พบผลลัพธ์ทั้งหมด 22 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1118/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฎีกาเรื่องภาระจำยอมต้องยกขึ้นว่ากันในศาลชั้นต้น หากฎีกาในประเด็นใหม่ถือว่าเป็นการขัดต่อข้อจำกัดการฎีกา
จำเลยให้การต่อสู้ว่าที่ดินที่ใช้วางท่อระบายน้ำทิ้งเป็นที่ดินของจำเลยโดยการครอบครองปรปักษ์ เป็นการ ต่อสู้กรรมสิทธิ์ จำเลยมิได้ให้การต่อสู้ว่า ใช้ที่ดินตรงที่วางท่อระบายน้ำทิ้งโดยเจตนาจะให้ได้ภาระจำยอม ฎีกาของจำเลยจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง แม้ผู้พิพากษาที่ได้นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นรับรองให้ฎีกาในข้อเท็จจริง ศาลฎีกาก็ไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2528/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทุนทรัพย์พิพาทต่ำกว่า 200,000 บาท ทำให้ฎีกาต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248
โจทก์ทั้งสามฟ้องขอให้บังคับจำเลยแบ่งที่ดินราคา1,200,000 บาท ซึ่งเป็นทรัพย์มรดกแก่โจทก์ทั้งสามคนละส่วนรวม 3 ส่วน ใน 6 ส่วน แม้โจทก์ทั้งสามจะฟ้องรวมกันมา การอุทธรณ์ฎีกาของจำเลยก็ต้องถือทุนทรัพย์ตามทุนทรัพย์ของโจทก์แต่ละคนแยกกัน เพราะเป็นเรื่องที่โจทก์แต่ละคนใช้สิทธิเฉพาะตน เมื่อที่ดินพิพาทแต่ละส่วนที่โจทก์แต่ละคนฟ้องขอแบ่งมีราคาไม่เกิน 200,000 บาท ราคาทรัพย์สินหรือทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาสำหรับจำเลยต่อโจทก์แต่ละคนจึงไม่เกิน 200,000 บาท ต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1881/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งความรับผิดในความเสียหายจากความประมาทเลินเล่อทางธนาคาร และข้อจำกัดในการฎีกาตามมูลค่าคดี
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสี่ร่วมกันชำระเงินจำนวน 499,375 บาท พร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้อง ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1 และที่ 3 ร่วมกันชดใช้เงินจำนวน287,808.90 บาท พร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้อง และให้จำเลยที่ 1และที่ 4 ร่วมกันชดใช้เงินจำนวน 213,191.78 บาทพร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้อง ส่วนจำเลยที่ 2 ให้ยกฟ้องโจทก์ไม่อุทธรณ์ คดีระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 เป็นอัน ถึงที่สุดตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ส่วนจำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 4 อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์เห็นว่า ความเสียหายที่เกิดขึ้นเกิดจากโจทก์และจำเลยที่ 3 ที่ 4 ต่างขาดความระมัดระวังด้วยกัน พฤติการณ์มิได้ยิ่งหย่อนกว่ากัน จึงให้จำเลยที่ 1ที่ 3 และที่ 4 รับผิดต่อโจทก์กึ่งหนึ่ง พิพากษาให้จำเลยที่ 1และที่ 3 ร่วมกันชดใช้เงินจำนวน 143,437.50 บาท พร้อมดอกเบี้ย และให้จำเลยที่ 1 และที่ 4 ร่วมกันชดใช้เงิน จำนวน 106,250 บาท พร้อมดอกเบี้ย ที่โจทก์ฎีกาว่า จำเลยที่ 3 และที่ 4 ประมาทเลินเล่อแต่ฝ่ายเดียว หากฟังว่า โจทก์มีส่วนก่อให้เกิดความเสียหาย ความเสียหายส่วนที่ โจทก์ก่อก็มีเพียงเล็กน้อย จึงไม่เห็นด้วยที่จะให้จำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 4 รับผิดต่อโจทก์เพียงกึ่งหนึ่งเท่านั้น เป็นฎีกาในข้อเท็จจริง เมื่อทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกา ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 และที่ 3 และระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 และที่ 4 ไม่เกิน 200,000 บาท จึงต้องห้าม มิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5543/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนที่ดินผิดวัตถุประสงค์และข้อจำกัดการฎีกาในคดีมีทุนทรัพย์ไม่เกินสองแสนบาท
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์มิได้มีเจตนาจะยกที่ดินพิพาทในคดีนี้ให้เป็นทางสาธารณประโยชน์ แต่จำเลยกลับจดทะเบียน ให้ที่ดินพิพาทเป็นทางสาธารณประโยชน์ ขัดต่อเจตนาของโจทก์ ขอให้จำเลยจดทะเบียนแก้คำว่า แบ่งหักให้เป็นทางสาธารณประโยชน์ ออกไปจากโฉนดที่ดินของโจทก์ แล้วใส่ชื่อโจทก์แทน เมื่อปรากฎตามหลักฐานทางทะเบียนว่าที่ดินพิพาทไม่ใช่ของโจทก์แต่เป็นทางสาธารณประโยชน์ ดังนั้น หากโจทก์ชนะคดีโจทก์ย่อมได้รับที่ดินพิพาทดังกล่าวกลับคืนมาเป็นของโจทก์จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4931/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์, ทุนทรัพย์, ข้อจำกัดการฎีกา: คดีที่ดินราคาไม่เกินสองแสนบาท ไม่อาจฎีกาในข้อเท็จจริงได้
คดีนี้ผู้ร้องยื่นคำร้องขอว่า ผู้ร้องได้กรรมสิทธิ์ที่ดินรวม 3 แปลงมาโดยการครอบครองปรปักษ์ ผู้คัดค้านยื่นคำคัดค้านว่า การเข้าครอบครองที่ดินดังกล่าวครอบครองแทน พ. กรณีจึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในที่ดินตามคำร้องขอ เป็นคดีมีทุนทรัพย์ และศาลจะต้องแยกพิจารณาที่ดินแต่ละแปลงออกต่างหากจากกันเป็นรายแปลงว่าเป็นดังที่ผู้ร้องกล่าวอ้างหรือเป็นดังที่ผู้คัดค้านยื่นคำคัดค้านทุนทรัพย์จึงต้องแยกออกเฉพาะที่ดินแต่ละแปลง เมื่อปรากฎว่าที่ดินทั้งสามแปลงมีราคาแปลงละไม่เกินสองแสนบาท จึงเป็นคดีที่ราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาของที่ดินแต่ละแปลงไม่เกินสองแสนบาท อันต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ.มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 229/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกานอกเหนือคำให้การ และข้อจำกัดการฎีกาในข้อเท็จจริงเมื่อทุนทรัพย์ไม่เกิน 200,000 บาท
ที่จำเลยฎีกาเป็นข้อกฎหมายว่าโจทก์ยังมิได้บอกเลิกสัญญาเช่าซื้อจึงไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายเป็นค่าขาดประโยชน์และค่าติดตามรถยนต์คันที่เช่าซื้อนั้นจำเลยให้การแต่เพียงว่ารถยนต์มีสภาพเก่าและโจทก์มิได้ประสงค์จะให้ผู้ใดเช่าจึงไม่มีสิทธิเรียกค่าขาดประโยชน์ส่วนค่าติดตามรถยนต์จำเลยเป็นผู้แจ้งโจทก์ให้ไปรับรถยนต์เองมิใช่กรณีที่โจทก์ติดตามยึดนั้นจำเลยมิได้ให้การว่าสัญญายังมิได้เลิกกันโจทก์ไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายจำเลยจึงไม่มีสิทธิยกประเด็นดังกล่าวขึ้นฎีกาได้เพราะเป็นข้อฎีกาที่นอกเหนือจากคำให้การของจำเลยศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย ส่วนที่จำเลยฎีกาว่าค่าขาดประโยชน์ที่ศาลอุทธรณ์กำหนดสูงเกินไปนั้นเมื่อทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกิน200,000บาทฎีกาของจำเลยข้อนี้จึงต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา248วรรคหนึ่งศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้เช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7195/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของผู้เยาว์, การแก้ไขข้อบกพร่อง, และข้อจำกัดในการฎีกาข้อเท็จจริงเมื่อมีทุนทรัพย์พิพาทจำกัด
