คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ก่อสร้างอาคาร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 38 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8915/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาษีซื้อจากการก่อสร้างอาคารที่ขายก่อนเสร็จและให้แก่ผู้เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม: การหักลดหย่อนและการประเมิน
ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 42) ข้อ 2 (4) ภาษีซื้อที่เกิดจากการก่อสร้างอาคารเพื่อใช้หรือจะใช้ในกิจการประเภทที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม และต่อมาได้ขายไปภายในสามปีนับแต่เดือนภาษีที่ก่อสร้างเสร็จสมบูรณ์เป็นภาษีซื้อที่ไม่ให้นำมาหักในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มนั้น ประกาศดังกล่าวมิได้กำหนดว่าอาคารที่ขายต้องก่อสร้างเสร็จสมบูรณ์หรือต้องขายในกิจการประเภทที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มด้วย แม้อาคารที่โจทก์ขายจะยังก่อสร้างไม่เสร็จสมบูรณ์ และขายให้แก่บริษัท ป. จำกัด ซึ่งประกอบกิจการที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีซื้อดังกล่าวก็ต้องห้ามไม่ให้นำมาหักในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มด้วย
อาคารแม้จะก่อสร้างไม่เสร็จสมบูรณ์ แต่ติดอยู่กับที่ดินมีลักษณะเป็นการถาวร จึงเป็นอสังหาริมทรัพย์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 139 การที่โจทก์ขายอาคารดังกล่าวจึงเป็นการขายอสังหาริมทรัพย์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 139 การที่โจทก์ขายอาคารดังกล่าวจึงเป็นการขายอสังหาริมทรัพย์
ตามคำฟ้องโจทก์อ้างว่า การประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มของเจ้าพนักงานประเมินตามหนังสือแจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มแต่ละฉบับรวม 17 ฉบับ กับการประเมินภาษีธุรกิจเฉพาะจำนวน 1 ฉบับ ไม่ถูกต้อง ซึ่งการประเมินแต่ละรายไม่เกี่ยวข้องกัน สามารถแยกออกจากกันได้ คำฟ้องของโจทก์จึงมีข้อหารวม 18 ข้อหา ตามหนังสือแจ้งการประเมินแต่ละฉบับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5003/2545 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคิดค่าปรับรายวันฐานก่อสร้างอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาต สิ้นสุดเมื่อเจ้าพนักงานสั่งรื้อถอนและจำเลยไม่ปฏิบัติตาม
ความผิดฐานก่อสร้างอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตสิ้นสุดลงเมื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้มีคำสั่งให้จำเลยรื้อถอนอาคารแล้วจำเลยไม่ปฏิบัติตาม และเป็นการก่อความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่ให้รื้อถอนอาคารขึ้นตามมาตรา 42 , 66 ทวิ ดังนั้น การคิดค่าปรับรายวันในความผิดฐานก่อสร้างอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตจึงเริ่มนับตั้งแต่วันกระทำความผิดไปจนถึงการกระทำความผิดสิ้นสุดลง มิใช่นับตั้งแต่วันกระทำความผิดไปจนกว่าจะปฏิบัติให้ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5805/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การก่อสร้างอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตและฝ่าฝืนคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่น การพิพากษาโทษปรับรายวันและการใช้กฎหมายที่แก้ไขใหม่
