พบผลลัพธ์ทั้งหมด 26 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1044/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แก้ไขคำให้การหลังชี้สองสถาน: การยกข้อต่อสู้ใหม่ถือเป็นการฝ่าฝืน ป.วิ.พ. มาตรา 180
จำเลยที่ 1 ขอแก้ไขในคำให้การเดิม จากที่ปฏิเสธว่าลายมือชื่อผู้เช่าซื้อในสัญญาเช่าซื้อมิใช่ลายมือชื่อของจำเลยที่ 1 และผู้ลงนามในสัญญาเช่าซื้อมิใช่กรรมการผู้มีอำนาจของโจทก์ เป็นว่า ผู้ลงนามในฐานะเจ้าของผู้ให้เช่าซื้อมิใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ที่ให้เช่าซื้อในขณะทำสัญญาเช่าซื้อ และมิใช่กรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ได้ตามกฎหมายขณะทำสัญญาเช่าซื้อ ข้อความที่ขอแก้ไขดังกล่าวจึงเป็นการสละข้อต่อสู้เดิมที่ว่าสัญญาเช่าซื้อเป็นเอกสารปลอมและยกข้อต่อสู้ว่าในขณะทำสัญญาผู้ลงนามในฐานะผู้ให้เช่าซื้อมิใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ที่ให้เช่าซื้อ และมิใช่ผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ กรณีหาใช่การแก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือข้อผิดหลงเล็กน้อย แต่เป็นการยกข้อต่อสู้นอกเหนือจากคำให้การเดิมและเป็นเรื่องที่จำเลยอาจขอแก้ไขได้ก่อนวันชี้สองสถานอีกทั้งโจทก์ได้บรรยายฟ้องมาโดยชัดแจ้งแล้วในเรื่องการมอบอำนาจให้ลงนามในสัญญาเช่าซื้อแทนโจทก์ ซึ่งจำเลยมิได้ปฏิเสธหรือต่อสู้ในข้อนี้ ข้อความที่จำเลยขอแก้ไขดังกล่าวจึงไม่กระทบถึงความสมบูรณ์ของสัญญาเช่าซื้อ อันจะทำให้เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนแต่อย่างใด การยื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การภายหลังวันชี้สองสถานเช่นนี้ จึงเป็นการฝ่าฝืน ป.วิ.พ. มาตรา 180
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5342/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องหนี้ซื้อขาย: การยกข้อต่อสู้ใหม่ในชั้นฎีกา และขอบเขตการวินิจฉัยของศาล
โจทก์เป็นนิติบุคคลมีวัตถุประสงค์ทำการค้าวัสดุก่อสร้างและเครื่องสุขภัณฑ์ฟ้องเรียกหนี้ค่าสินค้าที่จำเลยทั้งสองซื้อไปจากโจทก์ จำเลยให้การต่อสู้ในเรื่องอายุความว่า โจทก์ส่งมอบสินค้าตามฟ้องให้แก่จำเลยที่ 1 เกิน 2 ปี คดีโจทก์จึงขาดอายุความฟ้องร้อง ขอให้ยกฟ้อง ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า ฟ้องโจทก์ขาดอายุความ 2 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (1) พิพากษายกฟ้อง ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ที่โจทก์ฎีกาว่า คดีของโจทก์มีอายุความ 5 ปี เพราะจำเลยทั้งสองซื้อสินค้าจากโจทก์เพื่อนำไปขายให้บุคคลทั่วไป มิใช่ซื้อมาเพื่อใช้บริโภคเองเป็นเรื่องที่โจทก์เพิ่งยกขึ้นมาในชั้นฎีกา ไม่ใช่ข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ปัญหานี้ไม่มีผลกระทบถึงสังคมหรือประชาชนทั่วไป จึงไม่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4713/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยกข้อต่อสู้ใหม่ในชั้นฎีกาที่ไม่เคยยกขึ้นในศาลชั้นต้นและชั้นอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
โจทก์ฟ้องว่า ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ให้จำเลยที่ 1 เป็นผู้รับโอนไว้แทนโจทก์ จำเลยที่ 2 และที่ 3 หาได้ให้การปฏิเสธว่าที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างพิพาทไม่ใช่กรรมสิทธิ์ของโจทก์ อุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 และที่ 3ในปัญหาว่าโจทก์เป็นเจ้าของที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างพิพาทหรือไม่ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น
ที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ฎีกาว่า จำเลยที่ 2 เป็นบุคคลภายนอกซื้อที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างพิพาทโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทน โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ปัญหาดังกล่าวแม้จำเลยที่ 2 และที่ 3 จะได้ยกขึ้นต่อสู้ในคำให้การ แต่ในชั้นอุทธรณ์จำเลยที่ 2 และที่ 3 มิได้ยกปัญหาข้อนี้ขึ้นอุทธรณ์ ฎีกาของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ในปัญหานี้จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ฎีกาว่า จำเลยที่ 2 เป็นบุคคลภายนอกซื้อที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างพิพาทโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทน โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ปัญหาดังกล่าวแม้จำเลยที่ 2 และที่ 3 จะได้ยกขึ้นต่อสู้ในคำให้การ แต่ในชั้นอุทธรณ์จำเลยที่ 2 และที่ 3 มิได้ยกปัญหาข้อนี้ขึ้นอุทธรณ์ ฎีกาของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ในปัญหานี้จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4036/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อต่อสู้ใหม่ในฎีกา: ศาลไม่รับวินิจฉัยประเด็นที่มิได้ยกขึ้นว่ากันในศาลชั้นต้น
ข้อที่จำเลยฎีกาว่า สัญญากู้ระหว่างโจทก์กับ ส.ไม่ชอบด้วยกฎหมาย จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดตามเช็คพิพาท แต่กรณีการกู้ยืมระหว่างโจทก์กับส.จะมีการเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดตามที่จำเลยอ้างหรือไม่ เป็นข้อเท็จจริงซึ่งข้อต่อสู้ดังกล่าวจำเลยมิได้ยกขึ้นกล่าวอ้างเพื่อปฏิเสธความรับผิดของจำเลยไว้ในคำให้การ ฎีกาของจำเลยจึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4036/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อต่อสู้ใหม่ในชั้นฎีกาที่ไม่เคยยกขึ้นว่ากันในศาลล่าง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ข้อที่จำเลยฎีกาว่า สัญญากู้ระหว่างโจทก์กับ ส. ไม่ชอบด้วยกฎหมายจำเลยจึงไม่ต้องรับผิดตามเช็คพิพาท แต่กรณีการกู้ยืมระหว่างโจทก์กับ ส. จะมีการเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดตามที่จำเลยอ้างหรือไม่เป็นข้อเท็จจริงซึ่งข้อต่อสู้ดังกล่าวจำเลยมิได้ยกขึ้นกล่าวอ้างเพื่อปฏิเสธความรับผิดของจำเลยไว้ในคำให้การ ฎีกาของจำเลยจึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5480/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องและการยกข้อต่อสู้ใหม่ในชั้นฎีกา ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยหากไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและอุทธรณ์
ที่จำเลยฎีกาในเรื่องอำนาจฟ้องว่า ในชั้นพิจารณาโจทก์ไม่ได้นำสืบว่าขณะทำหนังสือมอบอำนาจ ศ. ยังเป็นกรรมการผู้มีอำนาจของโจทก์หรือไม่ เพราะหนังสือมอบอำนาจมิได้ระบุวันที่การทำหนังสือมอบอำนาจไว้นั้น ในประเด็นนี้จำเลยให้การสู้คดีไว้ว่า การมอบอำนาจไม่ชอบด้วยกฎหมายเพราะมิใช่ลายมือที่แท้จริงของ ศ. กรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทน โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง ฎีกาของจำเลยดังกล่าวจึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย โจทก์บรรยายฟ้องว่า หลังจากจำเลยได้เบิกเงินจากบัญชีกระแสรายวัน เลขที่ 5151-5 ที่สาขาขอนแก่นของโจทก์โดยใช้เช็คหรือใบเบิกที่โจทก์มอบให้ และได้นำเงินเข้าบัญชีอันเป็นการเดินสะพัดทางบัญชี แต่จำเลยไม่ได้ชำระดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ตามกำหนดเวลาที่ตกลงกันไว้ คิดตั้งแต่วันที่20 พฤษภาคม 2531 อันเป็นที่จำเลยทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีกับโจทก์ ถึงวันที่ 29 มิถุนายน 2534 ซึ่งเป็นวันเลิกทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี จำเลยเป็นหนี้ต้นเงินและดอกเบี้ยทบต้นในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี เป็นเงิน 1,302,129.80บาท คำฟ้องของโจทก์ดังกล่าวได้บรรยายโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาข้อนี้ด้วย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 172 วรรคสอง แล้ว ส่วนที่จำเลยฎีกาว่า นับตั้งแต่วันที่ 27 กันยายน 2533โจทก์ไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นจากจำเลยเพราะสัญญาบัญชีเดินสะพัดเลิกกันแล้วนั้น จำเลยให้การสู้คดีไว้ว่าจำเลยไม่เคยทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีและสัญญากู้เงินจากโจทก์และยอดหนี้ตามฟ้องไม่ถูกต้องเพราะจำเลยไม่ได้เป็นหนี้โจทก์ตามฟ้องตามคำให้การดังกล่าวมีความหมายว่า จำเลยไม่เคยทำสัญญากู้เงินและไม่เคยทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีกับโจทก์ จำเลยจึงไม่ได้เป็นหนี้โจทก์ตามฟ้อง ฎีกาข้อนี้ของจำเลยจึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3998/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีซ้ำและการยกข้อต่อสู้ใหม่ในชั้นฎีกา: อำนาจฟ้องยังไม่สิ้นสุดแม้ถอนฟ้องคดีก่อน
แม้ในคดีก่อนโจทก์ยื่นคำร้องว่าโจทก์จำเลยตกลงกันได้ โจทก์ไม่มีความประสงค์จะดำเนินคดีแก่จำเลยอีกต่อไป ก็มีความหมายว่าไม่ประสงค์จะดำเนินคดีแก่จำเลยสำหรับคดีนั้นเท่านั้น หาอาจแปลไปว่าโจทก์จะไม่ฟ้องคดีใหม่แก่จำเลยอีก การถอนฟ้องในคดีก่อนไม่ทำให้อำนาจฟ้องของโจทก์หมดไป โจทก์จึงฟ้องคดีนี้ใหม่ได้ภายในอายุความ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 176 และคดีก่อนศาลจำหน่ายคดีเพราะโจทก์ถอนฟ้อง ยังมิได้มีคำพิพากษาชี้ขาดในประเด็นแห่งคดี เมื่อโจทก์มาฟ้องใหม่เป็นคดีนี้ จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 148
ที่จำเลยฎีกาว่า ค่าถมดินที่ค้างชำระได้หักกลบลบหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความแล้วนั้น จำเลยให้การต่อสู้คดีแต่เพียงว่า ที่ดินที่ซอยอ่อนนุชจำเลยไม่เคยจ้างโจทก์ให้ถมดินหรือรับซื้อดินจากโจทก์ ส่วนที่ดินที่ซอย 50 เขตบางเขนนั้น จำเลยมิได้จ้างโจทก์ถมดิน จำเลยเพียงแต่รับซื้อดินจากโจทก์บางส่วนแต่ก็ได้ชำระค่าดินให้โจทก์ไปแล้ว ไม่เคยค้างชำระค่าดิน คดีจึงไม่มีประเด็นข้อพิพาทเกี่ยวกับการหักกลบลบหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ที่จำเลยอุทธรณ์ในปัญหาข้อนี้และศาลอุทธรณ์วินิจฉัยให้นั้น จึงไม่ชอบ ฎีกาจำเลยข้อนี้จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัยให้
