พบผลลัพธ์ทั้งหมด 21 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4205/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า: สินค้าต่างประเภท แม้ชื่อคล้ายกัน ไม่ทำให้สับสน
กรมทรัพย์สินทางปัญญาจำเลยมีฐานะเป็นกรมในสังกัดกระทรวงพาณิชย์โดยผลของพระราชบัญญัติโอนอำนาจหน้าที่และกิจการบริหารบางส่วนของกรมทะเบียนการค้า กระทรวงพาณิชย์ พ.ศ.2535 พระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ พ.ศ.2535 และ พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 จำเลยจึงมีอำนาจหน้าที่ในการปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยเครื่องหมายการค้า ซึ่งได้แก่การดำเนินการเกี่ยวกับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 และถึงแม้ว่านายทะเบียนเครื่องหมายการค้าจะเป็นเจ้าหน้าที่โดยตรงในการมีคำสั่งเกี่ยวกับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าและมีคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าเป็นผู้พิจารณาอุทธรณ์ แต่การดำเนินการของเจ้าหน้าที่และคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าดังกล่าวก็อยู่ในอำนาจหน้าที่และการควบคุมของจำเลยในฐานะที่เป็นกรมซึ่งรับผิดชอบปฏิบัติงานในเรื่องนี้ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลย
คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าที่จะเป็นที่สุดตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 18 วรรคหนึ่งนั้น เป็นเพียงถึงที่สุดในทางฝ่ายบริหารเท่านั้นหาได้ตัดสิทธิโจทก์มิให้นำคดีมาฟ้องศาลไม่ ดังนั้น ถ้าโจทก์เห็นว่าคำวินิจฉัยของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าไม่ถูกต้องหรือไม่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะนำคดีมาฟ้องต่อศาลเพื่อขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าได้
ยา Tequin ของโจทก์เป็นยาที่ใช้สำหรับรักษามนุษย์ซึ่งต้องสั่งจ่ายโดยแพทย์และมีจำหน่ายในโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลเท่านั้น ส่วนยา TRIQUIN ของจำเลยเป็นยาที่ใช้สำหรับสัตว์ซึ่งจำหน่ายในร้านขายยาแผนปัจจุบันสำหรับสัตว์ แม้โจทก์จะใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์กับสินค้าจำพวกที่ 5 เหมือนกับเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นที่จดทะเบียนไว้แล้ว แต่สินค้าของโจทก์เป็นผลิตภัณฑ์ยาสำหรับรักษามนุษย์ ส่วนสินค้าตามเครื่องหมายการค้าที่มีการจดทะเบียนแล้วเป็นยาสำหรับรักษาสัตว์ซึ่งมีสถานที่จำหน่ายยาแยกต่างหากจากกัน ลักษณะของตัวอักษรในเครื่องหมายการค้า เสียงเรียกขานและผลิตภัณฑ์สินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าไม่มีลักษณะคล้ายกับเครื่องหมายการค้าที่มีการจดทะเบียนไว้แล้วจนอาจทำให้สาธารณชนเกิดการสับสนหรือหลงผิดในตัวสินค้าหรือแหล่งกำเนิดของสินค้า จึงมีลักษณะอันพึงรับจดทะเบียนได้ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 6 และ มาตรา 13
คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าที่จะเป็นที่สุดตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 18 วรรคหนึ่งนั้น เป็นเพียงถึงที่สุดในทางฝ่ายบริหารเท่านั้นหาได้ตัดสิทธิโจทก์มิให้นำคดีมาฟ้องศาลไม่ ดังนั้น ถ้าโจทก์เห็นว่าคำวินิจฉัยของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าไม่ถูกต้องหรือไม่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะนำคดีมาฟ้องต่อศาลเพื่อขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าได้
ยา Tequin ของโจทก์เป็นยาที่ใช้สำหรับรักษามนุษย์ซึ่งต้องสั่งจ่ายโดยแพทย์และมีจำหน่ายในโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลเท่านั้น ส่วนยา TRIQUIN ของจำเลยเป็นยาที่ใช้สำหรับสัตว์ซึ่งจำหน่ายในร้านขายยาแผนปัจจุบันสำหรับสัตว์ แม้โจทก์จะใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์กับสินค้าจำพวกที่ 5 เหมือนกับเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นที่จดทะเบียนไว้แล้ว แต่สินค้าของโจทก์เป็นผลิตภัณฑ์ยาสำหรับรักษามนุษย์ ส่วนสินค้าตามเครื่องหมายการค้าที่มีการจดทะเบียนแล้วเป็นยาสำหรับรักษาสัตว์ซึ่งมีสถานที่จำหน่ายยาแยกต่างหากจากกัน ลักษณะของตัวอักษรในเครื่องหมายการค้า เสียงเรียกขานและผลิตภัณฑ์สินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าไม่มีลักษณะคล้ายกับเครื่องหมายการค้าที่มีการจดทะเบียนไว้แล้วจนอาจทำให้สาธารณชนเกิดการสับสนหรือหลงผิดในตัวสินค้าหรือแหล่งกำเนิดของสินค้า จึงมีลักษณะอันพึงรับจดทะเบียนได้ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 6 และ มาตรา 13
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8034/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การละเมิดเครื่องหมายการค้า การใช้เครื่องหมายการค้าคล้ายกันจนสับสน และการเรียกค่าเสียหาย
โจทก์จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ก่อนที่จำเลยจะขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลย 8 ปี เครื่องหมายการค้าของโจทก์และจำเลยต่างมีคำว่า "UNIOR" รวมอยู่ด้วย คำว่า "UNIOR"ตรงกับชื่อบริษัทโจทก์คำแรก โจทก์นำคำว่า "UNIOR" มาจากคำในภาษาสโลวีเนีย 2 คำ โดยคำว่า UNI มาจากคำว่า UNIVERZALNAแปลว่า จักรวาล และคำว่า OR มาจากคำว่า ORODJA แปลว่าเครื่องมือ เมื่อนำ 2 คำนี้มารวมกัน ก็จะเห็นถึงเหตุผลที่นำคำดังกล่าวมาใช้กับสินค้าเครื่องมือช่างของโจทก์ โดยได้ดัดแปลงเป็นคำใหม่ว่า"UNIOR" ให้มีลักษณะบ่งเฉพาะขึ้นมา ส่วนจำเลยอ้างว่าเครื่องหมายการค้าคำว่า SUPPERUNIOR และ SUPPER-UNIOR จำเลยประดิษฐ์มาจากคำว่า SUPPER ซึ่งแปลว่า อาหารมื้อค่ำ และคำว่า JUNIORซึ่งแปลว่า ผู้อ่อนวัยกว่าหรือนักศึกษาชั้นปีที่ 3 เมื่อนำคำทั้ง 2 คำมารวมกันแปลว่า อาหารมื้อค่ำของผู้อ่อนวัยกว่าหรือนักศึกษาชั้นปีที่ 3เมื่อพิจารณาประกอบกับสินค้าที่จำเลยจดทะเบียนซึ่งได้แก่ กรรไกร คีมไขควงกุญแจปากตายและกุญแจบล็อกจะเห็นว่า คำ 2 คำตามที่จำเลยอ้างถึงนั้นไม่สอดคล้องกับประเภทสินค้า ทั้งไม่มีเหตุที่จำเลยจะตัดอักษร J ออกจากคำว่า JUNIOR โจทก์นำสืบว่าโจทก์ผลิตและส่งสินค้าของโจทก์ไปจำหน่ายทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทยเป็นเวลาหลายสิบปีแล้ว โดยจำเลยไม่ได้นำสืบโต้แย้งให้เห็นเป็นอย่างอื่น พยานหลักฐานโจทก์จึงมีน้ำหนักรับฟังได้ว่าโจทก์คิดประดิษฐ์คำว่า "UNIOR" ขึ้นมาโดยเฉพาะเพื่อใช้เป็นเครื่องหมายการค้าของโจทก์ทั้งได้ใช้มาก่อนจำเลยหลายปี จำเลยเพียงแต่เอาคำว่า SUPPERมาวางไว้หน้าคำว่า UNIOR เท่านั้น ทั้งคำว่า SUPPER ก็คล้ายกับคำว่า SUPER มาก หากผู้ซื้อสินค้าไม่ได้สังเกตอย่างดีแล้วก็อาจเข้าใจเป็นคำ SUPER ได้โดยง่าย อันจะมีความหมายว่าเป็นสินค้าที่มีคุณภาพพิเศษของ UNIOR ทั้งยังปรากฏจากสินค้าคีมของโจทก์และของจำเลยก็มีลักษณะคล้ายกัน ด้ามคีมใช้สีเหลืองเข้มใกล้เคียงกันซองพลาสติกบรรจุสินค้าของจำเลยก็คล้ายกับของโจทก์ทั้งการใช้เครื่องหมายการค้าของจำเลยก็นำคำว่า SUPPER กับคำว่า UNIORวางไว้คนละบรรทัด โดยคำว่า SUPPER มีขนาดเล็กกว่าคำว่า UNIORพฤติการณ์ของจำเลยแสดงให้เห็นถึงเจตนาของจำเลยในการขอจดทะเบียนและใช้เครื่องหมายการค้าของจำเลยที่พยายามทำให้ผู้ซื้อสินค้าสับสนหลงผิด เครื่องหมายการค้าของจำเลยจึงคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์จนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของหรือแหล่งกำเนิดของสินค้าได้ เมื่อโจทก์ใช้และจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์มาก่อน โจทก์ย่อมมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดีกว่าจำเลย จึงมีสิทธิขอให้ศาลสั่งเพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าทั้งสองของจำเลยที่ใช้สำหรับสินค้าจำพวกเดียวกันและมีลักษณะอย่างเดียวกันได้
