คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ขั้นตอน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 187 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7550/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์ปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกา ต้องปฏิบัติตามขั้นตอน ป.วิ.พ. มาตรา 223 ทวิ อย่างเคร่งครัด
ป.วิ.พ. มาตรา 223 ทวิ บัญญัติหลักเกณฑ์ในการอุทธรณ์ปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกาว่า ผู้อุทธรณ์จะต้องทำเป็นคำร้องมาพร้อมคำฟ้องอุทธรณ์ เมื่อศาลชั้นต้นรับอุทธรณ์และส่งสำเนาคำฟ้องอุทธรณ์และสำเนาคำร้องแก่จำเลยอุทธรณ์แล้ว หากไม่มีคู่ความอื่นยื่นอุทธรณ์และจำเลยอุทธรณ์มิได้คัดค้านคำร้องดังกล่าวภายในกำหนดเวลายื่นคำแก้อุทธรณ์ ก็ให้ศาลชั้นต้นพิจารณาสั่งคำร้องนั้นว่าจะอนุญาตหรือไม่และให้คำสั่งของศาลชั้นต้นเป็นที่สุด คดีนี้ปรากฏว่าเมื่อโจทก์ยื่นอุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายพร้อมคำร้องขออนุญาตอุทธรณ์ปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกา ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า "เมื่อจำเลยทั้งสี่แก้อุทธรณ์หรือไม่แก้ภายในกำหนดแล้ว ให้ส่งศาลฎีกาโดยเร็ว" ซึ่งมีความหมายว่าศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งอนุญาตคำร้องของโจทก์ไปทันทีโดยที่ยังมิได้ส่งสำเนาคำร้องให้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งเพื่อให้คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งมีโอกาสคัดค้านก่อน จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 223 ทวิ คำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวจึงไม่อาจมีผลทำให้อุทธรณ์ของโจทก์ขึ้นมาสู่การพิจารณาของศาลฎีกาตามบทกฎหมายดังกล่าวโดยชอบได้ คดีจึงยังไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลฎีกา ศาลฎีกาไม่อาจรับวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายตามอุทธรณ์ให้โจทก์ได้ และการดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นถือได้ว่าเป็นกรณีที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 27 ในข้อที่มุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรมในเรื่องการยื่นหรือการส่งคำคู่ความหรือเอกสารอื่น ๆ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 647/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสอบสวนคดียาเสพติดของเยาวชน: การปฏิบัติตามขั้นตอนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลย 1 ปี และเปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งจำเลยไปฝึกและอบรมที่สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดนครราชสีมามีกำหนด 3 เดือน ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาแก้ไขเล็กน้อย (ไม่ริบของกลาง) ฎีกาของจำเลยจึงต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 133 ทวิ ใช้บังคับเฉพาะกรณีสอบปากคำจำเลยเท่านั้น ไม่ได้ใช้บังคับในการรวบรวมพยานหลักฐานอื่น ๆ ด้วย ดังนั้น การที่พนักงานสอบสวนนำตัวจำเลยไปชี้ที่เกิดเหตุโดยไม่มีบุคคลต่าง ๆ อยู่ด้วย กับไม่มีการบันทึกภาพและเสียงของจำเลยในขณะให้ปากคำต่อพนักงานสอบสวนนั้นการสอบสวนจึงชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6013/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งเพิกถอนการโอนที่ดินในคดีล้มละลาย: ศาลวินิจฉัยถูกต้องตามขั้นตอนและกรอบเวลาที่กฎหมายกำหนด
ในวันนัดไต่สวนคำร้องนัดแรกวันที่ 29 เมษายน 2545 ศาลชั้นต้นจดรายงานกระบวนพิจารณาว่าได้ตรวจคำร้องขอให้เพิกถอนการโอนที่ดิน ข้อคัดค้านของผู้คัดค้านทั้งสองแล้ว เห็นว่าพอวินิจฉัยได้ให้งดไต่สวนพยานทั้งสองฝ่าย นัดฟังคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดีในวันที่ 24 พฤษภาคม 2545 เช่นนี้เป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยข้อเท็จจริงที่ปรากฏตามคำร้องขอให้เพิกถอนการโอนที่ดินของผู้ร้องและคำคัดค้านของผู้คัดค้านทั้งสอง มิได้มีการวินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นปัญหาข้อกฎหมายแต่อย่างใด กรณีจึงไม่ต้องด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 24 และคำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา เมื่อผู้คัดค้านทั้งสองมิได้โต้แย้งคำสั่งของศาลชั้นต้นจึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226 (2) ประกอบ พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 153 (เดิม)
การกระทำในระหว่างระยะเวลา 3 ปี ก่อนมีการขอให้ล้มละลายตามบทบัญญัติมาตรา 114 (เดิม) แห่ง พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 คือ ก่อนมีการฟ้องขอให้ล้มละลาย เมื่อการโอนที่ดินพิพาทในคดีนี้กระทำเมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2535 แต่โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2538 จึงเป็นการโอนภายในระยะเวลา 3 ปี ก่อนมีการขอให้ล้มละลาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7418/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอนุญาตอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาต้องปฏิบัติตามขั้นตอน หากไม่ส่งสำเนาให้คู่ความคัดค้าน คำสั่งไม่ชอบ
โจทก์ยื่นอุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายพร้อมกับยื่นคำร้องขออนุญาตอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกา ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตไปทันทีโดยมิได้ส่งสำเนาคำร้องให้แก่จำเลยเพื่อให้จำเลยคัดค้านก่อน ซึ่งหากจำเลยคัดค้าน ศาลชั้นต้นก็ไม่อาจอนุญาตให้โจทก์ยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาได้ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตไปจึงเป็นการไม่ชอบ ไม่มีผลทำให้อุทธรณ์ของโจทก์ขึ้นมาสู่การพิจารณาของศาลฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 223 ทวิ ได้ และถือได้ว่าเป็นกรณีที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายในข้อที่มุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรมในเรื่องการยื่นหรือการส่งคำคู่ความหรือเอกสารอื่น ๆ ตามมาตรา 27 ศาลฎีกาให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่ให้ถูกต้อง แต่เนื่องจากพ้นระยะเวลาที่จำเลยจะยื่นคำแก้อุทธรณ์แล้ว ศาลฎีกาจึงกำหนดระยะเวลาให้จำเลยยื่นคำคัดค้านไว้ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5847/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เขตอำนาจศาล: ขั้นตอนการโอนคดีระหว่างศาลตาม พ.ร.บ.วินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
หากศาลชั้นต้นซึ่งเป็นศาลยุติธรรมเห็นว่าคดีไม่อยู่ในเขตอำนาจศาลชั้นต้น ก็ชอบที่จะดำเนินการตามขั้นตอนของบทบัญญัติแห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ.2542 มาตรา 10 กำหนดว่า ในกรณีที่มีการฟ้องคดีต่อศาลใด ถ้าศาลเห็นเองว่า คดีดังกล่าวอยู่ในเขตอำนาจของอีกศาลหนึ่ง ให้จัดทำความเห็นส่งไปให้ศาลที่ศาลนั้นเห็นว่าคดีนั้นอยู่ในเขตอำนาจโดยเร็ว ถ้าศาลที่รับความเห็นมีความเห็นพ้องกับศาลที่ส่งความเห็นให้แจ้งความเห็นไปยังศาลที่ส่งความเห็นเพื่อมีคำสั่งโอนคดีไปยังศาลนั้น หรือสั่งจำหน่ายคดีเพื่อให้คู่ความไปฟ้องศาลที่มีเขตอำนาจ แต่ถ้าศาลที่ส่งความเห็นและศาลที่รับความเห็นมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องเขตอำนาจศาลในคดีนั้น ให้ศาลที่ส่งความเห็นส่งเรื่องไปให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดว่า คดีนั้นอยู่ในเขตอำนาจของศาลใด การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับคำฟ้องของโจทก์ทันทีและศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายืนนั้น จึงไม่ชอบด้วยบทบัญญัติกฎหมายดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5847/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การวินิจฉัยอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล: ศาลต้องปฏิบัติตามขั้นตอน พ.ร.บ. วินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล ก่อนมีคำสั่ง
พระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ.2542 มาตรา 10 ได้บัญญัติถึงกระบวนการวินิจฉัยชี้ขาดเรื่องอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลไว้ให้ต้องปฏิบัติ การที่ศาลชั้นต้นเห็นว่าคดีอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง จึงมีคำสั่งไม่รับคำฟ้องของโจทก์ทันทีและศาลอุทธรณ์พิพากษายืนนั้นไม่ชอบด้วยบทบัญญัติดังกล่าว ปัญหานี้แม้โจทก์จะมิได้ยกขึ้นฎีกา แต่เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 (5) ประกอบด้วยมาตรา 246 และ 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5629/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์และฎีกาที่มิชอบ การไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229 ทำให้การอุทธรณ์และฎีกาเป็นอันไม่สมบูรณ์
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้เฉพาะจำเลยที่ 1 ชำระหนี้แก่โจทก์ตามฟ้อง โจทก์อุทธรณ์ขอให้จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 มิได้อุทธรณ์แต่ทำคำแก้อุทธรณ์ขอให้ยกฟ้องจำเลยที่ 1 ด้วย ดังนี้เป็นการขอให้ศาลอุทธรณ์ภาค 7 เปลี่ยนแปลงผลของคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่พิพากษาให้จำเลยที่ 1 แพ้คดีกลับเป็นฝ่ายชนะคดี จำเลยที่ 1 ต้องทำเป็นคำฟ้องอุทธรณ์โต้แย้งคำพิพากษาศาลชั้นต้นและเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์พร้อมกับนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่โจทก์ตามคำพิพากษามาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229 จะมาขอในคำแก้อุทธรณ์หาได้ไม่ เมื่อจำเลยที่ 1 มิได้อุทธรณ์ ประเด็นความรับผิดของจำเลยที่ 1 จึงเป็นอันยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9081/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขออุทธรณ์ค่าธรรมเนียมศาล: การพิจารณาคำร้องขออนาถาใหม่ต้องเป็นไปตามขั้นตอนที่กฎหมายกำหนด
การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถาของโจทก์โดยถือว่าโจทก์ไม่มีพยานมาสืบในวันนัดไต่สวน เท่ากับศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยในเนื้อหาแห่งคำร้องของโจทก์แล้วว่าโจทก์มิใช่คนยากจนจะใช้สิทธิดำเนินคดีอย่างคนอนาถาไม่ได้ โจทก์ชอบที่จะอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 156 วรรคท้าย โจทก์จะยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นพิจารณาคำร้องนั้นใหม่เพื่ออนุญาตให้โจทก์นำพยานหลักฐานมาแสดงเพิ่มเติมว่าโจทก์เป็นคนยากจนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 156 วรรคสี่ หาได้ไม่ เพราะศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถาของโจทก์โดยมิได้สืบพยานโจทก์ เมื่อพิจารณาคำร้องขอให้พิจารณาคำขออนาถาใหม่ที่โจทก์อ้างว่าเป็นการยื่นคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 156 วรรคหนึ่ง