คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ครอบครองร่วม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 18 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2673/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในทรัพย์มรดก: การครอบครองร่วมและอายุความ - กรณีครอบครัวมีส่วนได้เสียร่วมกัน
ศาลชั้นต้นไม่รับอุทธรณ์ข้อหนึ่งของจำเลย เพราะเหตุเป็นข้อที่จำเลยมิได้ให้การต่อสู้เป็นประเด็นไว้ในศาลชั้นต้น จำเลยยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยืนตามคำปฏิเสธของศาลชั้นต้น ดังนี้ คำสั่งศาลอุทธรณ์ย่อมเป็นที่สุดตาม ป.วิ.พ.มาตรา 236 วรรคแรก จำเลยจะยกประเด็นดังกล่าวขึ้นฎีกาอีกหาได้ไม่ โจทก์ครอบครองที่ดินและบ้านพิพาทซึ่งเป็นทรัพย์มรดกร่วมกับก. และทายาทอื่น โดยทรัพย์มรดกดังกล่าวยังมิได้มีการแบ่งปันกันจึงมีสิทธิฟ้องขอแบ่งมรดกซึ่งตนจะได้รับในส่วนที่เป็นมรดกของ ห.ได้ กรณีเช่นนี้จะนำอายุความมรดกตามป.พ.พ. มาตรา 1754 มาใช้บังคับไม่ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1387/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความมรดกและการครอบครองร่วม สิทธิในการขอออกโฉนดที่ดิน และการบังคับคดีตามคำพิพากษา
โจทก์ที่ 1 กับพวกและจำเลยเป็นทายาทของ พ.เมื่อพ. ตายจำเลยยื่นคำร้องขอรับมรดกในที่ดินพิพาท แต่ถูกโจทก์ที่ 1 กับพวกคัดค้าน เจ้าพนักงานที่ดินให้คู่กรณีไปฟ้องร้องกันภายใน 60 วันเพราะตกลงกันไม่ได้ จำเลยมิได้ฟ้องร้องภายในกำหนดจนเจ้าพนักงานที่ดินได้จดทะเบียนให้โจทก์ที่ 1 กับพวกและจำเลยเป็นผู้รับมรดกของ พ. ร่วมกัน ดังนี้ แม้จำเลยจะอยู่ในที่พิพาทตลอดมาก็แสดงว่าจำเลยยอมละเสียซึ่งประโยชน์แห่งอายุความมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 192 วรรคแรก โจทก์ที่ 1 กับพวกมีสิทธิร่วมกับจำเลยในที่ดินพิพาท เมื่อโจทก์ที่ 1 กับพวกขอออกโฉนดที่ดินพิพาท แต่ไม่สามารถดำเนินการได้ เพราะจำเลยมิได้ยื่นคำร้องต่อเจ้าพนักงานที่ดินด้วย ย่อมทำให้สิทธิของโจทก์ที่ 1 กับพวกถูกกระทบกระเทือน และจำเลยมีหน้าที่ต้องอนุมัตตามความต้องการของเจ้าของส่วนข้างมาก โจทก์ที่ 1 มีสิทธิฟ้องขอให้ถือเอาคำพิพากษาแสดงเจตนาของจำเลยได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 823/2533 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์รวมในที่ดินมรดก การครอบครองร่วม และการยกทรัพย์โดยเสน่หา
หลังจากเจ้ามรดกตาย โจทก์จำเลยซึ่งเป็นบุตรของเจ้ามรดกและ ส. ซึ่งเป็นภรรยาของเจ้ามรดกครอบครองทรัพย์มรดก คือที่ดินพิพาทร่วมกัน ส่วนบุตรคนอื่นของเจ้ามรดกไม่ปรากฏว่าได้ร่วมครอบครองที่ดินพิพาทด้วย แม้ต่อมา ส. ได้รื้อบ้านออกไปปลูกในที่ดินแปลงอื่นก็ถือว่าโจทก์จำเลยและ ส. ได้ครอบครองที่ดินพิพาทร่วมกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1748 การที่ ส. ขอออกโฉนดที่ดินพิพาทโดยลงชื่อตนเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์แต่ผู้เดียวในภายหลังโดยโจทก์ไม่ยินยอม โจทก์ยังคงมีส่วนในที่ดินพิพาทนั้น1 ใน 3 ส่วนอยู่เช่นเดิม ส. ไม่มีสิทธินำที่ดินพิพาทส่วนของโจทก์ไปยกให้จำเลย โจทก์ฟ้องขอแบ่งที่ดินพิพาทที่ตนเป็นเจ้าของรวมจากจำเลย 1 ใน 3 ส่วนได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 823/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์รวมในที่ดินมรดก การครอบครองร่วม และการยกทรัพย์สินโดยเสน่หา
หลังจากเจ้ามรดกตาย โจทก์จำเลยซึ่งเป็นบุตรของเจ้ามรดกและ ส. ซึ่งเป็นภรรยาของเจ้ามรดกครอบครองทรัพย์มรดก คือที่ดินพิพาทร่วมกัน ส่วนบุตรคนอื่นของเจ้ามรดกไม่ปรากฏว่าได้ร่วมครอบครองที่ดินพิพาทด้วย แม้ต่อมา ส. ได้รื้อบ้านออกไปปลูกในที่ดินแปลงอื่นก็ถือว่าโจทก์จำเลยและ ส. ได้ครอบครองที่ดินพิพาทร่วมกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1748 การที่ ส. ขอออกโฉนดที่ดินพิพาทโดยลงชื่อตนเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์แต่ผู้เดียวในภายหลังโดยโจทก์ไม่ยินยอม โจทก์ยังคงมีส่วนในที่ดินพิพาทนั้น1 ใน 3 ส่วนอยู่เช่นเดิม ส. ไม่มีสิทธินำที่ดินพิพาทส่วนของโจทก์ไปยกให้จำเลย โจทก์ฟ้องขอแบ่งที่ดินพิพาทที่ตนเป็นเจ้าของรวมจากจำเลย 1 ใน 3 ส่วนได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 579/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองร่วมในที่นา การใช้ประโยชน์ และการฟ้องขับไล่
