คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ข้อตกลงใหม่

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 15 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3785/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ: คดีเดิมพิพากษาถึงที่สุดแล้ว การฟ้องใหม่โดยอ้างข้อตกลงใหม่จึงเป็นเรื่องที่เคยวินิจฉัยแล้ว
คดีก่อนจำเลยฟ้องโจทก์ว่า โจทก์ทำสัญญาเช่าที่ดินพิพาทจากจำเลย ต่อมาจำเลยบอกเลิกสัญญาเช่าแล้วแต่โจทก์ไม่ยอมส่งมอบที่ดินพิพาทคืนแก่จำเลย ศาลพิพากษาให้โจทก์และบริวารออกไปจากที่ดินพิพาทและส่งมอบที่ดินพิพาทคืนแก่จำเลยในสภาพเรียบร้อย คดีถึงที่สุด และอยู่ในระหว่างการบังคับคดี การที่โจทก์มาฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ขอให้ห้ามจำเลยเข้ามารบกวนการครอบครองที่ดินพิพาท โดยอ้างว่าจำเลยยังมีสิทธิอยู่ในที่ดินพิพาทต่อไปเนื่องจากโจทก์และจำเลยได้มีข้อตกลงการเช่าที่ดินพิพาทกันขึ้นมาใหม่โดยไม่มีกำหนดระยะเวลาการเช่าและไม่มีสัญญาเช่าระหว่างกันนั้น โจทก์มิได้ขอให้บังคับจำเลยตามข้อตกลงการเช่าที่ดินพิพาทที่โจทก์อ้างแต่อย่างใด เพียงแต่ขอให้ห้ามจำเลยเข้ามารบกวนการครอบครองที่ดินพิพาทเท่านั้น จึงเห็นได้ว่าเป็นการที่โจทก์ยกข้ออ้างขึ้นมาเพื่อไม่ให้โจทก์ต้องถูกบังคับคดีในคดีก่อนนั่นเอง ข้อตกลงการเช่าใหม่ตามข้ออ้างของโจทก์ดังกล่าวจึงเป็นเรื่องที่เกี่ยวเนื่องมาจากสัญญาเช่าในคดีก่อนซึ่งศาลได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้วว่าการบอกเลิกสัญญาเช่าที่ดินพิพาทของจำเลยเป็นการชอบแล้ว โจทก์ไม่มีสิทธิที่จะอยู่ในที่ดินพิพาทต่อไป ให้ขับไล่โจทก์พร้อมบริวารออกไปจากที่ดินพิพาท การที่โจทก์กลับมาฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ถือได้ว่าเป็นการรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน จึงเป็นฟ้องซ้ำกับคดีก่อน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7080/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าและประนีประนอมยอมความ: การต่อสัญญาเช่าต้องมีข้อตกลงใหม่ การไม่ต่อสัญญาไม่ถือเป็นการผิดสัญญา
สัญญาประนีประนอมยอมความข้อ4.1ระบุว่าผู้ให้สัญญา(จำเลยที่1)ต้องสร้างอาคาร3หลังแล้วยกให้เป็นกรรมสิทธิ์ของผู้รับสัญญา(โจทก์)และผู้รับสัญญา(โจทก์)ตกลงให้ผู้ให้สัญญา(จำเลยที่1)ใช้ประโยชน์เพื่อกิจการในอาคารและที่ดินบริเวณข้างเคียงมีกำหนดระยะเวลา3ปีแสดงว่าโจทก์และจำเลยที่1ตกลงจะตอบแทนกันเพียง3ปีและจำเลยที่1มีสิทธิที่จะขอต่ออายุสัญญาเป็นรายปีตามสัญญาข้อ4.3ดังนั้นแม้จะฟังว่าสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวเป็นสัญญาต่างตอบแทนพิเศษยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดาก็มีกำหนดระยะเวลาเพียง3ปีส่วนสัญญาเช่ารายพิพาทมีผลบังคับตามกำหนดระยะเวลาในสัญญาแยกต่างหากจากสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าว สัญญาเช่ารายพิพาทข้อ9ระบุว่าก่อนครบกำหนดอายุสัญญาถ้าผู้ให้สัญญา(จำเลยที่1)ประสงค์จะใช้ประโยชน์ในอาคารและที่ดินต่อไปให้ผู้ให้สัญญายื่นความจำนงเป็นลายลักษณ์อักษรต่อผู้รับสัญญา(โจทก์)ภายใน60วันก่อนครบกำหนดสัญญานี้เพื่อขออนุญาตใช้ประโยชน์ในอาคารและที่ดินต่อไปข้อสัญญาดังกล่าวนี้ระบุให้จำเลยที่1ยื่นความจำนงเพื่อขออนุญาตจากโจทก์จึงเป็นเพียงข้อตกลงที่ให้โจทก์จำเลยที่1ที่จะทำการต่อสัญญาได้เท่านั้นแต่การที่จะอนุญาตตามคำขอหรือไม่นั้นเป็นเรื่องที่โจทก์จะพิจารณาอนุญาตซึ่งเมื่อพิจารณาตามข้อสัญญาที่ระบุว่าฯผู้ให้สัญญา(จำเลยที่1)จะต้องยื่นหนังสือแสดงความจำนงต่อผู้รับสัญญา(โจทก์)เพื่อขออนุญาตใช้อาคารและที่ดินออกไปอีกเป็นรายปีไปในการนี้ผู้ให้สัญญาและผู้รับสัญญาจะต้องทำสัญญากันใหม่อีกครั้งหนึ่งตามแบบฟอร์มและข้อกำหนดของผู้รับสัญญาแล้วแสดงว่าการที่จะต่อสัญญาออกไปเป็นรายปีนั้นโจทก์กับจำเลยที่1จะต้องทำสัญญากันใหม่ตามแบบฟอร์มและตามข้อกำหนดของโจทก์ข้อกำหนดนี้จึงเป็นเงื่อนไขที่จะต้องตกลงกันใหม่แล้วจึงจะทำสัญญาดังนั้นข้อสัญญาดังกล่าวจึงไม่ใช่คำมั่นหรือเงื่อนไขของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4356/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงใหม่ระหว่างคู่ความหลังทำสัญญาประนีประนอมยอมความมีผลผูกพันและใช้บังคับได้
โจทก์และจำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความและศาลพิพากษาตามยอมแล้ว ต่อมาจำเลยยื่นคำร้องขอให้ศาลบังคับโจทก์ให้ดำเนินการตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ศาลสั่งให้นัดพร้อมในวันนัดพร้อม โจทก์ จำเลย ทนายโจทก์ ทนายจำเลยมาศาล โจทก์ได้ตกลงกับจำเลยในศาลมีข้อความว่า โจทก์จำเลยไม่อาจบังคับตามข้อ 2 ของสัญญาประนีประนอมยอมความจึงให้บังคับตามข้อ 1 แทน ศาลได้บันทึกข้อความดังกล่าวไว้ในรายงานกระบวนพิจารณาแล้ว ดังนี้จำเลยจะอ้างว่าข้อตกลงกันใหม่ไม่มีผลเปลี่ยนแปลงข้อตกลงในสัญญาประนีประนอมยอมความ และจำเลยไม่ต้องปฏิบัติตามข้อตกลงกันใหม่หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2927/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงข้อตกลงในสัญญาจะซื้อขาย และการนำสืบพยานหลักฐานเพื่อพิสูจน์ข้อตกลงใหม่ที่แตกต่างจากสัญญาเดิม
สัญญาจะซื้อขายระบุว่า การชำระเงินค่าที่ดินแต่ละงวด โจทก์จะต้องนำไปชำระที่บ้านของจำเลยทุกครั้ง ถ้า ไม่ปฏิบัติตามถือว่าโจทก์ผิดสัญญา เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าโจทก์จำเลยตกลงกันให้ฝ่ายจำเลยเป็นผู้ไปเก็บเงินจากโจทก์ทุกงวด งวดประจำเดือนกันยายน2524 จำเลยไม่ไปเก็บเงินจากโจทก์ การที่โจทก์จำเลยตกลงกันให้ฝ่ายจำเลยเป็นผู้ไปเก็บเงินจากโจทก์ และได้ปฏิบัติกันตลอดมาเช่นนี้แสดงว่าโจทก์จำเลยมิได้มีเจตนาถือเอาข้อกำหนดเรื่องสถานที่ชำระเงินค่าที่ดินว่าจะต้องให้โจทก์นำไปชำระที่บ้านของจำเลยโดยเคร่งครัดดัง ที่ระบุไว้ในสัญญา ดังนั้นในข้อที่โจทก์จำเลยตกลงกันให้จำเลยไปเก็บเงินค่าที่ดินจากโจทก์นี้ โจทก์ย่อมนำสืบได้ว่าโจทก์จำเลยตกลงปฏิบัติต่อกันใหม่แตก ต่างจากข้อตกลงที่กำหนดไว้ในสัญญาเดิม ไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2927/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงข้อตกลงในสัญญาจะซื้อขาย: การตกลงกันใหม่เรื่องสถานที่ชำระเงินไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อย
สัญญาจะซื้อขายระบุว่า การชำระเงินค่าที่ดินแต่ละงวด โจทก์จะต้องนำไปชำระที่บ้านของจำเลยทุกครั้ง ถ้าไม่ปฏิบัติตามถือว่าโจทก์ผิดสัญญา เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าโจทก์จำเลยตกลงกันให้ฝ่ายจำเลยเป็นผู้ไปเก็บเงินจากโจทก์ทุกงวด งวดประจำเดือนกันยายน 2524 จำเลยไม่ไปเก็บเงินจากโจทก์ การที่โจทก์จำเลยตกลงกันให้ฝ่ายจำเลยเป็นผู้ไปเก็บเงินจากโจทก์ และได้ปฏิบัติกันตลอดมาเช่นนี้ แสดงว่าโจทก์จำเลยมิได้มีเจตนาถือเอาข้อกำหนดเรื่องสถานที่ชำระเงินค่าที่ดินว่าจะต้องให้โจทก์นำไปชำระที่บ้านของจำเลยโดยเคร่งครัดดังที่ระบุไว้ในสัญญา ดังนั้นในข้อที่โจทก์จำเลยตกลงกันให้จำเลยไปเก็บเงินค่าที่ดินจากโจทก์นี้ โจทก์ย่อมนำสืบได้ว่าโจทก์จำเลยตกลงปฏิบัติต่อกันใหม่แตกต่างจากข้อตกลงที่กำหนดไว้ในสัญญาเดิม ไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4216/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงจ้างงานใหม่ย่อมยกเลิกข้อตกลงเดิม การเลิกจ้างระหว่างทดลองงานไม่ถือเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
จำเลยมีหนังสือเชิญโจทก์โดยเฉพาะเจาะจงให้มาทำงานกับจำเลยในตำแหน่งและอัตราเงินเดือนที่แน่นอน หนังสือดังกล่าวจึงเป็นคำเสนอ ส่วนข้อความตอนท้ายที่ว่าจึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณานั้น เป็นการให้โอกาสโจทก์ที่จะมีคำสนองต่อจำเลยหรือไม่ เมื่อโจทก์เข้าทำงานกับจำเลยแล้วจึงเป็นคำสนองของโจทก์ แต่การที่ต่อมาโจทก์ได้ทำใบสมัครงานกับจำเลยโดยกำหนดให้โจทก์ทดลองปฏิบัติงานเป็นเวลา 3 เดือน ซึ่งเป็นการกำหนดเงื่อนไขขึ้นใหม่ เช่นนี้จึงมีผลเป็นว่าโจทก์จำเลยได้มีข้อตกลงกันใหม่โดยยกเลิกข้อตกลงเดิมนั้นแล้ว โจทก์ต้องผูกพันตามข้อตกลงใหม่
ข้อบังคับของบริษัทจำเลยมีว่า กรรมการของบริษัทที่ทำงานในโรงพยาบาลด้วยไม่ต้องทดลองงานมีความหมายว่ากรรมการซึ่งมีอำนาจจัดการตามข้อบังคับของบริษัทโดยอยู่ในความครอบงำ ของที่ประชุมใหญ่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1144 และกรรมการผู้นั้นได้ปฏิบัติหน้าที่อื่นเช่นพนักงานคนหนึ่งของบริษัทด้วยเช่นนี้ กรรมการผู้นั้นไม่ต้องทดลองงานโจทก์ไม่ได้เป็นกรรมการบริษัทจำเลยไม่ว่าโจทก์จะดำรงตำแหน่งใดในบริษัทจำเลย โจทก์ก็คงมีฐานะเป็นลูกจ้างซึ่งเป็นพนักงานคนหนึ่งของจำเลยเท่านั้นหาใช่ว่าตำแหน่งที่โจทก์ดำรงอยู่เป็นตำแหน่งผู้บังคับบัญชาแล้ว จะมิใช่พนักงานของจำเลยไม่ เมื่อโจทก์มิได้ทักท้วงเงื่อนไขที่จำเลยให้ทดลองปฏิบัติงานโจทก์ก็ต้องผ่านการทดลองปฏิบัติงานตามข้อตกลงใหม่
โจทก์อุทธรณ์ว่า ส. เขียนเงื่อนไขในใบสมัครงานเพิ่มเติมโดยพลการลับหลังโจทก์ เป็นการปลอมเอกสารโจทก์จำเลยไม่เคยตกลงเงื่อนไขดังกล่าวต่อกันและ ส. เบิกความกลับไปกลับมาบิดเบือนความจริงหลายประการ เป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานกลาง ซึ่งเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานกลางและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 54
