คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ก่อสร้างผิดแบบ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 30 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 423/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาว่าจ้างก่อสร้างผิดแบบ: ความรับผิดของผู้รับจ้าง และอายุความการเรียกร้องค่าจ้างคืน
โจทก์ว่าจ้างจำเลยที่ 1 ก่อสร้างอาคารสองชั้นครึ่ง ต่อมาเทศบาลเมืองภูเก็ตมีคำสั่งให้ระงับการก่อสร้าง เนื่องจากจำเลยที่ 1 ก่อสร้างไม่ถูกต้องตามแบบแปลนที่ได้รับอนุญาต การที่จำเลยที่ 1 ซึ่งมีอาชีพเป็นช่างก่อสร้างและเป็นผู้ควบคุมการก่อสร้างครั้งนี้ จำเลยที่ 1 ย่อมทราบดีว่าการก่อสร้างถูกแบบแปลนหรือไม่ เมื่อการก่อสร้างไม่ถูกแบบแปลนตามที่ขออนุญาตไว้จึงเป็นความผิดของจำเลยที่ 1 ฝ่ายเดียว
การฟ้องเรียกเอาเงินค่าจ้างที่จำเลยที่ 1 รับไปคืนมานั้น ไม่มีกฎหมายกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7665/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความคดีก่อสร้างผิดแบบ: ความผิดสำเร็จเมื่อก่อสร้างโครงสร้างเสร็จ โจทก์ฟ้องเกินกำหนด ยุติคดี
การตกแต่งภายในมิใช่งานเกี่ยวกับการก่อสร้างโครงสร้างของอาคาร การก่อสร้างอาคารผิดแบบแปลนย่อมเป็นความผิดสำเร็จในวันที่ทำการก่อสร้างโครงสร้างและส่วนประกอบของโครงสร้างแล้วเสร็จ
จำเลยทั้งเจ็ดกระทำการฝ่าฝืน พ.ร.บ. ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 31 ต้องระวางโทษตามมาตรา 65 ประกอบด้วยมาตรา 70 เป็นความผิดสำเร็จในวันที่การก่อสร้างโครงสร้างแล้วเสร็จ แต่โจทก์นำคดีอาญาฟ้องเกินกว่าห้าปี นับแต่วันดังกล่าว คดีโจทก์ขาดอายุความตาม ป.อ. มาตรา 95 (4)
คดีขาดอายุความ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (6) เป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดี ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่มิได้ฎีกาได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 213 ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3882/2540 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การก่อสร้างผิดแบบหลังกฎหมายใหม่ใช้บังคับ จำเลยต้องรื้อถอนอาคาร แม้เริ่มก่อสร้างก่อน
แม้การก่อสร้างดัดแปลงอาคารผิดไปจากแบบแปลนที่ขออนุญาตในระหว่างวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2535 ถึงวันที่ 15 มีนาคม 2535 ซึ่งอยู่ในระหว่างใช้กฎหมายเก่าก็ตาม แต่ต่อมาได้มี พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2535มาตรา 23 ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 6 มิถุนายน 2535 แก้ไขให้มีบทลงโทษตามมาตรา66 ทวิ และจำเลยได้ขัดคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้รื้อถอนอาคารก่อสร้างผิดแบบที่ขออนุญาตภายในกำหนด 30 วัน หลังจากที่ พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร (ฉบับที่ 2)พ.ศ.2535 ใช้บังคับแล้ว การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 42, 66 ทวิ และมาตรา 69 พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2535 มาตรา 23 หาใช่เป็นเรื่องการกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดหรือกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดแตกต่างกับกฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิดไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 354/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีซ้ำ: การฟ้องขอแก้ไขแบบก่อสร้างหลังศาลมีคำพิพากษาให้รื้อถอนอาคารที่ก่อสร้างผิดแบบแล้ว ถือเป็นการดำเนินกระบวนการซ้ำ
โจทก์ทั้งสองปลูกสร้างอาคารพิพาทผิดไปจากแบบแปลนจำเลยที่2โดยผู้อำนายการเขตจึงมีคำสั่งให้โจทก์ทั้งสองระงับการก่อสร้างและให้โจทก์ทั้งสองยื่นคำร้องขอแก้ไขแบบแปลนภายในเวลาที่กำหนดแต่โจทก์ทั้งสองไม่ปฏิบัติตามทั้งมิได้อุทธรณ์คำสั่งต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ภายในกำหนดเวลาจำเลยที่2จึงฟ้องโจทก์ทั้งสองให้รื้อถอนอาคารที่ปลูกสร้างผิดไปจากแบบแปลนที่ได้รับอนุญาตศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาตามคดีแพ่งหมายเลขแดงที่22886/2532ให้โจทก์ทั้งสองดำเนินการแก้ไขเปลี่ยนแปลงอาคารพิพาทให้ถูกต้องตามแบบแปลนที่ได้รับอนุญาตหากโจทก์ทั้งสองไม่แก้ไขโจทก์ทั้งสองต้องรื้อถอนอาคารพิพาทส่วนที่ก่อสร้างผิดจากแบบแปลนออกเสียโจทก์ทั้งสองอุทธรณ์คำพิพากษาดังกล่าวในขณะที่ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาในคดีดังกล่าวโจทก์ทั้งสองยื่นคำร้องขอแก้ไขแบบแปลนแต่ผู้อำนวยการเขตไม่อนุญาตโจทก์ทั้งสองอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์และคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ก็ไม่อนุญาตให้โจทก์แก้ไขแบบแปลนเช่นเดียวกันโจทก์ทั้งสองจึงมาฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีนี้ดังนั้นประเด็นในคดีนี้มีว่าคำสั่งของผู้อำนายการเขตและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เกี่ยวกับคำขออนุญาตแก้ไขแบบแปลนอาคารพิพาทของโจทก์ทั้งสองนั้นชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ซึ่งก็จะต้องวินิจฉัยเสียก่อนว่าอาคารพิพาทก่อสร้างผิดจากแบบที่จำเลยสามารถอนุญาตให้แก้ไขให้ถูกต้องได้หรือไม่หรือจะต้องรื้อถอนปรากฎว่าในคดีแพ่งดังกล่าวศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่าที่โจทก์ทั้งสองก่อสร้างอาคารพิพาทผิดจากแบบเป็นการก่อสร้างผิดจากแบบที่จำเลยสามารถอนุญาตให้แก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้หรือไม่หรือจะต้องรื้อถอนทั้งหมดดังนี้ประเด็นในคดีนี้ดังกล่าวจึงรวมอยู่ในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่22886/2532ดังกล่าวนั้นด้วยเมื่อศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาในคดีแรกไปแล้วจึงต้องห้ามมิให้ดำเนินกระบวนพิจารณาเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวอีกตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา144

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 84/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การก่อสร้างผิดแบบและการบังคับรื้อถอนอาคารพาณิชย์ โดยเจ้าของร่วมมีหน้าที่ปฏิบัติตามกฎหมายควบคุมอาคาร
จำเลยที่1ขออนุญาตก่อสร้างอาคารเพื่อใช้เป็นอาคารพาณิชย์แม้จำเลยที่1จะใช้อาคารพิพาทชั้นล่างเพื่อประโยชน์แห่งการค้าส่วนชั้นบนเป็นที่พักอาศัยเมื่ออาคารพิพาทตั้งอยู่ริมถนนซึ่งปกติเป็นอาคารที่ใช้เพื่อประโยชน์แห่งการค้าถือได้ว่าเป็นอาคารเพื่อพาณิชยกรรมจึงเป็นอาคารพาณิชย์ซึ่งตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครเรื่องควบคุมการก่อสร้างอาคารพาณิชย์พ.ศ.2522กำหนดให้บันไดสำหรับอาคารพาณิชย์ต้องกว้างไม่น้อยกว่า1.50เมตรฉะนั้นการลดความกว้างของบันไดจึงข้อต่อบัญญัติดังกล่าว จำเลยทั้งสองเป็นพี่น้องกันเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินที่ก่อสร้างอาคารพิพาทจำเลยที่1เป็นผู้ขออนุญาตก่อสร้างอาคารพิพาทโดยจำเลยที่2เป็นผู้ยินยอมให้ก่อสร้างจำเลยทั้งสองจึงเป็นเจ้าของร่วมกันในที่ดินและอาคารพิพาทเมื่อผู้อำนวยการเขตได้มีคำสั่งให้จำเลยที่1แก้ไขอาคารให้ถูกต้องตามแบบแปลนและมีคำสั่งให้ระงับการก่อสร้างและแจ้งคำสั่งให้จำเลยที่1ทราบย่อมถือได้ว่ามีคำสั่งแจ้งให้จำเลยที่2ผู้เป็นเจ้าของร่วมกันในที่ดินและอาคารทราบแล้วโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่2 การก่อสร้างหรือต่อเติมอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตซึ่งไม่ขัดต่อกฎกระทรวงหรือข้อบัญญัติท้องถิ่นหรือขัดแต่ยังสามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้เจ้าของอาคารยื่นคำขอรับใบอนุญาตหรือสั่งให้เจ้าของอาคารหรือผู้ดำเนินการดำเนินการแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้แล้วแต่กรณีดังนี้การที่ผู้อำนวยการเขตได้มีคำสั่งให้จำเลยที่1ดำเนินการแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องเกี่ยวกับระยะช่วงเสาอาคารด้านหน้าและระยะช่วงเสาอาคารด้านหลังได้มีคำสั่งให้ดำเนินการแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องและมีคำสั่งให้ระงับการก่อสร้างแล้วแต่จำเลยทั้งสองมิได้ปฏิบัติตามคำสั่งทั้งมิได้อุทธรณ์คำสั่งต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์โจทก์จึงร้องขอต่อศาลให้บังคับให้รื้อถอนได้ตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคารพ.ศ.2522มาตรา43วรรคท้าย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8379/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรื้อถอนอาคารที่ก่อสร้างผิดแบบ และอำนาจของเจ้าพนักงานท้องถิ่นตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร
ด้านหน้าอาคารพิพาทมิได้ร่นแนวอาคาร และด้านหลังอาคารพิพาทมิได้เว้นที่ว่างอันปราศจากหลังคาหรือสิ่งปกคลุมผิดข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่องควบคุมการก่อสร้างอาคารพ.ศ. 2522 ข้อ 72 วรรคสาม และข้อ 76(1) และ (4) ตามลำดับซึ่งโดยสภาพเป็นกรณีที่ไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครดังกล่าวได้ ส่วนชั้นลอยที่ต่อเติมจากแบบแปลนซึ่งตามแบบแปลนชั้นลอยอยู่ช่วงหลังของอาคารระหว่างชั้นหนึ่งกับชั้นสองของอาคารถูกต่อเติมพื้นจนจดด้านหน้าของอาคารมีลักษณะเป็นการเพิ่มขึ้นของอาคารขึ้นอีกหนึ่งชั้นมีเนื้อเกินกว่าร้อยละสี่สิบของพื้นที่ทั้งหมดของห้อง ขัดต่อข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง ควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2522 ข้อ 35 วรรคท้าย ซึ่งเป็นกรณีที่ไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครดังกล่าวได้เช่นกัน โจทก์จึงมีอำนาจสั่งให้จำเลยที่ 3 ผู้เป็นเจ้าของอาคารพิพาทรื้อถอนอาคารทั้งสามส่วนดังกล่าวได้ตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522มาตรา 42 วรรคหนึ่ง (เดิม) และมีอำนาจร้องขอให้ศาลบังคับให้มีการรื้อถอนตาม มาตรา 42 วรรคสาม (เดิม) สำหรับชั้นดาดฟ้าซึ่งถูกก่อสร้างต่อเติมผิดไปจากแบบแปลนซึ่งโจทก์อ้างว่าเป็นการผิดข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่องควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2522 ข้อ 30(1) นั้น เป็นกรณีที่อาจขออนุญาตได้ โจทก์ต้องดำเนินการตามขั้นตอนของพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 43 วรรคหนึ่ง (เดิม) คือสั่งให้จำเลยที่ 3 แก้ไขเปลี่ยนแปลงชั้นดาดฟ้านั้นให้ถูกต้องเสียก่อนหากจำเลยที่ 3 ไม่แก้ไขเปลี่ยนแปลงชั้นดาดฟ้าให้ถูกต้องภายในเวลาที่กำหนด โจทก์จึงจะมีอำนาจสั่งให้จำเลยที่ 3รื้อถอนชั้นดาดฟ้าที่ก่อสร้างไม่ถูกตามแบบแปลนที่ได้รับอนุญาตได้ตามมาตรา 43 วรรคสาม (เดิม) เมื่อโจทก์ยังมิได้ดำเนินการตาม มาตรา 43(เดิม) จึงยังไม่มีอำนาจฟ้องร้องขอต่อศาลให้บังคับให้มีการรื้อถอนส่วนนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7325/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การก่อสร้างตึกแถวผิดแบบ เว้นที่ว่างด้านหลังไม่เป็นไปตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร
ตึกแถวที่จำเลยเป็นผู้ครอบครองก่อสร้างผิดไปจากแบบแปลนที่ได้รับอนุญาตโดยด้านหลังตึกแถวสร้างชิดเขตที่ดินแม้จะไม่มีลักษณะต้องห้ามตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครเรื่องควบคุมการก่อสร้างอาคารพ.ศ.2522ข้อ75เพราะเป็นผนังทึบแต่อาคารที่จำเลยครอบครองเป็นตึกแถวจึงอยู่ในบังคับของข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครเรื่องควบคุมการก่อสร้างอาคารพ.ศ.2522ข้อ76ที่จะต้องมีที่ว่างโดยปราศจากสิ่งปกคลุมเป็นทางเดินหลังอาคารได้ถึงกันกว้างไม่น้อยกว่า2.00เมตรจึงไม่อาจสร้างให้ด้านหลังชิดเขตที่ดินติดต่อได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3107/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การก่อสร้างผิดแบบ และสิทธิของเจ้าของบ้าน การผิดสัญญาไม่ร้ายแรงถึงขนาดบอกเลิกสัญญา
การที่จำเลยนำสืบว่าโจทก์ตกลงยินยอมให้ก่อสร้างผิดจากแบบแปลนที่ตกลงกันเดิมมิใช่กรณีที่กฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดงอันจะต้องห้ามมิให้นำพยานบุคคลมาสืบเปลี่ยนแปลงข้อความในเอกสาร จำเลยก่อสร้างบ้านของโจทก์มีส่วนสูงน้อยกว่าที่กำหนดไว้ประมาณ.16ถึง.18เมตรแต่เมื่อไม่กระทบถึงความคงทนของตัวบ้านก็หาทำให้บ้านเป็นอันไร้ประโยชน์แก่โจทก์ไม่จึงมิใช่การผิดสัญญาในข้อสำคัญถึงขนาดโจทก์จะบอกเลิกสัญญาได้หากโจทก์ได้รับความเสียหายอย่างใดก็มีเพียง สิทธิเรียกร้องให้จำเลย ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 939/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้อง, การควบคุมอาคาร, ระยะร่น, และการบังคับใช้กฎหมายอาคารชุด กรณีการก่อสร้างผิดแบบ
พระราชบัญญัติ ญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ไม่ได้บัญญัติให้กรุงเทพมหานคร จำเลยที่ 1 เข้าไปเกี่ยวข้องควบคุมอาคารแต่อย่างใดแต่เป็นอำนาจของเจ้าพนักงานท้องถิ่น ทั้งจำเลยที่ 1 มิได้มีคำสั่งรื้ออาคารของโจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่องกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับระยะร่นโดยรอบอาคาร ลงวันที่ 20 พฤศจิกายน 2521 ออกโดยอาศัยประกาศที่ชอบด้วยกฎหมาย และใช้บังคับก่อนพระราชบัญญัติควบคุมอาคารพ.ศ. 2522 โดยมิได้ถูกยกเลิกและขัดแย้งกับพระราชบัญญัติควบคุมอาคารฯ ด้วย ประกาศดังกล่าวจึงใช้บังคับได้โดยชอบด้วยกฎหมายตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคารฯ มาตรา 79พระราชบัญญัติ ญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 และประกาศกรุงเทพมหานครเรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับระยะร่นโดยรอบอาคารเป็นกฎหมายพิเศษที่มีวัตถุประสงค์คุ้มครองประโยชน์และความปลอดภัยของประชาชนเป็นสำคัญ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้รื้อถอนอาคารที่สร้างผิดแบบแปลนได้เสมอตราบเท่าที่อาคารซึ่งฝ่าฝืนกฎหมายยังคงอยู่ โจทก์ก่อสร้างอาคารผิดแบบแปลน เจ้าพนักงานท้องถิ่นสั่งให้โจทก์ระงับการก่อสร้างอาคาร วันที่ 25 มิถุนายน 2518 และสั่งให้รื้อถอนเมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2529 แต่โจทก์ได้จดทะเบียนอาคารเป็นอาคารชุดเมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2529 และจดทะเบียนนิติบุคคลอาคารชุดเมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2529 การจดทะเบียนเกิดขึ้นหลังจากที่โจทก์ทราบคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นแล้ว เป็นการหลีกเลี่ยงการรับผิดชอบตามคำสั่งดังกล่าว โจทก์มีหน้าที่ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะอ้างกฎหมายอาคารชุดคุ้มครองความรับผิดของโจทก์หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4310/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การก่อสร้างผิดแบบและการปรับโทษตามกฎหมายควบคุมอาคาร โดยมีการใช้กฎหมายที่แตกต่างกันตามช่วงเวลา
พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 40 วรรคแรกบัญญัติว่า "ในกรณีที่ฝ่าฝืนมาตรา 21 มาตรา 22 มาตรา 24หรือมีการก่อสร้าง ดัดแปลง หรือเคลื่อนย้ายอาคารโดยฝ่าฝืนมาตรา 31 ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารผู้ดำเนินการหรือผู้ควบคุมงานแล้วแต่กรณีระงับการกระทำนั้นได้" บทบัญญัติมาตรานี้มีความมุ่งหมายใช้บังคับแก่กรณีการที่ดำเนินการฝ่าฝืนกฎหมายยังคงมีอยู่เพื่อมิให้มีการปฏิบัติฝ่าฝืนต่อไป จึงให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ระงับหรือยุติการกระทำที่ฝ่าฝืนนั้นเสียสำหรับการกระทำหรือการก่อสร้างที่ทำไปแล้วจะต้องดำเนินการอย่างไรต่อไปนั้น จะต้องพิจารณาว่าการกระทำนั้นสามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 42 วรรคแรกและมาตรา 43 วรรคแรกได้หรือไม่ หากเป็นกรณีที่ไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้ ก็ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้รื้อถอนและดำเนินการตามมาตรา 42 ต่อไป ถ้าหากเป็นกรณีที่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้ ก็ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้เจ้าของอาคารยื่นคำขอรับอนุญาตหรือสั่งให้เจ้าของอาคารหรือผู้ดำเนินการแก้ไขเปลี่ยนแปลงอาคารนั้นให้ถูกต้องและดำเนินการตามมาตรา 43 ต่อไป เจ้าพนักงานท้องถิ่นสั่งการโดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 43 วรรคแรกให้จำเลยที่ 1 แก้ไขเปลี่ยนแปลงอาคารที่ก่อสร้างให้ถูกต้องกรณีนี้หามีบทบัญญัติว่าการฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นเป็นความผิดและกำหนดโทษไว้แต่อย่างใดไม่ การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงไม่เป็นความผิด และกรณีนี้เป็นเหตุในลักษณะคดี ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาไปถึงจำเลยที่ 2ซึ่งถอนฎีกาไปแล้วด้วย แต่ที่ศาลล่างทั้งสองลงโทษปรับรายวันด้วยนั้น เนื่องจากความผิดฐานก่อสร้างอาคารให้ผิดไปจากแบบแปลนที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นได้กำหนดไว้ในใบอนุญาตตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 31 นั้นจะลงโทษปรับรายวันตามมาตรา 65 วรรคสอง ได้ ก็ต่อเมื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้มีคำสั่งให้รื้อถอนอาคารดังกล่าวแล้วและผู้ได้รับคำสั่งไม่ปฏิบัติตามมาตรา 42 วรรคสอง ในกรณีเช่นนี้จึงจะลงโทษปรับรายวันได้ตลอดเวลาที่ฝ่าฝืนหรือจนกว่าจะปฏิบัติตามแล้วแต่กรณี แต่ตามฟ้องไม่ปรากฏว่าเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้มีคำสั่งดังกล่าวแต่อย่างใดที่ศาลล่างทั้งสองลงโทษปรับรายวันจึงเป็นการลงโทษนอกเหนือจากฟ้อง ปัญหานี้เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสองประกอบด้วยมาตรา 225 เนื่องจากในขณะที่คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาได้มีพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535ออกใช้บังคับโดยมาตรา 22 และมาตรา 25 ของพระราชบัญญัติดังกล่าวได้ยกเลิกความในมาตรา 65 วรรคแรกและมาตรา 70กรณีจึงเป็นเรื่องกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดแตกต่างจากกฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิด ซึ่งตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3 ต้องใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่ผู้กระทำความผิด ไม่ว่าในทางใด จึงต้องใช้โทษตามมาตรา 70ที่แก้ไขใหม่ประกอบมาตรา 65 วรรคแรก เดิม
of 3