พบผลลัพธ์ทั้งหมด 49 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6592/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอเพิกถอนการจดทะเบียนเพิ่มทุน: สิทธิทางศาลต้องมีกฎหมายรองรับ
กรณีที่บุคคลใดจะใช้สิทธิทางศาลโดยเสนอเป็นคดีไม่มีข้อพิพาทตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 ได้นั้น จะต้องมีกฎหมายสารบัญญัติรับรองให้ใช้สิทธิทางศาลเพื่อรับรองหรือคุ้มครองสิทธิของตนที่มีอยู่ การที่ผู้ร้องทั้งสองร้องขอให้ศาลเพิกถอนการจดทะเบียนเพิ่มทุนนั้นไม่มีกฎหมายบัญญัติรับรองว่าอาจทำเป็นคำร้องขออย่างคดีไม่มีข้อพิพาทได้ ดังนั้น ผู้ร้องทั้งสองจะเริ่มคดีโดยทำเป็นคำร้องขอยื่นต่อศาลเป็นคดีไม่มีข้อพิพาท ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 และมาตรา 188 (1) หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4862/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนลักษณะคดีจากไม่มีข้อพิพาทเป็นมีข้อพิพาท ส่งผลต่ออำนาจศาลในการพิจารณาคดี
แม้คดีนี้ผู้ร้องเริ่มคดีโดยยื่นคำร้องขอต่อศาลจังหวัดสุพรรณบุรีอย่างคดีไม่มีข้อพิพาท แต่เมื่อผู้คัดค้านได้ยื่นคำค้านว่าที่พิพาทเป็นของผู้คัดค้าน ผู้ร้องครอบครองที่พิพาทในฐานะผู้อาศัยไม่ใช่เจ้าของ และไม่เคยเปลี่ยนเจตนาซึ่งเป็นการโต้เถียงว่าผู้ร้องไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่พิพาทโดยการครอบครอง กรณีจึงเป็นคดีมีข้อพิพาทเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในที่พิพาทตามคำร้องขอของผู้ร้องและเป็นคดีที่มีทุนทรัพย์ตามราคาทรัพย์ที่พิพาท เมื่อที่พิพาทมีราคาไม่เกิน 300,000 บาท คดีจึงอยู่ในอำนาจของศาลแขวงสุพรรณบุรีที่จะพิจารณาพิพากษาตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 17 ประกอบมาตรา 25 (4) ศาลจังหวัดสุพรรณบุรีไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนี้ตามมาตรา 18
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1665/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาล: คดีเปลี่ยนจากไม่มีข้อพิพาทเป็นมีข้อพิพาทเมื่อมีคำคัดค้าน ทำให้ศาลแขวงมีอำนาจพิจารณา
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งแสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดินอันเป็นการยื่นคำร้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 4 (2) ต่อศาลจังหวัดอย่างคดีไม่มีข้อพิพาทตามมาตรา 188 (1) แต่เมื่อผู้คัดค้านยื่นคำคัดค้านเข้ามา คดีจึงเปลี่ยนเป็นคดีมีข้อพิพาทโดยมีราคาทรัพย์สินที่พิพาทไม่เกิน 200,000 บาท คดีจึงอยู่ในอำนาจของศาลแขวงที่จะพิจารณาพิพากษาตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 17 ประกอบมาตรา 25 (4)
การที่ศาลแขวงสุพรรณบุรีไม่รับโอนคดีและส่งสำนวนคืนศาลจังหวัดสุพรรณบุรีจึงเป็นเรื่องที่ศาลจังหวัดสุพรรณบุรีและศาลแขวงสุพรรณบุรีต่างไม่รับคดีของผู้ร้องไว้พิจารณา แม้อุทธรณ์ของผู้ร้องจะมีเนื้อหาเป็นการโต้แย้งคำสั่งของศาลแขวงสุพรรณบุรีที่ไม่ยอมรับโอนคดี แต่เมื่อศาลจังหวัดสุพรรณบุรีรับสำนวนคืนมาจากศาลแขวงสุพรรณบุรีแล้ว ทั้งคดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยว่าระหว่างศาลจังหวัดสุพรรณบุรีกับศาลแขวงสุพรรณบุรี ศาลใดจะต้องพิจารณาคดีนี้ต่อไป ผู้ร้องชอบที่จะยื่นอุทธรณ์คดีนี้ต่อศาลจังหวัดสุพรรณบุรีได้
การที่ศาลแขวงสุพรรณบุรีไม่รับโอนคดีและส่งสำนวนคืนศาลจังหวัดสุพรรณบุรีจึงเป็นเรื่องที่ศาลจังหวัดสุพรรณบุรีและศาลแขวงสุพรรณบุรีต่างไม่รับคดีของผู้ร้องไว้พิจารณา แม้อุทธรณ์ของผู้ร้องจะมีเนื้อหาเป็นการโต้แย้งคำสั่งของศาลแขวงสุพรรณบุรีที่ไม่ยอมรับโอนคดี แต่เมื่อศาลจังหวัดสุพรรณบุรีรับสำนวนคืนมาจากศาลแขวงสุพรรณบุรีแล้ว ทั้งคดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยว่าระหว่างศาลจังหวัดสุพรรณบุรีกับศาลแขวงสุพรรณบุรี ศาลใดจะต้องพิจารณาคดีนี้ต่อไป ผู้ร้องชอบที่จะยื่นอุทธรณ์คดีนี้ต่อศาลจังหวัดสุพรรณบุรีได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1816/2547 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการว่าความของข้าราชการ: คดีไม่มีข้อพิพาทต้องมีกฎหมายรองรับ
บุคคลใดจะใช้สิทธิทางศาลโดยเสนอเป็นคดีไม่มีข้อพิพาทตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 ได้นั้น จะต้องมีกฎหมายสารบัญญัติสนับสนุนว่าเป็นกรณีจำเป็นต้องร้องขอต่อศาลเพื่อรับรองหรือคุ้มครองสิทธิของตนที่มีอยู่ด้วย กรณีของผู้ร้องไม่มีกฎหมายสารบัญญัติบทใดสนับสนุนให้ผู้ร้องมาใช้สิทธิทางศาลได้ หากผู้ร้องเห็นว่าผู้ร้องมีสิทธิที่จะว่าความอย่างทนายความได้ตามบทบัญญัติของ ป.วิ.พ. มาตรา 60 วรรคหนึ่ง และ พ.ร.บ.ทนายความฯ มาตรา 33 แต่ศาลชั้นต้นที่พิจารณาคดีนั้นไม่อนุญาตให้ผู้ร้องว่าความอย่างทนายความก็เป็นเรื่องที่ผู้ร้องจะต้องดำเนินการต่อไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความ ผู้ร้องจะยื่นคำร้องขอเป็นคดีไม่มีข้อพิพาทเพื่อขอให้ศาลมีคำสั่งอนุญาตเป็นอีกคดีหนึ่งหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1816/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้สิทธิทางศาลโดยการยื่นคำร้องคดีไม่มีข้อพิพาท ต้องมีกฎหมายรองรับสิทธิที่ถูกละเมิด
การที่บุคคลใดจะใช้สิทธิทางศาลโดยเสนอเป็นคดีไม่มีข้อพิพาทตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 ได้จะต้องมีกฎหมายสารบัญญัติสนับสนุนว่าเป็นกรณีจำเป็นต้องร้องขอต่อศาลเพื่อรับรองหรือคุ้มครองสิทธิของตนที่มีอยู่ด้วย ดังนั้นเมื่อไม่มีกฎหมายสารบัญญัติสนับสนุนให้ผู้ร้องมาใช้สิทธิทางศาลได้หากผู้ร้องเห็นว่าผู้ร้องมีสิทธิที่จะว่าความอย่างทนายความได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 60 วรรคหนึ่ง และพระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ. 2528 มาตรา 33 แต่ศาลชั้นต้นที่พิจารณาคดีนั้นไม่อนุญาตให้ผู้ร้องว่าความอย่างทนายความ ก็เป็นเรื่องที่ผู้ร้องจะต้องดำเนินการต่อไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความ ผู้ร้องจะยื่นคำร้องขอเป็นคดีไม่มีข้อพิพาทเพื่อขอให้ศาลมีคำสั่งอนุญาตเป็นอีกคดีหนึ่งหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8504/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องบุตรชอบด้วยกฎหมาย: วิธีฟ้องที่ถูกต้องตามสถานะบิดา (มีชีวิต/เสียชีวิต) และสิทธิในการรับมรดก
การฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายตาม ป.พ.พ. มาตรา 1555 หากบิดามีชีวิตอยู่ต้องดำเนินคดีอย่างคดีมีข้อพิพาทคือฟ้องบิดาโดยเสนอข้อหาทำเป็นคำฟ้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 172 แต่ถ้าบิดาถึงแก่ความตายไปแล้วต้องดำเนินคดีอย่างคดีไม่มีข้อพิพาทคือให้เริ่มคดีโดยยื่นคำร้องขอต่อศาลตามมาตรา 188 (1)
ผู้ตายซึ่งโจทก์อ้างว่าเป็นบิดาได้ถึงแก่ความตายไปแล้ว โจทก์จึงต้องดำเนินคดีไม่มีข้อพิพาทคือเริ่มคดีโดย ยื่นคำร้องขอมิใช่เสนอคำฟ้องอย่างคดีมีข้อพิพาทส่วน ป.พ.พ. มาตรา 1558 เป็นเรื่องเกี่ยวกับสิทธิที่จะได้รับมรดกในฐานะทายาทโดยธรรมซึ่งเป็นผลตามมาจากการที่ร้องขอให้ศาลพิพากษาเป็นบุตร หาใช่บทบัญญัติที่ให้อำนาจโจทก์ฟ้องจำเลยในฐานะทายาทผู้ตายเพื่อให้ศาลพิพากษาว่าโจทก์เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายไม่ เมื่อโจทก์มิได้ดำเนินการให้ ถูกต้องตาม ป.พ.พ. ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษายกฟ้องโจทก์จึงชอบแล้ว
ผู้ตายซึ่งโจทก์อ้างว่าเป็นบิดาได้ถึงแก่ความตายไปแล้ว โจทก์จึงต้องดำเนินคดีไม่มีข้อพิพาทคือเริ่มคดีโดย ยื่นคำร้องขอมิใช่เสนอคำฟ้องอย่างคดีมีข้อพิพาทส่วน ป.พ.พ. มาตรา 1558 เป็นเรื่องเกี่ยวกับสิทธิที่จะได้รับมรดกในฐานะทายาทโดยธรรมซึ่งเป็นผลตามมาจากการที่ร้องขอให้ศาลพิพากษาเป็นบุตร หาใช่บทบัญญัติที่ให้อำนาจโจทก์ฟ้องจำเลยในฐานะทายาทผู้ตายเพื่อให้ศาลพิพากษาว่าโจทก์เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายไม่ เมื่อโจทก์มิได้ดำเนินการให้ ถูกต้องตาม ป.พ.พ. ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษายกฟ้องโจทก์จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8504/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องขอเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย: วิธีพิจารณาคดีที่ถูกต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
การฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1555 หากบิดามีชีวิตอยู่ต้องดำเนินคดีอย่างคดีมีข้อพิพาทคือฟ้องบิดาโดยทำเป็นคำฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 แต่ถ้าบิดาถึงแก่ความตายไปแล้วต้องดำเนินคดีอย่างคดีไม่มีข้อพิพาทคือเริ่มคดีโดยยื่นคำร้องขอต่อศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 188(1) ดังนั้น เมื่อผู้ตายซึ่งเป็นบิดาได้ถึงแก่ความตายไปแล้ว โจทก์จึงต้องดำเนินคดีอย่างคดีไม่มีข้อพิพาท ส่วนบทบัญญัติมาตรา 1558 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เป็นเรื่องเกี่ยวกับสิทธิที่จะได้รับมรดกในฐานะทายาทโดยธรรมซึ่งเป็นผลตามมาจากการที่ร้องขอให้ศาลพิพากษาเป็นบุตร มิใช่บทบัญญัติที่ให้อำนาจโจทก์ฟ้องจำเลยในฐานะทายาทผู้ตายเพื่อให้ศาลพิพากษาว่าโจทก์เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4530/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิทางศาลในคดีไม่มีข้อพิพาทต้องมีกฎหมายรองรับเฉพาะเจาะจง แม้มีเหตุโมฆะก็ไม่อาจใช้สิทธิได้
การที่บุคคลใดจะต้องใช้สิทธิทางศาล เป็นคดีไม่มีข้อพิพาทโดยทำเป็นคำร้องขอยื่นต่อศาลตาม ป.วิ.พ.มาตรา 55 และมาตรา 188 (1) ต้องพิจารณาจากกฎหมายสารบัญญัติ กล่าวคือ จะต้องมีกฎหมายบัญญัติรับรองให้ใช้สิทธิทางศาลโดยยื่นคำร้องขอในกรณีนั้น ๆ ได้
เมื่อไม่มีกฎหมายบัญญัติรับรองว่าหากผู้ร้องทำนิติกรรมยกที่ดินให้ผู้ใดไปแล้ว ให้ผู้ร้องใช้สิทธิทางศาลยื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งว่านิติกรรมยกให้ดังกล่าวเป็นโมฆะได้ แม้ ป.พ.พ.มาตรา 156 ที่ให้ผู้ร้องใช้สิทธิทางศาลยื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งว่านิติกรรมเป็นโมฆะได้ ก็เป็นเพียงหลักเกณท์ของกฎหมายที่จะทำให้นิติกรรมเป็นโมฆะเท่านั้น หาได้รับรองให้ผู้ร้องใช้สิทธิทางศาลโดยยื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งว่านิติกรรมนั้นเป็นโมฆะแต่อย่างใด ผู้ร้องจึงไม่สามารถใช้สิทธิทางศาลเป็นคดีไม่มีข้อพิพาทได้
เมื่อไม่มีกฎหมายบัญญัติรับรองว่าหากผู้ร้องทำนิติกรรมยกที่ดินให้ผู้ใดไปแล้ว ให้ผู้ร้องใช้สิทธิทางศาลยื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งว่านิติกรรมยกให้ดังกล่าวเป็นโมฆะได้ แม้ ป.พ.พ.มาตรา 156 ที่ให้ผู้ร้องใช้สิทธิทางศาลยื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งว่านิติกรรมเป็นโมฆะได้ ก็เป็นเพียงหลักเกณท์ของกฎหมายที่จะทำให้นิติกรรมเป็นโมฆะเท่านั้น หาได้รับรองให้ผู้ร้องใช้สิทธิทางศาลโดยยื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งว่านิติกรรมนั้นเป็นโมฆะแต่อย่างใด ผู้ร้องจึงไม่สามารถใช้สิทธิทางศาลเป็นคดีไม่มีข้อพิพาทได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4530/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้สิทธิทางศาลในคดีไม่มีข้อพิพาทต้องมีกฎหมายบัญญัติรองรับเฉพาะเจาะจง แม้มีเหตุตามกฎหมายแพ่งก็ไม่เพียงพอ
การที่บุคคลใดจะต้องใช้สิทธิทางศาล เป็นคดีไม่มีข้อพิพาทโดยทำเป็นคำร้องขอยื่นต่อศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 55 และมาตรา 188(1) ต้องพิจารณาจากกฎหมายสารบัญญัติกล่าวคือ จะต้องมีกฎหมายบัญญัติรับรองให้ใช้สิทธิทางศาลโดยยื่นคำร้องขอในกรณีนั้น ๆ ได้ เมื่อไม่มีกฎหมายบัญญัติรับรองว่าหากผู้ร้องทำนิติกรรมยกที่ดินให้ผู้ใดไปแล้ว ให้ผู้ร้องใช้สิทธิทางศาลยื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งว่านิติกรรมยกให้ดังกล่าวเป็นโมฆะได้แม้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 156 ที่ให้ผู้ร้องใช้สิทธิทางศาลยื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งว่านิติกรรมเป็นโมฆะได้ก็เป็นเพียงหลักเกณฑ์ของกฎหมายที่จะทำให้นิติกรรมเป็นโมฆะเท่านั้น หาได้รับรองให้ผู้ร้องใช้สิทธิทางศาลโดยยื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งว่านิติกรรมนั้นเป็นโมฆะแต่อย่างใดผู้ร้องจึงไม่สามารถใช้สิทธิทางศาลเป็นคดีไม่มีข้อพิพาทได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7226/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการร้องสอดในคดีไม่มีข้อพิพาท: ผู้มีส่วนได้เสียและถูกโต้แย้งสิทธิสามารถร้องสอดได้
ในคดีไม่มีข้อพิพาทบุคคลภายนอกผู้มีส่วนได้เสียและถูกโต้แย้งสิทธิก็ร้องสอดเข้ามาในคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา57(1)ได้