การที่จำเลยนำเครื่องหมายการค้าที่คล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ไปขอจดทะเบียนและนำไปใช้กับสินค้าของจำเลยที่เป็นสินค้าจำพวกเดียวกันซึ่งมีลักษณะอย่างเดียวกันกับสินค้าของโจทก์นำออกจำหน่ายต่อสาธารณชน ย่อมเป็นการละเมิดสิทธิในเครื่องหมายการค้าของโจทก์ แม้นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าจะรับจดทะเบียนให้จำเลยก็เป็นกรณีที่เกิดจากการที่จำเลยขอจดทะเบียนโดยไม่สุจริต จึงหาทำให้การกระทำของจำเลยกลับเป็นถูกต้องไม่ โจทก์จึงมีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้
ศาลชั้นต้นให้จำเลยใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เป็นรายเดือนจากเหตุที่จำเลยใช้เครื่องหมายการค้าของจำเลยกับสินค้าในการลวงขายว่าเป็นสินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้าของโจทก์ โจทก์จึงควรได้รับค่าเสียหายจนกว่าจำเลยจะเลิกใช้เครื่องหมายการค้าของจำเลยเท่านั้น ทั้งศาลชั้นต้นพิพากษาให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยซึ่งย่อมมีผลให้เป็นการเพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลย โดยจำเลยไม่จำเป็นต้องดำเนินการขอเพิกถอนอีกแต่อย่างใด ดังนั้น ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยใช้ค่าเสียหายเป็นรายเดือนจนกว่าจำเลยจะดำเนินการเพิกถอนเครื่องหมายการค้าแล้วเสร็จ จึงไม่ถูกต้อง
การที่จำเลยนำเครื่องหมายการค้าที่คล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ไปขอจดทะเบียนและนำไปใช้กับสินค้าของจำเลยที่เป็นสินค้าจำพวกเดียวกันซึ่งมีลักษณะอย่างเดียวกันกับสินค้าของโจทก์นำออกจำหน่ายต่อสาธารณชน ย่อมเป็นการละเมิดสิทธิในเครื่องหมายการค้าของโจทก์ แม้นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าจะรับจดทะเบียนให้จำเลยก็เป็นกรณีที่เกิดจากการที่จำเลยขอจดทะเบียนโดยไม่สุจริต จึงหาทำให้การกระทำของจำเลยกลับเป็นถูกต้องไม่ โจทก์จึงมีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้
ศาลชั้นต้นให้จำเลยใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เป็นรายเดือนจากเหตุที่จำเลยใช้เครื่องหมายการค้าของจำเลยกับสินค้าในการลวงขายว่าเป็นสินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้าของโจทก์ โจทก์จึงควรได้รับค่าเสียหายจนกว่าจำเลยจะเลิกใช้เครื่องหมายการค้าของจำเลยเท่านั้น ทั้งศาลชั้นต้นพิพากษาให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยซึ่งย่อมมีผลให้เป็นการเพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลย โดยจำเลยไม่จำเป็นต้องดำเนินการขอเพิกถอนอีกแต่อย่างใด ดังนั้น ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยใช้ค่าเสียหายเป็นรายเดือนจนกว่าจำเลยจะดำเนินการเพิกถอนเครื่องหมายการค้าแล้วเสร็จ จึงไม่ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1822/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิบัตรไม่สมบูรณ์เมื่อแบบผลิตภัณฑ์ไม่ใหม่ คล้ายกับที่เปิดเผยก่อนหน้านี้
++ เรื่อง ทรัพย์สินทางปัญญา สิทธิบัตร ++
++ ทดสอบทำงานในเครื่อง ++
++
++ พิเคราะห์แล้ว ข้อเท็จจริงเบื้องต้นที่คู่ความทั้งสองฝ่ายมิได้โต้แย้งกันในชั้นนี้ฟังได้ว่า
++ โจทก์เป็นผู้ผลิตปลอกหุ้มพวงมาลัยรถยนต์ออกจำหน่ายภายใต้เครื่องหมายการค้าเป็นรูปและคำ คือ เครื่องหมายการค้า++++++++++++ มีลักษณะเป็นปลอกหุ้มพวงมาลัยรถทรงกลมเป็นวงไส้กลางกลวง เป็นยางห่อหุ้มด้วยปุ่มนูนเป็นหนัง พี.วี.ซี. ขอบตรง ปุ่มนูนรวมเป็นกลุ่มรวม 3 แห่ง สลับกับพื้นเรียบตามภาพถ่ายหมาย จ.3 คือภาพดังต่อไปนี้
++++++++++ ++++++++ +++++++++
+++++++++ ++++++++ +++++++++
++
++ จำเลยเป็นเจ้าของแบบผลิตภัณฑ์ปลอกหุ้มพวงมาลัยรถมีลักษณะเป็นปลอกหุ้มทรงกลม ไส้กลางกลวง มีปุ่มนูนขอบเฉียงเป็นกลุ่มรวม 3 กลุ่ม ระยะห่างเท่า ๆ กัน ส่วนที่เหลือเป็นพื้นเรียบเจาะรูเป็นจุดขาว ตามคำขอรับสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ "ปลอกหุ้มพวงมาลัยรถ" เอกสารหมาย ล.4 โดยจำเลยได้นำแบบปลอกหุ้มพวงมาลัยรถดังกล่าวไปยื่นคำขอรับสิทธิบัตรออกแบบผลิตภัณฑ์เมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2536 เป็นคำขอเลขที่ 019798 โดยมีข้อถือสิทธิในลักษณะลวดลายของปลอกหุ้มพวงมาลัยรถดังปรากฏตามรูปต่อไปนี้
+++++++ ++++++++++++ ++++++++++
++ซึ่งกรมทรัพย์สินทางปัญญาอนุมัติคำขอของจำเลยเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2538เป็นทะเบียนเลขที่ 4956
++ ต่อมาจำเลยแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนกล่าวหาว่า บริษัทอินเตอร์สตาร์ออโต้โปรดักซ์ จำกัด ละเมิดสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ "ปลอกหุ้มพวงมาลัยรถ" ของจำเลย และเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน2540 จำเลยนำร้อยตำรวจโทอภิชาติ อภิชานนท์ ไปตรวจค้นบ้านเลขที่26/82-83 ถนนจรัญสนิทวงศ์ แขวงท่าพระ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร ได้ปลอกหุ้มพวงมาลัยรถที่โจทก์เป็นเจ้าของผู้ผลิตจำนวน 3,184 เส้นพนักงานสอบสวนแจ้งข้อหาแก่บริษัทอินเตอร์สตาร์ออโต้โปรดักซ์ จำกัด ซึ่งมีโจทก์เป็นกรรมการ โจทก์ และนางอุษา อัศวพิภพหรือลิขิตรัตนดารา ว่าร่วมกันขาย เสนอขาย หรือมีไว้เพื่อขายซึ่งผลิตภัณฑ์ตามสิทธิบัตรโดยไม่รับอนุญาตจากผู้ทรงสิทธิบัตร ในที่สุดพนักงานอัยการมีคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องแล้วตามหนังสือแจ้งคำสั่งไม่ฟ้องเอกสารหมาย จ.39
++
++ มีปัญหาต้องวินิจฉัยประการแรกว่า คำฟ้องของโจทก์เคลือบคลุมหรือไม่
++ จำเลยอุทธรณ์ว่า โจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องให้เห็นว่าแบบผลิตภัณฑ์ที่อ้างว่าได้มีการเปิดเผยสาระสำคัญหรือรายละเอียดในเอกสารหรือสิ่งพิมพ์ที่ได้เผยแพร่อยู่แล้วนั้น ได้มีการเปิดเผยในเอกสารหรือสิ่งพิมพ์ใด ลักษณะของแบบผลิตภัณฑ์ที่เปิดเผยดังกล่าวมีลักษณะอย่างไร ทำให้จำเลยไม่สามารถเปรียบเทียบแบบผลิตภัณฑ์ของจำเลยกับแบบผลิตภัณฑ์ที่โจทก์อ้างได้ เพราะการพิจารณาว่าแบบผลิตภัณฑ์ที่ขอรับสิทธิบัตรเป็นแบบผลิตภัณฑ์ใหม่หรือไม่ต้องเกิดจากการเปรียบเทียบแบบผลิตภัณฑ์ที่ขอรับสิทธิบัตรนั้นกับแบบผลิตภัณฑ์ซึ่งเป็นงานที่ปรากฏอยู่ก่อนแล้ว
++ เห็นว่า ในข้อนี้โจทก์บรรยายฟ้องว่า แบบผลิตภัณฑ์ของจำเลยมีสีดำ มีปุ่มนูนเรียงเป็นแถวหลายแถวรวม 3 แห่ง พื้นที่นอกเหนือจากปุ่มนูนเป็นพื้นเรียบมีจุดขาวทั่วไป ลักษณะของแบบผลิตภัณฑ์ดังกล่าวได้มีการเปิดเผยภาพ สาระสำคัญหรือรายละเอียดในเอกสารหรือสิ่งพิมพ์ที่ได้เปิดเผยอยู่แล้วในหรือนอกราชอาณาจักรก่อนที่จำเลยจะขอรับสิทธิบัตรและจำเลยได้ลอกเลียนซึ่งลักษณะลวดลายของแบบผลิตภัณฑ์นั้นในส่วนที่เป็นสาระสำคัญจนเห็นได้ว่าเป็นการเลียนแบบดังกล่าวมาขอรับสิทธิบัตร แบบผลิตภัณฑ์ของจำเลยจึงไม่อาจถือว่าเป็นแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ สิทธิบัตรของจำเลยจึงไม่สมบูรณ์ โจทก์เป็นผู้ผลิตและจำหน่ายปลอกหุ้มพวงมาลัยรถยนต์แต่ถูกจำเลยกลั่นแกล้งกล่าวหาว่าสินค้าปลอกหุ้มพวงมาลัยรถยนต์ของโจทก์เป็นสินค้าที่ละเมิดสิทธิบัตรของจำเลย ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายเพราะไม่มีร้านค้าใดกล้าสั่งซื้อสินค้าของโจทก์ โจทก์จึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียในสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์อันไม่สมบูรณ์ของจำเลย ขอให้เพิกถอนสิทธิบัตรดังกล่าวของจำเลย
++ ดังนี้ แม้โจทก์จะไม่ได้บรรยายฟ้องโดยเฉพาะเจาะจงว่าแบบผลิตภัณฑ์ที่ได้มีการเปิดเผยแล้วมีสีและลักษณะอย่างไร แต่โจทก์ก็ได้บรรยายฟ้องไว้แจ้งชัดแล้วว่า แบบผลิตภัณฑ์ของจำเลยมีสีและลักษณะอย่างไร คำฟ้องของโจทก์จึงได้แสดงให้พอเข้าใจได้แล้วว่าแบบผลิตภัณฑ์ที่ได้มีการเปิดเผยสาระสำคัญหรือรายละเอียดในเอกสารหรือสิ่งพิมพ์ที่ได้เผยแพร่อยู่แล้วมีลักษณะอย่างไร ซึ่งจำเลยก็ได้ให้การต่อสู้ต่อไปว่า คำฟ้องของโจทก์ดังกล่าวไม่มีมูลความจริง แบบผลิตภัณฑ์ตามสิทธิบัตรของจำเลยเป็นแบบผลิตภัณฑ์ที่นายสุรศักดิ์ ธีระไชยกุล ออกแบบคิดประดิษฐ์ขึ้นเองโดยชอบ มิได้ลอกเลียนจากแบบผลิตภัณฑ์ใดที่มีปรากฏอยู่ก่อนแล้ว แสดงว่าจำเลยเข้าใจคำฟ้องของโจทก์จึงสามารถให้การต่อสู้คดีได้เช่นนั้น
