คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ข้อสาระสำคัญ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 13 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 115/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานลักทรัพย์-ยักยอก: ศาลลงโทษฐานยักยอกได้ แม้ฟ้องฐานลักทรัพย์ เพราะการได้ทรัพย์ไปเหมือนกัน และจำเลยไม่หลงต่อสู้
++ เรื่อง ลักทรัพย์ ++
++
++ ทดสอบการทำงานในระบบ CW เพื่อค้นหาข้อมูลทาง online ++
++ ย่อข้อกฎหมายอย่างไม่เป็นทางการ
++ ขอชุดตรวจได้ที่งานย่อข้อกฎหมายระบบ CW โถงกลางชั้น 3 ++
++
++
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยลักทรัพย์ แม้ข้อเท็จจริงในการพิจารณาฟังได้ว่าจำเลยครอบครองทรัพย์ของโจทก์ร่วมแล้วเบียดบังเป็นของตนโดยทุจริตอันเป็นความผิดฐานยักยอก แต่การกระทำผิดฐานลักทรัพย์และยักยอกต่างเป็นการได้ทรัพย์ไปเช่นเดียวกันจึงถือไม่ได้ว่าข้อเท็จจริงตามที่ปรากฎในการพิจารณาแตกต่างกับข้อเท็จจริงดังที่กล่าวในฟ้องในข้อสาระสำคัญ ทั้งข้อแตกต่างดังกล่าวป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสามบัญญัติว่าเป็นข้อแตกต่างในรายละเอียด มิให้ถือว่าแตกต่างกันในข้อสาระสำคัญ และมิให้ถือว่าข้อที่พิจารณาได้ความนั้นเป็นเรื่องเกินคำขอหรือโจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษเมื่อจำเลยให้การปฎิเสธและนำสืบว่าจำเลยครอบครองทรัพย์ของโจทก์ร่วม แต่ไม่ได้กระทำความผิดตามฟ้อง แสดงว่าจำเลยมิได้หลงต่อสู้ ศาลจึงลงโทษจำเลยฐานยักยอกได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6874/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประกันภัย: การแจ้งความเสียหายล่าช้าไม่ถือเป็นข้อสาระสำคัญ หากผู้รับประกันภัยไม่ถือเป็นเหตุปฏิเสธความรับผิด
แม้กรมธรรม์ประกันภัยจะกำหนดเงื่อนไขกรณีเกิดเหตุความรับผิดให้โจทก์ผู้เอาประกันภัยแจ้งคำบอกกล่าวเป็นลายลักษณ์อักษรไปยังผู้ขนส่งภายใน 3 วัน นับแต่วันรับมอบสินค้า แต่การที่โจทก์แจ้งเรื่องสินค้าสูญหายล่าช้าไปหลายเดือนก็เนื่องมาจากกระบวนการตรวจสอบว่าสินค้าได้สูญหายไปจริงหรือไม่ เมื่อตรวจสอบว่าสินค้าได้สูญหายไปจริงโจทก์ก็ได้แจ้งให้ผู้ขนส่งและจำเลยผู้รับประกันภัยทราบทันที ซึ่งจำเลยก็ไม่เคยปฏิเสธความรับผิดโดยอ้างเหตุที่โจทก์ไม่ได้แจ้งความเสียหายให้ทราบภายในกำหนดแต่อย่างใด จำเลยคงปฏิเสธไม่จ่ายค่าสินค้าสูญหายโดยอ้างเหตุเพียงว่าโจทก์ไม่มีหลักฐานว่าสินค้าสูญหาย กับจำเลยไม่สามารถรับช่วงสิทธิจากผู้ทำละเมิดได้เท่านั้น จากพฤติการณ์ดังกล่าว แสดงว่าจำเลยมิได้ถือเอาข้อกำหนดเงื่อนไขตามสัญญาประกันภัยดังกล่าวเป็นข้อสาระสำคัญให้โจทก์ปฏิบัติตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5985/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงฐานความผิดจากพยายามลักทรัพย์เป็นลักทรัพย์ชิ้นส่วน ศาลมีอำนาจพิจารณาลงโทษได้
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยพยายามลักรถจักรยานยนต์ แต่ในการพิจารณาได้ความว่า จำเลยลักชิ้นส่วนของรถจักรยานยนต์ซึ่งเป็นชิ้นส่วนของรถจักรยานยนต์คันเดียวกับที่โจทก์ฟ้อง มิใช่เป็นข้อแตกต่างในข้อสาระสำคัญ และทั้งจำเลยก็ให้การปฏิเสธว่าไม่ได้กระทำผิด จึงไม่ได้หลงต่อสู้ ศาลมีอำนาจพิพากษาลงโทษจำเลยตามข้อเท็จจริงที่ได้ความนี้ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 192 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2768/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงวิธีการกระทำผิดในคำฟ้อง ไม่ถึงขั้นต้องยกฟ้อง หากข้อสาระสำคัญยังคงเดิมและจำเลยไม่หลงต่อสู้
โจทก์ได้บรรยายคำฟ้องไว้ด้วยว่าจำเลยใช้อาวุธปืน และเครื่องกระสุนปืนยิงประทุษร้ายผู้เสียหายกระสุนปืนถูกผู้เสียหายบริเวณศีรษะจำนวน 2 แผลผู้เสียหายได้รับอันตรายสาหัสและทุพพลภาพป่วยเจ็บด้วยอาการทุกขเวทนา จนประกอบกรณียกิจตามปกติไม่ได้เกินกว่ายี่สิบวันพอถือได้ว่า โจทก์ได้บรรยายฟ้องถึงการกระทำประทุษร้ายและสภาพความบาดเจ็บของผู้เสียหายไว้แล้ว แสดงถึงเจตนาประสงค์ให้ศาลพิพากษาลงโทษในข้อหาทำร้ายร่างกายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้ ได้รับอันตรายสาหัสด้วยแม้ข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏ ในการพิจารณาว่าจำเลยใช้อาวุธปืนตีทำร้าย ผู้เสียหายแตกต่างกับข้อเท็จจริงดังที่กล่าวในฟ้องว่า จำเลยใช้อาวุธปืนยิงศีรษะผู้เสียหายโดยเจตนาฆ่า แต่ข้อแตกต่างนั้นมิใช่ในข้อสาระสำคัญเพราะเป็น เพียง ข้อแตกต่างในวิธีการประทุษร้ายของจำเลย และ จำเลย ก็มิได้หลงต่อสู้ ศาลจึงพิพากษาลงโทษจำเลย ฐานทำร้ายร่างกายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้ได้รับอันตรายสาหัสได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2003/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงฐานความผิดจากวิ่งราวทรัพย์เป็นยักยอกทรัพย์ ศาลอุทธรณ์มีอำนาจลงโทษได้หากไม่ถึงขั้นข้อสาระสำคัญ
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในข้อหาวิ่งราวทรัพย์ แม้ข้อเท็จจริงที่ปรากฏในการพิจารณาได้ความว่าจำเลยกระทำความผิดฐาน ยักยอกตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352 ก็ตามแต่ การวิ่งราวทรัพย์หรือยักยอก ก็คือการเอาทรัพย์ของผู้อื่นไปโดยเจตนาทุจริตเช่นเดียวกัน คงแตกต่าง กันแต่ เพียงเอาทรัพย์ไปโดยวิธีการฉกฉวยเอาซึ่งหน้า หรือด้วยวิธีครอบครองทรัพย์ของผู้อื่นแล้วเบียดบังเอาทรัพย์นั้นเป็นของตน จึงเป็นการแตกต่างกันมิใช่ในข้อสาระสำคัญ และทั้งจำเลยให้การต่อสู้คดีอ้างฐานที่อยู่จำเลยจึงมิได้หลงข้อต่อสู้ ศาลจึงลงโทษจำเลยฐานยักยอกตามข้อเท็จจริงที่พิจารณาได้ความนั้นได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2003/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงฐานความผิดจากวิ่งราวทรัพย์เป็นยักยอกทรัพย์: ข้อสาระสำคัญและขอบเขตการลงโทษ
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐาน วิ่งราว ทรัพย์ แต่ ทางพิจารณาฟังได้ว่าจำเลยกระทำความผิดฐาน ยักยอกทรัพย์ ข้อสำคัญในความผิดฐาน วิ่งราว ทรัพย์กับยักยอกทรัพย์ก็คือการเอาทรัพย์ของผู้อื่นไปโดย เจตนาทุจริตเช่นเดียว กัน ต่างกันแต่ เพียงวิธีการเอาไปคือด้วย วิธีฉกฉวย เอาซึ่งหน้ากับด้วย วิธีครอบครองทรัพย์ของผู้อื่นแล้วเบียดบังเอาทรัพย์นั้นเป็นของตน จึงมิใช่แตกต่าง กันในข้อสาระสำคัญอันจะลงโทษจำเลยมิได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1118/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญานายหน้าสิ้นสุดหากไม่จดทะเบียนซื้อขายภายในเวลาที่กำหนด ถือเป็นข้อสาระสำคัญของสัญญา
จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของที่ดินมีความจำเป็นต้องการขายที่ดินโดยเร็วเพื่อนำเงินไปชำระหนี้จำนอง ได้ตกลงให้โจทก์เป็นนายหน้าขายที่ดินดังกล่าว ต่อมา ม. เป็นผู้ซื้อที่ดินได้ แม้โจทก์เป็นผู้ติดต่อ ม. มาซื้อที่ดินจากจำเลยได้ก็ตาม แต่เมื่อสัญญานายหน้ามีข้อความระบุว่า "มอบให้นายหน้าไปจัดการให้จดทะเบียน ณ สำนักงานที่ดินให้เสร็จภายในกำหนด 10 วันนับแต่วันทำสัญญานี้... ถ้าพ้นกำหนดเวลาดังกล่าวสัญญานายหน้านี้เป็นอันระงับสิ้นสุดลง" อันมีความหมายว่า เมื่อโจทก์ติดต่อหาผู้ซื้อได้แล้ว โจทก์จำต้องจัดการให้มีการจดทะเบียนซื้อขายโอนกรรมสิทธิ์กันให้เสร็จสิ้นภายในกำหนดเวลาดังกล่าวนับแต่วันทำสัญญาด้วย เป็นกรณีที่คู่สัญญามีเจตนากำหนดเวลาไว้แน่นอนกำหนดเวลาดังกล่าวจึงเป็นข้อสาระสำคัญของสัญญานายหน้า เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ได้ผ่อนเวลาออกไปอีก และเมื่อครบกำหนด 10 วันตามสัญญาแล้ว โจทก์ไม่สามารถจัดการให้มีการจดทะเบียนซื้อขายโอนกรรมสิทธิ์กันได้ จึงถือว่าสัญญานายหน้าสิ้นสุดไม่มีผลผูกพันคู่กรณี จำเลยที่ 1 ไม่ต้องรับผิดใช้ค่าบำเหน็จนายหน้าแก่โจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 599/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการลงโทษฐานฉ้อโกง แม้ฟ้องฐานปล้นทรัพย์ – ข้อแตกต่างความผิดไม่ถึงสาระสำคัญ
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในข้อหาปล้นทรัพย์ แม้ข้อเท็จจริงที่ปรากฏในการพิจารณาได้ความว่าจำเลยกระทำความผิดฐานฉ้อโกงตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341 ก็ตามแต่การกระทำผิดฐานปล้นทรัพย์ก็เป็นการลักทรัพย์โดยร่วมกันกระทำผิดตั้งแต่ 3คนขึ้นไปและกระทำการอันมีลักษณะเป็นการชิงทรัพย์ซึ่งเป็นการได้ทรัพย์ของผู้เสียหายไปเช่นเดียวกัน จึงถือไม่ได้ว่าข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในการพิจารณาแตกต่างกับข้อเท็จจริงที่กล่าวในฟ้องในข้อสาระสำคัญอันจะเป็นเหตุให้ศาลต้องยกฟ้อง เมื่อจำเลยให้การปฏิเสธโดยนำสืบว่าได้ทรัพย์ไปจากผู้เสียหายจริงแต่ไม่ได้กระทำความผิดตามฟ้องแสดงว่าจำเลยมิได้หลงต่อสู้ ศาลมีอำนาจลงโทษจำเลยในความผิดฐานฉ้อโกงตามที่พิจารณาได้ความได้ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 192 วรรคสาม.(ที่มา-ส่งเสริม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1033/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อแตกต่างของวันเกิดเหตุในฟ้องและคำเบิกความ ไม่ถือเป็นข้อสาระสำคัญ ศาลลงโทษจำเลยได้
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำผิดฐานข่มขืนกระทำชำเราในวันที่ 4 มิถุนายน 2522 แต่ทางพิจารณาได้ความว่าจำเลยกระทำผิดวันที่ 14 มิถุนายน 2522 ดังนี้ เป็นเพียงรายละเอียดเกี่ยวกับเวลากระทำความผิด ซึ่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคสาม แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2522 มาตรา 5 บัญญัติว่ามิให้ถือว่าต่างกันในข้อสาระสำคัญ เมื่อจำเลยมิได้หลงข้อต่อสู้ศาลย่อมพิพากษาลงโทษจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 855/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีภารจำยอม: เวลาปิดกั้นทางเดินไม่ใช่ข้อสาระสำคัญในคำฟ้อง
รายละเอียดเกี่ยวกับเวลาที่จำเลยทำรั้วลวดหนามปิดกั้นทางเดินซึ่งเป็นภารจำยอม. ไม่ใช่ข้อสารสำคัญที่จะต้องกล่าวในคำฟ้องคดีแพ่ง. เป็นแต่เพียงข้อที่อาจนำสืบได้ในชั้นพิจารณาเท่านั้น.
of 2