ที่จำเลยฎีกาว่า ค่าถมดินที่ค้างชำระได้หักกลบลบหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความแล้วนั้น จำเลยให้การต่อสู้คดีแต่เพียงว่า ที่ดินที่ซอยอ่อนนุชจำเลยไม่เคยจ้างโจทก์ให้ถมดินหรือรับซื้อดินจากโจทก์ ส่วนที่ดินที่ซอย 50 เขตบางเขนนั้น จำเลยมิได้จ้างโจทก์ถมดิน จำเลยเพียงแต่รับซื้อดินจากโจทก์บางส่วนแต่ก็ได้ชำระค่าดินให้โจทก์ไปแล้ว ไม่เคยค้างชำระค่าดิน คดีจึงไม่มีประเด็นข้อพิพาทเกี่ยวกับการหักกลบลบหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ที่จำเลยอุทธรณ์ในปัญหาข้อนี้และศาลอุทธรณ์วินิจฉัยให้นั้น จึงไม่ชอบ ฎีกาจำเลยข้อนี้จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1228/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำและการยกข้อต่อสู้ใหม่: การแบ่งแยกที่ดินกรรมสิทธิ์รวม และการครอบครองเป็นส่วนสัด
คดีก่อนสำนวนแรกจำเลยที่3เป็นโจทก์ฟ้องโจทก์คดีนี้เป็นจำเลยและคดีก่อนสำนวนหลังจำเลยที่1เป็นโจทก์ฟ้องโจทก์และจำเลยที่3ในคดีนี้เป็นจำเลยและทั้งสองสำนวนคู่ความตกลงประนีประนอมยอมความกันโดยสำนวนแรกโจทก์ยอมรับว่าจำเลยที่3มีกรรมสิทธิ์เฉพาะส่วนในที่ดินพิพาท12ไร่ทางด้านทิศตะวันตกติดกับที่ดินของโจทก์และในสำนวนหลังโจทก์และจำเลยที่3เป็นจำเลยที่1ตกลงยกกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้จำเลยที่1จำนวน6งานจำเลยที่3จำนวน4ไร่คดีทั้งสองจำนวนดังกล่าวมีประเด็นข้อพิพาทว่าจำเลยที่1และที่3มีกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพิพาทเนื้อที่เท่าใดส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องว่าโจทก์มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยครอบครองเป็นส่วนสัดแน่นอนจำเลยทั้งหกไม่ยอมไปยื่นคำร้องขอต่อเจ้าพนักงานที่ดินเพื่อแบ่งแยกที่ดินส่วนที่เป็นของโจทก์ให้โจทก์ขอให้บังคับจำเลยทั้งหกในฐานะที่เป็นเจ้าของรวมไปยื่นคำร้องขอรังวัดแบ่งแยกที่ดินพิพาทออกเป็นส่วนสัดของโจทก์ประเด็นข้อพิพาทในคดีนี้จึงมีว่าโจทก์มีสิทธิขอให้ศาลบังคับจำเลยทั้งหกไปยื่นคำร้องขอรังวัดแบ่งแยกที่ดินพิพาทเป็นส่วนสัดให้โจทก์ตามที่ฟ้องหรือไม่แม้โจทก์กับจำเลยที่1และที่3จะเป็นคู่ความรายเดียวกันและจำเลยที่2สืบสิทธิจากจำเลยที่3ทั้งที่ดินพิพาทจะเป็นแปลงเดียวกันแต่โจทก์ในแต่ละคดีต่างฟ้องขอแบ่งแยกที่ดินตามส่วนที่ตนครอบครองเป็นคนละส่วนกันซึ่งการที่ศาลจะวินิจฉัยว่าโจทก์ในแต่ละคดีจะได้ส่วนแบ่งส่วนใดเนื้อที่เท่าใดนั้นจะต้องพิจารณาข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาของโจทก์แต่ละคดีเป็นส่วนๆแยกกันไปหาใช่เป็นการรื้อร้องฟ้องกันอีกโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันไม่ประเด็นที่ต้องวินิจฉัยตามคำขอในคดีก่อนกับคดีนี้จึงต่างกันฟ้องโจทก์ไม่เป็นฟ้องซ้ำ โจทก์ฟ้องว่าโจทก์ได้ครอบครองที่พิพาทเป็นส่วนสัดมานานแล้วจำเลยที่2ที่3และที่6มิได้ให้การปฏิเสธว่าโจทก์ไม่ได้ครอบครองเป็นส่วนสัดและโจทก์ขอแบ่งแยกเกินส่วนที่โจทก์มีสิทธิตามที่ระบุไว้ในโฉนดที่พิพาทส่วนจำเลยที่4ที่5ขาดนัดยื่นคำให้การการที่จำเลยที่2ที่3ที่4และที่6ฎีกาว่าการครอบครองมิได้แบ่งแยกเป็นส่วนสัดที่ดินพิพาทมีผู้ถือกรรมสิทธิ์รวมอยู่8คนและได้บรรยายส่วนไว้แล้วหากจะถือตามที่ครอบครองก็ยากแก่การรังวัดเพราะการครอบครองตามข้อเท็จจริงไม่ตรงกันฎีกาข้อนี้จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 92/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อยกเว้นค่าชดเชยเลิกจ้างรัฐวิสาหกิจ-การยกข้อต่อสู้ใหม่ในชั้นอุทธรณ์
อุทธรณ์ของโจทก์ที่ว่า โจทก์มีคำสั่งที่ 426/2531 ไล่จำเลยที่ 1 ออกจากงานเนื่องจากไม่ปฏิบัติตามคำสั่งโจทก์ที่ 2220/223 ลงวันที่ 1สิงหาคม 2523 ด้วย คำสั่งดังกล่าวถือเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างเป็นการฝ่าฝืนคำสั่งโจทก์ในกรณีที่ร้ายแรง โจทก์จึงไม่ต้องรับผิดจ่ายค่าชดเชยแก่จำเลยที่ 1 และโจทก์เป็นรัฐวิสาหกิจ มีประกาศกระทรวงมหาดไทยกำหนดให้รัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยพนักงานสัมพันธ์เป็นกิจการที่ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 103 ไม่ใช้บังคับ ดังนั้น ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103จึงไม่มีผลใช้บังคับแก่โจทก์แล้วตั้งแต่วันที่ 12 กันยายน 2534 จำเลยที่ 1 ต้องฟ้องเรียกค่าชดเชยจากโจทก์ก่อนที่จะมีประกาศกระทรวงมหาดไทยกำหนดให้รัฐวิสาหกิจไม่อยู่ในบังคับตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 นั้น เมื่อโจทก์ให้การแก้ฟ้องแย้งของจำเลยที่ 1 ไว้เพียงว่า จำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธิได้รับค่าชดเชยเพราะโจทก์มีคำสั่งเลิกจ้างจำเลยที่ 1 เนื่องจากจำเลยที่ 1 ขาดงานติดต่อกันเกินกว่า 10 วัน โดยไม่มีเหตุอันสมควร ดังนั้น ข้อที่โจทก์อ้างในอุทธรณ์ดังกล่าวข้างต้น จึงมิใช่ข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลแรงงาน ไม่ชอบด้วยป.วิ.พ.มาตรา 225 วรรคแรก ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31
ปัญหาที่โจทก์อุทธรณ์ว่า จำเลยที่ 1 ไม่มีอำนาจฟ้องแย้งเรียกค่าชดเชย เพราะโจทก์เป็นรัฐวิสาหกิจอันเป็นกิจการที่ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 103 ไม่ใช้บังคับนั้น เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน
ปัญหาที่โจทก์อุทธรณ์ว่า จำเลยที่ 1 ไม่มีอำนาจฟ้องแย้งเรียกค่าชดเชย เพราะโจทก์เป็นรัฐวิสาหกิจอันเป็นกิจการที่ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 103 ไม่ใช้บังคับนั้น เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6011/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยกข้อต่อสู้ใหม่ในชั้นฎีกาที่ไม่เคยว่ากันในศาลล่างถือเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบ
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 3 ในฐานะผู้รับประกันภัยรถยนต์ซึ่งจำเลยที่ 1 ลูกจ้างหรือตัวแทนของจำเลยที่ 2 เป็นผู้ขับต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ จำเลยที่ 3 ไม่ได้ให้การต่อสู้ว่าจำเลยที่ 3 ไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ เพราะจำเลยที่ 2ผู้เอาประกันไม่ต้องรับผิด แม้ศาลชั้นต้นจะได้ตั้งประเด็นข้อพิพาทในวันชี้สองสถานว่า โจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 3 หรือไม่และยกขึ้นวินิจฉัยก็เป็นการตั้งประเด็นและวินิจฉัยนอกฟ้องและคำให้การเป็นการไม่ชอบ การที่จำเลยที่ 3 ยกปัญหาดังกล่าวขึ้นอ้างในชั้นฎีกาจึงถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นทั้งมิใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน หรือเป็นกรณีที่จำเลยที่ 3 ไม่สามารถยกขึ้นกล่าวในศาลชั้นต้นเพราะพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้ จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคแรก