พบผลลัพธ์ทั้งหมด 11 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3619/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยกเลิกการล้มละลายมีผลให้คดีพิทักษ์ทรัพย์สิ้นสุด ศาลควรแจ้งศาลอุทธรณ์เพื่อจำหน่ายคดี
คำสั่งศาลชั้นต้นซึ่งให้ยกเลิกการล้มละลายมีผลทำให้จำเลยพ้นจากการเป็นบุคคลล้มละลายและเท่ากับศาลได้มีคำสั่งยกเลิกการพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดของจำเลยไปด้วยในตัว ศาลชั้นต้นจึงชอบที่จะแจ้งคำสั่งดังกล่าวให้ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ทราบเพื่อมีคำสั่งจำหน่ายคดีออกจากสารบบความของศาลอุทธรณ์ภาค 1 เพราะไม่มีประโยชน์ที่จะพิจารณาอุทธรณ์ของจำเลยอีกต่อไป การที่ศาลชั้นต้นมิได้แจ้งคำสั่งยกเลิกการล้มละลายของจำเลยให้ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ทราบ และศาลอุทธรณ์ภาค 1 ได้พิจารณาอุทธรณ์ของจำเลยแล้วมีคำพิพากษาให้พิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาด จึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1004/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิ้นสุดคดีแล้ว โต้แย้งกฎหมายขัดรัฐธรรมนูญไม่ได้ ศาลไม่ต้องส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา264 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้ศาลส่งความเห็นไปให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยในกรณีที่ศาลเห็นเอง หรือในกรณีที่คู่ความโต้แย้งว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายนั้นต้องด้วยบทบัญญัติมาตรา 6 แห่งรัฐธรรมนูญ ก็ต่อเมื่อศาลดังกล่าวจะใช้บทกฎหมายนั้นบังคับแก่คดีที่อยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลนั้น และยังไม่มีคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญในส่วนที่เกี่ยวกับบทบัญญัตินั้น ดังนั้น หากคดีดังกล่าวได้เสร็จสิ้นถึงที่สุดไปแล้ว ศาลหรือบุคคลใดจะกล่าวอ้างว่ากฎหมายขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญและจะส่งเรื่องหรือขอให้ศาลนั้นส่งเรื่องไปให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยหาได้ไม่
ข้อโต้แย้งของโจทก์ที่ว่า ป.วิ.อ.มาตรา 220 ที่ศาลชั้นต้นและศาลฎีกาได้ใช้เป็นหลักในการสั่งไม่รับฎีกาของโจทก์ไปให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยว่าเป็นบทบัญญัติที่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช2540 มาตรา 26, 27, 28 และ 272 หรือไม่นั้น ศาลฎีกาได้มีคำสั่งยืนตามคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่รับฎีกาของโจทก์ และศาลชั้นต้นได้อ่านคำสั่งคำร้องของศาลฎีกาดังกล่าวให้คู่ความฟังแล้ว จึงต้องถือว่าคดีระหว่างโจทก์และจำเลยได้เสร็จสิ้นถึงที่สุดไปแล้ว โจทก์จึงไม่มีสิทธิโต้แย้งว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ใช้บังคับในคดีนั้นขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญได้อีกต่อไป หากโจทก์ประสงค์จะโต้แย้งว่า ป.วิ.อ.มาตรา 220 ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ โจทก์ชอบที่จะโต้แย้งก่อนที่ศาลฎีกาจะมีคำสั่งดังกล่าว อีกทั้งขณะที่คดีนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา ศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำวินิจฉัยในคดีอื่นแล้วว่า ป.วิ.อ.มาตรา 220 ไม่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2540 มาตรา 26, 27, 28 และ 272 ซึ่งคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญดังกล่าวใช้ได้ในคดีทั้งปวงตามมาตรา 264 วรรคสาม กรณีที่โจทก์ร้องขอจึงไม่ต้องด้วยบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 264 ศาลจึงไม่จำต้องส่งข้อโต้แย้งของโจทก์ไปให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยอีก
ข้อโต้แย้งของโจทก์ที่ว่า ป.วิ.อ.มาตรา 220 ที่ศาลชั้นต้นและศาลฎีกาได้ใช้เป็นหลักในการสั่งไม่รับฎีกาของโจทก์ไปให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยว่าเป็นบทบัญญัติที่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช2540 มาตรา 26, 27, 28 และ 272 หรือไม่นั้น ศาลฎีกาได้มีคำสั่งยืนตามคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่รับฎีกาของโจทก์ และศาลชั้นต้นได้อ่านคำสั่งคำร้องของศาลฎีกาดังกล่าวให้คู่ความฟังแล้ว จึงต้องถือว่าคดีระหว่างโจทก์และจำเลยได้เสร็จสิ้นถึงที่สุดไปแล้ว โจทก์จึงไม่มีสิทธิโต้แย้งว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ใช้บังคับในคดีนั้นขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญได้อีกต่อไป หากโจทก์ประสงค์จะโต้แย้งว่า ป.วิ.อ.มาตรา 220 ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ โจทก์ชอบที่จะโต้แย้งก่อนที่ศาลฎีกาจะมีคำสั่งดังกล่าว อีกทั้งขณะที่คดีนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา ศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำวินิจฉัยในคดีอื่นแล้วว่า ป.วิ.อ.มาตรา 220 ไม่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2540 มาตรา 26, 27, 28 และ 272 ซึ่งคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญดังกล่าวใช้ได้ในคดีทั้งปวงตามมาตรา 264 วรรคสาม กรณีที่โจทก์ร้องขอจึงไม่ต้องด้วยบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 264 ศาลจึงไม่จำต้องส่งข้อโต้แย้งของโจทก์ไปให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6736/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีความเสียหายจากการรับฝากรถยนต์: เมื่อรถคืนสภาพคดีสิ้นสุด
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยรับฝากรถยนต์พร้อมอุปกรณ์ราคา383,700บาทของโจทก์ไว้โดยมีบำเหน็จแล้วทำให้รถยนต์ที่รับฝากไว้สูญหายขอให้จำเลยใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์เป็นเงิน383,700บาทถือว่าโจทก์ฟ้องเรียกให้จำเลยผู้รับฝากชดใช้ราคารถยนต์ที่สูญหายจำนวน383,700บาทเท่านั้นเมื่อปรากฏว่าขณะที่คดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์โจทก์ได้รับรถยนต์คันดังกล่าวคืนมาแล้วข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาตามคำฟ้องของโจทก์ที่ว่ารถยนต์ของโจทก์ที่ฝากไว้แก่จำเลยสูญหายไปย่อมหมดไปคดีของโจทก์จึงไม่เป็นประโยชน์ที่ศาลฎีกาจะพิจารณาต่อไปแต่หากจะจำหน่ายคดีโดยให้คงคำพิพากษาของศาลล่างที่พิพากษาให้จำเลยชำระค่าเสียหายให้แก่โจทก์ก็เป็นการไม่ชอบเพราะรถยนต์ของโจทก์ได้รับกลับคืนมาแล้วศาลฎีกาพิพากษายกคำพิพากษาศาลล่างทั้งสองและให้จำหน่ายคดีออกเสียจากสารบบความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6736/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีชดใช้ราคารถหาย เมื่อรถคืนสภาพเดิม คดีสิ้นสุด ไม่ต้องชดใช้
โจทก์ฟ้องเรียกให้จำเลยผู้รับฝากชดใช้ราคารถยนต์ที่สูญหายจำนวน383,700บาทเท่านั้นเมื่อปรากฎว่าขณะคดีนี้อยู่ในระหว่างการพิจารณาโจทก์ได้รับรถยนต์ตามฟ้องกลับคืนมาแล้วดังนั้นข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาตามคำฟ้องของโจทก์ทีว่ารถยนต์ของโจทก์ที่ฝากไว้แก่จำเลยทั้งสองสูญหายย่อมหมดไปคดีจึงไม่เป็นประโยชน์ที่ศาลฎีกาจะพิจารณาต่อไปแต่หากจะจำหน่ายคดีโดยให้คงคำพิพากษาศาลล่างทั้งสองที่พิพากษาให้จำเลยชำระค่าเสียหายแก่โจทก์ก็จะเป็นการไม่ชอบเพราะโจทก์ได้รับรถยนต์กลับคืนแล้วและไม่จำต้องวินิจฉัยประเด็นอื่นต่อไปศาลฎีกาพิพากษาศาลล่างทั้งสองและให้จำหน่ายคดีเสีย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2762/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การร้องสอดคดีหลังจำหน่ายคดีออกจากสารบบความ: สิทธิของผู้ร้องในการเข้าร่วมดำเนินคดีเมื่อคดีสิ้นสุดแล้ว
แม้จะมีเหตุสมควรที่ผู้ร้องจะเข้ามาเป็นคู่ความในคดีแต่เมื่อปรากฏว่าโจทก์ทิ้งฟ้อง และศาลชั้นต้นสั่งจำหน่ายคดีออกจากสารบบความแล้ว จึงไม่มีคดีอยู่ในระหว่างพิจารณาที่ผู้ร้องจะเข้ามาเป็นคู่ความได้อีก ไม่มีประโยชน์ที่จะอนุญาตให้ผู้ร้องเข้ามาเป็นคู่ความในคดี ศาลชอบที่จะให้จำหน่ายคดีผู้ร้องเสียจากสารบบความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5383/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเข้าเป็นคู่ความตามมาตรา 57(1) เมื่อคดีสิ้นสุดแล้ว ศาลชอบที่จะสั่งไม่รับคำร้อง
ตามคำร้องเป็นเรื่องผู้ร้องร่วมทั้งสองประสงค์จะเข้ามาเป็นคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(1) ซึ่งกฎหมายดังกล่าวบัญญัติให้บุคคลภายนอกร้องขอเข้าเป็นคู่ความได้โดยยื่นคำร้องขอต่อศาลที่คดีนั้นอยู่ในระหว่างพิจารณา เมื่อปรากฏว่าในวันที่ผู้ร้องทั้งสองยื่นคำร้องขอเข้ามาเป็นคู่ความนั้นศาลชั้นต้นได้สั่งยกคำร้องของผู้ร้องไปแล้ว จึงไม่มีคดีของผู้ร้องที่ผู้ร้องร่วมทั้งสองจะเข้ามาเป็นคู่ความได้อยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้นในขณะที่ผู้ร้องทั้งสองยื่นคำร้องขอ ดังนั้นศาลจึงชอบที่จะสั่งไม่รับคำร้องขอของผู้ร้องร่วมทั้งสองได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6007/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลของการถอนอุทธรณ์และการสิ้นสุดของคดีเฉพาะตัวจำเลย รวมถึงขอบเขตอำนาจศาลในการวินิจฉัยคดี
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองข้อหาลักทรัพย์หรือรับของโจรศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 2 ข้อหาลักทรัพย์และยกฟ้องจำเลยที่ 1 โจทก์อุทธรณ์ขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ข้อหารับของโจรส่วนจำเลยที่ 2 อุทธรณ์ขอให้ยกฟ้อง ระหว่างพิจารณาคดีของศาลอุทธรณ์ จำเลยที่ 2 ขอถอนอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์อนุญาตดังนี้คดีเฉพาะตัวจำเลยที่ 2 ย่อมถึงที่สุด เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องจำเลยที่ 1 และไม่ปรากฏว่าเหตุที่ยกฟ้องนั้นเป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดีเกี่ยวกับจำเลยที่ 2 ด้วย ศาลอุทธรณ์ไม่มีอำนาจหยิบยกเอาอุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 ที่ถอนแล้วมาวินิจฉัยและพิพากษายกฟ้องจำเลยที่ 2 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1333/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อุทธรณ์คำสั่งระหว่างพิจารณาคดี: ข้อจำกัดและข้อยกเว้นในการอุทธรณ์ก่อนมีคำพิพากษา
เมื่อศาลชั้นต้นสั่งว่าผู้ร้องไม่มีพยานมาสืบและนัดฟังคำพิพากษาในเวลาอีก 20 วัน ผู้ร้องจะอุทธรณ์คำสั่งก่อนวันนัดไม่ได้ เพราะเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาซึ่งต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226(1) และจะขอให้พิจารณาใหม่ก็ไม่ได้เพราะศาลชั้นต้นมิได้สั่งว่าผู้ร้องขาดนัดพิจารณา.(ที่มา-ส่งเสริม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 373-374/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลอุทธรณ์จำกัดเฉพาะคดีที่มีการอุทธรณ์ คดีที่ไม่อุทธรณ์ถือเป็นที่สิ้นสุด
กรณีที่ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยฐานนำเงินตราออกนอกประเทศโดยมิได้รับอนุญาตสำนวนหนึ่ง และฐานนำคนต่างด้าวออกนอกราชอาณาจักรโดยมิได้รับอนุญาตอีกสำนวนหนึ่ง และจำเลยอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาเฉพาะความผิดสำนวนแรกซึ่งเป็นความผิดตามกฎหมายต่างกับความผิดสำนวนหลังซึ่งจำเลยมิได้อุทธรณ์ คดีที่มิได้อุทธรณ์ขึ้นมาจึงเป็นอันเสร็จเด็ดขาดแล้ว ฉะนั้นศาลอุทธรณ์ย่อมไม่มีอำนาจที่จะรื้อฟื้นขึ้นมาพิจารณาอีกได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 43-44/2495 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เหตุเพลิงไหม้ทำลายทรัพย์สินทำให้คดีสิ้นสุด ศาลยกฎีกาไม่ต้องชี้ขาดค่าเสียหาย
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากตึกเช่าของโจทก์ และเรียกค่าเสียหาย ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง แต่ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับให้ขับไล่จำเลยระหว่างจำเลยฎีกา ไฟไหม้ตึกเช่ารายพิพาทหมดสิ้น ดังนี้เมื่อปรากฏว่า ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยใช้ค่าเสียหายเท่าจำนวนค่าเช่า ซึ่งจำเลยจำต้องใช้ให้โจทก์จนเกิดเพลิงไหม้ เมื่อตึกเช่าหมดสิ้นไปจำเลยก็ไม่จำต้องใช้ค่าเสียหายภายหลังจากเพลิงไหม้อีก ไม่มีประโยชน์ที่ศาลฎีกาจะชี้ขาดคดีต่อไป ศาลฎีกาย่อมพิพากษาให้ยกฎีกาเสียได้