พบผลลัพธ์ทั้งหมด 12 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5527/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้ร่วมขนส่งหลายทอด: ตัวแทนเรือไม่ใช่ผู้ขนส่งโดยตรง หากไม่ได้มีส่วนร่วมในการขนถ่ายสินค้าจริง
ความหมายของข้อความว่า "ได้ส่งไปโดยมีผู้ขนส่งหลายคนหลายทอด"ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 618 ต้องปรากฏว่าแต่ละคนที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับของหรือสินค้าที่ถูกขนส่งเป็นผู้มีหน้าที่โดยตรงในการนำสินค้าจากที่แห่งหนึ่งไปยังอีกแห่งหนึ่งด้วยการรับขนส่งกันเป็นช่วง ๆ ตั้งแต่ต้นทางถึงปลายทาง ลำพังแต่การเป็นเพียงตัวแทนของผู้ขนส่งทอดใดทอดหนึ่งเพื่อทำธุรกรรมทางด้านเอกสารเกี่ยวกับสินค้า หรือปฏิบัติพิธีการทางศุลกากรในการนำเรือเข้าเทียบท่า แจ้งกำหนดเรือบรรทุกสินค้าเข้าให้เจ้าของสินค้าทราบเพื่อจะได้มารับสินค้าเท่านั้นโดยไม่ปรากฏว่าได้เข้าไปเกี่ยวข้องขนส่งสินค้าด้วยแล้ว ก็ไม่อาจถือว่าตัวแทนเรือดังกล่าวเป็นผู้ร่วมขนส่งหลายคนหลายทอดได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5828/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ขนส่งทางทะเล, การขนส่งหลายทอด, เหตุสุดวิสัย และขอบเขตการนำกฎหมายมาใช้
ขณะที่บริษัท ค. ได้ว่าจ้างจำเลยที่ 1 ให้เป็นผู้รับขนส่งสินค้าพิพาททางทะเล พระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 ยังไม่มีผลใช้บังคับและไม่มีบทบัญญัติให้มีผลย้อนหลังนำไปปรับใช้กับสัญญารับขนของทางทะเลที่ทำกันขึ้นก่อนที่พระราชบัญญัติฉบับดังกล่าวใช้บังคับ ประกอบกับสัญญารับขนของทางทะเลซึ่งทำกันขึ้นนั้นคู่สัญญามีเจตนาให้ผูกพันกันตามสิทธิและหน้าที่ความรับผิดชอบตามบทกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะทำสัญญากัน ดังนั้น ที่ศาลอุทธรณ์นำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ลักษณะรับขนในหมวดรับขนของอันเป็นกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งมาปรับใช้นั้น จึงชอบแล้ว จำเลยที่ 2 มีวัตถุประสงค์ในการประกอบธุรกิจรับขนส่งทางทะเล และเป็นบริษัทสาขาหรือเครือเดียวกันกับจำเลยที่ 1และจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นตัวแทนของผู้รับขนสินค้าพิพาทที่มีภูมิลำเนาอยู่ต่างประเทศ ได้ดำเนินการนำเรือ ป.เข้าเทียบท่าเรือกรุงเทพโดยได้รับบำเหน็จค่าจ้าง ทั้งยังเป็นผู้ดำเนินการติดต่อทำพิธีการต่าง ๆ กับเจ้าหน้าที่ที่ เกี่ยวข้องเช่น กรมเจ้าท่า กรมศุลกากร กองตรวจคนเข้าเมืองการท่าเรือแห่งประเทศไทย เพื่อนำเรือดังกล่าวเข้าเทียบท่าเรือเมื่อเรือดังกล่าวเดินทางมาถึงท่าเรือกรุงเทพจำเลยที่ 2ก็เป็นผู้แจ้งการมาถึงของเรือดังกล่าวให้ผู้ซื้อสินค้าทราบทั้งยังเป็นผู้ออกใบปล่อยสินค้าเพื่อให้ผู้ซื้อสินค้าพิพาทนำไปรับสินค้าจากเรือขนส่ง นอกจากนี้จำเลยที่ 2 ยังเป็นผู้ดำเนินการขนถ่ายสินค้าพิพาทจากเรือ ป. ลงเรือลำเลียงหรือเรือฉลอม และจำเลยที่ 2 ต้องรับผิดในความเสียหายอันเกิดจากการนำเรือขนถ่ายสินค้าด้วย การดำเนินการต่าง ๆของจำเลยที่ 2 จึงเป็นการดำเนินการขนส่งเพื่อให้สินค้าถึงมือผู้ซื้อ ย่อมถือได้ว่าเป็นการขนส่งหลายทอดตามวิธีการขนส่งทางทะเล โดยจำเลยที่ 2 เป็นผู้ขนส่งทอดสุดท้ายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 608 และ 618 โดยจำเลยที่ 2 หาจำต้องเป็นผู้ออกใบตราส่งหรือเป็นเจ้าของเรือ ป.ไม่ ขณะเรือ ป. เดินทางอยู่ในทะเลได้เผชิญกับพายุอย่างรุนแรงเรือโยกคลอน น้ำซัดเข้าเรือเป็นเหตุให้สินค้าพิพาทได้รับความเสียหาย โดยไม่ได้ความว่าพายุรุนแรงขนาดไหน ความเสียหายดังกล่าวเป็นเหตุที่ไม่อาจป้องกันได้เพราะ เหตุใด และผู้ควบคุมเรือซึ่งต้องประสบเหตุเช่นนั้นได้จัดการ ระมัดระวังตามสมควรอันพึงคาดหมายได้จากบุคคลในฐานะ และภาวะเช่นนั้นหรือไม่อย่างไร จึงรับฟังไม่ได้ว่าความเสียหาย ของสินค้าพิพาทเกิดจากเหตุสุดวิสัยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 8
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6163/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้ขนส่งหลายทอดรับผิดร่วมกันต่อความเสียหายของสินค้า แม้ความเสียหายเกิดบนเรือเดินทะเล ฟ้องไม่ขาดอายุความ
จำเลยที่ 2 เป็นผู้จัดการนำเรือฉลอมไปขนถ่ายสินค้าช่วงจากเกาะสีชังไปยังท่าเรือกรุงเทพ เพื่อนำสินค้ามอบให้แก่ผู้รับตราส่งที่ปลายทาง เมื่อจำเลยที่ 2 จดทะเบียนก่อตั้งบริษัทมีวัตถุประสงค์ทางการค้าเกี่ยวกับกิจการขนส่งลำเลียงหรือขนถ่ายสินค้า และหากเรือเดินทะเลที่ขนส่งสินค้ามาจากต่างประเทศมีระวางว่าง จำเลยที่ 2 สามารถรับจองระวางและเรียกเก็บค่าระวางได้ทันทีจำเลยที่ 2 จึงเป็นบุคคลรับขนส่งของเพื่อบำเหน็จเป็นทางค้าปกติ การที่จำเลยที่ 2ขนถ่ายสินค้าจากเรือเดินทะเลที่เกาะสีชังไปยังจุดหมายปลายทางที่กรุงเทพมหานครเป็นการทำหน้าที่ขนส่งทอดหนึ่งในเส้นทางขนส่งทั้งหมด จำเลยที่ 2 จึงเป็นผู้ขนส่งหลายทอดตามวิธีการขนส่งทางทะเล แม้สินค้านั้นจะสูญหายและบุบสลายในเรือเดินทะเล ผู้ขนส่งหลายทอดทุกคนจะต้องรับผิดร่วมกันจำเลยที่ 2 ต้องชดใช้ค่าสินไหม-ทดแทนให้แก่โจทก์
เรือเดินทะเลเข้าเทียบที่เกาะสีชังเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน2534 หลังจากตรวจสอบสินค้าแล้วต้องลำเลียงไปที่กรุงเทพมหานคร ทำพิธีการศุลกากรและท่าเรือ ต้องได้รับอนุญาตปล่อยสินค้าจึงจะรับได้ โดยได้สั่งปล่อยสินค้าเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2534 ถือว่าวันสั่งปล่อยสินค้าเป็นวันส่งมอบ โจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2535 ยังไม่พ้นกำหนด 1 ปีนับแต่ส่งมอบ ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
