คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
คดีขับไล่

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 76 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7219-7229/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแสดงอำนาจพิเศษในคดีบังคับคดีขับไล่: กำหนดเวลา 8 วันเป็นเพียงระยะเวลาสันนิษฐานสถานภาพ ไม่ตัดสิทธิการยื่นคำร้อง
การยื่นคำร้องแสดงอำนาจพิเศษเพื่อมิให้ต้องถูกบังคับในคดีที่ลูกหนี้ตามคำพิพากษาถูกพิพากษาให้ขับไล่นั้น ป.วิ.พ. มาตรา 296 จัตวา (3) บัญญัติว่า "...ให้ผู้ที่อ้างว่ามิใช่บริวารของลูกหนี้ตามคำพิพากษายื่นคำร้องแสดงอำนาจพิเศษต่อศาลภายในกำหนดเวลาแปดวันนับแต่วันปิดประกาศ ถ้าไม่ยื่นภายในกำหนดเวลาดังกล่าว ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นบริวารของลูกหนี้ตามคำพิพากษา" บทกฎหมายดังกล่าวมิได้บังคับเด็ดขาดว่า ผู้ที่อ้างว่ามิใช่บริวารของลูกหนี้ตามคำพิพากษาจะต้องยื่นคำร้องแสดงอำนาจพิเศษต่อศาลภายใน 8 วัน นับแต่วันที่เจ้าพนักงานบังคับคดีปิดประกาศ คงมีผลเพียงว่า ถ้าไม่ยื่นภายในกำหนดเวลาดังกล่าวก็ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นบริวารของลูกหนี้ตามคำพิพากษา ระยะเวลา 8 วัน ดังกล่าวจึงเป็นกำหนดเวลาที่กฎหมายสันนิษฐานถึงสถานภาพของบุคคลว่าใช่หรือไม่ใช่บริวารของลูกหนี้ตามคำพิพากษาเท่านั้น ไม่ใช่กำหนดเวลาสิ้นสุดแห่งการดำเนินกระบวนพิจารณาอันจะเป็นการตัดสิทธิของผู้ที่อ้างว่าไม่ใช่บริวารของลูกหนี้ตามคำพิพากษาที่จะยื่นคำร้องแสดงอำนาจพิเศษต่อศาลแต่อย่างใด ดังนั้น ไม่ว่าผู้ร้องที่ 1 ถึงที่ 7 จะยื่นคำร้องภายในกำหนดเวลา 8 วัน นับแต่วันที่เจ้าพนักงานบังคับคดีปิดประกาศหรือไม่ก็ตาม ก็หามีผลกระทบถึงสิทธิของผู้ร้องที่ 1 ถึงที่ 7 ที่จะยื่นคำร้องแสดงอำนาจพิเศษต่อศาลตามบทบัญญัติดังกล่าวไม่ ศาลชั้นต้นจึงชอบที่จะไต่สวนและวินิจฉัยปัญหาตามคำร้องของผู้ร้องที่ 1 ถึงที่ 7 ให้สิ้นกระแสความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7601/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีขับไล่ที่ดิน: การต่อสู้กรรมสิทธิ์โดยอ้างสิทธิของบุคคลอื่น ทำให้เป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยอ้างว่าเป็นเจ้าของที่ดินพิพาท จำเลยให้การว่า จำเลยอยู่ในที่พิพาทโดยอาศัยสิทธิของ ส. ที่พิพาทเป็นของ ส. มิใช่ของโจทก์ เป็นการยกข้อต่อสู้ว่าที่พิพาทเป็นของบุคคลอื่นจึงถือไม่ได้ว่าจำเลยต่อสู้กรรมสิทธิ์ ส่วนคำให้การของจำเลยในตอนท้ายที่ว่า จำเลยและ ส. ได้ครอบครองที่พิพาทโดยสงบ เปิดเผยและมีเจตนาเป็นเจ้าของเกินกว่า 10 ปีแล้ว โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องจำเลยเป็นคำให้การที่ไม่ชัดแจ้งขัดแย้งกันเอง ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสอง แต่เป็นคำให้การที่เข้าใจได้ว่า จำเลยปฏิเสธฟ้องโจทก์โดยสิ้นเชิง และเป็นเพียงข้อเถียงข้อกล่าวหาของโจทก์ว่าจำเลยมิได้บุกรุกที่พิพาทตามคำฟ้องเท่านั้น จะแปลว่าเป็นคำให้กาที่ต่อสู้กรรมสิทธิ์ในที่พิพาทมิได้ เพราะจำเลยให้การว่าอยู่ในที่พิพาทโดยอาศัยสิทธิของบุคคลอื่น จึงเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ไม่อยู่ในอำนาจศาลแขวงที่จะพิจารณาพิพากษา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1593/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการฎีกาในคดีขับไล่ที่เกี่ยวข้องกับวงศ์ญาติและบริวาร โดยเฉพาะเมื่อมีประเด็นข้อพิพาทเรื่องกรรมสิทธิ์
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นเจ้าของที่ดิน จำเลยปลูกบ้านอยู่ในที่ดินดังกล่าว ต่อมาโจทก์บอกกล่าวให้ออกไป แต่จำเลยเพิกเฉย ขอบังคับให้จำเลยรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างขนย้ายทรัพย์สินและบริวารออกไปจากที่ดิน ศาลอุทธรณ์ภาค 1 วินิจฉัยเป็นที่สุดว่าที่ดินเป็นของโจทก์และพิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้จำเลยรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างและขนย้ายทรัพย์สินออกจากที่ดิน ผู้ร้องยื่นคำร้องว่าผู้ร้องมิใช่บริวารจำเลย แต่เป็นผู้มีอำนาจพิเศษที่จะอยู่ในที่ดินได้เป็นปัญหาในชั้นบังคับคดีว่าผู้ร้องเป็นบริวารของจำเลยหรือไม่ จึงเป็นคดีเกี่ยวกับการบังคับวงศ์ญาติและบริวารจำเลยที่ถูกฟ้องขับไล่เมื่อที่ดินมีราคา 97,950 บาท และอาจให้เช่าได้เดือนละ 2,500 บาท โจทก์และจำเลยจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคสองเมื่อศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าผู้ร้องเป็นบริวารจำเลยและยกคำร้องศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษายืน ที่ผู้ร้องฎีกาว่าที่ดินพิพาทเป็นของผู้ร้องโดยซื้อที่ดินมาจากโจทก์เป็นฎีกาในข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามตามมาตรา 248 วรรคสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7265/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้อน: คดีขับไล่และเรียกค่าเสียหายซ้ำกับคดีเดิมที่ยังอยู่ในระหว่างพิจารณา ถือเป็นฟ้องซ้อน ห้ามตามกฎหมาย
ตามคำฟ้องโจทก์ได้บรรยายโดยแจ้งชัดว่า จำเลยตกลงเช่าตึกแถวพิพาทจากโจทก์ มีการทำสัญญาเช่าและต่อสัญญาเช่าหลายครั้งต่อมาเมื่อสัญญาเช่าสิ้นสุดลงโจทก์ไม่ประสงค์จะให้จำเลยเช่าต่อไปจึงมีหนังสือบอกเลิกสัญญาเช่าและให้ส่งคืนตึกแถวที่เช่ากับมีคำขอให้จำเลยออกไปจากตึกแถวที่เช่าและที่เช่าและใช้ค่าเสียหาย คำฟ้องโจทก์ได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาพอที่จะให้จำเลยเข้าใจและสามารถต่อสู้คดีได้ โจทก์เป็นผู้มีกรรมสิทธิ์หรือเป็นผู้ทรงสิทธิใดในตึกแถวที่ให้เช่าและสิทธิดังกล่าวสิ้นสุดลงแล้วหรือไม่เป็นเพียงรายละเอียดที่โจทก์สามารถนำนืบในชั้นพิจารณาได้ ทั้งผู้ให้เช่าก็ไม่จำเป็นต้องเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ให้เช่า ประกอบกับจำเลยได้ยื่นำให้การต่อสู้คดีในลักษณะเข้าใจข้อหาได้ดีและยอมรับว่าได้ทำสัญญาเช่าตึกแถวตามฟ้องจากโจทก์ คำฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
ในคดีก่อนที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้อง จำเลยยังอุทธรณ์และฎีกาต่อมา คดีจึงอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ หรือศาลฎีกา โจทก์ฟ้องคดีนี้ขอให้ขับไล่จำเลยออกจากตึกแถวตามฟ้องของโจทก์และเรียกค่าเสียหาย แม้จะอาศัยเช่าต่างฉบับกับสัญญาเช่าที่โจทก์ฟ้องในคดีก่อน แต่สัญญาเช่าที่โจทก์อาศัยเป็นมูลฟ้องคดีนี้ได้มีอยู่แล้วในขณะที่โจทก์ฟ้องคดีก่อนซึ่งโจทก์สามารถอ้างเหตุที่เป็นมูลฟ้องได้ในคดีก่อนแต่โจทก์ก็มิได้กระทำคำฟ้องคดีนี้จึงเป็นเรื่องเดียวกัน ส่วนการถอนคำฟ้องที่มีผลลบล้างผลแห่งการยื่นคำฟ้องและทำให้คู่ความกลับคืนเข้าสู่ ฐานะเดิมเสมือนหนึ่งมิได้มีการยื่นฟ้องเลย ดังที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 176 หมายถึงการถอนคำฟ้องนั้นได้ถึงที่สุดแล้ว ดังนี้ ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้อนต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1) เมื่อโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลย ก็ไม่มีฟ้องของโจทก์และตัวโจทก์ที่จำเลยจะฟ้องแย้ง จำเลยไม่มีสิทธิฟ้องแย้ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7265/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้อน-ไม่มีอำนาจฟ้อง: คดีขับไล่และเรียกค่าเสียหายซ้ำกับคดีเดิมที่อยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา
ฟ้องโจทก์ได้บรรยายโดยแจ้งชัดว่าจำเลยตกลงเช่าตึกแถวพิพาทจากโจทก์มีการทำสัญญาเช่าและต่อสัญญาเช่าหลายครั้งต่อมาเมื่อสัญญาเช่าสิ้นสุดลง โจทก์ไม่ประสงค์จะให้จำเลยเช่าต่อไป จึงให้ทนายความมีหนังสือบอกเลิกสัญญาเช่าและให้ส่งคืนตึกแถวที่เช่ากับมีคำขอให้จำเลยออกไปจากตึกแถวที่เช่าและใช้ค่าเสียหายคำฟ้องโจทก์จึงได้แสดงโดยชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาพอที่จะให้จำเลยเข้าใจและสามารถต่อสู้คดีได้ โจทก์ไม่จำเป็นต้องบรรยายว่าโจทก์เป็นผู้มีกรรมสิทธิ์หรือเป็นผู้ทรงสิทธิใดในตึกแถวที่ให้เช่าและสิทธิดังกล่าวสิ้นสุดลงแล้วหรือไม่ประการใด เพราะเป็นเพียงรายละเอียดที่โจทก์สามารถนำสืบในชั้นพิจารณาได้ ทั้งผู้ให้เช่าก็ไม่จำเป็นต้องเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ให้เช่า ประกอบกับจำเลยได้ยื่นคำให้การต่อสู้คดีในลักษณะเข้าใจข้อหาได้ดีและยอมรับว่าได้ทำสัญญาเช่าตึกแถวตามฟ้องจากโจทก์ คำฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
โจทก์ฟ้องคดีนี้ในขณะที่คดีแพ่งคดีก่อนอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา โดยคดีนี้เป็นเรื่องโจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากตึกแถวพิพาทและเรียกค่าเสียหายเช่นเดียวกับคดีแพ่งคดีก่อน แต่อาศัยสัญญาเช่าตามบันทึกการต่ออายุสัญญาเช่าของปี 2533 มูลฟ้องของโจทก์คดีนี้ แม้จะอาศัยสัญญาเช่าต่างฉบับกับสัญญาเช่าที่โจทก์ฟ้องในคดีก่อน แต่สัญญาเช่าที่โจทก์อาศัยเป็นมูลฟ้องคดีนี้ได้มีอยู่แล้วในขณะที่โจทก์ฟ้องคดีก่อน หาใช่เกิดขึ้นหลังจากที่โจทก์ฟ้องคดีดังกล่าวไม่โจทก์สามารถอ้างเหตุที่เป็นมูลฟ้องในคดีนี้เป็นมูลฟ้องในคดีก่อนแต่โจทก์ก็มิได้กระทำ เมื่อคดีนี้เป็นเรื่องฟ้องขับไล่และเรียกค่าเสียหายเช่นเดียวกัน คำฟ้องที่โจทก์ยื่นฟ้องขึ้นมาใหม่ในคดีนี้จึงเป็นเรื่องเดียวกับคดีแพ่งคดีก่อนซึ่งอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลฎีกาส่วนการถอนคำฟ้องที่มีผลลบล้างผลแห่งการยื่นคำฟ้องและทำให้คู่ความกลับคืนเข้าสู่ฐานะเดิมเสมือนหนึ่งมิได้มีการยื่นฟ้องเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 176 นั้น หมายถึงการถอนคำฟ้องนั้นได้ถึงที่สุดแล้ว ไม่มีคดีค้างพิจารณาอยู่ในศาลใดศาลหนึ่ง เมื่อคดีแพ่งคดีก่อนซึ่งโจทก์ขอถอนฟ้องแล้วแต่จำเลยยังอุทธรณ์และฎีกาต่อมา คดีจึงอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกา ดังนี้ ฟ้องโจทก์คดีนี้เป็นฟ้องซ้อนกับคดีแพ่งคดีก่อน ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 173 วรรคสอง (1) โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง เมื่อโจทก์ไม่มี อำนาจฟ้องจำเลยก็ไม่มีฟ้องของโจทก์และตัวโจทก์ที่จำเลยจะฟ้องแย้งจำเลยไม่มีสิทธิฟ้องแย้ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8657/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องร้องสอดของโจทก์ร่วมในคดีขับไล่ และผลกระทบต่อสัญญาจะซื้อจะขาย
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยผู้อาศัยออกจากที่ดินพิพาท ซึ่งเดิมเป็นของโจทก์ร่วมและโจทก์ร่วมได้ทำสัญญาจะขายที่ดินพิพาทให้แก่ พ. โดยในวันทำสัญญาพ.ได้ชำระเงินให้แก่โจทก์ร่วมบางส่วน ส่วนเงินที่เหลือ พ.จะนำมามอบให้แก่โจทก์ร่วมต่อเมื่อสามารถขับไล่จำเลยซึ่งอาศัยในที่ดินของโจทก์ร่วมออกไปเสียก่อนและโจทก์ร่วมจะต้องจดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ซึ่งจะแต่งงานกับ พ.หลังจากที่มีการจดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาทแล้ว ดังนี้หากจำเลยอยู่ในที่ดินพิพาทโดยอาศัยสิทธิโจทก์ร่วมจริงตั้งแต่ก่อนฟ้องคดีนี้ โจทก์ร่วมก็ย่อมมีอำนาจบังคับจำเลยออกจากที่ดินพิพาทอยู่ก่อนโอนให้โจทก์ ทั้งตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาท หากโจทก์ไม่สามารถขับไล่จำเลยออกไปจากที่ดินได้และโจทก์เป็นฝ่ายแพ้คดี โจทก์และ พ.ย่อมไม่ชำระเงินค่าที่ดินส่วนที่เหลือให้แก่โจทก์ร่วม และอาจใช้สิทธิเรียกร้องเงินที่ชำระแล้วคืนได้ โจทก์ร่วมจึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียตามกฎหมายในผลแห่งคดี และมีสิทธิยื่นคำร้องเข้าเป็นคู่ความได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 57 (2)
ปัญหาว่า โจทก์ร่วมมีอำนาจฟ้องหรือร้องสอดเข้ามาในคดีได้หรือไม่เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยจะมิได้ยกขึ้นว่ากล่าวในศาลชั้นต้น จำเลยก็มีสิทธิยกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์และชั้นฎีกาได้ และเมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 1 ยังมิได้วินิจฉัยปัญหานี้ ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยไปเสียทีเดียวโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิจารณาพิพากษาใหม่
ศาลชั้นต้นยังมิได้สั่งค่าฤชาธรรมเนียมสำหรับฟ้องแย้ง ศาลฎีกาจึงสั่งให้ถูกต้องตาม ป.วิ.พ.มาตรา 161.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1592/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิการเช่าและการห้ามฎีกาในคดีขับไล่: ผู้ร้องอ้างสิทธิการเช่าโดยตรงจากโจทก์แต่ถูกจำกัดสิทธิฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
เดิมโจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยและบริวารออกจากบ้านพิพาท อันเป็นคดีฟ้องขับไล่บุคคลใด ๆ ออกจากอสังหาริมทรัพย์ แต่ข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าโจทก์ให้จำเลยเช่าบ้านพิพาท ในอัตราค่าเช่าเท่าใด คงได้ความเพียงว่า ผู้ร้องเสียค่าเช่า ให้โจทก์ในอัตราเดือนละ 120 บาท ดังนั้น ค่าเช่าในขณะ ยื่นคำฟ้องจึงฟังได้ว่าไม่เกินเดือนละหนึ่งหมื่นบาท คู่ความในคดีฟ้องขับไล่เดิมนั้นจึงต้องห้ามฎีกาในปัญหา ข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคสอง เมื่อคดีนี้เป็นคดีเกี่ยวกับการบังคับผู้ร้องซึ่งเป็นบริวารของจำเลยผู้ถูกฟ้องขับไล่และ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำสั่งของศาลชั้นต้น ไม่ว่าศาล จะฟังว่าผู้ร้องสามารถแสดงอำนาจพิเศษให้ศาลเห็นได้หรือไม่ก็ตาม คดีก็ต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคสามที่ผู้ร้องฎีกาว่าผู้ร้องรับโอนสิทธิการเช่าจากจำเลยโดย โจทก์รู้เห็นยินยอม ผู้ร้องจึงเป็นผู้เช่าโดยตรงจากโจทก์และสัญญาเช่าระหว่างโจทก์กับผู้ร้องเป็นสัญญาเช่าต่างตอบแทน พิเศษยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดา ผู้ร้องไม่ใช่บริวารของจำเลยนั้น เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามบทกฎหมายดังกล่าว คดีฟ้องขับไล่ระหว่างโจทก์จำเลยในคดีเดิมจะมีการ ส่งสำเนาคำฟ้องและหมายเรียกไปยังภูมิลำเนาของจำเลยถูกต้อง ผิดพลาดหรือไม่นั้น หาได้มีผลเกี่ยวข้องกับคดีของผู้ร้อง ที่ยื่นคำร้องแสดงอำนาจพิเศษต่อศาลว่าตนมิใช่บริวารของจำเลย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 จัตวา (3) แต่อย่างใดไม่ เพราะเป็นเรื่องระหว่างโจทก์จำเลย ไม่เกี่ยวกับคดีของผู้ร้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5525/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความคดีมรดก: คดีขับไล่ไม่ใช่คดีมรดกโดยตรง
อายุความตาม ป.พ.พ.มาตรา 1754 เป็นอายุความห้ามฟ้องคดีมรดกหรือคดีที่เจ้าหนี้ขอบังคับตามสิทธิเรียกร้องอันมีต่อเจ้ามรดก แต่คดีนี้โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ส.ฟ้องขับไล่จำเลยให้ขนย้ายบริวารและทรัพย์สินออกไปจากตึกแถวพิพาทซึ่งเป็นทรัพย์มรดกของ ส.เจ้ามรดก แม้โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อพ้นกำหนด 1 ปี นับแต่เจ้ามรดกตาย คดีของโจทก์ก็ไม่ขาดอายุความ เพราะมิใช่เป็นคดีมรดกหรือคดีที่เจ้าหนี้ขอบังคับตามสิทธิเรียกร้องอันมีต่อเจ้ามรดก หากแต่เป็นกรณีที่กองมรดกฟ้องขับไล่ผู้อาศัยอยู่ในทรัพย์มรดกของผู้ตาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5525/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความคดีขับไล่ทรัพย์มรดก: ไม่ใช่คดีมรดกตามมาตรา 1754
อายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754เป็นอายุความห้ามฟ้องคดีมรดกหรือคดีที่เจ้าหนี้ขอบังคับตามสิทธิเรียกร้องอันมีต่อเจ้ามรดก แต่คดีนี้โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ส.ฟ้องขับไล่จำเลยให้ขนย้ายบริวารและทรัพย์สินออกไปจากตึกแถวพิพาทซึ่งเป็นทรัพย์มรดกของ ส. เจ้ามรดก แม้โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อพ้นกำหนด 1 ปี นับแต่ เจ้ามรดกตาย คดีของโจทก์ก็ไม่ขาดอายุความ เพราะมิใช่เป็น คดีมรดกหรือคดีที่เจ้าหนี้ขอบังคับตามสิทธิเรียกร้องอันมีต่อเจ้ามรดก หากแต่เป็นกรณีที่กองมรดกฟ้องขับไล่ผู้อาศัยอยู่ในทรัพย์มรดกของผู้ตาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7834/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนฟ้องคดีขับไล่ทำให้สิทธิในการฟ้องคดีเดิมสิ้นสุดตามกฎหมาย
โจทก์เคยมอบอำนาจให้ ณ.เป็นโจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินพิพาท ต่อมา ณ.ได้ถอนฟ้องไม่ประสงค์จะดำเนินคดีไม่ว่าข้อหาใด ๆเกี่ยวกับที่ดินพิพาทอีกต่อไป ดังนี้ เมื่อโจทก์ถอนฟ้องโดยไม่ประสงค์จะนำคดีมาฟ้องอีก ย่อมเป็นการสละสิทธิของโจทก์ที่มีอยู่ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 176 โจทก์จึงไม่มีสิทธินำคดีมาฟ้องใหม่เป็นคดีนี้
of 8