คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ขัดคำสั่งเจ้าพนักงาน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 19 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2431/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองที่ดินโดยเชื่อสุจริตและการพิสูจน์ความเป็นที่สาธารณประโยชน์มีผลต่อความผิดฐานบุกรุกและขัดคำสั่งเจ้าพนักงาน
การที่ศาลจะมีอำนาจสั่งให้บุคคลใดออกไปจากที่ดินของรัฐนั้นต้องเป็นกรณีที่ศาลพิพากษาว่า บุคคลดังกล่าวได้กระทำความผิดตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 9, 108 ทวิ แล้ว เมื่อที่พิพาทยังไม่อาจฟังได้แน่ชัดว่าเป็นที่สาธารณประโยชน์และจำเลยยึดถือครอบครองอยู่โดยเชื่อว่าตนมีสิทธิครอบครองต่อจากบิดา จึงไม่เป็นความผิดตามบทบัญญัติดังกล่าว ศาลไม่อาจสั่งให้จำเลยและบริวารออกไปจากที่พิพาทได้
การที่จำเลยไม่ยอมออกจากที่พิพาทตามคำสั่งของนายอำเภอเพราะเชื่อว่าจำเลยมีสิทธิครอบครองซึ่งเป็นข้อเท็จจริงอันเดียวเกี่ยวพันกันกับที่วินิจฉัยมาแล้วว่า การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดฐานบุกรุก จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานขัดคำสั่งเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 368 แม้ปัญหานี้ยุติแล้วในศาลอุทธรณ์ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 185 ประกอบมาตรา215 และ 225.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2431/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองที่ดินโดยเชื่อว่ามีสิทธิ และความผิดฐานขัดคำสั่งเจ้าพนักงาน ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าไม่มีความผิด
การที่ศาลจะมีอำนาจสั่งให้บุคคลใดออกไปจากที่ดินของรัฐนั้นต้องเป็นกรณีที่ศาลพิพากษาว่า บุคคลดังกล่าวได้กระทำความผิดตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 9,108 ทวิ แล้ว เมื่อที่พิพาทยังไม่อาจฟังได้แน่ชัดว่าเป็นที่สาธารณประโยชน์และจำเลยยึดถือครอบครองอยู่โดยเชื่อว่าตนมีสิทธิครอบครองต่อจากบิดา จึงไม่เป็นความผิดตามบทบัญญัติดังกล่าว ศาลไม่อาจสั่งให้จำเลยและบริวารออกไปจากที่พิพาทได้ การที่จำเลยไม่ยอมออกจากที่พิพาทตามคำสั่งของนายอำเภอเพราะเชื่อว่าจำเลยมีสิทธิครอบครองซึ่งเป็นข้อเท็จจริงอันเดียวเกี่ยวพันกันกับที่วินิจฉัยมาแล้วว่า การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดฐานบุกรุก จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานขัดคำสั่งเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 368 แม้ปัญหานี้ยุติแล้วในศาลอุทธรณ์ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 185 ประกอบมาตรา215 และ 225.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 741-745/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขัดคำสั่งเจ้าพนักงานกับการพิพาทเรื่องกรรมสิทธิ์ที่ดิน: ศาลอาญาไม่รับวินิจฉัยสิทธิในที่ดิน ให้ไปฟ้องทางแพ่ง
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้ง 5 บังอาจยึดถือครอบครองที่ดินบริเวณหน้าฝายทุ่งหมูบุ้นอันเป็นที่สาธารณะสำหรับประชาชนใช้ร่วมกัน นายอำเภอได้ออกคำสั่งโดยชอบด้วยกฎหมายให้จำเลยออกไป จำเลยบังอาจขัดขืนไม่กระทำตามคำสั่ง ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 368 ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าที่พิพาทเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน จำเลยไม่รู้ และไม่เข้าใจมาก่อนว่าเป็นที่สาธารณะ การขัดคำสั่งทำด้วยใจสุจริต ขาดเจตนาร้าย ยกฟ้อง จำเลยฝ่ายเดียวอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน จำเลยฎีกาต่อมาว่าที่พิพาทมิใช่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน แต่จำเลยมีสิทธิครอบครองและมีกรรมสิทธิ์ตามกฎหมาย ขอให้พิพากษากลับ ศาลล่างว่าที่พิพาทเป็นของจำเลยทั้งหมด ดังนี้ คดีอาญาจึงยุติเพียงศาลชั้นต้น เมื่อจำเลยกล่าวอ้างโต้แย้งว่าที่พิพาทเป็นที่ดินที่จำเลยมีสิทธิครอบครองมา มิใช่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน จำเลยชอบที่จะไปว่ากล่าวในทางแพ่งต่อไป ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้ ให้ยกฎีกาจำเลย (อ้างนัยฎีกาที่ 1223/2495).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1381-1388/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาสุจริตในการครอบครองที่ดินพิพาทเป็นเหตุให้พ้นผิดฐานขัดคำสั่งเจ้าพนักงาน
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยเชื่อโดยสุจริตใจว่าที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินซึ่งจำเลยเข้าครอบครองอยู่นั้นเป็นที่ของตน ฉะนั้น การที่จำเลยไม่ยอมออกจากที่พิพาทตามคำสั่งนายอำเภอโดยอ้างว่าที่พิพาทเป็นของตนนั้น จึงมีเหตุอันสมควรเป็นข้อแก้ตัวให้พ้นผิดฐานขัดคำสั่งเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 368 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1381-1388/2508

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาสุจริตในการครอบครองที่ดินสาธารณะเป็นเหตุให้พ้นความผิดฐานขัดคำสั่งเจ้าพนักงาน
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยเชื่อโดยสุจริตใจว่าที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินซึ่งจำเลยเข้าครอบครองอยู่นั้นเป็นที่ของตน ฉะนั้น การที่จำเลยไม่ยอมออกจากที่พิพาทตามคำสั่งนายอำเภอโดยอ้างว่าที่พิพาทเป็นของตนนั้น จึงมีเหตุอันสมควรเป็นข้อแก้ตัวให้พ้นผิดฐานขัดคำสั่งเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 368 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1035/2504 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขัดคำสั่งเจ้าพนักงาน กรณีบุกรุกที่สาธารณประโยชน์ การอ้างว่าเป็นที่ทำกินเดิมไม่เป็นเหตุสมควร
ที่สาธารณประโยชน์นั้นไม่จำเป็นที่ทางราชการต้องสงวนไว้เพื่อประโยชน์ร่วมกัน ก็เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินอยู่ตามสภาพ
นายอำเภอสั่งให้จำเลยออกจากที่จำเลยรู้อยู่แล้ว++ สาธารณประโยชน์ จำเลยไม่ยอมออกโดยอ้างว่าเป็นที่ของจำเลยนั้น ไม่ใช่เหตุหรือข้อแก้ตัวอันสมควรตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 368

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1035/2504

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ที่สาธารณประโยชน์: การขัดคำสั่งเจ้าพนักงานเมื่อบุกรุกและอ้างสิทธิในที่ดินสาธารณะ
ที่สาธารณประโยชน์นั้น ไม่จำเป็นที่ทางราชการต้องสงวนไว้เพื่อประโยชน์ร่วมกัน ก็เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินอยู่ตามสภาพ
นายอำเภอสั่งให้จำเลยออกจากที่ซึ่งจำเลยรู้อยู่แล้วว่าเป็นที่สาธารณประโยชน์ จำเลยไม่ยอมออกโดยอ้างว่าเป็นที่ของจำเลยนั้น ไม่ใช่เหตุหรือข้อแก้ตัวอันสมควรตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 368

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 185/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขัดคำสั่งเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 368 ในคดีจราจร: กฎหมายจราจรไม่ได้ประสงค์ลงโทษผู้ไม่ไปรายงานตน
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 368 เป็นบทลงโทษผู้ที่ขัดคำสั่งของเจ้าพนักงานซึ่งสั่งการตามอำนาจที่มีกฎหมายให้ไว้ในกรณีทั่ว ๆ ไป ส่วนการที่จำเลยไม่ไปรายงานตนภายใน 24 ชั่วโมง ตามคำสั่งของตำรวจจราจรในกรณีจำเลยทำผิดกฎหมายจราจรจะเป็นผิดฐานขัดคำสั่งเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 368 อีกด้วยหรือไม่นั้น ต้องระลึกถึงหลักการใช้กฎหมายอาญาว่า กฎหมายจราจรมีความประสงค์จะลงโทษบุคคลผู้ขัดคำสั่งของเจ้าพนักงานหรือไม่ซึ่งจะเห็นได้จากบทบัญญัติของกฎหมายนั้นๆเองเรื่องนี้ ถึงแม้จะมี พ.ร.บ. จราจรทางบก พ.ศ. 2477 มาตรา 64 ให้อำนาจเจ้าพนักงานสั่งเป็นหนังสือให้ผู้ละเมิด พ.ร.บ. จราจรทางบกไปรายงานตนภายใน 24 ชั่วโมง ก็จริง แต่ พ.ร.บ. นี้ก็ไม่ประสงค์จะให้ลงโทษแก่ผู้ที่ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งนั้น เพราะข้อความในมาตรา 67 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม โดย พ.ร.บ. จราจรทางบก พ.ศ. 2478 มาตรา 5 แสดงให้เห็นว่า การที่ให้ไปรายงานคนนั้น กฎหมายมีความประสงค์เพื่อความสะดวกทั้งสองฝ่ายเท่านั้น คือ ผู้ไปรายงานยอมให้เปรียบเทียบ ก็ไม่ต้องถูกฟ้องเป็นจำเลย ฝ่ายเจ้าพนักงานก็ไม่ต้องเสียเวลาสอบสวนพยานเพื่อดำเนินคดีต่อศาล แต่ถ้าผู้ได้รับคำสั่งไม่ไปรายงาน ก็เท่ากับผู้นั้นปฏิเสธความผิดไม่ยอมให้เปรียบเทียบ ซึ่งก็มีทางแก้อยู่แล้ว คือ
เจ้าพนักงานดำเนินคดีฟ้องต่อศาลดุจคดีอื่น ๆ ผู้ไม่ไปรายงานตนหามีความผิดฐานขัดคำสั่งเจ้าพนักงานซ้ำอีกกระทงหนึ่งไม่
(ควรเทียบดูกับฎีกาที่ 428/2502 ซึ่งวินิจฉัย โดยที่ประชุมใหญ่เกี่ยวกับปัญหาเช่นเดียวกันนี้ แต่ข้อวินิจฉัยมีต่างกันบ้าง)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 185/2503

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขัดคำสั่งเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 368 ในคดีจราจร: เจตนาของกฎหมายคืออะไร?
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 368 เป็นบทลงโทษผู้ที่ขัดคำสั่งของเจ้าพนักงานซึ่งสั่งการตามอำนาจที่มีกฎหมายให้ไว้ในกรณีทั่วๆ ไปส่วนการที่จำเลยไม่ไปรายงานตนภายใน 24 ชั่วโมง ตามคำสั่งของตำรวจจราจรในกรณีจำเลยทำผิดกฎหมายจราจรจะเป็นผิดฐานขัดคำสั่งเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 368 อีกด้วยหรือไม่นั้นต้องระลึกถึงหลักการใช้กฎหมายอาญาว่ากฎหมายจราจรมีความประสงค์จะลงโทษบุคคลผู้ขัดคำสั่งของเจ้าพนักงานหรือไม่ ซึ่งจะเห็นได้จากบทบัญญัติของกฎหมายนั้นๆเองเรื่องนี้ ถึงแม้จะมี พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2477 มาตรา 64 ให้อำนาจเจ้าพนักงานสั่งเป็นหนังสือให้ผู้ละเมิด พระราชบัญญัติจราจรทางบกไปรายงานตนภายใน 24 ชั่วโมง ก็จริง แต่ พระราชบัญญัตินี้ก็ไม่ประสงค์จะให้ลงโทษแก่ผู้ที่ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งนั้น เพราะข้อความในมาตรา 67 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พระราชบัญญัตจราจรทางบก พ.ศ.2478 มาตรา 5 แสดงให้เห็นว่า การที่ให้ไปรายงานตนนั้น กฎหมายมีความประสงค์เพื่อความสดวกของทั้งสองฝ่ายเท่านั้น คือ ผู้ไปรายงานยอมให้เปรียบเทียบ ก็ไม่ต้องถูกฟ้องเป็นจำเลย ฝ่ายเจ้าพนักงานก็ไม่ต้องเสียเวลาสอบสวนพยานเพื่อดำเนินคดีต่อศาล แต่ถ้าผู้ได้รับคำสั่งไม่ไปรายงาน ก็เท่ากับผู้นั้นปฏิเสธความผิดไม่ยอมให้เปรียบเทียบ ซึ่งก็มีทางแก้อยู่แล้ว คือเจ้าพนักงานดำเนินคดีฟ้องต่อศาลดุจคดีอื่นๆผู้ไม่ไปรายงานตนหามีความผิดฐานขัดคำสั่งเจ้าพนักงานซ้ำอีกกระทงหนึ่งไม่
(ควรเทียบดูกับฎีกาที่ 728/2502 ซึ่งวินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่เกี่ยวกับปัญหาเช่นเดียวกันนี้ แต่ข้อวินิจฉัยมีต่างกันบ้าง)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 309/2500

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินไม่อาจถูกครอบครองเป็นเจ้าของได้ และการขัดคำสั่งเจ้าพนักงาน
คำสั่งผู้รักษาการแทนนายอำเภอเมื่อ พ.ศ.2496 ห้ามมิให้จำเลยทำนาในหนองสาธารณะ เป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายจำเลยเข้าทำนาเมื่อ พ.ศ.2498 ศาลลงโทษจำเลยฐานขัดคำสั่งตาม มาตรา334(2) กฎหมายลักษณะอาญา
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา94 ไม่ถือความผิดลหุโทษเป็นความผิดเพื่อเพิ่มโทษ ศาลอุทธรณ์ลงโทษและเพิ่มโทษตามกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา76 ถูกต้องตามกฎหมายในเวลานั้นเมื่อจำเลยฎีกาขึ้นมาศาลฎีกาแก้เป็นไม่เพิ่มโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3
หนองสาธารณะเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ใครจะอ้างอายุความครอบครองยันต่อแผ่นดินไม่ได้
of 2