พบผลลัพธ์ทั้งหมด 215 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8530/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ขนส่งสินค้าชำรุดเสียหายระหว่างการขนส่ง และการไม่รับของโดยไม่อิดเอื้อน
ขณะส่งมอบสินค้าให้แก่ผู้เอาประกันภัย สินค้าพิพาทมีสภาพกล่องที่เปียกน้ำ เปื่อย บุบยุบ ฉีกขาด และบางส่วนไม่ได้วางอยู่บนฐานรอง ซึ่งกล่องที่ไม่ได้วางอยู่บนฐานรองนี้แตกต่างจากสภาพสินค้าขณะที่จำเลยรับมอบไว้จากผู้ส่งตามใบตราส่ง ซึ่งระบุว่าสินค้าพิพาทมี 167 กล่อง วางอยู่บนฐานรองรวม 12 ฐาน ขณะที่พนักงานของผู้เอาประกันภัยได้ถ่ายภาพเพื่อเก็บหลักฐานความเสียหายที่ปรากฏในเบื้องต้นนั้น ได้มีการแสดงออกถึงการที่ยังไม่ยอมรับว่าสินค้าที่จำเลยส่งมอบอยู่ในสภาพเรียบร้อยให้พนักงานขับรถและส่งของของจำเลยได้ทราบแล้ว แม้พนักงานของผู้เอาประกันภัยจะลงลายมือชื่อรับสินค้านั้นไว้ก็เพราะปรากฏในเบื้องต้นว่าสินค้าส่งมาครบถ้วนเท่าจำนวนกล่องที่ระบุไว้ในใบตราส่งเท่านั้น จะถือว่าผู้เอาประกันภัยรับเอาสินค้านั้นไว้โดยไม่อิดเอื้อนไม่ได้ จำเลยจึงยังไม่หลุดพ้นความรับผิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 623 วรรคแรก ส่วนการอ้างประโยชน์ตามมาตรา 623 วรรคสอง ในกรณีความชำรุดบกพร่องมิได้ปรากฏแต่สภาพภายนอกซึ่งเจ้าของสินค้าต้องบอกกล่าวภายใน 8 วัน นับแต่วันรับมอบนั้น กรณีตามมาตรา 623 วรรคสอง ต้องปรากฏว่ามีการรับของโดยไม่อิดเอื้อนและมีการจ่ายค่าระวางพาหนะแล้ว ตามมาตรา 623 วรรคแรกด้วย ความรับผิดของจำเลยจึงจะสิ้นสุดลง เมื่อข้อเท็จจริงถือไม่ได้ว่าผู้เอาประกันภัยซึ่งเป็นผู้รับตราส่งได้รับของไว้โดยไม่อิดเอื้อนแล้ว แม้ผู้รับตราส่งจะมิได้แจ้งเกี่ยวกับความเสียหายให้จำเลยทราบภายใน 8 วัน ก็ตาม ความรับผิดของจำเลยก็ยังไม่สิ้นสุดลง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5144/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ประกอบการขนส่งตู้คอนเทนเนอร์ต่อความเสียหายจากความประมาทเลินเล่อในการตั้งวาง
จำเลยที่ 2 เป็นผู้ประกอบกิจการรับขนส่งตู้คอนเทนเนอร์และรับจ้างจากจำเลยที่ 1 ให้นำตู้คอนเทนเนอร์ของโจทก์ไปบรรจุสินค้าที่โรงงานของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 จึงมีหน้าที่ต้องใช้ความระมัดระวังในการตั้งวางตู้คอนเทนเนอร์ที่รับขนส่งให้มั่นคงปลอดภัยเพื่อการนำสินค้าเข้าบรรจุ การที่ ป. ขับรถไปจอดภายในโรงงานของจำเลยที่ 1 จากนั้นได้ปลดขาค้ำยันของหางลากที่บรรทุกตู้คอนเทนเนอร์ลง และปลดล็อกระหว่างรถบรรทุกหัวลากกับหางลาก เมื่อบริเวณที่ตั้งวางหางลากเป็นพื้นลาดเอียง ทำให้ด้านท้ายของหางลากซึ่งรับน้ำหนักด้วยล้ออยู่สูงกว่าด้านหน้า แต่ ป. ไม่นำแผ่นเหล็กคล้ายโต๊ะที่นำติดรถไปวางรองรับน้ำหนักของตู้คอนเทนเนอร์ที่อยู่บนหางลากให้มั่นคงแข็งแรง การที่ตู้คอนเทนเนอร์ของโจทก์ล้มลงจึงเกิดจากความประมาทเลินเล่อของ ป. จำเลยที่ 2 ผู้เป็นนายจ้างจะปัดความรับผิดโดยอ้างว่าเป็นความผิดของพนักงานของจำเลยที่ 1 ไม่ได้จัดเรียงสินค้าตามแนวยาวของตู้คอนเทนเนอร์และแม้พนักงานของจำเลยที่ 1 นำบันไดไปพาดวางไว้ที่ตู้คอนเทนเนอร์และบันไดดังกล่าวกระแทกถูกอุปกรณ์ทำความเย็นขณะตู้คอนเทนเนอร์ล้มลง ก็ต้องถือว่าความเสียหายดังกล่าวเป็นผลโดยตรงอันเกิดจากความประมาทเลินเล่อของ ป. อยู่นั่นเอง ไม่เป็นเหตุให้จำเลยที่ 2 พ้นความรับผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4787/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความความรับผิดของผู้ขนส่งและการสะดุดหยุดของอายุความจากหนังสือรับสภาพหนี้
โจทก์เดินทางจากกรุงเทพมหานครไปถึงจังหวัดอุดรธานีในวันที่ 25 กรกฎาคม 2541 อันเป็นวันที่จำเลยควรจะส่งมอบกระเป๋าเดินทางสูญหายให้แก่โจทก์ อายุความย่อมเริ่มตั้งแต่วันดังกล่าว แม้โจทก์จะฟ้องคดีวันที่ 9 สิงหาคม 2542 ซึ่งพ้นกำหนด 1 ปีแล้ว แต่เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2541 จำเลยได้มีหนังสือยินยอมชดใช่ค่าเสียหายให้โจทก์เป็นเงิน 400 ดอลลาร์สหรัฐ ถึงแม้จะไม่เต็มตามจำนวนที่โจทก์เรียกร้อง ก็เป็นหนังสือรับสภาพหนี้แล้ว เป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/14 (1) เมื่อโจทก์นำคดีมาฟ้องเมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2542 จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 671/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบรถยนต์ของกลางที่ใช้ขนส่งผู้กระทำผิด ไม่เป็นทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำความผิด
รถยนต์ของกลางเป็นพาหนะที่คนต่างด้าวโดยสาร เพื่อพาคนต่างด้าวให้พ้นจากการจับกุม ไม่ใช่ทรัพย์สินที่ทำหรือมีไว้เป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 32 ทั้งไม่ใช่ทรัพย์สินซึ่งได้ใช้หรือมีไว้เพื่อใช้กระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 33 (1) รถยนต์ของกลางโดยสภาพมีไว้เพื่อบรรทุกคนและสิ่งของจากที่หนึ่งไปยังที่อื่นอันเป็นวัตถุประสงค์ทั่วไป จึงริบรถยนต์ของกลางไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8346/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ส่งสินค้าและผู้ขนส่ง กรณีสินค้าเสียหายจากการขนส่ง: การประเมินความรับผิดและค่าเสียหาย
ความรับผิดของผู้ส่งของในความเสียหายอันเนื่องมาจากการแจ้งหรือจัดให้ผู้ขนส่งบันทึกข้อความในใบตราส่งโดยไม่ถูกต้องแท้จริงของข้อความเกี่ยวกับลักษณะทั่วไปแห่งของเครื่องหมายที่จำเป็นเพื่อบ่งตัวของ จำนวนหน่วยการขนส่ง น้ำหนักของหรือปริมาณอย่างอื่นตามมาตรา 23 แห่ง พ.ร.บ. การรับขนของทางทะเลฯ นั้น เพื่อให้ผู้ขนส่งบันทึกข้อความนั้นไว้ในใบตราส่ง และเมื่อผู้ขนส่งได้บันทึกให้ตามที่ผู้ส่งของได้แจ้งหรือจัดให้ซึ่งข้อความนั้นแล้ว จึงจะถือว่าผู้ส่งของได้รับรองกับผู้ขนส่งว่าข้อความที่แจ้งหรือจัดให้นั้นถูกต้องตรงกับความเป็นจริงเกี่ยวกับของนั้นทุกประการ หากมีความเสียหายเกิดขึ้นเนื่องจากความไม่ถูกต้องแท้จริงของข้อความดังกล่าว บทบัญญัติ มาตรา 32 วรรคสอง บัญญัติให้ผู้ส่งของรับผิดชดใช้ความเสียหายแก่ผู้ขนส่งแม้ผู้ส่งของจะได้โอนใบตราส่งนั้นให้แก่บุคคลภายนอกไปแล้วก็ตาม แต่ทั้งนี้ผู้ขนส่งยังคงต้องรับผิดตามสัญญาขนของทางทะเลต่อบุคคลภายนอกผู้ทรงใบตราส่งนั้น ซึ่งจะเห็นได้ว่าเหตุผลที่มาตรา 32 วรรคสอง บัญญัติให้ผู้ส่งของรับผิดต่อผู้ขนส่งสำหรับความเสียหายดังกล่าว เป็นเพราะความเสียหายนั้นเป็นความเสียหายที่ผู้ขนส่งยังคงต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอกซึ่งเป็นผู้ทรงใบตราส่งตามสัญญารับขนของทางทะเลเนื่องจากผู้ขนส่งส่งมอบสินค้าที่ขนส่งไม่ถูกต้องตรงตามที่ระบุไว้ในใบตราส่งอันเป็นผลมาจากผู้ส่งของยืนยันให้ผู้ขนส่งบันทึกข้อความเกี่ยวกับลักษณะทั่วไปแห่งของเครื่องหมายที่จำเป็นเพื่อบ่งตัวของจำนวนหน่วยการขนส่ง น้ำหนักของหรือปริมาณอย่างอื่นที่ไม่ถูกต้องไว้ในใบตราส่ง ความเสียหายที่เกิดขึ้นเกี่ยวข้องกับใบตราส่งตามมาตรา 32 วรรคสองนี้จึงมิใช่ความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่ผู้ขนส่งหรือเรือผู้ขนส่งโดยตรง ดังนี้ การที่จำเลยซึ่งเป็นผู้ส่งของแจ้งน้ำหนักของสินค้าไม้เนื้อแข็งแปรรูปน้อยกว่าน้ำหนักสินค้าของสินค้าตามความเป็นจริง และมีความเสียหายเกิดขึ้นแก่เรือของโจทก์ที่ 2 ผู้ขนส่งและสินค้าของผู้อื่นในเรือซึ่งไม่ใช่สินค้าตามใบตราส่ง จึงเป็นกรณีที่ไม่อาจนำบทบัญญัติมาตรา 32 มาใช้บังคับได้แต่ต้องบังคับตามมาตรา 31 ซึ่งผู้ส่งของจะต้องรับผิดต่อผู้ขนส่ง ในกรณีที่ความเสียหายเป็นเหตุมาจากความผิดหรือประมาทเลินเล่อของผู้ส่งของหรือตัวแทนหรือลูกจ้างของผู้ส่งของหรือจากสภาพแห่งของนั้นเอง โดยผู้ส่งของมิได้ปฏิบัติตามกฎหมายหรือประเพณีทางการค้าเกี่ยวกับการส่งของนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2684/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างบริการขนส่ง: การผิดสัญญา, อายุความ 10 ปี, และขอบเขตความรับผิด
ตามสัญญาจ้างบริการขนส่งสิ่งอุปกรณ์ (ยุทโธปกรณ์ทางทหาร) ระหว่างโจทก์ที่ 1 กับจำเลยที่ 1 ที่ให้จำเลยที่ 1 ดำเนินการจัดบริการขนส่งสิ่งอุปกรณ์มาส่งมอบให้แก่โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 ในข้อ 17 ระบุว่า เมื่อโจทก์ที่ 1 เห็นว่า จำเลยที่ 1 ไม่เหมาะสมที่จะดำเนินการรับจัดบริการขนส่ง เป็นต้นว่า ไม่สามารถที่จะควบคุมสั่งการประสานงานกับตัวแทนจัดการขนส่งได้อย่างมีประสิทธิภาพ โจทก์ที่ 1 มีอำนาจบอกเลิกสัญญาได้ ข้อตกลงดังกล่าวกำหนดให้จำเลยที่ 1 มีหน้าที่ต้องควบคุมสั่งการประสานงานกับตัวแทนจัดการขนส่งให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ การที่จำเลยที่ 1 ขัดแย้งกับตัวแทนจัดการขนส่งถึงขนาดบอกเลิกการเป็นตัวแทนจัดการขนส่งสิ่งอุปกรณ์อีกต่อไปและทำให้ตัวแทนจัดการขนส่งกักสิ่งอุปกรณ์ที่โจทก์ที่ 1 ว่าจ้างให้จำเลยที่ 1 ดำเนินการจัดบริการขนส่งไว้นั้น ต้องด้วยกรณีที่จำเลยที่ 1 ไม่สามารถควบคุมตัวแทนจัดการขนส่งได้อย่างมีประสิทธิภาพอันเป็นการปฏิบัติผิดสัญญาจ้างบริการขนส่งสิ่งอุปกรณ์ ข้อ 17 ดังกล่าวแล้ว โจทก์ที่ 1 จึงใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาได้
โจทก์ทั้งสี่ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยที่ 1 เพราะเหตุจำเลยที่ 1 ไม่ปฏิบัติตามสัญญาโดยไม่สามารถจัดการขนส่งสิ่งอุปกรณ์ให้แก่โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 เป็นเหตุให้โจทก์ทั้งสี่เสียหายในการดำเนินการจัดส่งคณะผู้แทนและทนายความของโจทก์ที่ 1 ไปประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อติดตามเอาคืนสิ่งอุปกรณ์ที่ถูกกักเก็บโดยตัวแทนจัดการขนส่งของจำเลยที่ 1 และโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการนำสิ่งอุปกรณ์ออกจากโกดังของตัวแทนจัดการขนส่งดังกล่าวที่ประเทศสหรัฐอเมริกาเพื่อส่งมายังประเทศไทย รวมทั้งความเสียหายเนื่องจากสิ่งอุปกรณ์บุบสลายและสูญหาย อันสืบเนื่องมาจากการที่จำเลยที่ 1 ไม่สามารถจัดการขนส่งให้ได้ จึงเป็นกรณีที่โจทก์ทั้งสี่ฟ้องเรียกค่าเสียหายอันเนื่องจากจำเลยที่ 1 ไม่ปฏิบัติตามสัญญาจ้างบริการขนส่งสิ่งอุปกรณ์ ซึ่งไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะ มิใช่กรณีฟ้องผู้ขนส่งให้รับผิดในกรณีที่ดำเนินการขนส่งสินค้าแล้วสินค้าสูญหายหรือบุบสลายหรือส่งชักช้าในระหว่างการขนส่งซึ่งอยู่ในบังคับอายุความ 1 ปี นับแต่ส่งมอบหรือวันที่ควรจะได้ส่งมอบตาม ป.พ.พ. มาตรา 624 สิทธิเรียกร้องของโจทก์ทั้งสี่จึงมีอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 193/30
โจทก์ทั้งสี่ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยที่ 1 เพราะเหตุจำเลยที่ 1 ไม่ปฏิบัติตามสัญญาโดยไม่สามารถจัดการขนส่งสิ่งอุปกรณ์ให้แก่โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 เป็นเหตุให้โจทก์ทั้งสี่เสียหายในการดำเนินการจัดส่งคณะผู้แทนและทนายความของโจทก์ที่ 1 ไปประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อติดตามเอาคืนสิ่งอุปกรณ์ที่ถูกกักเก็บโดยตัวแทนจัดการขนส่งของจำเลยที่ 1 และโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการนำสิ่งอุปกรณ์ออกจากโกดังของตัวแทนจัดการขนส่งดังกล่าวที่ประเทศสหรัฐอเมริกาเพื่อส่งมายังประเทศไทย รวมทั้งความเสียหายเนื่องจากสิ่งอุปกรณ์บุบสลายและสูญหาย อันสืบเนื่องมาจากการที่จำเลยที่ 1 ไม่สามารถจัดการขนส่งให้ได้ จึงเป็นกรณีที่โจทก์ทั้งสี่ฟ้องเรียกค่าเสียหายอันเนื่องจากจำเลยที่ 1 ไม่ปฏิบัติตามสัญญาจ้างบริการขนส่งสิ่งอุปกรณ์ ซึ่งไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะ มิใช่กรณีฟ้องผู้ขนส่งให้รับผิดในกรณีที่ดำเนินการขนส่งสินค้าแล้วสินค้าสูญหายหรือบุบสลายหรือส่งชักช้าในระหว่างการขนส่งซึ่งอยู่ในบังคับอายุความ 1 ปี นับแต่ส่งมอบหรือวันที่ควรจะได้ส่งมอบตาม ป.พ.พ. มาตรา 624 สิทธิเรียกร้องของโจทก์ทั้งสี่จึงมีอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 193/30
