พบผลลัพธ์ทั้งหมด 126 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7699/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แก้ไขคำขอท้ายฟ้องหลังมีคำพิพากษาต้องเป็นข้อผิดพลาดเล็กน้อยเท่านั้น การเพิ่มความรับผิดเกินกว่าคำพิพากษาเดิมทำไม่ได้
โจทก์ฟ้องและมีคำขอท้ายฟ้องขอบังคับให้จำเลยทั้งห้าชำระหนี้และฟ้องบังคับจำนองสำหรับจำเลยที่ 3 ถึงที่ 5 ด้วย โดยมีคำขอในส่วนบังคับจำนองว่า ให้ยึดทรัพย์จำนองของจำเลยที่ 3 ถึงที่ 5 ออกขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้โจทก์ หากไม่พอให้ยึดทรัพย์สินอื่นของจำเลยที่ 5 ออกขายทอดตลาดนำเงินชำระหนี้ให้แก่โจทก์จนครบถ้วน ซึ่งศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาตามคำขอดังกล่าวแล้ว ดังนั้น การที่โจทก์ขอแก้ไขข้อความเป็นว่า หากไม่พอให้ยึดทรัพย์สินอื่นของจำเลยทั้งห้าออกขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้โจทก์จนครบถ้วน ย่อมเป็นการเพิ่มความรับผิดในการบังคับจำนองให้แก่จำเลยอื่นนอกจากจำเลยที่ 5 มากกว่าคำพิพากษาเดิมของศาลชั้นต้นจึงมิใช่ข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือข้อผิดหลงเล็กน้อยอื่นๆ แต่เป็นการแก้ไขคำวินิจฉัยในคำพิพากษาเดิม ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 143 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 699/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ศาลสั่งให้ดำเนินกระบวนการพิจารณาใหม่ หลังพบข้อผิดพลาดในการรวม/แยกคำฟ้อง และคืนค่าขึ้นศาล
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีจำนวน 2 ฉบับ ซึ่งจำเลยใช้เป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัดและสัญญาขายลดตั๋วสัญญาใช้เงินรวมกันมา กับให้จำเลยชำระค่าเบี้ยประกันภัยทรัพย์ที่จำนองซึ่งโจทก์ชำระแทนจำเลยไปก่อน และมีคำขอให้บังคับจำนอง ซึ่งตามสัญญาจำนองระบุว่า จำนองเพื่อเป็นประกันหนี้ของจำเลยซึ่งเป็นหนี้ผู้รับจำนองอยู่ในเวลานี้หรือในเวลาใดเวลาหนึ่งต่อไปในภายหน้า โดยไม่ได้แบ่งแยกว่าทรัพย์รายใดประกันหนี้ประเภทใด เป็นจำนวนเท่าใด การที่ศาลจะพิพากษาบังคับจำนองได้หรือไม่เพียงใด จำต้องพิจารณาก่อนว่าลูกหนี้ตามสัญญาแต่ละฉบับเมื่อรวมกันแล้วมียอดหนี้เป็นจำนวนเท่าใด มูลหนี้ที่โจทก์นำมาฟ้องจึงเกี่ยวข้องกันพอที่จะรวมพิจารณาเข้าด้วยกันได้ โจทก์จึงชอบที่จะนำมูลหนี้ตามสัญญาทุกฉบับมารวมกันเป็นจำนวนทุนทรัพย์ที่เรียกร้องฟ้องเป็นคดีเดียวกันและชำระค่าขึ้นศาลตามจำนวนทุนทรัพย์ที่เรียกร้องในอัตราสูงสุดตามตาราง 1 ท้าย ป.วิ.พ. ข้อ (1) ก. ได้
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้โจทก์แยกฟ้องข้อหากู้เบิกเงินเกินบัญชีและขายลดตั๋วสัญญาใช้เงินออกเป็นแต่ละคดี กับให้เสียค่าขึ้นศาลตามรายคดีที่แยกฟ้องโดยอ้างเหตุผลว่าการรวมพิจารณาข้อหาเหล่านี้ด้วยกันจะเป็นการไม่สะดวก โดยศาลชั้นต้นไม่ได้ฟังคู่ความทุกฝ่ายก่อนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 29 วรรคสอง และมีผลให้โจทก์ต้องเสียค่าขึ้นศาลเพิ่มขึ้นโดยไม่ควรจะต้องเสียย่อมเป็นกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบ กระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นตั้งแต่การสั่งให้โจทก์แยกฟ้องแต่ละข้อหาออกเป็นแต่ละคดี กับให้โจทก์เสียค่าขึ้นศาลเป็นรายคดีที่แยกฟ้องรวมทั้งการที่ศาลชั้นต้นอาศัยเหตุที่โจทก์ไม่ดำเนินการแยกฟ้องตามคำสั่งศาลดังกล่าวแล้วมีคำสั่งว่าโจทก์ทิ้งฟ้อง จึงเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบไปด้วย
โจทก์ยื่นอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของโจทก์เพราะเป็นอุทธรณ์คำสั่งระหว่างพิจารณา ศาลชั้นต้นชอบที่จะมีคำสั่งให้คืนค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ให้แก่โจทก์ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ และศาลอุทธรณ์ภาค 2 ก็มิได้แก้ไขมานั้น จึงเป็นการไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติของ ป.วิ.พ. มาตรา 151 วรรคหนึ่ง ที่เป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. ในข้อที่มุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรมและเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้โจทก์จะไม่ได้ยกขึ้นกล่าวอ้างในชั้นฎีกา แต่เมื่อปรากฏแก่ศาลฎีกา ศาลฎีกาหยิบยกปัญหาดังกล่าวขึ้นวินิจฉัย และเห็นสมควรที่จะให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาเสียใหม่ให้ถูกต้องตามมาตรา 243 (2) ประกอบมาตรา 247
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้โจทก์แยกฟ้องข้อหากู้เบิกเงินเกินบัญชีและขายลดตั๋วสัญญาใช้เงินออกเป็นแต่ละคดี กับให้เสียค่าขึ้นศาลตามรายคดีที่แยกฟ้องโดยอ้างเหตุผลว่าการรวมพิจารณาข้อหาเหล่านี้ด้วยกันจะเป็นการไม่สะดวก โดยศาลชั้นต้นไม่ได้ฟังคู่ความทุกฝ่ายก่อนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 29 วรรคสอง และมีผลให้โจทก์ต้องเสียค่าขึ้นศาลเพิ่มขึ้นโดยไม่ควรจะต้องเสียย่อมเป็นกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบ กระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นตั้งแต่การสั่งให้โจทก์แยกฟ้องแต่ละข้อหาออกเป็นแต่ละคดี กับให้โจทก์เสียค่าขึ้นศาลเป็นรายคดีที่แยกฟ้องรวมทั้งการที่ศาลชั้นต้นอาศัยเหตุที่โจทก์ไม่ดำเนินการแยกฟ้องตามคำสั่งศาลดังกล่าวแล้วมีคำสั่งว่าโจทก์ทิ้งฟ้อง จึงเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบไปด้วย
โจทก์ยื่นอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของโจทก์เพราะเป็นอุทธรณ์คำสั่งระหว่างพิจารณา ศาลชั้นต้นชอบที่จะมีคำสั่งให้คืนค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ให้แก่โจทก์ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ และศาลอุทธรณ์ภาค 2 ก็มิได้แก้ไขมานั้น จึงเป็นการไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติของ ป.วิ.พ. มาตรา 151 วรรคหนึ่ง ที่เป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. ในข้อที่มุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรมและเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้โจทก์จะไม่ได้ยกขึ้นกล่าวอ้างในชั้นฎีกา แต่เมื่อปรากฏแก่ศาลฎีกา ศาลฎีกาหยิบยกปัญหาดังกล่าวขึ้นวินิจฉัย และเห็นสมควรที่จะให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาเสียใหม่ให้ถูกต้องตามมาตรา 243 (2) ประกอบมาตรา 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6412/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคิดดอกเบี้ยบัญชีเดินสะพัดและการแก้ไขคำพิพากษา: ข้อผิดพลาดเล็กน้อย vs. การเปลี่ยนแปลงหนี้
สัญญาบัญชีเดินสะพัดระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 กำหนดให้มีการหักทอนบัญชีกันทุกวันสิ้นเดือน เมื่อหักทอนบัญชีในเดือนสุดท้ายที่มีการเลิกสัญญา คือ วันที่ 30 กันยายน 2539 ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์ จำนวน 2,529,015.86 บาท แต่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าเป็นหนี้ที่คำนวณถึงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2539 เป็นเหตุให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยต่อไปว่าหลังจากนั้นโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยแก่จำเลยแบบไม่ทบต้นนับแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2540 เป็นต้นไป ซึ่งความจริงโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยแบบไม่ทบต้นนับแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2539 เช่นนี้ โจทก์ชอบที่จะอุทธรณ์คำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นต่อศาลอุทธรณ์เพื่อแก้ไขให้ถูกต้องได้ โจทก์ไม่อาจใช้วิธีการยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นเพื่อให้แก้ไขคำพิพากษาเนื่องจากมีผลเป็นการเปลี่ยนแปลงจำนวนหนี้ที่ศาลชั้นต้นได้กำหนดไว้จึงมิใช่เป็นข้อผิดพลาดหรือผิดหลงเล็กน้อย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2725/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจการร้องขอคืนของกลาง: แม้ใบมอบอำนาจระบุศาลผิดพลาด แต่หากยื่นคำร้องต่อศาลที่มีอำนาจพิจารณาถูกต้อง ก็ถือว่ามีอำนาจดำเนินการได้
ใบมอบอำนาจของผู้ร้องมีข้อความว่าผู้ร้องขอมอบอำนาจให้ ส. ยื่นคำร้องขอคืนทรัพย์ที่ถูกริบต่อศาลแขวงนครสวรรค์ในความผิด พ.ร.บ. จราจรทางบกฯ โดยให้มีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาใดๆ แทนผู้ร้องได้ แต่มิได้มีการระบุเลขคดีและชื่อคู่ความในคดีว่าเป็นผู้ใด ซึ่งในเรื่องนี้ ส. เบิกความตอบคำถามติงของทนายผู้ร้องรับว่าผู้ร้องมีคดีร้องขอคืนของกลางทั้งที่ศาลชั้นต้นและศาลแขวงนครสวรรค์ ผู้ร้องมอบอำนาจให้ ส. ยื่นคำร้องขอคืนของกลางโดยกระทำพร้อมกันหลายคดี ข้อเท็จจริงดังกล่าวแสดงให้เห็นได้ว่าผู้ร้องมอบอำนาจให้ ส. ยื่นคำร้องคดีนี้โดยระบุชื่อศาลในใบมอบอำนาจผิดพลาด และการร้องขอคืนของกลางก็เป็นสาขาคดีที่เจ้าของทรัพย์จะต้องยื่นต่อศาลที่มีคำสั่งให้ริบทรัพย์นั้นในคดีหลัก ดังนั้น แม้ใบมอบอำนาจที่ระบุชื่อศาลผิดพลาดไปแต่ได้มายื่นที่ศาลชั้นต้นที่มีอำนาจไต่สวนพิจารณาคำร้องของผู้ร้องตรงตามเจตนาที่แท้จริงของผู้ร้องว่ามอบอำนาจให้ ส. ยื่นคำร้องขอคืนรถจักรยานยนต์ของกลางคดีนี้แล้ว ผู้ร้องจึงมีอำนาจร้องคดีนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9201/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การมีผลบังคับใช้ของสัญญาเช่าซื้อแม้มีข้อผิดพลาดในการส่งเอกสาร และการผูกพันตามสัญญาจากการรับประโยชน์
คดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองให้รับผิดตามสัญญาเช่าซื้อและสัญญาค้ำประกัน จำเลยทั้งสองขาดนัดยื่นคำให้การ คดีจึงมีประเด็นข้อพิพาทว่า จำเลยทั้งสองจะต้องรับผิดตามสัญญาเช่าซื้อและสัญญาค้ำประกันตามที่โจทก์ฟ้องหรือไม่ ซึ่งในประเด็นดังกล่าวโจทก์เพียงแต่มีภาระการพิสูจน์โดยนำพยานหลักฐานมานำสืบให้พอรับฟังได้ในเบื้องต้นว่าข้อเท็จจริงน่าจะเป็นไปดังที่โจทก์ฟ้องก็เป็นการเพียงพอแล้ว โจทก์มีผู้รับมอบอำนาจโจทก์เบิกความยืนยันประกอบหนังสือมอบอำนาจว่า อ. ซึ่งเป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ มอบอำนาจให้พยานเป็นผู้ลงลายมือชื่อในสัญญาเช่าซื้อแทนโจทก์ได้ ส่วนจำเลยทั้งสองไม่ได้สืบพยานหลักฐานหักล้างข้อนำสืบของโจทก์ดังกล่าวจึงเพียงพอให้รับฟังได้ว่าโจทก์ได้ลงลายมือชื่อในสัญญาเช่าซื้อดังกล่าวแล้ว สัญญาเช่าซื้อมีผลใช้บังคับระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 1 การที่ทนายความโจทก์ยื่นหนังสือรับรองที่ไม่ปรากฏว่า อ. ผู้มอบอำนาจมีชื่อเป็นกรรมการผู้มีอำนาจลงลายมือชื่อแทนโจทก์นั้น ก็เป็นเพราะหนังสือรับรองฉบับนี้สำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทออกให้หลังวันทำสัญญาเช่าซื้อ กรณีจึงเป็นข้อผิดพลาดในการอ้างส่งเอกสาร เมื่อพิจารณาประกอบกับข้อเท็จจริงที่ว่าจำเลยที่ 1 เข้าทำสัญญาเช่าซื้อกับโจทก์โดยถือเอาประโยชน์ตามสัญญาด้วยการรับเอารถยนต์ที่เช่าซื้อไปจากโจทก์และผ่อนชำระค่าเช่าซื้อตลอดมาจนกระทั่งผิดนัด ย่อมเป็นการผูกพันระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 1 แล้ว สัญญาเช่าซื้อจึงไม่ตกเป็นโมฆะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3190/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แก้ไขคำพิพากษาข้อผิดพลาดเนื้อที่ดิน: ศาลอุทธรณ์มีอำนาจแก้ไขได้แม้คดีถึงที่สุดแล้ว
ตามคำฟ้องของโจทก์ระบุเนื้อที่ดินแต่ละแปลงของที่ดิน 10 แปลง ของโจทก์ที่ถูกเวนคืนไว้ด้วย ซึ่งเมื่อรวมกันแล้วมีเนื้อที่เพียง 8 ไร่ 2 งาน 88 ตารางวา ทั้งโจทก์แถลงยอมรับข้อเท็จจริงในรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นว่า ที่ดินของโจทก์ที่ถูกเวนคืนรวม 10 แปลง มีจำนวนเนื้อที่ 8 ไร่ 2 งาน 88 ตารางวา เช่นเดียวกับสำเนาโฉนดที่ดินที่ถูกเวนคืนรวม 10 ฉบับ ท้ายคำแถลงของจำเลยที่ 1 ซึ่งปรากฏว่าที่ดิน 10 แปลงของโจทก์รวมกันแล้วมีจำนวนเนื้อที่ที่แท้จริงเพียง 8 ไร่ 2 งาน 88 ตารางวา ไม่ใช่ 9 ไร่ 2 งาน 88 ตารางวา ดังที่โจทก์รวมเนื้อที่ดินไว้ในคำฟ้อง ดังนั้น คำฟ้องของโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับผลรวมของจำนวนเนื้อที่ดินที่ถูกเวนคืนและคำขอให้ชำระเงินค่าทดแทนที่ดินเพิ่มจึงเกิดจากการคำนวณที่ผิดพลาด เมื่อศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงินค่าทดแทนที่ดินเพิ่มโดยถือเอาจากจำนวนเนื้อที่ดินที่โจทก์รวมผิดพลาดดังกล่าวในฟ้อง จึงมีข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือผิดหลงเล็กน้อยซึ่งไม่ใช่ข้อผิดพลาดในสาระสำคัญแม้คำพิพากษาศาลชั้นต้นและศาลอุทรณ์ดังกล่าวจะถึงที่สุดไปแล้ว ศาลอุทธรณ์ก็มีอำนาจเพิ่มเติมแก้ไขข้อผิดพลาดหรือข้อผิดหลงนั้นได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 143 วรรคหนึ่ง เพราะการเพิ่มเติมแก้ไขคำพิพากษาในส่วนที่เป็นข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือผิดหลงเล็กน้อยตามบทกฎหมายดังกล่าวจะกระทำเมื่อคดีถึงที่สุดแล้วก็ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3190/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แก้ไขคำพิพากษาข้อผิดพลาดเนื้อที่ดิน: ศาลอุทธรณ์มีอำนาจแก้ไขได้แม้คดีถึงที่สุดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 143
ฟ้องโจทก์ระบุเนื้อที่ดินแต่ละแปลงของที่ดินทั้งสิบแปลงของโจทก์ที่ถูกเวนคืนไว้ด้วย รวมแล้วมีเนื้อที่ทั้งหมด 8 ไร่ 2 งาน 88 ตารางวา แต่โจทก์ระบุว่ารวมแล้วเป็นเนื้อที่ 9 ไร่ 2 งาน 88 ตารางวา ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยชำระเงินค่าทดแทนที่ดินเพิ่มโดยคิดจากจำนวนเนื้อที่ที่โจทก์รวมผิดพลาดดังกล่าวในฟ้อง ต่อมาในชั้นบังคับคดีทั้งโจทก์และจำเลยแถลงข้อเท็จจริงตรงกันว่า ที่ดินของโจทก์มีจำนวนเนื้อที่ที่แท้จริงเพียง 8 ไร่ 2 งาน 88 ตารางวา ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยชำระเงินค่าทดแทนที่ดินเพิ่มขึ้นโดยคิดจากจำนวนเนื้อที่ 9 ไร่ 2 งาน 88 ตารางวา อันเกิดจากการรวมเนื้อที่ดินที่ถูกเวนคืนผิดพลาดไปนั้น จึงเป็นข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือผิดหลงเล็กน้อยซึ่งไม่ใช่ข้อผิดพลาดในสาระสำคัญ แม้คำพิพากษาของศาลล่างทั้งสองดังกล่าวจะถึงที่สุดไปแล้ว ศาลอุทธรณ์ก็มีอำนาจแก้ไขข้อผิดพลาดหรือผิดหลงนั้นได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 143 วรรคหนึ่ง เพราะการเพิ่มเติมแก้ไขคำพิพากษาในส่วนที่เป็นข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือผิดหลงเล็กน้อยตามบทกฎหมายดังกล่าวจะกระทำเมื่อคดีถึงที่สุดแล้วก็ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2226/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อผิดพลาดในการพิมพ์คำพิพากษาโทษจำคุก ศาลอุทธรณ์มีอำนาจแก้ไขได้หากไม่เป็นผลร้ายต่อจำเลย
ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2547 ศาลชั้นต้นได้พิจารณาพิพากษาคดีนี้โดยลงโทษจำคุกจำเลยเป็นเวลา 3 ปี และลดโทษให้กึ่งหนึ่งตาม ป.อ. มาตรา 78 คงจำคุก 1 ปี 6 เดือน ตามร่างคำพิพากษา เอกสารลำดับที่ 13/1 ที่ปรากฏอยู่ในสำนวน แต่เมื่อทำการจัดพิมพ์คำพิพากษาของศาลชั้นต้นตามร่างคำพิพากษาดังกล่าวได้พิมพ์จำนวนโทษจำคุกจำเลยภายหลังจากลดโทษให้กึ่งหนึ่งตาม ป.อ. มาตรา 78 แล้ว คงจำคุกจำเลยเพียง 6 เดือน ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ลำดับที่ 13/2 ที่ปรากฏในสำนวนนั้น เป็นเรื่องพิมพ์ตัวเลขผิดพลาดตกระยะเวลาไป 1 ปี โทษจำคุกจำเลยจึงเหลือเพียง 6 เดือน ดังนั้น ศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจแก้ไขข้อผิดพลาดดังกล่าวให้ถูกต้องตามความจริงได้โดยไม่ต้องมีคู่ความฝ่ายใดร้องขอตาม ป.วิ.อ. มาตรา 190 ประกอบมาตรา 215 และไม่ถือเป็นผลร้ายแก่จำเลยแต่อย่างใด อีกทั้งไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอของโจทก์หรือไม่ชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 820/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมจากเหตุรายงานข้อสงสัยผู้บริหารต่อ กลต. และข้อผิดพลาดในการทำงานที่ไม่ร้ายแรง
การทำงานของโจทก์ที่ล่าช้าในการส่งรายการฐานะการเงินให้แก่สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์(กลต.) และปฏิบัติไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่ กลต. กำหนด เป็นเหตุให้จำเลยต้องถูกเปรียบเทียบปรับนั้นเป็นข้อผิดพลาดเล็กน้อยที่อาจเกิดขึ้นได้เป็นปกติและเป็นข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นในปีแรกที่เพิ่งดำเนินการ ต่อมาโจทก์ก็ไม่เคยทำผิดพลาดอีก ข้อผิดพลาดเช่นนี้บริษัทหลักทรัพย์อื่น ๆ ก็เคยถูกเตือนหรือถูกปรับเป็นจำนวนที่ใกล้เคียงกันหรือสูงกว่าอีกทั้งส่วนงานอื่นของจำเลยก็เคยถูก กลต. มีมติให้เปรียบเทียบปรับเช่นกัน การกระทำผิดพลาดของโจทก์จึงมิใช่เป็นการจงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหายและมิใช่เป็นการฝ่าฝืนระเบียบของจำเลยในกรณีร้ายแรง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8075/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับจำนอง: ข้อผิดพลาดในการระบุหมายเลขห้องชุดในหนังสือบอกกล่าว ไม่ทำให้การบังคับจำนองเป็นโมฆะ
จำเลยทั้งสองทำสัญญากู้ยืมเงินโจทก์ โดยจำนองห้องชุดเลขที่ 181/289 ตำบลบางแค อำเภอภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร เป็นประกันหนี้ แต่จำเลยทั้งสองผิดนัดไม่ชำระหนี้ โจทก์จึงมีหนังสือทวงถามและบอกกล่าวบังคับจำนองภายใน 30 วัน ย่อมมีความหมายชัดแจ้งว่าโจทก์แจ้งให้จำเลยทั้งสองชำระหนี้และจัดการไถ่ถอนจำนองภายในเวลาที่กำหนด เมื่อไม่ปรากฏว่า จำเลยทำสัญญาจำนองทรัพย์สินรายอื่นเป็นประกัน ทรัพย์ที่โจทก์จะบังคับจำนองย่อมหมายถึงห้องชุดเลขที่ 181/289 การที่หนังสือบอกกล่าวของโจทก์ระบุหมายเลขห้องชุดเป็นห้องชุดเลขที่ 0289 ตำบลบางแค อำเภอภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร น่าจะเป็นเพียงการพิมพ์หมายเลขคลาดเคลื่อนเท่านั้น หามีผลทำให้หนังสือบอกกล่าวบังคับจำนองไม่ชอบด้วยกฎหมายแต่อย่างใด คำบอกกล่าวบังคับจำนองของโจทก์ชอบด้วยมาตรา 728 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์แล้ว