คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ข้ออ้างใหม่

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 12 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 601/2546 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องถูกจำกัดด้วยคำพิพากษาถึงที่สุด โจทก์ฟ้องซ้ำไม่ได้ แม้มีข้ออ้างใหม่
เดิมโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ขอให้บังคับจำเลยที่ 1 โอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทให้โจทก์ตามสัญญาจะซื้อจะขายระหว่างพิจารณาจำเลยที่ 2 และที่ 3 ฟ้องจำเลยที่ 1 ขอให้บังคับจำเลยที่ 1 ดำเนินการใส่ชื่อจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท ต่อมาจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 และที่ 3 ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน โดยทั้งสองฝ่ายรับว่า ที่ดินพิพาทมีจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นเจ้าของร่วมด้วย ศาลได้พิพากษาตามยอมไปแล้ว จำเลยที่ 3 จึงฟ้องจำเลยที่ 1 และโจทก์ว่า จำเลยที่ 1 นำที่ดินพิพาทไปขายให้โจทก์โดยไม่ได้รับความยินยอมจากจำเลยที่ 3 และเจ้าของรวมคนอื่น โจทก์ซึ่งเป็นจำเลยที่ 2 ในคดีดังกล่าวให้การว่าจำเลยที่ 3 มิได้เป็นเจ้าของรวม จำเลยที่ 3 เชิดให้จำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนจึงปฏิเสธความรับผิดตามสัญญาจะซื้อจะขายไม่ได้ คดีดังกล่าวถึงที่สุดโดยคำพิพากษาศาลฎีกาว่า จำเลยที่ 3 เป็นเจ้าของรวมในที่ดินพิพาท 3 ใน 7 ส่วน จำเลยที่ 1 นำที่ดินพิพาทรวมทั้งส่วนของจำเลยที่ 3 ไปทำสัญญาจะซื้อจะขายให้โจทก์ โดยที่จำเลยที่ 3 มิได้ให้ความยินยอมและมิได้เชิดจำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนสัญญา ดังกล่าวไม่ผูกพันกรรมสิทธิ์ ส่วนของจำเลยที่ 3 จำเลยที่ 3 ขอเพิกถอนสัญญาดังกล่าวได้ ในระหว่างพิจารณาของคดี ดังกล่าว โจทก์ฟ้องเป็นคดีนี้ว่า จำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 และที่ 3 แสดงเจตนาลวงฉ้อฉลโจทก์ด้วยการทำสัญญาประนีประนอมเพื่อให้ศาลพิพากษาตามยอมว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นเจ้าของร่วมในที่ดินพิพาท ทำให้โจทก์ซึ่งเป็น เจ้าหนี้เสียเปรียบและเสียหาย และศาลฎีกาได้พิจารณาคดีดังกล่าวโดยวินิจฉัยว่า จำเลยที่ 3 เป็นเจ้าของรวมในที่ดินพิพาท 3 ใน 7 ส่วนพิพากษาให้เพิกถอนสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินระหว่างจำเลยที่ 1 กับโจทก์ เฉพาะส่วนที่เกี่ยวข้องกับ สิทธิของจำเลยที่ 3 โจทก์ซึ่งเป็นคู่ความในคดีดังกล่าวจึงผูกพันตามคำพิพากษานั้น ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 โจทก์จะมาฟ้องคดีนี้ขอให้เพิกถอนสัญญาประนีประนอมยอมความที่ศาลชั้นต้นพิพากษาตามยอม โดยอ้างว่า จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของที่ดินพิพาทแต่เพียงผู้เดียว จำเลยอื่นร่วมกับจำเลยที่ 1 ฉ้อฉลโจทก์โดยทำสัญญาประนีประนอมยอมความฉบับดังกล่าว อันเป็นการอ้างข้อเท็จจริงแตกต่างไปจากที่โจทก์ต้องผูกพันหาได้ไม่โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมาย อันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาเห็นสมควรหยิบยกขึ้นวินิจฉัย ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246, 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 222/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม: ข้ออ้างใหม่ที่ศาลไม่รับพิจารณา หากไม่ได้ยกขึ้นในศาลชั้นต้น
อุทธรณ์ของโจทก์ที่ว่า โจทก์ฝ่าฝืนระเบียบเกี่ยวกับการใช้โทรศัพท์ไปต่างจังหวัดโดยมิได้รับอนุญาตจาก ผู้บังคับบัญชาทำให้จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างเสียหายเพียง 45 บาท เป็นความผิดเพียงเล็กน้อย จำเลยสามารถเลือกลงโทษโจทก์สถานใดสถานหนึ่งใน 7 สถาน แต่จำเลยกลับพิจารณาให้เลิกจ้างโจทก์เป็นโทษที่หนักเกินไป ไม่เหมาะสมกับการกระทำผิดถือว่าเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม เมื่อคำฟ้องโจทก์มิได้อ้างว่าการที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมและศาลแรงาานกลางก็มิได้วินิจฉัยว่าเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและ วิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 49 อุทธรณ์ของโจทก์จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบใน ศาลแรงงานกลางต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและ วิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4939/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้ออ้างใหม่ในฎีกา: ห้ามฎีกาเรื่องที่มิได้ยกขึ้นว่ากันในศาลชั้นต้น
การที่จำเลยที่ 1 ฎีกาว่า จำเลยที่ 2 สั่งซื้อน้ำมันจากโจทก์เป็นการส่วนตัวมิได้รับมอบหมายจากจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดชำระค่าน้ำมันให้แก่โจทก์ โดยยกเหตุผลที่มิได้ให้การต่อสู้ไว้ ข้ออ้างดังกล่าวจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามมิให้ฎีกาศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4939/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้ออ้างใหม่ในฎีกาที่ไม่เคยยกขึ้นว่ากันในศาลล่าง ถือเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
การที่จำเลยที่1ฎีกาว่าจำเลยที่2สั่งซื้อน้ำมันจากโจทก์เป็นการส่วนตัวมิได้รับมอบหมายจากจำเลยที่1จำเลยที่1จึงไม่ต้องรับผิดชำระค่าน้ำมันให้แก่โจทก์โดยยกเหตุผลที่มิได้ให้การต่อสู้ไว้ข้ออ้างดังกล่าวจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ต้องห้ามมิให้ฎีกาศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 207/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความประกาศประกวดราคา: สิทธิเลือกซื้อเฉพาะบางรายการ และข้อจำกัดในการเปลี่ยนแปลงข้ออ้างในชั้นฎีกา
ข้อความในหนังสือประกาศประกวดราคาระบุว่าผู้ซื้อไม่ผูกพันที่จะตัดสินเข้าทำสัญญาซื้อขายกับผู้เสนอราคาต่ำสุดการเสนอราคาเพียงบางส่วนของหนึ่งรายการจะไม่ได้รับการพิจารณาการเสนอราคาจะพิจารณาตัดสินจากหลักว่าเป็นไปตามสเปคราคากำหนดการส่งของและความต้องการอื่นๆไม่มีข้อความตอนใดระบุว่าโจทก์มีสิทธิเลือกซื้อสินค้าเพียงบางรายการข้อความในประกาศดังกล่าวเขียนไว้ชัดเจนจึงไม่มีกรณีที่จะต้องตีความและหากเป็นกรณีที่มีข้อสงสัยก็จะต้องตีความข้อความในประกาศประกวดราคาไปในทางที่เป็นคุณแก่จำเลยคู่กรณีฝ่ายซึ่งจะเป็นผู้ต้องเสียในมูลหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา11 คำฟ้องของโจทก์โจทก์ยกข้ออ้างอันเป็นหลักแห่งข้อหาเพียงข้อเดียวว่าจำเลยผิดสัญญาตามประกาศประกวดราคามิได้ยกข้ออ้างตามที่โจทก์ฎีกาว่าโจทก์และจำเลยเคยตกลงทำสัญญาซื้อขายกันตามประกาศประกวดราคาดังกล่าวมาแล้วโดยจำเลยยอมรับว่าโจทก์มีสิทธิเลือกซื้อสินค้าจากจำเลยเพียงบางรายการได้จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ต้องห้ามมิให้โจทก์ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4434/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำกัดอัตราดอกเบี้ยตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย การยกข้ออ้างใหม่ในชั้นอุทธรณ์
จำเลยอุทธรณ์ว่า นับแต่วันที่ 10 มิถุนายน 2525 ธนาคารแห่งประเทศไทย ประกาศให้บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์เรียกดอกเบี้ยได้ไม่เกินร้อยละ 18 ต่อปี โจทก์จึงไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 21 ต่อปี และฎีกาขอให้ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า โจทก์ไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยเกินกว่าร้อยละ 18 ต่อปี แต่จำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้ในประเด็นนี้ไว้ โดยให้การเพียงว่ากรณีผิดนัดโจทก์เรียกดอกเบี้ยได้ไม่เกินร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีเท่านั้น อุทธรณ์ดังกล่าวจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาตั้งแต่ศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยให้จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 793/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการยกข้ออ้างใหม่ในชั้นอุทธรณ์คดีแรงงาน: เกษียณอายุและการรับเงินบำเหน็จ
ปัญหาที่ว่าลูกจ้างมีคุณสมบัติต้องห้ามตามพระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจฯ โดยมีอายุเกินหกสิบปีบริบูรณ์ จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการเลิกจ้างตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน และปัญหาที่ว่าลูกจ้างได้รับเงินบำเหน็จเป็นจำนวนมากกว่าค่าชดเชยไปโดยไม่ได้โต้แย้ง มีผลเท่ากับว่ายอมรับรองว่าได้รับค่าชดเชยตามกฎหมายแรงงานด้วยแล้วนั้น ไม่ใช่ปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ดังนั้นเมื่อจำเลยมิได้ยกปัญหาดังกล่าวขึ้นต่อสู้ไว้ในศาลแรงงานกลาง จึงจะยกขึ้นเป็นข้ออุทธรณ์มิได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2783/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการยกข้ออ้างใหม่ในฎีกา: สาธารณสมบัติของแผ่นดินต้องระบุในฟ้อง
ฎีกาโจทก์ที่ว่าที่พิพาทเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน จึงต้องห้ามมิให้จำเลยต่อสู้กับแผ่นดินนั้น โจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่าที่พิพาทเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน โจทก์เพิ่งยกปัญหาข้อนี้ขึ้นกล่าวอ้างในฎีกาจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1721/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยกข้ออ้างใหม่ในอุทธรณ์ จำเลยต้องยกเหตุผลในคำให้การเท่านั้น ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยได้
โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 2 นายจ้างร่วมกันรับผิดกับจำเลยที่ 1 ในผลแห่งละเมิดซึ่งจำเลยที่ 1 ลูกจ้างได้กระทำไปในทางการที่จ้างจำเลยที่ 2 ให้การปฏิเสธว่าจำเลยที่ 1 มิใช่ลูกจ้างการที่จำเลยที่ 2 ยกขึ้นอ้างอิงในอุทธรณ์ว่า จำเลยที่ 1 อยู่ในฐานะผู้รับจ้างทำของโดยเอาเงินของจำเลยที่ 2 ไปหาซื้อมะพร้าวได้ค่าจ้างเป็นเปอร์เซนต์ของจำนวนมะพร้าวที่ซื้อมาได้เป็นคราว ๆจำเลยที่ 2 ผู้ว่าจ้างย่อมไม่ต้องรับผิดในผลแห่งละเมิดของจำเลยที่ 1 นั้นเป็นข้อที่ไม่ได้กล่าวไว้ในคำให้การไม่มีสิทธินำสืบแม้จำเลยที่ 2 นำสืบและศาลชั้นต้นยกขึ้นวินิจฉัยให้ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ดังกล่าวจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 536/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยกข้ออ้างใหม่ในชั้นอุทธรณ์: สิทธิในทรัพย์มรดก
โจทก์ฟ้องเรียกทรัพย์มรดกอ้างว่าเป็นฟ้องเจ้ามรดกจำเลยให้การว่าเป็นสามีโดยชอบด้วยกฎหมายของเจ้ามรดก มิได้อ้างว่าอยู่ร่วมหาทรัพย์มาได้ด้วยกัน เพิ่งยกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์ฎีกาไม่ได้
of 2