พบผลลัพธ์ทั้งหมด 12 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1771/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แก้ไขสัญญาประนีประนอมยอมความที่เพิ่มภาระหนี้เดิมไม่ได้ แม้จำเลยไม่คัดค้าน
โจทก์และจำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันในศาลและศาลพิพากษาตามยอมแล้ว คำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความย่อมผูกพันคู่ความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 สัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของคำพิพากษาจะแก้ไขข้อผิดพลาดได้ต่อเมื่อเป็นข้อผิดพลาดเล็กน้อย หรือข้อผิดหลงเล็กน้อยอื่น ๆ ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 143 วรรคแรก แต่ข้อความที่โจทก์ขอแก้ไขโดยเพิ่มเติมข้อความว่า พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 18.5 ต่อปี จากต้นเงินดังกล่าวนับถัดจากวันทำยอมเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ ต่อจากข้อความที่ว่า จำเลยยอมรับผิดชำระต้นเงินและดอกเบี้ยรวมเป็นเงิน 892,456.72 บาทนั้น เป็นการเพิ่มความรับผิดให้จำเลยต้องรับผิดในส่วนของดอกเบี้ยมากขึ้นกว่าเดิม จึงไม่ใช่ข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือข้อผิดหลงเล็กน้อยอื่น ๆ แม้จำเลยจะไม่คัดค้าน โจทก์ก็ไม่อาจแก้ไขได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1957/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แก้ไขคำพิพากษาเรื่องดอกเบี้ยผิดนัด: การแก้ไขต้นเงินคำนวณดอกเบี้ยให้ตรงกับเหตุผลในคำวินิจฉัยศาล ถือเป็นการแก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อย
การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งแก้ไขคำพิพากษาตามคำร้องของจำเลยจากการให้จำเลยชำระเงิน 5,267,594.91 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 22มีนาคม 2542 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ เป็นให้จำเลยชำระเงิน 5,267,594.91 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี จากต้นเงิน 4,627,729.55บาท นับแต่วันที่ 22 มีนาคม 2542 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์นั้น เป็นการแก้ไขเพื่อให้ถูกต้องตรงกับเหตุผลแห่งคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นที่กล่าวไว้ในคำพิพากษาว่าจำเลยต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยระหว่างผิดนัดของต้นเงินค่าสินค้าตามใบแจ้งหนี้แต่ละฉบับ เมื่อคิดถึงวันฟ้องแล้วรวมเป็นเงิน 5,267,594.91 บาท จำนวนเงินดังกล่าวจึงเป็นยอดรวมของค่าสินค้ากับดอกเบี้ยระหว่างผิดนัดถึงวันฟ้อง ทั้งเมื่อรวมค่าสินค้าตามใบแจ้งหนี้แต่ละฉบับเข้าด้วยกันแล้วจะได้เท่ากับ 4,627,729.55 บาท ตรงกับต้นเงินที่จำเลยต้องรับผิดพร้อมดอกเบี้ยระหว่างผิดนัดนับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จ ดังนั้นคำสั่งของศาลชั้นต้นที่แก้ไขคำพิพากษาดังกล่าวจึงเป็นการแก้ไขข้อผิดพลาดหรือข้อผิดหลงเล็กน้อยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 143 วรรคหนึ่ง กรณีมิใช่เป็นการทำคำสั่งซึ่งเป็นการกลับหรือแก้คำวินิจฉัยในคำพิพากษาเดิม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3511/2545 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความผูกพันคู่ความ แก้ไขได้เฉพาะข้อผิดพลาดเล็กน้อย การเพิ่มโฉนดที่ดินใหม่ไม่ใช่ข้อผิดพลาดเล็กน้อย
เมื่อได้มีการทำสัญญาประนีประนอมยอมความและศาลพิพากษาตามยอมแล้ว ย่อมผูกพันคู่ความตามนั้น และแม้สัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวจะถือได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของคำพิพากษาก็ตาม แต่การจะแก้ไขข้อผิดพลาดได้ก็ต่อเมื่อเป็นข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือข้อผิดหลงเล็กน้อยอื่น ๆ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 143 วรรคหนึ่งเท่านั้น แต่ข้อที่โจทก์หรือจำเลยทั้งสองขอเพิ่มนั้นเป็นการเพิ่มเติมหมายเลขโฉนดที่ดิน สำหรับที่ดินอีก 1 แปลง เข้ามาใหม่ กรณีจึงมิใช่ข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือข้อผิดหลงเล็กน้อยที่ศาลมีอำนาจแก้ไขได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3511/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความผูกพันคู่ความ แก้ไขได้เฉพาะข้อผิดพลาดเล็กน้อย การเพิ่มโฉนดที่ดินใหม่ไม่ใช่ข้อผิดพลาดเล็กน้อย
เมื่อได้มีการทำสัญญาประนีประนอมยอมความและศาลพิพากษาตามยอมแล้วย่อมผูกพันคู่ความตามนั้น และแม้สัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวจะถือได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของคำพิพากษาก็ตาม แต่การจะแก้ไขข้อผิดพลาดได้ก็ต่อเมื่อเป็นข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือข้อผิดหลงเล็กน้อยอื่น ๆ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 143 วรรคหนึ่ง เท่านั้น แต่ข้อที่โจทก์หรือจำเลยทั้งสองขอเพิ่มนั้นเป็นการเพิ่มเติมหมายเลขโฉนดที่ดิน สำหรับที่ดินอีก 1 แปลงเข้าใหม่กรณีจึงมิใช่ข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือข้อผิดหลงเล็กน้อยที่ศาลมีอำนาจแก้ไขได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9314/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจแก้ไขคำพิพากษา ศาลแก้ไขได้เฉพาะข้อผิดพลาดเล็กน้อย หากพิพากษาไม่ตรงตามคำฟ้องจำนวนมาก ถือมิใช่ข้อผิดพลาดเล็กน้อย
โจทก์ฟ้องให้จำเลยทั้งสามชำระเงิน 2,973,482 บาท แต่โจทก์มีคำขอท้ายฟ้องให้จำเลยทั้งสามร่วมกันชำระเงินเพียง 2,927,761 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 19ต่อปีของต้นเงิน 2,927,761 บาท และศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสามชำระเงินตามจำนวนในคำขอท้ายฟ้อง จึงเท่ากับว่าศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสามชำระไม่เต็มตามคำฟ้องของโจทก์ เงินที่ขาดไปไม่ใช่เป็นข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือข้อผิดหลงเล็กน้อยอื่น ๆเมื่อกรณีไม่ใช่เป็นข้อผิดพลาดหรือข้อผิดหลงเล็กน้อย ศาลชั้นต้นย่อมไม่มีอำนาจแก้ไขได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2181/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แก้ไขคำพิพากษาข้อผิดพลาดเล็กน้อยเรื่องดอกเบี้ยค้างชำระได้ แม้ไม่มีอุทธรณ์/ฎีกา โดยไม่เป็นการกลับคำวินิจฉัย
โจทก์ขอให้เพิ่มเติมแก้ไขคำพิพากษาซึ่งมีข้อผิดพลาดหรือผิดหลงของศาลชั้นต้นที่ว่า คำพิพากษามิได้นำเอาดอกเบี้ยเงินกู้ค้างชำระมารวมคำนวณเป็นยอดหนี้ที่จำเลยทั้งสองจะต้องชำระให้แก่โจทก์ เป็นการขอเพิ่มเติมแก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือข้อผิดหลงเล็กน้อย ซึ่งหาได้จำกัดเฉพาะที่เกิดจากการขีดเขียนหรือถ้อยคำเท่านั้นไม่ เมื่อไม่มีการอุทธรณ์หรือฎีกาคำพิพากษาศาลชั้นต้นอำนาจในการขอเพิ่มเติมแก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือข้อผิดหลงเล็กน้อยจึงอยู่แก่ศาลชั้นต้นที่มีคำพิพากษานั้น ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 143.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2135/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขจำนวนหนี้ตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ไม่ใช่ข้อผิดพลาดเล็กน้อยที่แก้ไขได้ตามมาตรา 143 วรรคแรก
โจทก์ยื่นคำร้องขอให้ศาลอุทธรณ์แก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อยเกี่ยวกับจำนวนหนี้ที่จำเลยทั้งสองค้างชำระถึงวันฟ้องว่ามีมากกว่าจำนวนหนี้ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัย โดยขอให้แก้ไขจำนวนเงินเพิ่มจากเดิมถึงสองหมื่นบาทเศษ ดังนี้ ข้อที่โจทก์ขอแก้ไขมิใช่ข้อผิดพลาดหรือผิดหลงเล็กน้อยตามความหมายของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 143 วรรคแรก ศาลอุทธรณ์จึงไม่มีอำนาจแก้ไข
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3207/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพากษาเกินคำขอในคดีรื้อรั้วและภารจำยอม ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขได้เฉพาะข้อผิดพลาดเล็กน้อย
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยรื้อรั้วในที่ดินของจำเลยโฉนดที่32187 ในส่วนที่ติดกับที่ดินของโจทก์โฉนดที่ 32176เพื่อให้โจทก์สามารถใช้เป็นทางออกสู่ถนนสาธารณะได้ การที่ศาลพิพากษาให้จำเลยรื้อรั้วในที่ดินโฉนดที่ 32187 โดยไม่ระบุเฉพาะในส่วนที่ติดกับที่ดินของโจทก์โฉนดที่32176 เป็นเรื่องศาลพิพากษาเกินคำขอ มิใช่เป็นข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือผิดหลงเล็กน้อยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 143 และเมื่อศาลพิพากษาเกินคำขอเช่นว่านี้จำเลยก็มิได้อุทธรณ์ฎีกาในคดีเดิมจนศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดไปแล้ว จึงเป็นอันยุติ ศาลฎีกาไม่มีอำนาจที่จะแก้ไข
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 143/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำพิพากษาหลังคดีถึงที่สุด ศาลไม่มีอำนาจแก้ไขหากไม่ใช่ข้อผิดพลาดเล็กน้อย
โจทก์ฟ้องและแก้ไขคำฟ้องให้จำเลยชำระเงินค่าสินค้าพร้อมทั้งดอกเบี้ยเป็นเงิน 47,339.95 บาท แต่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระเพียง 46,591.95 บาทตามคำฟ้องเดิมจึงเท่ากับว่าศาลพิพากษาให้จำเลยชำระไม่เต็มตามคำฟ้องโจทก์ เงินที่ขาดไปไม่ใช่เป็นข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือข้อผิดหลงเล็กน้อยอื่น ๆ โจทก์ชอบที่จะอุทธรณ์ฎีกาไปตามลำดับ เมื่อโจทก์ไม่ใช้สิทธิอุทธรณ์ ศาลย่อมไม่มีอำนาจแก้ไขได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5598/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำฟ้องและอำนาจฟ้องในคดีภาษีอากร: การแก้ไขชื่อกรรมการผู้มีอำนาจเป็นเพียงข้อผิดพลาดเล็กน้อยที่แก้ไขได้
การที่โจทก์ขอแก้ไขชื่อกรรมการผู้มีอำนาจตามที่บรรยายในคำฟ้องจากชื่อ "นายธีรพงษ์" เป็น "นายชีระพงษ์" เป็นเพียงการขอแก้ไขชื่อกรรมการผู้มีอำนาจให้ถูกต้องตรงตามความเป็นจริงเท่านั้น จึงเป็นการแก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อยซึ่งสามารถกระทำได้ฝ่ายเดียวโดยไม่ต้องให้จำเลยมีโอกาสคัดค้าน และไม่ต้องส่งสำเนาคำร้องให้จำเลยทราบล่วงหน้าตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรฯ มาตรา 17 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 21 (2) และมาตรา 181 (1) ส่วนกรณีที่โจทก์ขอแก้ไขชื่อ "นายธีระพงษ์" ตามที่ปรากฏในหนังสือมอบอำนาจเป็น "นายชีระพงษ์" นั้นหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวเป็นเอกสารที่โจทก์ทำขึ้นเพื่อใช้เป็นพยานหลักฐานในการยื่นคำฟ้อง มิใช่คำฟ้องที่โจทก์จะขอแก้ไขได้
การที่โจทก์นำสืบว่าหนังสือมอบอำนาจพิมพ์ชื่อผิดโดยอักษรตัวแรกของชื่อแทนที่จะเป็น "ช" กลับพิมพ์เป็น "ธ" มิใช่การนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสารแต่เป็นการนำสืบอธิบายความเป็นมาของหนังสือมอบอำนาจเพื่อยืนยันคำฟ้องที่แก้ไขแล้ว
การที่โจทก์นำสืบว่าหนังสือมอบอำนาจพิมพ์ชื่อผิดโดยอักษรตัวแรกของชื่อแทนที่จะเป็น "ช" กลับพิมพ์เป็น "ธ" มิใช่การนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสารแต่เป็นการนำสืบอธิบายความเป็นมาของหนังสือมอบอำนาจเพื่อยืนยันคำฟ้องที่แก้ไขแล้ว