พบผลลัพธ์ทั้งหมด 111 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3879/2546 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดในการอุทธรณ์และฎีกา คดีอาญา: การเปลี่ยนแปลงข้อกล่าวหาและอำนาจฟ้องของโจทก์ร่วม
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 290 ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 295 ที่โจทก์ร่วมอุทธรณ์ข้อแรกว่า การที่จำเลยเตะบริเวณแก้มของผู้ตายเป็นการกระทำโดยเล็งเห็นผลว่าจะเป็นเหตุให้ผู้ตายถึงแก่ความตายนั้น ศาลอุทธรณ์ภาค 5 วินิจฉัยว่า อุทธรณ์ดังกล่าวเป็นอุทธรณ์ในข้อหาที่โจทก์ไม่ได้กล่าวมาในคำฟ้อง และเป็นข้อหาที่โจทก์ไม่ได้ประสงค์ให้ลงโทษ ศาลจะลงโทษจำเลยในข้อหาดังกล่าวไม่ได้ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคหนึ่ง ดังนั้น ข้อเท็จจริงจึงยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่าจำเลยเพียงแต่ใช้กำลังทำร้ายเตะและต่อยผู้ตายจนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กาย ส่วนบาดแผลที่เป็นเหตุให้ผู้ตายถึงแก่ความตายมิได้เกิดจากการกระทำของจำเลย จึงมิใช่กรณีที่ผู้ตายถูกจำเลยทำร้ายถึงตายหรือบาดเจ็บจนไม่สามารถจะจัดการเองได้ โจทก์ร่วมซึ่งเป็นผู้บุพการีของผู้ตายจึงไม่มีอำนาจจัดการแทนผู้ตาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 5 (2) และโจทก์ร่วมไม่มีสิทธิอุทธรณ์ข้อที่สองที่ว่า จำเลยทำร้ายผู้ตายโดยกระทำทารุณโหดร้าย และอุทธรณ์ข้อที่สามที่ขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานทำร้ายผู้ตายจนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายในสถานหนัก ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 5 รับวินิจฉัยอุทธรณ์ข้อที่สองและข้อที่สามของโจทก์ร่วมดังกล่าวจึงเป็นการไม่ชอบ ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225 และแม้ศาลอุทธรณ์ภาค 5 จะพิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ลงโทษจำคุกจำเลยโดยไม่รอการลงโทษ ก็ไม่ก่อให้เกิดสิทธิแก่จำเลยที่จะฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 5 วินิจฉัย เนื่องจากเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 5 ต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 389/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาฟ้องเท็จ: แม้ข้อกล่าวหาไม่เป็นความจริง แต่ขาดเจตนาทำให้ผู้อื่นได้รับโทษ จึงไม่เป็นความผิด
แม้จะได้ความตามคำเบิกความของ ส. พยานโจทก์และคำวินิจฉัยของศาลล่างว่าพฤติการณ์ของโจทก์ทั้งสองขาดเจตนา กระทำความผิดดังที่จำเลยฟ้อง แต่จำเลยก็ฟ้องโจทก์ทั้งสอง เป็นคดีอาญาไปตามความเข้าใจของจำเลยตามที่พบเห็นมา จึงเป็น การขาดเจตนากระทำผิดฐานฟ้องเท็จ การกระทำของจำเลยไม่เป็น ความผิดฐานฟ้องเท็จ คดีโจทก์ไม่มีมูล
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2893/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เหตุเลิกจ้างต้องพิจารณา ณ ขณะเลิกจ้าง ข้อกล่าวหาหลังเกิดเหตุไม่มีผล
การเลิกจ้างที่นายจ้างจะต้องจ่ายค่าชดเชยหรือไม่ จะต้องพิจารณาถึงเหตุแห่งการเลิกจ้างในขณะที่เลิกจ้างเป็นสำคัญ กรณีที่จำเลยอุทธรณ์เป็นการพิพาทกันระหว่างโจทก์กับ จ.เกี่ยวกับการบริหารงานของ จ.ในตำแหน่งประธานกรรมการบริษัทจำเลย มิใช่ปัญหาว่าการบริหารงานของโจทก์ที่ผ่านมาไม่เป็นที่น่าพอใจและไม่น่าไว้วางใจตามที่จำเลยได้ยกขึ้นมาเป็นข้อกล่าวอ้างเพื่อเลิกจ้างโจทก์ ดังนั้น ข้อเท็จจริงดังกล่าวจึงไม่เป็นเหตุแห่งการเลิกจ้างในขณะเลิกจ้างที่จำเลยจะยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ได้ แม้ศาลแรงงานได้กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทและวินิจฉัยไว้ก็ไม่เป็นประโยชน์แก่คดี ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6022/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงข้อกล่าวหาจากทำร้ายร่างกายเป็นเข้าร่วมชุลมุนต่อสู้ การฟ้องต้องสอดคล้องกับข้อเท็จจริงที่พิสูจน์ได้
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยที่1และที่3ร่วมกันเป็นตัวการทำร้ายร่างกายผู้เสียหายเป็นเหตุให้ผู้เสียหายได้รับอันตรายสาหัสขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา297,83ทางพิจารณาได้ความว่าผู้เสียหายถูกทำร้ายเพราะมีการชุลมุนต่อสู้กันระหว่างบุคคลตั้งแต่สามคนขึ้นไปโดยมีจำเลยที่1และที่3ร่วมอยู่ในที่ชุลมุนด้วยสาระสำคัญในการกระทำความผิดที่พิจารณาได้ความคือการชุลมุนต่อสู้กันระหว่างบุคคลตั้งแต่สามคนขึ้นไปแต่ตามฟ้องไม่มีข้อความตอนใดบรรยายถึงข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญของความผิดฐานเข้าร่วมชุลมุนต่อสู้ระหว่างบุคคลตั้งแต่สามคนขึ้นไปอันเป็นเหตุให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดได้รับอันตรายสาหัสซึ่งจะมีผลให้ลงโทษจำเลยที่1และที่3ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา299ได้ต้องถือว่าข้อเท็จจริงที่ปรากฎตามทางพิจารณาแตกต่างกับข้อเท็จจริงที่กล่าวในฟ้องในข้อสาระสำคัญจึงลงโทษจำเลยที่1และที่3ตามทางพิจารณาที่ได้ความไม่ได้เพราะต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา192
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9339/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาฉ้อโกงและการขาดอายุความในคดีฉ้อโกง การเปลี่ยนแปลงข้อกล่าวหาและการพิพากษา
คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลย จำเลยจึงมีสิทธิอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายได้ และจำเลยก็อุทธรณ์ทั้งปัญหาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายด้วย ในชั้นอุทธรณ์จึงมิใช่มีอุทธรณ์แต่ในปัญหาข้อกฎหมาย ดังนั้น ศาลอุทธรณ์จึงไม่ต้องฟังข้อเท็จจริงตามที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยมาแล้วจากพยานหลักฐานในสำนวนการที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยข้อเท็จจริงแตกต่างกับคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้น ย่อมไม่ขัดต่อบทบัญญัติของมาตรา 194 แห่ง ป.วิ.อ.
จำเลยได้ติดต่อให้โจทก์ร่วมทำสัญญาประกันชีวิตกับบริษัท ท.แบบระยะเวลาเอาประกันภัย 21 ปี ในวงเงินเอาประกันภัย 100,000 บาทผู้เอาประกันภัยชำระเบี้ยประกันภัยครั้งเดียวโดยไม่ต้องจ่ายเป็นรายปี และได้รับส่วนลดเป็นพิเศษ โจทก์ร่วมตกลงทำสัญญาประกันชีวิตต่อบริษัท ท.กับจำเลย โดยโจทก์ร่วมทำสัญญาประกันชีวิตตนเอง 1 กรมธรรม์ และทำสัญญาประกันชีวิตให้ ม.อีก 1 กรมธรรม์ โจทก์ร่วมได้ชำระเงินเบี้ยประกันภัยทั้ง 2 กรมธรรม์ ให้แก่จำเลยไปแล้วทั้งหมดรวมเป็นเงิน 179,500 บาท แต่ปรากฏว่าบริษัท ท.ได้รับชำระเบี้ยประกันภัยของโจทก์ร่วมและ ม.เป็นเงินเพียง 10,584 บาท และ 8,659 บาทตามลำดับ ซึ่งเป็นการชำระเบี้ยประกันภัยแบบเอาประกันภัยในระยะเวลาเพียง 1 ปีและโจทก์ร่วมกับ ม.จะต้องชำระเบี้ยประกันภัยเป็นรายปี ปีละครั้ง แสดงว่าโจทก์ร่วมส่งมอบเงินให้จำเลยไปโดยหลงเชื่อว่าจำเลยจะจัดให้โจทก์ร่วมและม.ทำสัญญาประกันชีวิตกับบริษัท ท.แบบชำระเบี้ยประกันภัยครั้งเดียวโดยมีระยะเวลาเอาประกันภัย 21 ปี แต่จำเลยไม่ได้จัดให้มีการทำสัญญาประกันชีวิตในแบบดังกล่าว กลับนำสืบปฏิเสธว่าจำเลยไม่เคยรับเงินจากโจทก์ร่วม และจำเลยเป็นผู้ออกเงินทดรองจ่ายค่าเบี้ยประกันภัยให้โจทก์ร่วมและ ม.ด้วยพฤติการณ์ของจำเลยถือได้ว่าจำเลยมีเจตนาฉ้อโกงโจทก์ร่วม จำเลยจึงมีความผิดฐานฉ้อโกงตามฟ้อง คดีนี้แม้ศาลล่างทั้งสองจะพิพากษาลงโทษจำเลยฐานยักยอกโดยโจทก์และโจทก์ร่วมไม่ได้อุทธรณ์ ฎีกาในปัญหานี้ ศาลฎีกาก็มีอำนาจปรับบทลงโทษจำเลยในข้อหาความผิดฐานฉ้อโกงได้ ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 192วรรคสาม
เมื่อโจทก์ร่วมรู้ว่ากรมธรรม์ประกันชีวิตไม่ได้เป็นไปตามที่ตกลงกันไว้ดังกล่าว จึงทักท้วงต่อจำเลย จำเลยได้ขอเวลาแก้ไขให้ภายใน1 เดือน ในระยะเวลาดังกล่าวโจทก์ร่วมย่อมไม่อาจทราบได้ว่าจำเลยมีเจตนากระทำความผิดหรือไม่ เพราะการออกกรมธรรม์ประกันชีวิตอาจมีข้อบกพร่องผิดพลาดโดยไม่ได้เจตนาก็เป็นได้ ต่อเมื่อโจทก์ร่วมพบกับจำเลยอีกครั้งในวันที่24 กันยายน 2534 และจำเลยได้ปฏิเสธว่า โจทก์ร่วมและ ม.ไม่ได้ทำสัญญาประกันชีวิตกับจำเลยและจำเลยไม่ได้รับเงินค่าเบี้ยประกันภัยจากบุคคลทั้งสองนับแต่วันนั้นจึงถือได้ว่าโจทก์ร่วมรู้ว่าจำเลยเป็นผู้กระทำความผิด เมื่อโจทก์ร่วมไปร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนในวันที่ 9 ธันวาคม 2534 คดีของโจทก์ร่วมจึงไม่ขาดอายุความ
จำเลยได้ติดต่อให้โจทก์ร่วมทำสัญญาประกันชีวิตกับบริษัท ท.แบบระยะเวลาเอาประกันภัย 21 ปี ในวงเงินเอาประกันภัย 100,000 บาทผู้เอาประกันภัยชำระเบี้ยประกันภัยครั้งเดียวโดยไม่ต้องจ่ายเป็นรายปี และได้รับส่วนลดเป็นพิเศษ โจทก์ร่วมตกลงทำสัญญาประกันชีวิตต่อบริษัท ท.กับจำเลย โดยโจทก์ร่วมทำสัญญาประกันชีวิตตนเอง 1 กรมธรรม์ และทำสัญญาประกันชีวิตให้ ม.อีก 1 กรมธรรม์ โจทก์ร่วมได้ชำระเงินเบี้ยประกันภัยทั้ง 2 กรมธรรม์ ให้แก่จำเลยไปแล้วทั้งหมดรวมเป็นเงิน 179,500 บาท แต่ปรากฏว่าบริษัท ท.ได้รับชำระเบี้ยประกันภัยของโจทก์ร่วมและ ม.เป็นเงินเพียง 10,584 บาท และ 8,659 บาทตามลำดับ ซึ่งเป็นการชำระเบี้ยประกันภัยแบบเอาประกันภัยในระยะเวลาเพียง 1 ปีและโจทก์ร่วมกับ ม.จะต้องชำระเบี้ยประกันภัยเป็นรายปี ปีละครั้ง แสดงว่าโจทก์ร่วมส่งมอบเงินให้จำเลยไปโดยหลงเชื่อว่าจำเลยจะจัดให้โจทก์ร่วมและม.ทำสัญญาประกันชีวิตกับบริษัท ท.แบบชำระเบี้ยประกันภัยครั้งเดียวโดยมีระยะเวลาเอาประกันภัย 21 ปี แต่จำเลยไม่ได้จัดให้มีการทำสัญญาประกันชีวิตในแบบดังกล่าว กลับนำสืบปฏิเสธว่าจำเลยไม่เคยรับเงินจากโจทก์ร่วม และจำเลยเป็นผู้ออกเงินทดรองจ่ายค่าเบี้ยประกันภัยให้โจทก์ร่วมและ ม.ด้วยพฤติการณ์ของจำเลยถือได้ว่าจำเลยมีเจตนาฉ้อโกงโจทก์ร่วม จำเลยจึงมีความผิดฐานฉ้อโกงตามฟ้อง คดีนี้แม้ศาลล่างทั้งสองจะพิพากษาลงโทษจำเลยฐานยักยอกโดยโจทก์และโจทก์ร่วมไม่ได้อุทธรณ์ ฎีกาในปัญหานี้ ศาลฎีกาก็มีอำนาจปรับบทลงโทษจำเลยในข้อหาความผิดฐานฉ้อโกงได้ ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 192วรรคสาม
เมื่อโจทก์ร่วมรู้ว่ากรมธรรม์ประกันชีวิตไม่ได้เป็นไปตามที่ตกลงกันไว้ดังกล่าว จึงทักท้วงต่อจำเลย จำเลยได้ขอเวลาแก้ไขให้ภายใน1 เดือน ในระยะเวลาดังกล่าวโจทก์ร่วมย่อมไม่อาจทราบได้ว่าจำเลยมีเจตนากระทำความผิดหรือไม่ เพราะการออกกรมธรรม์ประกันชีวิตอาจมีข้อบกพร่องผิดพลาดโดยไม่ได้เจตนาก็เป็นได้ ต่อเมื่อโจทก์ร่วมพบกับจำเลยอีกครั้งในวันที่24 กันยายน 2534 และจำเลยได้ปฏิเสธว่า โจทก์ร่วมและ ม.ไม่ได้ทำสัญญาประกันชีวิตกับจำเลยและจำเลยไม่ได้รับเงินค่าเบี้ยประกันภัยจากบุคคลทั้งสองนับแต่วันนั้นจึงถือได้ว่าโจทก์ร่วมรู้ว่าจำเลยเป็นผู้กระทำความผิด เมื่อโจทก์ร่วมไปร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนในวันที่ 9 ธันวาคม 2534 คดีของโจทก์ร่วมจึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7945/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงข้อกล่าวหาจากทำร้ายร่างกายสาหัสเป็นความผิดฐานประทุษร้ายต่อร่างกายจากเหตุชุลมุน
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยร่วมกันทำร้ายร่างกายผู้เสียหายจนได้รับอันตรายสาหัส ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 297 แต่ทางพิจารณาได้ความว่าผู้เสียหายถูกทำร้ายเนื่องจากมีการชุลมุนต่อสู้กันระหว่างบุคคลตั้งแต่สามคนขึ้นไป ถือว่าข้อเท็จจริงที่ปรากฎในทางพิจารณาแตกต่างกับข้อเท็จจริงที่กล่าวในฟ้องในข้อสาระสำคัญ ลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 299 ไม่ได้ เพราะต้องห้ามตามป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7945/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อกล่าวหาต่างจากฟ้องชุลมุนต่อสู้ลงโทษไม่ได้ตามวิธีพิจารณาความอาญา
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยร่วมกันทำร้ายร่างกายผู้เสียหายจนได้รับอันตรายสาหัสขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา297แต่ทางพิจารณาได้ความว่าผู้เสียหายถูกทำร้ายเนื่องจากมีการชุลมุนต่อสู้กันระหว่างบุคคลตั้งแต่สามคนขึ้นไปถือว่าข้อเท็จจริงที่ปรากฏในทางพิจารณาแตกต่างกับข้อเท็จจริงที่กล่าวในฟ้องในข้อสาระสำคัญลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา299ไม่ได้เพราะต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา192วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5985/2538 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการพิพากษาลงโทษตามข้อเท็จจริงที่ได้ความ แม้ต่างจากข้อกล่าวหาเดิม
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยพยายามลักรถจักรยานยนต์ แต่ในการพิจารณาได้ความว่า จำเลยลักชิ้นส่วนของรถจักรยานยนต์ซึ่งเป็นชิ้นส่วนของรถจักรยานยนต์คันเดียวกับที่โจทก์ฟ้อง มิใช่เป็นข้อแตกต่างในข้อสาระสำคัญ และทั้งจำเลยก็ให้การปฏิเสธว่าไม่ได้กระทำผิด จึงไม่ได้หลงต่อสู้ ศาลมีอำนาจพิพากษาลงโทษจำเลยตามข้อเท็จจริงที่ได้ความนี้ได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5985/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงข้อกล่าวหาจากพยายามลักทรัพย์เป็นลักทรัพย์ชิ้นส่วน: ศาลมีอำนาจพิจารณาลงโทษตามข้อเท็จจริงที่ได้ความ
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยพยายามลักรถจักรยานยนต์แต่ในการพิจารณาได้ความว่าจำเลยลักชิ้นส่วนของรถจักรยานยนต์ซึ่งเป็นชิ้นส่วนของรถจักรยานยนต์คันเดียวกับที่โจทก์ฟ้องมิใช่เป็นข้อแตกต่างในข้อสาระสำคัญและทั้งจำเลยก็ให้การปฏิเสธว่าไม่ได้กระทำผิดจึงไม่ได้หลงต่อสู้ศาลมีอำนาจพิพากษาลงโทษจำเลยตามข้อเท็จจริงที่ได้ความนี้ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา192วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6471/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการวินิจฉัยคดีอาญา: การเปลี่ยนแปลงข้อกล่าวหาจากพยายามฆ่าเป็นทำร้ายร่างกาย
จำเลยที่ 2 ใช้เหล็กขูดชาฟท์แทงทำร้ายผู้เสียหายที่ 1 จำนวน2 ครั้ง ในลักษณะเลือกแทงและแทงโดยแรง ปรากฏว่าผู้เสียหายที่ 1 มีบาดแผลที่คอด้านหลังข้างขวาเหนือกระดูกไหปลาร้า ยาวประมาณครึ่งนิ้ว ลึกเข้าไปข้างในที่กระดูกสะบักข้างขวามีลมรั่วในช่องปอดข้างขวาต้องเจาะเอาลมออก แพทย์ลงความเห็นว่าถ้าร้กษาไม่ถูกต้องอาจทำให้ถึงตายได้ การกระทำของจำเลยที่ 2ถือได้ว่ามีเจตนาจะฆ่าผู้เสียหายที่ 1 ให้ตาย จึงเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 288ประกอบมาตรา 80
ที่โจทก์ฎีกาว่า การกระทำของจำเลยที่ 2 เป็นความผิดฐานพยายามฆ่าหรือเป็นเพียงฐานทำร้ายร่างกายเป็นปัญหาข้อเท็จจริง ซึ่งจำเลยที่ 2มิได้โต้แย้งไว้ในอุทธรณ์ ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 ไม่ประสงค์ต่อสู้ในปัญหานี้ ศาลอุทธรณ์ภาค 1 จึงไม่มีอำนาจวินิจฉัยนั้น คดีนี้โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 2 ใช้เหล็กขูดชาฟท์แทงพยายามฆ่าผู้เสียหายที่ 2 เป็นเหตุให้ผู้เสียหายที่ 2 ได้รับอันตรายสาหัสศาลชั้นต้นลงโทษจำเลยที่ 2 ตามฟ้อง จำเลยที่ 2 อุทธรณ์ว่าไม่ได้กระทำผิดตามที่โจทก์ฟ้อง เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 1 ฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยที่ 2 มิได้มีเจตนาฆ่าผู้เสียหายที่ 2 มีเพียงเจตนาทำร้ายเท่านั้น ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ย่อมมีอำนาจวินิจฉัยว่า จำเลยที่ 2 มีความผิดเพียงฐานทำร้ายร่างกายผู้เสียหายที่ 2 ได้ แม้ว่าจำเลยที่ 2 จะมิได้โต้แย้งไว้ในชั้นอุทธรณ์ว่า การกระทำของจำเลยที่ 2 เป็นความผิดฐานพยายามฆ่าหรือทำร้ายร่างกายผู้เสียหายที่ 2 ก็ตาม
ที่โจทก์ฎีกาว่า การกระทำของจำเลยที่ 2 เป็นความผิดฐานพยายามฆ่าหรือเป็นเพียงฐานทำร้ายร่างกายเป็นปัญหาข้อเท็จจริง ซึ่งจำเลยที่ 2มิได้โต้แย้งไว้ในอุทธรณ์ ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 ไม่ประสงค์ต่อสู้ในปัญหานี้ ศาลอุทธรณ์ภาค 1 จึงไม่มีอำนาจวินิจฉัยนั้น คดีนี้โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 2 ใช้เหล็กขูดชาฟท์แทงพยายามฆ่าผู้เสียหายที่ 2 เป็นเหตุให้ผู้เสียหายที่ 2 ได้รับอันตรายสาหัสศาลชั้นต้นลงโทษจำเลยที่ 2 ตามฟ้อง จำเลยที่ 2 อุทธรณ์ว่าไม่ได้กระทำผิดตามที่โจทก์ฟ้อง เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 1 ฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยที่ 2 มิได้มีเจตนาฆ่าผู้เสียหายที่ 2 มีเพียงเจตนาทำร้ายเท่านั้น ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ย่อมมีอำนาจวินิจฉัยว่า จำเลยที่ 2 มีความผิดเพียงฐานทำร้ายร่างกายผู้เสียหายที่ 2 ได้ แม้ว่าจำเลยที่ 2 จะมิได้โต้แย้งไว้ในชั้นอุทธรณ์ว่า การกระทำของจำเลยที่ 2 เป็นความผิดฐานพยายามฆ่าหรือทำร้ายร่างกายผู้เสียหายที่ 2 ก็ตาม