พบผลลัพธ์ทั้งหมด 27 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1814/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบทรัพย์สินที่ได้จากการกระทำผิดยาเสพติด: พิจารณาเฉพาะทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำผิดหรือได้มาจากการกระทำผิดในคดีเดียวกัน
การที่โจทก์ขอให้ริบทรัพย์ของกลางที่กล่าวอ้างมาในคำฟ้องว่าจำเลยได้มาจากการจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนก่อนหน้าคดีที่เสนอสู่ศาลนี้เมื่อปรากฏว่าของกลางดังกล่าวไม่ใช่เครื่องมือ เครื่องใช้ ยานพาหนะ หรือวัตถุอื่นซึ่งได้ใช้ในการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 102 และไม่ใช่ทรัพย์สินที่กฎหมายบัญญัติไว้ว่าผู้ใดทำหรือมีไว้เป็นความผิดหรือได้มาโดยกระทำความผิด ซึ่งหมายถึงเฉพาะความผิดที่กระทำในคดีนี้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 32,33(2) จึงไม่อาจริบได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 208/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำประเด็นเดียวกัน: ศาลห้ามฟ้องคดีที่มีประเด็นข้อพิพาทซ้ำกับคดีที่ศาลได้วินิจฉัยชี้ขาดแล้ว
คดีก่อนจำเลยฟ้องโจทก์ผู้ให้เช่าเป็นจำเลยเรียกเงินค่ามัดจำการเช่าอาคารจากโจทก์ ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า จำเลยได้ซ่อมแซมทรัพย์สินที่เช่าตามสัญญาแล้ว ไม่ได้ค้างชำระค่าน้ำประปาและค่าไฟฟ้า ไม่ได้เป็นฝ่ายผิดสัญญาพิพากษาให้โจทก์คืนเงินมัดจำให้แก่จำเลย โจทก์อุทธรณ์ คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ โจทก์จึงฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ ขอให้จำเลยชำระค่าน้ำประปาและค่าไฟฟ้าที่ค้าง ค่าขาดประโยชน์ที่ไม่สามารถใช้อาคารที่ให้เช่า รวมทั้งค่าซ่อมอาคารที่จำเลยซ่อมไม่เสร็จ โดยยอมให้หักกลบลบหนี้กับเงินมัดจำที่จำเลยวางไว้แก่โจทก์ ดังนี้ คดีนี้กับคดีก่อน โจทก์และจำเลยเป็นคู่ความรายเดียวกัน ประเด็นแห่งคดีที่ต้องวินิจฉัยคดีนี้กับคดีก่อนก็เป็นประเด็นที่ต้องวินิจฉัยอย่างเดียวกันว่าโจทก์หรือจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญา เมื่อคดีดังกล่าวศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยชี้ขาดแล้วว่าจำเลยคดีนี้ไม่ได้ผิดสัญญา การที่โจทก์ฟ้องจำเลยคดีนี้จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาอันเกี่ยวกับคดีหรือประเด็นที่ได้วินิจฉัยชี้ขาดแล้ว อันเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5773/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อน: คดีเดิมฟ้องแย้งอยู่ระหว่างพิจารณา ห้ามฟ้องคดีเดียวกันซ้ำ
จำเลยในคดีนี้เคยฟ้องโจทก์ในคดีนี้เป็นจำเลยต่อศาลแพ่งธนบุรีซึ่งโจทก์ในคดีนี้ได้ให้การและฟ้องแย้งในคดีดังกล่าวแต่ศาลแพ่งธนบุรีเห็นว่าฟ้องแย้งไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิมจึงมีคำสั่งไม่รับฟ้องแย้งโจทก์อุทธรณ์ขณะที่คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์โจทก์ได้มาฟ้องเป็นคดีนี้เมื่อคำฟ้องคดีนี้กับฟ้องแย้งในคดีก่อนเป็นเรื่องเดียวกันและฟ้องแย้งในคดีก่อนอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์คำฟ้องในคดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้อนกับฟ้องแย้งต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา173วรรคสองแม้ว่าศาลในคดีก่อนจะยังไม่ได้มีคำสั่งรับฟ้องแย้งก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4098/2539 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเป็นคู่ความในคดีเดียวกันต้องมีผลประโยชน์ร่วมกัน
เมื่อผู้ร้องทั้งสองได้ร้องขอให้ปล่อยทรัพย์มาคนละประเภทโดยผู้ร้องที่ 1 ร้องขอให้ปล่อยทรัพย์เกี่ยวกับที่ดินแห่งหนึ่งโดยอ้างว่าเป็นเจ้าของที่ดินแปลงนั้น ส่วนผู้ร้องที่ 2 ร้องขอให้ปล่อยทรัพย์เกี่ยวกับบ้านอีกแห่งหนึ่งโดยอ้างว่าเป็นเจ้าของบ้านหลังนั้น ย่อมเป็นที่เห็นได้ชัดแจ้งว่าผู้ร้องทั้งสองมิได้มีผลประโยชน์ร่วมกันในมูลความแห่งคดีที่ร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ดังกล่าว การที่เหตุแห่งคดีเกิดขึ้นในวันเดียวกัน หรือเป็นการสะดวกที่จะดำเนินคดีไปพร้อมกันก็หาใช่ข้อที่จะแสดงว่าผู้ร้องทั้งสองมีผลประโยชน์ร่วมกันแต่อย่างใดไม่ เมื่อผู้ร้องทั้งสองมิได้มีผลประโยชน์ร่วมกันในมูลความแห่งคดี ย่อมไม่อาจเป็นคู่ความในคดีเดียวกันได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 59
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4098/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเป็นคู่ความในคดีปล่อยทรัพย์: ผลประโยชน์ร่วมกันเป็นสำคัญ แม้เหตุเกิดวันเดียวกัน
เมื่อผู้ร้องทั้งสองได้ร้องขอให้ปล่อยทรัพย์มาคนละประเภทโดยผู้ร้องที่1ร้องขอให้ปล่อยทรัพย์เกี่ยวกับที่ดินแห่งหนึ่งโดยอ้างว่าเป็นเจ้าของที่ดินแปลงนั้นส่วนผู้ร้องที่2ร้องขอให้ปล่อยทรัพย์เกี่ยวกับบ้านอีกแห่งหนึ่งโดยอ้างว่าเป็นเจ้าของบ้านหลังนั้นย่อมเป็นที่เห็นได้ชัดแจ้งว่าผู้ร้องทั้งสองมิได้มีผลประโยชน์ร่วมกันในมูลความแห่งคดีที่ร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ดังกล่าวการที่เหตุแห่งคดีเกิดขึ้นในวันเดียวกันหรือเป็นการสะดวกที่จะดำเนินคดีไปพร้อมกันก็หาใช่ข้อที่จะแสดงว่าผู้ร้องทั้งสองมีผลประโยชน์ร่วมกันแต่อย่างใดไม่เมื่อผู้ร้องทั้งสองมิได้มีผลประโยชน์ร่วมกันในมูลความแห่งคดีย่อมไม่อาจเป็นคู่ความในคดีเดียวกันได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา59
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6852/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อนในคดีแบ่งมรดก: ฟ้องทรัพย์มรดกรายเดียวกันซ้ำ
โจทก์ซึ่งอ้างว่าเป็นทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกของนางสาว ด.เคยฟ้องขอแบ่งที่ดินมรดก 1 แปลงจากจำเลย ขณะที่คดีดังกล่าวอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ โจทก์ฟ้องคดีนี้ขอแบ่งที่ดินมรดกที่เหลืออีก 3 แปลงจากจำเลย แม้ทรัพย์มรดกที่โจทก์ฟ้องในคดีนี้เป็นที่ดินคนละแปลงกับคดีก่อน แต่ก็เป็นเรื่องฟ้องขอแบ่งมรดกรายเดียวกัน และมีประเด็นอย่างเดียวกัน อันถือได้ว่าเป็นเรื่องเดียวกัน จึงเป็นฟ้องซ้อนกับคดีดังกล่าว ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173วรรคสอง (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6852/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อน: คดีแบ่งมรดกรายเดียวกัน แม้เป็นที่ดินต่างแปลง
