พบผลลัพธ์ทั้งหมด 21 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 355/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ศาลยุติธรรมต้องปฏิบัติตามขั้นตอนการโอนคดีให้ศาลปกครองตาม พ.ร.บ.ชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
โจทก์ยื่นคำฟ้องต่อศาลชั้นต้นเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาและเป็นการพิจารณาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 1 (8) เมื่อคดีอยู่ในระหว่างการไต่สวนคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาถือว่าคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น หากศาลชั้นต้นเห็นว่าเป็นคดีที่อยู่ในอำนาจของศาลอีกศาลหนึ่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลฯ มาตรา 10 บัญญัติให้ศาลที่รับฟ้องรอการพิจารณาไว้ชั่วคราวและให้จัดทำความเห็นส่งไปให้ศาลที่ศาลรับฟ้องเห็นว่าคดีนั้นอยู่ในเขตอำนาจโดยเร็ว ถ้าศาลที่รับความเห็นมีความเห็นพ้องกับศาลที่ส่งความเห็น ให้แจ้งความเห็นไปยังศาลที่ส่งความเห็นเพื่อให้มีคำสั่งโอนคดีไปยังศาลนั้นหรือสั่งจำหน่ายคดีเพื่อให้คู่ความไปฟ้องต่อศาลที่มีเขตอำนาจ แต่ถ้าศาลที่ส่งความเห็นและศาลที่รับความเห็นมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องเขตอำนาจศาลในคดีนั้น ให้ศาลที่ส่งความเห็นส่งเรื่องไปให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลวินิจฉัยชี้ขาดว่าคดีนั้นอยู่ในเขตอำนาจของศาลใด บทบัญญัติดังกล่าวเป็นกฎหมายเฉพาะที่บัญญัติถึงกระบวนการชี้ขาดเรื่องอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล กล่าวคือหากศาลยุติธรรมเห็นว่าคดีไม่อยู่ในเขตอำนาจของศาลชั้นต้นก็ชอบที่จะต้องดำเนินการตามบทบัญญัตินี้
เมื่อศาลชั้นต้นที่เป็นศาลยุติธรรมเห็นว่าคดีนี้อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครองซึ่งกรณีนี้คือศาลปกครองเชียงใหม่ ศาลชั้นต้นต้องจัดทำความเห็นส่งไปให้ศาลปกครองเชียงใหม่ หากศาลปกครองเชียงใหม่เห็นว่าคดีนี้อยู่ในเขตอำนาจของศาลปกครองเชียงใหม่ ศาลชั้นต้นก็ชอบที่จะโอนคดีไปยังศาลปกครองเชียงใหม่หรือจำหน่ายคดีเพื่อให้โจทก์ไปฟ้องคดีที่ศาลปกครองเชียงใหม่ แต่ถ้าศาลปกครองเชียงใหม่มีความเห็นแตกต่างในเรื่องเขตอำนาจศาลในคดีนี้ ศาลชั้นต้นก็ต้องส่งเรื่องให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลวินิจฉัยต่อไป การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับฟ้องของโจทก์ทันทีนั้นไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.ว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลฯ มาตรา 10
เมื่อศาลชั้นต้นที่เป็นศาลยุติธรรมเห็นว่าคดีนี้อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครองซึ่งกรณีนี้คือศาลปกครองเชียงใหม่ ศาลชั้นต้นต้องจัดทำความเห็นส่งไปให้ศาลปกครองเชียงใหม่ หากศาลปกครองเชียงใหม่เห็นว่าคดีนี้อยู่ในเขตอำนาจของศาลปกครองเชียงใหม่ ศาลชั้นต้นก็ชอบที่จะโอนคดีไปยังศาลปกครองเชียงใหม่หรือจำหน่ายคดีเพื่อให้โจทก์ไปฟ้องคดีที่ศาลปกครองเชียงใหม่ แต่ถ้าศาลปกครองเชียงใหม่มีความเห็นแตกต่างในเรื่องเขตอำนาจศาลในคดีนี้ ศาลชั้นต้นก็ต้องส่งเรื่องให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลวินิจฉัยต่อไป การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับฟ้องของโจทก์ทันทีนั้นไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.ว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลฯ มาตรา 10
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4274/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การร้องขัดทรัพย์ต้องเป็นการยึดทรัพย์เท่านั้น ไม่ใช่การอายัด การอายัดทรัพย์เป็นขั้นตอนการบังคับคดีตามกฎหมาย
โจทก์ได้นำเจ้าพนักงานบังคับคดีไปยึดที่ดินแปลงพิพาท แต่เนื่องจากยังหาตำแหน่งของที่ดินไม่พบจึงมิได้ทำการยึด เจ้าพนักงานบังคับคดีเพียงแต่ทำการอายัดที่ดินแปลงพิพาท ผู้ร้องอ้างว่าเป็นของผู้ร้องไว้ แต่การร้องขัดทรัพย์จึงร้องได้เฉพาะกรณีที่มีการยึดทรัพย์เท่านั้น ไม่รวมถึงการอายัดทรัพย์ด้วย ผู้ร้องจะอ้างว่า การอายัดทรัพย์เป็นการโต้แย้งสิทธิของผู้ร้องตามป.วิ.พ.มาตรา 55 หาได้ไม่เพราะ ป.วิ.พ.ภาค 4 ลักษณะ 2 เรื่อง การบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งได้บัญญัติถึงเรื่องนี้ไว้ตามลำดับเป็นขั้นตอนแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1694/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขั้นตอนการขอรับมรดกอสังหาริมทรัพย์ที่มีข้อโต้แย้ง และการฟ้องติดตามทรัพย์สินคืน
โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ส.ได้ยื่นขอรับมรดกบ้านพิพาทต่อเจ้าพนักงานที่ดิน แต่จำเลยคัดค้านว่าบ้านพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของมารดาจำเลยเป็นเหตุให้เจ้าพนักงานที่ดินไม่อาจจดทะเบียนโอนบ้านพิพาทให้แก่โจทก์ได้ และเมื่อเจ้าพนักงานที่ดินเปรียบเทียบ โจทก์จำเลยก็ไม่สามารถตกลงกันได้ เจ้าพนักงานที่ดินจึงแจ้งให้คู่กรณีไปดำเนินการฟ้องต่อศาลภายใน 60 วัน กรณีต้องบังคับตาม ป.ที่ดินมาตรา 81 ซึ่งกำหนดขั้นตอนไว้ว่า เมื่อมีผู้โต้แย้งการขอจดทะเบียนสิทธิเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ซึ่งได้มาโดยทางมรดกของผู้ร้องขอ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจสอบสวนคู่กรณีและเปรียบเทียบ ถ้าเปรียบเทียบแล้วไม่ตกลงให้พนักงานเจ้าหน้าที่สั่งการไปตามที่เห็นสมควร หากคู่กรณีไม่พอใจคำสั่งดังกล่าวให้ไปดำเนินการฟ้องต่อศาลภายใน 60 วัน นับแต่วันทราบคำสั่ง โดยให้พนักงานเจ้าหน้าที่รอเรื่องไว้เมื่อศาลพิพากษาหรือมีคำสั่งถึงที่สุดประการใดจึงให้ดำเนินการไปตามกรณี ถ้าไม่ฟ้องภายในกำหนดที่กล่าวข้างต้นก็ให้ดำเนินการไปตามที่พนักงานเจ้าหน้าที่สั่ง ซึ่งระยะเวลาที่กำหนดให้คู่กรณีไปฟ้องศาลภายใน 60 วัน ดังกล่าวเป็นเพียงขั้นตอนหนึ่งที่กฎหมายกำหนดไว้ให้คู่กรณีฝ่ายไม่พอใจคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ปฏิบัติ หาใช่อายุความตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/9 ไม่ แม้คู่กรณีไม่พอใจคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่จะไม่ฟ้องศาลตามกำหนดระยะเวลาดังกล่าวแล้วก็ตาม เจ้าพนักงานที่ดินก็ยังคงดำเนินการต่อไปได้ตามระเบียบของทางราชการและกฎหมายตามที่เห็นสมควรทั้งไม่เป็นการตัดสิทธิคู่กรณีนั้นที่จะฟ้องบังคับจำเลยตามมูลคดีเดิมอีกด้วย
โจทก์ฟ้องโดยอ้างสิทธิในฐานะเจ้าของบ้านพิพาทเพื่อติดตามเอาทรัพย์สินคืนจากจำเลยผู้ทำละเมิดตาม ป.พ.พ.มาตรา 1336 เป็นกรณีไม่มีกฎหมายกำหนดอายุความฟ้องร้องไว้
โจทก์ฟ้องโดยอ้างสิทธิในฐานะเจ้าของบ้านพิพาทเพื่อติดตามเอาทรัพย์สินคืนจากจำเลยผู้ทำละเมิดตาม ป.พ.พ.มาตรา 1336 เป็นกรณีไม่มีกฎหมายกำหนดอายุความฟ้องร้องไว้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1694/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ระยะเวลา 60 วันหลังเจ้าพนักงานที่ดินแจ้งผล ไม่ใช่อายุความฟ้องคดี แต่เป็นขั้นตอนตามกฎหมายที่ดิน
โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ส.ได้ยื่นขอรับมรดกบ้านพิพาทต่อเจ้าพนักงานที่ดิน แต่จำเลยคัดค้านว่าบ้านพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของมารดาจำเลยเป็นเหตุให้เจ้าพนักงานที่ดินไม่อาจจดทะเบียนโอนบ้านพิพาทให้แก่โจทก์ได้ และเมื่อเจ้าพนักงานที่ดินเปรียบเทียบโจทก์จำเลยก็ไม่สามารถตกลงกันได้ เจ้าพนักงานที่ดินจึงแจ้งให้คู่กรณีไปดำเนินการฟ้องต่อศาลภายใน 60 วัน กรณีต้องบังคับตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 81 ซึ่งกำหนดขั้นตอนไว้ว่า เมื่อมีผู้โต้แย้งการขอจดทะเบียนสิทธิเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ซึ่งได้มาโดยทางมรดกของผู้ร้องขอ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจสอบสวนคู่กรณีและเปรียบเทียบ ถ้าเปรียบเทียบแล้วไม่ตกลงให้พนักงานเจ้าหน้าที่สั่งการไปตามที่เห็นสมควร หากคู่กรณีไม่พอใจคำสั่งดังกล่าวให้ไปดำเนินการฟ้องต่อศาลภายใน 60 วัน นับแต่วันทราบคำสั่ง โดยให้พนักงานเจ้าหน้าที่รอเรื่องไว้เมื่อศาลพิพากษาหรือมีคำสั่งถึงที่สุดประการใดจึงให้ดำเนินการไปตามกรณี ถ้าไม่ฟ้องภายในกำหนดที่กล่าวข้างต้นก็ให้ดำเนินการไปตามที่พนักงานเจ้าหน้าที่สั่ง ซึ่งระยะเวลาที่กำหนดให้คู่กรณีไปฟ้องศาลภายใน 60 วัน ดังกล่าวเป็นเพียงขั้นตอนหนึ่งที่กฎหมายกำหนดไว้ให้คู่กรณีฝ่ายไม่พอใจคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ปฏิบัติหาใช่อายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/3 ไม่แม้คู่กรณีไม่พอใจคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่จะไม่ฟ้องศาลตามกำหนดระยะเวลาดังกล่าวแล้วก็ตาม เจ้าพนักงานที่ดินก็ยังคงดำเนินการต่อไปได้ตามระเบียบของทางราชการและกฎหมายตามที่เห็นสมควรทั้งไม่เป็นการตัดสิทธิคู่กรณีนั้นที่จะฟ้องบังคับจำเลยตามมูลคดีเดิมอีกด้วย โจทก์ฟ้องโดยอ้างสิทธิในฐานะเจ้าของบ้านพิพาทเพื่อติดตามเอาทรัพย์สินคืนจากจำเลยผู้ทำละเมิดตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1336 เป็นกรณีไม่มีกฎหมายกำหนดอายุความฟ้องร้องไว้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2606/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
