พบผลลัพธ์ทั้งหมด 12 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8214/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินได้จากวิชาชีพอิสระทางกฎหมาย: คณะบุคคลประกอบวิชาชีพได้ แม้มิได้ว่าความ
ป.รัษฎากร มาตรา 40 (6) บัญญัติว่า "เงินได้จากวิชาชีพอิสระ คือ วิชากฎหมาย..." เห็นได้ว่า ป.รัษฎากร บัญญัติให้เงินได้จากวิชากฎหมายเป็นเงินได้จากวิชาชีพอิสระและเป็นเงินได้ประเภทหนึ่งต่างหากจากเงินได้ประเภทอื่น โจทก์ทั้งสองสำเร็จการศึกษาวิชากฎหมาย เงินได้รายพิพาทเป็นเงินได้ที่โจทก์ทั้งสองได้รับมาจากการเป็นที่ปรึกษากฎหมายจึงเป็นเงินได้ตามมาตรา 40 (6) หามีบทกฎหมายบัญญัติว่าการประกอบวิชาชีพกฎหมายจะต้องว่าความหรือฟ้องร้องคดีด้วยไม่ ทั้งไม่มีบทกฎหมายบัญญัติห้ามผู้ประกอบวิชาชีพกฎหมายรวมกันเป็นคณะบุคคลประกอบวิชาชีพกฎหมายแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8214/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินได้จากวิชาชีพอิสระ (กฎหมาย) แม้ไม่ได้ว่าความหรือฟ้องร้อง ก็ถือเป็นเงินได้ตามมาตรา 40(6) และคณะบุคคลก็ประกอบวิชาชีพได้
ป.รัษฎากร มาตรา 40 (2) บัญญัติให้เงินได้จากวิชากฎหมายเป็นเงินได้จากวิชาชีพอิสระและเป็นเงินได้ประเภทหนึ่งต่างหากจากเงินได้ประเภทอื่น โจทก์สำเร็จการศึกษาวิชากฎหมายมีเงินได้ที่โจทก์ได้รับมาจากการเป็นที่ปรึกษากฎหมายจึงเป็นเงินได้ตาม 40 (6) หามีบทบัญญัติว่าการประกอบอาชีพกฎหมายจะต้องว่าความหรือฟ้องร้องคดีด้วยไม่ ทั้งไม่มีบทกฎหมายบัญญัติห้ามผู้ประกับวิชาชีพกฎหมายรวมกันเป็นคณะบุคคลประกอบวิชาชีพกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6276/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางภาษีของบุคคลในคณะบุคคลและการยึดทรัพย์เพื่อชำระภาษีค้างชำระ
ตามมาตรา 6 ประกอบมาตรา 56 วรรคสอง และมาตรา 56 ทวิ แห่ง ป.รัษฎากรฯ ผู้จัดการคณะบุคคลมีหน้าที่และความรับผิดในการยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปีและครึ่งปีในชื่อของคณะบุคคล เจ้าพนักงานประเมินจึงมีอำนาจออกหมายเรียกตรวจสอบและประเมินภาษีไปยังผู้จัดการคณะบุคคลได้ไม่จำต้องออกหมายเรียกตรวจและประเมินไปยังบุคคลในคณะบุคคลอีกเมื่อผู้จัดการคณะบุคคลได้รับหมายเรียกและหนังสือแจ้งการประเมินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในชื่อของคณะบุคคลแล้ว ก็ถือเป็นการประเมินโดยชอบด้วยกฎหมาย แม้โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลในคณะบุคคลจะมิได้รับหนังสือแจ้งการประเมิน ก็ไม่ทำให้การประเมินดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ตามมาตรา 56 วรรคสอง แห่ง ป.รัษฎากรฯ ถ้าคณะบุคคลมีภาษีค้างชำระ บุคคลในคณะบุคคลทุกคนต้องร่วมรับผิดในเงินภาษีที่ค้างชำระนั้นด้วย ฉะนั้น เพื่อให้ได้รับชำระภาษีอากรค้าง จำเลยจึงอาศัยมาตรา 12 แห่ง ป.รัษฎากรฯ ยึด อายัดและขายทอดตลาดทรัพย์สินของบุคคลในคณะบุคคลได้ เมื่อโจทก์เป็นบุคคลในคณะบุคคลซึ่งค้างชำระภาษีอากร จำเลยจึงมีอำนาจ ยึด อายัด และขายทอดตลาดทรัพย์สินของโจทก์ได้
ตามมาตรา 56 วรรคสอง แห่ง ป.รัษฎากรฯ ถ้าคณะบุคคลมีภาษีค้างชำระ บุคคลในคณะบุคคลทุกคนต้องร่วมรับผิดในเงินภาษีที่ค้างชำระนั้นด้วย ฉะนั้น เพื่อให้ได้รับชำระภาษีอากรค้าง จำเลยจึงอาศัยมาตรา 12 แห่ง ป.รัษฎากรฯ ยึด อายัดและขายทอดตลาดทรัพย์สินของบุคคลในคณะบุคคลได้ เมื่อโจทก์เป็นบุคคลในคณะบุคคลซึ่งค้างชำระภาษีอากร จำเลยจึงมีอำนาจ ยึด อายัด และขายทอดตลาดทรัพย์สินของโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2095/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำฟ้องโดยการเพิ่มชื่อโจทก์ และสถานะคู่ความของคณะบุคคลตามกฎหมายภาษีอากร
คำร้องขอแก้ไขคำฟ้องของโจทก์เป็นการเพิ่มเติมชื่อโจทก์ที่จะต้องระบุไว้แน่ชัดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 67 เข้ามาในภายหลัง จึงเป็นการเพิ่มจำนวนผู้เป็นโจทก์เข้ามาในคำฟ้องเดิม มิใช่เป็นเรื่องขอแก้ไขคำฟ้องตามนัยบทกฎหมายดังกล่าว คำสั่งอนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องย่อมไม่ชอบด้วยกฎหมายและไม่มีผลแต่อย่างใด เมื่อตามคำฟ้องของโจทก์ระบุว่าโจทก์เป็นคณะบุคคลตามกฎหมายใช้ชื่อว่า "คณะบุคคลกำชัย-มณฑา" ซึ่งเป็นเพียงคณะบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่รวมกันเป็นหน่วยภาษีตามประมวลรัษฎากรเท่านั้น มิใช่นิติบุคคลตามกฎหมาย โจทก์จึงมิใช่บุคคลธรรมดาและมิใช่นิติบุคคลอันอาจเป็นคู่ความในคดีได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2082/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของคณะบุคคลทางภาษี: การแก้ไขคำฟ้องและการเป็นบุคคลตามกฎหมาย
การแก้ไขคำฟ้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 179 จะต้องเป็นการแก้ไขข้อหาข้ออ้างที่มีต่อจำเลยอันกล่าวไว้ในคำฟ้อง ที่เสนอต่อศาลแต่แรกโดยการเพิ่มหรือลดทุนทรัพย์หรือราคาทรัพย์สินที่พิพาทในฟ้องเดิมหรือสละข้อหาในฟ้องเดิมเสียบางข้อหรือเพิ่มเติมฟ้องเดิมให้บริบูรณ์ แต่คำร้องขอแก้ไขคำฟ้องของโจทก์เป็นการเพิ่มเติมชื่อโจทก์ที่จะต้องระบุ ไว้แน่ชัดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 67 เข้ามาในภายหลัง จึงเป็นการเพิ่มจำนวนผู้เป็นโจทก์เข้ามาในคำฟ้องเดิม มิใช่เป็นเรื่องขอแก้ไขคำฟ้องตามนัยบทกฎหมายดังกล่าว คำสั่งศาลภาษีอากรกลางที่อนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมาย คำสั่งดังกล่าวจึงไม่มีผลแต่อย่างใด
ผู้ที่จะเป็นคู่ความในคดีจะต้องเป็นบุคคลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 1 (11) ซึ่งคำว่า "บุคคล" ตาม ป.พ.พ. ได้แก่ บุคคลธรรมดาและนิติบุคคล โจทก์เป็นเพียงคณะบุคคลที่รวมกันเป็นหน่วยภาษีตาม ป.รัษฎากร เพื่อประโยชน์ในการเสียภาษีเท่านั้น เมื่อไม่ปรากฏว่ามีการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล โจทก์จึงไม่เป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย ทั้งยังไม่ปรากฏว่าเป็นการฟ้องคดีในฐานะส่วนตัว โจทก์จึงไม่ใช่ทั้งบุคคลธรรมดาและมิใช่นิติบุคคล จึงไม่อาจเป็นคู่ความในคดีได้ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
ผู้ที่จะเป็นคู่ความในคดีจะต้องเป็นบุคคลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 1 (11) ซึ่งคำว่า "บุคคล" ตาม ป.พ.พ. ได้แก่ บุคคลธรรมดาและนิติบุคคล โจทก์เป็นเพียงคณะบุคคลที่รวมกันเป็นหน่วยภาษีตาม ป.รัษฎากร เพื่อประโยชน์ในการเสียภาษีเท่านั้น เมื่อไม่ปรากฏว่ามีการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล โจทก์จึงไม่เป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย ทั้งยังไม่ปรากฏว่าเป็นการฟ้องคดีในฐานะส่วนตัว โจทก์จึงไม่ใช่ทั้งบุคคลธรรมดาและมิใช่นิติบุคคล จึงไม่อาจเป็นคู่ความในคดีได้ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2082/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของคณะบุคคลทางภาษีอากร: การแก้ไขคำฟ้องที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และการขาดคุณสมบัติเป็นคู่ความ
การแก้ไขคำฟ้องนั้นพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและ วิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 และข้อกำหนดคดีภาษีอากรพ.ศ. 2539 มิได้บัญญัติไว้เป็นการเฉพาะ จึงต้องนำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับโดยอนุโลมตามมาตรา 17
การแก้ไขคำฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 179 จะต้องเป็นการแก้ไขข้อหาข้ออ้างที่มีต่อจำเลยอันกล่าวไว้ในคำฟ้องที่เสนอต่อศาลแต่แรก โดยการเพิ่มหรือลดทุนทรัพย์หรือราคาทรัพย์สินที่พิพาทในฟ้องเดิม หรือสละข้อหาในฟ้องเดิมเสียบางข้อหรือเพิ่มเติมฟ้องเดิมให้บริบูรณ์
คำร้องขอแก้ไขคำฟ้องของโจทก์ที่ขอแก้ไขคำฟ้องจากชื่อโจทก์ว่า "คณะบุคคลบังอร-พงศ์วิทย์โดยนางบังอรลำยองเสถียร ผู้จัดการคณะบุคคล" เป็น "คณะบุคคล บังอร-พงศ์วิทย์โดยนางบังอรลำยองเสถียรผู้จัดการคณะบุคคลในฐานะส่วนตัว และในฐานะผู้รับมอบอำนาจของนายพงศ์วิทย์พนาพิศาล" และขอแก้ไขข้อความในคำฟ้องเดิมเพิ่มเติมว่า"ในการยื่นฟ้องนี้นางบังอรกระทำในฐานะผู้จัดการคณะบุคคล ในฐานะส่วนตัวและในฐานะผู้รับมอบอำนาจของนายพงศ์วิทย์ด้วยโดยนายพงศ์วิทย์มอบอำนาจให้นางบังอรเป็นผู้รับมอบอำนาจดำเนินคดีแทน" เป็นการเพิ่มเติมชื่อโจทก์ที่จะต้องระบุไว้แน่ชัดตามมาตรา 67 เข้ามาในภายหลังจึงเป็นการเพิ่มจำนวนผู้เป็นโจทก์เข้ามาในคำฟ้องเดิม มิใช่เป็นเรื่องขอแก้ไขคำฟ้อง การที่ศาลภาษีอากรมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมาย คำสั่งดังกล่าวจึงไม่มีผล
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรพ.ศ. 2528 และข้อกำหนดคดีภาษีอากร พ.ศ. 2539 มิได้บัญญัติถึงผู้ที่จะเป็นคู่ความไว้ จึงต้องนำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับโดยอนุโลม ซึ่งตาม มาตรา 1(11)"คู่ความ" หมายความว่า บุคคลผู้อื่นคำฟ้อง หรือถูกฟ้องต่อศาล และคำว่า บุคคล นั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ได้แก่บุคคลธรรมดาและนิติบุคคล คณะบุคคลบังอร-พงศ์วิทย์ โจทก์ เป็นเพียงคณะบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่รวมกันเป็นหน่วยภาษีตาม ประมวลรัษฎากรมีหน้าที่ยื่นรายการเงินได้สำหรับจำนวนเงินได้พึงประเมิน เพื่อเสียภาษีเสมือนเป็นบุคคลธรรมดาคนเดียว โดยบุคคลในคณะบุคคลแต่ละคนไม่จำต้องยื่นรายการเงินได้สำหรับจำนวนเงินได้พึงประเมินของ คณะบุคคลนั้นเพื่อเสียภาษีอีก เมื่อไม่ปรากฏว่าได้มีการจดทะเบียน ตาม บทบัญญัติแห่งลักษณะ 22 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1015โจทก์จึงไม่เป็นนิติบุคคลตามกฎหมายเมื่อตามคำฟ้องของโจทก์ไม่ปรากฏว่านางบังอรและนายพงศ์วิทย์ฟ้องคดีในฐานะส่วนตัว ผู้เป็นโจทก์ในคดีนี้จึงมิใช่บุคคลธรรมดาด้วยเช่นกัน จึงไม่อาจเป็นคู่ความในคดีได้ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
การแก้ไขคำฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 179 จะต้องเป็นการแก้ไขข้อหาข้ออ้างที่มีต่อจำเลยอันกล่าวไว้ในคำฟ้องที่เสนอต่อศาลแต่แรก โดยการเพิ่มหรือลดทุนทรัพย์หรือราคาทรัพย์สินที่พิพาทในฟ้องเดิม หรือสละข้อหาในฟ้องเดิมเสียบางข้อหรือเพิ่มเติมฟ้องเดิมให้บริบูรณ์
คำร้องขอแก้ไขคำฟ้องของโจทก์ที่ขอแก้ไขคำฟ้องจากชื่อโจทก์ว่า "คณะบุคคลบังอร-พงศ์วิทย์โดยนางบังอรลำยองเสถียร ผู้จัดการคณะบุคคล" เป็น "คณะบุคคล บังอร-พงศ์วิทย์โดยนางบังอรลำยองเสถียรผู้จัดการคณะบุคคลในฐานะส่วนตัว และในฐานะผู้รับมอบอำนาจของนายพงศ์วิทย์พนาพิศาล" และขอแก้ไขข้อความในคำฟ้องเดิมเพิ่มเติมว่า"ในการยื่นฟ้องนี้นางบังอรกระทำในฐานะผู้จัดการคณะบุคคล ในฐานะส่วนตัวและในฐานะผู้รับมอบอำนาจของนายพงศ์วิทย์ด้วยโดยนายพงศ์วิทย์มอบอำนาจให้นางบังอรเป็นผู้รับมอบอำนาจดำเนินคดีแทน" เป็นการเพิ่มเติมชื่อโจทก์ที่จะต้องระบุไว้แน่ชัดตามมาตรา 67 เข้ามาในภายหลังจึงเป็นการเพิ่มจำนวนผู้เป็นโจทก์เข้ามาในคำฟ้องเดิม มิใช่เป็นเรื่องขอแก้ไขคำฟ้อง การที่ศาลภาษีอากรมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมาย คำสั่งดังกล่าวจึงไม่มีผล
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรพ.ศ. 2528 และข้อกำหนดคดีภาษีอากร พ.ศ. 2539 มิได้บัญญัติถึงผู้ที่จะเป็นคู่ความไว้ จึงต้องนำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับโดยอนุโลม ซึ่งตาม มาตรา 1(11)"คู่ความ" หมายความว่า บุคคลผู้อื่นคำฟ้อง หรือถูกฟ้องต่อศาล และคำว่า บุคคล นั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ได้แก่บุคคลธรรมดาและนิติบุคคล คณะบุคคลบังอร-พงศ์วิทย์ โจทก์ เป็นเพียงคณะบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่รวมกันเป็นหน่วยภาษีตาม ประมวลรัษฎากรมีหน้าที่ยื่นรายการเงินได้สำหรับจำนวนเงินได้พึงประเมิน เพื่อเสียภาษีเสมือนเป็นบุคคลธรรมดาคนเดียว โดยบุคคลในคณะบุคคลแต่ละคนไม่จำต้องยื่นรายการเงินได้สำหรับจำนวนเงินได้พึงประเมินของ คณะบุคคลนั้นเพื่อเสียภาษีอีก เมื่อไม่ปรากฏว่าได้มีการจดทะเบียน ตาม บทบัญญัติแห่งลักษณะ 22 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1015โจทก์จึงไม่เป็นนิติบุคคลตามกฎหมายเมื่อตามคำฟ้องของโจทก์ไม่ปรากฏว่านางบังอรและนายพงศ์วิทย์ฟ้องคดีในฐานะส่วนตัว ผู้เป็นโจทก์ในคดีนี้จึงมิใช่บุคคลธรรมดาด้วยเช่นกัน จึงไม่อาจเป็นคู่ความในคดีได้ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5133/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายที่ดินเพื่อหากำไร และการระบุหน้าที่เสียภาษีเงินได้และภาษีการค้าสำหรับคณะบุคคล
โจทก์ซื้อที่ดินแปลงหนึ่งแล้วขายไปได้กำไรเพียงเล็กน้อย แต่โจทก์ซื้อมาแล้วขายไปภายในระยะเวลาเพียง 1 ปีเศษ และก่อนขายที่ดินแปลงนี้ โจทก์ก็ได้ขุดหน้าดินไปถมที่ดินของคนอื่นซึ่งโจทก์รับเหมาถมที่ดินไปแล้ว เมื่อรวมเงินจากการขายที่ดินและเงินที่โจทก์ได้รับจากการขุดหน้าดินขายดังกล่าวแล้ว โจทก์มีกำไรมิใช่น้อย อีกทั้งโจทก์มิได้ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับการขายที่ดินแปลงนี้และขอยกเว้นการเสียภาษีดังกล่าวตามมาตรา 42(9) แห่งประมวลรัษฎากรจึงถือได้ว่าโจทก์ได้ที่ดินแปลงนี้มาโดยมุ่งในทางการค้าหรือหากำไร โจทก์ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับการขายที่ดินแปลงนี้ การที่โจทก์ซึ่งมีอาชีพรับจ้างถมดินซื้อที่ดินสองแปลงในระยะเวลาเดียวกันเพื่อขุดเอาหน้าดินไปถมที่ดินแปลงอื่น แล้วขายหรือจำหน่ายที่ดินทั้งสองแปลงนั้นหลังจากขุดหน้าดินไปแล้ว นั้นถือได้ว่าโจทก์ขายที่ดินเป็นทางค้าหรือหากำไร โจทก์ต้องเสียภาษีการค้าตามบัญชีอัตราภาษีการค้าประเภทการค้า 11 การค้าอสังหาริมทรัพย์ โจทก์ซื้อขายที่ดินร่วมกับ ส. เข้าลักษณะของคณะบุคคลมีเงินได้พึงประเมินและรายรับตามประมวลรัษฎากร มาตรา 56 และ 77โจทก์จึงต้องรับผิดในจำนวนเงินภาษีของคณะบุคคลนั้นทั้งหมดเต็มจำนวนมิใช่รับผิดเพียงครึ่งเดียว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 600/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน้าที่และความรับผิดของผู้อำนวยการ/ผู้จัดการคณะบุคคลในการยื่นภาษีและเสียภาษีในนามคณะบุคคล รวมถึงความรับผิดร่วมของหุ้นส่วน
โจทก์เป็นผู้อำนวยการหรือผู้จัดการของคณะบุคคลซึ่งมีเงินได้พึงประเมินจึงมีหน้าที่ยื่นรายการเกี่ยวกับเงินได้พึงประเมิน ตลอดทั้งเสียภาษีในชื่อของคณะบุคคลนั้นจากยอดเงินได้พึงประเมินทั้งสิ้น เสมือนเป็นบุคคลธรรมดาคนเดียว โดยไม่มีการแบ่งแยก เมื่อรายการเกี่ยวกับเงินได้พึงประเมินของคณะบุคคลตามแบบที่ยื่นไม่ถูกต้องตามความจริง เจ้าพนักงานประเมินเมื่อได้จัดการตามประมวลรัษฎากร มาตรา 19 แล้ว ย่อมมีอำนาจทำการประเมินแจ้งจำนวนเงินเรียกเก็บภาษีเพิ่มไปยังโจทก์ตามมาตรา 20 แห่งประมวลรัษฎากรทั้งนี้โดยโจทก์มีหน้าที่และความรับผิดชอบตามมาตรา 56 วรรคสอง
การที่ มาตรา 56 วรรคสอง บัญญัติให้หุ้นส่วนหรือบุคคลในคณะบุคคล ร่วมรับผิดในเงินภาษีที่ค้างชำระด้วย ไม่ทำให้หน้าที่และความรับผิดของโจทก์เปลี่ยนแปลงไป เจ้าพนักงานประเมินหาจำต้องเรียกให้หุ้นส่วนหรือบุคคลในคณะบุคคลมาร่วมรับผิดกับโจทก์ไม่
การที่ มาตรา 56 วรรคสอง บัญญัติให้หุ้นส่วนหรือบุคคลในคณะบุคคล ร่วมรับผิดในเงินภาษีที่ค้างชำระด้วย ไม่ทำให้หน้าที่และความรับผิดของโจทก์เปลี่ยนแปลงไป เจ้าพนักงานประเมินหาจำต้องเรียกให้หุ้นส่วนหรือบุคคลในคณะบุคคลมาร่วมรับผิดกับโจทก์ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 495/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คณะบุคคลไม่สามารถเป็นคู่ความในคดีได้ ต้องเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลที่จดทะเบียน
ผู้ที่จะเป็นคู่ความในคดีได้นั้นจะต้องเป็นบุคคลดังบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 1 (11) และคำว่าบุคคลนั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ได้แก่บุคคลธรรมดาและนิติบุคคล แต่คณะบุคคลกรุงเทพฯ กรีฑา จำเลยที่ 1 เป็นเพียงคณะบุคคลหรือกลุ่มบุคคล มิใช่บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล ดังนั้น โจทก์จึงไม่อาจฟ้องจำเลยที่ 1 ให้รับผิดชำระหนี้ภาษีการค้าได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 495/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คู่ความต้องเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล คณะบุคคลไม่สามารถเป็นคู่ความได้
ผู้ที่จะเป็นคู่ความในคดีได้จะต้องเป็นบุคคลซึ่งได้แก่บุคคลธรรมดาและนิติบุคคล สำหรับคณะบุคคลเป็นเพียงกลุ่มบุคคล ไม่ใช่บุคคลธรรมดาและไม่ใช่นิติบุคคล จึงไม่อาจเป็นคู่ความในคดี