โจทก์ซึ่งอ้างว่าเป็นทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกของนางสาว ด.เคยฟ้องขอแบ่งที่ดินมรดก 1 แปลงจากจำเลย ขณะที่คดีดังกล่าวอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ โจทก์ฟ้องคดีนี้ขอแบ่งที่ดินมรดกที่เหลืออีก 3 แปลง จากจำเลย แม้ทรัพย์มรดกที่โจทก์ฟ้องในคดีนี้เป็นที่ดินคนละแปลงกับคดีก่อน แต่ก็เป็นเรื่องฟ้องขอแบ่งมรดกรายเดียวกัน และมีประเด็นอย่างเดียวกัน อันถือได้ว่าเป็นเรื่องเดียวกัน จึงเป็นฟ้องซ้อนกับคดีดังกล่าว ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173 วรรคสอง (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 464/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อนในคดีหมิ่นประมาท: การฟ้องคดีเดียวกันซ้ำโดยพนักงานอัยการและโจทก์เอกชน
พนักงานอัยการจังหวัดบุรีรัมย์กับพวกพนักงานอัยการโจทก์ในคดีนี้ต่างฟ้องกล่าวหาจำเลยลงข้อความหมิ่นประมาทโจทก์ร่วมในหนังสือพิมพ์รายวันฉบับเดียวกัน แม้ข้อความทีฟ้องแต่ละคดีจะเป็นคนละบทความกันและลงพิมพ์ต่างหน้ากันก็ตาม แต่บทความที่โจทก์ในคดีนี้และพนักงานอัยการจังหวัดบุรีรัมย์ฟ้อง ลงในหนังสือพิมพ์ซึ่งจำเลยเป็นบรรณาธิการผู้พิมพ์ผู้โฆษณาฉบับเดียวกัน ทั้งเป็นข้อความที่กล่าวถึงโจทก์ร่วมในเรื่องเดียวกันการกระทำของจำเลยจึงเป็นกรรมเดียว คำฟ้องของโจทก์ทั้งสองคดีจึงเป็นเรื่องเดียวกัน พนักงานอัยการจังหวัดบุรีรัมย์โจทก์ในอีกคดีหนึ่งกับโจทก์ในคดีนี้ต่างเป็นพนักงานอัยการมีอำนาจฟ้องคดีต่อศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(5),ฆ28(1) จึงเป็นพนักงานอัยการโจทก์ด้วยกัน การที่โจทก์นำคดีนี้มาฟ้องจำเลยอีก จึงเป็นฟ้องซ้อน ต้องห้ามมิให้โจทก์ฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173(1) ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15.(ที่มา-ส่งเสริม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 464/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อนในคดีหมิ่นประมาท: การฟ้องคดีเดียวกันโดยโจทก์คนละคนแต่เป็นพนักงานอัยการด้วยกัน
แม้ข้อความที่พนักงานอัยการจังหวัดบุรีรัมย์ฟ้องว่าจำเลยลงพิมพ์ข้อความหมิ่นประมาทโจทก์ร่วมจะเป็นคนละบทความกันและลงพิมพ์ต่างหน้ากันกับที่โจทก์ฟ้องจำเลยคดีนี้ แต่ก็เป็นข้อความหมิ่นประมาทโจทก์ร่วมในหนังสือพิมพ์ ซึ่งจำเลยเป็นบรรณาธิการผู้พิมพ์ ผู้โฆษณาฉบับเดียวกัน ทั้งเป็นข้อความที่กล่าวถึงโจทก์ร่วมในเรื่องเดียวกัน การกระทำของจำเลยจึงเป็นกรรมเดียวและพนักงานอัยการจังหวัดบุรีรัมย์กับโจทก์คดีนี้ต่างก็เป็นพนักงานอัยการมีอำนาจฟ้องคดีต่อศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(5),28(1) ด้วยกันการที่โจทก์นำคดีนี้มาฟ้องจำเลยอีกจึงเป็นฟ้องซ้อนต้องห้ามมิให้ฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173(1) ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4014/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อน: การฟ้องคดีเดียวกันก่อนคดีแรกสิ้นสุด ถือเป็นการฟ้องที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
โจทก์เคยฟ้องจำเลยเกี่ยวกับเช็คฉบับเดียวกันในมูลคดีและข้อหาเดียวกันกับที่ฟ้องคดีนี้ ก่อนฟ้องคดีนี้ 1 วัน เมื่อคดีแรกยังอยู่ในระหว่างพิจารณาศาลยังไม่ได้พิพากษา ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 173 วรรคสอง (1) ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 ไม่ต้องพิจารณาว่าต่อมาศาลชั้นต้นจะพิพากษาหรือสั่งในคดีแรกนั้นเป็นอย่างใด