ตามที่ พ.ร.บ. ควบคุมอาคาร (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 มาตรา 21 บัญญัติว่า ผู้ใดจะก่อสร้างอาคารต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นหรือแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นและดำเนินการตามมาตรา 39 ทวิ การที่จำเลยให้ นายช่างเทศบาลเขียนแบบแปลนให้ไม่ใช่การดำเนินการตามมาตรา 39 ทวิ จำเลยมีอาชีพรับเหมาก่อสร้าง ย่อมต้องรู้ว่าการก่อสร้างอาคารต้องยื่นคำขอรับใบอนุญาตจากทางราชการหรือดำเนินการตามมาตรา 39 ทวิ ก่อน แต่จำเลยกลับทำการก่อสร้างไปโดยไม่ได้รับใบอนุญาตหรือใบรับแจ้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น การก่อสร้างของจำเลยดังกล่าวจึงเป็นการกระทำผิดโดยเจตนา แม้ต่อมาภายหลังจำเลยจะไปยื่นคำขอรับใบอนุญาตก่อสร้างก็ไม่ทำให้การกระทำของจำเลยก่อนหน้านั้นไม่เป็นความผิด
จำเลยได้รับหนังสือจากนายกเทศมนตรีให้ระงับการก่อสร้างอาคารพิพาทเมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2539 โดย ลูกจ้างของจำเลยเป็นผู้รับแทน และเมื่อพนักงานสอบสวนไปตรวจที่เกิดเหตุในวันที่ 2 ตุลาคม 2539 ก็พบคนงานกำลังก่อสร้างอาคารพิพาทอยู่ ระยะเวลาตั้งแต่วันที่ 4 มิถุนายน 2539 ถึงวันที่ 2 ตุลาคม 2539 รวมเป็นเวลา 121 วัน แต่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยฝ่าฝืนคำสั่ง 120 วัน นับว่าเป็นคุณแก่จำเลยอยู่แล้ว และเมื่อโจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำผิดฐาน ฝ่าฝืนคำสั่งพนักงานท้องถิ่นเพียง 120 วัน ทั้งฟ้องว่าระหว่างวันที่ 27 พฤษภาคม 2539 ถึงวันที่ 2 ตุลาคม 2539 (รวมเวลา 129 วัน) จำเลยก่อสร้างอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น การที่ศาลล่างทั้งสองลงโทษปรับจำเลยรายวันตลอดมาจนถึงวันฟ้องและหลังจากวันฟ้องจนกว่าจำเลยจะปฏิบัติให้ถูกต้องจึงไม่ชอบ เพราะเมื่อโจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำผิดดังกล่าวเพียงถึงวันที่ 2 ตุลาคม 2539 แสดงว่าหลังจากวันนั้นจำเลยอาจมิได้ฝ่าฝืนคำสั่งหรือได้ปฏิบัติให้ถูกต้องแล้ว การลงโทษปรับจำเลยหลังจากวันนั้นจึงเป็นการพิพากษาเกินคำขอและเกินไปกว่าที่โจทก์ประสงค์ให้ลงโทษ ไม่ชอบตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 ปัญหานี้เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาเห็นควรพิพากษาแก้โทษจำเลยให้ถูกต้องตรงกับคำฟ้อง
การที่จำเลยทำการก่อสร้างอาคารพิพาทโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น เป็นการฝ่าฝืน พ.ร.บ. ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 21 อันเป็นการกระทำผิดสำเร็จแล้ว และมาตรา 40 บัญญัติว่า ในกรณีที่มีการก่อสร้างโดยฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจ สั่งให้ระงับการก่อสร้างและพิจารณาสั่งตามมาตรา 41 หรือมาตรา 42 แล้วแต่กรณี การสั่งตามมาตรา 41 หรือมาตรา 42 หมายถึงการสั่งให้แก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องและหากเจ้าของอาคารมิได้ปฏิบัติตามคำสั่งหรือไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้อง เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้รื้อถอนได้ แต่โจทก์มิได้ฟ้องให้จำเลยรื้อถอนจึงไม่ต้องพิจารณาว่ากรณีของจำเลยเป็นเรื่องที่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้หรือไม่ เมื่อจำเลยก่อสร้างโดยไม่ได้รับใบอนุญาตเจ้าพนักงาน ท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้จำเลยระงับการก่อสร้าง แต่จำเลยทราบคำสั่งแล้วจำเลยยังคงก่อสร้างต่อไปจำเลยย่อมมีความผิดตามมาตรา 40 (1) และกรณีนี้มิใช่กฎหมายที่บัญญัติในภายหลังว่า การกระทำดังกล่าวของจำเลยไม่เป็นความผิด จึง ไม่มีอาจนำบทบัญญัติมาตรา 2 วรรคสอง แห่ง ป.อ. มาบังคับได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 468/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การก่อสร้างอาคารทับแนวเขตผังเมือง-ฝ่าฝืนคำสั่งเจ้าพนักงาน-การปรับรายวัน-ความผิดตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร
ในระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา มีกฎกระทรวง ฉบับที่ 417 (พ.ศ. 2542) ออกตามความใน พ.ร.บ. การผังเมือง พ.ศ. 2518 ให้ใช้บังคับมีกำหนดอีกห้าปี โดยให้ใช้บังคับผังเมืองรวม ในท้องที่ตำบลป่าตอง ฯลฯ อำเภอเมืองภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต ภายในแนวเขตตามแผนที่ท้ายกฎกระทรวงนี้ ได้กำหนดบริเวณซึ่งเป็นถนนโครงการสาย ง.6 ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ฉบับที่ 67 (พ.ศ. 2532) เปลี่ยนเป็นถนนโครงการประเภทแนวถนนเสนอแนะแบบ ค แต่ไม่ปรากฏรายละเอียดว่าถนนดังกล่าวเริ่มต้นที่จุดใด ผ่านบริเวณใดบ้าง และจุดสิ้นสุดอยู่บริเวณใด กรณีจึงยังไม่เป็นการแน่นอนว่าจะก่อสร้าง หรือขยายเขตทางเมื่อใด อันเป็นการแตกต่างไปจากถนนโครงการสาย ง.6 ซึ่งได้ระบุ รายละเอียดว่าถนนสาย ง.6 กำหนดให้ขยายเขตทางและถนนโครงการกำหนดให้ก่อสร้างใหม่เริ่มต้นจากถนนทวีวงศ์ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ตามแนวถนนเดิมจนบรรจบกับถนน 200 ปี ดังนี้ เจตนารมณ์ของการออกกฎกระทรวง ฉบับที่ 417 ส่วนที่เกี่ยวกับถนนโครงการสาย ง.6 ตามกฎกระทรวงฉบับที่ 67 จึงเปลี่ยนไป เป็นเหตุให้การปลูกสร้างอาคารในแนวถนนโครงการประเภทแนวถนนเสนอแนะแบบ ค ไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ. การผังเมืองฯ มาตรา 27 วรรคแรกและ 83 วรรคแรก ถือได้ว่าตามบทบัญญัติตามกฎกระทรวงฉบับที่ 417 ที่บัญญัติในภายหลังการกระทำเช่นนั้น ไม่เป็นความผิดต่อไป จำเลยจึงพ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 2 วรรคสอง
เหตุที่กฎกระทรวง ฉบับที่ 67 ไม่มีผลใช้บังคับแล้วนั้นคงมีผลให้จำเลยพ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิดต่อ พ.ร.บ. การผังเมืองฯ มาตรา 27 วรรคแรก และมาตรา 83 วรรคแรก เท่านั้น หาทำให้จำเลยพ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิดต่อ พ.ร.บ. ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ไม่ เพราะ พ.ร.บ. ดังกล่าวยังมีผลใช้บังคับอยู่
ความผิดตาม พ.ร.บ. ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 42 และ 66 ทวิ เป็นเรื่องที่จำเลยฝ่าฝืนคำสั่งของ เจ้าพนักงานท้องถิ่นที่ออกคำสั่งให้จำเลยรื้อถอนอาคาร อันเป็นคำสั่งที่ออกได้โดยชอบด้วยกฎหมาย เพราะในขณะที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นออกคำสั่งให้จำเลยรื้อถอนอาคารนั้น จำเลยไม่สามารถก่อสร้างอาคารต่อไปได้เพราะก่อสร้าง ทับแนวถนนผังเมืองสาย ง.6 อันเป็นการฝ่าฝืนกฎกระทรวง ฉบับที่ 67 และกฎกระทรวงฉบับที่ 222 (พ.ศ. 2538) ออกตามความใน พ.ร.บ. การผังเมือง พ.ศ. 2518 ซึ่งยังมีผลใช้บังคับอยู่ในขณะที่จำเลยกำลังก่อสร้างอาคารดังกล่าว เป็นกรณีที่จำเลยก่อสร้างอาคารฝ่าฝืนกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง เจ้าพนักงานท้องถิ่นย่อมมีอำนาจดำเนินการสั่งให้จำเลย ซึ่งเป็นเจ้าของผู้ครอบครองอาคารและบริวารระงับการกระทำดังกล่าวได้ตาม พ.ร.บ. ควบคุมอาคาร มาตรา 40 (1) การที่อาคารของจำเลยก่อสร้างทับแนวถนนผังเมือง จึงเป็นกรณีที่ไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้ในขณะนั้น เมื่อจำเลยฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น จำเลยจึงมีความผิดตาม พ.ร.บ. ควบคุมอาคารฯ มาตรา 42 และ 66 ทวิ
ตาม พ.ร.บ. ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 21 ก่อนก่อสร้างอาคารจำเลยจะต้องได้รับอนุญาตจาก เจ้าพนักงานท้องถิ่นหรือแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นและดำเนินการตามมาตรา 39 ทวิ ทั้งเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้ออก ใบรับแจ้งให้แก่จำเลยแล้ว จำเลยจึงจะสามารถเริ่มต้นดำเนินการก่อสร้างได้ เมื่อจำเลยทำการก่อสร้างอาคารโดยยังมิได้รับใบอนุญาตหรือใบรับแจ้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามมาตรา 21 และ 39 ทวิ จำเลยย่อมมีความผิดตามมาตรา 65 วรรคแรก หาอาจยกเอาเรื่องที่ทางเทศบาลตำบลป่าตองแนะนำให้จำเลยก่อสร้างอาคารไปก่อนมาเป็นข้อแก้ตัวเพื่อให้ตัวเอง พ้นผิดได้ไม่
การปรับจำเลยฐานฝ่าฝืนคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่ให้ระงับการก่อสร้างอาคารเป็นรายวัน ย่อมปรับได้ ตลอดเวลาที่จำเลยฝ่าฝืนคำสั่งโดยทำการก่อสร้างอาคารต่อไปจนกระทั่งจำเลยก่อสร้างอาคารเสร็จ หลังจากที่จำเลย ก่อสร้างอาคารเสร็จแล้ว ไม่อาจลงโทษปรับจำเลยเป็นรายวันได้อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2068/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรุกล้ำที่สาธารณะด้วยการก่อสร้างอาคาร การลงโทษตามกฎหมายอาญาและกฎหมายที่ดิน
จำเลยก่อสร้างระเบียงรุกล้ำทางเดินเท้าโดยทำพื้นเป็นคอนกรีตเสริมเหล็กและมีหลังคาอะลูมิเนียมปกคลุม เป็นการยึดถือครอบครองและทำให้เสียหายทำให้ไร้ประโยชน์ซึ่งทางเดินเท้า เป็นความผิดฐานยึดถือครอบครองที่ดินของรัฐ ซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ประชาชนใช้ร่วมกัน และฐานทำให้เสียทรัพย์ที่ใช้และมีไว้เพื่อสาธารณประโยชน์ เป็นกรรมเดียวเป็นความผิด ต่อกฎหมายหลายบท เมื่อลงโทษฐานทำให้เสียทรัพย์ที่ใช้และมีไว้เพื่อสาธารณประโยชน์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 360 ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดแล้ว จึงไม่อาจอาศัยบทเบาตามประมวลกฎหมายที่ดินฯมาตรา 108 ทวิ วรรคสองมาบังคับให้จำเลยและบริวารออกจากที่ดินที่เข้ายึดถือครอบครองได้ เพราะประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 360ไม่ได้บัญญัติข้อบังคับดังกล่าวไว้
พนักงานสอบสวนได้แจ้งข้อหาให้จำเลยทราบโดยสรุปว่าจำเลยก่อสร้างบ้านรุกล้ำที่สาธารณะ จำเลยย่อมเข้าใจและทราบได้ดีว่าที่ดินที่ถูกกล่าวหาว่าก่อสร้างอาคารรุกล้ำคือที่ดินที่อยู่ติดกับอาคารของจำเลยจึงถือว่ามีการสอบสวนในความผิดดังกล่าวโดยชอบแล้ว โจทก์บรรยายฟ้องมาครั้งแรกผิดพลาดและขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องเป็นความบกพร่องของโจทก์ไม่ทำให้การสอบสวนที่ชอบแล้วกลับกลายเป็นไม่ชอบไปได้ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5945/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การก่อสร้างอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตและการแก้ไขกฎหมายที่ใช้บังคับ ศาลฎีกาพิจารณาโทษตามกฎหมายที่มีผลดีต่อจำเลย
จำเลยก่อสร้างอาคารที่เกิดเหตุมาก่อนวันที่6 มิถุนายน 2535 อันเป็นวันที่พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 ใช้บังคับ โดยไม่ได้รับอนุญาตการกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 21,65 วรรคหนึ่ง,70 แต่ต่อมามีพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 ออกใช้บังคับ โดยมาตรา 22ให้ยกเลิกความในมาตรา 65 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคารพ.ศ. 2522 และมาตรา 25 ให้ยกเลิกความในมาตรา 70แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 และให้ใช้ความใหม่แทนบทกำหนดโทษตามมาตรา 65 วรรคหนึ่งเดิมซึ่งเป็นบทกำหนดโทษผู้ก่อสร้างอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาต ระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท แต่มาตรา 65 วรรคหนึ่ง ที่แก้ไขใหม่ระวางโทษจำคุกไม่เกินสามเดือน หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับส่วนมาตรา 70 ซึ่งเป็นบทกำหนดโทษให้หนักขึ้นในการกระทำผิดอันเกี่ยวกับอาคารเพื่อพาณิชยกรรมระวางโทษ จำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับเป็นสิบเท่าของโทษ ที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ หรือทั้งจำทั้งปรับแต่มาตรา 70 ที่แก้ไขใหม่ ระวางโทษเป็นสองเท่าของโทษที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ อันเป็นกรณีที่กฎหมาย ที่ใช้ในขณะกระทำความผิดแตกต่างกับกฎหมายที่ใช้ภายหลังกระทำความผิดอันมีทั้งส่วนที่เป็นคุณและเป็นโทษแก่ผู้กระทำ ความผิด ซึ่งประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3 ให้ใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่ผู้กระทำความผิดไม่ว่าในทางใดดังนั้น จึงต้องนำมาตรา 70 ที่แก้ไขใหม่ อันเป็นคุณแก่จำเลยยิ่งกว่ามาตรา 70 เดิม มาใช้บังคับแก่จำเลย และยังคงใช้มาตรา 65 วรรคหนึ่งเดิม ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดอันเป็นคุณแก่จำเลยยิ่งกว่ามาตรา 65ที่แก้ไขใหม่ มาใช้บังคับแก่จำเลย จำเลยจึงมีความผิดตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522มาตรา 65 วรรคหนึ่งเดิม พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 65 วรรคสอง เดิม มิได้บัญญัติให้ระวางโทษปรับรายวันแก่ผู้ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติ ตามมาตรา 21 ด้วย จึงลงโทษปรับจำเลยเป็นรายวัน ตามคำขอของโจทก์ไม่ได้ การก่อสร้างอาคารผิดไปจากแบบแปลนที่ได้รับอนุญาตอันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522มาตรา 31 นั้น จะลงโทษปรับเป็นรายวัน ตามมาตรา 65 วรรคสอง ได้ก็ต่อเมื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้มีคำสั่งให้รื้อถอนอาคารดังกล่าวแล้ว และผู้ได้รับคำสั่งไม่ปฏิบัติตามมาตรา 42 วรรคสอง ในกรณีเช่นนี้จึงจะลงโทษปรับรายวันได้ตลอดเวลาที่ฝ่าฝืน หรือจนกว่า จะปฏิบัติตามแล้วแต่กรณี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2212/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษฐานก่อสร้างอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาต: ต้องลงโทษทั้งตามมาตรา 65 วรรคหนึ่งและวรรคสอง
ตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 65ได้บัญญัติให้ผู้ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา 21 ซึ่งก่อสร้างอาคารโดยมิได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น นอกจากต้องรับโทษฐานก่อสร้างอาคารโดยมิได้รับใบอนุญาตตามวรรคหนึ่งแล้ว ยังจะต้องรับโทษปรับอีกวันละไม่เกินหนึ่งหมื่นบาทตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืนหรือจนกว่าจะได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามวรรคสองอีกด้วย ทั้งนี้โดยไม่ต้องปรากฏว่าเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้มีคำสั่งให้ระงับการก่อสร้างอาคารดังกล่าวแล้วหรือไม่ ดังนั้น การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาลงโทษจำเลยฐานก่อสร้างอาคารโดยมิได้รับใบอนุญาตตามมาตรา 65 วรรคหนึ่ง เพียงประการเดียวโดยมิได้ลงโทษตามมาตรา 65 วรรคสอง ด้วยจึงยังไม่ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2212/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษปรับรายวันกรณีการก่อสร้างอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร
ตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคารพ.ศ.2522มาตรา65ได้บัญญัติให้ผู้ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา21ซึ่งก่อสร้างอาคารโดยมิได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นนอกจากต้องรับโทษฐานก่อสร้างอาคารโดยมิได้รับใบอนุญาตตามวรรคหนึ่งแล้วยังจะต้องรับโทษปรับอีกวันละไม่เกินหนึ่งหมื่นบาทตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืนหรือจนกว่าจะได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามวรรคสองอีกด้วยทั้งนี้โดยไม่ต้องปรากฏว่าเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้มีคำสั่งให้ระงับการก่อสร้างอาคารดังกล่าวแล้วหรือไม่ดังนั้นการที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาลงโทษจำเลยฐานก่อสร้างอาคารโดยมิได้รับอนุญาตตามมาตรา65วรรคหนึ่งเพียงประการเดียวโดยมิได้ลงโทษตามมาตรา65วรรคสองด้วยจึงยังไม่ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8107/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การก่อสร้างอาคารและการรื้อถอนส่วนที่ขัดต่อข้อบัญญัติควบคุมอาคาร โดยคำนึงถึงอาคารเดิมที่สร้างก่อนมีข้อบัญญัติ
จากแบบแปลนแผนผังที่นายตรวจอาคารงานโยธาทำขึ้นไม่ปรากฏว่ามีห้องน้ำห้องส้วมในตัวอาคาร แสดงว่าขณะที่จำเลยซื้อบ้านพิพาทมีห้องน้ำห้องส้วมรวมกันอยู่ติดกับรั้วกว้างประมาณ 1 วา ยาวประมาณ 1 วาเศษ ต่อมาจำเลยได้แบ่งซอยห้องน้ำห้องส้วม เดิมเป็นสองห้องใหม่โดยไม่ปรากฏว่ามีการเพิ่มหรือขยายพื้นที่ จึงไม่ทำให้พื้นที่ว่างเดิมลดน้อยลง อาคารของจำเลยได้ก่อสร้างมาก่อนพ.ศ.2522 ซึ่งอยู่ภายใต้บังคับตาม พ.ร.บ.ควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ.2479เป็นอาคารที่สร้างขึ้นโดยชอบด้วยกฎหมายมีพื้นที่ว่างไม่ถึงร้อยละ 30 แม้จะขัดต่อข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง ควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ.2522 ซึ่งออกตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 ก็หามีผลย้อนหลังใช้บังคับแก่อาคารของจำเลยได้ไม่ จำเลยจึงไม่ต้องรื้อถอนห้องน้ำห้องส้วมที่แบ่งซอย
ห้องส้วมอีก 4 ห้อง ขนาด 1.20 x 1.30 เมตร สูง 2 เมตรเป็นการก่อสร้างขึ้นใหม่โดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น แม้จะก่อสร้างอยู่ใต้ชายคาเดิมเป็นส่วนใหญ่ แต่ก็ได้ความว่ามีบางส่วนด้านที่ติดกับรั้วบ้านเลขที่8/10 ล้ำออกไปจากชายคาประมาณ 20 เซนติเมตร ทำให้เหลือที่ว่างปราศจากสิ่งปกคลุมลดลงไปกว่าเดิม และน้อยกว่าร้อยละ 30 ของพื้นที่ทั้งหมด ซึ่งขัดต่อข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง การควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ.2522ข้อ 76 (1) และไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้ จำเลยจึงต้องรื้อถอนห้องส้วมจำนวน 4 ห้อง ที่ก่อสร้างขึ้นใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7325/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการก่อสร้างอาคารชิดเขตที่ดิน: ตึกแถวต้องมีทางเดินหลัง
ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง ควบคุมการก่อสร้างอาคารพ.ศ.2522 ข้อ 75 มีความว่า อาคารที่ปลูกชิดเขตที่ดินต่างผู้ครอบครอง อนุญาตให้เฉพาะฝาหรือผนังทึบไม่มีประตูหน้าต่างและช่องระบายอากาศอยู่ชิดเขตได้พอดีแม้อาคารที่จำเลยครอบครองจะไม่มีลักษณะต้องห้ามตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครเรื่อง ควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ.2522 ข้อ 75 ดังกล่าว แต่อาคารที่จำเลยครอบครองเป็นตึกแถวจึงอยู่ในบังคับของข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง ควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ.2522 ข้อ 76 ซึ่งมีความว่า อาคารประเภทต่าง ๆจะต้องมีที่ว่างอันปราศจากหลังคาหรือสิ่งปกคลุมไม่น้อยกว่าส่วนที่กำหนดไว้ดังต่อไปนี้...(4) ห้องแถว ตึกแถว...จะต้องมีที่ว่างโดยปราศจากสิ่งปกคลุมเป็นทางเดินหลังอาคารได้ถึงกันกว้างไม่น้อยกว่า 2.00 เมตร อาคารที่จำเลยครอบครองจึงไม่อาจสร้างให้ด้านหลังชิดเขตที่ดินติดต่อได้ตามข้อบัญญัติกรุงเทพ-มหานคร เรื่อง ควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ.2522 ข้อ 76 (4)
of 4