++ ส่วนข้อเท็จจริงที่ว่า แบบผลิตภัณฑ์ที่ได้เปิดแผยแล้วได้เปิดเผยในเอกสารหรือสิ่งพิมพ์ใดนั้น เป็นข้อเท็จจริงที่โจทก์สามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณา
++ คำฟ้องของโจทก์จึงเป็นคำฟ้องที่แสดงให้พอเข้าใจได้ถึงสภาพแห่งข้อหา ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาและคำขอบังคับ ถือได้ว่าเป็นคำฟ้องที่ชอบด้วยกฎหมาย ตามข้อกำหนดคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2540 ข้อ 6และพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539มาตรา 26 และ 30 แล้ว ++
++
++ มีปัญหาต้องวินิจฉัยประการที่ 2 ว่า สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ "ปลอกหุ้มพวงมาลัยรถ" เลขที่ 4956 ของจำเลยเป็นแบบผลิตภัณฑ์ใหม่หรือไม่
++ จำเลยอุทธรณ์ว่า การพิจารณาว่าแบบผลิตภัณฑ์หนึ่งแตกต่างจากแบบผลิตภัณฑ์ซึ่งเป็นงานที่ปรากฏอยู่ก่อนหรือไม่ ชอบที่จะพิจารณาจากภาพรวมของแบบผลิตภัณฑ์ซึ่งรวมถึงรายละเอียดของแบบผลิตภัณฑ์ที่นำมาเปรียบเทียบกัน มิใช่พิจารณาแต่เพียงโครงสร้างหลักของแบบผลิตภัณฑ์ดังนั้น ลำพังแต่ข้อเท็จจริงว่าแบบผลิตภัณฑ์ตามสิทธิบัตรเอกสารหมาย ล.4มีโครงสร้างหลักคือการนำปุ่มยางมาใช้รวม 3 แห่ง วางสลับกับส่วนที่เป็นพื้นเรียบ ย่อมไม่เพียงพอที่จะให้รับฟังว่าแบบผลิตภัณฑ์ตามสิทธิบัตรเอกสารหมาย ล.4 ของจำเลยเป็นแบบผลิตภัณฑ์เดียวกันหรือเหมือนหรือคล้ายกันจนเป็นการเลียนแบบภาพสินค้าเอกสารหมาย จ.7 ถึง จ.11 ซึ่งไม่ถูกต้องและไม่ตรงตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522 ที่ให้พิจารณาความใหม่ของแบบผลิตภัณฑ์จากความแตกต่างของผลิตภัณฑ์หนึ่งกับอีกแบบผลิตภัณฑ์หนึ่งเพื่อส่งเสริมให้มีการพัฒนาแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ขึ้น แต่มิใช่พิจารณาความใหม่เฉพาะจากสิ่งที่เป็นโครงสร้างหลักของแบบผลิตภัณฑ์เท่านั้น การพิจารณารายละเอียดหรือภาพรวมของแบบผลิตภัณฑ์จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งในการพิจารณาความใหม่ของผลิตภัณฑ์ เพราะภาพรวมหรือรายละเอียดที่แตกต่างกันอย่างเพียงพอของแบบผลิตภัณฑ์หนึ่งกับอีกแบบผลิตภัณฑ์หนึ่งจะเป็นเครื่องชี้สำคัญที่ทำให้แบบผลิตภัณฑ์นั้นแตกต่างกัน หรือเป็นแบบผลิตภัณฑ์ที่สะดุดตาน่าสนใจกว่ากัน อันส่งผลต่อผู้บริโภคสินค้าภายใต้แบบผลิตภัณฑ์นั้น ๆ และเป็นสิ่งที่กฎหมายคุ้มครอง
++ เห็นว่า ปัญหานี้พระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522 มาตรา 56 หรือ 57 บัญญัติให้การออกแบบผลิตภัณฑ์ที่จะขอรับสิทธิบัตรได้ต้องเป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ กล่าวคือ
ต้องไม่เป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่มีหรือใช้แพร่หลายอยู่แล้วในราชอาณาจักรก่อนวันขอรับสิทธิบัตร
ต้องไม่เป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ได้มีการเปิดเผยภาพสาระสำคัญ หรือรายละเอียดในเอกสารหรือสิ่งพิมพ์ที่ได้เผยแพร่อยู่แล้วไม่ว่าในหรือนอกราชอาณาจักรก่อนวันขอรับสิทธิบัตร
ต้องไม่เป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่เคยมีประกาศโฆษณาตามมาตรา 65 ประกอบด้วยมาตรา 28มาแล้วก่อนวันขอรับสิทธิบัตร
และต้องไม่เป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่คล้ายกับแบบผลิตภัณฑ์ที่มีหรือใช้แพร่หลายอยู่แล้วในราชอาณาจักรหรือที่ได้มีการเปิดเผยภาพ สาระสำคัญ หรือรายละเอียดในเอกสารหรือสิ่งพิมพ์ที่ได้เผยแพร่อยู่แล้วไม่ว่าในหรือนอกราชอาณาจักรหรือที่เคยมีประกาศโฆษณาดังกล่าวก่อนวันขอรับสิทธิบัตร
และมาตรา 59 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติเดียวกันได้บัญญัติให้ผู้ขอรับสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ต้องระบุข้อถือสิทธิโดยชัดแจ้งและภาพแสดงแบบผลิตภัณฑ์ในคำขอรับสิทธิบัตรด้วย
++ ดังนี้การพิจารณาว่าการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ขอรับสิทธิบัตรเป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่หรือไม่จึงต้องพิจารณาจากข้อถือสิทธิในการออกแบบผลิตภัณฑ์และภาพแสดงแบบผลิตภัณฑ์ในคำขอรับสิทธิบัตรว่าผู้ขอรับสิทธิบัตรขอถือสิทธิในแบบผลิตภัณฑ์เพื่อให้ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายในส่วนใดเปรียบเทียบกับแบบผลิตภัณฑ์ที่มีหรือใช้แพร่หลายอยู่แล้วในราชอาณาจักร แบบผลิตภัณฑ์ที่ได้มีการเปิดเผยภาพ สาระสำคัญ หรือรายละเอียดในเอกสารหรือสิ่งพิมพ์ที่ได้เผยแพร่อยู่แล้วในและนอกราชอาณาจักร และแบบผลิตภัณฑ์ที่เคยมีประกาศโฆษณาตามพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522 มาตรา 65 ประกอบด้วยมาตรา 28 มาแล้วก่อนวันขอรับสิทธิบัตรว่าข้อถือสิทธิตามคำขอรับสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์เหมือนหรือคล้ายกับแบบผลิตภัณฑ์ดังกล่าวจนเห็นได้ว่าเป็นการเลียนแบบหรือไม่ หาใช่ต้องพิจารณาจากภาพรวมของแบบผลิตภัณฑ์ตามคำขอรับสิทธิบัตรทั้งหมดเปรียบเทียบกับแบบผลิตภัณฑ์ที่ปรากฏอยู่ก่อนแล้วดังกล่าวไม่
++ คำว่า "แบบผลิตภัณฑ์"ตามมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522 หมายความว่ารูปร่างของผลิตภัณฑ์ หรือองค์ประกอบของลวดลาย หรือสีของผลิตภัณฑ์อันมีลักษณะพิเศษสำหรับผลิตภัณฑ์ซึ่งสามารถใช้เป็นแบบสำหรับผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมรวมทั้งหัตถกรรมได้ สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์จึงเป็นการให้ความคุ้มครองแก่ลักษณะภายนอกของผลิตภัณฑ์อันได้แก่ รูปร่างของผลิตภัณฑ์ลักษณะลวดลายหรือสีของผลิตภัณฑ์อันมีลักษณะพิเศษตามที่ปรากฏ
++ ในข้อถือสิทธิโจทก์นำสืบว่า ข้อถือสิทธิตามสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ "ปลอกหุ้มพวงมาลัยรถ" เลขที่ 4956 ของจำเลยซึ่งจำเลยยื่นคำขอรับสิทธิบัตรเมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2536 คือลักษณะลวดลายของปลอกหุ้มพวงมาลัยรถดังปรากฏตามรูปดังต่อไปนี้
+++++++++ ++++++++++ +++++++++
++
ส่วนแบบผลิตภัณฑ์ที่ได้มีการเปิดเผยภาพ สาระสำคัญ หรือรายละเอียดในสิ่งพิมพ์ที่ได้เผยแพร่อยู่แล้วนอกราชอาณาจักรก่อนวันที่จำเลยยื่นคำขอรับสิทธิบัตรดังกล่าว ปรากฏตามภาพโฆษณาสินค้าปลอกหุ้มพวงมาลัยรถยนต์ในนิตยสาร "Hardwares" ประจำเดือนพฤศจิกายน 2534 เดือนเมษายน2535 เดือนกรกฎาคม 2535 เดือนตุลาคม 2535 และเดือนพฤศจิกายน2535 จำนวน 5 เล่ม เอกสารหมาย จ.7 ถึง จ.11 คือภาพ
+++++ +++++ +++++ +++++ +++++ +++++
++ตามลำดับ
เมื่อเปรียบเทียบข้อถือสิทธิการออกแบบผลิตภัณฑ์ของจำเลยกับแบบผลิตภัณฑ์ที่ปรากฏอยู่แล้วดังกล่าว จะเห็นได้ว่า
ลักษณะพิเศษของลวดลายปลอกหุ้มพวงมาลัยรถตามข้อถือสิทธิการออกแบบผลิตภัณฑ์ของจำเลยอยู่ที่ปุ่มนูนเรียงเป็นแถวหลายแถวรวม 3 แห่ง มีความยาวเท่ากันและห่างกันในระยะเท่ากัน โดยมีลักษณะโค้งไปตามแนววงกลมของพวงมาลัยรถซึ่งมีสีดำ
ส่วนพื้นที่นอกเหนือจากปุ่มนูนเป็นพื้นเรียบสีเขียวมีจุดขาวหลายจุด
ลักษณะพิเศษของลวดลายปลอกหุ้มพวงมาลัยรถตามข้อถือสิทธิดังกล่าวเหมือนกับปุ่มนูนเรียงเป็นแถวหลายแถวรวม 3 แห่งมีความยาวเท่ากันและห่างกันในระยะเท่ากันโดยมีลักษณะโค้งไปตามแนววงกลมของพวงมาลัยรถซึ่งมีสีดำตามภาพแบบผลิตภัณฑ์ในนิตยสาร"Hardwares" ที่เผยแพร่อยู่แล้วนอกราชอาณาจักรก่อนที่จำเลยจะยื่นคำขอรับสิทธิบัตรดังกล่าว
ซึ่งเห็นได้ชัดว่าลักษณะปุ่มนูนดังกล่าวเป็นลักษณะเด่นหรือลักษณะพิเศษอันเป็นสาระสำคัญของแบบผลิตภัณฑ์ปลอกหุ้มพวงมาลัยรถตามเอกสารหมาย จ.7ถึง จ.11 เช่นกัน
ลักษณะลวดลายของแบบผลิตภัณฑ์ตามข้อถือสิทธิของจำเลยต่างกับลักษณะลวดลายของแบบผลิตภัณฑ์ตามภาพในเอกสารหมายจ.7 ถึง จ.11 เฉพาะในส่วนที่เป็นพื้นเรียบนอกจากปุ่มนูนโดยมีสีต่างกันและบางแบบผลิตภัณฑ์ไม่มีจุดสีขาวอย่างแบบผลิตภัณฑ์ของจำเลยเท่านั้น
การออกแบบผลิตภัณฑ์ "ปลอกหุ้มพวงมาลัยรถ" ตามข้อถือสิทธิของจำเลยจึงไม่ถือว่าเป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่
เพราะแบบผลิตภัณฑ์ดังกล่าวของจำเลยเป็นแบบผลิตภัณฑ์ที่คล้ายกับแบบผลิตภัณฑ์ที่ได้มีการเปิดเผยภาพสาระสำคัญ หรือรายละเอียดในเอกสารหรือสิ่งพิมพ์ที่ได้เผยแพร่อยู่แล้วนอกราชอาณาจักรก่อนวันที่จำเลยขอรับสิทธิบัตรจนเห็นได้ว่าเป็นการเลียนแบบตามมาตรา 57 แห่งพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522
สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ "ปลอกหุ้มพวงมาลัยรถ" เลขที่ 4956ของจำเลยย่อมเป็นสิทธิบัตรที่ออกไปโดยไม่ชอบด้วยมาตรา 56 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว ซึ่งบัญญัติว่า "การออกแบบผลิตภัณฑ์ที่จะขอรับสิทธิบัตรตามพระราชบัญญัตินี้ได้ต้องเป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่เพื่ออุตสาหกรรมรวมทั้งหัตถกรรม" และถือว่าเป็นสิทธิบัตรไม่สมบูรณ์ ตามพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522 มาตรา 64 วรรคหนึ่ง
โจทก์ซึ่งเป็นผู้ผลิตปลอกหุ้มพวงมาลัยรถยนต์ออกจำหน่ายภายใต้เครื่องหมายการค้า ++++++++++มีลักษณะเป็นปลอกหุ้มพวงมาลัยรถทรงกลมเป็นวง ไส้กลางกลวง เป็นยางห่อหุ้มด้วยปุ่มนูนเป็นหนัง พี.วี.ซี. ขอบตรง มีปุ่มนูนรวมเป็นกลุ่ม 3 แห่งสลับกับพื้นเรียบ ตามภาพถ่ายหมาย จ.3 คือภาพดังต่อไปนี้
++++++++ ++++++++ +++++++++
++++++++ ++++++++ +++++++++
+ปลอกหุ้มพวงมาลัยรถของโจทก์ดังกล่าวมีลักษณะคล้ายกับปลอกหุ้มพวงมาลัยรถตามข้อถือสิทธิในสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ เลขที่ 4956 ของจำเลยจนเห็นได้ว่าเป็นการเลียนแบบ จำเลยแจ้งให้เจ้าพนักงานตำรวจดำเนินคดีอาญาแก่โจทก์ในข้อหาละเมิดสิทธิบัตรของจำเลย ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายเพราะไม่มีร้านค้าใดกล้าสั่งซื้อสินค้าปลอกหุ้มพวงมาลัยรถยนต์ของโจทก์ โจทก์จึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียที่มีสิทธิฟ้องต่อศาลให้เพิกถอนสิทธิบัตรของจำเลยได้ตามพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522 มาตรา 64 วรรคสอง
++ ส่วนที่จำเลยอ้างว่า แบบผลิตภัณฑ์ตามสิทธิบัตรของจำเลยเป็นแบบผลิตภัณฑ์ที่นายสุรศักดิ์ ธีระไชยกุล ออกแบบคิดประดิษฐ์ขึ้นเองโดยชอบ มิได้ลอกเลียนจากแบบผลิตภัณฑ์ใดที่ปรากฏอยู่ก่อนแล้วนั้น
เห็นว่า แม้ข้อเท็จจริงจะเป็นดังที่จำเลยอ้างและแบบผลิตภัณฑ์ของจำเลยคล้ายกับแบบผลิตภัณฑ์ที่ปรากฏอยู่แล้วจนเห็นได้ว่าเป็นการเลียนแบบโดยบังเอิญ จำเลยก็ไม่อาจขอรับสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ "ปลอกหุ้มพวงมาลัยรถ" ของจำเลยได้
เพราะการออกแบบผลิตภัณฑ์ของจำเลยไม่ถือว่าเป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ตามพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522 มาตรา 57 ดังได้วินิจฉัยแล้ว
ดังนี้ เมื่อสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ดังกล่าวของจำเลยเป็นสิทธิบัตรที่ไม่สมบูรณ์ การออกแบบผลิตภัณฑ์ปลอกหุ้มพวงมาลัยรถของจำเลยตามสิทธิบัตรนั้งจึงไม่ได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522 จำเลยย่อมไม่อาจเรียกให้โจทก์ชดใช้ค่าเสียหายและค่าขาดประโยชน์แก่จำเลยโดยอ้างว่าโจทก์กระทำละเมิดต่อจำเลยได้ ++
++ ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางวินิจฉัยว่า การออกแบบผลิตภัณฑ์ปลอกหุ้มพวงมาลัยรถของจำเลยไม่ถือว่าเป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ "ปลอกหุ้มพวงมาลัยรถ" เลขที่ 4956ของจำเลยไม่สมบูรณ์ พิพากษาให้เพิกถอนสิทธิบัตรดังกล่าว นั้นชอบแล้ว ++
++ พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นนี้ให้เป็นพับ. ++
++ ทดสอบทำงานในเครื่อง ++
++
++ พิเคราะห์แล้ว ข้อเท็จจริงเบื้องต้นที่คู่ความทั้งสองฝ่ายมิได้โต้แย้งกันในชั้นนี้ฟังได้ว่า
++ โจทก์เป็นผู้ผลิตปลอกหุ้มพวงมาลัยรถยนต์ออกจำหน่ายภายใต้เครื่องหมายการค้าเป็นรูปและคำ คือ เครื่องหมายการค้า++++++++++++ มีลักษณะเป็นปลอกหุ้มพวงมาลัยรถทรงกลมเป็นวงไส้กลางกลวง เป็นยางห่อหุ้มด้วยปุ่มนูนเป็นหนัง พี.วี.ซี. ขอบตรง ปุ่มนูนรวมเป็นกลุ่มรวม 3 แห่ง สลับกับพื้นเรียบตามภาพถ่ายหมาย จ.3 คือภาพดังต่อไปนี้
++++++++++ ++++++++ +++++++++
+++++++++ ++++++++ +++++++++
++
++ จำเลยเป็นเจ้าของแบบผลิตภัณฑ์ปลอกหุ้มพวงมาลัยรถมีลักษณะเป็นปลอกหุ้มทรงกลม ไส้กลางกลวง มีปุ่มนูนขอบเฉียงเป็นกลุ่มรวม 3 กลุ่ม ระยะห่างเท่า ๆ กัน ส่วนที่เหลือเป็นพื้นเรียบเจาะรูเป็นจุดขาว ตามคำขอรับสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ "ปลอกหุ้มพวงมาลัยรถ" เอกสารหมาย ล.4 โดยจำเลยได้นำแบบปลอกหุ้มพวงมาลัยรถดังกล่าวไปยื่นคำขอรับสิทธิบัตรออกแบบผลิตภัณฑ์เมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2536 เป็นคำขอเลขที่ 019798 โดยมีข้อถือสิทธิในลักษณะลวดลายของปลอกหุ้มพวงมาลัยรถดังปรากฏตามรูปต่อไปนี้
+++++++ ++++++++++++ ++++++++++
++ซึ่งกรมทรัพย์สินทางปัญญาอนุมัติคำขอของจำเลยเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2538เป็นทะเบียนเลขที่ 4956
++ ต่อมาจำเลยแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนกล่าวหาว่า บริษัทอินเตอร์สตาร์ออโต้โปรดักซ์ จำกัด ละเมิดสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ "ปลอกหุ้มพวงมาลัยรถ" ของจำเลย และเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน2540 จำเลยนำร้อยตำรวจโทอภิชาติ อภิชานนท์ ไปตรวจค้นบ้านเลขที่26/82-83 ถนนจรัญสนิทวงศ์ แขวงท่าพระ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร ได้ปลอกหุ้มพวงมาลัยรถที่โจทก์เป็นเจ้าของผู้ผลิตจำนวน 3,184 เส้นพนักงานสอบสวนแจ้งข้อหาแก่บริษัทอินเตอร์สตาร์ออโต้โปรดักซ์ จำกัด ซึ่งมีโจทก์เป็นกรรมการ โจทก์ และนางอุษา อัศวพิภพหรือลิขิตรัตนดารา ว่าร่วมกันขาย เสนอขาย หรือมีไว้เพื่อขายซึ่งผลิตภัณฑ์ตามสิทธิบัตรโดยไม่รับอนุญาตจากผู้ทรงสิทธิบัตร ในที่สุดพนักงานอัยการมีคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องแล้วตามหนังสือแจ้งคำสั่งไม่ฟ้องเอกสารหมาย จ.39
++
++ มีปัญหาต้องวินิจฉัยประการแรกว่า คำฟ้องของโจทก์เคลือบคลุมหรือไม่
++ จำเลยอุทธรณ์ว่า โจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องให้เห็นว่าแบบผลิตภัณฑ์ที่อ้างว่าได้มีการเปิดเผยสาระสำคัญหรือรายละเอียดในเอกสารหรือสิ่งพิมพ์ที่ได้เผยแพร่อยู่แล้วนั้น ได้มีการเปิดเผยในเอกสารหรือสิ่งพิมพ์ใด ลักษณะของแบบผลิตภัณฑ์ที่เปิดเผยดังกล่าวมีลักษณะอย่างไร ทำให้จำเลยไม่สามารถเปรียบเทียบแบบผลิตภัณฑ์ของจำเลยกับแบบผลิตภัณฑ์ที่โจทก์อ้างได้ เพราะการพิจารณาว่าแบบผลิตภัณฑ์ที่ขอรับสิทธิบัตรเป็นแบบผลิตภัณฑ์ใหม่หรือไม่ต้องเกิดจากการเปรียบเทียบแบบผลิตภัณฑ์ที่ขอรับสิทธิบัตรนั้นกับแบบผลิตภัณฑ์ซึ่งเป็นงานที่ปรากฏอยู่ก่อนแล้ว
++ เห็นว่า ในข้อนี้โจทก์บรรยายฟ้องว่า แบบผลิตภัณฑ์ของจำเลยมีสีดำ มีปุ่มนูนเรียงเป็นแถวหลายแถวรวม 3 แห่ง พื้นที่นอกเหนือจากปุ่มนูนเป็นพื้นเรียบมีจุดขาวทั่วไป ลักษณะของแบบผลิตภัณฑ์ดังกล่าวได้มีการเปิดเผยภาพ สาระสำคัญหรือรายละเอียดในเอกสารหรือสิ่งพิมพ์ที่ได้เปิดเผยอยู่แล้วในหรือนอกราชอาณาจักรก่อนที่จำเลยจะขอรับสิทธิบัตรและจำเลยได้ลอกเลียนซึ่งลักษณะลวดลายของแบบผลิตภัณฑ์นั้นในส่วนที่เป็นสาระสำคัญจนเห็นได้ว่าเป็นการเลียนแบบดังกล่าวมาขอรับสิทธิบัตร แบบผลิตภัณฑ์ของจำเลยจึงไม่อาจถือว่าเป็นแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ สิทธิบัตรของจำเลยจึงไม่สมบูรณ์ โจทก์เป็นผู้ผลิตและจำหน่ายปลอกหุ้มพวงมาลัยรถยนต์แต่ถูกจำเลยกลั่นแกล้งกล่าวหาว่าสินค้าปลอกหุ้มพวงมาลัยรถยนต์ของโจทก์เป็นสินค้าที่ละเมิดสิทธิบัตรของจำเลย ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายเพราะไม่มีร้านค้าใดกล้าสั่งซื้อสินค้าของโจทก์ โจทก์จึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียในสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์อันไม่สมบูรณ์ของจำเลย ขอให้เพิกถอนสิทธิบัตรดังกล่าวของจำเลย
++ ดังนี้ แม้โจทก์จะไม่ได้บรรยายฟ้องโดยเฉพาะเจาะจงว่าแบบผลิตภัณฑ์ที่ได้มีการเปิดเผยแล้วมีสีและลักษณะอย่างไร แต่โจทก์ก็ได้บรรยายฟ้องไว้แจ้งชัดแล้วว่า แบบผลิตภัณฑ์ของจำเลยมีสีและลักษณะอย่างไร คำฟ้องของโจทก์จึงได้แสดงให้พอเข้าใจได้แล้วว่าแบบผลิตภัณฑ์ที่ได้มีการเปิดเผยสาระสำคัญหรือรายละเอียดในเอกสารหรือสิ่งพิมพ์ที่ได้เผยแพร่อยู่แล้วมีลักษณะอย่างไร ซึ่งจำเลยก็ได้ให้การต่อสู้ต่อไปว่า คำฟ้องของโจทก์ดังกล่าวไม่มีมูลความจริง แบบผลิตภัณฑ์ตามสิทธิบัตรของจำเลยเป็นแบบผลิตภัณฑ์ที่นายสุรศักดิ์ ธีระไชยกุล ออกแบบคิดประดิษฐ์ขึ้นเองโดยชอบ มิได้ลอกเลียนจากแบบผลิตภัณฑ์ใดที่มีปรากฏอยู่ก่อนแล้ว แสดงว่าจำเลยเข้าใจคำฟ้องของโจทก์จึงสามารถให้การต่อสู้คดีได้เช่นนั้น
++ ส่วนข้อเท็จจริงที่ว่า แบบผลิตภัณฑ์ที่ได้เปิดแผยแล้วได้เปิดเผยในเอกสารหรือสิ่งพิมพ์ใดนั้น เป็นข้อเท็จจริงที่โจทก์สามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณา
++ คำฟ้องของโจทก์จึงเป็นคำฟ้องที่แสดงให้พอเข้าใจได้ถึงสภาพแห่งข้อหา ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาและคำขอบังคับ ถือได้ว่าเป็นคำฟ้องที่ชอบด้วยกฎหมาย ตามข้อกำหนดคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2540 ข้อ 6และพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539มาตรา 26 และ 30 แล้ว ++
++
++ มีปัญหาต้องวินิจฉัยประการที่ 2 ว่า สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ "ปลอกหุ้มพวงมาลัยรถ" เลขที่ 4956 ของจำเลยเป็นแบบผลิตภัณฑ์ใหม่หรือไม่
++ จำเลยอุทธรณ์ว่า การพิจารณาว่าแบบผลิตภัณฑ์หนึ่งแตกต่างจากแบบผลิตภัณฑ์ซึ่งเป็นงานที่ปรากฏอยู่ก่อนหรือไม่ ชอบที่จะพิจารณาจากภาพรวมของแบบผลิตภัณฑ์ซึ่งรวมถึงรายละเอียดของแบบผลิตภัณฑ์ที่นำมาเปรียบเทียบกัน มิใช่พิจารณาแต่เพียงโครงสร้างหลักของแบบผลิตภัณฑ์ดังนั้น ลำพังแต่ข้อเท็จจริงว่าแบบผลิตภัณฑ์ตามสิทธิบัตรเอกสารหมาย ล.4มีโครงสร้างหลักคือการนำปุ่มยางมาใช้รวม 3 แห่ง วางสลับกับส่วนที่เป็นพื้นเรียบ ย่อมไม่เพียงพอที่จะให้รับฟังว่าแบบผลิตภัณฑ์ตามสิทธิบัตรเอกสารหมาย ล.4 ของจำเลยเป็นแบบผลิตภัณฑ์เดียวกันหรือเหมือนหรือคล้ายกันจนเป็นการเลียนแบบภาพสินค้าเอกสารหมาย จ.7 ถึง จ.11 ซึ่งไม่ถูกต้องและไม่ตรงตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522 ที่ให้พิจารณาความใหม่ของแบบผลิตภัณฑ์จากความแตกต่างของผลิตภัณฑ์หนึ่งกับอีกแบบผลิตภัณฑ์หนึ่งเพื่อส่งเสริมให้มีการพัฒนาแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ขึ้น แต่มิใช่พิจารณาความใหม่เฉพาะจากสิ่งที่เป็นโครงสร้างหลักของแบบผลิตภัณฑ์เท่านั้น การพิจารณารายละเอียดหรือภาพรวมของแบบผลิตภัณฑ์จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งในการพิจารณาความใหม่ของผลิตภัณฑ์ เพราะภาพรวมหรือรายละเอียดที่แตกต่างกันอย่างเพียงพอของแบบผลิตภัณฑ์หนึ่งกับอีกแบบผลิตภัณฑ์หนึ่งจะเป็นเครื่องชี้สำคัญที่ทำให้แบบผลิตภัณฑ์นั้นแตกต่างกัน หรือเป็นแบบผลิตภัณฑ์ที่สะดุดตาน่าสนใจกว่ากัน อันส่งผลต่อผู้บริโภคสินค้าภายใต้แบบผลิตภัณฑ์นั้น ๆ และเป็นสิ่งที่กฎหมายคุ้มครอง
++ เห็นว่า ปัญหานี้พระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522 มาตรา 56 หรือ 57 บัญญัติให้การออกแบบผลิตภัณฑ์ที่จะขอรับสิทธิบัตรได้ต้องเป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ กล่าวคือ
ต้องไม่เป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่มีหรือใช้แพร่หลายอยู่แล้วในราชอาณาจักรก่อนวันขอรับสิทธิบัตร
ต้องไม่เป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ได้มีการเปิดเผยภาพสาระสำคัญ หรือรายละเอียดในเอกสารหรือสิ่งพิมพ์ที่ได้เผยแพร่อยู่แล้วไม่ว่าในหรือนอกราชอาณาจักรก่อนวันขอรับสิทธิบัตร
ต้องไม่เป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่เคยมีประกาศโฆษณาตามมาตรา 65 ประกอบด้วยมาตรา 28มาแล้วก่อนวันขอรับสิทธิบัตร
และต้องไม่เป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่คล้ายกับแบบผลิตภัณฑ์ที่มีหรือใช้แพร่หลายอยู่แล้วในราชอาณาจักรหรือที่ได้มีการเปิดเผยภาพ สาระสำคัญ หรือรายละเอียดในเอกสารหรือสิ่งพิมพ์ที่ได้เผยแพร่อยู่แล้วไม่ว่าในหรือนอกราชอาณาจักรหรือที่เคยมีประกาศโฆษณาดังกล่าวก่อนวันขอรับสิทธิบัตร
และมาตรา 59 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติเดียวกันได้บัญญัติให้ผู้ขอรับสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ต้องระบุข้อถือสิทธิโดยชัดแจ้งและภาพแสดงแบบผลิตภัณฑ์ในคำขอรับสิทธิบัตรด้วย
++ ดังนี้การพิจารณาว่าการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ขอรับสิทธิบัตรเป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่หรือไม่จึงต้องพิจารณาจากข้อถือสิทธิในการออกแบบผลิตภัณฑ์และภาพแสดงแบบผลิตภัณฑ์ในคำขอรับสิทธิบัตรว่าผู้ขอรับสิทธิบัตรขอถือสิทธิในแบบผลิตภัณฑ์เพื่อให้ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายในส่วนใดเปรียบเทียบกับแบบผลิตภัณฑ์ที่มีหรือใช้แพร่หลายอยู่แล้วในราชอาณาจักร แบบผลิตภัณฑ์ที่ได้มีการเปิดเผยภาพ สาระสำคัญ หรือรายละเอียดในเอกสารหรือสิ่งพิมพ์ที่ได้เผยแพร่อยู่แล้วในและนอกราชอาณาจักร และแบบผลิตภัณฑ์ที่เคยมีประกาศโฆษณาตามพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522 มาตรา 65 ประกอบด้วยมาตรา 28 มาแล้วก่อนวันขอรับสิทธิบัตรว่าข้อถือสิทธิตามคำขอรับสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์เหมือนหรือคล้ายกับแบบผลิตภัณฑ์ดังกล่าวจนเห็นได้ว่าเป็นการเลียนแบบหรือไม่ หาใช่ต้องพิจารณาจากภาพรวมของแบบผลิตภัณฑ์ตามคำขอรับสิทธิบัตรทั้งหมดเปรียบเทียบกับแบบผลิตภัณฑ์ที่ปรากฏอยู่ก่อนแล้วดังกล่าวไม่
++ คำว่า "แบบผลิตภัณฑ์"ตามมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522 หมายความว่ารูปร่างของผลิตภัณฑ์ หรือองค์ประกอบของลวดลาย หรือสีของผลิตภัณฑ์อันมีลักษณะพิเศษสำหรับผลิตภัณฑ์ซึ่งสามารถใช้เป็นแบบสำหรับผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมรวมทั้งหัตถกรรมได้ สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์จึงเป็นการให้ความคุ้มครองแก่ลักษณะภายนอกของผลิตภัณฑ์อันได้แก่ รูปร่างของผลิตภัณฑ์ลักษณะลวดลายหรือสีของผลิตภัณฑ์อันมีลักษณะพิเศษตามที่ปรากฏ
++ ในข้อถือสิทธิโจทก์นำสืบว่า ข้อถือสิทธิตามสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ "ปลอกหุ้มพวงมาลัยรถ" เลขที่ 4956 ของจำเลยซึ่งจำเลยยื่นคำขอรับสิทธิบัตรเมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2536 คือลักษณะลวดลายของปลอกหุ้มพวงมาลัยรถดังปรากฏตามรูปดังต่อไปนี้
+++++++++ ++++++++++ +++++++++
++
ส่วนแบบผลิตภัณฑ์ที่ได้มีการเปิดเผยภาพ สาระสำคัญ หรือรายละเอียดในสิ่งพิมพ์ที่ได้เผยแพร่อยู่แล้วนอกราชอาณาจักรก่อนวันที่จำเลยยื่นคำขอรับสิทธิบัตรดังกล่าว ปรากฏตามภาพโฆษณาสินค้าปลอกหุ้มพวงมาลัยรถยนต์ในนิตยสาร "Hardwares" ประจำเดือนพฤศจิกายน 2534 เดือนเมษายน2535 เดือนกรกฎาคม 2535 เดือนตุลาคม 2535 และเดือนพฤศจิกายน2535 จำนวน 5 เล่ม เอกสารหมาย จ.7 ถึง จ.11 คือภาพ
+++++ +++++ +++++ +++++ +++++ +++++
++ตามลำดับ
เมื่อเปรียบเทียบข้อถือสิทธิการออกแบบผลิตภัณฑ์ของจำเลยกับแบบผลิตภัณฑ์ที่ปรากฏอยู่แล้วดังกล่าว จะเห็นได้ว่า
ลักษณะพิเศษของลวดลายปลอกหุ้มพวงมาลัยรถตามข้อถือสิทธิการออกแบบผลิตภัณฑ์ของจำเลยอยู่ที่ปุ่มนูนเรียงเป็นแถวหลายแถวรวม 3 แห่ง มีความยาวเท่ากันและห่างกันในระยะเท่ากัน โดยมีลักษณะโค้งไปตามแนววงกลมของพวงมาลัยรถซึ่งมีสีดำ
ส่วนพื้นที่นอกเหนือจากปุ่มนูนเป็นพื้นเรียบสีเขียวมีจุดขาวหลายจุด
ลักษณะพิเศษของลวดลายปลอกหุ้มพวงมาลัยรถตามข้อถือสิทธิดังกล่าวเหมือนกับปุ่มนูนเรียงเป็นแถวหลายแถวรวม 3 แห่งมีความยาวเท่ากันและห่างกันในระยะเท่ากันโดยมีลักษณะโค้งไปตามแนววงกลมของพวงมาลัยรถซึ่งมีสีดำตามภาพแบบผลิตภัณฑ์ในนิตยสาร"Hardwares" ที่เผยแพร่อยู่แล้วนอกราชอาณาจักรก่อนที่จำเลยจะยื่นคำขอรับสิทธิบัตรดังกล่าว
ซึ่งเห็นได้ชัดว่าลักษณะปุ่มนูนดังกล่าวเป็นลักษณะเด่นหรือลักษณะพิเศษอันเป็นสาระสำคัญของแบบผลิตภัณฑ์ปลอกหุ้มพวงมาลัยรถตามเอกสารหมาย จ.7ถึง จ.11 เช่นกัน
ลักษณะลวดลายของแบบผลิตภัณฑ์ตามข้อถือสิทธิของจำเลยต่างกับลักษณะลวดลายของแบบผลิตภัณฑ์ตามภาพในเอกสารหมายจ.7 ถึง จ.11 เฉพาะในส่วนที่เป็นพื้นเรียบนอกจากปุ่มนูนโดยมีสีต่างกันและบางแบบผลิตภัณฑ์ไม่มีจุดสีขาวอย่างแบบผลิตภัณฑ์ของจำเลยเท่านั้น
การออกแบบผลิตภัณฑ์ "ปลอกหุ้มพวงมาลัยรถ" ตามข้อถือสิทธิของจำเลยจึงไม่ถือว่าเป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่
เพราะแบบผลิตภัณฑ์ดังกล่าวของจำเลยเป็นแบบผลิตภัณฑ์ที่คล้ายกับแบบผลิตภัณฑ์ที่ได้มีการเปิดเผยภาพสาระสำคัญ หรือรายละเอียดในเอกสารหรือสิ่งพิมพ์ที่ได้เผยแพร่อยู่แล้วนอกราชอาณาจักรก่อนวันที่จำเลยขอรับสิทธิบัตรจนเห็นได้ว่าเป็นการเลียนแบบตามมาตรา 57 แห่งพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522
สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ "ปลอกหุ้มพวงมาลัยรถ" เลขที่ 4956ของจำเลยย่อมเป็นสิทธิบัตรที่ออกไปโดยไม่ชอบด้วยมาตรา 56 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว ซึ่งบัญญัติว่า "การออกแบบผลิตภัณฑ์ที่จะขอรับสิทธิบัตรตามพระราชบัญญัตินี้ได้ต้องเป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่เพื่ออุตสาหกรรมรวมทั้งหัตถกรรม" และถือว่าเป็นสิทธิบัตรไม่สมบูรณ์ ตามพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522 มาตรา 64 วรรคหนึ่ง
โจทก์ซึ่งเป็นผู้ผลิตปลอกหุ้มพวงมาลัยรถยนต์ออกจำหน่ายภายใต้เครื่องหมายการค้า ++++++++++มีลักษณะเป็นปลอกหุ้มพวงมาลัยรถทรงกลมเป็นวง ไส้กลางกลวง เป็นยางห่อหุ้มด้วยปุ่มนูนเป็นหนัง พี.วี.ซี. ขอบตรง มีปุ่มนูนรวมเป็นกลุ่ม 3 แห่งสลับกับพื้นเรียบ ตามภาพถ่ายหมาย จ.3 คือภาพดังต่อไปนี้
++++++++ ++++++++ +++++++++
++++++++ ++++++++ +++++++++
+ปลอกหุ้มพวงมาลัยรถของโจทก์ดังกล่าวมีลักษณะคล้ายกับปลอกหุ้มพวงมาลัยรถตามข้อถือสิทธิในสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ เลขที่ 4956 ของจำเลยจนเห็นได้ว่าเป็นการเลียนแบบ จำเลยแจ้งให้เจ้าพนักงานตำรวจดำเนินคดีอาญาแก่โจทก์ในข้อหาละเมิดสิทธิบัตรของจำเลย ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายเพราะไม่มีร้านค้าใดกล้าสั่งซื้อสินค้าปลอกหุ้มพวงมาลัยรถยนต์ของโจทก์ โจทก์จึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียที่มีสิทธิฟ้องต่อศาลให้เพิกถอนสิทธิบัตรของจำเลยได้ตามพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522 มาตรา 64 วรรคสอง
++ ส่วนที่จำเลยอ้างว่า แบบผลิตภัณฑ์ตามสิทธิบัตรของจำเลยเป็นแบบผลิตภัณฑ์ที่นายสุรศักดิ์ ธีระไชยกุล ออกแบบคิดประดิษฐ์ขึ้นเองโดยชอบ มิได้ลอกเลียนจากแบบผลิตภัณฑ์ใดที่ปรากฏอยู่ก่อนแล้วนั้น
เห็นว่า แม้ข้อเท็จจริงจะเป็นดังที่จำเลยอ้างและแบบผลิตภัณฑ์ของจำเลยคล้ายกับแบบผลิตภัณฑ์ที่ปรากฏอยู่แล้วจนเห็นได้ว่าเป็นการเลียนแบบโดยบังเอิญ จำเลยก็ไม่อาจขอรับสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ "ปลอกหุ้มพวงมาลัยรถ" ของจำเลยได้
เพราะการออกแบบผลิตภัณฑ์ของจำเลยไม่ถือว่าเป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ตามพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522 มาตรา 57 ดังได้วินิจฉัยแล้ว
ดังนี้ เมื่อสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ดังกล่าวของจำเลยเป็นสิทธิบัตรที่ไม่สมบูรณ์ การออกแบบผลิตภัณฑ์ปลอกหุ้มพวงมาลัยรถของจำเลยตามสิทธิบัตรนั้งจึงไม่ได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522 จำเลยย่อมไม่อาจเรียกให้โจทก์ชดใช้ค่าเสียหายและค่าขาดประโยชน์แก่จำเลยโดยอ้างว่าโจทก์กระทำละเมิดต่อจำเลยได้ ++
++ ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางวินิจฉัยว่า การออกแบบผลิตภัณฑ์ปลอกหุ้มพวงมาลัยรถของจำเลยไม่ถือว่าเป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ "ปลอกหุ้มพวงมาลัยรถ" เลขที่ 4956ของจำเลยไม่สมบูรณ์ พิพากษาให้เพิกถอนสิทธิบัตรดังกล่าว นั้นชอบแล้ว ++
++ พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นนี้ให้เป็นพับ. ++
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8834/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เครื่องหมายการค้าที่มีชื่อเสียงแพร่หลาย การห้ามจดทะเบียนเครื่องหมายที่คล้ายกัน และการคุ้มครองตามข้อตกลงระหว่างประเทศ
พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 8 (11) เป็นบทบัญญัติห้ามนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าโดยเด็ดขาดมิให้รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่เหมือนและคล้ายกับเครื่องหมายการค้าที่มีชื่อเสียงแพร่หลายทั่วไป จนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหลงผิดในความเป็นเจ้าของหรือแหล่งกำเนิดของสินค้า แม้ว่าเครื่องหมายการค้าที่มีชื่อเสียงแพร่หลายทั่วไปนั้นจะยังไม่ได้รับการจดทะเบียนก็ตาม ในกรณีนี้ประเทศไทยเป็นภาคีสมาชิกในความตกลงระหว่างประเทศ คือข้อตกลงว่าด้วยสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวกับการค้ารวมทั้งที่เกี่ยวกับสินค้าปลอม ในการพิจารณาว่าเครื่องหมายการค้าใดเป็นเครื่องหมายที่มีชื่อเสียงแพร่หลายทั่วไปหรือไม่นั้น จึงให้พิเคราะห์ถึงความเป็นที่รู้จักของเครื่องหมายการค้านั้นในกลุ่มของสาธารณชนส่วนที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งความเป็นที่รู้จักกันในประเทศภาคีสมาชิกนั้นอันเป็นผลเนื่องมาจากการส่งเสริมเครื่องหมายการค้าดังกล่าวด้วย
เมื่อปรากฏว่าเครื่องหมายการค้าทั้งห้าเครื่องหมายของโจทก์ที่ได้รับการจดทะเบียนคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของทีมฟุตบอลต่างประเทศ และโจทก์ได้ใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์กับสินค้าเสื้อกีฬาเช่นเดียวกันกับเครื่องหมายของทีมฟุตบอลต่างประเทศ อาจทำให้สาธารณชนสับสนหลงผิดในความเป็นเจ้าของหรือแหล่งกำเนิดของสินค้า แม้เครื่องหมายการค้าของทีมฟุตบอลต่างประเทศดังกล่าวจะยังมิได้รับการจดทะเบียนในประเทศไทยมาก่อนก็ตาม เครื่องหมายการค้าทั้งห้าของโจทก์ก็ต้องห้ามมิให้รับจดทะเบียนตามบทบัญญัติมาตรา 8 (11) แห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 คำสั่งที่ให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าทั้งห้าของโจทก์จึงเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย
เมื่อปรากฏว่าเครื่องหมายการค้าทั้งห้าเครื่องหมายของโจทก์ที่ได้รับการจดทะเบียนคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของทีมฟุตบอลต่างประเทศ และโจทก์ได้ใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์กับสินค้าเสื้อกีฬาเช่นเดียวกันกับเครื่องหมายของทีมฟุตบอลต่างประเทศ อาจทำให้สาธารณชนสับสนหลงผิดในความเป็นเจ้าของหรือแหล่งกำเนิดของสินค้า แม้เครื่องหมายการค้าของทีมฟุตบอลต่างประเทศดังกล่าวจะยังมิได้รับการจดทะเบียนในประเทศไทยมาก่อนก็ตาม เครื่องหมายการค้าทั้งห้าของโจทก์ก็ต้องห้ามมิให้รับจดทะเบียนตามบทบัญญัติมาตรา 8 (11) แห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 คำสั่งที่ให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าทั้งห้าของโจทก์จึงเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8513/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การละเมิดเครื่องหมายการค้า: การใช้เครื่องหมายการค้าคล้ายกันจนทำให้สาธารณชนสับสน และเจตนาไม่สุจริต
เครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นรูปอูฐประดิษฐ์ตัวเดียวกับอักษรโรมันคำว่า CAMELPAINT และเป็นรูปอูฐตัวเดียวกับอักษรโรมันคำว่าCAMEL BRAND ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยเป็นรูปอูฐ 2 ตัว กับมีอักษรโรมันคำว่า OASIS สิ่งที่มองเห็นได้เด่นชัดคือรูปอูฐ รูปลักษณะของอูฐในเครื่องหมายการค้าของจำเลยอยู่ในท่ายืนและหันหน้าไปทางซ้ายเช่นเดียวกันกับรูปอูฐของโจทก์ อักษรโรมันคำว่า CAMELPAINT และ CAMEL BRAND ของโจทก์กับคำว่า OASIS ของจำเลยดังกล่าวเป็นเพียงส่วนปลีกย่อย สาธารณชนซึ่งส่วนมากไม่สันทัดในภาษาอังกฤษหรืออักษรโรมันย่อมยากที่จะจำแนกถึงความแตกต่างของตัวอักษรคำว่า CAMELPAINTและ CAMEL BRAND กับคำว่า OASIS นอกจากจะยึดถือเอาเครื่องหมายการค้ารูปตราอูฐเป็นสำคัญ ส่วนรูปชาวอาหรับจูงอูฐ และภาพภูเขากับต้นไม้ 2 ต้น หลังตัวอูฐในเครื่องหมายการค้าของจำเลยนั้นมีขนาดเล็กมากเมื่อเทียบกับขนาดของตัวอูฐสาธารณชนเรียกสินค้าของโจทก์และจำเลยว่า สินค้าตราอูฐ เครื่องหมายการค้าของโจทก์กับเครื่องหมายการค้าของจำเลยจึงเหมือนกันหรือคล้ายกันจนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนให้สับสนในความเป็นเจ้าของของสินค้า การที่จำเลยนำเครื่องหมายการค้ารูปตราอูฐของโจทก์ไปใช้เป็นเครื่องหมายการค้าของจำเลยในการจำหน่ายสินค้าจำพวกและชนิดเดียวกันกับสินค้าของโจทก์ทั้ง ๆ ที่จำเลยก็เคยเป็นบริษัทในเครือของบริษัทซึ่งเป็นตัวแทนในการผลิตและจำหน่ายสินค้าของโจทก์ภายใต้เครื่องหมายการค้าตราอูฐมาก่อน ย่อมชี้ชัดว่าจำเลยมีเจตนาไม่สุจริตโดยมุ่งหมายที่จะลวงให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิด เมื่อโจทก์ใช้เครื่องหมายการค้าจดทะเบียนตราอูฐของโจทก์มาก่อนจำเลย โจทก์ย่อมมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนรูปอูฐ 2 ตัว กับคำว่า OASIS ของจำเลยดีกว่าจำเลย โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขอให้ศาลสั่งเพิกถอนทะเบียน และห้ามใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวได้
ปัญหาในเรื่องการละเมิดสิทธิในชื่อทางการค้า ต้องพิจารณาตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 18 ว่า จำเลยนำเอาชื่อของโจทก์ไปใช้เป็นชื่อของจำเลยหรือไม่
ก่อนจำเลยจะเปลี่ยนชื่อเป็นบริษัทสีตราอูฐ (แอล.ที.ซี.)จำกัด จำเลยทราบดีว่าโจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนรูปอูฐและคำว่า CAMELPAINT ซึ่งแปลว่า สีตราอูฐ ใช้กับสินค้าจำพวกสีและผลิตสีชนิดต่าง ๆ ออกจำหน่ายในประเทศไทยภายใต้เครื่องหมายการค้าจดทะเบียนดังกล่าวมาหลายปีจนสาธารณชนเรียกขานสินค้าของโจทก์ว่าสีตราอูฐ การที่จำเลยนำคำว่า CAMELPAINT ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของโจทก์ และคำว่า สีตราอูฐ ซึ่งเป็นความหมายของคำว่า CAMELPAINTมาเป็นส่วนหนึ่งของชื่อและดวงตราของจำเลย กับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ารูปอูฐ 2 ตัว เพื่อใช้กับสินค้าสีซึ่งเป็นสินค้าชนิดเดียวกันกับของโจทก์ย่อมแสดงให้เห็นเจตนาของจำเลยอย่างชัดแจ้งว่า จำเลยประสงค์จะลวงสาธารณชนผู้บริโภคให้สับสนหลงผิดว่าสินค้าสีตราอูฐของจำเลยเป็นสินค้าตราอูฐที่โจทก์ผลิตการใช้ชื่อดังกล่าวของจำเลยจึงเป็นการใช้โดยไม่สุจริต เป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติมาตรา 30 แห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 ซึ่งเป็นบทกฎหมายที่ใช้บังคับในขณะโจทก์ถูกโต้แย้งสิทธิ โจทก์ย่อมมีสิทธิขัดขวางจำเลยมิให้นำส่วนหนึ่งของเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของโจทก์ไปเป็นส่วนหนึ่งของชื่อและดวงตราของจำเลยได้
ปัญหาในเรื่องการละเมิดสิทธิในชื่อทางการค้า ต้องพิจารณาตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 18 ว่า จำเลยนำเอาชื่อของโจทก์ไปใช้เป็นชื่อของจำเลยหรือไม่
ก่อนจำเลยจะเปลี่ยนชื่อเป็นบริษัทสีตราอูฐ (แอล.ที.ซี.)จำกัด จำเลยทราบดีว่าโจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนรูปอูฐและคำว่า CAMELPAINT ซึ่งแปลว่า สีตราอูฐ ใช้กับสินค้าจำพวกสีและผลิตสีชนิดต่าง ๆ ออกจำหน่ายในประเทศไทยภายใต้เครื่องหมายการค้าจดทะเบียนดังกล่าวมาหลายปีจนสาธารณชนเรียกขานสินค้าของโจทก์ว่าสีตราอูฐ การที่จำเลยนำคำว่า CAMELPAINT ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของโจทก์ และคำว่า สีตราอูฐ ซึ่งเป็นความหมายของคำว่า CAMELPAINTมาเป็นส่วนหนึ่งของชื่อและดวงตราของจำเลย กับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ารูปอูฐ 2 ตัว เพื่อใช้กับสินค้าสีซึ่งเป็นสินค้าชนิดเดียวกันกับของโจทก์ย่อมแสดงให้เห็นเจตนาของจำเลยอย่างชัดแจ้งว่า จำเลยประสงค์จะลวงสาธารณชนผู้บริโภคให้สับสนหลงผิดว่าสินค้าสีตราอูฐของจำเลยเป็นสินค้าตราอูฐที่โจทก์ผลิตการใช้ชื่อดังกล่าวของจำเลยจึงเป็นการใช้โดยไม่สุจริต เป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติมาตรา 30 แห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 ซึ่งเป็นบทกฎหมายที่ใช้บังคับในขณะโจทก์ถูกโต้แย้งสิทธิ โจทก์ย่อมมีสิทธิขัดขวางจำเลยมิให้นำส่วนหนึ่งของเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของโจทก์ไปเป็นส่วนหนึ่งของชื่อและดวงตราของจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6283/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้เครื่องหมายการค้าที่คล้ายกันจนทำให้สับสนและหลงผิด ถือเป็นการลวงสาธารณชนและใช้สิทธิโดยไม่สุจริต
เครื่องหมายการค้าของโจทก์คือคำว่า "THEBEACHBOYS" ใช้เป็นเครื่องหมายบริการและเครื่องหมายการค้าสำหรับสินค้าประเภทแผ่นเสียงแถบบันทึกเสียงเครื่องนุ่งห่มและเครื่องแต่งกายได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในประเทศต่างๆหลายประเทศแต่ไม่ได้จดทะเบียนไว้ในประเทศไทยส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยคือคำว่า "BEACHBOYS" เป็นรูปสามเหลี่ยม3รูปวางซ้อนกันโดยสามเหลี่ยมรูปในมีเส้นลวดลายและมีรูปดอกไม้สามดอกมีรูปคนในลักษณะเล่นกระดานโต้คลื่นด้านบนมีอักษรโรมันคำว่า"BEACH" อยู่ในแถบโค้งสีทึบและด้านล่างมีคำว่า "BOYS" อยู่ในรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าตัวอักษรโรมันทั้งสองคำมองเห็นอย่างเด่นชัดเป็นที่สะดุดตาส่วนรูปดอกไม้คนและกระดานโต้คลื่นมองครั้งแรกแทบจะไม่ทราบว่าเป็นอะไรส่วนประกอบสำคัญของเครื่องหมายการค้าของจำเลยจึงอยู่ที่ตัวหนังสือโรมันคำว่า "BEACHBOYS" แม้ว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลยจะไม่มีคำว่า "THE" แต่เมื่อเวลาอ่านออกเสียงจะเน้นหนักตรงคำ บีชบอยส์ ย่อมทำให้ประชาชนผู้ใช้ที่ไม่คุ้นเคยต่อภาษาต่างประเทศฟังหรือเรียกขานเป็นอย่างเดียวกันและเครื่องหมายการค้าของจำเลยใช้กับสินค้าจำพวก38เช่นเดียวกับของโจทก์ประชาชนผู้ซื้อสินค้าอาจเรียกว่า ตราบีชบอยส์เหมือนกันทำให้สับสนและหลงผิดในแหล่งผลิตได้อันนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนการที่จำเลยขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า"BEACHBOYS" กับรูปภาพโดยมีเจตนาเลียนเครื่องหมายการค้าคำว่า "THEBEACHBOYS" ของโจทก์เพื่อแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบจึงเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตไม่มีสิทธิขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3620/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เครื่องหมายการค้าคล้ายกันทำให้ผู้บริโภคสับสน และความรับผิดทางอาญาของผู้มีส่วนร่วม
เครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วมและที่จำเลยทำขึ้นใช้คำว่า"KIKADA" เช่นเดียวกัน โดยแถบป้ายเครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วมใช้ผ้าพื้นสีกรมท่า ตัวอักษรคำว่า KIKADA สีเหลือง ส่วนที่จำเลยทำขึ้นใช้ผ้าพื้นสีขาว ตัวอักษรคำว่า KIKADA สีดำ ซึ่งต่างกันแต่เพียงสีของแถบป้ายกับสีของตัวอักษรและลีลาการเขียนตัวอักษรเท่านั้น แต่ชื่อที่เรียกขานเป็นชื่ออย่างเดียวกัน เครื่องหมายการค้าที่จำเลยทำขึ้นจึงคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วม เมื่อนำมาใช้กับสินค้าประเภทเดียวกันแล้วอาจทำให้ผู้ซื้อหลงผิดว่าเป็นสินค้าของโจทก์ร่วมได้
ในความรับผิดทางอาญา หากนิติบุคคลกระทำความผิดนอกจากนิติบุคคลจะต้องรับผิดแล้ว ผู้ที่มีส่วนในการกระทำความผิดย่อมต้องรับผิดด้วย โดยไม่คำนึงว่าผู้นั้นจะเป็นกรรมการของนิติบุคคลหรือไม่ เมื่อจำเลยเป็นผู้ดำเนินการเกี่ยวกับกิจการของบริษัท ก.จำกัด ที่ยึดได้เครื่องหมายการค้าที่เลียนแบบโจทก์ร่วมเป็นของกลาง จำเลยย่อมมีความผิดทางอาญาด้วย
ในความรับผิดทางอาญา หากนิติบุคคลกระทำความผิดนอกจากนิติบุคคลจะต้องรับผิดแล้ว ผู้ที่มีส่วนในการกระทำความผิดย่อมต้องรับผิดด้วย โดยไม่คำนึงว่าผู้นั้นจะเป็นกรรมการของนิติบุคคลหรือไม่ เมื่อจำเลยเป็นผู้ดำเนินการเกี่ยวกับกิจการของบริษัท ก.จำกัด ที่ยึดได้เครื่องหมายการค้าที่เลียนแบบโจทก์ร่วมเป็นของกลาง จำเลยย่อมมีความผิดทางอาญาด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1480/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้า: กรณีเครื่องหมายการค้าคล้ายกันจนทำให้สาธารณชนสับสน
โจทก์และจำเลยได้ตกลงกันให้จำเลยเป็นผู้มีสิทธิใช้เครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่า Carrena โดยโจทก์จะเลิกใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวกับผลิตภัณฑ์ของโจทก์ ดังนั้น แม้โจทก์จะเคยใช้เครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่าCarrena กับสินค้าของตนมาก่อนจำเลย โจทก์ก็ไม่มีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่า Carrena พร้อมลวดลายประดิษฐ์ของจำเลยได้
เครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่า Canon Mattress ในลักษณะที่มีลวดลายประดิษฐ์ของโจทก์กับเครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่าCannon-mattess พร้อมลวดลายประดิษฐ์และรูปเด็กนอนตามทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยเมื่อเปรียบเทียบกันแล้วปรากฏว่าอักษรโรมันคำว่าCanon-mattess เหมือนกับอักษรโรมันคำว่า Canon Mattress ของโจทก์แทบทุกตัวอักษร มีส่วนแตกต่างกันเฉพาะคำว่า mattess ของจำเลยกับคำว่าMattress ของโจทก์ เพราะของโจทก์มีอักษรโรมันตัว r อยู่ระหว่างตัว t กับตัว e ส่วนของจำเลยนั้นไม่มีตัว r อยู่เลยและตัวอักษร M ของโจทก์เป็นตัวพิมพ์ใหญ่ ส่วนตัวอักษร m ของจำเลยเป็นตัวพิมพ์เล็กเท่านั้น ส่วนประกอบอื่น ๆ เช่นลวดลายประดิษฐ์ก็คล้ายคลึงกัน แม้เครื่องหมายการค้าของจำเลยจะมีรูปเด็กนอนอยู่เหนือคำว่า Canon-mattess และมีคำอ่านว่า คานอนแมทเทส แต่จุดเด่นของเครื่องหมายการค้าของจำเลยก็คืออักษรโรมันคำว่า Canon-mattessซึ่งคล้ายคลึงกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ ฉะนั้น หากไม่นำเครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยมาวางเปรียบเทียบกันดูทุกตัวอักษรแล้ว ประชาชนผู้ซื้อสินค้าก็ยากที่แยกแยะได้ว่าเครื่องหมายการค้ากับสินค้าใดเป็นของโจทก์และเครื่องหมายการค้ากับสินค้าใดเป็นของจำเลย ฉะนั้น เครื่องหมายการค้าคำว่าCanon-mattess ของจำเลยจึงเป็นเครื่องหมายการค้าที่คล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์จนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของสินค้าได้ เมื่อโจทก์ได้ใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์มาก่อนจำเลย โจทก์จึงเป็นผู้มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดังกล่าวและในเครื่องหมาย-การค้าจดทะเบียนของจำเลยดีกว่าจำเลยผู้ที่ได้จดทะเบียนเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้านั้นและเป็นผู้มีส่วนได้เสียที่มีสิทธิฟ้องให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้านี้ได้ ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474มาตรา 41 (1) อันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะเกิดข้อพิพาท
เครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่า Canon Mattress ในลักษณะที่มีลวดลายประดิษฐ์ของโจทก์กับเครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่าCannon-mattess พร้อมลวดลายประดิษฐ์และรูปเด็กนอนตามทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยเมื่อเปรียบเทียบกันแล้วปรากฏว่าอักษรโรมันคำว่าCanon-mattess เหมือนกับอักษรโรมันคำว่า Canon Mattress ของโจทก์แทบทุกตัวอักษร มีส่วนแตกต่างกันเฉพาะคำว่า mattess ของจำเลยกับคำว่าMattress ของโจทก์ เพราะของโจทก์มีอักษรโรมันตัว r อยู่ระหว่างตัว t กับตัว e ส่วนของจำเลยนั้นไม่มีตัว r อยู่เลยและตัวอักษร M ของโจทก์เป็นตัวพิมพ์ใหญ่ ส่วนตัวอักษร m ของจำเลยเป็นตัวพิมพ์เล็กเท่านั้น ส่วนประกอบอื่น ๆ เช่นลวดลายประดิษฐ์ก็คล้ายคลึงกัน แม้เครื่องหมายการค้าของจำเลยจะมีรูปเด็กนอนอยู่เหนือคำว่า Canon-mattess และมีคำอ่านว่า คานอนแมทเทส แต่จุดเด่นของเครื่องหมายการค้าของจำเลยก็คืออักษรโรมันคำว่า Canon-mattessซึ่งคล้ายคลึงกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ ฉะนั้น หากไม่นำเครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยมาวางเปรียบเทียบกันดูทุกตัวอักษรแล้ว ประชาชนผู้ซื้อสินค้าก็ยากที่แยกแยะได้ว่าเครื่องหมายการค้ากับสินค้าใดเป็นของโจทก์และเครื่องหมายการค้ากับสินค้าใดเป็นของจำเลย ฉะนั้น เครื่องหมายการค้าคำว่าCanon-mattess ของจำเลยจึงเป็นเครื่องหมายการค้าที่คล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์จนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของสินค้าได้ เมื่อโจทก์ได้ใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์มาก่อนจำเลย โจทก์จึงเป็นผู้มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดังกล่าวและในเครื่องหมาย-การค้าจดทะเบียนของจำเลยดีกว่าจำเลยผู้ที่ได้จดทะเบียนเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้านั้นและเป็นผู้มีส่วนได้เสียที่มีสิทธิฟ้องให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้านี้ได้ ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474มาตรา 41 (1) อันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะเกิดข้อพิพาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4269/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เครื่องหมายการค้าที่คล้ายกันทำให้ประชาชนหลงผิด โจทก์มีสิทธิเหนือกว่าจำเลย
เครื่องหมายการค้าของจำเลย (DANGS'ORIGINALDESIGNS)แม้ส่วนใหญ่ของตัวอักษร ตลอดจนการเรียกขานจะต่างกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ (DIOR) ซึ่งเรียกขานว่า ดิออร์ส่วนของจำเลยเรียกขานว่า แดงส์ แต่เครื่องหมายการค้าทั้งสองขึ้นต้นด้วยอักษร D ตัวใหญ่ ในลักษณะประดิษฐ์และมีขนาดไล่เลี่ยกันนอกจากนั้นตัวอักษร i,o และ r ที่เรียงต่อจาก d ในเครื่องหมายการค้าของจำเลยเป็นตัวเล็กมีขนาดไล่เลี่ยกัน มีการวางตัวอักษรเป็นแนวโค้งลงด้านล่าง และกลับโค้งขึ้นด้านบนในลักษณะเหมือนกัน ความสำคัญที่เห็นเด่นชัดอยู่ที่อักษร d ซึ่งมีลักษณะเหมือนกัน ส่วนตัวอักษรอื่นตลอดจนกรอบสี่เหลี่ยมเป็นส่วนประกอบหาใช่เป็นข้อแตกต่างที่เห็นเด่นชัดแต่อย่างใดไม่และเครื่องหมายการค้าทั้งสองใช้กับสินค้าประเภทเสื้อผ้าอย่างเดียวกันอันอาจทำให้ประชาชนหลงผิดเมื่อโจทก์ใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า"dior" อ่านว่า ดิออร์ มาก่อน โจทก์ย่อมมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดีกว่าจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3030/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้เครื่องหมายการค้าที่คล้ายกันจนทำให้สาธารณชนสับสน ถือเป็นการละเมิดเครื่องหมายการค้า
เครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นอักษรโรมันว่า "LUCKY"อ่านว่า "ลักกี้ " แปลว่าโชคดี ใช้กับสินค้าที่นอนสปริงในจำพวกสินค้าประเภท 50 ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยเป็นอักษรโรมันว่า "LUXKY" อ่านว่า "ลักกี้" แปลความหมายไม่ได้ ใช้กับสินค้าที่นอนทุกชนิดในจำพวกสินค้าประเภท 41 เครื่องหมายการค้าของโจทก์กับเครื่องหมายการค้าของจำเลยเป็นอักษรโรมัน และจำนวนตัวอักษรเท่ากัน ตัวอักษรต่างกันเฉพาะตัวที่ 3 เท่านั้น แต่คงอ่านออกเสียงเหมือนกัน แม้สินค้าของโจทก์และจำเลยจะจดทะเบียนไว้ต่างจำพวกกันแต่ก็จดทะเบียนสินค้าในประเภทเดียวกันคือที่นอน ทั้งจำเลยก็ผลิตสินค้าประเภทที่นอนออกจำหน่ายเช่นเดียว กับโจทก์ ดังนั้นสาธารณชนย่อมหลงผิดว่า สินค้าของจำเลยคือสินค้าของโจทก์ โจทก์จึงมีสิทธิขอให้บังคับจำเลยงดใช้ เครื่องหมายการค้าคำว่า "LUXKY" และขอเพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวของจำเลยได้