คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
คดีความ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 59 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7320/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำสิทธิอาญา: คดีก่อนยังไม่สิ้นสุด แม้ถอนฟ้อง
แม้ความผิดตาม พ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางานพ.ศ. 2528 มาตรา 91 ตรี ในคดีนี้จะเป็นกรรมเดียวกับความผิดฐานฉ้อโกงตามป.อ.มาตรา 341 ในคดีก่อน แต่ขณะที่โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ นอกจากคดีก่อนยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้นแล้ว คดีดังกล่าวยังเสร็จสิ้นไปเพราะศาลชั้นต้นจำหน่ายคดีเนื่องจากผู้เสียหายถอนคำร้องทุกข์ อันถือไม่ได้ว่าศาลได้มีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดที่โจทก์ฟ้อง ฟ้องของโจทก์จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำสิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ยังไม่ระงับตาม ป.วิ.อ.มาตรา 39 (2)(4)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5198/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิถอนฟ้องและการใช้ดุลพินิจของศาล
โจทก์จะถอนฟ้องจำเลยหรือไม่เป็นสิทธิของโจทก์ที่จะกระทำได้แต่อยู่ในดุลพินิจของศาลว่าสมควรจะอนุญาตให้ถอนฟ้องหรือไม่ โดยคำนึงถึงความได้เปรียบหรือเสียเปรียบกันในเชิงคดี
คดียังไม่มีการนำพยานของโจทก์และจำเลยเข้าสืบ โดยศาลชั้นต้นนัดสืบพยานโจทก์นัดแรก แต่ทนายจำเลยขอเลื่อนคดี หลังจากนั้นมีการขอเลื่อนนัดสืบพยานโจทก์อีกถึง 10 นัด จนถึงนัดที่โจทก์ขอถอนฟ้อง ซึ่งตลอดเวลาดังกล่าว ทั้งโจทก์และจำเลยได้ขอเลื่อนคดีด้วยเหตุที่ขอเจรจาต่อรองเพื่อตกลงกัน แม้ในที่สุดตกลงกันไม่ได้ก็หาทำให้ฝ่ายใดต้องเสียเปรียบในเชิงคดีไม่ ที่ศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 175 แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4778/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการพิจารณาที่ผิดระเบียบหลังพบเอกสารปลอม ทำให้คดีสามารถยกขึ้นพิจารณาใหม่ได้
คำร้องขอถอนฟ้องโจทก์มีจำเลยในคดีอาญาดังกล่าวเป็นผู้ทำปลอมขึ้นเป็นเหตุให้ศาลชั้นต้นหลงเชื่อสั่งอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องและจำหน่ายคดีออกจากสารบบความ การสั่งคำร้องของศาลชั้นต้น จึงเป็นการพิจารณาที่ผิดระเบียบ เป็นเหตุให้โจทก์ซึ่งเป็นตัวความได้รับความเสียหาย โจทก์ย่อมมีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นเพิกถอนการพิจารณาที่ผิดระเบียบนั้นเสียทั้งหมดและให้ยกคดีขึ้นพิจารณาต่อไปได้ตามป.วิ.พ.มาตรา 27 ประกอบด้วย ป.วิ.อ.มาตรา 15
เมื่อการยื่นคำร้องขอให้ยกคดีขึ้นพิจารณาใหม่ของโจทก์พอแปลได้ว่าโจทก์ประสงค์ขอให้ศาลชั้นต้นเพิกถอนการพิจารณาที่ผิดระเบียบและยกคดีโจทก์ขึ้นพิจารณาต่อไป การยื่นคำร้องขอดังกล่าวมิใช่การยื่นฟ้องจำเลยเป็นคดีใหม่ จึงไม่อาจนำป.วิ.อ.มาตรา 36 มาปรับใช้บังคับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5241/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้อน-คำพิพากษาถึงที่สุด: ศาลยกฟ้องคดีที่ฟ้องซ้ำกับคดีที่อยู่ระหว่างพิจารณา และฟ้องที่ขัดกับคำพิพากษาเดิม
ศาลชั้นต้นตรวจคำฟ้องและคำให้การจำเลยแล้วเห็นว่าคดีพอวินิจฉัยได้ จึงให้งดชี้สองสถานและนัดฟังคำพิพากษาเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นเห็นสมควรวินิจฉัยชี้ขาดคดีให้เสร็จ ไปทั้งเรื่องโดยไม่ต้องสืบพยาน ย่อมเป็นอำนาจของศาลชั้นต้นที่จะใช้ดุลพินิจพิจารณาและมีคำสั่งดังกล่าวได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 182(4) ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า ฟ้องโจทก์เป็นฟ้องซ้ำกับคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 500/2535 ของศาลชั้นต้น โจทก์อุทธรณ์ว่าโจทก์ได้บรรยายฟ้องไว้อย่างชัดแจ้งว่าบ้านเลขที่ 300/2ซึ่งเป็นของ ว. อยู่ก่อนนั้นได้พังลง โจทก์ได้ปลูกขึ้นใหม่เมื่อปี 2535 อันเป็นเวลาก่อนที่ศาลฎีกาจะมีคำพิพากษาในคดีแพ่ง จึงไม่ใช่มูลคดีเดียวกัน แต่เป็นมูลคดีที่ปรากฏขึ้นใหม่ ฟ้องโจทก์จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำนั้น ฟ้องอุทธรณ์ของโจทก์ได้กล่าวไว้โดยชัดแจ้งทั้งข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายจึงเป็นอุทธรณ์ที่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 225 วรรคหนึ่ง แล้ว จึงชอบที่ศาลอุทธรณ์จะต้องรับวินิจฉัย ข้ออุทธรณ์ดังกล่าวของโจทก์ คดีก่อนจำเลยที่ 1 ในคดีนี้ได้ฟ้องโจทก์เป็นจำเลยว่าโจทก์เข้าไปอยู่อาศัยในบ้านเลขที่ 300/2 ซึ่ง ว.ได้ปลูกสร้างลงบนที่ดินที่ได้ยื่นคำร้องขอออกโฉนดที่ดินแล้วโจทก์ได้ตัดฟันต้นไม้ของ ว.อันเป็นการกระทำละเมิดต่อว.ว.ได้แจ้งให้โจทก์ทราบว่าว. ไม่ประสงค์ให้โจทก์อยู่อาศัยในบ้านและที่ดินของ ว. ขอให้ขับไล่โจทก์และบริวารกับเรียกค่าเสียหาย โจทก์ให้การว่า หลังจากที่ ว. ได้ยกบ้านและที่ดินให้ ส.แล้วส. ได้ขายบ้านและที่ดินนี้ให้โจทก์ โจทก์ได้เข้าครอบครองทำประโยชน์ตลอดมา ส่วนต้นไม้ไม่ใช่ของ ว. และโจทก์มิได้ตัดฟันศาลอุทธรณ์พิพากษายืนให้ขับไล่โจทก์และบริวารออกจากบ้านและที่ดินพิพาทโดยวินิจฉัยว่า ว.ไม่ได้ยกบ้านและที่ดินพิพาทให้ส. และส. ไม่ได้ขายให้แก่โจทก์บ้านและที่ดินพิพาทจึงยังเป็นของว. โจทก์ฎีกา แต่ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยฎีกาของโจทก์การที่โจทก์มาฟ้อง ท.ในฐานะทายาทของว.เป็นจำเลยที่ 1 และฟ้องจำเลยที่ 2 กับที่ 3 ซึ่งเป็นบุตรและทายาทของ ว. ในคดีนี้ว่า ที่ดินพิพาทโจทก์เป็นผู้ครอบครองและเป็นที่ราชพัสดุอันเป็นที่ดินสาธารณประโยชน์ของแผ่นดินบ้านเลขที่ 300/2 ซึ่งเป็นของ ว. อยู่ก่อนได้พังลง โจทก์ได้ปลูกสร้างโรงเรือนขึ้นใหม่แต่ใช้เลขที่บ้านเดิมและร่วมออกเงินเพื่อถมดินในที่ดินดังกล่าวกับผู้มีชื่ออีก 3 คน ขอให้พิพากษาว่า ที่ดินพิพาทเป็นที่ราชพัสดุโจทก์เป็นผู้ครอบครองและมีสิทธิดีกว่าจำเลยทั้งสาม และให้บ้าน เลขที่ 300/2 พร้อมรั้วเป็นของโจทก์ หากที่ดินพิพาทไม่ใช่ ที่ราชพัสดุ ก็ให้จำเลยทั้งสามร่วมกันชำระค่าดินที่ถมและ ค่ารั้วคอนกรีตพร้อมค่าบ้านเลขที่ 300/2 จำนวน 55,000 บาท แทนการรื้อถอนแก่โจทก์ ดังนี้ แม้โจทก์กับจำเลยที่ 1 ในคดีนี้ จะถือได้ว่าเป็นคู่ความเดียวกันกับคู่ความในคดีก่อนซึ่งได้มี คำพิพากษาถึงที่สุดแล้วก็ตาม แต่ประเด็นที่ต้องวินิจฉัยในคดีนี้ มีว่า ที่ดินพิพาทเป็นที่ราชพัสดุหรือไม่ ซึ่งในคดีก่อนไม่มี ประเด็นให้ต้องวินิจฉัยดังกล่าว จึงมิใช่การที่คู่ความเดียวกัน รื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุ อย่างเดียวกัน ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148 ผลแห่งคำพิพากษาซึ่งถึงที่สุดในคดีแพ่งที่ว่าที่ดินและบ้านพิพาทยังเป็นของ ว. ย่อมผูกพันโจทก์และจำเลยที่ 1ซึ่งเป็นคู่ความในคดีดังกล่าว ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 145 โจทก์จำต้องยอมรับผลแห่งคำพิพากษานั้น โจทก์จะมา อ้างในคำฟ้องคดีนี้ว่าความจริงที่ดินพิพาทเป็นที่ราชพัสดุอันเป็นที่ดินสาธารณประโยชน์ของแผ่นดินซึ่งโจทก์เป็นผู้ครอบครองและมีสิทธิดีกว่าจำเลยทั้งสอง โจทก์ไม่ทราบมาก่อนว่าที่ดินพิพาทเป็นที่ราชพัสดุ จึงมิได้ให้การต่อสู้ในประเด็นข้อนี้ ไว้ในคดีก่อนหาได้ไม่ ดังนี้ เมื่อ ว. โดยจำเลยที่ 2 ในฐานะทายาทจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นทายาท ผู้มีสิทธิรับมรดกบ้านและที่ดินพิพาทของ ว. เป็นเจ้าของที่ดินและบ้านพิพาท โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องขอให้ศาลสั่งแสดงว่าโจทก์ เป็นผู้ครอบครองที่ดินพิพาท และมีสิทธิดีกว่าจำเลยทั้งสาม และให้บ้านเลขที่ 300/2 พร้อมรั้วรอบที่ดินเป็นของโจทก์ ในคดีนี้อีก ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบ เรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกา ก็เห็นสมควรหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา ความแพ่ง มาตรา 142(5) ประกอบมาตรา 246 และ 247 ฟ้องของโจทก์ในคดีนี้กล่าวอ้างว่า โจทก์ได้ร่วมกับผู้มีชื่อ อีก 3 คน ถมดินในที่ดินแปลงพิพาทและโจทก์ได้ปลูกสร้างโรงเรือน ขึ้นใหม่ในที่ดินพิพาทขอให้พิพากษาว่า โจทก์เป็นเจ้าของบ้าน ที่โจทก์ปลูกสร้างขึ้นใหม่ และให้จำเลยทั้งสามชำระค่าดิน ที่ถมและรั้วคอนกรีตพร้อมค่าบ้านเลขที่ 300/2 จำนวน 55,000 บาท แทนการรื้อถอนแก่โจทก์ ซึ่งเป็นคำขอบังคับทำนองเดียวกับ คำขอให้ชดใช้เงินค่าแห่งที่ดินที่เพิ่มขึ้นเพราะสิ่งปลูกสร้าง ที่โจทก์ได้ปลูกสร้างลงในที่ดินของ ว. ในคดีก่อนโจทก์ในคดีนี้และคดีดังกล่าวเป็นบุคคลคนเดียวกัน ส่วนจำเลยในทั้งสองคดี ปรากฏว่าในคดีก่อน โจทก์ฟ้อง ว. ซึ่งมีจำเลยที่ 1 เข้าเป็นคู่ความแทนที่ ว. ผู้มรณะในฐานะทายาท ส่วนในคดีนี้โจทก์ ก็ฟ้องจำเลยที่ 1 ในฐานะทายาทของ ว. และโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 และที่ 3 ในฐานะทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกที่ดินและบ้านพิพาท ของ ว. ถือได้ว่าจำเลยในทั้งสองคดีดังกล่าวเป็นคู่ความเดียวกันเมื่อโจทก์ได้ยื่นคำฟ้องในส่วนที่เกี่ยวกับบ้านพิพาทและการถมดิน ในที่ดินพิพาทไว้ในคดีก่อน ซึ่งคดีดังกล่าวอยู่ในระหว่างพิจารณา ของศาลชั้นต้น และโจทก์ยื่นคำฟ้องในคดีนี้ในเรื่องเดียวกัน ต่อศาลเดียวกันอีก ฟ้องของโจทก์ในคดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้อน ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173 วรรคสอง (1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 471/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้อน: การฟ้องเรียกค่าเสียหายซ้ำกับคดีสิทธิภาระจำยอมที่ยังพิจารณาอยู่
เมื่อคดีทั้งสองเรื่องโจทก์อ้างสิทธิอย่างเดียวกันว่า ที่ดินโจทก์มีสิทธิภาระจำยอมเหนือที่ดินพิพาทที่จำเลยโอนให้ พ. และค่าเสียหายที่โจทก์ฟ้องในคดีนี้สืบเนื่องมาจากจำเลยไม่ยอมให้ที่ดินพิพาทเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินโจทก์ ซึ่งโจทก์สามารถฟ้องเรียกได้ในคดีก่อนอยู่แล้ว การที่โจทก์กลับมาฟ้องเรียกค่าเสียหายในคดีนี้ขณะที่คดีก่อนยังอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาล ฟ้องของโจทก์จึงเป็นฟ้องซ้อนต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 173 วรรคสอง (1) ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 465/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องแย้งสิทธิครอบครองที่ดิน: การฟ้องภายในกำหนดเวลาและการอ้างสิทธิระหว่างคดี
โจทก์ได้ฟ้องจ.และป.ภริยาเป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาภายในระยะเวลา1ปีนับแต่บุกรุกเข้าไปครอบครองที่ดินพิพาทโดยอ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์จ. ให้การปฏิเสธและนำสืบว่าที่ดินพิพาทเป็นของตนถือได้ว่าเป็นการฟ้องเอาคืนการครอบครองการที่จำเลยเข้าไปครอบครองที่ดินพิพาทโดยอาศัยสิทธิของจำเลยในคดีก่อน(จ.และป.)ในระหว่างคดียังไม่ถึงที่สุดจำเลยย่อมไม่อาจยกการครอบครองที่ดินพิพาทขึ้นอ้างยันสิทธิครอบครองของโจทก์โจทก์จึงหาขาดสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4547/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงกฎหมายระหว่างการพิจารณาคดี และการปรับบทลงโทษตามกฎหมายที่เป็นคุณแก่จำเลยในคดีเกี่ยวกับยาเสพติด
ขณะที่จำเลยกระทำความผิดการที่จำเลยมีเมทแอมเฟตามีนซึ่งเป็นวัตถุออกฤทธิ์ประเภท2คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์0.773กรัมเกินกว่าปริมาณที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดไว้เป็นการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทฯต้องรับโทษตามมาตรา106ทวิระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงยี่สิบปีและปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงสี่แสนบาทต่อมารัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขได้ออกประกาศกระทรวงสาธารณสุขระบุให้เมทแอมเฟตามีนเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท1ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษฯเท่านั้นจึงมีผลให้การมีเมทแอมเฟตามีนคำนวนเป็นสารบริสุทธิ์เพียง0.773กรัมไม่ถึง20กรัมเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษมาตรา67ซึ่งระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปีและปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาทไม่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทฯอีกต่อไปและเมื่อพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษฯมาตรา67ระวางโทษเบากว่าระวางโทษตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทฯมาตรา106ทวิซึ่งใช้อยู่ในขณะจำเลยกระทำความผิดจึงเป็นกฎหมายส่วนที่เป็นคุณแก่จำเลยต้องปรับบทลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษฯมาตรา67ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา3ปัญหานี้แม้จำเลยมิได้ยกขึ้นฎีกาแต่เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา225ประกอบมาตรา195

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1773/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีมรดก: งดบังคับคดีชั่วคราวเพื่อรอผลคดีที่เกี่ยวข้องกับสิทธิในมรดกที่ยังไม่ยุติ
คำวินิจฉัยของศาลฎีกาในคดีนี้กับคำวินิจฉัยของศาลฎีกาในอีกคดีหนึ่งมีข้อความไม่เหมือนกันในสาระสำคัญในทำนองที่ว่าโจทก์คดีนี้เป็นทายาทโดยธรรมมีสิทธิได้รับมรดกในที่ดินพิพาทของเจ้ามรดกหรือโจทก์ถูกตัดมิให้ได้รับมรดกจึงยังเป็นปัญหาที่น่าสงสัยอยู่และจำเลยคดีนี้ได้เป็นโจทก์ฟ้องโจทก์กับพวกเป็นจำเลยต่อศาลในคดีแพ่งขอให้บังคับจำเลยที่1กับพวกในคดีดังกล่าวร่วมกันจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาททั้งสองแปลงดังกล่าวให้แก่โจทก์ในฐานะผู้รับมรดกตามพินัยกรรมคดียังอยู่ระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้นดังนี้หากจะให้มีการบังคับคดีต่อไปแล้วและในชั้นที่สุดจำเลยเป็นฝ่ายชนะคดีการบังคับคดีก็ต้องเปลี่ยนแปลงไปและหากมีการขายทอดตลาดที่ดินพิพาทไปแล้วการบังคับคดีของจำเลยอาจจะไร้ประโยชน์อันเป็นเหตุให้จำเลยได้รับความเสียหายและการงดบังคับคดีของโจทก์ไว้ชั่วคราวไม่น่าจะเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหายเพียงแต่ทำให้โจทก์บังคับคดีช้าไปบ้างเท่านั้นการที่ศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจให้งดการบังคับคดีนี้ไว้เพื่อรอฟังผลคดีดังกล่าวตามที่จำเลยร้องขอซึ่งทำให้ความยุติธรรมดำเนินไปด้วยดีจึงนับว่ามีเหตุอันสมควรตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา292(2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 631/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาคดีอาบัติปาราชิก: อำนาจฟ้องและหลักการรอการพิจารณาคดี
กฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ 11 (พ.ศ.2521) ว่าด้วยการลงนิคหกรรมที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 18 และมาตรา 25แห่ง พ.ร.บ.คณะสงฆ์ พ.ศ.2505 ตราไว้ในหมวด 3 วิธีพิจารณาวินิจฉัยการลงนิคหกรรม ข้อ 23 ว่า การพิจารณาวินิจฉัยการลงนิคหกรรมมี 3 ชั้นคือ (1) ชั้นต้น (2) ชั้นอุทธรณ์ (3) ชั้นฎีกา ข้อ 24 ว่า การพิจารณาวินิจฉัยการลงนิคหกรรมชั้นต้น ให้เป็นอำนาจของคณะผู้พิจารณาชั้นต้น ฯลฯ ข้อ 25 ว่าการพิจารณาวินิจฉัยการลงนิคหกรรมชั้นอุทธรณ์ ให้เป็นอำนาจของคณะผู้พิจารณาชั้นอุทธรณ์ ฯลฯ ข้อ 26 ว่า การพิจารณาวินิจฉัยการลงนิคหกรรมชั้นฎีกาให้เป็นอำนาจของมหาเถรสมาคม ข้อ 27 ว่า คำสั่งหรือคำวินิจฉัยของมหาเถรสมาคมในกรณีพิจารณาวินิจฉัยการลงนิคหกรรมไม่ว่าในกรณีใดให้เป็นอันถึงที่สุด และข้อ 35 ว่า ก่อนพิจารณาหรือในระหว่างพิจารณาถ้าปรากฏว่า(1) เรื่องที่นำมาฟ้องนั้น ได้มีการฟ้องร้องกันในศาลฝ่ายราชอาณาจักรให้รอการพิจารณาเรื่องนั้นไว้ก่อน ฯลฯ เมื่อ อ.เป็นโจทก์ฟ้องโจทก์ต่อผู้พิจารณาเรื่องความผิดพระธรรมวินัยขั้นอาบัติปฐมปาราชิก ซึ่งคดีดังกล่าวคณะผู้พิจารณาชั้นต้นคือจำเลยที่ 1 และคณะผู้พิจารณาชั้นอุทธรณ์คือจำเลยที่ 2 วินิจฉัยต้องกันว่าโจทก์ได้ประพฤติล่วงละเมิดพระธรรมวินัยขั้นอาบัติปฐมปาราชิก มีคำสั่งให้โจทก์สึกภายใน 24 ชั่วโมงแล้ว และโจทก์ได้ยื่นฎีกาต่อคณะผู้พิจารณาชั้นฎีกาคือจำเลยที่ 3 และคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของจำเลยที่ 3 แล้ว โจทก์ก็ต้องรอฟังผลของคำวินิจฉัยของจำเลยที่ 3 เสียก่อนว่าให้ยืน ยก แก้ หรือกลับคำวินิจฉัยชั้นอุทธรณ์ตามข้อ 45 ประกอบด้วยข้อ 53 ฉะนั้นเมื่อคดีดังกล่าวยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของจำเลยที่ 3 โจทก์จะมาด่วนฟ้องว่าคำวินิจฉัยของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ในคดีดังกล่าวไม่ชอบจึงขอให้เพิกถอนหาได้ไม่ และจะขอให้จำเลยที่ 3 รอการพิจารณาการลงนิคหกรรมชั้นฎีกาไว้ก่อนเพื่อรอฟังผลคดีที่โจทก์ฟ้อง อ.กับพวก ที่ศาลแขวงพระนครเหนือและศาลอาญาหาได้ไม่เพราะคดีที่โจทก์ฟ้อง อ.กับพวกนั้นเป็นคนละเรื่องกันกับที่ อ.ฟ้องโจทก์ โจทก์จึงยังไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งห้า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5716/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้อนในคดีร้องสอด: การจำหน่ายคดีเฉพาะคู่ความฝ่ายหนึ่งยังไม่ถือว่าคดีสิ้นสุด
การร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความฝ่ายที่สามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา57(1)ถือเป็นคำฟ้องผู้ร้องสอดอยู่ในฐานะเป็นโจทก์โจทก์เดิมและจำเลยอยู่ในฐานะเป็นจำเลยเมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งจำหน่ายคดีระหว่างผู้ร้องสอดทั้งสองกับจำเลยทั้งสองโดยมิได้จำหน่ายคดีเกี่ยวกับโจทก์ถือว่าคดีระหว่างผู้ร้องสอดกับโจทก์ยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาคำร้องสอดของผู้ร้องสอดที่ยื่นเข้ามาใหม่จึงเป็นฟ้องซ้อนสำหรับโจทก์ผู้ร้องสอดทั้งสองคงมีอำนาจยื่นคำร้องสอดเข้ามาใหม่เฉพาะที่เกี่ยวกับจำเลยทั้งสอง
of 6