มิใช่การยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นพิจารณาคำร้องนั้นใหม่ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 156 วรรคสี่ แล้ว เห็นได้ว่าขัดแย้งกับข้อความในคำร้องดังกล่าวที่ต้องการให้ศาลชั้นต้นรับคำร้องของโจทก์ไว้ไต่สวนใหม่ โดยอ้างว่าโจทก์มิได้จงใจไม่นำพยานมาสืบในวันนัดไต่สวน แม้โจทก์จะอ้างในตอนท้ายของคำร้องด้วยว่าโจทก์เป็นคนยากจนไม่สามารถเสียค่าธรรมเนียมศาลได้ แต่ก็เป็นการอ้างเพื่อยืนยันให้ศาลเห็นว่าโจทก์เป็นคนยากจนเท่านั้น ข้อความที่อ้างมีเนื้อความเดียวกับคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถาฉบับเดิมทุกประการ โจทก์มิได้อ้างเหตุอะไรขึ้นใหม่ คำร้องของโจทก์จึงไม่ต้องด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 156 วรรคหนึ่ง ซึ่งโจทก์ต้องยื่นมาพร้อมอุทธรณ์และสาบานตัวให้คำชี้แจงว่าโจทก์ไม่มีทรัยพ์สินพอจะเสียค่าธรรมเนียมศาลได้ เว้นแต่ว่าโจทก์ตกเป็นคนยากจนลงภายหลัง พฤติการณ์ของโจทก์แสดงให้เห็นเจตนาของโจทก์ว่าโจทก์ต้องยื่นคำร้องเพื่อให้ศาลชั้นต้นพิจารณาคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถาของโจทก์ใหม่ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 156 วรรคสี่ หาใช่เป็นการยื่นคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาตามมาตรา 156 วรรคหนึ่งไม่ เมื่อศาลชั้นต้นเห็นว่าโจทก์ไม่อาจยื่นคำร้องดังกล่าวได้และไม่มีความจำเป็นต้องไต่สวนคำร้องของโจทก์ตามที่นัดไว้อีกต่อไป ก็ชอบที่จะมีคำสั่งงดการไต่สวนและยกคำร้องของโจทก์เสียได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2352/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์ปัญหาข้อกฎหมายเขตอำนาจศาลต่อศาลฎีกาต้องเป็นไปตามขั้นตอน ป.วิ.พ. มาตรา 223 ทวิ การไม่ส่งสำเนาคำร้องให้คู่ความอีกฝ่ายถือว่าไม่ถูกต้อง
เมื่อโจทก์ยื่นอุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายเรื่องเขตอำนาจศาลพร้อมคำร้องขออนุญาตอุทธรณ์ปัญหาข้อกฎหมายดังกล่าวโดยตรงต่อศาลฎีกา ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตตามคำร้องของโจทก์ไปในทันทีโดยที่ยังมิได้ส่งสำเนาคำร้องให้แก่คู่ความอีกฝ่ายเพื่อให้คู่ความอีกฝ่ายมีโอกาสคัดค้าน จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 223 ทวิ และถือได้ว่าเป็นกรณีที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 27 ในข้อที่มุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรมในเรื่องการยื่นหรือการส่งคำคู่ความหรือเอกสารอื่นๆ ศาลฎีกามีอำนาจสั่งให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่ให้ถูกต้องได้
(คำสั่งศาลฎีกา)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 226/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ ต้องปฏิบัติตามขั้นตอนการวางค่าฤชาธรรมเนียมและชำระหนี้ตามคำพิพากษา
เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 หากจำเลยที่ 1 ประสงค์จะอุทธรณ์คำสั่ง จำเลยที่ 1 ต้องยื่นคำขอเป็นคำร้องต่อศาลชั้นต้น และนำค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวงมาวางศาลและนำเงินมาชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกันให้ไว้ต่อศาลภายในกำหนดสิบห้าวันนับแต่วันที่ศาลมีคำสั่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 234 เมื่อจำเลยที่ 1 เพียงแต่นำค่าฤชาธรรมเนียมมาวางศาลโดยไม่นำเงินมาชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกันให้ไว้ต่อศาล จึงเป็นการไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวโดยครบถ้วน คำร้องอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยที่ 1 จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย
of 19