จำเลยฎีกาว่าโจทก์ไม่่มีอำนาจฟ้องปัญหานี้เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้จะมิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์จำเลยก็มีสิทธิยกขึ้นฎีกาได้ คดีนี้เป็นคดีละเมิดมิใช่คดีครอบครัวที่ฟ้องหรือร้องขอต่อศาลหรือกระทำการใดๆในทางศาลเกี่ยวกับผู้เยาว์หรือครอบครัวซึ่งจะต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา11(3)แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวพ.ศ.2534ดังนั้นเมื่อมีข้อบกพร่องเกี่ยวกับเรื่องความสามารถของโจทก์ที่2ถึงที่7ซึ่งเป็นผู้เยาว์ในคดีนี้ศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจแก้ไขข้อบกพร่องโดยตั้งโจทก์ที่1เป็นผู้แทนเฉพาะคดีให้แก่โจทก์ที่2ถึงที่7ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา56วรรคสุดท้าย โดยโจทก์ที่1ไม่จำต้องขออำนาจในการดำเนินคดีนี้แทนโจทก์ที่2ถึงที่7จากศาลเยาวชนและครอบครัว คดีนี้โจทก์ทั้งแปดต่างใช้สิทธิเฉพาะตัวของโจทก์แต่ละคนฟ้องให้จำเลยทั้งห้าร่วมกันใช้ค่าเสียหายอันเกิดจากการกระทำละเมิดแม้จะฟ้องรวมกันมาก็ต้องถือทุนทรัพย์ของโจทก์แต่ละคนแยกกันเมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยที่2ที่3และที่4ร่วมกันรับผิดใช้ค่าเสียหายพร้อมดอกเบี้ยนับถึงวันฟ้องให้แก่โจทก์แต่ละคนไม่เกินสองแสนบาทซึ่งถือเป็นทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกาจึงต้องห้ามมิให้จำเลยที่2ที่3และที่4ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา248วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 644/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่รับเนื่องจากข้อจำกัดการฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคสอง กรณีฟ้องขับไล่และค่าเสียหาย
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์ทำสัญญาจะขายที่ดินพิพาทให้จำเลยและจำเลยได้ว่าจ้างโจทก์ให้ก่อสร้างบ้านในที่ดินดังกล่าวต่อมาจำเลยผิดสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทโจทก์บอกเลิกสัญญาแล้วแต่จำเลยไม่ยอมออกจากที่ดินและบ้านของโจทก์จึงขอให้ขับไล่จำเลยออกจากที่ดินและบ้านพิพาทพร้อมทั้งให้ชำระค่าเสียหายแก่โจทก์เมื่อจำเลยให้การต่อสู้ว่าจำเลยไม่ได้ผิดสัญญาโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาโจทก์จึงไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาส่วนบ้านพิพาทนั้นจำเลยได้ว่าจ้างบุคคลอื่นก่อสร้างโดยมิได้ฟ้องแย้งให้โจทก์โอนที่ดินพิพาทให้จำเลยด้วยดังนั้นแม้บ้านพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยแต่ก็ปลูกอยู่ในที่ดินพิพาทหากจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาและโจทก์บอกเลิกสัญญาแล้วจำเลยก็อยู่ในที่ดินพิพาทต่อไปอีกไม่ได้จึงเป็นการฟ้องขับไล่จำเลยออกจากอสังหาริมทรัพย์เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เดือนละ2,000บาทโจทก์ไม่ฎีกาย่อมฟังได้ว่าในขณะที่ยื่นคำฟ้องนั้นที่ดินและบ้านพิพาทอาจให้เช่าได้ไม่เกินเดือนละ2,000บาทจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา248
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 622/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการฎีกา, สัญญาประนีประนอมยอมความ, การทำนิติกรรมแทนผู้เยาว์, สิทธิเรียกร้องค่าขาดไร้อุปการะ
ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่า จำเลยที่ 3 ไม่ได้ขับรถโดยสาร-ประจำทางด้วยความประมาทเลินเล่อไม่ได้ทำละเมิด จำเลยที่ 1 และที่ 2ซึ่งเป็นนายจ้างไม่ต้องร่วมรับผิด โจทก์ที่ 2 ที่ 5 และที่ 6 ฎีกาว่า จำเลยที่ 3ขับรถโดยสารประจำทางด้วยความประมาทเลินเล่อเป็นการทำละเมิด เป็นการฎีกาโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ เป็นฎีกาในข้อเท็จจริงคดีนี้ทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกาของโจทก์ที่ 2 จำนวนเงิน 90,000 บาท โจทก์ที่ 5และที่ 6 จำนวนเงินคนละ 60,000 บาท ทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกาของโจทก์ที่ 2ที่ 5 และที่ 6 แต่ละคนไม่เกินสองแสนบาท ต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตามป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
