คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ข้ออ้าง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 28 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5321/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบอกเลิกสัญญาจ้างด้วยวาจาต้องแจ้งเหตุผล หากไม่แจ้ง นายจ้างยกข้ออ้างการเลิกจ้างภายหลังไม่ได้
บทบัญญัติตามมาตรา 17 วรรคสาม แห่ง พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มีเจตนารมณ์เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมและความเข้าใจอันดีระหว่างนายจ้างและลูกจ้างโดยให้นายจ้างแสดงเหตุผลในการเลิกสัญญาจ้าง เพื่อให้ลูกจ้างพิจารณาว่าสมควรที่จะเรียกร้องค่าชดเชยและสิทธิประโยชน์อื่นอันเนื่องมาจากการเลิกสัญญาจ้างนั้นหรือไม่เพียงใด ดังนั้น การบอกเลิกสัญญาจ้างไม่ว่าจะกระทำเป็นหนังสือหรือกระทำด้วยวาจา นายจ้างก็ต้องระบุเหตุผลในการเลิกสัญญาจ้างให้ลูกจ้างทราบ โดยหากกระทำเป็นหนังสือ ก็ต้องระบุเหตุผลไว้ในหนังสือบอกเลิกสัญญาจ้าง แต่หากกระทำด้วยวาจา ก็ต้องระบุเหตุผลไว้ในขณะที่บอกเลิกสัญญาจ้างนั้น คดีนี้จำเลยบอกเลิกสัญญาจ้างโจทก์ด้วยวาจา แต่มิได้ระบุหรือแจ้งเหตุผลในการบอกเลิกจ้างไว้ในขณะที่บอกเลิกสัญญาจ้าง จำเลยจึงไม่อาจยกเหตุตามมาตรา 119 แห่ง พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 ที่จะไม่จ่ายค่าชดเชยขึ้นอ้างภายหลังได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4273/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาระการพิสูจน์กรณีออกใบกำกับภาษี โจทก์ต้องนำสืบหลักฐานสนับสนุนข้ออ้าง
คดีมีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยว่า บริษัท บ.เป็นผู้ออกใบกำกับภาษีรายพิพาททั้งสามฉบับหรือไม่ และออกโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ประเด็นดังกล่าวโจทก์กล่าวอ้างโจทก์จึงมีภาระการพิสูจน์ แต่โจทก์ไม่นำพยานหลักฐานมาสืบสนับสนุนข้ออ้างของตน จึงฟังไม่ได้ตามที่โจทก์กล่าวอ้างตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 17 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 84
ข้อเท็จจริงที่คู่ความทั้งสองฝ่ายรับกันในวันชี้สองสถานฟังได้แต่เพียงว่าบริษัท บ.ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มและยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีมูลค่าเพิ่มประจำเดือนธันวาคม 2539 เท่านั้น แต่จำเลยทั้งสี่ปฏิเสธว่าใบกำกับภาษีรายพิพาททั้งสามฉบับซึ่งออกโดยบริษัทดังกล่าวนั้น บริษัทดังกล่าวไม่มีตัวตน ไม่มีสถานประกอบการและไม่มีการให้บริการจริง โจทก์จึงมีภาระการพิสูจน์ เมื่อโจทก์ไม่นำพยานหลักฐานมาสืบสนับสนุน โจทก์จึงต้องเป็นฝ่ายแพ้คดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 338/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้ออ้างทางจำเป็นต้องยกขึ้นในศาลชั้นต้นก่อน หากไม่ได้ยก ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยได้
คดีนี้โจทก์ฟ้องโดยยกข้ออ้างซึ่งอาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาแต่เพียงว่าทางพิพาทเป็นทางภาระจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์มิได้กล่าวอ้างว่าเป็นทางจำเป็นข้อที่จำเลยอุทธรณ์ว่าทางพิพาทเป็นทางจำเป็นจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นเป็นการฝ่าฝืนต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา225ที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยให้นั้นจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3232/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องขึ้นอยู่กับข้ออ้างในคำฟ้อง หากข้ออ้างขัดแย้งกับที่ระบุไว้เดิม ศาลจะไม่รับฟัง
ศาลชั้นต้นชี้สองสถานโดยกำหนดประเด็นว่า โจทก์เป็นเจ้าของสินค้าที่บรรทุกมาในรถยนต์คันที่ถูกชนหรือไม่ เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า อุปกรณ์ไฟฟ้าอันเป็นสินค้าตามประเด็นข้อพิพาทดังกล่าวเป็นของ ว. ดังนั้น โจทก์จึงไม่ใช่เจ้าของอุปกรณ์ไฟฟ้าตามประเด็นที่ศาลชั้นต้นกำหนด การที่โจทก์อุทธรณ์อ้างว่า โจทก์เป็นผู้ครอบครองอุปกรณ์ไฟฟ้าดังกล่าว โจทก์ต้องรับผิดต่อ ว.ในความเสียหายของอุปกรณ์ไฟฟ้าที่อยู่ในความครอบครองของโจทก์และโจทก์ได้ใช้ค่าเสียหายให้แก่ ว.แล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้นั้น หากโจทก์ระบุข้อเท็จจริงดังกล่าวมาในคำฟ้อง โจทก์ก็ย่อมมีอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้ แต่เมื่อคำฟ้องของโจทก์ไม่ได้ระบุข้อความตามที่โจทก์กล่าวอ้าง กลับระบุว่าโจทก์เป็นเจ้าของอุปกรณ์ไฟฟ้าเสียเองอันเป็นเหตุให้ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นว่า โจทก์เป็นเจ้าของอุปกรณ์ไฟฟ้าดังกล่าวหรือไม่ ดังนี้เรื่องที่โจทก์กล่าวอ้างจึงเป็นเรื่องนอกฟ้องนอกประเด็นที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับฟังและวินิจฉัยว่าโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3152/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำสืบพยานหลักฐานสนับสนุนข้ออ้างในคดีที่มิได้ฟ้องบังคับตามสัญญา และการรับฟังพยานหลักฐานที่ไม่ขัดแย้งกับเอกสาร
โจทก์ฟ้องโดยยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาโจทก์มอบหนังสือรับรองการทำประโยชน์ฉบับพิพาทให้แก่จำเลยทั้งสองยึดถือไว้เป็นประกันเงินกู้ยืมที่ ส. เป็นผู้กู้มิได้ฟ้องขอให้บังคับตามสัญญากู้ยืมเงินซึ่งมีกฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดง โจทก์จึงมีสิทธินำสืบข้อเท็จจริงสนับสนุนข้ออ้างตามคำฟ้องของโจทก์ได้ว่า ตามสัญญากู้ยืมมีต้นเงินเพียง 60,000 บาท รวมดอกเบี้ยอีกส่วนหนึ่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงเป็นเงิน 400,000 บาท ไม่เป็นการนำสืบหักล้างหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสารสัญญากู้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9677/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำฟ้องนอกเหนือข้ออ้างเดิมและขอบเขตสัญญาซื้อขาย
เดิมโจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งสองทำสัญญาจะขายที่ดินพิพาททั้งสองแปลงให้แก่โจทก์โดยมีเงื่อนไขในสัญญาจะซื้อขายดังกล่าวว่าจำเลยทั้งสองยอมให้โจทก์เข้าปรับปรุงพัฒนาที่ดินและนำไปขายต่อให้แก่บุคคลอื่นได้ ทั้งจำเลยทั้งสองจะแบ่งแยกที่ดินให้ทำถนน ต่อมาโจทก์จำเลยทั้งสองและบุคคลภายนอกได้ทำบันทึกการให้ทางดังกล่าวไว้ต่างหากอีกฉบับหนึ่งด้วย แต่โจทก์ไม่สามารถพัฒนาและทำถนนให้แล้วเสร็จตามที่ตกลงกันได้ เนื่องจากจำเลยที่ 2 คอยขัดขวางขอให้บังคับจำเลยทั้งสองปฎิบัติตามสัญญาจะซื้อขายและข้อตกลงในบันทึกการให้ทางทั้งให้จำเลยทั้งสองร่วมกันถอนคำคัดค้านที่ให้ไว้ต่อการไฟฟ้านครหลวง กับชำระค่าเสียหาย พร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ ซึ่งตามคำฟ้องเดิมโจทก์มิได้ฟ้องว่า จำเลยทั้งสองผิดสัญญาจะซื้อขาย โดยไม่ไปทำหนังสือสัญญาและจดทะเบียนขายตามกำหนดอันจะทำให้มีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากจำเลยทั้งสองได้อีกหนึ่งเท่าตัว ตามสัญญาจะซื้อขาย ดังนั้นที่โจทก์ขอแก้ไขคำฟ้องว่าให้จำเลยทั้งสองร่วมกันโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ตามสัญญาจะซื้อขายกับใช้ค่าปรับพร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีนับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จเพิ่มจากคำฟ้องเดิม จึงเป็นการขอเพิ่มข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหา และคำขอบังคับนอกเหนือไปจากคำฟ้องเดิมที่เสนอต่อศาลแต่แรก มิใช่เป็นกรณีที่เพิ่มจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทในฟ้องเดิมหรือเพิ่มเติมฟ้องเดิมให้บริบูรณ์ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 179 (1) (2) ทั้งมิใช่เป็นการขอแก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อย จึงไม่ชอบที่จะกระทำได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9677/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำฟ้องนอกเหนือข้ออ้างเดิม และการเพิ่มจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาท ศาลไม่อนุญาต
ที่โจทก์ขอแก้ไขคำฟ้องว่า ให้จำเลยทั้งสองร่วมกันโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ตามสัญญาจะซื้อขายกับใช้ค่าปรับจำนวน 9,000,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีนับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จเพิ่มจากคำฟ้องเดิมเป็นการขอเพิ่มข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหา และคำขอบังคับนอกเหนือไปจากคำฟ้องเดิม มิใช่เป็นกรณีเพิ่มทุนทรัพย์ที่พิพาทในฟ้องเดิมหรือเพิ่มเติมฟ้องเดิมให้บริบูรณ์ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 179(1)(2)ทั้งมิใช่เป็นการขอแก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อย การแก้ไขคำฟ้องของโจทก์จึงไม่ชอบที่จะกระทำได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6146/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องแย้งเคลือบคลุม: การที่ฟ้องแย้งไม่มีข้ออ้างหลักแห่งข้อหาทำให้ศาลชอบที่จะวินิจฉัยได้
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท จำเลยได้ทำสัญญาเช่าที่ดินดังกล่าวกับบิดาโจทก์ โดยกำหนดเวลาการเช่าตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2527 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2529 เมื่อครบกำหนดเวลาตามสัญญาเช่า โจทก์ไม่ประสงค์ให้จำเลยอยู่ต่อไป จึงบอกกล่าวให้จำเลยรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกไปจากที่เช่า แต่จำเลยเพิกเฉย ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายคำฟ้องของโจทก์ดังกล่าวเพียงพอทำให้จำเลยเข้าใจถึงมูลเหตุการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ที่เกิดขึ้นจากการกระทำของจำเลยเนื่องจากการผิดสัญญาของจำเลยที่จำเลยได้ทำให้ไว้กับบิดาโจทก์ได้อย่างชัดแจ้งแล้ว ส่วนข้อเท็จจริงที่ว่าโจทก์ได้ที่ดินมาอย่างไร ตั้งแต่เมื่อใดนั้น เป็นเพียงรายละเอียดปลีกย่อยที่โจทก์นำสืบในชั้นพิจารณาได้ ส่วนที่จำเลยอ้างว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุมในข้อที่ว่า สิทธิของโจทก์มีหรือไม่ตามคำฟ้อง จำเลยไม่อาจทราบได้ จำเลยทำสัญญาเช่าที่ดินกับบิดาโจทก์เป็นเรื่องคู่สัญญาเช่าคนละคนกัน จำเลยมิใช่คู่สัญญากับโจทก์ การที่โจทก์มิได้บรรยายสิทธิของตนมาให้ครบถ้วนจึงเป็นฟ้องเคลือบคลุม โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องนั้นเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น แม้ศาลอุทธรณ์จะรวมวินิจฉัยให้ก็เป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นพิพาทว่า ฟ้องแย้งของจำเลยเคลือบคลุมหรือไม่ การที่ศาลชั้นต้นกล่าวถึงความผูกพันระหว่างคู่สัญญาและผลของสัญญาเช่าระหว่างบิดาจำเลยกับบิดาโจทก์ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงที่ปรากฏในคำให้การของจำเลยที่ยกขึ้นอ้างต่อสู้คำฟ้องของโจทก์ ก็เพื่อนำไปสู่ข้อวินิจฉัยข้ออ้างของจำเลยตามฟ้องแย้ง ดังนั้น เมื่อฟ้องแย้งของจำเลยไม่ได้ยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่าเหตุใดโจทก์จึงต้องผูกพันตามสัญญาเช่าที่บิดาจำเลยทำกับบิดาโจทก์เพื่อบังคับให้โจทก์ต้องปฏิบัติตามสัญญาอย่างไร เช่นนี้เท่ากับฟ้องแย้งของจำเลยมิได้บรรยายข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาจึงเป็นฟ้องแย้งที่เคลือบคลุมศาลชั้นต้นจึงชอบที่จะหยิบยกข้อเท็จจริงดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยได้ หาใช่ไม่ตรงประเด็นที่กำหนดไว้ไม่
ปัญหาตามฎีกาของจำเลยที่ว่า บิดาโจทก์และบิดาจำเลยได้ทำสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าการเช่าธรรมดาเกี่ยวกับที่ดินพิพาท เมื่อบิดาจำเลยตายสิทธิการเช่าดังกล่าวเป็นมรดกตกทอดแก่จำเลย จำเลยจึงย่อมมีสิทธิอยู่ในที่ดินพิพาทจนกว่าจะครบสัญญานั้น เป็นปัญหาคำขอบังคับตามฟ้องแย้งของจำเลย เมื่อฟ้องแย้งของจำเลยไม่มีข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเป็นฟ้องไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง แล้วปัญหาข้อนี้จึงตกไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 470/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการยกข้ออ้างในชั้นฎีกา: ประเด็นที่ไม่ได้ยกขึ้นในศาลอุทธรณ์
แม้จำเลยที่ 2 จะให้การว่าโจทก์ไม่มีสิทธิรับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัยเนื่องจากผู้เอาประกันภัยได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับจำเลยที่ 2แล้ว โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง แต่เมื่อศาลชั้นต้นมิได้วินิจฉัยในประเด็นนี้ให้ จำเลยที่ 2ก็ไม่ได้ยกปัญหาดังกล่าวขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์ จึงยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาไม่ได้ เพราะเป็นข้อที่ไม่ได้ว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธี-พิจารณาความแพ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3470/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำสืบพยานหลักฐานสนับสนุนข้ออ้าง การใช้หนังสือมอบอำนาจเพื่ออธิบายสัญญาเช่า ไม่เป็นการแก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญา
จำเลยใช้หนังสือมอบอำนาจเป็นเอกสารประกอบในการถามค้านที่โจทก์เบิกความว่า ล.เจ้าของกรรมสิทธิ์ตึกแถวที่ให้เช่าไม่ได้มอบอำนาจให้ ย.บิดาของ ล.ทำสัญญาเช่าตึกแถวพิพาทกับจำเลย พยานเอกสารดังกล่าวจึงมิใช่เป็นพยานหลักฐานสนับสนุนข้ออ้างหรือข้อเถียงของจำเลย ซึ่งจะต้องดำเนินการตามหลักเกณฑ์และขั้นตอนของกฎหมาย แม้จำเลยมิได้ระบุเอกสารดังกล่าวในบัญชีระบุพยานและส่งสำเนาให้แก่โจทก์ก็ไม่ต้องห้ามมิให้รับฟัง เพราะกรณีดังกล่าวไม่อยู่ในบังคับแห่งบทบัญญัติ ป.วิ.พ. มาตรา 88 และ 90
เมื่อจำเลยให้การต่อสู้ไว้ว่า เจ้าของกรรมสิทธิ์ในตึกแถวพิพาทคือล. มอบอำนาจให้ ย. ทำสัญญาเช่ากับจำเลยแล้ว จำเลยย่อมนำสืบโดยอ้างหนังสือมอบอำนาจเพื่ออธิบายให้เห็นว่าที่มีชื่อ ย.เป็นผู้ให้เช่าในสัญญาเช่านั้น เพราะ ล.ผู้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในตึกแถวมอบอำนาจให้ทำสัญญาเช่าได้ การนำสืบของจำเลยดังกล่าวจึงไม่ใช่เป็นการนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขสัญญาเช่า
of 3