พบผลลัพธ์ทั้งหมด 13 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 986/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาล: กรณีคดีปกครอง ศาลชั้นต้นต้องสอบถามโจทก์ก่อน หากเคยฟ้องศาลปกครองแล้วจึงส่งเรื่องให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาด
เมื่อศาลชั้นต้นเห็นว่าเป็นคดีปกครองซึ่งไม่อยู่ในอำนาจศาลยุติธรรมก่อนมีคำสั่งไม่รับฟ้อง ศาลชั้นต้นจะต้องสอบถามโจทก์เสียก่อนว่า โจทก์เคยฟ้องคดีต่อศาลปกครองแล้วและศาลปกครองไม่รับฟ้องเนื่องจากเห็นว่าคดีไม่อยู่ในอำนาจศาลปกครองมาก่อนหรือไม่ หากมีกรณีดังกล่าว ศาลชั้นต้นจะต้องดำเนินการตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลฯ มาตรา 12 วรรคสอง โดยต้องส่งเรื่องไปให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลเพื่อพิจารณาวินิจฉัย หรือหากปรากฏว่าโจทก์ฟ้องคดีนี้ต่อศาลชั้นต้นเป็นศาลแรก และศาลชั้นต้นเห็นว่าเป็นคดีที่อยู่ในอำนาจของศาลปกครอง ศาลชั้นต้นต้องแจ้งให้โจทก์ไปฟ้องคดีต่อศาลปกครองซึ่งเป็นศาลต่างระบบที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีโดยระบุไว้ในคำสั่งไม่รับฟ้องเสียก่อน และศาลต้องแนะนำโจทก์ให้แจ้งต่อศาลปกครองด้วยว่าเคยยื่นฟ้องคดีนี้ต่อศาลชั้นต้นแล้วและศาลชั้นต้นไม่รับฟ้อง นอกจากนี้ในกรณีที่ศาลชั้นต้นไม่รับฟ้องเนื่องจากเห็นว่าคดีอยู่ในอำนาจของศาลปกครอง หากโจทก์อุทธรณ์คำสั่งไม่รับฟ้องของศาลชั้นต้น ศาลชั้นต้นต้องมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ เนื่องจากโจทก์จะต้องฟ้องคดีต่อศาลระบบอื่นที่มีอำนาจ หากศาลในคดีหลังเห็นว่าคดีไม่อยู่ในอำนาจ ศาลนั้นก็ต้องดำเนินการตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลฯ มาตรา 12 วรรคสอง ต่อไปเสียก่อนเช่นเดียวกัน ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นตรวจคำฟ้องแล้วเห็นว่าคำฟ้องของโจทก์มีลักษณะเป็นคดีปกครอง แล้วมีคำสั่งไม่รับฟ้องทันทีโดยมิได้สอบถามโจทก์เสียก่อนว่าโจทก์เคยฟ้องคดีต่อศาลปกครองแล้วและศาลปกครองไม่รับฟ้องหรือไม่ หากโจทก์ยังไม่เคยฟ้องคดีต่อศาลปกครอง ศาลต้องแจ้งให้โจทก์ไปฟ้องคดีต่อศาลปกครองโดยระบุไว้ในคำสั่งไม่รับฟ้องดังกล่าวว่าให้โจทก์แจ้งต่อศาลปกครองว่าเคยยื่นฟ้องคดีนี้ต่อศาลชั้นต้นแล้วและศาลชั้นต้นไม่รับฟ้อง การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับฟ้องทันทีโดยมิได้ดำเนินการดังกล่าว ครั้นเมื่อโจทก์อุทธรณ์ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนจึงเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 986/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาล: คดีปกครอง - การส่งเรื่องระหว่างศาล และการแจ้งให้ฟ้องต่อศาลปกครอง
ในชั้นตรวจคำฟ้อง เมื่อศาลชั้นต้นเห็นว่าเป็นคดีปกครองซึ่งไม่อยู่ในอำนาจของศาลยุติธรรม ก่อนมีคำสั่งไม่รับฟ้อง ศาลชั้นต้นจะต้องสอบถามโจทก์เสียก่อนว่า โจทก์เคยฟ้องคดีต่อศาลปกครองแล้วและศาลปกครองไม่รับฟ้องเนื่องจากเห็นว่าคดีไม่อยู่ในอำนาจศาลปกครองมาก่อนหรือไม่ หากมีกรณีดังกล่าว ศาลชั้นต้นจะต้องดำเนินการตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. 2542 มาตรา 12 วรรคสอง กล่าวคือ ศาลชั้นต้นต้องส่งเรื่องไปให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลเพื่อพิจารณาวินิจฉัย หรือหากปรากฏว่าโจทก์ฟ้องคดีนี้ต่อศาลชั้นต้นเป็นศาลแรก และศาลชั้นต้นเห็นว่าเป็นคดีที่อยู่ในอำนาจของศาลปกครอง ศาลชั้นต้นต้องแจ้งให้โจทก์ไปฟ้องคดีต่อศาลปกครองซึ่งเป็นศาลต่างระบบที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีโดยระบุไว้ในคำสั่งไม่รับฟ้องเสียก่อน และศาลต้องแนะนำโจทก์ให้แจ้งต่อศาลปกครองด้วยว่า เคยยื่นฟ้องคดีนี้ต่อศาลชั้นต้นแล้ว และศาลชั้นต้นไม่รับฟ้อง นอกจากนี้ในกรณีที่ศาลชั้นต้นไม่รับฟ้องเนื่องจากเห็นว่าคดีอยู่ในอำนาจของศาลปกครอง หากโจทก์อุทธรณ์คำสั่งไม่รับฟ้องของศาลชั้นต้น ศาลชั้นต้นต้องมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ เนื่องจากโจทก์จะต้องฟ้องคดีต่อศาลระบบอื่นที่มีอำนาจ หากศาลในคดีหลังเห็นว่าคดีไม่อยู่ในอำนาจ ศาลนั้นก็ต้องดำเนินการตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. 2542 มาตรา 12 วรรคสอง ต่อไปเสียก่อนเช่นเดียวกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7180/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาล: การไม่สอบถามก่อนสั่งไม่รับฟ้องคดีปกครองที่ยังไม่เคยฟ้องศาลปกครอง ถือไม่ชอบ
การที่ศาลชั้นต้นตรวจคำฟ้องแล้วเห็นว่า คำฟ้องของโจทก์มีลักษณะเป็นคดีปกครอง แล้วมีคำสั่งไม่รับฟ้องทันทีโดยมิได้สอบถามโจทก์เสียก่อนว่าโจทก์เคยฟ้องคดีต่อศาลปกครองแล้วและศาลปกครองไม่รับฟ้องหรือไม่ หากโจทก์ไม่เคยฟ้องคดีต่อศาลปกครอง ศาลต้องแจ้งให้โจทก์ไปฟ้องคดีต่อศาลปกครองโดยระบุไว้ในคำสั่งไม่รับคำฟ้องดังกล่าวด้วยว่าให้โจทก์แจ้งต่อศาลปกครองว่าเคยยื่นฟ้องคดีนี้ต่อศาลชั้นต้นแล้วและศาลชั้นต้นไม่รับฟ้อง การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับฟ้องทันทีโดยมิได้ดำเนินการดังกล่าว จึงเป็นการไม่ชอบตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลฯ มาตรา 12 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5693/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีปกครองเกี่ยวกับคำสั่งรื้อถอนอาคารที่ฝ่าฝืนกฎหมายควบคุมอาคาร
คำสั่งที่ให้โจทก์รื้อถอนอาคารเป็นคำสั่งของนายกเทศมนตรีในฐานะเจ้าพนักงานท้องถิ่นตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 4 ซึ่งมาตรา 42 ให้อำนาจไว้โดยเฉพาะแยกต่างหากจากการสั่งในฐานะเป็นผู้กระทำการแทนเทศบาลจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนิติบุคคล จึงไม่ใช่คำสั่งของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 จึงไม่ได้โต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1
เจ้าพนักงานท้องถิ่นได้มีคำสั่งให้โจทก์รื้อถอนอาคารแล้วโจทก์ได้ใช้สิทธิอุทธรณ์คำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 52 วรรคหนึ่ง คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัยให้ยกอุทธรณ์และได้แจ้งผลการวินิจฉัยให้โจทก์ทราบแล้ว คำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ดังกล่าวจึงโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นประธานคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต่อศาลได้
อาคารพิพาทเป็นอาคารพาณิชย์สร้างเสร็จแล้วโดยด้านหลังอาคารเว้นช่องว่างไม่ถึง 2 เมตร ตามแบบแปลนที่ได้รับอนุญาตและตามที่กฎหมายกำหนดจึงเป็นกรณีที่มีการก่อสร้างอาคารโดยฝ่าฝืน พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 31 และไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้ ตราบใดยังไม่แก้ไขให้ถูกต้องเจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของอาคารรื้อถอนอาคารนั้นทั้งหมดหรือบางส่วนได้ตามมาตรา 40, 42 ดังนั้นที่นายกเทศมนตรีในฐานะเจ้าพนักงานท้องถิ่นมีคำสั่งให้โจทก์รื้อถอนด้านหลังอาคารพิพาท 2 คูหา ให้มีที่ว่างเป็นทางเดินหลังอาคาร 2 เมตร และคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ยกอุทธรณ์ของโจทก์จึงชอบแล้ว
เจ้าพนักงานท้องถิ่นได้มีคำสั่งให้โจทก์รื้อถอนอาคารแล้วโจทก์ได้ใช้สิทธิอุทธรณ์คำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 52 วรรคหนึ่ง คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัยให้ยกอุทธรณ์และได้แจ้งผลการวินิจฉัยให้โจทก์ทราบแล้ว คำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ดังกล่าวจึงโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นประธานคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต่อศาลได้
อาคารพิพาทเป็นอาคารพาณิชย์สร้างเสร็จแล้วโดยด้านหลังอาคารเว้นช่องว่างไม่ถึง 2 เมตร ตามแบบแปลนที่ได้รับอนุญาตและตามที่กฎหมายกำหนดจึงเป็นกรณีที่มีการก่อสร้างอาคารโดยฝ่าฝืน พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 31 และไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้ ตราบใดยังไม่แก้ไขให้ถูกต้องเจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของอาคารรื้อถอนอาคารนั้นทั้งหมดหรือบางส่วนได้ตามมาตรา 40, 42 ดังนั้นที่นายกเทศมนตรีในฐานะเจ้าพนักงานท้องถิ่นมีคำสั่งให้โจทก์รื้อถอนด้านหลังอาคารพิพาท 2 คูหา ให้มีที่ว่างเป็นทางเดินหลังอาคาร 2 เมตร และคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ยกอุทธรณ์ของโจทก์จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2835/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หมดอายุความฟ้องคดีปกครอง: การไม่เสนอคดีต่อศาลภายใน 30 วันหลังมีคำวินิจฉัยอุทธรณ์
พ.ร.บ. ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 52 วรรคสี่ กำหนดให้ผู้อุทธรณ์ที่ไม่เห็นด้วยกับคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ให้เสนอคดีต่อศาลภายใน 30 วัน นับแต่วันที่คำร้องแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ โจทก์ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ที่ให้ยกอุทธรณ์ของโจทก์เมื่อวันที่ 22 เมษายน 2541 โจทก์ต้องเสนอคดีต่อศาลภายในวันที่ 22 พฤษภาคม 2541 เมื่อโจทก์นำคดีมาฟ้องเมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2543 เป็นการเสนอคดีต่อศาลเกินระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6931-6932/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการพิจารณาคดีปกครอง และการส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยอำนาจ
โจทก์ทั้งสองยื่นคำร้องขอให้ศาลฎีการอการพิจารณาคดีไว้ชั่วคราวและส่งความเห็นของโจทก์ทั้งสองไปให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยในขณะคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา การพิจารณาสั่งคำร้องดังกล่าวจึงเป็นอำนาจของศาลฎีกา การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งในคำร้องว่าให้รวมสำนวนไว้ ย่อมมีผลเป็นการปฏิเสธที่จะส่งคำร้องของโจทก์ทั้งสองไปให้ศาลฎีกาพิจารณา จึงเป็นการไม่ชอบ
คำร้องของโจทก์ทั้งสองระบุเพียงแต่ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาว่าศาลฎีกามีอำนาจพิจารณาคดีปกครองหรือไม่ มิได้โต้แย้งว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ จึงไม่ต้องด้วยหลักเกณฑ์ที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ ศาลฎีกาไม่จำต้องส่งคำร้องของโจทก์ทั้งสองไปให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย
คำร้องของโจทก์ทั้งสองระบุเพียงแต่ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาว่าศาลฎีกามีอำนาจพิจารณาคดีปกครองหรือไม่ มิได้โต้แย้งว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ จึงไม่ต้องด้วยหลักเกณฑ์ที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ ศาลฎีกาไม่จำต้องส่งคำร้องของโจทก์ทั้งสองไปให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4806/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีปกครอง: คำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่น vs. นิติบุคคล จำเลยไม่ใช่ผู้มีอำนาจออกคำสั่ง
ตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคารฯ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นเจ้าพนักงานท้องถิ่น ส่วนจำเลยมิได้เป็นเจ้าพนักงานท้องถิ่นแต่อย่างใดการที่ผู้อำนวยการเขตบางกอกใหญ่มีหนังสือถึงโจทก์ก็เป็นการกระทำในฐานะปฏิบัติราชการแทนผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร โดยแยกต่างหากจากการสั่งในฐานะเป็นผู้กระทำแทนจำเลยซึ่งเป็นนิติบุคคล คำสั่งดังกล่าวจึงมิใช่คำสั่งของจำเลย ดังนั้นจำเลยจึงมิได้โต้แย้งสิทธิหรือหน้าที่ของโจทก์แต่ประการใดโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3795/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลยุติธรรมรับฟ้องคดีปกครองระหว่างที่ศาลปกครองยังมิได้เปิดทำการ
เมื่อประธานศาลปกครองสูงสุดยังมิได้ประกาศกำหนดให้ศาลปกครองกลางเปิดทำการในวันที่โจทก์ยื่นฟ้อง ต้องถือว่ายังไม่มีศาลปกครองกลางที่จะรับฟ้องของโจทก์ไว้พิจารณา ศาลชั้นต้นที่มีเขตอำนาจซึ่งเป็นศาลยุติธรรมย่อมมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีของโจทก์ได้ ที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า พ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 มาตรา 105 บัญญัติให้ศาลอื่นที่รับฟ้องคดีปกครองหรือที่คดีปกครองอยู่ในระหว่างการพิจารณาในวันที่ พ.ร.บ.ฉบับนี้มีผลบังคับ มีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาและมีคำพิพากษาต่อไปจนคดีนั้นถึงที่สุดเป็นเหตุผลที่แสดงว่าศาลยุติธรรมไม่มีอำนาจรับฟ้องคดีปกครองที่ยื่นฟ้องเป็นคดีใหม่อีกต่อไป คงมีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาได้เฉพาะคดีที่ยังค้างพิจารณาอยู่ในศาลนั้น มาตรา 105 แห่งพ.ร.บ.ดังกล่าวเพียงแต่บัญญัติรับรองอำนาจของศาลยุติธรรมที่รับฟ้องคดีปกครองหรือที่คดีปกครองอยู่ในระหว่างการพิจารณาในวันที่ พ.ร.บ.ฉบับนี้ใช้บังคับให้มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีเหล่านั้นต่อไปได้โดยไม่ต้องจำหน่ายคดีให้ไปฟ้องต่อศาลปกครองที่จะเปิดทำการในเวลาต่อมา หาใช่ประสงค์จะจำกัดอำนาจศาลยุติธรรมไม่ให้รับฟ้องคดีปกครองในระหว่างที่ศาลปกครองกลางยังไม่ได้เปิดทำการดังที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยไม่
แม้โจทก์อาจใช้สิทธิร้องทุกข์ต่อคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ได้ตาม พ.ร.บ.คณะกรรมการกฤษฎีกา (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2542 มาตรา 12 แต่การดำเนินการดังกล่าวเป็นเพียงการร้องทุกข์ต่อหน่วยงานของฝ่ายบริหาร ไม่ใช่เป็นการฟ้องคดีปกครองต่อศาลตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง ในขณะที่ศาลปกครองกลางยังมิได้เปิดทำการ ศาลยุติธรรมชอบที่จะรับฟ้องของโจทก์ไว้พิจารณา
แม้โจทก์อาจใช้สิทธิร้องทุกข์ต่อคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ได้ตาม พ.ร.บ.คณะกรรมการกฤษฎีกา (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2542 มาตรา 12 แต่การดำเนินการดังกล่าวเป็นเพียงการร้องทุกข์ต่อหน่วยงานของฝ่ายบริหาร ไม่ใช่เป็นการฟ้องคดีปกครองต่อศาลตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง ในขณะที่ศาลปกครองกลางยังมิได้เปิดทำการ ศาลยุติธรรมชอบที่จะรับฟ้องของโจทก์ไว้พิจารณา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3795/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลยุติธรรมรับฟ้องคดีปกครองช่วงเปลี่ยนผ่านก่อนศาลปกครองเปิดทำการ
เมื่อประธานศาลปกครองสูงสุดยังมิได้ประกาศกำหนดให้ศาลปกครองกลางเปิดทำการในวันที่โจทก์ยื่นฟ้อง ต้องถือว่ายังไม่มีศาลปกครองกลางที่จะรับฟ้องของโจทก์ไว้พิจารณา ศาลชั้นต้นที่มีเขตอำนาจซึ่งเป็นศาลยุติธรรมย่อมมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีของโจทก์ได้ ที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครองพ.ศ. 2542 มาตรา 105 บัญญัติให้ศาลอื่นที่รับฟ้องคดีปกครองหรือที่คดีปกครองอยู่ในระหว่างการพิจารณาในวันที่ พระราชบัญญัติฉบับนี้มีผลบังคับ มีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาและมีคำพิพากษาต่อไปจนคดีนั้นถึงที่สุดเป็นเหตุผลที่แสดงว่าศาลยุติธรรมไม่มีอำนาจรับฟ้องคดีปกครองที่ยื่นฟ้องเป็นคดีใหม่อีกต่อไป คงมีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาได้เฉพาะคดีที่ยังค้างพิจารณาอยู่ในศาลนั้นมาตรา 105 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวเพียงแต่บัญญัติรับรองอำนาจของศาลยุติธรรมที่รับฟ้องคดีปกครองหรือที่คดีปกครองอยู่ในระหว่างการพิจารณาในวันที่พระราชบัญญัติฉบับนี้ใช้บังคับให้มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีเหล่านั้นต่อไปได้โดยไม่ต้องจำหน่ายคดีให้ไปฟ้องต่อศาลปกครองที่จะเปิดทำการในเวลาต่อมาหาใช่ประสงค์จะจำกัดอำนาจศาลยุติธรรมไม่ให้รับฟ้องคดีปกครองในระหว่างที่ศาลปกครองกลางยังไม่ได้เปิดทำการดังที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยไม่
แม้โจทก์อาจใช้สิทธิร้องทุกข์ต่อคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ได้ตามพระราชบัญญัติคณะกรรมการกฤษฎีกา (ฉบับที่ 4)พ.ศ. 2542 มาตรา 12 แต่การดำเนินการดังกล่าวเป็นเพียงการร้องทุกข์ต่อหน่วยงานของฝ่ายบริหาร ไม่ใช่เป็นการฟ้องคดีปกครองต่อศาลตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครองในขณะที่ศาลปกครองกลางยังมิได้เปิดทำการ ศาลยุติธรรมชอบที่จะรับฟ้องของโจทก์ไว้พิจารณา
แม้โจทก์อาจใช้สิทธิร้องทุกข์ต่อคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ได้ตามพระราชบัญญัติคณะกรรมการกฤษฎีกา (ฉบับที่ 4)พ.ศ. 2542 มาตรา 12 แต่การดำเนินการดังกล่าวเป็นเพียงการร้องทุกข์ต่อหน่วยงานของฝ่ายบริหาร ไม่ใช่เป็นการฟ้องคดีปกครองต่อศาลตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครองในขณะที่ศาลปกครองกลางยังมิได้เปิดทำการ ศาลยุติธรรมชอบที่จะรับฟ้องของโจทก์ไว้พิจารณา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3795/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลยุติธรรมรับฟ้องคดีปกครองช่วงเปลี่ยนผ่านก่อนศาลปกครองเปิดทำการ
แม้พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครองฯจะมีผลเป็นการจัดตั้งศาลปกครองสูงสุด ศาลปกครองกลาง และศาลปกครองในภูมิภาคขึ้นเพื่อทำหน้าที่พิจารณาพิพากษาคดีปกครองก็ตาม แต่ศาลปกครองเหล่านั้นจะเปิดทำการเมื่อใดต้องเป็นไปตามประกาศของประธานศาลปกครองสูงสุด เมื่อยังไม่มีประกาศดังกล่าวก็ต้องถือว่ายังไม่มีศาลปกครองกลางที่จะรับฟ้องของโจทก์ไว้พิจารณา ศาลยุติธรรมย่อมมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีของโจทก์ได้มิฉะนั้นสิทธิของโจทก์ที่จะฟ้องหน่วยราชการหรือหน่วยงานของรัฐย่อมไม่ได้รับความคุ้มครอง แม้โจทก์จะใช้สิทธิร้องทุกข์ต่อคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ก็ตาม แต่การดำเนินการดังกล่าวเป็นเพียงการร้องทุกข์ต่อหน่วยงานของฝ่ายบริหาร ไม่ใช่เป็นการฟ้องคดีปกครองต่อศาล ศาลยุติธรรมชอบที่จะรับฟ้องของโจทก์ไว้พิจารณา