คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ครบกำหนด

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 24 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 923/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าครบกำหนด-ละเมิด: สิทธิเรียกร้องค่าเสียหาย & การลดเบี้ยปรับ
สัญญาเช่าอาคารทั้งสองฉบับครบกำหนดเวลาเช่าตามที่ได้ตกลงกันไว้แล้ว สัญญาเช่าย่อมระงับลง โดยมิพักต้องบอกกล่าวก่อน จำเลยซึ่งเป็นผู้เช่ามีหน้าที่ต้องส่งคืนอาคารที่เช่าแก่โจทก์ซึ่งเป็นผู้ให้เช่า การที่จำเลยไม่ยอมส่งคืนอาคารที่เช่า เป็นการผิดสัญญาเช่าและการที่จำเลยยังครอบครองอาคารที่เช่าต่อไปโดยโจทก์ไม่ยินยอมเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลยได้ทั้งฐานผิดสัญญาและฐานละเมิด เพียงแต่เมื่อใช้สิทธิเรียกเอาเบี้ยปรับฐานผิดสัญญาแล้วโจทก์ไม่อาจใช้สิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนฐานละเมิดได้ เพราะเป็นค่าเสียหายมูลกรณีเดียวกัน
สัญญาเช่าอาคารห้องเลขที่ 10 ข้อ 1 วรรคสองระบุว่า เมื่อสัญญาเช่าครบกำหนดหรือสิ้นสุดลงด้วยเหตุใดก็ตาม "ผู้เช่า" ต้องส่งมอบสถานที่เช่าคืนให้แก่ "ผู้ให้เช่า" ทันที ในกรณีที่ "ผู้เช่า" ไม่สามารถส่งมอบสถานที่เช่าคืนให้แก่ "ผู้ให้เช่า" "ผู้เช่า" ยินยอมชำระค่าปรับให้แก่ "ผู้ให้เช่า" วันละ 2,000 บาท นับแต่วันครบกำหนดส่งมอบจนถึงวันที่ได้ส่งมอบสถานที่เช่าคืนให้แก่ "ผู้ให้เช่า" เรียบร้อยแล้ว ซึ่งเป็นข้อตกลงกำหนดค่าเสียหายไว้ล่วงหน้าในกรณีที่ผู้เช่าผิดสัญญาไม่สามารถส่งมอบอาคารที่เช่าคืนให้แก่ผู้ให้เช่าในทันที โจทก์จึงมีสิทธิเรียกค่าเสียหายตามสัญญาเช่าข้อ 1 วรรคสอง ได้ แต่เบี้ยปรับที่กำหนดไว้นั้นสูงเกินส่วน ศาลมีอำนาจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 383
สัญญาเช่าอาคารห้องเลขที่ 11 ข้อ 8 วรรคสอง ระบุว่า เมื่อมีการบอกเลิกสัญญาเช่าแล้ว ไม่ว่ากรณีใด ๆ ก็ตาม "ผู้เช่า" จะต้องย้ายออกไปจากที่เช่าทันที ถ้าไม่ขนย้ายออกไปยอมให้ค่าเสียหายค่าปรับเป็นเงินวันละ 2,000 บาท แก่ "ผู้ให้เช่า" ทุกวันจนกว่าจะขนย้ายออกไป ซึ่งระบุเงื่อนไขในการยอมให้ค่าเสียหายเฉพาะกรณีมีการบอกเลิกสัญญาเช่าเท่านั้น แตกต่างจากสัญญาเช่าอาคารห้องเลขที่ 10 แต่แม้จะเป็นกรณีที่สัญญาเช่าสิ้นสุดหรือระงับลงเพราะครบกำหนดเวลาเช่าไม่เข้าเงื่อนไขที่โจทก์จะมีสิทธิเรียกค่าเสียหายฐานผิดสัญญาเช่า แต่โจทก์ก็มีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากจำเลยฐานละเมิดได้ซึ่งโจทก์ได้บรรยายมาในฟ้องและนำสืบถึงจำนวนค่าเสียหายที่เกิดจากการกระทำละเมิดแล้ว ศาลมีอำนาจกำหนดค่าเสียหายให้ตามควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 438 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8735/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายระยะเวลายื่นฎีกาต้องนับต่อจากวันสุดท้ายของระยะเวลาเดิม ไม่ใช่วันที่ยื่นคำร้อง
คดีแพ่ง ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้คู่ความฟังเมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2542 ครบกำหนดยื่นฎีกาวันที่ 17 เมษายน 2542 เป็นวันเสาร์หยุดราชการ แม้โจทก์จะมีสิทธิยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นฎีกาในวันที่ 19 เมษายน2542 ซึ่งเป็นวันที่เริ่มทำการใหม่ได้ก็ตาม แต่การนับระยะเวลาที่ขอขยายออกไปก็ต้องนับต่อจากวันสุดท้ายที่ครบกำหนดระยะเวลาเดิม คือเริ่มนับหนึ่งตั้งแต่วันที่ 18เมษายน 2542 หาใช่นับตั้งแต่วันที่ 19 เมษายน 2542 อันเป็นวันที่โจทก์ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นฎีกาไม่ เมื่อโจทก์ขอขยายระยะเวลายื่นฎีกา 3 วัน และศาลชั้นต้นอนุญาตตามที่โจทก์ขอ จึงครบกำหนดในวันที่ 20 เมษายน 2542 โจทก์ยื่นฎีกาในวันที่ 21 เมษายน 2542 จึงล่วงพ้นกำหนดระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นขยายให้แล้วต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 247 ประกอบมาตรา 23ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 567/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนับระยะเวลาขยายอุทธรณ์: เริ่มจากวันครบกำหนดเดิม แม้โจทก์เข้าใจผิด
คดีนี้ครบกำหนดยื่นอุทธรณ์ในวันที่ 9 มิถุนายน 2539 แต่โจทก์ระบุในคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ว่าครบกำหนดยื่นอุทธรณ์ในวันที่ 11 มิถุนายน2539 อันเป็นความเข้าใจผิดของโจทก์เอง ดังนี้เมื่อโจทก์ขอขยายระยะเวลาในการยื่นอุทธรณ์ออกไปอีก 30 วัน นับแต่วันถัดจากวันครบกำหนดยื่นอุทธรณ์ จึงต้องนับต่อจากวันสุดท้ายที่ครบกำหนดระยะเวลาเดิม คือเริ่มนับหนึ่งตั้งแต่วันที่ 10 มิถุนายน2539 จึงครบกำหนด 30 วัน ในวันที่ 9 กรกฎาคม 2539 โจทก์ยื่นอุทธรณ์ในวันที่11 กรกฎาคม 2539 เป็นการยื่นอุทธรณ์เมื่อพ้นกำหนดเวลาที่ขอขยาย ศาลอุทธรณ์พิพากษายกอุทธรณ์โจทก์จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 567/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคำนวณระยะเวลาขยายการยื่นอุทธรณ์: นับจากวันครบกำหนดเดิม ไม่ใช่จากวันที่เข้าใจผิด
คดีนี้ครบกำหนดยื่นอุทธรณ์ในวันที่ 9 มิถุนายน 2539แต่โจทก์ระบุในคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ว่าครบกำหนดยื่นอุทธรณ์ในวันที่ 11 มิถุนายน 2539 อันเป็นความเข้าใจผิดของโจทก์เอง ดังนี้เมื่อโจทก์ขอขยายระยะเวลาในการยื่นอุทธรณ์ออกไปอีก 30 วัน นับแต่วันถัดจากวันครบกำหนดยื่นอุทธรณ์ จึงต้องนับต่อจากวันสุดท้ายที่ครบกำหนดระยะเวลาเดิม คือเริ่มนับหนึ่งตั้งแต่วันที่ 10 มิถุนายน2539 จึงครบกำหนด 30 วัน ในวันที่ 9 กรกฎาคม 2539โจทก์ยื่นอุทธรณ์ในวันที่ 11 กรกฎาคม 2539 เป็นการ ยื่นอุทธรณ์เมื่อพ้นกำหนดเวลาที่ขอขยาย ศาลอุทธรณ์พิพากษายกอุทธรณ์โจทก์จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4868/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายระยะเวลาฎีกาต้องดำเนินการก่อนครบกำหนด หากเลยกำหนดแล้วถือเป็นสิทธิขาด
คดีนี้ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ให้จำเลยฟังเมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2541 และคดีต้องห้าม มิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคหนึ่ง หากจำเลยประสงค์จะใช้สิทธิฎีกาตามเงื่อนไข ในมาตรา 221 จำเลยก็ชอบที่จะดำเนินการใช้สิทธิ ดังกล่าวให้ถูกต้องภายในหนึ่งเดือนนับแต่วันที่ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้จำเลยฟังแต่ปรากฎว่าจำเลยได้ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาฎีกาเมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2541 ซึ่งล่วงเลยกำหนดเวลายื่นฎีกาของจำเลยแล้ว ดังนี้ เมื่อศาลชั้นต้นอ่าน คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้จำเลยฟังแล้ว จำเลยย่อมทราบ วันครบกำหนดหนึ่งเดือนที่ต้องยื่นฎีกาหรือหากมีพฤติการณ์พิเศษ ที่จำเลยจะต้องขยายระยะเวลายื่นฎีกาออกไป จำเลย ก็ชอบที่จะยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นฎีกาเสียก่อน ครบกำหนดดังกล่าวได้แต่จำเลยหาได้ปฏิบัติเสีย ให้ถูกต้องไม่ ทั้งการรอฟังคำสั่งของศาลฎีกาว่า จะสั่งรับหรือไม่รับฎีกาของจำเลยก็มิใช่เป็นเหตุสุดวิสัย คำร้องขอขยายระยะเวลายื่นฎีกาของจำเลยจึงไม่ต้อง ด้วยบทบัญญัติตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ขยายเวลายื่นฎีกาจึงไม่ชอบจำเลยไม่มีสิทธิยื่นฎีกาเมื่อพ้นกำหนดเวลาหนึ่งเดือนนับแต่วันอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ปัญหานี้แม้จะไม่มี คู่ความฝ่ายใดฎีกา แต่เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับ ความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1062/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความตั๋วสัญญาใช้เงิน เริ่มนับจากวันครบกำหนดตามหนังสือทวงถาม ไม่ใช่จากวันออกตั๋วหรือวันที่ได้รับหนังสือ
ตั๋วสัญญาใช้เงินพิพาทได้กำหนดไว้ชัดเจนว่า ผู้ออกตั๋วสัญญาจะใช้เงินแก่โจทก์เมื่อทวงถาม ดังนั้น วันถึงกำหนดใช้เงินของตั๋วสัญญาใช้เงินพิพาทหมายถึงวันที่โจทก์ทวงถามให้ใช้เงินตามความใน ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 913(3) หาใช่ถึงกำหนดใช้เงินในวันออกตั๋วไม่ ทั้งกรณีนี้ได้มีการทวงถามให้ผู้ออกตั๋วและจำเลยซึ่งเป็นผู้รับอาวัลชำระหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินพิพาทแล้ว อายุความจึงไม่อาจเริ่มนับจากวันที่ออกตั๋ว ในหนังสือบอกกล่าวทวงถามของโจทก์ได้ให้เวลาจำเลยชำระหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินให้เสร็จสิ้นภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือดังกล่าวอันเป็นระยะเวลาพอสมควร ซึ่งหมายความว่าโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้จะเรียกให้จำเลยชำระหนี้ก่อนถึงกำหนดเวลานั้นหาได้ไม่ แต่จำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้จะชำระหนี้ก่อนกำหนดนั้นได้ หากพ้นกำหนดดังกล่าวแล้วไม่ชำระก็ถือว่าจำเลยผิดนัด โจทก์อาจบังคับให้จำเลยชำระหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินพิพาทในฐานะผู้รับอาวัลได้นับแต่วันครบกำหนดตามหนังสือทวงถามแล้วเป็นต้นไปวันครบกำหนด 7 วันตามหนังสือทวงถามคือวันที่ 19 กันยายน 2533อายุความตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1001จึงเริ่มนับแต่วันที่ 20 กันยายน 2533 เป็นต้นไปหาใช่เริ่มนับแต่วันที่จำเลยได้รับหนังสือบอกกล่าวทวงถามไม่ โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 14 กันยายน 2536 ยังไม่ครบกำหนด 3 ปี คดีโจทก์จึงยังไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1464/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีสิ้นสุดลงเมื่อครบกำหนด ไม่ต้องบอกเลิกสัญญา, การคิดดอกเบี้ย, และการหักชำระหนี้จากบัญชีเงินฝาก