เรือเดินทะเลเข้าเทียบที่เกาะสีชังเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน2534 หลังจากตรวจสอบสินค้าแล้วต้องลำเลียงไปที่กรุงเทพมหานคร ทำพิธีการศุลกากรและท่าเรือ ต้องได้รับอนุญาตปล่อยสินค้าจึงจะรับได้ โดยได้สั่งปล่อยสินค้าเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2534 ถือว่าวันสั่งปล่อยสินค้าเป็นวันส่งมอบ โจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2535 ยังไม่พ้นกำหนด 1 ปีนับแต่ส่งมอบ ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4805/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ขนส่งทอดสุดท้ายในกรณีสินค้าเสียหายจากการขนส่งหลายทอดทางทะเล
จำเลยที่ 1 เป็นผู้แจ้งการนำเรือเข้าต่อกรมศุลกากรและหน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง และจ้างเรือฉลอมไปขนถ่ายสินค้าจากเรือใหญ่มาส่งที่โกดังของบริษัทผู้ซื้อสินค้าที่กรุงเทพมหานคร โดยจำเลยที่ 1 ได้รับบำเหน็จจากการดำเนินการดังกล่าว พฤติการณ์ของจำเลยที่ 1 เห็นได้ว่า จำเลยที่ 1 เป็นผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการดำเนินการขนส่งทอดสุดท้ายเพื่อให้สินค้าถึงมือผู้ซื้อ ซึ่งถือได้ว่าเป็นการขนส่งหลายทอดตามวิธีการขนส่งทางทะเล โดยจำเลยที่ 1 เป็นผู้ขนส่งทอดสุดท้ายตาม ป.พ.พ. มาตรา 609 และมาตรา 618 ซึ่งเป็นกฎหมายใกล้เคียงกับกฎหมายว่าด้วยการรับขนทางทะเล จำเลยที่ 1 จึงต้องร่วมรับผิดชดใช้ค่าเสียหายของสินค้าให้โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับช่วงสิทธิมาจากผู้รับตราส่ง
เมื่อการขนส่งสินค้าเป็นการขนส่งหลายทอดตามวิธีการขนส่งทางทะเล โดยจำเลยที่ 1 เป็นผู้ขนส่งทอดสุดท้าย ผู้รับขนส่งต้องรับผิดร่วมกันในการที่สินค้านั้นสูญหายหรือบุบสลาย แม้ความเสียหายจะเกิดขึ้นก่อนที่จำเลยที่ 1จะรับขนเป็นทอดสุดท้ายก็ตาม
ศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยให้โจทก์รับช่วงสิทธิและมีสิทธิคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีแล้ว แต่ไม่ได้กล่าวไว้ในตอนท้ายของคำพิพากษา ส่วนศาลอุทธรณ์ก็เพียงแต่วงเล็บข้อความไว้เมื่อกล่าวถึงคำพิพากษาของศาลชั้นต้นศาลฎีกาสมควรกำหนดให้จำเลยทั้งสามชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ไว้ในคำพิพากษาให้ครบถ้วนด้วย
เมื่อการขนส่งสินค้าเป็นการขนส่งหลายทอดตามวิธีการขนส่งทางทะเล โดยจำเลยที่ 1 เป็นผู้ขนส่งทอดสุดท้าย ผู้รับขนส่งต้องรับผิดร่วมกันในการที่สินค้านั้นสูญหายหรือบุบสลาย แม้ความเสียหายจะเกิดขึ้นก่อนที่จำเลยที่ 1จะรับขนเป็นทอดสุดท้ายก็ตาม
ศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยให้โจทก์รับช่วงสิทธิและมีสิทธิคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีแล้ว แต่ไม่ได้กล่าวไว้ในตอนท้ายของคำพิพากษา ส่วนศาลอุทธรณ์ก็เพียงแต่วงเล็บข้อความไว้เมื่อกล่าวถึงคำพิพากษาของศาลชั้นต้นศาลฎีกาสมควรกำหนดให้จำเลยทั้งสามชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ไว้ในคำพิพากษาให้ครบถ้วนด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4593/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ขนส่งสินค้าในกรณีขนส่งหลายทอดและการจำกัดความรับผิด
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งสองเป็นตัวแทนผู้ขนส่งสินค้าพิพาทของโจทก์ซึ่งอยู่ต่างประเทศ และในระหว่างที่จำเลยทั้งสองร่วมกันขนถ่ายสินค้าพิพาทจากเรือขึ้นรถบรรทุกเพื่อนำไปเก็บในคลังสินค้า ลูกจ้างของจำเลยทั้งสองได้กระทำโดยประมาทเลินเล่อทำให้สินค้าพิพาทตกจากรถเสียหาย จำเลยทั้งสองให้การต่อสู้ว่า จำเลยทั้งสองไม่ได้เป็นผู้ขนส่งแต่เป็นเพียงตัวแทนเรือและจำเลยทั้งสองมิได้เกี่ยวข้องกับการขนถ่ายสินค้าพิพาทจากเรือไปเก็บในคลังสินค้าศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทในข้อ 3 ว่า จำเลยทั้งสองได้ร่วมกันขนถ่ายสินค้าพิพาทหรือไม่ เช่นนี้ การที่ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงในประเด็นข้อพิพาทข้อนี้ว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันขนถ่ายสินค้าพิพาท แล้ววินิจฉัยต่อไปว่าจำเลยทั้งสองเป็นผู้ร่วมขนส่งในการขนส่งหลายทอดโดยเป็นผู้รับขนทอดสุดท้าย จึงเป็นการวินิจฉัยข้อเท็จจริงที่เกี่ยวเนื่องกับประเด็นในคำฟ้องและคำให้การซึ่งรวมอยู่ในประเด็นข้อพิพาทข้อนี้นั่นเอง หาได้วินิจฉัยนอกประเด็นข้อพิพาทไม่
ผู้ขนส่งสินค้าของโจทก์มีหน้าที่ในการนำสินค้าจากเรือขึ้นไปเก็บไว้ในคลังสินค้าของการท่าเรือแห่งประเทศไทยก่อนส่งมอบให้แก่โจทก์จำเลยที่ 1 เป็นผู้แจ้งการมาถึงของเรือให้โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับตราส่งทราบ ออกใบปล่อยสินค้าให้แก่โจทก์ เรียกเก็บเงินค่าเปิดตู้จากโจทก์ไปจ่ายให้แก่การท่าเรือแห่งประเทศไทยเพื่อรับสินค้าจากคลังสินค้า รับมอบสินค้าจากเรือปิยะภูมิเพื่อส่งมอบให้แก่โจทก์ และมีหน้าที่แจ้งความเสียหายของสินค้าแก่โจทก์และบริษัท ส. ผู้ขนส่งทอดแรก ส่วนจำเลยที่ 2 เป็นผู้ติดต่อทำพิธีการต่าง ๆ กับเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการนำเรือเข้าเทียบท่าคือ การท่าเรือแห่งประเทศไทย กรมศุลกากรกรมเจ้าท่าและกองตรวจคนเข้าเมือง และจำเลยที่ 2 เป็นผู้ขนถ่ายสินค้าจากเรือนำเข้าเก็บในคลังสินค้าของการท่าเรือแห่งประเทศไทย โดยจำเลยที่ 2 เป็นผู้ว่าจ้างให้บริษัท อ. ดำเนินการดังกล่าว จึงถือได้ว่ากรณีเป็นการขนส่งหลายทอดตามวิธีการขนส่งทางทะเล โดยจำเลยทั้งสองต่างมีหน้าที่รับผิดชอบในการดำเนินการขนส่งทอดสุดท้ายเพื่อให้สินค้าพิพาทได้ขนส่งถึงมือผู้ซื้อ ถือได้ว่าจำเลยทั้งสองเป็นผู้ขนส่งทอดสุดท้ายร่วมกันตาม ป.พ.พ. มาตรา 608 และ 618 ซึ่งเป็นบทกฎหมายใกล้เคียงอย่างยิ่งกับกฎหมายว่าด้วยการรับขนทางทะเล
แม้ที่ด้านหลังใบตราส่งจะมีลายเซ็นพร้อมตราประทับของบริษัท จ.ผู้ขนส่งลงไว้ก็ตาม แต่ก็เป็นเพียงการลงชื่อไว้ลอย ๆ หาได้มีข้อความใดระบุลงไว้ให้ชัดแจ้งว่าผู้ส่งทราบและยอมรับข้อจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งตามที่ปรากฏในใบตราส่ง การลงชื่อสลักหลังดังกล่าวน่าจะเป็นเพียงเพื่อโอนใบตราส่งให้แก่โจทก์เพื่อให้โจทก์นำใบตราส่งไปเป็นหลักฐานในการรับสินค้า จึงถือไม่ได้ว่าผู้ส่งได้แสดงความตกลงโดยชัดแจ้งในการจำกัดความรับผิดดังกล่าว ข้อจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งตามที่จำเลยที่ 1 อ้างจึงเป็นโมฆะ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 625
ผู้ขนส่งสินค้าของโจทก์มีหน้าที่ในการนำสินค้าจากเรือขึ้นไปเก็บไว้ในคลังสินค้าของการท่าเรือแห่งประเทศไทยก่อนส่งมอบให้แก่โจทก์จำเลยที่ 1 เป็นผู้แจ้งการมาถึงของเรือให้โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับตราส่งทราบ ออกใบปล่อยสินค้าให้แก่โจทก์ เรียกเก็บเงินค่าเปิดตู้จากโจทก์ไปจ่ายให้แก่การท่าเรือแห่งประเทศไทยเพื่อรับสินค้าจากคลังสินค้า รับมอบสินค้าจากเรือปิยะภูมิเพื่อส่งมอบให้แก่โจทก์ และมีหน้าที่แจ้งความเสียหายของสินค้าแก่โจทก์และบริษัท ส. ผู้ขนส่งทอดแรก ส่วนจำเลยที่ 2 เป็นผู้ติดต่อทำพิธีการต่าง ๆ กับเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการนำเรือเข้าเทียบท่าคือ การท่าเรือแห่งประเทศไทย กรมศุลกากรกรมเจ้าท่าและกองตรวจคนเข้าเมือง และจำเลยที่ 2 เป็นผู้ขนถ่ายสินค้าจากเรือนำเข้าเก็บในคลังสินค้าของการท่าเรือแห่งประเทศไทย โดยจำเลยที่ 2 เป็นผู้ว่าจ้างให้บริษัท อ. ดำเนินการดังกล่าว จึงถือได้ว่ากรณีเป็นการขนส่งหลายทอดตามวิธีการขนส่งทางทะเล โดยจำเลยทั้งสองต่างมีหน้าที่รับผิดชอบในการดำเนินการขนส่งทอดสุดท้ายเพื่อให้สินค้าพิพาทได้ขนส่งถึงมือผู้ซื้อ ถือได้ว่าจำเลยทั้งสองเป็นผู้ขนส่งทอดสุดท้ายร่วมกันตาม ป.พ.พ. มาตรา 608 และ 618 ซึ่งเป็นบทกฎหมายใกล้เคียงอย่างยิ่งกับกฎหมายว่าด้วยการรับขนทางทะเล
แม้ที่ด้านหลังใบตราส่งจะมีลายเซ็นพร้อมตราประทับของบริษัท จ.ผู้ขนส่งลงไว้ก็ตาม แต่ก็เป็นเพียงการลงชื่อไว้ลอย ๆ หาได้มีข้อความใดระบุลงไว้ให้ชัดแจ้งว่าผู้ส่งทราบและยอมรับข้อจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งตามที่ปรากฏในใบตราส่ง การลงชื่อสลักหลังดังกล่าวน่าจะเป็นเพียงเพื่อโอนใบตราส่งให้แก่โจทก์เพื่อให้โจทก์นำใบตราส่งไปเป็นหลักฐานในการรับสินค้า จึงถือไม่ได้ว่าผู้ส่งได้แสดงความตกลงโดยชัดแจ้งในการจำกัดความรับผิดดังกล่าว ข้อจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งตามที่จำเลยที่ 1 อ้างจึงเป็นโมฆะ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 625
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4593/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้ขนส่งหลายทอดร่วมกันรับผิดชอบความเสียหายสินค้า - ข้อจำกัดความรับผิดโมฆะหากไม่ชัดเจน
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งสองเป็นตัวแทนผู้ขนส่งสินค้าพิพาทของโจทก์ซึ่งอยู่ต่างประเทศและในระหว่างที่จำเลยทั้งสองร่วมกันขนถ่ายสินค้าพิพาทจากเรือขึ้นรถบรรทุกเพื่อนำไปเก็บในคลังสินค้าลูกจ้างของจำเลยทั้งสองได้กระทำโดยประมาทเลินเล่อทำให้สินค้าพิพาทตกจากรถเสียหายจำเลยทั้งสองให้การต่อสู้ว่าจำเลยทั้งสองไม่ได้เป็นผู้ขนส่งแต่เป็นเพียงตัวแทนเรือและจำเลยทั้งสองมิได้เกี่ยวข้องกับการขนถ่ายสินค้าพิพาทจากเรือไปเก็บในคลังสินค้าศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทในข้อ3ว่าจำเลยทั้งสองได้ร่วมกันขนถ่ายสินค้าพิพาทหรือไม่เช่นนี้การที่ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงในประเด็นข้อพิพาทข้อนี้ว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันขนถ่ายสินค้าพิพาทแล้ววินิจฉัยต่อไปว่าจำเลยทั้งสองเป็นผู้ร่วมขนส่งในการขนส่งหลายทอดโดยเป็นผู้รับขนทอดสุดท้ายจึงเป็นการวินิจฉัยข้อเท็จจริงที่เกี่ยวเนื่องกับประเด็นในคำฟ้องและคำให้การซึ่งรวมอยู่ในประเด็นข้อพิพาทข้อนี้นั่นเองหาได้วินิจฉัยนอกประเด็นข้อพิพาทไม่ ผู้ขนส่งสินค้าของโจทก์มีหน้าที่ในการนำสินค้าจากเรือขึ้นไปเก็บไว้ในคลังสินค้าของการท่าเรือแห่งประเทศไทยก่อนส่งมอบให้แก่โจทก์จำเลยที่1เป็นผู้แจ้งการมาถึงของเรือให้โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับตราส่งทราบออกใบปล่อยสินค้าให้แก่โจทก์เรียกเก็บเงินค่าเปิดตู้จากโจทก์ไปจ่ายให้แก่การท่าเรือแห่งประเทศไทยเพื่อรับสินค้าจากคลังสินค้ารับมอบสินค้าจากเรือปิยะภูมิเพื่อส่งมอบให้แก่โจทก์และมีหน้าที่แจ้งความเสียหายของสินค้าแก่โจทก์และบริษัทส. ผู้ขนส่งทอดแรกส่วนจำเลยที่2เป็นผู้ติดต่อทำพิธีการต่าง ๆกับเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการนำเรือเข้าเทียบท่าคือการท่าเรือแห่งประเทศไทยกรมศุลกากรกรมเจ้าท่าและกองตรวจคนเข้าเมืองและจำเลยที่2เป็นผู้ขนถ่ายสินค้าจากเรือนำเข้าเก็บในคลังสินค้าของการท่าเรือแห่งประเทศไทยโดยจำเลยที่2เป็นผู้ว่าจ้างให้บริษัทอ. ดำเนินการดังกล่าวจึงถือได้ว่ากรณีเป็นการขนส่งหลายทอดตามวิธีการขนส่งทางทะเลโดยจำเลยทั้งสองต่างมีหน้าที่รับผิดชอบในการดำเนินการขนส่งทอดสุดท้ายเพื่อให้สินค้าพิพาทได้ขนส่งถึงมีผู้ซื้อถือได้ว่าจำเลยทั้งสองเป็นผู้ขนส่งทอดสุดท้ายร่วมกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา608และ618ซึ่งเป็นบทกฎหมายใกล้เคียงอย่างยิ่งกับกฎหมายว่าด้วยการรับขนทางทะเล แม้ที่ด้านหลังใบตราส่งจะมีลายเซ็นพร้อมตามประทับของบริษัทจ. ผู้ขนส่งลงไว้ก็ตามแต่ก็เป็นเพียงการลงชื่อไว้ลอยๆหาได้มีข้อความใดระบุลงไว้ให้ชัดแจ้งว่าผู้ส่งทราบและยอมรับข้อจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งตามที่ปรากฏในใบตราส่งการลงชื่อสลักหลังดังกล่าวน่าจะเป็นเพียงเพื่อโอนใบตราส่งให้แก่โจทก์เพื่อให้โจทก์นำใบตราส่งไปเป็นหลักฐานในการรับสินค้าจึงถือไม่ได้ว่าผู้ส่งได้แสดงความตกลงโดยชัดแจ้งในการจำกัดความรับผิดดังกล่าวข้อจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งตามที่จำเลยที่1อ้างจึงเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา625
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2100/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ขนส่งทอดสุดท้ายในกรณีสินค้าสูญหายหรือเสียหายจากการขนส่งหลายทอดทางทะเล
จำเลยเป็นผู้แจ้งกำหนดเวลาที่เรือจะเข้าเทียบท่าให้แก่ผู้รับตราส่งทราบเพื่อให้นำใบตราส่งไปเปลี่ยนเป็นใบปล่อยสินค้าจากจำเลยเพื่อนำไปขอรับสินค้าจากเรือและเป็นผู้ดำเนินการติดต่อทำพิธีการกับเจ้าหน้าที่ของกรมศุลกากรกรมเจ้าทากองตรวจคนเข้าเมืองและการท่าเรือแห่งประเทศไทยเพื่อการนำเรือบรรทุกสินค้าเข้าเทียบท่าและมีสิทธิเรียกเก็บค่าระวางและค่าบริการที่ชำระปลายทางได้โดยได้รับค่าบำเหน็จจากการดำเนินการดังกล่าวจึงเป็นผู้ขนส่งทอดสุดท้ายในการขนส่งหลายทอดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา608และ618ซึ่งเป็นบทกฎหมายใกล้เคียงอย่างยิ่งกับกฎหมายว่าด้วยการรับขนทางทะเลเมื่อสินค้าที่ได้รับมอบหมายสูญหายหรือบุบสลายจำเลยจึงต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับช่วงสิทธิมาจากผู้รับตราส่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3514/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ขนส่งหลายทอดเมื่อสินค้าสูญหายระหว่างการขนส่ง
การที่จำเลยที่ 1 รับจ้างขนส่งสินค้าจากประเทศไทยไปยังเมืองซานโจ่อันประเทศปัวโตริโก้ โดยจำเลยที่ 1 จัดหารถบรรทุกไปขนสินค้าจากโรงงานของผู้ว่าจ้างไปยังสนามบินกรุงเทพ แล้วว่าจ้างจำเลยที่ 2 ขนส่งสินค้านั้นทางอากาศต่อไปอีกทอดหนึ่งเพื่อส่งมอบแก่บริษัทกวนแอนด์นาเกล จำกัด เมืองนิวยอร์ก และบริษัทควนแอนด์นาเกล จำกัด รับสินค้าและดำเนินการให้บริษัทอเมริกันแอร์ไลน์ จำกัด ขนส่งต่อไปยังจุดหมายปลายทาง ดังนี้ ถือเป็นการขนส่งหลายคนหลายทอด เมื่อสินค้าสูญหายไปในการขนส่งช่วงสุดท้าย จำเลยที่ 2 ต้องร่วมรับผิดชดใช้ค่าเสียหายด้วย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 618
( ประชุมใหญ่ครั้งที่ 10/2531 )
( ประชุมใหญ่ครั้งที่ 10/2531 )
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3514/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขนส่งหลายทอด: ผู้ขนส่งร่วมรับผิดชอบความเสียหายจากการสูญหายของสินค้า
การที่จำเลยที่ 1 รับจ้างขนส่งสินค้าจากประเทศไทยไปยังเมืองซานโจอันประเทศปัวโตริโก้ โดยจำเลยที่ 1 จัดหารถบรรทุกไปขนสินค้าจากโรงงานของผู้ว่าจ้างไปยังสนามบินกรุงเทพ แล้วว่าจ้างจำเลยที่ 2 ขนส่งสินค้านั้นทางอากาศต่อไปอีกทอดหนึ่งเพื่อส่งมอบแก่บริษัทควนแอนด์นาเกล จำกัด เมืองนิวยอร์ก และบริษัทควนแอนด์นาเกล จำกัด รับสินค้าและดำเนินการให้บริษัทอเมริกันแอร์ไลน์ จำกัด ขนส่งต่อไปยังจุดหมายปลายทาง ดังนี้ถือเป็นการขนส่งหลายคนหลายทอด เมื่อสินค้าสูญหายไปในการขนส่งช่วงสุดท้าย จำเลยที่ 2 ต้องร่วมรับผิดชดใช้ค่าเสียหายด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 618
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1665/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขนส่งหลายทอดทางทะเล ผู้ขนส่งร่วมรับผิดชอบความเสียหายต่อสินค้า
บริษัทผู้ขนส่งไม่มีสำนักงานสาขาในประเทศไทยซึ่งเป็นประเทศปลายทางการขนส่งรายนี้จำเลยเข้าไปเกี่ยวข้องโดยดำเนินการแจ้งวันมาถึงของเรือสินค้าแก่ผู้รับตราส่งขออนุมัติให้เรือเข้าเทียบท่าขอเช่าเครื่องมืออุปกรณ์การขนถ่ายสินค้ารับคืนใบตราส่งแลกกับใบปล่อยสินค้าเพื่อให้เจ้าของใบตราส่งนำไปขอรับสินค้าจากการท่าเรือแห่งประเทศไทยการดำเนินงานของจำเลยในช่วงนี้เป็นขั้นตอนสำคัญของการขนส่งและจำเลยได้รับบำเหน็จทางการค้าตามปกติของตนพฤติการณ์ดังกล่าวเป็นลักษณะร่วมกันขนส่งสินค้าและเป็นการขนส่งหลายทอดตามวิธีการขนส่งทางทะเล ฉะนั้น เมื่อมีการบุบสลายและสูญหายในสินค้าที่รับขนส่ง จำเลยจึงต้องร่วมรับผิดด้วย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 618 ซึ่งเป็นบทกฎหมายใกล้เคียงกับกฎหมายว่าด้วยการรับขนของทางทะเล
การรับขนของจากต่างประเทศมายังประเทศไทยทางทะเล แม้ของจะมาถึงประเทศไทยแล้ว ก็ยังเป็นสัญญาในการรับขนของทางทะเลปัจจุบันยังไม่มีกฎหมายและกฎข้อบังคับว่าด้วยการรับขนของทางทะเลโดยเฉพาะการเรียกค่าเสียหายจึงต้องใช้อายุความทั่วไปตามมาตรา 164 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งมีกำหนด 10ปีส่วนอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 624ไม่ใช่กฎหมายว่าด้วยการรับขนของทางทะเลจะนำมาใช้บังคับไม่ได้และจะถือว่าเป็นกฎหมายใกล้เคียงก็ไม่ได้ เพราะมาตรา164 บังคับไว้ชัดแจ้ง
การรับขนของจากต่างประเทศมายังประเทศไทยทางทะเล แม้ของจะมาถึงประเทศไทยแล้ว ก็ยังเป็นสัญญาในการรับขนของทางทะเลปัจจุบันยังไม่มีกฎหมายและกฎข้อบังคับว่าด้วยการรับขนของทางทะเลโดยเฉพาะการเรียกค่าเสียหายจึงต้องใช้อายุความทั่วไปตามมาตรา 164 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งมีกำหนด 10ปีส่วนอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 624ไม่ใช่กฎหมายว่าด้วยการรับขนของทางทะเลจะนำมาใช้บังคับไม่ได้และจะถือว่าเป็นกฎหมายใกล้เคียงก็ไม่ได้ เพราะมาตรา164 บังคับไว้ชัดแจ้ง