คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
คดีเด็ก

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 13 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 527/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนับระยะเวลาฟ้องคดีเด็กและเยาวชนเมื่อถูกจับในคดีอื่น
จำเลยเป็นเยาวชนถูกจับกุมในคดีอื่น ภายหลังพนักงานสอบสวนจึงแจ้งข้อหาในคดีนี้ให้จำเลยทราบ โดยจำเลยถูกควบคุมตัวระหว่างสอบสวนในคดีอื่นมาโดยตลอด ดังนี้ การคำนวณระยะเวลาในการให้พนักงานสอบสวนส่งสำนวนไปยังพนักงานอัยการเพื่อยื่นฟ้องต่อศาลคดีเด็กและเยาวชนภายใน 30 วัน มิฉะนั้นต้องขอผัดฟ้องต่อศาลในคดีนี้จึงยังไม่เริ่มต้นนับ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1424/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำกัดสิทธิฎีกาคดีเด็ก: ศาลเปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งตัวไปฝึกอบรม ไม่ถือเป็นการลงโทษ จึงห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยซึ่งเป็นเยาวชนมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 277 วรรคแรก, 279 การกระทำของจำเลยเป็นกรรมเดียว ผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษตามมาตรา 277 ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนัก ลงโทษจำคุกจำเลย 4 ปี เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งตัวจำเลยไปฝึกอบรมที่สถานพินิจและคุ้มครองเด็กกลาง ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่าจำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 277 วรรคแรก ประกอบกับมาตรา 80 ลงโทษจำคุกจำเลย 2 ปี 4 เดือน เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งตัวจำเลยไปฝึกอบรมที่สถานพินิจและคุ้มครองเด็กกลาง กรณีเป็นการแก้บทลงโทษและกำหนดโทษแม้จะเป็นการแก้ไขมากแต่การที่ศาลทั้งสองเปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งตัวจำเลยไปฝึกอบรมที่สถานพินิจและคุ้มครองเด็กกลาง มิใช่การลงโทษ ถือมิได้ว่าศาลทั้งสองพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยเกิน 1 ปี จึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 219ประกอบกับพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลคดีเด็กและเยาวชน พ.ศ. 2494 มาตรา 29.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1424/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขบทลงโทษและกำหนดโทษในคดีเด็กและเยาวชน มิใช่การลงโทษ จึงไม่ขัดต่อการฎีกา
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยซึ่งเป็นเยาวชนมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 277 วรรคแรก,279 การกระทำของจำเลยเป็นกรรมเดียว ผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษตามมาตรา 277 ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนัก ลงโทษจำคุกจำเลย 4 ปี เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งตัวจำเลยไปฝึกอบรมที่สถานพินิจและคุ้มครองเด็กกลาง ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่าจำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 277วรรคแรก ประกอบกับมาตรา 80 ลงโทษจำคุกจำเลย 2 ปี 4 เดือน เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งตัวจำเลยไปฝึกอบรมที่สถานพินิจและคุ้มครองเด็กกลาง กรณีเป็นการแก้บทลงโทษและกำหนดโทษแม้จะเป็นการแก้ไขมากแต่การที่ศาลทั้งสองเปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งตัวจำเลยไปฝึกอบรมที่สถานพินิจและคุ้มครองเด็กกลาง มิใช่การลงโทษ ถือมิได้ว่าศาลทั้งสองพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยเกิน 1 ปี จึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 219ประกอบกับพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลคดีเด็กและเยาวชน พ.ศ. 2494 มาตรา29.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 91/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีเด็กและเยาวชน เกินกำหนดระยะเวลาผัดฟ้อง ต้องได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมอัยการจึงมีอำนาจฟ้อง
พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีเด็กและเยาวชน พ.ศ.2494 มาตรา24ทวิ กำหนดให้พนักงานอัยการยื่นฟ้องเด็กหรือเยาวชนต่อศาลคดีเด็กและเยาวชน ให้ทันภายในกำหนดสามสิบวันนับแต่วันที่เด็กหรือเยาวชนถูกจับกุม และในกรณีเกิดความจำเป็นให้พนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อขอผัดฟ้องต่อไปได้อีกคราวละไม่เกินสิบห้าวันเฉพาะคดีซึ่งมีอัตราโทษอย่างต่ำให้จำคุกตั้งแต่ห้าปีขึ้นไปหรือโทษสถานที่หนักกว่านั้น ศาลจะอนุญาตให้ผัดฟ้องกี่คราวก็ได้ และ ตามมาตรา 24จัตวา ห้ามมิให้พนักงานอัยการฟ้องคดีเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 24ทวิ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมอัยการ เมื่อปรากฏว่า คดีนี้เป็นคดีมีโทษสถานที่หนักซึ่งจะขอผัดฟ้องกี่คราวก็ได้ และพนักงานสอบสวนได้ขอผัดฟ้องไว้เป็นครั้งที่ 5แล้วต่อมาได้ยื่นคำร้องขอให้ปล่อยจำเลยไปหลังจากนั้นพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการก็มิได้มาขอผัดฟ้องต่อไปอีกจนกระทั่งอีกประมาณ 3 เดือนต่อมา พนักงานอัยการจึงได้นำคดีมาฟ้อง ดังนี้ คดีโจทก์ขาดการผัดฟ้องถือได้ว่าโจทก์ฟ้องคดีเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 24ทวิ ซึ่งโจทก์จะต้องได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมอัยการตามมาตรา 24จัตวา จึงจะมีอำนาจฟ้องคดีได้โจทก์จะอ้าง ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 141มาใช้บังคับในกรณีนี้ไม่ได้ เพราะพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีเด็กและเยาวชนมีบทบัญญัติบังคับไว้โดยเฉพาะแล้ว เมื่อโจทก์ไม่ได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมอัยการ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2778/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีเด็กและเยาวชนต้องยื่นฟ้องภายใน 30 วัน หรือขอผัดฟ้อง หากพ้นกำหนดต้องได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมอัยการ
การฟ้องคดีเด็กและเยาวชนจะต้องอยู่ในบังคับของมาตรา 24 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีเด็กและเยาวชน พ.ศ.2494 ทั้งสิ้น กล่าวคือจะต้องยื่นฟ้องต่อศาลภายใน 30 วัน นับแต่วันที่เด็กหรือเยาวชนถูกจับกุม หรือได้รับอนุญาตจากศาลให้ผัดฟ้องได้เป็นคราว ๆ ไป หากพ้นกำหนดนี้แล้วจะฟ้องคดีได้ต่อเมื่อได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมอัยการแม้จะเป็นการฟ้องคดีตามคำชี้ขาดให้ฟ้องคดีของอธิบดีกรมอัยการก็ตาม (อ้างฎีกาที่ 10/2522)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1967/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพยายามฆ่าโดยไตร่ตรองไว้ก่อน และการลดโทษสำหรับผู้กระทำผิดอายุน้อย คดีเด็กและเยาวชน
คดีอาญาของศาลคดีเด็กและเยาวชน แม้ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ทั้งบทและกำหนดโทษที่ศาลชั้นต้นวางมา เป็นการแก้มากแต่การที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ให้เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นการส่งตัวจำเลยไปฝึกอบรมที่สถานพินิจและคุ้มครองเด็กนั้น ถือไม่ได้ว่าพิพากษาลงโทษจำเลยโดยจำคุกเกิน 1 ปี จึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 22
การกระทำของจำเลยตามข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ฟังมาเป็นการพยายามฆ่า โดยการไตร่ตรองไว้ก่อนหรือไม่ เป็นฎีกาในปัญหาข้อกฎหมาย
ก่อนที่จำเลยใช้ปืนยิงผู้เสียหาย จำเลยกับพวกผู้เสียหายมีสาเหตุกันด้วยเรื่องผู้เสียหายขับรถเฉียดรถจำเลยแล้วมีการตะโกนท้าทายกันเล็กน้อย ทั้งสองฝ่ายมิได้หยุดรถ ต่อมาจำเลยกลับไปบ้านเอาปืนมายืนตรงที่เกิดเหตุ พอผู้เสียหายขี่รถจักรยานยนต์มา จำเลยก็ยิงเอาโดยไม่มีข้อเท็จจริงใดยืนยันว่าจำเลยมารออยู่เพื่อจะยิงผู้เสียหาย ดังนี้ การกระทำของจำเลยยังไม่ถึงขั้นพยายามฆ่าโดยการไตร่ตรองไว้ก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 670/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลคดีเด็กฯ หลังศาลจำหน่ายคดีเดิม – การฟ้องคดีใหม่ต้องเป็นไปตามกฎหมาย
ศาลชั้นต้นสั่งจำหน่ายคดีเฉพาะจำเลยนี้ซึ่งให้การปฏิเสธโดยให้โจทก์แยกฟ้องเป็นคดีใหม่ เช่นนี้ ถือไม่ได้ว่าคดีของจำเลยยังค้างพิจารณาอยู่ต่อมาเมื่อโจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีใหม่ ปรากฏว่าศาลชั้นต้นไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษา เพราะจำเลยอยู่ในอำนาจศาลคดีเด็กและเยาวชนซึ่งเปิดดำเนินการในจังหวัดนั้นแล้ว ศาลชั้นต้นจึงสั่งจำหน่ายคดี ให้โจทก์ไปฟ้องจำเลยต่อศาลที่มีอำนาจ คำสั่งเช่นนี้ หาเป็นการแก้ไขคำสั่งเดิมซึ่งอ่านแล้วไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 378/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาคดีเด็กและเยาวชน: การรับสารภาพและการไม่โต้แย้งรายงานสถานพินิจถือเป็นการไม่ติดใจสืบพยาน
ตามพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีเด็กฯ พ.ศ. 2494 มาตรา 5 นั้น ในการพิจารณาคดีศาลย่อมดำเนินการไปตามวิธีพิจารณา การที่ศาลได้แจ้งให้จำเลยทราบเกี่ยวกับรายงานของสถานพินิจฯ จำเลยได้ทราบแล้ว มิได้แถลงต่อสู้หรือจะขอนำพยานมาสืบหักล้างเมื่อศาลสอบถามคำให้การ จำเลยก็รับสารภาพแถลงว่า ไม่ติดใจสืบพยาน ศาลชั้นต้นจึงพิพากษาในวันเดียวกันนั้น ดังนี้ ถูกต้องด้วยกระบวนพิจารณาแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1236/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำกัดสิทธิฎีกาในคดีเด็กและเยาวชน เมื่อศาลเปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งตัวไปฝึกอบรม
คดีอาญาของศาลคดีเด็กและเยาวชนซึ่งศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลล่างโดยให้เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งตัวจำเลยไปฝึกอบรมที่สถานพินิจและคุ้มครองเด็กกลางนั้นถือว่าศาลมิได้ลงโทษจำเลยโดยจำคุกเกิน 5 ปี จึงต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลคดีเด็กและเยาวชน พ.ศ. 2494 มาตรา 29 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1200/2505 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความสมบูรณ์ของฟ้องในคดีเด็ก: จำเป็นต้องระบุรายละเอียดของบุคคลที่เกี่ยวข้องให้ชัดเจน เพื่อให้จำเลยเข้าใจข้อหา
โจทก์บรรยายฟ้องว่า "จำเลยบังอาจลักเอาธนบัตรของชายผู้มีชื่อไปโดยเจตนาทุจริต โดยจำเลยล้วงกระเป๋าชายผู้มีชื่อเพื่อลักทรัพย์" ดังนี้ เป็นฟ้องเคลือบคลุม เพราะเห็นได้ว่ายังไม่มีความหมายแน่นอนพอที่จะเข้าใจได้ว่าชายผู้มีชื่อนั้นหมายถึงบุคคลใดโดยเฉพาะ แม้โจทก์ไม่สามารถทราบชื่อก็น่าจะกล่าวบรรยายข้อเท็จจริงและรายละเอียดเกี่ยวกับชายผู้นั้นให้พอที่จะทำให้ฟ้องของโจทก์มีความแน่นอนขึ้น ไม่เกิดความสับสนหลงผิดแก่จำเลยได้
ในคดีที่จำเลยเป็นเด็กนั้น แม้ตามพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีเด็กและเยาวชน พ.ศ. 2494 มาตรา 44 จะให้ศาลพยายามกระทำโดยไม่ต้องดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาโดยเคร่งครัดก็ตาม แต่แท้ที่จริงมาตรานี้ก็เป็นบทบัญญัติให้ความคุ้มครองประโยชน์แก่เด็ก มีความมุ่งหมายที่จะให้เด็กเข้าใจการพิจารณาของศาลเป็นสำคัญ ดังจะเห็นได้จากที่มีความบัญญัติไว้ด้วยว่า "ให้ใช้ภาษาง่าย ๆ ให้จำเลยเข้าใจ" โจทก์จึงชอบที่จะบรรยายฟ้องให้ละเอียดเพื่อช่วยให้จำเลยซึ่งเป็นเด็กเข้าใจข้อหาโดยชัดแจ้งด้วย
of 2