การที่โจทก์บอกเลิกสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีแก่จำเลยที่ 1 โดยส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับไปยังภูมิลำเนาเดิมของจำเลยร่วม ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการห้างจำเลยที่ 1 และไม่มีผู้รับหนังสือบอกเลิกฉบับนั้นยังถือไม่ได้ว่าโจทก์ได้ส่งหนังสือบอกเลิกสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีไปถึงจำเลยที่ 1 โดยชอบแล้วสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีสิ้นสุดลงวันที่ 24 พฤษภาคม 2527ตามการ์ดบัญชีกระแสรายวัน ปรากฏว่าในวันที่ 27 เมษายน 2527จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์อยู่ 301,046.27 บาท จากนั้นจนถึงวันที่สัญญาสิ้นสุดลง และในเวลาต่อมาไม่มีการเบิกเงินหรือนำเงินเข้าบัญชีจึงไม่มีการเดินสะพัดและหักทอนบัญชีกันอีกต่อไป พฤติการณ์แสดงว่าคู่สัญญาไม่ประสงค์จะต่ออายุสัญญากันอีกต่อไปแล้ว สัญญาบัญชีเดินสะพัดตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีจึงสิ้นสุดลงนับแต่ถึงกำหนดในสัญญา ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 856หาจำต้องบอกเลิกสัญญาหรือบอกกล่าวทวงถามให้ชำระหนี้ก่อนสัญญาจึงจะเลิกกันไม่ เมื่อสัญญาสิ้นสุดลงแล้วโจทก์ไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นต่อไป โจทก์จะต้องหักเงินจากบัญชีเงินฝากประจำของจำเลยที่ 1 ชำระหนี้แก่โจทก์ตามที่ตกลงกันไว้เสียในวันที่สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีสิ้นสุดลง และจำเลยที่ 1 ผิดนัดแล้ว หากมีหนี้เหลืออยู่เท่าใดโจทก์จึงมีสิทธิจะได้รับชำระหนี้ส่วนนั้น พร้อมด้วยดอกเบี้ยแบบไม่ทบต้นต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5981/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีเดินสะพัดสิ้นสุดเมื่อครบกำหนดตามสัญญา แม้จะยังมิได้บอกเลิก
จำเลยทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีกับโจทก์มีกำหนดระยะเวลาของสัญญา 12 เดือน ตามสัญญานี้โจทก์ยอมให้จำเลยเบิกเงินเกินบัญชี และจำเลยต้องนำเงินเข้าบัญชี มีการหักทอนบัญชีกันเป็นระยะ จึงเป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัดด้วย
นับแต่วันสิ้นสุดสัญญาไม่ปรากฏว่าจำเลยได้นำเงินเข้าบัญชีและโจทก์ยอมให้จำเลยเบิกเงินเกินบัญชีอีก จึงไม่มีการเดินสะพัดและหักทอนบัญชีกันต่อไปอีก พฤติการณ์แสดงว่าโจทก์ จำเลยไม่ประสงค์จะต่ออายุสัญญาอีกต่อไป ถือว่าสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีอันเป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัดสิ้นสุดลงนับแต่วันที่ตกลงกันกำหนดไว้ในสัญญา ตามนัยป.พ.พ. มาตรา 856 โจทก์จึงไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นต่อไปอีกนับแต่วันสิ้นสุดสัญญา สิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นคงมีเพียงวันสุดท้ายแห่งบัญชีเดินสะพัดเท่านั้น ตามนัยแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 655 วรรคสอง.
(วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 3/2533)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5981/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีเดินสะพัดสิ้นสุดเมื่อครบกำหนด หากไม่มีการต่ออายุ โจทก์ไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นต่อ
จำเลยทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีกับโจทก์มีกำหนดระยะเวลาของสัญญา 12 เดือนตามสัญญานี้โจทก์ยอมให้จำเลยเบิกเงินเกินบัญชีและจำเลยต้องนำเงินเข้าบัญชี มีการหักทอนบัญชีกันเป็นระยะ จึงเป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัดด้วย นับแต่วันสิ้นสุดสัญญาไม่ปรากฏว่าจำเลยได้นำเงินเข้าบัญชีและโจทก์ยอมให้จำเลยเบิกเงินเกินบัญชีอีก จึงไม่มีการเดินสะพัดและหักทอนบัญชีกันต่อไปอีก พฤติการณ์แสดงว่าโจทก์ จำเลยไม่ประสงค์จะต่ออายุสัญญาอีกต่อไป ถือว่าสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีอันเป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัดสิ้นสุดลงนับแต่วันที่ตกลงกันกำหนดไว้ในสัญญา ตามนัยป.พ.พ. มาตรา 856 โจทก์จึงไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นต่อไปอีกนับแต่วันสิ้นสุดสัญญา สิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นคงมีเพียงวันสุดท้ายแห่งบัญชีเดินสะพัดเท่านั้น ตามนัยแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 655 วรรคสอง. (วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 3/2533)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4082/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คพิพาทประกันหนี้กู้ สิทธิเบิกจ่ายเมื่อครบกำหนด ไม่ใช่เช็คไม่มีมูลหนี้
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยออกเช็คให้แก่โจทก์เพื่อชำระหนี้ จำเลยให้การรับว่าจำเลยได้ออกเช็คพิพาทให้แก่โจทก์จริง โดยออกให้เพื่อประกันเงินกู้ตามสัญญากู้ซึ่งระบุว่า จำเลยได้มอบเช็คพิพาทซึ่งสั่งจ่ายเงินเท่ากับจำนวนเงินกู้และลงวันที่สั่งจ่ายวันเดียวกับวันครบกำหนดชำระเงินกู้ให้โจทก์ไว้เป็นประกัน ข้อความในสัญญากู้ดังกล่าวแสดงว่าเมื่อถึงกำหนดชำระหนี้เงินกู้ หากจำเลยไม่ชำระโจทก์ก็มีสิทธินำเช็คพิพาทไปเบิกเงินจากธนาคารเพื่อชำระหนี้เงินกู้ได้ หาใช่เป็นกรณีเช็คพิพาทไม่มีมูลหนี้ดังจำเลยต่อสู้ไม่
เมื่อข้อเท็จจริงตามคำฟ้องและคำให้การฟังได้แล้วว่า โจทก์มีสิทธินำเช็คพิพาทไปเบิกเงิน และธนาคารตามเช็คได้ปฏิเสธการจ่ายเงินแล้ว จำเลยในฐานะผู้สั่งจ่ายย่อมต้องรับผิดใช้เงินตามเช็คพร้อมดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ คดีจึงพอวินิจฉัยได้แล้ว หามีความจำเป็นต้องสืบพยานใด ๆ ต่อไปอีกไม่
of 3