พบผลลัพธ์ทั้งหมด 55 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6133/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลักทรัพย์ข้าวเปลือก: การพิสูจน์ความผิดและองค์ประกอบความผิดฐานลักทรัพย์จากการเกษตร
จำเลยในคดีอาญาอีกเรื่องหนึ่งของศาลชั้นต้นกับจำเลยคดีนี้เป็นบุคคลคนเดียวกัน แม้พวกคนร้ายจะเป็น ชุดเดียวกันและกระทำการลักทรัพย์ติดต่อกัน แต่เป็นการลักทรัพย์ของผู้เสียหายคนละคนกับผู้เสียหายอีกคนหนึ่ง ทรัพย์ก็มิได้รวมอยู่ด้วยกันแต่อยู่ห่างกันเป็นร้อยเมตร อันเป็นการกระทำต่างกรรมต่างวาระกัน จึงมิใช่เป็นเหตุในลักษณะแห่งคดีเดียวกันซึ่งศาลจะต้องรับฟังข้อเท็จจริงเป็นอย่างเดียวกัน
แม้โจทก์จะไม่มีประจักษ์พยานเห็นขณะคนร้ายลักข้าวเปลือกของผู้เสียหาย แต่โจทก์มีพยานเบิกความว่า เห็นรถยนต์ของคนร้ายบรรทุกกระสอบใส่ข้าวเปลือกมีชื่อ อ. ติดอยู่ที่กระสอบซึ่งเป็นกระสอบที่ใช้ใส่ข้าวเปลือกบริเวณบ้านผู้เสียหายมาติดหล่มอยู่ห่างจากกองกระสอบข้าวเปลือกของผู้เสียหายประมาณ 500 เมตร สงสัยว่าจะเป็นกระสอบข้าวของผู้เสียหาย เมื่อรถคนร้ายไปแล้วพยานจึงได้ไปบอกผู้เสียหายในเวลาใกล้เคียงกัน ผู้เสียหายพบว่าข้าวเปลือกหายไป 6 กระสอบ จึงไปแจ้งความและอีก 1 สัปดาห์ต่อมา เมื่อเจ้าพนักงานตำรวจนำกระสอบข้าวซึ่งผู้รับซื้อข้าวเปลือกจาก ส. และจำเลยมาให้ผู้เสียหายดูแล้ว ผู้เสียหายจำได้ว่าเป็นกระสอบใส่ข้าวเปลือกของตน ตามพฤติการณ์ที่จำเลยเป็นผู้พาไปติดต่อรถยนต์มาบรรทุกข้าวในคืนเกิดเหตุ เมื่อได้รถยนต์แล้วก็มิได้ไปขนข้าวทันทียังได้ไป พบพวกซึ่งรออยู่ที่ร้านกาแฟแล้วเปลี่ยนไปนั่งกินข้าวต้ม จนถึงเวลาประมาณเที่ยงคืนจึงเดินทางไปขนข้าว และตามบันทึกคำให้การชั้นสอบสวนจำเลยก็ให้การว่าคืนเกิดเหตุขนข้าวไปเก็บไว้ที่บ้านจำเลยก่อน รุ่งขึ้นจำเลยก็ยังได้พา ส. ไปขายข้าวด้วย ต่อมาเจ้าพนักงานตำรวจจับกุมจำเลยและ ส. ได้พร้อมกันที่บ้านจำเลย เมื่อพิจารณาประกอบ คำรับสารภาพของจำเลยตามบันทึกการจับกุมแล้ว ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยร่วมกันพวกคนร้ายลักข้าวเปลือกของ ผู้เสียหายไปจริง
ความผิดตาม ป.อ. มาตรา 335 (12) นอกจากเจ้าทรัพย์จะต้องเป็นผู้มีอาชีพกสิกรรมแล้ว จะต้องได้ความอีกว่า ทรัพย์ที่ถูกลักนั้นเป็นผลิตภัณฑ์พืชพันธ์หรือสัตว์ หรือเครื่องมืออันมีไว้สำหรับประกอบกสิกรรมหรือได้มาจากการประกอบกสิกรรมด้วย
ตามฟ้องของโจทก์ไม่ปรากฏว่าข้าวเปลือกที่จำเลยกับพวกลักไปเป็นผลิตภัณฑ์หรือพืชพันธ์ซึ่งผู้เสียหายมีไว้สำหรับประกอบกสิกรรม หรือได้มาจากการกสิกรรม จึงไม่ต้องด้วย ป.อ. มาตรา 335 (12) ศาลจึงไม่อาจลงโทษจำเลยในความผิดตามมาตรา 335 (12) ได้ ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225 ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้