การที่โจทก์จำเลยมีสิทธิครอบครองที่นาร่วมกันโดยยังมิได้แบ่งแยกกันเป็นส่วนสัดว่าของโจทก์เท่าใด ของจำเลยเท่าใดและอยู่ตรงส่วนไหนดังนี้ จำเลยย่อมมีสิทธิเข้าทำนาที่พิพาทได้ตามป.พ.พ. ม.1360 และเมื่อจำเลยมิได้ห้ามปรามมิให้โจทก์เข้าทำนาที่พิพาท จึงไม่เป็นการใช้ทรัพย์สินขัดต่อสิทธิของโจทก์ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลย
โจทก์ฟ้องขอให้ขับไล่จำเลยออกจากที่นา ข้อเท็จจริงได้ความว่าโจทก์จำเลยมีสิทธิครอบครองที่นาร่วมกัน ดังนี้ศาลจะพิพากษาให้จำเลยแบ่งที่นาให้โจทก์ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3991/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่มีเจตนาครอบครองร่วมและการกระทำตามคำสั่งของนายจ้าง ทำให้ผู้กระทำไม่มีความผิด
จำเลยที่ 2 เพิ่งมาเป็นลูกจ้างจำเลยที่ 1 เพียง 2 วันก็ถูกจับกุม จำเลยที่ 2 อายุเพียง 16 ปี เข้ามาเกี่ยวข้องกับไม้ของกลางโดยทำงานตามคำสั่งของจำเลยที่ 1 และเพื่อประโยชน์ของจำเลยที่ 1 ไม่อาจถือได้ว่าจำเลยที่ 2 ได้ครอบครองไม้ของกลางร่วมกับจำเลยที่ 1 ด้วยจำเลยที่ 2 จึงไม่มีความผิดตามฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3991/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่มีเจตนาครอบครองร่วม: ลูกจ้างใหม่ไม่มีความผิดในความผิดฐานครอบครองไม้ผิดกฎหมาย
จำเลยที่ 2 เพิ่งมาเป็นลูกจ้างจำเลยที่ 1 เพียง 2วันก็ถูกจับกุม จำเลยที่ 2 อายุเพียง 16 ปี เข้ามาเกี่ยวข้องกับไม้ของกลางโดยทำงานตามคำสั่งของจำเลยที่ 1และเพื่อประโยชน์ของจำเลยที่ 1 ไม่อาจถือได้ว่าจำเลยที่ 2 ได้ครอบครองไม้ของกลางร่วมกับจำเลยที่ 1 ด้วยจำเลยที่ 2 จึงไม่มีความผิดตามฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1726/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองร่วมที่ดิน: เมื่อการแย่งครอบครองทำให้เกิดสิทธิร่วม
ที่ดินซึ่งโจทก์จำเลยแย่งกันครอบครองตอนที่อยู่ติดต่อกันโจทก์จำเลยชอบที่จะมีสิทธิครอบครองร่วมกัน จำเลยมีสิทธิครอบครองร่วมอยู่ด้วยจึงมีสิทธิใช้ที่พิพาทได้ไม่เป็นละเมิดไม่ต้องใช้ค่าเสียหายที่โจทก์ใช้ที่พิพาทนั้นไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1304/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองทรัพย์สินร่วมกันและละเมิดสิทธิเจ้าของรวม การไถนาและกีดกันการเข้าครอบครอง
โจทก์จำเลยต่างเป็นทายาทผู้รับมรดกตามพินัยกรรมในที่ดินนาสองแปลงกับที่ดินบ้านหนึ่งแปลงคนละส่วนเท่าๆ กัน และได้ครอบครองร่วมกันและแทนกัน การที่จำเลยเข้าไปไถนาทั้งสองแปลง และไม่ยอมให้โจทก์เข้าไปครอบครองที่ดินบ้าน โดยจำเลยอ้างว่า ที่พิพาททั้งสามแปลงเป็นของตนคนเดียว เห็นได้ว่าขัดต่อสิทธิของโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของที่พิพาทรวมกับจำเลยกรณีจึงเป็นละเมิดต่อโจทก์ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1360 และมาตรา 420,421.(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1069/2509)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 272/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในทรัพย์สินพิพาทกรณีครอบครองร่วมและไม่มีหลักฐานแสดงความเป็นเจ้าของร่วม ศาลฎีกาวินิจฉัยยืนตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์
คดีที่มีทุนทรัพย์ไม่เกิน 5,000 บาท ซึ่งศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ไขมากกนั้น แม้ศาลชั้นต้นจะสั่งรับฎีกาของคู่ความมาลอย ๆ โดยมิได้อ้างเหตุก็ตาม คู่ความก็ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงได้
of 2