คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
คดีมรดก

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 42 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5634/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีนี้ไม่ใช่คดีมรดก แต่เป็นคดีเจ้าของรวมพิพาทกัน จึงไม่อาจใช้อายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754
การฟ้องคดีมรดกตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 1754 หมายถึงคดีที่ทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกด้วยกันพิพาทกันด้วยเรื่องสิทธิเรียกร้องในส่วนแบ่งทรัพย์มรดก
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นภรรยาและเป็นผู้จัดการมรดกของ ม. ซึ่งมีชื่อเป็นผู้มีสิทธิครอบครองร่วมกับจำเลยในที่ดินและมีคำขอบังคับให้จำเลยแบ่งแยกที่ดินให้แก่โจทก์ครึ่งหนึ่งทางด้านทิศตะวันตกตามที่ ม. มีสิทธิครอบครอง จำเลยให้การว่า ม. ยกที่ดินส่วนของ ม. ให้แก่จำเลย และจำเลยครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินส่วนที่ ม. ยกให้จนได้สิทธิครอบครองแล้ว ซึ่งเท่ากับเป็นการต่อสู้ว่า ม. มิใช่เจ้าของรวม แม้จำเลยจะให้การว่า ม. กับโจทก์ไม่มีบุตรด้วยกันและจำเลยเป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันกับ ม. ก็เป็นการยกขึ้นอ้างเพื่อสนับสนุนว่า ม. ยกที่ดินส่วนของ ม. ให้แก่จำเลยเท่านั้น จำเลยมิได้ให้การว่าจำเลยเป็นทายาทมีสิทธิรับมรดกของ ม. ด้วยผู้หนึ่ง จึงมิใช่เรื่องที่โจทก์และจำเลยพิพาทกันด้วยเรื่องสิทธิเรียกร้องในส่วนแบ่งทรัพย์มรดก แต่พิพาทกันในเรื่องความเป็นเจ้าของรวมที่โจทก์อาศัยเป็นเหตุมาฟ้องขอแบ่งทรัพย์ซึ่งไม่มีกำหนดอายุความหาใช่การฟ้องคดีมรดกไป จึงไม่อาจนำอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 มาใช้บังคับได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4095/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความคดีมรดก: คดีเรียกร้องคืนทรัพย์มรดกไม่ใช่การแบ่งทรัพย์มรดกระหว่างทายาท
ป.พ.พ. มาตรา 1754 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ห้ามมิให้ฟ้องคดีมรดกเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปี นับแต่เมื่อเจ้ามรดกตาย..." คำว่า คดีมรดก ตามบทบัญญัติดังกล่าวหมายความว่า คดีที่พิพาทกันระหว่างทายาทที่มีสิทธิในทรัพย์มรดกด้วยกันด้วยเรื่องสิทธิเรียกร้องส่วนแบ่งทรัพย์มรดก ฉะนั้น จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นภริยาของทายาทคือจำเลยที่ 1 จึงมิใช่ทายาทผู้มีสิทธิในทรัพย์มรดกของ บ. และโจทก์ ในฐานะผู้จัดการมรดกของ บ. ฟ้องคดีนี้เพื่อเรียกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่ดินจากจำเลยทั้งสองเพื่อนำมาแบ่งปันแก่ทายาทของ บ. กรณีมิใช่เรื่องเรียกร้องส่วนแบ่งในทรัพย์มรดก จำเลยที่ 2 ไม่อาจยกอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 วรรคหนึ่ง ขึ้นกล่าวอ้างได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7449/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความคดีมรดก: การครอบครองทรัพย์มรดกโดยผู้อื่นเกิน 10 ปี ทำให้สิทธิเรียกร้องแบ่งมรดกขาดอายุความ
เมื่อเจ้ามรดกถึงแก่ความตาย จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ซึ่งเป็นทายาทได้เข้าครอบครองที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างอันเป็นทรัพย์มรดกโดยโจทก์มิได้เข้ามาเกี่ยวข้องเลยเป็นเวลาเกิน 10 ปีแล้ว ฉะนั้น สิทธิของโจทก์ให้จำเลยทั้งสี่แบ่งมรดกจึงต้องห้ามมิให้ฟ้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 สิทธิในที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างจึงเป็นทรัพย์มรดกย่อมตกแก่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 โดยสมบูรณ์
หลังจากที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตายแล้ว ช. ได้ยื่นคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกแต่ก็เป็นเวลาภายหลังที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตายแล้วประมาณ 15 ปี และเป็นเวลาภายหลังจากที่สิทธิของโจทก์ขาดอายุความมรดก และในการยื่นคำร้องขอของ ช. ก็มิได้ระบุว่าโจทก์เป็นทายาท ครั้น ช. ขอถอนตัวจากการเป็นผู้จัดการมรดกจำเลยที่ 4 ได้ยื่นคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดก จำเลยที่ 4 ได้ยื่นคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกก็ไม่ระบุว่าโจทก์เป็นทายาทเช่นกัน และเมื่อจำเลยที่ 1ถึงที่ 3 และ ป. ยื่นคำร้องคัดค้านขอให้ถอนจำเลยที่ 4 จากการเป็นผู้จัดการมรดกและตั้งจำเลยที่ 2 เป็นผู้จัดการมรดกแทน ได้มีการตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความให้ที่ดินและตึกแถวตกแก่จำเลยที่ 1ถึงที่ 3 โดยจำเลยที่ 4 ถอนตัวจากการเป็นผู้จัดการมรดกและให้จำเลยที่ 2 เป็นผู้จัดการมรดกแทน ดังนี้ การยื่นคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกโดย ช. และโดยจำเลยที่ 4 การร้องคัดค้านของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 และ ป. ที่ให้ถอนจำเลยที่ 4 จากการเป็นผู้จัดการมรดก รวมทั้งการทำสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นก็เพื่อจะดำเนินการให้มีอำนาจเปลี่ยนแปลงหลักฐานทางทะเบียนเพื่อให้ได้สิทธิโดยสมบูรณ์ในที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างอันเป็นทรัพย์มรดกเท่านั้น หาใช่เพื่อประโยชน์แก่โจทก์ซึ่งสิ้นสิทธิในการฟ้องคดีเกี่ยวกับทรัพย์มรดกไปโดยบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1754 แล้วไม่ ฉะนั้น จึงถือไม่ได้ว่า ช. ป. และจำเลยทั้งสี่ครอบครองทรัพย์มรดกของเจ้ามรดกแทนหรือเพื่อประโยชน์แก่โจทก์ไม่โจทก์จะยกเอาประโยชน์แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1748 มาอ้างสิทธิเพื่อเรียกร้องให้จำเลยทั้งสี่แบ่งทรัพย์มรดกเมื่อล่วงพ้นกำหนดอายุความตามมาตรา 1754 แล้วหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3316/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความคดีมรดก: ไม่บังคับใช้กับคดีเรียกคืนทรัพย์จากผู้ครอบครองแทน
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 วรรคหนึ่ง ที่กำหนดห้ามมิให้ฟ้องคดีมรดกเมื่อพ้นกำหนด 1 ปี นับแต่เมื่อเจ้ามรดกตายนั้น คำว่า คดีมรดกหมายความว่า คดีที่พิพาทกันระหว่างทายาทที่มีสิทธิในทรัพย์มรดกด้วยกัน ด้วยเรื่องสิทธิเรียกร้องส่วนแบ่งทรัพย์มรดก ฉะนั้น เมื่อจำเลยมิใช่ทายาทผู้มีสิทธิในทรัพย์มรดกรายนี้ และโจทก์ฟ้องคดีนี้เพื่อเรียกทรัพย์มรดกจากจำเลยผู้ครอบครองแทน กรณีมิใช่เรื่องเรียกร้องส่วนแบ่งในทรัพย์มรดกจำเลยจึงไม่อาจอ้างอายุความตามมาตรา 1754 มาตัดฟ้องโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3316/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความคดีมรดก: ไม่ครอบคลุมคดีเรียกทรัพย์มรดกจากผู้ครอบครองที่ไม่ใช่ทายาท
คดีมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754หมายความว่า คดีที่พิพาทกันระหว่างทายาทที่มีสิทธิในทรัพย์มรดกด้วยกันด้วยเรื่องสิทธิเรียกร้องส่วนแบ่งทรัพย์มรดก จำเลยมิใช่ทายาทผู้มีสิทธิในทรัพย์มรดก และโจทก์ฟ้องคดีเพื่อเรียกทรัพย์มรดกจากจำเลยผู้ครอบครองแทน กรณีจึงมิใช่เรื่องโจทก์เรียกร้องส่วนแบ่งในทรัพย์มรดก จำเลยย่อมไม่อาจอ้างอายุความมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1754 มาตัดฟ้องโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3316/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความคดีมรดก: ไม่ครอบคลุมคดีเรียกคืนทรัพย์มรดกจากผู้ครอบครองที่ไม่ใช่ทายาท
คดีมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 หมายความว่า คดีที่พิพาทกันระหว่างทายาทที่มีสิทธิในทรัพย์มรดก ด้วยกัน ด้วยเรื่องสิทธิเรียกร้องส่วนแบ่งทรัพย์มรดก จำเลยมิใช่ทายาทผู้มีสิทธิในทรัพย์มรดก และโจทก์ฟ้องคดี เพื่อเรียกทรัพย์มรดกจากจำเลยผู้ครอบครองแทน กรณีจึงมิใช่ เรื่องโจทก์เรียกร้องส่วนแบ่งในทรัพย์มรดก จำเลยย่อมไม่อาจอ้างอายุความมรดกตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 มาตัดฟ้องโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5525/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความคดีมรดก: คดีขับไล่ไม่ใช่คดีมรดกโดยตรง
อายุความตาม ป.พ.พ.มาตรา 1754 เป็นอายุความห้ามฟ้องคดีมรดกหรือคดีที่เจ้าหนี้ขอบังคับตามสิทธิเรียกร้องอันมีต่อเจ้ามรดก แต่คดีนี้โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ส.ฟ้องขับไล่จำเลยให้ขนย้ายบริวารและทรัพย์สินออกไปจากตึกแถวพิพาทซึ่งเป็นทรัพย์มรดกของ ส.เจ้ามรดก แม้โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อพ้นกำหนด 1 ปี นับแต่เจ้ามรดกตาย คดีของโจทก์ก็ไม่ขาดอายุความ เพราะมิใช่เป็นคดีมรดกหรือคดีที่เจ้าหนี้ขอบังคับตามสิทธิเรียกร้องอันมีต่อเจ้ามรดก หากแต่เป็นกรณีที่กองมรดกฟ้องขับไล่ผู้อาศัยอยู่ในทรัพย์มรดกของผู้ตาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3575/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีมรดก: แยกพิจารณาคดีจัดการมรดกและคดีแบ่งมรดกตามกฎหมาย
คดีจัดการมรดกกับคดีมรดกเป็นคดีคนละประเภทกัน อายุความฟ้องคดีเกี่ยวกับการจัดการมรดกมีอายุความ 5 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1733 วรรคสองส่วนคดีมรดกมีอายุความตามมาตรา 1754 แม้กองมรดกจะมีการตั้งผู้จัดการมรดกก็ไม่อาจจะทำให้สิทธิ เรียกร้องขอแบ่งมรดกของทายาทกลายเป็นคดีเกี่ยวกับการ จัดการมรดกไปได้ คดีที่ผู้จัดการมรดกถูกฟ้องเป็นคดีเกี่ยวกับการจัด การมรดกอายุความย่อมอยู่ในบังคับมาตรา 1733 วรรคสอง คดีนี้จำเลยมิใช่ผู้จัดการมรดกหากเป็นทายาทหรือผู้สืบสิทธิของทายาท เมื่อถูกฟ้องขอให้แบ่งมรดกย่อมเป็นคดีมรดก อายุความย่อมอยู่ในบังคับมาตรา 1754 เมื่อคำฟ้องโจทก์อ้างว่า จำเลยร่วมกันปิดบังทรัพย์มรดก ขอให้กำจัดมิให้รับมรดกด้วย ซึ่งหากข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยปิดบังทรัพย์มรดกจริง จำเลยก็ต้องถูกกำจัดมิให้รับมรดก และถือว่าจำเลยมิใช่ทายาท อันจะยกอายุความขึ้นต่อสู้โจทก์ได้ แต่หากข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยไม่ถูกกำจัดมิให้รับมรดก คดีของโจทก์สำหรับจำเลย ก็ขาดอายุความไปแล้ว การที่ศาลล่างทั้งสองไม่ได้วินิจฉัย ว่าจำเลยถูกกำจัดมิให้รับมรดกหรือไม่เสียก่อน แต่กลับ ไปวินิจฉัยว่าคดีโจทก์สำหรับจำเลยไม่ขาดอายุความจึงเป็นการข้ามขั้นตอน ศาลฎีกาชอบที่จะให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยประเด็น เรื่องอายุความเสียใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 247/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความคดีผู้ค้ำประกัน: สิทธิในการยกข้อต่อสู้ตามกฎหมาย และข้อยกเว้นในคดีมรดก
จำเลยเป็นผู้ค้ำประกัน อ. แม้จะยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม ก็เป็นการยอมรับผิดร่วมกันกับลูกหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 691มิได้ทำให้กลายเป็นลูกหนี้ร่วมเต็มตัวอย่างลูกหนี้ร่วมตามมาตรา 291 จำเลยคงเสียสิทธิเพียงไม่อาจยกข้อต่อสู้ตามมาตรา 688,689 และ 690 ขึ้นต่อสู้เท่านั้นนอกนั้นมิได้เสียสิทธิของผู้ค้ำประกันตามบทบัญญัติในลักษณะค้ำประกันแต่อย่างใด ดังนั้น จำเลยย่อมมีสิทธิตามมาตรา 694ที่ยังอาจยกข้อต่อสู้ทั้งหลายซึ่งลูกหนี้มีต่อเจ้าหนี้ขึ้นต่อสู้ได้ด้วย ซึ่งตามบทบัญญัติดังกล่าวไม่มีข้อความตอนใดที่จะแสดงให้เห็นว่าข้อต่อสู้ที่ลูกหนี้มีต่อเจ้าหนี้ซึ่งค้ำประกันจะยกขึ้นได้ ต้องไม่เกี่ยวกับเรื่องอายุความมรดกทั้งคดีนี้ไม่ใช่คดีมรดกเป็นเรื่องโจทก์ฟ้องจำเลยให้รับผิดในฐานะผู้ค้ำประกันจำเลยย่อมใช้สิทธิตามมาตรา 694 ได้จึงไม่เกี่ยวกับว่าจำเลยจะเป็นบุคคลตามที่ระบุไว้ในมาตรา 1755 หรือไม่ เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าโจทก์มิได้ใช้สิทธิเรียกร้องต่อกองมรดกของ อ. ภายใน 1 ปีนับแต่ทราบว่า อ. ถึงแก่ความตาย สิทธิเรียกร้องของโจทก์ต่อกองมรดกของ อ. จึงขาดอายุความ ตามมาตรา 1754 วรรคสามจำเลยจึงไม่ต้องรับผิดชำระหนี้ตามฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9214/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการฟ้องแย้งในคดีมรดก: ฟ้องแย้งต้องเป็นเรื่องเกี่ยวเนื่องกับฟ้องเดิม
โจทก์ทั้งสองฟ้องขอให้ศาลพิพากษาให้จำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกของผู้ตายนำที่ดิน 6 แปลง อันเป็นทรัพย์มรดกของผู้ตายมาแบ่งปันให้แก่โจทก์ทั้งสองตามสิทธิการเป็นทายาทโดยธรรม ส่วนจำเลยฟ้องแย้งขอให้บังคับโจทก์ทั้งสองรื้อถอนกำแพงและยุ้งข้าวออกไปจากที่ดิน พร้อมทั้งให้ชดใช้ค่าเสียหายแก่จำเลยเนื่องจากโจทก์ทั้งสองไม่ยอมออกไปจากที่ดินดังกล่าวซึ่งเป็นของจำเลยที่ได้รับการยกให้มาจากผู้ตายก่อนแล้ว กับขอให้บังคับโจทก์ทั้งสองเสียค่าใช้จ่ายในการที่จำเลยดำเนินการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายตามคำสั่งของศาลชั้นต้นให้แก่จำเลยบางส่วนตามที่โจทก์ทั้งสองได้ตกลงกับจำเลยไว้ก่อนว่าจะร่วมเสียค่าใช้จ่ายในการนี้ให้แก่จำเลยในภายหลัง ดังนี้ ตามฟ้องของโจทก์ทั้งสองเป็นการฟ้องขอให้บังคับจำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกของผู้ตายแบ่งปันทรัพย์มรดกของผู้ตายให้แก่โจทก์ทั้งสองตามสิทธิการเป็นทายาทโดยธรรมของผู้ตาย แต่ตามฟ้องแย้งของจำเลยเป็นการฟ้องขอให้บังคับโจทก์ทั้งสองรับผิดต่อจำเลยเป็นการส่วนตัวทั้งสิ้นจึงเป็นเรื่องอื่นไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิมที่ศาลจะรับฟ้องแย้งของจำเลยได้
of 5