แม้โจทก์จะไม่มีประจักษ์พยานเห็นขณะคนร้ายลักข้าวเปลือกของผู้เสียหาย แต่โจทก์มีพยานเบิกความว่า เห็นรถยนต์ของคนร้ายบรรทุกกระสอบใส่ข้าวเปลือกมีชื่อ อ. ติดอยู่ที่กระสอบซึ่งเป็นกระสอบที่ใช้ใส่ข้าวเปลือกบริเวณบ้านผู้เสียหายมาติดหล่มอยู่ห่างจากกองกระสอบข้าวเปลือกของผู้เสียหายประมาณ 500 เมตร สงสัยว่าจะเป็นกระสอบข้าวของผู้เสียหาย เมื่อรถคนร้ายไปแล้วพยานจึงได้ไปบอกผู้เสียหายในเวลาใกล้เคียงกัน ผู้เสียหายพบว่าข้าวเปลือกหายไป 6 กระสอบ จึงไปแจ้งความและอีก 1 สัปดาห์ต่อมา เมื่อเจ้าพนักงานตำรวจนำกระสอบข้าวซึ่งผู้รับซื้อข้าวเปลือกจาก ส. และจำเลยมาให้ผู้เสียหายดูแล้ว ผู้เสียหายจำได้ว่าเป็นกระสอบใส่ข้าวเปลือกของตน ตามพฤติการณ์ที่จำเลยเป็นผู้พาไปติดต่อรถยนต์มาบรรทุกข้าวในคืนเกิดเหตุ เมื่อได้รถยนต์แล้วก็มิได้ไปขนข้าวทันทียังได้ไป พบพวกซึ่งรออยู่ที่ร้านกาแฟแล้วเปลี่ยนไปนั่งกินข้าวต้ม จนถึงเวลาประมาณเที่ยงคืนจึงเดินทางไปขนข้าว และตามบันทึกคำให้การชั้นสอบสวนจำเลยก็ให้การว่าคืนเกิดเหตุขนข้าวไปเก็บไว้ที่บ้านจำเลยก่อน รุ่งขึ้นจำเลยก็ยังได้พา ส. ไปขายข้าวด้วย ต่อมาเจ้าพนักงานตำรวจจับกุมจำเลยและ ส. ได้พร้อมกันที่บ้านจำเลย เมื่อพิจารณาประกอบ คำรับสารภาพของจำเลยตามบันทึกการจับกุมแล้ว ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยร่วมกันพวกคนร้ายลักข้าวเปลือกของ ผู้เสียหายไปจริง
ความผิดตาม ป.อ. มาตรา 335 (12) นอกจากเจ้าทรัพย์จะต้องเป็นผู้มีอาชีพกสิกรรมแล้ว จะต้องได้ความอีกว่า ทรัพย์ที่ถูกลักนั้นเป็นผลิตภัณฑ์พืชพันธ์หรือสัตว์ หรือเครื่องมืออันมีไว้สำหรับประกอบกสิกรรมหรือได้มาจากการประกอบกสิกรรมด้วย
ตามฟ้องของโจทก์ไม่ปรากฏว่าข้าวเปลือกที่จำเลยกับพวกลักไปเป็นผลิตภัณฑ์หรือพืชพันธ์ซึ่งผู้เสียหายมีไว้สำหรับประกอบกสิกรรม หรือได้มาจากการกสิกรรม จึงไม่ต้องด้วย ป.อ. มาตรา 335 (12) ศาลจึงไม่อาจลงโทษจำเลยในความผิดตามมาตรา 335 (12) ได้ ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225 ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 479/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้ด้วยข้าวเปลือกแทนเงิน: หนี้ระงับสิ้นเมื่อชำระตามตกลง
จำเลยซื้อสังกะสีจากโจทก์จำนวน 5 หาบ ตกลงผ่อนชำระหนี้ด้วยข้าวเปลือกปีละ 100 ถัง เป็นเวลา 5 ปี โดยจำเลยทำหนังสือสัญญากู้เงินให้โจทก์และจำเลยได้ชำระหนี้ด้วยข้าวเปลือกให้โจทก์ครบถ้วนแล้ว อันเป็นการชำระหนี้อย่างอื่นตามที่ตกลงกันไว้ หนี้นั้นก็เป็นอันระงับสิ้นไป ตาม ป.พ.พ. มาตรา 321 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7076/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเรียกคืนข้าวเปลือกที่ฝากไว้ คดีไม่มีกฎหมายกำหนดเฉพาะ ใช้บังคับอายุความ 10 ปี
โจทก์ส่งมอบข้าวเปลือกให้ อ. อ.ตกลงว่าจะเก็บรักษาข้าวเปลือกไว้ในความอารักขาแล้วจะคืนให้โจทก์ หากเสียหายจะชดใช้ราคาให้เมื่อข้าวเปลือกที่ฝากขาดหายไป และผู้ฝากได้ฟ้องเรียกราคาข้าวเปลือกคืนจากผู้รับฝากเป็นกรณีที่ไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความสิบปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5557/2538 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดในสัญญาเช่าฉางและการฝากทรัพย์ กรณีข้าวเปลือกเสียหายหรือขาดจำนวน
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยทำสัญญาให้โจทก์เช่าฉางของจำเลยเพื่อใช้เก็บข้าวเปลือกของโจทก์โดยตกลงรับมอบข้าวเปลือกเก็บไว้ในฉาง หากเกิดความเสียหายหรือสูญหายขึ้น จำเลยต้องรับผิดชดใช้ราคาข้าวเปลือกที่ขาดจำนวนไปยกเว้นข้าวเปลือกที่ยุบตัวตามสภาพไม่เกิน 2 เปอร์เซ็นต์ ของจำนวนข้าวทั้งหมดโจทก์หาจำต้องบรรยายมาในฟ้องว่า ข้าวที่ขาดจำนวนไปนั้นมีข้าวชนิดใดบ้าง มีน้ำหนักจำนวนอย่างละเท่าใด และแต่ละชนิดเป็นราคาเท่าใด เพราะเป็นรายละเอียดที่โจทก์อาจนำสืบในชั้นพิจารณาต่อไปได้ ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม
สัญญาเช่าฉางเอกชนกำหนดให้จำเลยต้องรับมอบข้าวเปลือกของโจทก์และจัดแบ่งแยกข้าวเปลือกแต่ละชนิดออกเป็นสัดส่วน และเก็บรักษามิให้เปลี่ยนแปลงหรือผิดไปจากสภาพเดิม หากเกิดความเสียหายสูญหายจำเลยต้องรับผิดชดใช้ราคาข้าวเปลือกที่ผิดชนิดหรือขาดจำนวน เข้าลักษณะเป็นสัญญาฝากทรัพย์ตาม ป.พ.พ.มาตรา 657
สัญญาเช่าฉางเอกชนกำหนดให้จำเลยต้องรับมอบข้าวเปลือกของโจทก์และจัดแบ่งแยกข้าวเปลือกแต่ละชนิดออกเป็นสัดส่วน และเก็บรักษามิให้เปลี่ยนแปลงหรือผิดไปจากสภาพเดิม หากเกิดความเสียหายสูญหายจำเลยต้องรับผิดชดใช้ราคาข้าวเปลือกที่ผิดชนิดหรือขาดจำนวน เข้าลักษณะเป็นสัญญาฝากทรัพย์ตาม ป.พ.พ.มาตรา 657
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5557/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าฉางที่มีลักษณะสัญญาฝากทรัพย์ การรับผิดชอบความเสียหายและขาดจำนวนของข้าวเปลือก
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยทำสัญญาให้โจทก์เช่าฉางของจำเลยเพื่อใช้เก็บข้าวเปลือกของโจทก์โดยตกลงรับมอบข้าวเปลือกเก็บไว้ในฉาง หากเกิดความเสียหายหรือสูญหายขึ้นจำเลยต้องรับผิดชดใช้ราคาข้าวเปลือกที่ขาดจำนวนไปยกเว้นข้าวเปลือกที่ยุบตัวตามสภาพไม่เกิน 2 เปอร์เซ็นต์ของจำนวนข้าวทั้งหมดโจทก์หาจำต้องบรรยายมาในฟ้องว่าข้าวที่ขาดจำนวนไปนั้นมีข้าวชนิดใดบ้าง มีน้ำหนักจำนวนอย่างละเท่าใดและแต่ละชนิดเป็นราคาเท่าใด เพราะเป็นรายละเอียดที่โจทก์อาจนำสืบในชั้นพิจารณาต่อไปได้ ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม สัญญาเช่าฉางเอกชนกำหนดให้จำเลยต้องรับมอบข้าวเปลือกของโจทก์และจัดแบ่งแยกข้าวเปลือกแต่ละชนิดออกเป็นสัดส่วนและเก็บรักษามิให้เปลี่ยนแปลงหรือผิดไปจากสภาพเดิมหากเกิดความเสียหายสูญหายจำเลยต้องรับผิดชดใช้ราคาข้าวเปลือกที่ผิดชนิดหรือขาดจำนวน เข้าลักษณะเป็นสัญญาฝากทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 657
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5557/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องไม่เคลือบคลุม สัญญาเช่าฉางมีลักษณะสัญญาฝากทรัพย์ จำเลยต้องรับผิดชดใช้ข้าวเปลือกที่ขาดหาย
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยทำสัญญาให้โจทก์เช่าฉางของจำเลยเพื่อใช้เก็บข้าวเปลือกของโจทก์โดยตกลงรับมอบข้าวเปลือกเก็บไว้ในฉางหากเกิดความเสียหายหรือสูญหายขึ้นจำเลยต้องรับผิดชดใช้ราคาข้าวเปลือกที่ขาดจำนวนไปยกเว้นข้าวเปลือกที่ยุบตัวตามสภาพไม่เกิน2เปอร์เซ็นต์ของจำนวนข้าวทั้งหมดโจทก์หาจำต้องบรรยายมาในฟ้องว่าข้าวที่ขาดจำนวนไปนั้นมีข้าวชนิดใดบ้างมีน้ำหนักจำนวนอย่างละเท่าใดและแต่ละชนิดเป็นราคาเท่าใดเพราะเป็นรายละเอียดที่โจทก์อาจนำสืบในชั้นพิจารณาต่อไปได้ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม สัญญาเช่าฉางเอกชนกำหนดให้จำเลยต้องรับมอบข้าวเปลือกของโจทก์และจัดแบ่งแยกข้าวเปลือกแต่ละชนิดออกเป็นสัดส่วนและเก็บรักษามิให้เปลี่ยนแปลงหรือผิดไปจากสภาพเดิมหากเกิดความเสียหายสูญหายจำเลยต้องรับผิดชดใช้ราคาข้าวเปลือกที่ผิดชนิดหรือขาดจำนวนเข้าลักษณะเป็นสัญญาฝากทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา657
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5557/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าฉางที่มีลักษณะคล้ายสัญญาฝากทรัพย์ ความรับผิดชอบต่อความเสียหาย/สูญหายของข้าวเปลือก
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยทำสัญญาให้โจทก์เช่าฉางของจำเลยเพื่อใช้เก็บข้าวเปลือกของโจทก์โดยตกลงรับมอบข้าวเปลือกเก็บไว้ในฉางหากเกิดความเสียหายหรือสูญหายขึ้นจำเลยต้องรับผิดชดใช้ราคาข้าวเปลือกที่ขาดจำนวนไปยกเว้นข้าวเปลือกที่ยุบตัวตามสภาพไม่เกิน2เปอร์เซ็นต์ของจำนวนข้าวทั้งหมดโจทก์หาจำต้องบรรยายมาในฟ้องว่าข้าวที่ขาดจำนวนไปนั้นมีข้าวชนิดใดบ้างมีน้ำหนักจำนวนอย่างละเท่าใดและแต่ละชนิดเป็นราคาเท่าใดเพราะเป็นรายละเอียดที่โจทก์อาจนำสืบในชั้นพิจารณาต่อไปได้ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม สัญญาเช่าฉางเอกชนกำหนดให้จำเลยต้องรับมอบข้าวเปลือกของโจทก์และจัดแบ่งแยกข้าวเปลือกแต่ละชนิดออกเป็นสัดส่วนและเก็บรักษามิให้เปลี่ยนแปลงหรือผิดไปจากสภาพเดิมหากเกิดความเสียหายสูญหายจำเลยต้องรับผิดชดใช้ราคาข้าวเปลือกที่ผิดชนิดหรือขาดจำนวนเข้าลักษณะเป็นสัญญาฝากทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา657
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5025/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความการเรียกร้องค่าเสียหายจากข้าวเปลือกสูญหาย เริ่มนับจากวันที่แจ้งหนี้ ไม่ใช่เรื่องการฝากทรัพย์
โจทก์ฟ้องให้จำเลยชำระเงินค่าข้าวเปลือกที่จำเลยรับฝากจากโจทก์แล้วสูญหายไป ไม่ใช่เรื่องที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยใช้ค่าสินไหมทดแทนเกี่ยวแก่การฝากทรัพย์ กรณีไม่ต้องด้วย ป.พ.พ. มาตรา 671 ทั้งการฟ้องให้ชำระเงินค่าข้าวเปลือกที่จำเลยรับฝากจากโจทก์แล้วสูญหายไปไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้ จึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 164 เดิม (มาตรา 193/30ที่แก้ไขใหม่)
วันที่ 27 กรกฎาคม 2525 โจทก์มีหนังสือแจ้งให้จำเลยทราบจำนวนน้ำหนักข้าวเปลือกแต่ละชนิดที่จำเลยรับฝากไว้ได้สูญหายไปจากการรับฝากของจำเลยและให้จำเลยชดใช้ราคาแทนนั้น ถือได้ว่าโจทก์ได้ใช้สิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้แล้ว อายุความจึงเริ่มนับแต่วันดังกล่าว โจทก์ฟ้องคดีนี้วันที่ 31พฤษภาคม 2533 ยังไม่เกิน 10 ปี จึงไม่ขาดอายุความ
วันที่ 27 กรกฎาคม 2525 โจทก์มีหนังสือแจ้งให้จำเลยทราบจำนวนน้ำหนักข้าวเปลือกแต่ละชนิดที่จำเลยรับฝากไว้ได้สูญหายไปจากการรับฝากของจำเลยและให้จำเลยชดใช้ราคาแทนนั้น ถือได้ว่าโจทก์ได้ใช้สิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้แล้ว อายุความจึงเริ่มนับแต่วันดังกล่าว โจทก์ฟ้องคดีนี้วันที่ 31พฤษภาคม 2533 ยังไม่เกิน 10 ปี จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6468/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าฉางที่มีลักษณะสัญญาฝากทรัพย์: กำหนดอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 164
สัญญาเช่าฉางระหว่างโจทก์กับจำเลย นอกจากเป็นสัญญาเช่าทรัพย์แล้ว ยังมีข้อตกลงกันว่าจำเลยจะเก็บรักษาข้าวเปลือกตามชนิดจำนวน น้ำหนัก มิให้เปลี่ยนแปลงหรือผิดไปจากสภาพเดิมถ้าเกิดความเสียหายหรือสูญหายขึ้น จำเลยต้องรับผิดชอบและชดใช้ราคาข้าวเปลือกที่ผิดชนิดหรือขาดจำนวนไปไม่ว่าด้วยเหตุใด ๆ ซึ่งมีลักษณะเป็นสัญญาฝากทรัพย์รวมอยู่ในตัวด้วยฉะนั้นจำเลยในฐานะผู้รับฝากทรัพย์จึงต้องคืนทรัพย์ที่รับฝากไว้แก่โจทก์ เมื่อทรัพย์ที่รับฝากสูญหายไปจำเลยจึงต้องใช้ราคาทรัพย์ที่รับฝากไว้แทนตัวทรัพย์ การฟ้องเรียกให้ใช้ราคาทรัพย์ในกรณีนี้ไม่ใช่เรียกค่าสินไหมทดแทนเกี่ยวแก่การฝากทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 671 และไม่มี กฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีกำหนด 10 ปี ตามมาตรา 164
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6468/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าฉางที่มีลักษณะสัญญาฝากทรัพย์ การคิดอายุความตามมาตรา 164 เมื่อไม่มีกฎหมายเฉพาะ
สัญญาเช่าฉาง เอกชน นอกจากเป็นสัญญาเช่าทรัพย์แล้วยังมีข้อกำหนดให้จำเลยมีหน้าที่เก็บรักษาข้าวเปลือกและดูแลมิให้เกิดความเสียหายหากเกิดความเสียหายหรือสูญหาย จำเลยต้องรับผิดชดใช้ราคา จึงมีลักษณะเป็นสัญญาฝากทรัพย์รวมอยู่ด้วย จำเลยในฐานะผู้รับฝากทรัพย์ซึ่งจะต้องคืนทรัพย์ที่รับฝากไว้แก่โจทก์เมื่อทรัพย์ที่ฝากสูญหายจึงต้องใช้ราคาแทนตัวทรัพย์ การฟ้องเรียกให้ใช้ราคาทรัพย์ในกรณีนี้ไม่ใช่เรียกค่าสินไหมทดแทนเกี่ยวแก่การฝากทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 671 และไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะจึงมีกำหนด 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 (กฎหมายใหม่ 193/30)