คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ขอบเขตอุทธรณ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 14 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8645/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการอุทธรณ์จำกัด ศาลอุทธรณ์ชอบที่วินิจฉัยเฉพาะประเด็นที่จำเลยขอให้แก้ไข
คดีมีประเด็นข้อพิพาท 4 ประเด็น ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยแพ้ในประเด็นที่ 1 ถึงที่ 3 และชนะในประเด็นที่ 4 จำเลยอุทธรณ์โดยบรรยายฟ้องอุทธรณ์เกี่ยวกับสามประเด็นที่แพ้ แต่มีคำขอท้ายอุทธรณ์เพียงขอให้ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาแก้ประเด็นที่ 2 เพียงประเด็นเดียว นอกจากที่แก้คงให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น แสดงว่าจำเลยไม่ประสงค์ที่จะขอให้ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิจารณาพิพากษาในประเด็นที่ 1 และที่ 3 อุทธรณ์ของจำเลยเป็นคำฟ้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 1 ซึ่งมาตรา 142 ประกอบมาตรา 246 ห้ามมิให้ศาลพิพากษาหรือทำคำสั่งให้สิ่งใด ๆ เกินกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง ดังนั้น การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 วินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยในประเด็นที่ 2 เพียงข้อเดียว โดยมิได้วินิจฉัยประเด็นข้ออื่นจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6537/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดหลายกรรมต่างกันในคดีละเมิดลิขสิทธิ์และจำหน่ายสื่อลามก ศาลฎีกาพิจารณาองค์ประกอบความผิดและขอบเขตการอุทธรณ์
การกระทำของจำเลยในความผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นเพื่อการค้าและฐานประกอบกิจการให้เช่าหรือจำหน่ายเทปหรือวัสดุโทรทัศน์โดยไม่ได้รับอนุญาตนั้นเป็นความผิดต่อกฎหมายคนละฉบับ มีองค์ประกอบแห่งความผิดที่แตกต่างกันทั้งเจตนาในการกระทำความผิดทั้งสองฐานดังกล่าวสามารถแยกต่างหากจากกันได้ จึงเป็นความผิดสองกรรมต่างกัน (วินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา)
การกระทำของจำเลยในความผิดฐานมีไว้เพื่อจำหน่ายซึ่งวิดีโอซีดีลามก เป็นความผิดต่อกฎหมายต่างฉบับกัน มีองค์ประกอบแห่งความผิดที่แตกต่างกัน ทั้งเจตนาในการกระทำความผิดก็สามารถแยกต่างหากจากกันกับความผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นเพื่อการค้าและฐานประกอบกิจการให้เช่าหรือจำหน่ายเทปหรือวัสดุโทรทัศน์โดยไม่ได้รับอนุญาตได้ จึงเป็นความผิดอีกรรมหนึ่งแยกต่างหากจากความผิดสองฐานดังกล่าว
ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 287 เป็นความผิดที่มีอัตราโทษอย่างสูงให้จำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 6,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ เมื่อความผิดดังกล่าวศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาให้ลงโทษจำเลยปรับไม่เกิน 5,000 บาท จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 39 (4) (วินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7055/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการอุทธรณ์ภาษี, การแยกพิจารณาภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม, หลักการประมาณการกำไรสุทธิเกินร้อยละ 25
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์ได้แสดงหลักฐานต่าง ๆ เกี่ยวกับรายได้โจทก์และบัญชีรายได้ของโจทก์ว่าโจทก์ มีบัญชีรายได้เป็นเงิน 16,834,480.41 บาท ซึ่งตรงกับงบดุลในปี 2535 แต่เจ้าพนักงานของจำเลยได้คำนวณรายได้ ของโจทก์รวมทั้งสิ้น 16,982,605.43 บาท และแจ้งว่าโจทก์บันทึกรายได้ต่างจากการประเมินของเจ้าพนักงานประเมิน 148,125.02 บาท ซึ่งยอดตามที่เจ้าพนักงานจำเลยคำนวณมานั้น เจ้าพนักงานได้บวกภาษีมูลค่าเพิ่มเข้าไปด้วย การที่โจทก์ อุทธรณ์ว่า โจทก์มีรายได้จำนวนตามฟ้อง เพราะเวลาที่โจทก์ขายน้ำมันจะมีส่วนลดให้แก่ลูกค้า ยอดที่จำเลยคำนวณ ไม่ตรงกันเพราะคิดเฉลี่ยจากราคาเต็มไม่คิดส่วนลดให้ และราคาเฉลี่ยที่เจ้าพนักงานสรรพากรประเมินอาจไม่ตรงกับราคาน้ำมันในแต่ละวัน เป็นการคำนวณไม่มีหลักเกณฑ์แน่นอนอาจผิดหรือถูกก็ได้นั้น เป็นข้อที่โจทก์มิได้ยกขึ้นอ้างเพื่อให้เกิดประเด็นข้อพิพาทไว้ในคำฟ้อง แม้ศาลภาษีอากรกลางได้วินิจฉัยปัญหาดังกล่าวให้ ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลภาษีอากรกลาง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 29 ประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง
ในกรณีที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลไม่ยื่นรายการและชำระภาษีตามประมวลรัษฎากร มาตรา 67 ทวิ (1) หรือยื่นรายการและชำระภาษีตามมาตรา 67 ทวิ (1) โดยแสดงประมาณการกำไรสุทธิขาดไปเกินร้อยละ 25 ของกำไรสุทธิซึ่งได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่กระทำในรอบระยะเวลาบัญชีนั้นโดยไม่มีเหตุอันสมควรก็จะต้องรับผิดตาม มาตรา 67 ตรี ซึ่งจะต้องเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 20 ของจำนวนเงินภาษีที่ต้องชำระตามมาตรา 67 ทวิ (1) หรือ ของกึ่งหนึ่งของจำนวนเงินภาษีที่ต้องเสียในรอบระยะเวลาบัญชีนั้นหรือของภาษีที่ชำระขาดแล้วแต่กรณี ดังนั้น จึงถือได้ว่าการฝ่าฝืนมาตรา 67 ทวิ ได้มีบทบัญญัติกำหนดความรับผิดไว้โดยเฉพาะแล้ว และหากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลไม่ยื่นประมาณการหรือแสดงประมาณการกำไรสุทธิขาดไปเกินร้อยละ 25 เจ้าพนักงานประเมินจะทราบและสามารถประเมินให้ผู้ต้องเสียภาษีชำระภาษีพร้อมเงินเพิ่มได้ทันทีเมื่อบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้น ยื่นชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลตามแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามมาตรา 68 และ 69 แห่งประมวลรัษฎากร เมื่อสิ้นรอบระยะเวลาบัญชีนั้น โดยไม่จำต้องออกหมายเรียกตัวผู้ยื่นรายการมาไต่สวน ตรวจสอบดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 19 กรณีจึงมิใช่เรื่องการยื่นรายการตามแบบไม่ถูกต้องและมีการออกหมายเรียกไต่สวนตรวจสอบแล้วจึงประเมินเพิ่มตามที่ตรวจสอบดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 19 และ 20 เจ้าพนักงานประเมิน จึงไม่มีอำนาจประเมินให้โจทก์เสียเบี้ยปรับตามมาตรา 22 ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้โจทก์มิได้อุทธรณ์ แต่ศาลฎีกาเห็นควรยกขึ้นวินิจฉัยตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 29 ประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)
ประมวลรัษฎากร มาตรา 67 ทวิ วรรคสอง บัญญัติว่า ภาษีที่ชำระตามวรรคหนึ่งให้ถือเป็นเครดิตในการคำนวณภาษีที่ต้องชำระตามมาตรา 68 ค่าภาษีเงินได้นิติบุคคลของรอบระยะเวลาบัญชีปี 2535 (ครึ่งปี) ที่เจ้าพนักงานประเมินจำนวน 23,425.27 บาท จึงเป็นส่วนหนึ่งของค่าภาษีที่โจทก์ต้องชำระเมื่อสิ้นรอบระยะเวลาบัญชีปี 2535 เมื่อโจทก์ได้ชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2535 ตามแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามมาตรา 68 และ 69 แห่งประมวลรัษฎากร ที่ได้ยื่นตามปกติและที่ได้ยื่นเพิ่มเติมรวมทั้ง จะต้องชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2535 เนื่องจากบันทึกยอดขายขาดไป ตามคำวินิจฉัยอุทธรณ์ การที่เจ้าพนักงานประเมินและคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัยให้โจทก์ชำระภาษีจำนวนดังกล่าว จึงซ้ำซ้อนและไม่ชอบด้วยกฎหมาย
มาตรา 67 ตรี บัญญัติให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่แสดงประมาณกำไรสุทธิขาดไปเกินร้อยละ 25 ของกำไรสุทธิซึ่งได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่กระทำในรอบระยะเวลาบัญชีโดยไม่มีเหตุอันสมควรเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 20 ของจำนวนเงินภาษีที่ต้องชำระตามมาตรา 67 ทวิ (1) หรือของกึ่งหนึ่งของจำนวนเงินภาษีที่ต้องเสีย ในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น หรือของภาษีที่ชำระขาดแล้วแต่กรณี เมื่อโจทก์มีภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายจะนำมาหักได้ตามกฎหมายในรอบระยะเวลาหกเดือนของรอบระยะเวลาบัญชีนั้น ซึ่งแบบ ภ.ง.ด. 51 ของจำเลยก็ยินยอมให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีหักภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย แล้วจึงนำมาถือเป็นภาษีเงินได้ที่ต้องชำระเพิ่มเติม โจทก์ย่อมนำภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายที่โจทก์ได้จ่ายไปมาหักได้ ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้โจทก์ มิได้อุทธรณ์ แต่ศาลฎีกาเห็นควรยกขึ้นวินิจฉัยตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 29 ประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)
ทุนทรัพย์ที่พิพาทเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่มต้องแยกคำนวณจากทุนทรัพย์ที่พิพาทเกี่ยวกับภาษีเงินได้นิติบุคคล เพราะการฟ้องขอให้เพิกถอนการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของภาษีทั้งสองประเภทมีสภาพแห่งข้อหา ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาและมีวิธีการคำนวณแตกต่างกัน เมื่อทุนทรัพย์เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับเดือนภาษีที่พิพาท 50,000 บาท จึงต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 25 โจทก์อุทธรณ์ว่าโจทก์เสียภาษีครบถ้วนถูกต้องแล้วโดยมียอดขายจำนวน 367,496.49 บาท และยอดซื้อจำนวน 339,058.97 บาท เป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงย่อมต้องห้ามอุทธรณ์ตามบทกฎหมายดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 918/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการอุทธรณ์หนี้จำนอง: การบังคับคดีเกินกว่าคำพิพากษาศาลชั้นต้น
โจทก์เพียงแต่อุทธรณ์ขอให้จำเลยที่ 5 รับผิดในหนี้ที่เหลือซึ่งเป็นหนี้สามัญ นอกเหนือไปจากหนี้จำนองที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 5 รับผิดในวงเงินต้น 2,000,000 บาท เท่านั้น โจทก์หาได้อุทธรณ์ขอให้จำเลยที่ 5รับผิดในหนี้จำนองเพิ่มขึ้นไม่ ดังนั้น หากโจทก์ชนะคดีในชั้นอุทธรณ์แล้ว ก็ไม่อาจบังคับจำนองได้มากไปกว่าที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 5 รับผิดในหนี้จำนองจึงไม่มีเหตุที่จะให้งดการไถ่ถอนทรัพย์จำนองของจำเลยที่ 5 ไว้ในระหว่างอุทธรณ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5457/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยึดทรัพย์มรดกตามพินัยกรรม: ศาลฎีกาวินิจฉัยประเด็นทรัพย์เป็นของใคร และขอบเขตการอุทธรณ์
ที่โจทก์ฎีกาว่าคำร้องขัดทรัพย์เคลือบคลุมเพราะไม่ได้บรรยายว่าทรัพย์ที่ยึดเป็นของผู้ใด แต่ปรากฏว่าตามคำร้องได้ระบุไว้แล้วว่าเป็นของผู้ร้องกับส.ที่ผู้ตายทำพินัยกรรมยกให้ ย่อมเป็นที่เห็นได้ว่าข้ออ้างตามฎีกาของโจทก์ไม่เป็นความจริง จึงไม่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยว่า คำร้องขัดทรัพย์เคลือบคลุมหรือไม่แม้ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ยกขึ้นวินิจฉัยมา ศาลฎีกาก็ไม่รับวินิจฉัยให้
ในประเด็นว่าที่ดินและบ้านพิพาทเป็นของจำเลยหรือไม่ ศาลชั้นต้นวินิจฉัยฟังว่าที่ดินและบ้านพิพาทเป็นทรัพย์เฉพาะสิ่งซึ่งผู้ตายได้ทำพินัยกรรมยกให้แก่ผู้ร้องกับ ส. เมื่อผู้ตายถึงแก่กรรมที่ดินและบ้านพิพาทจึงตกเป็นสิทธิของผู้ร้องกับ ส.โจทก์ไม่มีสิทธินำยึดมาชำระหนี้ โจทก์อุทธรณ์ว่า ผู้ร้องไม่มีพยานมาสืบให้เห็นว่าผู้ตายมีทรัพย์มรดกอื่นอีก และพินัยกรรมไม่ได้ระบุว่าให้ที่ดินแปลงใดหรือให้ที่ดินมีเอกสารสิทธิหรือไม่ ทั้งสิ่งปลูกสร้างหรือบ้านที่กำหนดให้ก็มิได้ระะบุว่าเป็นสิ่งปลูกสร้างอะไร บ้านเลขที่เท่าใด ตั้งอยู่ที่ไหน ข้อความที่ตกเติมในพินัยกรรมก็ไม่มีลายมือชื่อผู้ทำพินัยกรรมกำกับไว้ จึงเป็นพินัยกรรมที่ไม่สมบูรณ์ เมื่อผู้ตายไม่มีทรัพย์มรดกอื่นนอกจากที่ดินและบ้านพิพาท ซึ่งผู้ร้องยังไม่ได้มีการจัดการมรดก โจทก์จึงนำยึดมาชำระหนี้ได้ ล้วนเป็นการอุทธรณ์โต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลชั้นต้นอันเป็นปัญหาข้อเท็จจริง เมื่อที่ดินและบ้านพิพาทมีราคารวมกันไม่เกินห้าหมื่นบาท จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 224 วรรคหนึ่ง
การโต้เถียงว่าศาลวินิจฉัยคดีนอกประเด็นหรือไม่ เป็นปัญหาข้อกฎหมาย จึงไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 224 วรรคหนึ่ง การที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยประเด็นข้อนี้มาจึงเป็นการไม่ชอบ แต่ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยปัญหานี้ไปทีเดียวโดยไม่จำต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยก่อนการที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า ผู้ตายมีทรัพย์มรดกคือที่ดินอีก 20 ไร่ ก็เป็นการยกเหตุผลขึ้นมาสนับสนุนให้เห็นว่าที่ดินและบ้านพิพาทเป็นทรัพย์ตามพินัยกรรมอันอยู่ในประเด็นพิพาทว่าที่ดินและบ้านพิพาทเป็นของจำเลยหรือไม่ หาใช่เป็นการวินิจฉัยคดีนอกประเด็นไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4856/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงท้ากันทางคดีกับผู้เชี่ยวชาญ การพิพากษาตามข้อตกลง และขอบเขตการอุทธรณ์
อุทธรณ์ของโจทก์ที่ว่าความเห็นของผู้เชี่ยวชาญไม่เป็นไปตามข้อตกลงที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าความเห็นของผู้เชี่ยวชาญเป็นไปตามข้อตกลงและพิพากษาให้โจทก์แพ้คดีไม่ชอบเป็นการอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา138(3)โจทก์จึงมีสิทธิอุทธรณ์ได้ การที่ผู้เชี่ยวชาญมีความเห็นโดยใช้ถ้อยคำว่าน่าจะไม่ใช่ลายมือชื่อของบุคคลคนเดียวกันถือได้ว่าเป็นการให้ความเห็นในลักษณะเป็นคำยืนยันหรือทำนองยืนยันว่าไม่ใช่ลายมือชื่อของบุคคลคนเดียวกันตรงตามคำท้าของโจทก์จำเลยแล้วโจทก์ต้องแพ้คดีตามคำท้า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6569-6571/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปลูกสร้างอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาต, การฝ่าฝืนคำสั่งรื้อถอน, และขอบเขตการอุทธรณ์ของโจทก์
การปลูกสร้างอาคารตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 77 ต้องเป็นกรณีปลูกสร้างอาคารในท้องที่ที่มีอาคารเป็นจำนวนมากปลูกสร้างอยู่ในที่ดินที่เป็นสาธารณสมบัติของแผ่น ดินก่อนวันที่พระราชบัญญัติดังกล่าวใช้บังคับ และมีสภาพหรืออาจทำให้เกิดสภาพที่ไม่เหมาะสม หรือไม่ปลอดภัยในการอยู่อาศัยการป้องกันอัคคีภัยการสาธารณสุข การรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม การผังเมือง และการอำนวยความสะดวแก่การจราจร และจะต้องมีพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตปรับปรุงอาคารในท้องที่นั้นด้วยข้อเท็จจริงเหล่านี้จำเลยมิได้ยกขึ้นอ้าง หรือนำสืบในศาลชั้นต้นและไม่ปรากฏในสำนวนจึงต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 ประกอบด้วยมาตรา 225
จำเลยปลูกสร้างอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาต และเป็นเจ้าของอาคารซึ่งตามมาตรา 69 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 ถือว่าเป็นผู้ดำเนินการจึงต้องระวางโทษเป็นสองเท่าของโทษที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ปรับวันละ 1,000 บาท และเมื่ออาคารที่ปลูกสร้างเป็นอาคารเพื่อพาณิชยกรรมจึงเป็นอาคารตามมาตรา 70 อีกมาตราหนึ่ง ศาลอุทธรณ์มีอำนาจปรับจำเลยเพิ่มอีกสิบเท่าเป็นปรับวันละ 10,000 บาท
ชั้นอุทธรณ์โจทก์อุทธรณ์ว่า การกระทำของจำเลยทั้งสามเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 42 วรรคสอง, 65 วรรคสอง และ 70 ขอให้ศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษปรับจำเลยทั้งสามวันละ 5,000 บาท ตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืนซึ่งเท่ากับว่าโจทก์ไม่ติดใจขอให้ลงโทษจำเลยตามมาตรา 69 อีกต่อไป ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษปรับจำเลยวันละ 10,000 บาท จึงเป็นการพิพากษาเกินกว่าอุทธรณ์ของโจทก์ เป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3307/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลผูกพันคำพิพากษาคดีอาญาต่อคดีแพ่ง และขอบเขตการอุทธรณ์ประเด็นความประมาท
เดิม จำเลยที่ 1 ถูกฟ้องเป็นคดีอาญา ซึ่งมีโจทก์ที่ 1 เป็นโจทก์ร่วมด้วย ศาลวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 1 ขับรถยนต์โดยประมาทเป็นเหตุให้ อ. ถึงแก่ความตายคดีถึงที่สุด การพิพากษาคดีส่วนแพ่งจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาส่วนอาญา จึงต้องฟังข้อเท็จจริงในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 ว่าจำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายประมาท ส่วนจำเลยที่ 2,3 มิได้เป็นคู่ความในคดีอาญา คำพิพากษาในคดีอาญาดังกล่าวจึงไม่ผูกพันจำเลยที่ 2,3 ฉะนั้นเมื่อคดีนี้ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่า พยานหลักฐานของโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 2,3 ฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 กระทำโดยประมาทจึงไม่จำต้องวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างจำเลยที่ 2,3หรือไม่ โจทก์ไม่อุทธรณ์ในประเด็นที่ว่าจำเลยที่ 1 ประมาทหรือไม่ประเด็นนี้จึงเป็นอันยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น การที่โจทก์อุทธรณ์ว่าจำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2,3 จึงเป็นอุทธรณ์ที่ศาลอุทธรณ์ไม่ชอบที่จะรับวินิจฉัยและโจทก์ย่อมฎีกาต่อมาอีกไม่ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3307/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลของคำพิพากษาคดีอาญาต่อคดีแพ่ง และขอบเขตการอุทธรณ์/ฎีกาในประเด็นที่ยุติแล้ว
เดิมจำเลยที่ 1 ถูกฟ้องเป็นคดีอาญา ซึ่งมีโจทก์ที่ 1 เป็นโจทก์ร่วมด้วย ศาลวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 1 ขับรถยนต์โดยประมาทเป็นเหตุให้ อ.ถึงแก่ความตายคดีถึงที่สุด การพิพากษาคดีส่วนแพ่งจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาส่วนอาญา จึงต้องฟังข้อเท็จจริงในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 ว่าจำเลยที่1 ว่าจำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายประมาท ส่วนจำเลยที่ 2,3 มิได้เป็นคู่ความในคดีอาญา คำพิพากษาในคดีอาญาดังกล่าวจึงไม่ผูกพันจำเลยที่ 2,3 ฉะนั้นเมื่อคดีนี้ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่าพยานหลักฐานของโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 2,3 ฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 กระทำโดยประมาท จึงไม่จำต้องวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างจำเลยที่ 2,3 หรือไม่ โจทก์ไม่อุทธรณ์ในประเด็นที่ว่าจำเลยที่ 1 ประมาทหรือไม่ ประเด็นนี้จึงเป็นอันยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น การที่โจทก์อุทธรณ์ว่าจำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2,3 จึงเป็นอุทธรณ์ที่ศาลอุทธรณ์ไม่ชอบที่จะรับวินิจฉัยและโจทก์ย่อมฎีกาต่อมาอีกไม่ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3364/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการอุทธรณ์คำสั่งศาล: การพิจารณาอุทธรณ์คำสั่งตัดพยานเมื่ออุทธรณ์คำพิพากษาโดยไม่ได้ระบุอุทธรณ์คำสั่งโดยตรง
การที่คู่ความจะอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นอย่างไรบ้างนั้น จะดูเพียงหัวเรื่องที่หน้าอุทธรณ์ว่าอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาเพียงอย่างเดียวไม่ได้ เมื่ออุทธรณ์ของจำเลยได้แยกเป็นข้อ ก. ปัญหาข้อเท็จจริง ข้อข.ปัญหาข้อกฎหมาย ในปัญหาข้อกฎหมายนั้นได้บรรยายว่า ตามที่ศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้ส่งประเด็นไปสืบพยานจำเลยไม่ชอบด้วยเหตุผล และเป็นการฝ่าฝืนประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง เพราะพยานที่ศาลชั้นต้นสั่งตัดนั้นล้วนแต่เกี่ยวข้องกับคดี และได้กล่าวถึงข้อที่พยานเหล่านั้นจะมาเบิกความเกี่ยวกับประเด็นในคดีอย่างไร ดังนี้ เป็นการอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งศาลชั้นต้นที่สั่งตัดพยานจำเลยแล้ว และเป็นการอุทธรณ์ คดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณ เป็นราคาเงินได้และไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้รวมอยู่ด้วย จำเลยจึงคงเสียค่าขึ้นศาลแต่เพียงในคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ตาม ตาราง 1(3) ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ศาลอุทธรณ์จึงมีอำนาจ รับพิจารณาอุทธรณ์คำสั่งของจำเลย
of 2