พบผลลัพธ์ทั้งหมด 14 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 384/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประเด็นสัญญาว่าความและการถอนทนาย ความสามารถยกข้อกฎหมายใหม่ในชั้นอุทธรณ์ได้หากข้อเท็จจริงปรากฏหลังฟ้อง
จำเลยซึ่งเป็นโจทก์ในคดีที่ว่าจ้างให้โจทก์เป็นทนายความได้ยื่นคำร้องขอถอนโจทก์จากการเป็นทนายความ เมื่อวันที่ 11 พ.ย. 2539 แต่โจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 26 พ.ย. 2539 และยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้องเมื่อวันที่ 31 ม.ค. 2540 ซึ่งเห็นได้ว่าข้อเท็จจริงที่จำเลยได้ถอนโจทก์จากการเป็นทนายความนั้นมีอยู่แล้วขณะที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ ดังนั้นปัญหาข้อกฎหมายที่โจทก์ยกขึ้นอุทธรณ์โดยอาศัยข้อเท็จจริงดังกล่าวจึงไม่ใช่ข้อกฎหมายที่ไม่สามารถยกขึ้นกล่าวในศาลชั้นต้นเพราะพฤติการณ์ไม่เปิดช่องให้กระทำได้ แต่เป็นข้อที่โจทก์สามารถยกขึ้นมากล่าวตั้งแต่ในศาลชั้นต้นได้ การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8208/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดหลายกรรมต่างกัน ริบของกลางได้ – ฎีกาห้ามเรื่องข้อกฎหมายใหม่ & ข้อเท็จจริงที่ไม่เคยว่ากล่าว
การที่จำเลยดำเนินกิจการค้าน้ำมันเชื้อเพลิงโดยจัดตั้งเป็นสถานีบริการจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงโดยมิได้รับอนุญาต เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2521 มาตรา 6 ทวิ,20 ทวิ ส่วนการที่จำเลยเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงชนิดน่ากลัวอันตรายเพื่อจำหน่ายโดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเก็บรักษาน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2474 มาตรา 6,14,48 การกระทำของจำเลยแยกการกระทำออกจากกันได้และมีเจตนาในการกระทำผิดคนละอย่างด้วยทั้งโจทก์ได้บรรยายฟ้องข้อหาการดำเนินกิจการค้าน้ำมันเชื้อเพลิงโดยจัดตั้งเป็นสถานีบริการจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิง และการเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงชนิดน่ากลัวอันตรายเพื่อจำหน่ายไว้คนละข้อกัน การกระทำผิดของจำเลยเป็นความผิดคนละกรรมต่างกันต้องลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91
คดีต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคหนึ่ง ในชั้นฎีกาจำเลยกลับฎีกาเป็นปัญหาข้อกฎหมายว่าทรัพย์ที่เจ้าพนักงานยึดได้ตามฟ้องเป็นเพียงทรัพย์สินที่เป็นทรัพย์นำชี้ถึงองค์ประกอบของการกระทำผิดมิใช่ทรัพย์ที่มีไว้เพื่อใช้ในการกระทำผิดหรือได้กระทำผิด จึงริบไม่ได้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 32 และ 33 นั้น เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ อีกทั้งคดีนี้จำเลยให้การรับสารภาพและยอมรับว่าทรัพย์ของกลางที่โจทก์กล่าวในฟ้องจำเลยมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำผิด ทรัพย์ของกลางจึงเป็นทรัพย์ที่จำเลยมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำผิด ข้อฎีกาจำเลยดังกล่าวจึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย
คดีต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคหนึ่ง ในชั้นฎีกาจำเลยกลับฎีกาเป็นปัญหาข้อกฎหมายว่าทรัพย์ที่เจ้าพนักงานยึดได้ตามฟ้องเป็นเพียงทรัพย์สินที่เป็นทรัพย์นำชี้ถึงองค์ประกอบของการกระทำผิดมิใช่ทรัพย์ที่มีไว้เพื่อใช้ในการกระทำผิดหรือได้กระทำผิด จึงริบไม่ได้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 32 และ 33 นั้น เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ อีกทั้งคดีนี้จำเลยให้การรับสารภาพและยอมรับว่าทรัพย์ของกลางที่โจทก์กล่าวในฟ้องจำเลยมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำผิด ทรัพย์ของกลางจึงเป็นทรัพย์ที่จำเลยมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำผิด ข้อฎีกาจำเลยดังกล่าวจึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4686/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำสืบพยานบุคคลโต้แย้งการรับเงินในสัญญากู้ยืม และประเด็นการยกข้อกฎหมายใหม่ในชั้นฎีกา
แม้ว่าในชั้นอุทธรณ์โจทก์จะมิได้ยกข้อกฎหมายเรื่องห้ามนำสืบพยานบุคคลเพิ่มเติม ตัดทอน หรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94(ข) ขึ้นว่ากล่าวไว้ในคำฟ้องอุทธรณ์แต่ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน โจทก์จึงยกขึ้นฎีกาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคสอง และเมื่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 650 วรรคสอง ระบุว่าสัญญายืมใช้สิ้นเปลืองย่อมบริบูรณ์ต่อเมื่อส่งมอบทรัพย์สินที่ยืม การกู้ยืมเงินเข้าลักษณะยืมใช้สิ้นเปลือง ดังนั้นที่จำเลยนำสืบว่าไม่ได้รับเงินตามสัญญากู้ยืมเงินย่อมเป็นเหตุให้สัญญากู้ยืมเงินไม่บริบูรณ์ทั้งไม่มีมูลหนี้เงินกู้ระหว่างโจทก์จำเลย การที่จำเลยนำพยานบุคคลมาสืบว่าสัญญากู้ยืมเงินดังกล่าวไม่มีมูลหนี้เพราะจำเลยไม่ได้รับเงิน จำเลยไม่ต้องรับผิดตามสัญญากู้ยืมเงินต่อโจทก์ จำเลยย่อมนำสืบได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 วรรคสอง หาต้องห้ามตามกฎหมายไม่
เมื่ออุทธรณ์โจทก์ไม่มีประเด็นว่า ว. เป็นตัวแทนจำเลยและเป็นผู้รับเงินไปจากโจทก์ แม้โจทก์จะอ้างประเด็นดังกล่าวไว้ในคำแถลงการณ์ในชั้นอุทธรณ์ แต่คำแถลงการณ์ไม่ใช่คำฟ้องอุทธรณ์โจทก์จะตั้งประเด็นในชั้นอุทธรณ์ตามคำแถลงการณ์ไม่ได้ ดังนั้น ที่โจทก์ฎีกาว่า ว. เป็นตัวแทนจำเลยและเป็นผู้รับเงินไปจากโจทก์ จำเลยจึงต้องชำระหนี้แก่โจทก์จึงเป็นเรื่องที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 2 ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
เมื่ออุทธรณ์โจทก์ไม่มีประเด็นว่า ว. เป็นตัวแทนจำเลยและเป็นผู้รับเงินไปจากโจทก์ แม้โจทก์จะอ้างประเด็นดังกล่าวไว้ในคำแถลงการณ์ในชั้นอุทธรณ์ แต่คำแถลงการณ์ไม่ใช่คำฟ้องอุทธรณ์โจทก์จะตั้งประเด็นในชั้นอุทธรณ์ตามคำแถลงการณ์ไม่ได้ ดังนั้น ที่โจทก์ฎีกาว่า ว. เป็นตัวแทนจำเลยและเป็นผู้รับเงินไปจากโจทก์ จำเลยจึงต้องชำระหนี้แก่โจทก์จึงเป็นเรื่องที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 2 ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5589/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเรียกร้องค่าเสียหายจากการขนส่งทางทะเล: การยกข้อกฎหมายใหม่ในฎีกาที่ไม่เคยว่ากันมาก่อน
เมื่อจำเลยให้การต่อสู้เรื่องอายุความและยื่นคำร้องให้ศาลวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายโดยอ้างว่าคดีโจทก์ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา624และศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายตามคำร้องของจำเลยดังนี้เมื่อศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าคดีโจทก์มิได้ขาดอายุความตามมาตรา624การที่จำเลยฎีกาว่าคดีโจทก์ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา193/34จึงเป็นข้อที่มิได้ว่ากันมาในศาลชั้นต้นและในศาลอุทธรณ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5940/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่ชอบเมื่อยกข้อกฎหมายใหม่ในชั้นฎีกา แต่ศาลฎีกามีอำนาจแก้โทษจำเลยร่วมกันได้
ปัญหาข้อกฎหมายที่จำเลยที่ 2 มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแต่ในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 1 เพิ่งมายกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา195 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 225 เป็นฎีกาที่ไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้ ศาลฎีกาเห็นว่า ศาลล่างกำหนดโทษจำเลยหนักเกินไป สมควรกำหนดโทษจำเลยให้เบาลง และเมื่อจำเลยที่ฎีกากับจำเลยที่มิได้ฎีกา กระทำผิดร่วมกันเป็นเหตุในลักษณะคดี ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจพิพากษาแก้โทษตลอดไปถึงจำเลยที่มิได้ฎีกาด้วยได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 213 ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4620/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีหลังตัวการเสียชีวิต และข้อจำกัดในการยกข้อกฎหมายใหม่ในชั้นฎีกา
แม้โจทก์ที่ 13 ถึงแก่กรรมก่อนฟ้องเพียง 9 วัน ผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์ที่ 13 ก็ไม่มีอำนาจฟ้องคดีแทนเพราะสัญญาตั้งตัวแทนย่อมระงับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 826 วรรคสองและไม่ปรากฏว่าการฟ้องคดีนี้มีความจำเป็นเร่งด่วนที่ตัวแทนต้องจัดการเพื่อจะปกปักรักษาประโยชน์ตัวการตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 828 ผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์ที่ 13จึงไม่มีอำนาจฟ้อง โจทก์เพิ่งยกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์ฎีกาว่าที่พิพาทไม่เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินเพราะไม่มีการออกพระราชกฤษฎีกาและประกาศในราชกิจจานุเบกษาตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการหวงห้ามที่ดินรกร้างว่างเปล่าอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน พ.ศ. 2478 จึงไม่ใช่ข้อที่ว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ทั้งปัญหาว่าที่พิพาทเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินหรือไม่ เป็นข้อเท็จจริงที่จะต้องพิสูจน์กันในทางพิจารณาไม่ใช่เรื่องอำนาจฟ้อง และไม่ใช่ข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3697/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยกข้อกฎหมายใหม่ในชั้นอุทธรณ์และฎีกาหลังรับสารภาพในศาลชั้นต้น ถือเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
โจทก์ฟ้องจำเลยด้วยวาจา ศาลชั้นต้นบันทึกไว้ว่าจำเลยบังอาจใช้เครื่องมืออวนรุนทำการประมงภายในเขตระยะ3,000 เมตร นับจากขอบแนวตามชายฝั่งโดยไม่รับอนุญาตอันเป็นการฝ่าฝืนประกาศกระทรวงเกษตรเรื่องกำหนดเขตห้ามใช้เครื่องมืออวนลากและอวนรุนที่ใช้กับเรือยนต์ทำการประมงลงวันที่ 20 กรกฎาคม 2515จำเลยให้การรับสารภาพดังนี้ ประกาศกระทรวงเกษตรฉบับดังกล่าวออกโดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายใด และมีข้อความว่าอย่างไรนั้นเป็นข้อเท็จจริงเมื่อจำเลยเพิ่งยกขึ้นอ้างอิงในชั้นอุทธรณ์และกล่าวอ้างว่าไม่ชอบด้วยกฎหมายด้วยประการต่าง ๆ จึงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 225 แม้ศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยให้ก็ไม่ถือว่าเป็นข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ จำเลยยกขึ้นฎีกามาอีกต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 298/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนทรัพย์เพื่อชำระหนี้จำนอง: นิติกรรมไม่เป็นโมฆะ แม้มิได้ยกขึ้นอ้างในชั้นต้น
แม้ข้อกฎหมายตามฎีกาของจำเลยจะมิได้ยกขึ้นอ้างในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ก็ตามแต่ปัญหาที่ว่า นิติกรรมเป็นโมฆะหรือไม่ นั้นเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนจำเลยยกขึ้นอ้างอิงฎีกาได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรค 2
จำเลยโอนสวนยางรายพิพาทตีใช้หนี้จำนองที่สามีของจำเลยติดค้างโจทก์อยู่เป็นการชำระหนี้จำนองแก่กันให้เสร็จสิ้นไป ไม่ตกเป็นโมฆะ
จำเลยโอนสวนยางรายพิพาทตีใช้หนี้จำนองที่สามีของจำเลยติดค้างโจทก์อยู่เป็นการชำระหนี้จำนองแก่กันให้เสร็จสิ้นไป ไม่ตกเป็นโมฆะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1429/2505
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยินยอมของคู่สมรสในการทำนิติกรรม การยกข้อกฎหมายใหม่ในชั้นฎีกา
สามีฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมที่ภรรยาทำขึ้นโดยมิได้รับความยินยอม ครั้นศาลชั้นต้นฟังว่าสามีรู้เห็นยินยอมและอนุญาต สามีกลับอุทธรณ์ฎีกาว่าสามีจะต้องให้ความยินยอมเป็นหนังสือ การลงลายพิมพ์นิ้วมือโดยมีพยานรับรองเพียงคนเดียวใช้ไม่ได้นั้น เมื่อข้อกฎหมายนี้มิได้ยกขึ้นอ้างมาแต่ศาลชั้นต้น และมิใช่ข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแล้ว ศาลฎีกาย่อมไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1478/2497
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้าม: การยกเหตุข้อกฎหมายใหม่ในชั้นฎีกาที่ไม่ปรากฏในสำนวนชั้นต้น
เมื่อปรากฎว่าข้อกฎหมายที่จำเลยฎีกา ไม่มีข้อเท็ดจริงในสำนวนฎีกาของจำเลยก็ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195, 225