โจทก์เป็นลูกจ้างประจำของจำเลยโดยอยู่ในระยะเวลาทดลองปฏิบัติงานเป็นเวลา 3 เดือน จำเลยจึงมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์ในระหว่างทดลองปฏิบัติงานได้ไม่ถือเป็นการเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1000/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงสัญญาเดิมด้วยข้อตกลงใหม่ และการนำหลักฐานนอกฟ้องมาใช้ในการวินิจฉัย
ปัญหาที่ว่าสัญญาเลิกกันแล้วหรือไม่กับการนำเอาสัญญาที่เลิกกันแล้วกลับมาใช้ใหม่ตามข้อตกลงในสัญญาใหม่นั้นหาเหมือนกันไม่ดังนั้นเมื่อโจทก์ไม่ได้ตั้งเรื่องการมีข้อตกลงในสัญญาใหม่ให้นำสัญญาที่จำเลยต่อสู้ว่าเลิกกันแล้วกลับมาใช้ใหม่แต่กลับปรากฏว่ามีสัญญาใหม่ดังกล่าวในขั้นสืบพยานจึงย่อมถือได้ว่าโจทก์นำสืบถึงสัญญาใหม่ดังกล่าวนอกฟ้องนอกประเด็นจะรับฟังนำมาวินิจฉัยคดีหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2437/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความมีผลผูกพัน การอ้างข้อตกลงใหม่หลังผิดสัญญาไม่เป็นเหตุให้ระงับบังคับคดี
ศาลชั้นต้นพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความแล้วต่อมาจำเลยผิดสัญญาประนีประนอมยอมความศาลชั้นต้นออกหมายบังคับคดียึดหรืออายัดทรัพย์สินของจำเลยที่ 4 คำร้องของจำเลยที่ 4 ที่อ้างว่ามีข้อตกลงเกี่ยวกับการบังคับคดีใหม่กับโจทก์ เป็นการกระทำนอกศาลเมื่อโจทก์ปฏิเสธ จำเลยที่ 4 จึงจะยกมาเป็นเหตุไม่ให้ศาลดำเนินการบังคับคดีต่อไปหาได้ไม่ ศาลยกคำร้องของจำเลยที่ 4 ได้โดยไม่ต้องทำการไต่สวนเสียก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 468/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การต่อสู้เรื่องเลิกสัญญาสื้อซื้อขายและการนำสืบพยาน การนำสืบพยานบุคคลเพื่อพิสูจน์ข้อตกลงใหม่หลังทำสัญญาซื้อขายเดิมไม่ขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยซื้อของและผิดสัญญาไม่ชำระหนี้ให้ครบ การที่จำเลยต่อสู้ว่าจำเลยบอกคืนของที่ซื้อให้โจทก์ริบเงินมัดจำและโจทก์ยินยอมนั้น ย่อมเป็นข้อต่อสู้ว่าภายหลังจากทำสัญญาซื้อขายแล้ว คู่กรณีได้ทำความตกลงกันใหม่ โดยเลิกสัญญาเดิม ฉะนั้น จำเลยย่อมนำพยานบุคคลมาสืบได้ ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 468/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงสัญญาซื้อขายด้วยการตกลงเลิกสัญญาใหม่ การนำสืบพยานบุคคลไม่ขัดต่อกฎหมาย
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยซื้อของและผิดสัญญาไม่ชำระหนี้ให้ครบการที่จำเลยต่อสู้ว่าจำเลยบอกคืนของที่ซื้อ ให้โจทก์ริบเงินมัดจำและโจทก์ยินยอมนั้น ย่อมเป็นข้อต่อสู้ว่าภายหลังจากทำสัญญาซื้อขายแล้วคู่กรณีได้ทำความตกลงกันใหม่โดยเลิกสัญญาเดิมฉะนั้น จำเลยย่อมนำพยานบุคคลมาสืบได้ ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 94
of 2