จำเลยที่ 4 และที่ 5 ฎีกาว่า โจทก์ที่ 3 และที่ 4 ไม่ได้เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของ พ. ปรากฏว่าจำเลยที่ 4 และที่ 5 ให้การในข้อนี้ว่าโจทก์ที่ 3 และที่ 4 เป็นบุตรของ พ.หรือไม่ ไม่ทราบไม่รับรอง ซึ่งเป็นคำให้การที่ไม่ชัดแจ้ง ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง คดีจึงไม่มีประเด็นว่าโจทก์ที่ 3 และที่ 4 เป็นบุตรของ พ.หรือไม่ ฎีกาของจำเลยที่ 4 และที่ 5 ในปัญหานี้จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
หลังเกิดเหตุก่อนที่ พ.ถึงแก่ความตาย โจทก์ที่ 1 กับจำเลยที่ 4 และที่ 5 ได้ทำบันทึกชดใช้ค่าเสียหายโดยมีข้อตกลงว่า จำเลยที่ 4 และที่ 5ตกลงใช้เงินจำนวน 150,000 บาท และโจทก์ที่ 1 ตกลงว่าค่าเสียหายส่วนอื่นนอกเหนือจากที่ตกลงกันและที่จะมีขึ้นต่อไป โจทก์ที่ 1 จะไม่ใช้สิทธิเรียกร้องใด ๆจากจำเลยที่ 4 และที่ 5 บันทึกข้อตกลงดังกล่าวจึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์ที่ 1 กับจำเลยที่ 4 และที่ 5 เป็นผลให้หนี้ในมูลละเมิดระหว่างโจทก์ที่ 1 กับจำเลยที่ 4 และที่ 5 ที่มีอยู่ระงับสิ้นไป ทำให้แต่ละฝ่ายได้สิทธิตามที่แสดงไว้ในสัญญาตาม ป.พ.พ. มาตรา 852 เมื่อจำเลยที่ 4 และที่ 5 ชำระเงินให้แก่โจทก์ที่ 1 ครบถ้วนตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวแล้ว โจทก์ที่ 1 จะมาฟ้องจำเลยที่ 4 และที่ 5 เพื่อเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนอันเกิดจากมูลละเมิดที่ระงับสิ้นไปแล้วหาได้ไม่
โจทก์ที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ยังเป็นผู้เยาว์ การที่โจทก์ที่ 1ซึ่งเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองผู้เยาว์ทั้งสามจะตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับจำเลยที่ 4 และที่ 5 แทนผู้เยาว์ทั้งสาม ซึ่งถือเป็นการทำนิติกรรมอันเกี่ยวกับทรัพย์สินของผู้เยาว์ทั้งสามจะต้องได้รับอนุญาตจากศาลก่อน ตามบทบัญญัติแห่งป.พ.พ. มาตรา 1574 (8) เดิม (มาตรา 1574 (12) ที่ได้ตรวจชำระใหม่)เมื่อไม่ได้รับอนุญาตจากศาลสัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์ที่ 1 กับจำเลยที่ 4 และที่ 5 จึงไม่มีผลผูกพันโจทก์ที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ซึ่งเป็นผู้เยาว์ในอันที่จะใช้สิทธิเรียกร้องค่าขาดไร้อุปการะจากจำเลยที่ 4 และที่ 5
การใช้สิทธิเรียกค่าขาดไร้อุปการะเป็นสิทธิเฉพาะตัวของโจทก์ที่ 5 และที่ 6 เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ที่ 5 และที่ 6 ได้มอบอำนาจให้โจทก์ที่ 1ไปทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับจำเลยที่ 4 และที่ 5 สัญญาดังกล่าวจึงไม่มีผลผูกพันโจทก์ที่ 5 และที่ 6
จำเลยที่ 4 และที่ 5 ฎีกาว่า โจทก์ที่ 3 และที่ 4 ไม่ได้เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของ พ. ปรากฏว่าจำเลยที่ 4 และที่ 5 ให้การในข้อนี้ว่าโจทก์ที่ 3 และที่ 4 เป็นบุตรของ พ.หรือไม่ ไม่ทราบไม่รับรอง ซึ่งเป็นคำให้การที่ไม่ชัดแจ้ง ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง คดีจึงไม่มีประเด็นว่าโจทก์ที่ 3 และที่ 4 เป็นบุตรของ พ.หรือไม่ ฎีกาของจำเลยที่ 4 และที่ 5 ในปัญหานี้จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
หลังเกิดเหตุก่อนที่ พ.ถึงแก่ความตาย โจทก์ที่ 1 กับจำเลยที่ 4 และที่ 5 ได้ทำบันทึกชดใช้ค่าเสียหายโดยมีข้อตกลงว่า จำเลยที่ 4 และที่ 5ตกลงใช้เงินจำนวน 150,000 บาท และโจทก์ที่ 1 ตกลงว่าค่าเสียหายส่วนอื่นนอกเหนือจากที่ตกลงกันและที่จะมีขึ้นต่อไป โจทก์ที่ 1 จะไม่ใช้สิทธิเรียกร้องใด ๆจากจำเลยที่ 4 และที่ 5 บันทึกข้อตกลงดังกล่าวจึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์ที่ 1 กับจำเลยที่ 4 และที่ 5 เป็นผลให้หนี้ในมูลละเมิดระหว่างโจทก์ที่ 1 กับจำเลยที่ 4 และที่ 5 ที่มีอยู่ระงับสิ้นไป ทำให้แต่ละฝ่ายได้สิทธิตามที่แสดงไว้ในสัญญาตาม ป.พ.พ. มาตรา 852 เมื่อจำเลยที่ 4 และที่ 5 ชำระเงินให้แก่โจทก์ที่ 1 ครบถ้วนตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวแล้ว โจทก์ที่ 1 จะมาฟ้องจำเลยที่ 4 และที่ 5 เพื่อเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนอันเกิดจากมูลละเมิดที่ระงับสิ้นไปแล้วหาได้ไม่
โจทก์ที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ยังเป็นผู้เยาว์ การที่โจทก์ที่ 1ซึ่งเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองผู้เยาว์ทั้งสามจะตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับจำเลยที่ 4 และที่ 5 แทนผู้เยาว์ทั้งสาม ซึ่งถือเป็นการทำนิติกรรมอันเกี่ยวกับทรัพย์สินของผู้เยาว์ทั้งสามจะต้องได้รับอนุญาตจากศาลก่อน ตามบทบัญญัติแห่งป.พ.พ. มาตรา 1574 (8) เดิม (มาตรา 1574 (12) ที่ได้ตรวจชำระใหม่)เมื่อไม่ได้รับอนุญาตจากศาลสัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์ที่ 1 กับจำเลยที่ 4 และที่ 5 จึงไม่มีผลผูกพันโจทก์ที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ซึ่งเป็นผู้เยาว์ในอันที่จะใช้สิทธิเรียกร้องค่าขาดไร้อุปการะจากจำเลยที่ 4 และที่ 5
การใช้สิทธิเรียกค่าขาดไร้อุปการะเป็นสิทธิเฉพาะตัวของโจทก์ที่ 5 และที่ 6 เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ที่ 5 และที่ 6 ได้มอบอำนาจให้โจทก์ที่ 1ไปทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับจำเลยที่ 4 และที่ 5 สัญญาดังกล่าวจึงไม่มีผลผูกพันโจทก์ที่ 5 และที่ 6
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9245/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคำนวณทุนทรัพย์พิพาทในคดีประกันภัย และข้อจำกัดการฎีกาเมื่อทุนทรัพย์ไม่เกิน 200,000 บาท
โจทก์ที่ 1 และที่ 2 ได้ร่วมกันรับประกันภัยทรัพย์พิพาทในวงเงินไม่เกิน 360,000 บาท ทั้งนี้โดยโจทก์ที่ 1 และที่ 2 จะต้องรับผิดชดใช้ในวงเงินร้อยละ 60 และ 40 ของค่าเสียหายทั้งหมดตามลำดับ เมื่อเกิดวินาศภัยขึ้นตามสัญญาและโจทก์ทั้งสองได้ร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายตามวินาศภัยจริงให้แก่ผู้เอาประกันภัยตามส่วนที่รับประกันภัยไว้แล้ว จึงรับช่วงสิทธิจากผู้เอาประกันภัยมาร่วมกันเป็นโจทก์ฟ้องจำเลย ซึ่งเป็นนายจ้างหรือตัวการของผู้ทำละเมิดให้ร่วมรับผิดใช้เงินแก่โจทก์ทั้งสอง ดังนี้ การคำนวณทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกา ต้องถือทุนทรัพย์ของโจทก์แต่ละคนแยกต่างหากจากกัน คดีนี้ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยมิใช่นายจ้างหรือตัวการของคนขับรถบรรทุกผู้ทำละเมิด จำเลยจึงไม่ต้องรับผิด ดังนี้ การที่โจทก์ที่ 1 และที่ 2 ฎีกาขอให้ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า แม้โจทก์ทั้งสองจะไม่มีพยานยืนยันว่าคนขับรถบรรทุกดังกล่าวเป็นลูกจ้างหรือตัวแทนของจำเลยก็ตามแต่คำพยานจำเลยก็ไม่มีน้ำหนักรับฟังนั้น เป็นการฎีกาโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐาน ซึ่งเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง เมื่อปรากฏว่า คดีนี้ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาของโจทก์ทั้งสองแต่ละคนไม่เกิน 200,000 บาท จึงต้องห้ามมิให้ฎีกา ตามป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง