พบผลลัพธ์ทั้งหมด 80 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3794/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานีขนส่งสินค้าได้รับการยกเว้นภาษีโรงเรือนและที่ดิน หากเกี่ยวข้องกับการขนส่งของรถไฟโดยตรง
การดำเนินกิจการสถานีบรรจุและแยกสินค้ากล่องเกี่ยวเนื่องกับระบบการขนส่งสินค้ากล่องเชื่อมโยงต่อกับท่าเรือพาณิชย์แหลมฉบัง เพื่อสนับสนุนกิจการนำเข้าและส่งออกของประเทศและการเติบโตของท่าเรือแหลมฉบัง โดยผู้ดำเนินการที่สถานีนี้จะทำหน้าที่ขนถ่ายและแยกสินค้าที่บรรจุมาในตู้สินค้าที่บรรทุกมาจากต่างประเทศโดยทางเรือมาที่ท่าเรือพาณิชย์แหลมฉบัง แล้วขนขึ้นรถไฟมาที่สถานีดังกล่าวเพื่อนำส่งให้แก่ผู้นำเข้าหรือนำสินค้าที่จะต้องส่งไปต่างประเทศโดยทางเรือมาบรรจุในตู้สินค้าเพื่อขนขึ้นรถไฟไปที่ท่าเรือพาณิชย์แหลมฉบัง โดยคิดค่าบริการจากผู้ที่ใช้บริการ เป็นการดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับการขนส่งของรถไฟคือการรับขนส่งสินค้าตามมาตรา 6 (2) และ มาตรา 9 (7) แห่ง พ.ร.บ.การรถไฟแห่งประเทศไทยฯ สถานีบรรจุและแยกสินค้ากล่องตามฟ้องจึงเป็นทรัพย์สินของการรถไฟแห่งประเทศไทยที่ใช้ในกิจการรถไฟโดยตรง ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินตามมาตรา 9 (2) แห่ง พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรฯ มาตรา 29 ประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) และ มาตรา 225 วรรคสอง
โจทก์เป็นผู้รับเหมาสัมปทานเข้าดำเนินกิจการสถานีบรรจุและแยกสินค้ากล่องได้ชำระค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินตามคำชี้ขาดให้แก่จำเลยที่ 1 แทนการรถไฟแห่งประเทศไทยตามสัญญาสัมปทาน โดยเข้าใจว่าการรถไฟแห่งประเทศไทยมีหน้าที่ต้องชำระตามกฎหมาย เมื่อสถานีดังกล่าวได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินตามกฎหมาย จำเลยที่ 1 จึงไม่มีสิทธิยึดเงินค่าภาษีจำนวนดังกล่าวไว้ โจทก์ย่อมมีสิทธิได้รับคืนเงินดังกล่าวจากจำเลยที่ 1 และมีอำนาจฟ้องศาลบังคับให้จำเลยที่ 1 คืนเงินค่าภาษีที่ได้รับไปให้แก่โจทก์ได้ ส่วนจำเลยที่ 2 นั้นมิได้เป็นผู้รับเงินค่าภาษีจากโจทก์ ทั้งการแจ้งประเมินและการแจ้งคำชี้ขาดดังกล่าวเป็นการปฏิบัติราชการตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ในการคืนเงินดังกล่าวให้แก่โจทก์
โจทก์เป็นผู้รับเหมาสัมปทานเข้าดำเนินกิจการสถานีบรรจุและแยกสินค้ากล่องได้ชำระค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินตามคำชี้ขาดให้แก่จำเลยที่ 1 แทนการรถไฟแห่งประเทศไทยตามสัญญาสัมปทาน โดยเข้าใจว่าการรถไฟแห่งประเทศไทยมีหน้าที่ต้องชำระตามกฎหมาย เมื่อสถานีดังกล่าวได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินตามกฎหมาย จำเลยที่ 1 จึงไม่มีสิทธิยึดเงินค่าภาษีจำนวนดังกล่าวไว้ โจทก์ย่อมมีสิทธิได้รับคืนเงินดังกล่าวจากจำเลยที่ 1 และมีอำนาจฟ้องศาลบังคับให้จำเลยที่ 1 คืนเงินค่าภาษีที่ได้รับไปให้แก่โจทก์ได้ ส่วนจำเลยที่ 2 นั้นมิได้เป็นผู้รับเงินค่าภาษีจากโจทก์ ทั้งการแจ้งประเมินและการแจ้งคำชี้ขาดดังกล่าวเป็นการปฏิบัติราชการตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ในการคืนเงินดังกล่าวให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 827/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ขนส่งสินค้าทางทะเล กรณีสินค้าเสียหายจากการบรรจุและขนส่ง
ผู้ซื้อและผู้ขายตามสัญญาซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศตกลงซื้อขายกันตามเงื่อนไข INCOTERMS แบบ EX WORKS ผู้ขายจึงมีหน้าที่ต้องส่งมอบสินค้าที่หน้าโรงงานของผู้ขาย ส่วนผู้ซื้อมีหน้าที่ว่าจ้างผู้ขนส่งไปรับสินค้าจากที่หน้าโรงงานของผู้ขาย
เมื่อการซื้อขายครั้งนี้ผู้ซื้อและผู้ขายตกลงกันให้ผู้ขายมีหน้าที่เพียงส่งมอบสินค้าที่หน้าโรงงานของผู้ขาย และโจทก์มีพนักงานของบริษัทผู้ซื้อซึ่งเป็นผู้ส่งมาเบิกความยืนยันว่าได้มีการตกลงกันตามสัญญารับขนให้จำเลยที่ 1 ผู้ขนส่งมีหน้าที่ต้องควบคุมดูแลการบรรจุสินค้าเข้าตู้คอนเทนเนอร์ จึงเชื่อได้ว่าหน้าที่ความรับผิดชอบในการบรรจุสินค้าเข้าตู้คอนเทนเนอร์ตามสัญญารับขนซึ่งเป็นสัญญาที่เป็นมูลฟ้องร้องคดีนี้นั้นเป็นของผู้ขนส่ง ดังนั้น ไม่ว่าการบรรจุสินค้าเข้าตู้ที่แท้จริงผู้ส่งจะช่วยบรรจุด้วยหรือไม่ก็ตาม ก็ถือไม่ได้ว่าความเสียหายของสินค้าเกิดจากความผิดของผู้ส่งในการบรรจุสินค้าเข้าตู้คอนเทนเนอร์
จำเลยที่ 1 ผู้ขนส่ง และจำเลยที่ 2 ผู้ขนส่งอื่นซึ่งตกลงรับผิดชอบดูแลสินค้าตลอดช่วงการขนส่งจากเมืองท่าลา สเปเซียถึงกรุงเทพมหานคร ต้องรับผิดชอบต่อความเสียหายของสินค้า ไม่ว่าความเสียหายจะเกิดขึ้นในระหว่างช่วงการรับขนของช่วงใดก็ตาม ส่วนจำเลยที่ 3 ผู้ขนส่งอื่นซึ่งตกลงรับผิดชอบดูแลสินค้าในช่วงการขนส่งจากประเทศสิงคโปร์มายังกรุงเทพมหานคร แม้ต้องรับผิดเฉพาะในช่วงการรับขนของตน แต่เมื่อคดีนี้ไม่ปรากฏว่าความเสียหายของสินค้าเกิดขึ้นนอกช่วงการขนส่งดังกล่าว จำเลยที่ 3 จึงต้องร่วมรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นด้วย
เมื่อไม่ปรากฏข้อเท็จจริงซึ่งเป็นเหตุตัดสิทธิของผู้ขนส่งตามมาตรา 60 แห่ง พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 จำเลยทั้งสามจึงได้รับประโยชน์จากข้อจำกัดความรับผิดคือต้องรับผิดเพียงไม่เกิน 30 บาท ต่อหนึ่งกิโลกรัม ตามมาตรา 58
เมื่อการซื้อขายครั้งนี้ผู้ซื้อและผู้ขายตกลงกันให้ผู้ขายมีหน้าที่เพียงส่งมอบสินค้าที่หน้าโรงงานของผู้ขาย และโจทก์มีพนักงานของบริษัทผู้ซื้อซึ่งเป็นผู้ส่งมาเบิกความยืนยันว่าได้มีการตกลงกันตามสัญญารับขนให้จำเลยที่ 1 ผู้ขนส่งมีหน้าที่ต้องควบคุมดูแลการบรรจุสินค้าเข้าตู้คอนเทนเนอร์ จึงเชื่อได้ว่าหน้าที่ความรับผิดชอบในการบรรจุสินค้าเข้าตู้คอนเทนเนอร์ตามสัญญารับขนซึ่งเป็นสัญญาที่เป็นมูลฟ้องร้องคดีนี้นั้นเป็นของผู้ขนส่ง ดังนั้น ไม่ว่าการบรรจุสินค้าเข้าตู้ที่แท้จริงผู้ส่งจะช่วยบรรจุด้วยหรือไม่ก็ตาม ก็ถือไม่ได้ว่าความเสียหายของสินค้าเกิดจากความผิดของผู้ส่งในการบรรจุสินค้าเข้าตู้คอนเทนเนอร์
จำเลยที่ 1 ผู้ขนส่ง และจำเลยที่ 2 ผู้ขนส่งอื่นซึ่งตกลงรับผิดชอบดูแลสินค้าตลอดช่วงการขนส่งจากเมืองท่าลา สเปเซียถึงกรุงเทพมหานคร ต้องรับผิดชอบต่อความเสียหายของสินค้า ไม่ว่าความเสียหายจะเกิดขึ้นในระหว่างช่วงการรับขนของช่วงใดก็ตาม ส่วนจำเลยที่ 3 ผู้ขนส่งอื่นซึ่งตกลงรับผิดชอบดูแลสินค้าในช่วงการขนส่งจากประเทศสิงคโปร์มายังกรุงเทพมหานคร แม้ต้องรับผิดเฉพาะในช่วงการรับขนของตน แต่เมื่อคดีนี้ไม่ปรากฏว่าความเสียหายของสินค้าเกิดขึ้นนอกช่วงการขนส่งดังกล่าว จำเลยที่ 3 จึงต้องร่วมรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นด้วย
เมื่อไม่ปรากฏข้อเท็จจริงซึ่งเป็นเหตุตัดสิทธิของผู้ขนส่งตามมาตรา 60 แห่ง พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 จำเลยทั้งสามจึงได้รับประโยชน์จากข้อจำกัดความรับผิดคือต้องรับผิดเพียงไม่เกิน 30 บาท ต่อหนึ่งกิโลกรัม ตามมาตรา 58
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5970/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดชดใช้ค่าเสียหายจากการขนส่งสินค้าอันตราย: ประมาทเลินเล่อของผู้ขนส่งและผู้รับขนส่ง
ขณะจำเลยนำสินค้าถ่านไม้ซึ่งบรรจุอยู่ในกล่องกระดาษขนาดใหญ่มาส่งมอบให้แก่ตัวแทนของโจทก์ที่ท่าเรือกรุงเทพ จำเลยผู้ส่งของมิได้ทำเครื่องหมายหรือปิดป้ายอันแสดงว่าเป็นสินค้าอันตรายที่ข้างกล่องกระดาษดังกล่าว ทั้งมิได้แจ้งให้โจทก์ผู้ขนส่งสินค้าได้ทราบถึงสภาพอันตรายของถ่านไม้นั้น อันเป็นการไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเลฯ มาตรา 33 ที่บัญญัติให้เป็นหน้าที่ของผู้ส่งสินค้าอันตรายจะต้องปฏิบัติ และมาตรา 34 ได้บัญญัติถึงความรับผิดของผู้ส่งของไว้โดยเฉพาะในกรณีละเว้นไม่ปฏิบัติตามมาตรา 33 ดังนั้นผู้ส่งของจะต้องรับผิดในความเสียหายต่อผู้ขนส่งตามมาตรา 34(2) ประกอบด้วยมาตรา 33
แม้จำเลยไม่ติดป้ายแสดงสินค้าอันตราย แต่เมื่อโจทก์ผู้ขนส่งทราบถึงสภาพอันตรายแห่งสินค้าแล้ว ความเสียหายจึงมิได้เกิดจากการที่โจทก์ไม่ทราบถึงสภาพอันตรายแห่งสินค้าอันเนื่องมาจากการที่จำเลยไม่ทำเครื่องหมายหรือปิดป้ายตามสมควรหรือไม่แจ้งให้โจทก์ทราบถึงสภาพอันตรายแห่งสินค้านั้น โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยรับผิดในความเสียหายตามมาตรา 34(2) แห่งพระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเลฯ ได้
การที่ผู้ขนส่งไม่บอกกล่าวเป็นหนังสือแจ้งแก่จำเลยหรือตัวแทนว่าได้เกิดความเสียหายพร้อมแจ้งถึงสภาพโดยทั่วไปของความเสียหายดังกล่าวภายใน 90 วันนับแต่วันที่เกิดความเสียหายแก่ผู้ส่งของเป็นเพียงเหตุให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ขนส่งไม่ได้รับความเสียหายตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเลฯ มาตรา 37ไม่ใช่ข้อสันนิษฐานเด็ดขาด โจทก์ย่อมมีสิทธินำสืบพยานหลักฐานเพื่อหักล้างข้อสันนิษฐานนี้ได้
สาเหตุที่ทำให้ถ่านไม้เกิดลุกไหม้จนเกิดความเสียหายขึ้นนั้น นอกจากจะเกิดจากการกระทำโดยประมาทเลินเล่อของจำเลยในการบรรจุสินค้าดังกล่าวแล้วยังมีสาเหตุที่สำคัญมาจากการจัดวางตู้สินค้าที่บรรจุถ่านไม้ที่ไม่เหมาะสม โดยวางปะปนกับตู้สินค้าอื่นและอากาศถ่ายเทไม่สะดวก ทำให้ถ่านไม้เกิดความร้อนสะสมขึ้นอย่างช้า ๆ และลุกไหม้ขึ้น อันเป็นการปฏิบัติหน้าที่บกพร่องและด้วยความประมาทเลินเล่อของโจทก์ผู้ขนส่งด้วย ดังนั้น ในการที่จะให้จำเลยต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์มากน้อยเพียงใดนั้น ย่อมต้องอาศัยพฤติการณ์เป็นประมาณโดยคำนึงถึงข้อสำคัญว่าความเสียหายนั้นเกิดขึ้นเพราะฝ่ายไหนเป็นผู้ก่อยิ่งหย่อนกว่ากันเพียงไรตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 223
แม้จำเลยไม่ติดป้ายแสดงสินค้าอันตราย แต่เมื่อโจทก์ผู้ขนส่งทราบถึงสภาพอันตรายแห่งสินค้าแล้ว ความเสียหายจึงมิได้เกิดจากการที่โจทก์ไม่ทราบถึงสภาพอันตรายแห่งสินค้าอันเนื่องมาจากการที่จำเลยไม่ทำเครื่องหมายหรือปิดป้ายตามสมควรหรือไม่แจ้งให้โจทก์ทราบถึงสภาพอันตรายแห่งสินค้านั้น โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยรับผิดในความเสียหายตามมาตรา 34(2) แห่งพระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเลฯ ได้
การที่ผู้ขนส่งไม่บอกกล่าวเป็นหนังสือแจ้งแก่จำเลยหรือตัวแทนว่าได้เกิดความเสียหายพร้อมแจ้งถึงสภาพโดยทั่วไปของความเสียหายดังกล่าวภายใน 90 วันนับแต่วันที่เกิดความเสียหายแก่ผู้ส่งของเป็นเพียงเหตุให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ขนส่งไม่ได้รับความเสียหายตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเลฯ มาตรา 37ไม่ใช่ข้อสันนิษฐานเด็ดขาด โจทก์ย่อมมีสิทธินำสืบพยานหลักฐานเพื่อหักล้างข้อสันนิษฐานนี้ได้
สาเหตุที่ทำให้ถ่านไม้เกิดลุกไหม้จนเกิดความเสียหายขึ้นนั้น นอกจากจะเกิดจากการกระทำโดยประมาทเลินเล่อของจำเลยในการบรรจุสินค้าดังกล่าวแล้วยังมีสาเหตุที่สำคัญมาจากการจัดวางตู้สินค้าที่บรรจุถ่านไม้ที่ไม่เหมาะสม โดยวางปะปนกับตู้สินค้าอื่นและอากาศถ่ายเทไม่สะดวก ทำให้ถ่านไม้เกิดความร้อนสะสมขึ้นอย่างช้า ๆ และลุกไหม้ขึ้น อันเป็นการปฏิบัติหน้าที่บกพร่องและด้วยความประมาทเลินเล่อของโจทก์ผู้ขนส่งด้วย ดังนั้น ในการที่จะให้จำเลยต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์มากน้อยเพียงใดนั้น ย่อมต้องอาศัยพฤติการณ์เป็นประมาณโดยคำนึงถึงข้อสำคัญว่าความเสียหายนั้นเกิดขึ้นเพราะฝ่ายไหนเป็นผู้ก่อยิ่งหย่อนกว่ากันเพียงไรตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 223
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1094/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ขนส่งร่วม กรณีใช้ใบตราส่งของเจ้าของเรือ แต่ร่วมกันขนส่งสินค้า ผู้เช่าเรือมีส่วนรับผิดด้วย
จำเลยที่ 2 เป็นผู้ขนส่งสินค้าพิพาท ใบตราส่งตามที่จำเลยที่ 2 เป็นผู้ออกให้แก่ผู้ส่ง เป็นแบบพิมพ์ใบตราส่งที่มีไว้ใช้ในการรับขนส่งของจำเลยที่ 1 วัตถุประสงค์ของจำเลยที่ 1 ที่ได้จดทะเบียนไว้ได้ระบุถึงวัตถุประสงค์ข้อหนึ่งว่าประกอบกิจการขนส่งและขนถ่ายสินค้าและคนโดยสารทั้งทางบก ทางน้ำ ทางอากาศ ทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศ รวมทั้งรับบริการนำของออกจากท่าเรือตามพิธีศุลกากร และการจัดระวางการขนส่งทุกชนิด เหมือนกับจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 เคยประกอบกิจการรับขนของร่วมกัน ทั้งไม่ปรากฏพฤติการณ์ว่าจำเลยที่ 1 เลิกประกอบกิจการรับขนของหรือจดทะเบียนเลิกบริษัทแล้ว พฤติการณ์ของจำเลยทั้งสองจึงฟังได้ว่า จำเลยทั้งสองได้ร่วมกันขนส่งสินค้าพิพาท
จำเลยที่ 1 เป็นผู้ขนส่งร่วมกับจำเลยที่ 2 จำเลยทั้งสองจึงต้องร่วมกันรับผิดชดใช้ค่าเสียหายของสินค้าพิพาทให้แก่โจทก์ในฐานะผู้รับช่วงสิทธิจากผู้รับตราส่ง
จำเลยที่ 1 เป็นผู้ขนส่งร่วมกับจำเลยที่ 2 จำเลยทั้งสองจึงต้องร่วมกันรับผิดชดใช้ค่าเสียหายของสินค้าพิพาทให้แก่โจทก์ในฐานะผู้รับช่วงสิทธิจากผู้รับตราส่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9836/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีขนส่งสินค้า: กรณีทุจริตของผู้ขนส่ง
จำเลยที่ 1 และที่ 3 ร่วมกันประกอบกิจการขนส่งและรับส่งสินค้าเม็ดกาแฟดิบของโจทก์ เมื่อสินค้าที่รับขนส่งถูกลูกจ้างของจำเลยที่ 3 ซึ่งมีหน้าที่ควบคุมการขนส่งลักไปในระหว่างการขนส่ง ถือได้ว่าการขนส่งดังกล่าวมีการทุจริตของ ผู้ขนส่งแม้โจทก์จะฟ้องคดีเกินหนึ่งปีนับแต่วันที่ควรจะส่งมอบ คดีของโจทก์ก็ไม่ขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 624
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9578/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดค่าเสียหายขนส่งสินค้าและความถูกต้องของการกำหนดค่าทนายความ
จำเลยว่าจ้างโจทก์ให้ขนส่งสินค้าประเภทน้ำยางดิบจำนวน4 ตู้คอนเทนเนอร์ จากท่าเรือแหลมฉบัง ประเทศไทย ไปส่งให้แก่ผู้ซื้อที่เมืองเซนต์ ชองประเทศแคนาดา โดยโจทก์รับทำการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ ส่วนจำเลยผู้ส่งมีหน้าที่รับตู้คอนเทนเนอร์ไปบรรจุสินค้าน้ำยางดิบเข้าตู้เอง ขณะจำเลยส่งมอบตู้คอนเทนเนอร์ให้แก่โจทก์ ตู้อยู่ในสภาพเรียบร้อยดี โจทก์จึงได้ออกใบตราส่งแบบปราศจากข้อสงวนให้แก่จำเลย เมื่อสินค้าไปถึงประเทศแคนาดา ระหว่างที่นำสินค้าทั้ง 4 ตู้คอนเทนเนอร์ขึ้นบรรทุกบนโครงรถไฟเพื่อนำไปส่งให้แก่ผู้ซื้อ ปรากฏว่ามีน้ำยางดิบไหลหยดออกมาจากใต้ตู้ เมื่อเปิดตู้ตรวจดูแล้วพบว่าถุงที่บรรจุน้ำยางฉีกขาดบริเวณปากถุง แต่ความเสียหายมิได้เกิดขึ้นเนื่องจากความผิดของจำเลยผู้ส่งในการบรรจุน้ำยางดิบเข้าถุงและบรรจุถุงเข้าตู้คอนเทนเนอร์ จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์
ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกำหนดให้โจทก์ใช้ค่าทนายความแทนจำเลยเป็นเงินเกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนด แม้โจทก์จะมิได้อุทธรณ์ในปัญหานี้ แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศเห็นสมควรกำหนดใหม่ให้ถูกต้องได้ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 45ประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 246 และ 142(5)
ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกำหนดให้โจทก์ใช้ค่าทนายความแทนจำเลยเป็นเงินเกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนด แม้โจทก์จะมิได้อุทธรณ์ในปัญหานี้ แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศเห็นสมควรกำหนดใหม่ให้ถูกต้องได้ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 45ประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 246 และ 142(5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2114/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องค่าเสียหายจากการขนส่งสินค้า เริ่มนับจากวันรับมอบสินค้าที่ตรวจสอบความเรียบร้อยแล้ว
อายุความฟ้องร้องเรียกค่าสินไหมทดแทนเพื่อความสูญหายหรือบุบสลายของสินค้าหรือสิ่งของที่ขนส่ง ตาม ป.พ.พ. มาตรา 624 ที่บัญญัติว่า "ในข้อความรับผิดของผู้ขนส่งในการที่ของสูญหายหรือบุบสลายหรือส่งชักช้านั้น ท่านห้ามมิให้ฟ้องเมื่อพ้นกำหนดปีหนึ่งนับแต่ส่งมอบหรือปีหนึ่งนับแต่วันที่ควรจะได้ส่งมอบ เว้นแต่ในกรณีที่มีการทุจริต" เมื่อเรือเดินทะเลชื่อโพเรอขนส่งแผ่นเหล็กม้วนจำนวน 150 ม้วน ซึ่งเป็นของที่บริษัท อ. เอาประกันภัยไว้กับโจทก์มาถึงประเทศไทยมีการขนถ่ายสินค้าดังกล่าวจากเรือเดินทะเลชื่อโพเรอไปส่งยังโกดังของบริษัท อ. เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2539 ในวันรุ่งขึ้นวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2538 บริษัท ย. ทำการสำรวจแผ่นเหล็กม้วนดังกล่าวพบว่าม้วนเหล็กบุบยุบจำนวน 12 ม้วน จึงแจ้งความเสียหายให้โจทก์ทราบในวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2538 นั้นเอง แม้การขนส่งสินค้ารายพิพาทจะมาถึงยังโกดังของบริษัท อ. ผู้เอาประกันภัยไว้กับโจทก์ในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2538 ก็ตาม แต่ก็ยังมีขั้นตอนที่ต้องปฏิบัติต่อไปคือการตรวจสอบสินค้าว่าครบจำนวนตลอดจนความเรียบร้อยของสินค้าว่ามีความสูญหายหรือบุบสลายอย่างใดหรือไม่อีกด้วย อันถือว่าเป็นการกระทำปกติทางการค้าในการรับมอบสินค้าที่มีการว่าจ้างให้ขนส่งมา ตราบใดที่ผู้รับสินค้ายังตรวจสอบสินค้าเพื่อรับมอบสินค้าไม่เสร็จสิ้น จะถือว่าได้มีการส่งมอบหรือควรจะได้ส่งมอบสินค้าแล้วหาได้ไม่ เมื่อบริษัท อ. ผู้เอาประกันภัยตรวจสอบและรับมอบสินค้าเสร็จสิ้นเมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2538 อายุความฟ้องร้องผู้ขนส่งให้รับผิดในกรณีที่ของสูญหายหรือบุบสลาย จึงต้องเริ่มนับแต่วันตรวจสอบและรับมอบสินค้าเสร็จสิ้นดังกล่าวเป็นต้นไป โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2539 ยังไม่พ้นกำหนด 1 ปี คดีของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความตาม ป.พ.พ.มาตรา 624
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2114/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องร้องค่าเสียหายจากการขนส่งสินค้าทางทะเล เริ่มนับแต่วันรับมอบสินค้าที่ตรวจสอบเสร็จสิ้น
สินค้าที่ขนส่งโดยเรือเดินทะเลมาถึงโกดังของบริษัท อ. ผู้เอาประกันภัยไว้กับโจทก์ในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2538 แต่ยังต้องตรวจสอบสินค้าครบจำนวน และความเรียบร้อยว่ามีความสูญหายหรือบุบสลายหรือไม่ที่จะต้องปฏิบัติเป็นขั้นตอนต่อไปอีกด้วยอันเป็นปกติทางการค้าในการรับมอบสินค้า ดังนี้ ตราบใดที่ผู้รับสินค้ายังตรวจสอบสินค้าไม่เสร็จสิ้น จะถือว่าได้มีการส่งมอบหรือควรจะได้ส่งมอบสินค้าแล้วหาได้ไม่ เมื่อบริษัท อ. ตรวจสอบและรับมอบสินค้าเสร็จสิ้นเมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2538 อายุความฟ้องร้องผู้ขนส่งให้รับผิดในกรณีที่สินค้าสูญหายหรือบุบสลายจึงต้องเริ่มนับแต่วันดังกล่าวเป็นต้นไป โจทก์ซึ่งรับช่วงสิทธิจากบริษัท อ. ยื่นฟ้องเมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2539 ยังไม่พ้น 1 ปีจึงไม่ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 624
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5203/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ขนส่งสินค้ากรณีสินค้าเสียหาย ผู้รับของไม่ปฏิเสธการรับ
ตามรายงานการตรวจสอบสินค้าซึ่งจำเลยทำการขนส่งให้กับบริษัท ท. ได้ระบุไว้ว่า เมื่อสินค้ามาถึงและ ก่อนนำเข้าคลังสินค้า กล่องบรรจุสินค้า 1 หีบห่อจากทั้งหมด 5 หีบห่ออยู่ในสภาพเปียกชื้น ส่วนสภาพความเสียหายของสินค้าไม่อาจมองเห็นได้และไม่สามารถวิเคราะห์สภาพของเครื่องจักรที่อยู่ภายในเนื่องจากสินค้าดังกล่าวประกอบด้วยอุปกรณ์ทางไฟฟ้าที่สลับซับซ้อน ดังนั้น การที่บริษัท ท. ได้รับสินค้าไว้โดยมีรายงานความเสียหายของสินค้ามาพร้อมด้วยนั้น จะถือว่าบริษัท ท. รับเอาสินค้าหรือของไว้โดยไม่อิดเอื้อนไม่ได้ จำเลยจึงยังไม่หลุดพ้นความรับผิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 623 วรรคแรก ส่วนการอ้างประโยชน์ตามมาตรา 623 วรรคสอง ในกรณีความชำรุดบกพร่องมิได้ปรากฏแต่สภาพภายนอกซึ่งเจ้าของสินค้าต้องบอกกล่าวแก่ผู้ขนส่งภายใน 8 วัน นับแต่วันรับมอบนั้น ต้องปรากฏว่ามีการรับของโดยมิได้อิดเอื้อนและมีการจ่ายค่าระวางแล้ว ตามมาตรา 623 วรรคแรกด้วย ความรับผิดของจำเลยจึงจะสิ้นสุดลง เมื่อข้อเท็จจริงถือไม่ได้ว่า บริษัท ท. ผู้รับตราส่งได้รับของไว้โดยไม่อิดเอื้อน แม้ว่าผู้รับตราส่งจะมิได้แจ้งเกี่ยวกับ ความเสียหายให้จำเลยทราบภายใน 8 วัน ก็ตาม ความรับผิดของจำเลยก็ยังไม่สิ้นสุดลง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4005/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ขนส่งสินค้าทางทะเลเมื่อสินค้าเสียหายระหว่างการขนส่ง
จำเลยที่ 1 ผู้ขนส่งได้รับสินค้าพิพาทจากผู้ส่งในสภาพเรียบร้อยแต่เมื่อส่งมอบให้แก่ผู้รับตราส่ง สินค้าพิพาทมีสภาพเสียหายโดยขาดจำนวนและปนเปื้อนในระหว่างอยู่ในความดูแลของตน จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดเพื่อความสูญหายและเสียหายของสินค้าพิพาท จะอ้างว่าในการบรรทุกสินค้าลงเรือ ผู้ส่งไม่ได้จัดหาวัสดุป้องกันการปนเปื้อนไว้ ตนจึงไม่ต้องรับผิดหาได้ไม่