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12578/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดฐานรับของโจร: ผู้รับจ้างขนส่งเป็นผู้เสียหายโดยตรงจากการถูกลักทรัพย์
โจทก์ร่วมเป็นผู้รับจ้างขนส่งกระเบื้องจากบริษัท ค. ผู้ว่าจ้างไปส่งให้แก่ร้านค้าจึงเป็นผู้ครอบครองดูแลและจะต้องรับผิดชำระค่ากระเบื้องที่สูญหายไปในระหว่างขนส่งให้แก่ผู้ว่าจ้าง โจทก์ร่วมจึงเป็นผู้เสียหายโดยตรงในการที่กระเบื้องดังกล่าวสูญหายไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1920/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ขนส่งสินค้าจากการส่งมอบสินค้าผิดพลาดและไม่ถูกต้องตามสัญญา
เมื่อจำเลยที่ 2 ตกลงรับจ้างขนส่งสินค้า จำเลยที่ 2 ย่อมมีหน้าที่ที่จะต้องขนส่งสินค้าไปส่งมอบให้แก่ผู้รับตราส่งที่ท่าอากาศยานปลายทาง จำเลยที่ 2 ได้ออกใบตราส่งอันถือได้ว่าเป็นหลักฐานแห่งสัญญาขนส่งของให้แก่ผู้ส่งตามใบตราส่ง โดยระบุในใบตราส่งว่าผู้รับตราส่งคือธนาคารซิตี้แบงก์ มี ซ. เป็นผู้ที่จะต้องแจ้งให้ทราบ จำเลยที่ 2 จึงมีหน้าที่ขนส่งสินค้าไปส่งมอบให้แก่ ซ. ที่ท่าอากาศยานเมืองไมอามีซึ่งเป็นท่าอากาศยานปลายทาง โดยการเวนคืนต้นฉบับใบตราส่งซึ่งธนาคารซิตี้แบงก์ได้สลักหลังให้ เมื่อสินค้าถึงท่าอากาศยานเมืองไมอามี ตัวแทนของจำเลยที่ 2 กลับปล่อยสินค้าให้แก่บุคคลอื่นโดยมิได้มีการเวนคืนต้นฉบับใบตราส่งทางอากาศ ถือไม่ได้ว่าเป็นการส่งมอบสินค้าโดยชอบ
เอกสารที่โจทก์อ้างแม้จะเป็นสำเนาเอกสาร แต่ก็เป็นเอกสารที่ผู้ส่งได้ส่งให้แก่โจทก์โดยวิธีโทรสารซึ่งเป็นที่รู้กันโดยทั่วไปว่า ตามปกติผู้ส่งจะนำต้นฉบับเอกสารไปลงในเครื่องโทรสารแล้วส่งโดยวิธีโทรสารไปยังเครื่องโทรสารของผู้รับ และผู้ส่งเป็นผู้เก็บต้นฉบับไว้ ทั้งเมื่อจำเลยที่ 2 ถูกโจทก์อ้างสำเนาเอกสารดังกล่าวมาเป็นพยานหลักฐานยันตนก็มิได้คัดค้านว่าไม่มีต้นฉบับหรือต้นฉบับปลอมทั้งฉบับหรือบางส่วน หรือสำเนานั้นไม่ถูกต้องกับต้นฉบับก่อนการสืบพยานเอกสารนั้นแล้วเสร็จ และไม่ได้ยื่นคำร้องขออนุญาตคัดค้านต่อศาลในภายหลัง จำเลยที่ 2 เพียงแต่โต้แย้งคัดค้านไว้ในบันทึกถ้อยคำยืนยันข้อเท็จจริงและความเห็นของพยานจำเลยที่ 2 กับยื่นคำแถลงคัดค้านไว้ภายหลังการสืบพยานเอกสารดังกล่าวเสร็จสิ้นแล้วเท่านั้น จำเลยที่ 2 จึงต้องห้ามมิให้คัดค้านการมีอยู่และความแท้จริงของเอกสารหรือความถูกต้องแห่งสำเนาเอกสารนั้น ทั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางก็ได้วินิจฉัยรับฟังตามสำเนาเอกสารดังกล่าว ถือได้ว่าศาลอนุญาตให้นำสำเนาเอกสารมาสืบในกรณีไม่สามารถนำต้นฉบับเอกสารมาได้โดยประการอื่น ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 93 (2) แล้ว สำเนาเอกสารดังกล่าวจึงรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้
สินค้าที่ขนส่งเป็นเพียงพรม ซึ่งเป็นสิ่งของธรรมดาสามัญทั่ว ๆ ไป ถือไม่ได้ว่าเป็นของมีค่าอย่างอื่น ๆ นอกเหนือจากเงินทองตรา ธนบัตร ธนาคารบัตร ตั๋วเงิน พันธบัตร ใบหุ้น ใบหุ้นกู้ ประทวนสินค้า และอัญมณี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 620 วรรคหนึ่ง
เอกสารที่โจทก์อ้างแม้จะเป็นสำเนาเอกสาร แต่ก็เป็นเอกสารที่ผู้ส่งได้ส่งให้แก่โจทก์โดยวิธีโทรสารซึ่งเป็นที่รู้กันโดยทั่วไปว่า ตามปกติผู้ส่งจะนำต้นฉบับเอกสารไปลงในเครื่องโทรสารแล้วส่งโดยวิธีโทรสารไปยังเครื่องโทรสารของผู้รับ และผู้ส่งเป็นผู้เก็บต้นฉบับไว้ ทั้งเมื่อจำเลยที่ 2 ถูกโจทก์อ้างสำเนาเอกสารดังกล่าวมาเป็นพยานหลักฐานยันตนก็มิได้คัดค้านว่าไม่มีต้นฉบับหรือต้นฉบับปลอมทั้งฉบับหรือบางส่วน หรือสำเนานั้นไม่ถูกต้องกับต้นฉบับก่อนการสืบพยานเอกสารนั้นแล้วเสร็จ และไม่ได้ยื่นคำร้องขออนุญาตคัดค้านต่อศาลในภายหลัง จำเลยที่ 2 เพียงแต่โต้แย้งคัดค้านไว้ในบันทึกถ้อยคำยืนยันข้อเท็จจริงและความเห็นของพยานจำเลยที่ 2 กับยื่นคำแถลงคัดค้านไว้ภายหลังการสืบพยานเอกสารดังกล่าวเสร็จสิ้นแล้วเท่านั้น จำเลยที่ 2 จึงต้องห้ามมิให้คัดค้านการมีอยู่และความแท้จริงของเอกสารหรือความถูกต้องแห่งสำเนาเอกสารนั้น ทั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางก็ได้วินิจฉัยรับฟังตามสำเนาเอกสารดังกล่าว ถือได้ว่าศาลอนุญาตให้นำสำเนาเอกสารมาสืบในกรณีไม่สามารถนำต้นฉบับเอกสารมาได้โดยประการอื่น ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 93 (2) แล้ว สำเนาเอกสารดังกล่าวจึงรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้
สินค้าที่ขนส่งเป็นเพียงพรม ซึ่งเป็นสิ่งของธรรมดาสามัญทั่ว ๆ ไป ถือไม่ได้ว่าเป็นของมีค่าอย่างอื่น ๆ นอกเหนือจากเงินทองตรา ธนบัตร ธนาคารบัตร ตั๋วเงิน พันธบัตร ใบหุ้น ใบหุ้นกู้ ประทวนสินค้า และอัญมณี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 620 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4411/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบยานพาหนะที่ใช้ในการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด: การใช้รถจักรยานยนต์ขนส่งยาเสพติดเพื่อจำหน่าย
จำเลยใช้รถจักรยานยนต์เป็นยานพาหนะไปเอาเมทแอมเฟตามีนที่ซ่อนไว้ที่บ้านมารดาจำเลยมาจำหน่ายให้แก่สายลับผู้ล่อซื้อ ถือได้ว่าจำเลยใช้รถจักรยานยนต์เป็นยานพาหนะในการกระทำความผิดเกี่ยวกับการจำหน่ายยาเสพติดให้โทษโดยตรง รถจักรยานยนต์ของกลางจึงเป็นยานพาหนะที่พึงต้องริบตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 102
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4411/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบรถจักรยานยนต์ที่ใช้ในการขนส่งยาเสพติดเพื่อจำหน่าย
จำเลยนำเมทแอมเฟตามีนที่จำเลยมีไว้เพื่อจำหน่ายไปเก็บไว้ที่บ้านมารดา เมื่อสายลับประสงค์จะซื้อจำเลยก็ใช้รถจักรยานยนต์เป็นยานพาหนะไปเอาเมทแอมเฟตามีนที่บ้านมารดามาจำหน่ายให้แก่สายลับ ถือได้ว่าจำเลยใช้รถจักรยานยนต์เป็นยานพาหนะในการกระทำความผิดเกี่ยวกับการจำหน่ายยาเสพติดให้โทษโดยตรง รถจักรยานยนต์ของกลางจึงเป็นยานพาหนะที่พึงต้องริบตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษพ.ศ. 2522 มาตรา 102