โจทก์ฟ้องเรียกเงินภาษีคืนหลังพ้นกำหนดอุทธรณ์-ไม่ผ่านขั้นตอนตามกฎหมาย จึงไม่มีสิทธิฟ้องต่อศาล
เดิมโจทก์กับกรมศุลกากรจำเลยที่ 1 พิพาทกันเกี่ยวกับกรณีที่โจทก์นำสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักรเมื่อปี 2531 โดยพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 เห็นว่า สินค้าที่โจทก์นำเข้าอยู่ในพิกัดที่ 8705.10 ไม่ได้รับลดหย่อนอากรและไม่พอใจราคาจึงสั่งให้โจทก์วางประกัน โจทก์ได้นำหนังสือค้ำประกันของธนาคารมาวางเป็นประกันค่าภาษีอากร แล้วชำระภาษีอากรตามที่โจทก์สำแดงในใบขนสินค้าขาเข้า กับได้โต้แย้งไว้ แต่จำเลยที่ 1 มีคำสั่งยืนตาม โจทก์ได้ฟ้องจำเลยที่ 1 ศาลภาษีอากรกลางพิพากษาว่าสินค้าที่โจทก์นำเข้าจัดอยู่ในพิกัดที่ 8426.19 และราคาที่โจทก์สำแดงไว้เป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาด แต่ให้ยกคำขอของโจทก์ที่ขอให้คืนหนังสือค้ำประกัน พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1ได้ประเมินภาษีอากรเพิ่มจากที่โจทก์สำแดงไว้ ต่อมาเมื่อคดีดังกล่าวถึงที่สุดแล้ว จำเลยที่ 1 ได้แจ้งให้โจทก์ชำระภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลตามที่ได้ประเมินเพิ่มพร้อมด้วยเงินเพิ่มภาษีดังกล่าว โจทก์ชำระเงินดังกล่าวและได้รับหนังสือค้ำประกันแล้วการที่เจ้าพนักงานของจำเลยที่ 1 ได้ออกแบบแจ้งการประเมินไปถึงโจทก์ซึ่งเป็นการประเมินให้โจทก์ชำระอากรขาเข้า ภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลตามกฎหมาย ส่วนหนังสือทวงถามให้โจทก์ชำระค่าภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลที่ค้างชำระอยู่ มิใช่เป็นการแจ้งการประเมินภาษีอากร ย่อมไม่มีผลเป็นการประเมินภาษีอากรตามกฎหมาย จึงต้องถือแต่เฉพาะการประเมินตามแบบแจ้งการประเมินเท่านั้นเป็นสำคัญ ดังนั้น เมื่อโจทก์มิได้อุทธรณ์การประเมินในส่วนของภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลตามประมวลรัษฎากรมาตรา 30 โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลมาตั้งแต่แรกแล้วการที่โจทก์ฟ้องเป็นคดีนี้ ขอให้จำเลยคืนเงินภาษีการค้ากับภาษีบำรุงเทศบาลที่จำเลยที่ 1 ประเมินเพิ่มย่อมมีผลเท่ากับเป็นการใช้สิทธิอุทธรณ์การประเมินภาษีอากรดังกล่าวต่อศาลโดยตรงโดยไม่ผ่านขั้นตอนตามประมวลรัษฎากร มาตรา 30 จึงต้องห้ามมิให้นำคดีเกี่ยวกับภาษีดังกล่าวมาฟ้องต่อศาลภาษีอากรกลาง ตามความในมาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2103/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องจำกัดเฉพาะผู้ถูกฟ้องที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับข้อพิพาท และต้องดำเนินการตามขั้นตอนที่กฎหมายกำหนด
ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้ศาลชั้นต้นจะไม่ได้กำหนดประเด็นเรื่องอำนาจฟ้องของโจทก์ต่อจำเลยที่ 2 ไว้ แต่จำเลยที่ 2ได้ให้การต่อสู้ไว้ด้วยว่า จำเลยที่ 2 ได้พิจารณาและสั่งการเกี่ยวกับคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์โดยสุจริตตามอำนาจหน้าที่โดยชอบด้วยกฎหมาย มิได้ทำละเมิดต่อโจทก์จึงเท่ากับจำเลยที่ 2 ได้ต่อสู้ว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ด้วย แม้ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์จะมิได้วินิจฉัยไว้ ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ จำเลยที่ 1เป็นนิติบุคคลโดยเป็นกรมในรัฐบาล โจทก์มิได้บรรยายฟ้องให้เห็นว่า จำเลยที่ 1 ได้กระทำการใดอันเป็นการโต้แย้งสิทธิหน้าที่ของโจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ส่วนจำเลยที่ 2 ในฐานะนายทะเบียนเครื่องหมายการค้า ได้มีหนังสือแจ้งโจทก์ว่า เครื่องหมายการค้าเหมือนหรือเกือบเหมือนกับเครื่องหมายการค้าตามคำขอจดทะเบียน ส. ที่ยื่นไว้ก่อนโจทก์จึงจดทะเบียนให้ตามคำขอไม่ได้ จนกว่าจะได้ทำความตกลงกันเองหรือนำคดีไปสู่ศาล เป็นเรื่องที่จำเลยที่ 2 ได้พิจารณาสั่งการไปตามอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ. 2474 มาตรา 17 วรรคแรก โจทก์จึงต้องดำเนินการตามกฎหมายต่อไป จำเลยที่ 2 มิได้โต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 980/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีล้มละลาย: ศาลพิพากษาล้มละลายได้แม้จำเลยอุทธรณ์คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด เนื่องจากขั้นตอนตามกฎหมายครบถ้วน
พระราชบัญญัติ ญญัติล้มละลายฯ มาตรา 61 เป็นบทบังคับให้ศาลพิพากษาให้จำเลยล้มละลายทันที เมื่อได้ดำเนินคดีตามขั้นตอนของมาตราดังกล่าวครบถ้วนแล้ว ส่วนปัญหาที่จำเลยฎีกาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด และคดีอยู่ในระหว่างพิจารณาไม่กระทบกระเทือนถึงการที่ศาลชั้นต้นจะดำเนินคดีล้มละลายต่อไปตามขั้นตอน เพราะคดีล้มละลายต้องกระทำโดยเร่งด่วนตามมาตรา 13 หากต่อมาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดเปลี่ยนแปลงไป คำพิพากษาให้จำเลยล้มละลายก็ต้องเปลี่ยนแปลงไปด้วย เพราะการล้มละลายเริ่มต้นมีผลตั้งแต่วันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ตามมาตรา 62
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2630/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งข้อเรียกร้องตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ ต้องแจ้งต่อนายจ้างโดยตรง การร้องเรียนต่อหน่วยงานอื่นไม่ถือเป็นข้อเรียกร้อง
โจทก์เป็นตัวแทนพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยมีหนังสือร้องเรียนขอความเป็นธรรมจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมในฐานะที่จำเลยเป็นรัฐวิสาหกิจสังกัดอยู่ แม้ต่อมาจะได้มีการเจรจาระหว่างโจทก์กับพวกฝ่ายหนึ่งกับจำเลยอีกฝ่ายหนึ่ง ก็เป็นเรื่องที่จะแสวงหาข้อยุติเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมตามที่โจทก์กับพวกได้ร้องเรียนเท่านั้น มิใช่เป็นการแจ้งข้อเรียกร้องต่อจำเลยผู้เป็นนายจ้างตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 13 วรรคแรก ดังนั้นเมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์ในเวลาต่อมาจึงมิใช่การเลิกจ้างในระหว่างที่ข้อเรียกร้องของโจทก์ยังมีผลบังคับตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 31
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3849/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกเลิกสัญญาเช่านาต้องเป็นไปตามขั้นตอนของ พ.ร.บ.ควบคุมการเช่านา การแจ้งหนังสือบอกเลิกต้องส่งถึงคณะกรรมการควบคุมการเช่านา
โจทก์ฟ้องขอให้ขับไล่จำเลยออกจากที่นาพิพาทที่จำเลยเช่าโดยอ้างว่าจำเลยปลูกบ้านอยู่อาศัยและทำเป็นร้านค้าอย่างถาวร อันเป็นการใช้ประโยชน์อย่างอื่นนอกจากการทำนา โดยไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์ การที่จะบอกเลิกการเช่านาตามพระราชบัญญัติควบคุมการเช่านา มาตรา 32 (3) จะต้องปฏิบัติตาม มาตรา 35 กล่าวคือโจทก์ผู้ให้เช่านาต้องแจ้งเป็นหนังสือพร้อมทั้งแสดงเหตุแห่งการบอกเลิกไปยังจำเลยและส่งสำเนาหนังสือนั้นต่อประธานคณะกรรมการควบคุมการเช่านาประจำตำบลเพื่อพิจารณาก่อนว่ามีเหตุสมควรหรือไม่อย่างไร โดยให้ผู้เช่ามีโอกาสคัดค้านด้วย
การที่คณะกรรมการควบคุมการเช่านาประจำตำบลและประจำจังหวัดมีคำวินิจฉัยและมีมติให้จำเลยออกจากที่นาพิพาท อันเป็นการวินิจฉัยในเหตุอื่นซึ่งเป็นเรื่องนอกเหนือจากคำฟ้องของโจทก์ ไม่มีผลทำให้การบอกเลิกการเช่านาพิพาทของโจทก์เป็นไปโดยชอบ
การที่คณะกรรมการควบคุมการเช่านาประจำตำบลและประจำจังหวัดมีคำวินิจฉัยและมีมติให้จำเลยออกจากที่นาพิพาท อันเป็นการวินิจฉัยในเหตุอื่นซึ่งเป็นเรื่องนอกเหนือจากคำฟ้องของโจทก์ ไม่มีผลทำให้การบอกเลิกการเช่านาพิพาทของโจทก์เป็นไปโดยชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3849/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกเลิกสัญญาเช่านาต้องเป็นไปตามขั้นตอนของ พ.ร.บ.ควบคุมการเช่านา หากไม่ปฏิบัติตามถือเป็นโมฆะ
โจทก์ฟ้องขอให้ขับไล่จำเลยออกจากที่นาพิพาทที่จำเลยเช่าโดยอ้างว่าจำเลยปลูกบ้านอยู่อาศัยและทำเป็นร้านค้าอย่างถาวรอันเป็นการใช้ประโยชน์อย่างอื่นนอกจากการทำนา โดยไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์ การที่จะบอกเลิกการเช่านาตามพระราชบัญญัติควบคุมการเช่านา มาตรา 32(3) จะต้องปฏิบัติตาม มาตรา 35 กล่าวคือโจทก์ผู้ให้เช่านาต้องแจ้งเป็นหนังสือพร้อมทั้งแสดงเหตุแห่งการบอกเลิกไปยังจำเลยและส่งสำเนาหนังสือนั้นต่อประธานคณะกรรมการควบคุมการเช่านาประจำตำบลเพื่อพิจารณาก่อนว่ามีเหตุสมควรหรือไม่อย่างไร โดยให้ผู้เช่ามีโอกาสคัดค้านด้วย การที่คณะกรรมการควบคุมการเช่านาประจำตำบลและประจำจังหวัดมีคำวินิจฉัยและมีมติให้จำเลยออกจากที่นาพิพาท อันเป็นการวินิจฉัยในเหตุอื่นซึ่งเป็นเรื่องนอกเหนือจากคำฟ้องของโจทก์ไม่มีผลทำให้การบอกเลิกการเช่านาพิพาทของโจทก์เป็นไปโดยชอบ