พบผลลัพธ์ทั้งหมด 291 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6408/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อมูลช่วยเหลือคดีช่วยลดโทษจำคุกในคดียาเสพติด
ในชั้นจับกุมและชั้นสอบสวนจำเลยทั้งสามได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับภูมิลำเนาที่อยู่ รูปพรรณสัณฐาน และรายละเอียดอื่น ๆ ของ ช. ผู้ที่ว่าจ้างให้จำเลยทั้งสามขนยาเสพติดให้โทษของกลางไปส่งให้แก่ลูกค้า เมื่อพนักงานสอบสวนให้ดูรูปถ่ายของ ส. จำเลยทั้งสามยืนยันว่าเป็นบุคคลคนเดียวกับ ข. จริง จนเป็นเหตุให้มีการออกหมายจับ ส. จากข้อเท็จจริงดังกล่าวนับว่าจำเลยทั้งสามได้ให้ข้อมูลที่สำคัญและเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษต่อเจ้าพนักงานตำรวจและพนักงานสอบสวน จึงเห็นสมควรวางโทษต่ำกว่าที่ศาลล่างทั้งสองกำหนดตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 100/2 เมื่อเหตุที่ศาลฎีกาลดโทษให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดี แม้ศาลฎีกาอนุญาตให้จำเลยที่ 1 ถอนฎีกาซึ่งมีผลเท่ากับจำเลยที่ 1 มิได้ฎีกาก็ตาม ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจพิพากษาไปถึงจำเลยที่ 1 ที่มิได้ฎีกาด้วยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 213 ประกอบด้วยมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 558/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบิกความเท็จต้องเป็นข้อสำคัญในคดีถึงมีผลแพ้ชนะ จึงเป็นความผิดฐานเบิกความเท็จ
ความผิดฐานเบิกความเท็จตาม ป.อ. มาตรา 177 ข้อความเท็จที่ได้เบิกความต่อศาลจะต้องเป็นข้อสำคัญในคดี ซึ่งหมายถึงต้องเป็นข้อสำคัญฝนคดีอย่างแท้จริงถึงขนาดมีผลทำให้แพ้ชนะคดีกันได้โดยเบอกคำเบิกความอันเป็นเท็จนั้น
คดีแพ่งซึ่งโจทก์ถูก ท. ฟ้องเรียกเงินคืน ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ ท. ชนะคดีโดยอาศัยพยานเอกสารในคดีเป็นสำคัญ ส่วนคำเบิกความของพยานบุคคลเพียงแต่นำมารับฟังประกอบพยานเอกสารเท่านั้น และวินิจฉัยว่าพยานหลักฐานของโจทก์มีน้ำหนักมากกว่าโดยมิได้นำคำเบิกความของจำเลยมาเป็นข้อวินิจฉัยให้มีผลเป็นการแพ้ชนะกัน ข้อความที่จำเลยเบิกความจึงไม่ใช่ข้อสำคัญในคดีไม่อาจลงโทษจำเลยในความผิดฐานเบิกความเท็จได้
คดีแพ่งซึ่งโจทก์ถูก ท. ฟ้องเรียกเงินคืน ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ ท. ชนะคดีโดยอาศัยพยานเอกสารในคดีเป็นสำคัญ ส่วนคำเบิกความของพยานบุคคลเพียงแต่นำมารับฟังประกอบพยานเอกสารเท่านั้น และวินิจฉัยว่าพยานหลักฐานของโจทก์มีน้ำหนักมากกว่าโดยมิได้นำคำเบิกความของจำเลยมาเป็นข้อวินิจฉัยให้มีผลเป็นการแพ้ชนะกัน ข้อความที่จำเลยเบิกความจึงไม่ใช่ข้อสำคัญในคดีไม่อาจลงโทษจำเลยในความผิดฐานเบิกความเท็จได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1521/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าตอบแทนพยาน: สัญญาจ้างพยานเบิกความและให้ข้อมูลคดี ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรม
โจทก์เคยช่วยติดต่อหาซื้อที่ดินให้จำเลยที่ 1 และที่ 3 และ ส. และหาคนมาเช่าที่ดิน โจทก์จึงเป็นผู้รู้รายละเอียดดังกล่าว การที่จำเลยทั้งสามไปหาข้อเท็จจริงจากโจทก์และโจทก์ยังให้คำแนะนำเกี่ยวกับทนายความและติดตามหาบุคคลที่เกี่ยวข้องไปเป็นพยานให้งานของโจทก์จึงเป็นงานรวบรวมพยานหลักฐานที่เกี่ยวกับคดี ส่วนที่โจทก์ต้องไปเบิกความเป็นพยานก็เป็นเรื่องเกี่ยวเนื่องที่ต้องกระทำไม่ขัดต่อกฎหมายเรื่องการรับฟังพยานหลักฐาน ทั้งไม่มีกฎหมายบัญญัติห้ามคู่ความให้ค่าตอบแทนแก่พยาน การที่ฝ่ายจำเลยทั้งสามตกลงให้ค่าตอบแทนแก่โจทก์เป็นเงิน 2,000,000 บาท ก็เป็นเรื่องที่เสนอผลประโยชน์แก่โจทก์เอง โจทก์มิได้เรียกร้อง เมื่อเที่ยบกับมูลค่าทรัพย์ที่ฝ่ายจำเลยทั้งสามจะได้รับคืนและจำนวนคดีที่จำเลยทั้งสามเป็นความซึ่งใช้เวลานาน 8 ถึง 9 ปี ค่าตอบแทนดังกล่าวจึงไม่สูงจนเกินไป จึงไม่เป็นการแสวงหาประโยชน์จากการที่ผู้อื่นเป็นความกัน ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนไม่เป็นโมฆะ
จำเลยที่ 2 เป็นภริยาของจำเลยที่ 1 และร่วมกันตกลงว่าจ้างโจทก์เป็นพยาน ให้คำปรึกษาและให้ข้อมูลเกี่ยวกับคดีด้วย จำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมกันรับผิดในฐานะเป็นผู้ร่วมว่าจ้าง กรณีมิใช่เรื่องตัวการตัวแทน
จำเลยที่ 2 เป็นภริยาของจำเลยที่ 1 และร่วมกันตกลงว่าจ้างโจทก์เป็นพยาน ให้คำปรึกษาและให้ข้อมูลเกี่ยวกับคดีด้วย จำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมกันรับผิดในฐานะเป็นผู้ร่วมว่าจ้าง กรณีมิใช่เรื่องตัวการตัวแทน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 618/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การดำเนินคดีอนาถา: การขยายเวลาสาบานตัว & การพิสูจน์ฐานะทางการเงิน
คำร้องขอขยายระยะเวลาสาบานตัวในการดำเนินคดีอย่างคนอนาถาของจำเลยอ้างแต่เพียงว่า จำเลยไม่สามารถมาสาบานพร้อมขออุทธรณ์อย่างคนอนาถา จึงขอขยายระยะเวลาในการสาบานตัวออกไป 45 วัน โดยไม่ปรากฏว่าเพราะเหตุใดจำเลยจึงไม่สามารถมาสาบานตัวได้ กรณีถือได้ว่าไม่มีพฤติการณ์พิเศษที่ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งขยายระยะเวลาให้ได้ ดังนั้น คำร้องขอดำเนินคดีในชั้นอุทธรณ์อย่างคนอนาถาของจำเลย โดยจำเลยไม่ได้สาบานตัวให้คำชี้แจงว่า จำเลยไม่มีทรัพย์สินพอจะเสียค่าธรรมเนียมศาล คำร้องดังกล่าวจึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 156 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 186/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คดีมีทุนทรัพย์เกินห้าหมื่นบาท และการกำหนดค่าทนายความเกินอัตราที่ศาลชั้นต้นกำหนดได้
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ปล่อยทรัพย์สินที่ยึดหลายรายการ แม้ผู้ร้องอุทธรณ์ตอนแรกเฉพาะทรัพย์สินบางรายการว่าเป็นของผู้ร้อง ส่วนตอนหลังอุทธรณ์ว่าทรัพย์สินรายการที่เหลือก็เป็นของผู้ร้องโดยซื้อมาจากพนักงานขายสินค้าซึ่งนำมาเร่ขายในราคาถูก จึงทำให้บิลเงินสดและใบส่งของชั่วคราวไม่มีชื่อร้านผู้จำหน่ายสินค้า แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าทรัพย์สินดังกล่าวไม่ใช่ของผู้ร้อง จึงเป็นการอุทธรณ์โต้แย้งว่าทรัพย์สินบางรายการในตอนหลังของอุทธรณ์เป็นทรัพย์สินที่ผู้ร้องซื้อมาจากพนักงานขายสินค้าซึ่งนำมาเร่ขายถูกรวมอยู่ด้วย หาใช่ผู้ร้องมิได้อุทธรณ์โต้แย้งทรัพย์สินในรายการส่วนที่เหลือไม่ เมื่อมีราคารวมกันเกินกว่าห้าหมื่นบาท จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์และราคาทรัพย์สินที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์เกินห้าหมื่นบาท อุทธรณ์ของผู้ร้องจึงไม่ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12183/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลการตรวจพิสูจน์ลายมือชื่อเป็นข้อตกลงแพ้ชนะคดีได้ หากข้อตกลงชัดเจน
โจทก์จำเลยท้ากันว่า ให้ศาลส่งลายมือชื่อของจำเลยในสัญญากู้กับตัวอย่างลายมือชื่อของจำเลยไปให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจพิสูจน์ ถ้าผู้เชี่ยวชาญลงความเห็นว่าลายมือชื่อในสัญญากู้เป็นลายมือชื่อของจำเลยจริง จำเลยยอมแพ้คดี ถ้าไม่ใช่ลายมือชื่อของจำเลย โจทก์ยอมแพ้คดีศาลส่งเอกสารดังกล่าวไปให้ผู้เชี่ยวชาญทำการตรวจพิสูจน์แล้ว ผู้เชี่ยวชาญลงความเห็นว่าน่าจะเป็นลายมือชื่อของบุคคลคนเดียวกัน ดังนี้ ความเห็นของผู้เชี่ยวชาญเป็นการยืนยันหรือทำนองยืนยันว่าเป็นลายมือชื่อของจำเลยตรงตามคำท้าของโจทก์จำเลยแล้ว จำเลยจึงต้องเป็นฝ่ายแพ้คดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1069/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาโทษคดีเมทแอมเฟตามีน: การใช้กฎหมายที่แก้ไขใหม่ในส่วนที่เป็นคุณและประเด็นการลดโทษ
จำเลยซื้อเมทแอมเฟตามีนมาจากตำบลเพนียดเพื่อนำไปจำหน่ายที่ตำบลชัยนารายณ์ ระหว่างเดินทางนำเมทแอมเฟตามีนไปจำหน่าย จำเลยถูกเจ้าพนักงานตำรวจจับกุมเสียก่อน การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดสำเร็จฐานมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย
เมทแอมเฟตามีนที่จำเลยมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายมีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ 13.09 กรัม ไม่เกิน 20 กรัม ต้องด้วยมาตรา 66 วรรคสองตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 5)ฯ ที่แก้ไขใหม่ ซึ่งมีระวางโทษจำคุกตั้งแต่สี่ปีถึงจำคุกตลอดชีวิตและปรับตั้งแต่สี่แสนบาทถึงห้าล้านบาท แตกต่างจากมาตรา 66 วรรคหนึ่งตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ กฎหมายเดิมที่มีระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงจำคุกตลอดชีวิต และปรับตั้งแต่ห้าหมื่นบาทถึงห้าแสนบาท ดังนั้น โทษจำคุกขั้นต่ำตามกฎหมายที่แก้ไขใหม่เบากว่าโทษจำคุกตามกฎหมายเดิม แม้จะมีโทษจำคุกขั้นสูงให้จำคุกตลอดชีวิตเท่ากัน กรณีโทษจำคุกตามกฎหมายที่แก้ไขใหม่เป็นคุณมากกว่า จึงต้องใช้กฎหมายที่แก้ไขใหม่ในส่วนที่เป็นคุณบังคับแก่จำเลยตาม ป.อ. มาตรา 3
เมทแอมเฟตามีนที่จำเลยมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายมีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ 13.09 กรัม ไม่เกิน 20 กรัม ต้องด้วยมาตรา 66 วรรคสองตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 5)ฯ ที่แก้ไขใหม่ ซึ่งมีระวางโทษจำคุกตั้งแต่สี่ปีถึงจำคุกตลอดชีวิตและปรับตั้งแต่สี่แสนบาทถึงห้าล้านบาท แตกต่างจากมาตรา 66 วรรคหนึ่งตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ กฎหมายเดิมที่มีระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงจำคุกตลอดชีวิต และปรับตั้งแต่ห้าหมื่นบาทถึงห้าแสนบาท ดังนั้น โทษจำคุกขั้นต่ำตามกฎหมายที่แก้ไขใหม่เบากว่าโทษจำคุกตามกฎหมายเดิม แม้จะมีโทษจำคุกขั้นสูงให้จำคุกตลอดชีวิตเท่ากัน กรณีโทษจำคุกตามกฎหมายที่แก้ไขใหม่เป็นคุณมากกว่า จึงต้องใช้กฎหมายที่แก้ไขใหม่ในส่วนที่เป็นคุณบังคับแก่จำเลยตาม ป.อ. มาตรา 3
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1030/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาล: คดีมีข้อพิพาทเรื่องอำนาจศาลแรงงาน ต้องส่งให้อธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางวินิจฉัยก่อน
ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 9วรรคสอง บัญญัติถึงกรณีมีปัญหาว่าคดีใดอยู่ในอำนาจของศาลแรงงานหรือไม่ ไม่ว่าจะเกิดปัญหาในศาลแรงงานหรือศาลอื่น ให้อธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางเป็นผู้วินิจฉัย โดยให้คำวินิจฉัยดังกล่าวเป็นที่สุด เมื่อจำเลยที่ 2 ถูกโจทก์ฟ้องให้ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้ค้ำประกันการปฏิบัติงานของจำเลยที่ 1 ซึ่งได้ยกข้อต่อสู้ไว้ในคำให้การว่าคดีนี้อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแรงงานเป็นประเด็นมาแต่เริ่มแรก ฉะนั้น การที่ศาลชั้นต้นทำการพิจารณาคดีต่อไปแล้ววินิจฉัยเองว่าคดีนี้อยู่ในอำนาจของศาลชั้นต้นโดยไม่ส่งปัญหาไปให้อธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางวินิจฉัยเสียก่อนนั้น จึงเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5208/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อุทธรณ์คนอนาถาต้องมีเหตุผลสมควร แม้ยากจนก็ไม่อุทธรณ์ได้หากคดีไม่มีเหตุผล
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถาของจำเลยโดยวินิจฉัยว่าคดีไม่มีเหตุผลอันสมควรที่จะอุทธรณ์และจำเลยมิใช่คนยากจน การที่จำเลยใช้สิทธิตาม ป.วิ.พ. มาตรา 156 วรรคสี่ ยื่นคำร้องขอต่อศาลชั้นต้นให้พิจารณาคำขอนั้นใหม่เพื่ออนุญาตให้จำเลยนำพยานหลักฐานมาแสดงเพิ่มเติมว่าตนเป็นคนยากจน เห็นได้ว่าแม้ศาลชั้นต้นทำการไต่สวนและฟังว่าจำเลยเป็นคนยากจน ก็หาเป็นเหตุให้ศาลชั้นต้นต้องมีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยอุทธรณ์อย่างคนอนาถาได้ไม่ เพราะข้อเท็จจริงยังปรากฏว่าคดีไม่มีเหตุผลอันสมควรที่จะอุทธรณ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5134/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลภาษีอากรกลาง: การส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญต้องเกิดจากบทบัญญัติที่ศาลจะใช้บังคับในคดี
การที่ศาลจะต้องส่งความเห็นไปให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัย ต้องเป็นกรณีที่ศาลจะใช้บทบัญญัติแห่งกฎหมายนั้นบังคับแก่คดีที่ศาลพิจารณาอยู่ การที่จะพิจารณาว่าศาลภาษีอากรกลางมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนี้หรือไม่ จะต้องพิจารณาตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 7 ดังนั้น การที่จำเลยให้การว่า คดีนี้ไม่อยู่ในอำนาจการพิจารณาพิพากษาของศาลภาษีอากรกลาง แต่อยู่ในอำนาจการพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 มาตรา 276 ที่พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 มาตรา 9 บัญญัติยกเว้นมิให้อยู่ในอำนาจศาลปกครอง ขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 มาตรา 6 จึงมิใช่เป็นการกล่าวอ้างว่า บทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ศาลจะใช้บังคับแก่คดีต้องด้วยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540มาตรา 6 จึงไม่มีเหตุที่ศาลจะต้องส่งความเห็นไปให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัย