข้อตกลงส่วนหนึ่งของสัญญากู้เงิน แม้ในสัญญากู้เงินจะระบุว่าหากภายหลังจากวันทำสัญญากู้เงิน จำเลยผิดนัดผิดสัญญาข้อหนึ่งข้อใดหรือธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยจำเลยยอมให้โจทก์คิดดอกเบี้ยในจำนวนหนี้ที่จำเลยค้างชำระหนี้อยู่ตามสัญญากู้เงินนี้ในอัตราสูงสุดตามประกาศที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์พึงเรียกเก็บได้นับแต่วันที่ประกาศมีผลใช้บังคับได้ตลอดไปจนกว่าจำเลยจะชำระหนี้เสร็จสิ้น โดยเพียงแต่โจทก์แจ้งให้จำเลยทราบเท่านั้น จำเลยยอมเสียดอกเบี้ยให้โจทก์ตามที่แจ้งนั้นทุกประการก็ตาม แต่ก็เป็นเพียงข้อสัญญาให้โจทก์มีสิทธิเปลี่ยนแปลงดอกเบี้ยหรือเพิ่มดอกเบี้ย ขึ้นเท่านั้น มิใช่ข้อกำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้ล่วงหน้าในกรณีจำเลยผิดนัดสัญญากู้เงินอย่างเดียว เพราะต้องอยู่ในเงื่อนไขที่โจทก์จะสามารถเรียกดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดได้เมื่อธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยด้วย ดังนั้นข้อสัญญาในส่วนนี้จึงมิใช่เบี้ยปรับ แม้จำเลยจะผิดสัญญากู้เงินในเวลาต่อมาจนโจทก์มีสิทธิ เรียกดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดร้อยละ 18 ต่อปี ตามประกาศ ธนาคารแห่งประเทศไทยและประกาศของโจทก์ แต่โจทก์ มิได้แจ้งการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มดอกเบี้ย เงินกู้จากอัตราร้อยละ 12.75 ต่อปี มาเป็นอัตราร้อยละ 18 ต่อปี ให้จำเลยทราบตามที่ตกลงไว้ในสัญญากู้เงินถือได้ว่าโจทก์ยังมิได้ปฏิบัติตามข้อตกลงในสัญญากู้เงินโจทก์ย่อมไม่มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 18 ต่อปีจากจำเลยได้