พบผลลัพธ์ทั้งหมด 23 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4278/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาโอนที่ดินขัดต่อข้อห้ามโอนและผลกระทบต่อการออกโฉนด
ขณะที่ ก.บิดาของโจทก์กับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันโอนที่ดินตามฟ้องให้แก่ ก.นั้น ที่ดินตามฟ้องยังอยู่ในระยะเวลาห้ามโอนซึ่งมีกำหนด 10 ปี ข้อตกลงดังกล่าวเป็นการหลีกเลี่ยงข้อกำหนดห้ามโอนตาม ป.ที่ดิน มาตรา 58 ทวิ จึงตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ.มาตรา 113(เดิม) ซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะทำสัญญา แม้ศาลจะพิพากษาตามยอม คำพิพากษานั้นก็หาผูกพันคู่ความไม่
ที่ดินตามฟ้องเป็นของ ก.บิดาโจทก์ เมื่อ ก.ถึงแก่กรรม ที่ดินตามฟ้องจึงเป็นมรดกตกทอดแก่โจทก์และทายาทอื่นของ ก. การที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 นำที่ดินตามฟ้องไปขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์และโฉนดที่ดินต่อจำเลยที่ 3 และที่ 4 โดยมิได้รับความยินยอมจาก ก.และโจทก์ ตลอดทั้งทายาทอื่นของ ก.จึงเป็นการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์และโฉนดที่ดินโดยมิชอบด้วยกฎหมาย โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์และโฉนดที่ดินดังกล่าวได้ และแม้โจทก์มิได้มีคำขอให้เพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์มาด้วย แต่ตามฟ้องโจทก์ได้บรรยายว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 นำที่ดินตามฟ้องไปขอออกโฉนดที่ดินโดยโจทก์มิได้รู้เห็นยินยอมเท่ากับโจทก์กล่าวอ้างว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 นำที่ดินตามฟ้องไปขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์นั่นเอง ถือได้ว่าโจทก์ได้บรรยายคำฟ้องเกี่ยวพันไปถึงเรื่องจำเลยที่ 1 และที่ 2นำที่ดินตามฟ้องไปขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ด้วย ศาลย่อมพิพากษาให้เพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ได้ด้วย ไม่เป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้องตาม ป.วิ.พ.มาตรา 142 วรรคหนึ่ง
ที่ดินตามฟ้องเป็นของ ก.บิดาโจทก์ เมื่อ ก.ถึงแก่กรรม ที่ดินตามฟ้องจึงเป็นมรดกตกทอดแก่โจทก์และทายาทอื่นของ ก. การที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 นำที่ดินตามฟ้องไปขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์และโฉนดที่ดินต่อจำเลยที่ 3 และที่ 4 โดยมิได้รับความยินยอมจาก ก.และโจทก์ ตลอดทั้งทายาทอื่นของ ก.จึงเป็นการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์และโฉนดที่ดินโดยมิชอบด้วยกฎหมาย โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์และโฉนดที่ดินดังกล่าวได้ และแม้โจทก์มิได้มีคำขอให้เพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์มาด้วย แต่ตามฟ้องโจทก์ได้บรรยายว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 นำที่ดินตามฟ้องไปขอออกโฉนดที่ดินโดยโจทก์มิได้รู้เห็นยินยอมเท่ากับโจทก์กล่าวอ้างว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 นำที่ดินตามฟ้องไปขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์นั่นเอง ถือได้ว่าโจทก์ได้บรรยายคำฟ้องเกี่ยวพันไปถึงเรื่องจำเลยที่ 1 และที่ 2นำที่ดินตามฟ้องไปขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ด้วย ศาลย่อมพิพากษาให้เพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ได้ด้วย ไม่เป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้องตาม ป.วิ.พ.มาตรา 142 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9087/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายที่ดินในเขตนิคมสหกรณ์ที่เป็นโมฆะเนื่องจากข้อห้ามโอน
ขณะโจทก์ทำสัญญาจะซื้อขายที่พิพาทจากจำเลยนั้น โจทก์ไม่ทราบว่ามีข้อกำหนดห้ามโอน นิติกรรมดังกล่าว จึงเป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายย่อมตกเป็นโมฆะ โจทก์ไม่มีหน้าที่ต้องชำระหนี้ที่ค้างชำระและจำเลยต้อง คืนเงินที่โจทก์ชำระไว้โดยถือไม่ได้ว่าโจทก์กระทำตามอำเภอใจเหมือนหนึ่งว่าเพื่อชำระหนี้โดยรู้ว่าตนไม่มีความผูกพันที่จะต้องชำระแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 620/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินขัดต่อข้อห้ามโอนตามพ.ร.บ.จัดรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม เป็นโมฆะ
โจทก์จำเลยทำ สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทภายในระยะเวลาตามข้อกำหนดห้ามโอนเป็นการหลีกเลี่ยงข้อห้ามโอนย่อมตกเป็น โมฆะและเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนที่ศาลชั้นต้นมีอำนาจ งดสืบพยานแล้วยกขึ้นวินิจฉัยชี้ขาดได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา24
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1352/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อห้ามโอนที่ดินและสิทธิครอบครอง: สัญญาฝ่าฝืนเป็นโมฆะ แม้พ้นกำหนดห้ามโอนก็ยังต้องพิสูจน์การสละสิทธิ
ที่ดินพิพาททั้งสองแปลงมีข้อกำหนดห้ามโอนสิบปีนับแต่วันที่ 25สิงหาคม 2520 สัญญาขายฝากทำกันเมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2523 จึงอยู่ในระยะเวลาห้ามโอน เป็นการฝ่าฝืนข้อห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ.มาตรา113 เดิม ซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น การที่จำเลยทำสัญญาและมอบให้โจทก์ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาท โจทก์ก็หาได้สิทธิครอบครองตามกฎหมายไม่ เพราะอยู่ในกำหนดห้ามโอน หลังจากนั้นต่อมาเมื่อพ้นกำหนดห้ามโอนแล้ว แม้โจทก์จะได้ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทแต่ก็ไม่ได้นำสืบให้เห็นว่าจำเลยทั้งสองได้สละสิทธิครอบครองให้แก่โจทก์แต่อย่างใด กลับได้ความว่าโจทก์ได้ให้เงินจำเลยทั้งสองไปชำระค่าภาษีบำรุงท้องที่ทุกปี และมิได้ขอให้จำเลยทั้งสองไปจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ถือไม่ได้ว่าภายหลังพ้นกำหนดห้ามโอนแล้วจำเลยทั้งสองสละสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ โจทก์จึงไม่ได้เป็นเจ้าของที่ดินพิพาท
ส่วนที่โจทก์ฎีกาว่า การที่ศาลอุทธรณ์หยิบยกประเด็นเรื่องโจทก์เปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือที่ดินพิพาทเป็นเจตนายึดถือเพื่อตนยังไม่ครบ 1 ปี ขึ้นวินิจฉัยเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นนั้น กรณีของโจทก์นี้จะได้สิทธิครอบครองที่ดินพิพาทต่อเมื่อได้แย่งการครอบครองที่ดินพิพาทมาจากจำเลยทั้งสองโดยการเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือ แต่เมื่อโจทก์ฎีกาว่าไม่มีประเด็นนี้เสียแล้ว โจทก์ก็ไม่อาจได้สิทธิครอบครองที่ดินพิพาท ดังนั้น แม้การวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์จะเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นก็ตาม แต่ก็ไม่มีผลเปลี่ยนแปลงทำให้โจทก์ชนะคดีแต่ประการใด ฎีกาของโจทก์ในข้อนี้จึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249วรรคหนึ่ง
ส่วนที่โจทก์ฎีกาว่า การที่ศาลอุทธรณ์หยิบยกประเด็นเรื่องโจทก์เปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือที่ดินพิพาทเป็นเจตนายึดถือเพื่อตนยังไม่ครบ 1 ปี ขึ้นวินิจฉัยเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นนั้น กรณีของโจทก์นี้จะได้สิทธิครอบครองที่ดินพิพาทต่อเมื่อได้แย่งการครอบครองที่ดินพิพาทมาจากจำเลยทั้งสองโดยการเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือ แต่เมื่อโจทก์ฎีกาว่าไม่มีประเด็นนี้เสียแล้ว โจทก์ก็ไม่อาจได้สิทธิครอบครองที่ดินพิพาท ดังนั้น แม้การวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์จะเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นก็ตาม แต่ก็ไม่มีผลเปลี่ยนแปลงทำให้โจทก์ชนะคดีแต่ประการใด ฎีกาของโจทก์ในข้อนี้จึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9091/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินมีข้อห้ามโอนเป็นโมฆะ แม้มีการแก้ไขกฎหมายภายหลัง สัญญาจำนองที่ผูกพันกับสัญญาจะซื้อจะขายก็ไม่อาจบังคับได้
ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.)ซึ่งมีข้อกำหนดห้ามโอนไว้ภายใน 10 ปี ตาม ป.ที่ดิน มาตรา 31 ดังนั้นการที่โจทก์จำเลยทำสัญญาจะซื้อจะขายเพื่อโอนที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยภายในกำหนดเวลาห้ามโอนเป็นการกระทำนิติกรรมที่มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายนิติกรรมสัญญาจะซื้อจะขายจึงตกเป็นโมฆะ แม้ต่อมาหลังจากทำสัญญาแล้วจะได้มีพ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม ป.ที่ดิน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2521 มาตรา 4 ให้ยกเลิกความในมาตรา 31 แห่ง ป.ที่ดิน ที่ใช้บังคับอยู่เดิมมิให้ใช้บังคับกับที่ดินในกรณีเช่นคดีนี้ก็ตาม ก็ไม่ทำให้นิติกรรมที่เป็นโมฆะแล้วนั้นกลับสมบูรณ์ขึ้นได้อีก ดังนั้นเมื่อสัญญาจะซื้อจะขายตกเป็นโมฆะ สัญญาจำนองเพื่อประกันสัญญาจะซื้อจะขายจึงไม่อาจบังคับได้เพราะสัญญาจำนองจะมีได้เฉพาะเพื่อหนี้อันสมบูรณ์ตาม ป.พ.พ.มาตรา 707 ประกอบด้วย มาตรา 681 ดังนั้น จึงไม่อาจบังคับตามสัญญาจะซื้อจะขายและสัญญาจำนองได้ เมื่อสัญญาจะซื้อจะขายตกเป็นโมฆะ จึงต้องบังคับตามป.พ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง กล่าวคือ ในการคืนทรัพย์สินอันเกิดจากโมฆะกรรมให้นำบทบัญญัติว่าด้วยลาภมิควรได้มาใช้บังคับ จำเลยต้องคืนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์และรับเงินค่าที่ดินพิพาทที่โจทก์นำไปวางไว้ที่สำนักงานวางทรัพย์
แม้คำฟ้องขอไถ่ถอนจำนองจะเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ แต่เมื่อจำเลยให้การต่อสู้ว่าได้ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทจากโจทก์ และโจทก์สละสิทธิครอบครองให้แก่จำเลยแล้ว เป็นการโต้เถียงสิทธิครอบครอง การที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นว่าโจทก์มีสิทธิไถ่ถอนจำนองที่ดินพิพาทหรือไม่ เป็นการรวมประเด็นที่ว่า โจทก์จำเลยได้ทำสัญญาจะซื้อจะขายกันหรือไม่ ตามคำให้การของจำเลยด้วยคดีไม่มีทุนทรัพย์จึงกลายเป็นคดีมีทุนทรัพย์
แม้คำฟ้องขอไถ่ถอนจำนองจะเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ แต่เมื่อจำเลยให้การต่อสู้ว่าได้ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทจากโจทก์ และโจทก์สละสิทธิครอบครองให้แก่จำเลยแล้ว เป็นการโต้เถียงสิทธิครอบครอง การที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นว่าโจทก์มีสิทธิไถ่ถอนจำนองที่ดินพิพาทหรือไม่ เป็นการรวมประเด็นที่ว่า โจทก์จำเลยได้ทำสัญญาจะซื้อจะขายกันหรือไม่ ตามคำให้การของจำเลยด้วยคดีไม่มีทุนทรัพย์จึงกลายเป็นคดีมีทุนทรัพย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5521/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อห้ามโอนอสังหาริมทรัพย์ต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียน จึงมีผลบังคับใช้
โจทก์ได้ยกที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 1 โดยเสน่หา โดยมีข้อตกลงด้วยวาจาว่าห้ามมิให้จำเลยที่ 1 นำที่ดินพิพาทไปขาย ต่อมาจำเลยที่ 1ได้ขายที่ดินพิพาทจำนวน 1,000 ส่วนใน 1,064 ส่วน ให้แก่จำเลยที่ 2 ในราคา500,000 บาท โดยจดทะเบียนให้จำเลยที่ 2 มีกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินจำนวนดังกล่าวดังนี้ เมื่อข้อห้ามโอนดังกล่าวเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ แต่โจทก์ไม่ได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ รวมทั้งมิได้กำหนดบุคคลที่จะเป็นผู้รับทรัพย์สินนั้นในเมื่อมีการละเมิดข้อกำหนดห้ามโอนไว้ ข้อห้ามโอนดังกล่าวย่อมไม่มีผลบังคับตามป.พ.พ. มาตรา 1700 และ 1702 จำเลยที่ 1 จึงมีอำนาจขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3133/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายที่ขัดต่อข้อห้ามโอน: สัญญาจะซื้อจะขายโมฆะ
จำเลยที่1ได้สละการครอบครองและส่งมอบการครอบครองที่พิพาทซึ่งมี ข้อกำหนดห้ามโอนภายในสิบปีให้โจทก์เข้าครอบครองทำประโยชน์และโจทก์ได้ชำระราคาค่าที่พิพาทให้แก่จำเลยที่1แล้วจึงได้มาทำสัญญาจะซื้อขายกันในภายหลังแม้จะกำหนดให้ไปจดทะเบียนโอนที่พิพาทกันเมื่อพ้นระยะเวลาห้ามโอนก็ถือไม่ได้ว่าระยะเวลาดังกล่าวเป็น เงื่อนเวลาไปจดทะเบียนการโอนฟังไม่ได้ว่าสัญญาที่ทำกันไว้เป็น สัญญาจะซื้อจะขายและสัญญาดังกล่าวย่อมมีวัตถุประสงค์ต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายตกเป็น โมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา150โจทก์จึง ไม่มี อำนาจฟ้องขอให้จำเลยที่1โอนที่พิพาทแม้จะพ้นกำหนดเวลาห้ามโอนแล้วก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 619/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการครอบครองปรปักษ์ในที่ดินมีข้อห้ามโอนสิทธิ การนับระยะเวลาครอบครองต้องพ้นระยะห้ามโอน
ผู้คัดค้านได้สละการครอบครองที่ดินพิพาทให้แก่ผู้ร้องตั้งแต่วันทำหนังสือสัญญาซื้อขาย แต่ที่พิพาทมีข้อบังคับห้ามโอนภายใน 10 ปี นับแต่วันที่ผู้คัดค้านได้รับโฉนดที่ดินตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 31 แสดงว่าที่ดินพิพาทเป็นที่ดินที่ทางราชการจัดให้ราษฎรทำกินบทบัญญัติดังกล่าวมีเจตนาจะปกป้องราษฎรให้มีที่ทำกินเป็นเวลาอย่างน้อย 10 ปี และภายในระยะเวลาดังกล่าวทางราชการได้ควบคุมที่ดินนี้อยู่ ยังไม่ปล่อยให้เป็นสิทธิเด็ดขาดแก่ผู้คัดค้านจึงไม่อาจสละหรือโอนการครอบครองที่ดินตามหนังสือสัญญาซื้อขายให้แก่ผู้ร้องได้ ทั้งผู้ร้องจะเอาระยะเวลาการครอบครองซึ่งอยู่ภายในข้อบังคับห้ามโอนกรรมสิทธิ์มารวมคำนวณเป็นระยะเวลาครอบครองปรปักษ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1382 หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6132/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายที่ดินมีข้อห้ามโอนตามกฎหมายเป็นโมฆะ แม้พ้นกำหนดห้ามโอน สัญญาไม่มีผลบังคับ
ที่ดินพิพาทมีข้อบังคับห้ามโอนภายใน 10 ปี นับแต่วันที่จำเลยได้รับหนังสือรับรองการทำประโยชน์ตามประมวลกฎหมายที่ดินฯ มาตรา 31จำเลยจึงไม่อาจสละหรือโอนการครอบครองที่ดินตามสัญญาซื้อขายให้แก่โจทก์ได้ การที่โจทก์จำเลยทำสัญญาอันมีผลเป็นการโอนสิทธิในที่ดินโดยการส่งมอบการครอบครองให้แก่กันภายในกำหนดระยะเวลาห้ามโอนตามกฎหมาย เป็นนิติกรรมที่มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย ตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 113 เดิม (มาตรา 150 ที่แก้ไขใหม่) แม้พ้นกำหนดห้ามโอนสิบปีแล้วสัญญาซื้อขายดังกล่าวก็ไม่มีผลบังคับ โจทก์จึงไม่มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทดีกว่าจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6059/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายที่ดินมีข้อห้ามโอน และสิทธิครอบครองหลังสัญญาเป็นโมฆะ
ที่พิพาทเป็นที่ดินมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.)มีข้อกำหนดห้ามโอนภายใน 10 ปี ตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 31โจทก์ซื้อที่พิพาทจากนาย ส. และเข้าครอบครองทำประโยชน์ในที่พิพาทตลอดมา นิติกรรมการซื้อขายที่ดินระหว่างโจทก์กับนายส.เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย ย่อมตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 113(เดิม) ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับในขณะทำสัญญา คู่กรณีต้องกลับสู่ฐานะเดิม โดยถือเสมือนหนึ่งว่าไม่มีการทำนิติกรรมซื้อขายที่ดินกัน แต่การที่โจทก์ยังยึดถือครอบครองที่ดินตลอดมาทั้งภายใน 10 ปี และหลัง 10 ปีนับจากวันห้ามโอนแล้ว โจทก์จะได้สิทธิครอบครองในที่ดินหรือไม่เพียงใดต้องแล้วแต่ข้อเท็จจริงว่าโจทก์ได้ยึดถือที่ดินโดยเจตนาจะยึดถือเพื่อตนหรือไม่ ไม่มีกฎหมายใดให้สิทธิโจทก์ที่จะนำคดีมาฟ้องหรือร้องขอต่อศาลว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครอง