พบผลลัพธ์ทั้งหมด 14 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2860/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรื้อถอนอาคารที่ขัดต่อข้อบัญญัติควบคุมการก่อสร้าง เจ้าของ/ผู้ครอบครองต้องรับผิด แม้ไม่ได้เป็นผู้ก่อสร้าง
โจทก์ฟ้องอ้างเหตุต่าง ๆ ว่า โจทก์ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย จำเลยไม่มีอำนาจออกคำสั่งให้รื้อถอนอาคารพิพาทจำเลยให้การถึงข้อเท็จจริงต่าง ๆ สรุปได้ว่า อาคารพิพาทปลูกสร้างขัดต่อข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่องควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2522 โจทก์เป็นผู้รับโอนกรรมสิทธิ์อาคารหลังจากพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522ใช้บังคับ จึงต้องผูกพันตามกฎหมาย ดังกล่าว เป็นการแก้ข้อกล่าวหาของโจทก์ทุกข้อชัดแจ้งแล้ว ถือไม่ได้ว่าจำเลยยอมรับข้อเท็จจริงตามฟ้องโจทก์ คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มีอำนาจพิจารณาข้ออ้างต่าง ๆของโจทก์ประกอบกับเหตุผลของเจ้าพนักงานท้องถิ่นเพื่อฟังข้อเท็จจริงให้ได้เป็นข้อสรุปแล้วปรับกับข้อกฎหมายที่มีอยู่ในเรื่องนั้น ๆ เมื่อปรับได้แล้วจึงมีคำสั่งจะถือว่าคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มิใช่คู่กรณี จึงไม่อาจยกเหตุผลของเจ้าพนักงานท้องถิ่นขึ้นมาโต้เถียงแทนเจ้าพนักงานท้องถิ่นหาได้ไม่ การปลูกสร้างอาคารพิพาทขัดต่อข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครเรื่อง ควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2522 ข้อ 76(3) เมื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น เห็นว่าเป็นกรณีที่ไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงอาคารพิพาทให้ถูกต้องได้จึงมีอำนาจออกคำสั่งให้รื้อถอน ไม่ว่าอาคารพิพาทจะก่อสร้างเสร็จแล้วหรือไม่ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจตามมาตรา 40 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองรื้อถอนอาคารทั้งหมด หรือแต่บางส่วนได้ซึ่งมิได้หมายถึงเฉพาะผู้กระทำผิดเท่านั้น เจ้าของหรือผู้ครอบครองที่แม้ไม่ได้เป็นผู้กระทำการก่อสร้างอาคาร ก็ต้องรับผิดในการกระทำนั้นด้วย คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์เกินกว่ากำหนดสามสิบวัน มีผลให้โจทก์ผู้อุทธรณ์มีอำนาจเสนอคดีต่อศาลได้ทันทีโดยไม่ต้องรอคำวินิจฉัยตามขั้นตอนหาใช่จะทำให้คำวินิจฉัยไม่มีสภาพบังคับแต่ประการใดไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2202/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้รับจ้างควบคุมการก่อสร้างต่อละเมิดจากลูกจ้างผู้ขับรถบรรทุก
จำเลยที่ 1 เป็นผู้รับจ้างออกแบบและควบคุมการก่อสร้างอาคารบ้านพัก มีห้างหุ้นส่วนจำกัด พ.เป็นผู้รับเหมาก่อสร้าง จำเลยที่ 2 เป็นลูกจ้างจำเลยที่ 1 มีหน้าที่ควบคุมการก่อสร้างแทนจำเลยที่ 1 ห้างหุ้นส่วนจำกัด พ.ได้มอบให้ อ.ลูกจ้างซึ่งเป็นผู้ควบคุมการก่อสร้างของห้างนำรถยนต์บรรทุกไปใช้ในการก่อสร้างโดยจำเลยที่ 2 และ อ.ได้ใช้รถยนต์บรรทุกนั้นร่วมกัน และในวันเกิดเหตุจำเลยที่ 2 ก็ใช้อยู่ตลอดทั้งวัน น่าเชื่อว่าจำเลยที่ 2 ได้ใช้รถยนต์บรรทุกนั้นในการปฏิบัติหน้าที่ในความรู้เห็นของจำเลยที่ 1 แล้ว จำเลยที่ 2 ได้ขับรถยนต์บรรทุกโดยความประมาทเลินเล่อชนรถยนต์ที่โจทก์ขับสวนมาได้รับความเสียหาย โดยจุดชนห่างจากสถานที่ก่อสร้างประมาณ 30 เมตร และเป็นเวลาหลังจากเลิกงานประมาณ 1 ชั่วโมงถือได้ว่าอยู่ในระหว่างเวลาต่อเนื่องคาบเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของจำเลยที่ 2ในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2 ในผลแห่งละเมิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 939/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีรื้อถอนอาคาร และการใช้ประกาศกรุงเทพมหานครควบคุมการก่อสร้าง
คำสั่งอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้ผู้ใด ก่อสร้าง ดัดแปลง รื้อถอนหรือเคลื่อนย้ายอาคาร ตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522นั้น เป็นอำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานท้องถิ่น ซึ่งหมายถึงผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร สำหรับในเขตกรุงเทพมหานครคือจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 3 ในฐานะผู้ปฏิบัติการแทนจำเลยที่ 2 เป็นผู้ออกคำสั่งให้โจทก์รื้อถอนอาคาร คำสั่งดังกล่าวไม่ใช่คำสั่งของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 จึงมิใช่ผู้ที่โต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับระยะร่นโดยรอบอาคาร ฉบับลงวันที่ 20 พฤศจิกายน 2520 ซึ่งออกโดยชอบด้วยกฎหมาย ได้ประกาศใช้บังคับก่อน พระราชบัญญัติควบคุมอาคารพ.ศ. 2522 และยังไม่ได้ถูกยกเลิก อีกทั้งมิได้ขัดแย้งกับพระราชบัญญัติ ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 แต่อย่างใด ประกาศดังกล่าวจึงใช้บังคับได้ ข้อกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับระยะร่นโดยรอบอาคารตามประกาศกรุงเทพมหานคร ฉบับลงวันที่ 20 พฤศจิกายน 2520 นั้นเป็นเรื่องป้องกันมิให้ปลูกสร้างอาคารใกล้ชิดกันมากเกินไป อันเป็นการรักษาสภาพแวดล้อม และความปลอดภัยของประชาชนซึ่งมีวัตถุประสงค์ต่างกับกฎกระทรวงฉบับที่ 12(พ.ศ. 2528) ที่เป็นการกำหนดเกี่ยวกับโครงสร้างของอาคาร จึงนำกฎกระทรวงดังกล่าวมาใช้บังคับเกี่ยวกับระยะร่นโดยรอบอาคารไม่ได้พระราชบัญญัติ ญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 และประกาศกรุงเทพมหานครเรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับระยะร่นโดยรอบอาคาร เป็นกฎหมายพิเศษ มีวัตถุประสงค์คุ้มครองประโยชน์และความปลอดภัยของประชาชน เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้รื้อถอนได้เสมอตราบเท่าที่อาคารซึ่งฝ่าฝืนกฎหมายยังคงอยู่ โจทก์จดทะเบียนอาคารชุด ภายหลังจากที่ทราบคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นแล้ว จึงอ้างกฎหมายอาคารชุดมาคุ้มครองความรับผิดชอบของโจทก์หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2480/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การต่อเติมอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตและฝ่าฝืนข้อบัญญัติควบคุมการก่อสร้าง ศาลยืนตามคำพิพากษาเดิม
จำเลยทั้งสองให้การว่า ได้ทำการต่อเติมดัดแปลงอาคารในส่วนด้านหลังของอาคารจริง แต่มิได้ทำเชื่อมปิดคลุมทางเดินด้านหลังอาคารตามฟ้องโจทก์จำเลยเข้าใจโดยสุจริตว่าไม่ต้องขออนุญาตจากใคร เนื่องจากได้ต่อเติมอาคารของตนเองในที่ดินของตนเอง และอาคารใกล้เคียงก็ได้มีการต่อเติมไว้ก่อนแล้วเช่นกันจำเลยจึงต้องต่อเติมอาคารของตนเองด้วยเพื่อมิให้เกิดความเสียหาย โดยจำเลยไม่ได้ให้การปฏิเสธว่า ไม่ได้ต่อเติมอาคารด้านหลังเป็นแนวไปถึงรั้วหลังอาคารทั้งสองด้าน และมุงหลังคากระเบื้องตามฟ้อง คำให้การของจำเลยมีผลเท่ากับเป็นการรับว่าได้กระทำการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 22 และฝ่าฝืนข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง ควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2522 ข้อ 76 (4) แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2480/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การต่อเติมอาคารโดยไม่ขออนุญาตและฝ่าฝืนข้อบัญญัติควบคุมการก่อสร้าง ศาลยืนตามคำพิพากษาเดิม
จำเลยทั้งสองให้การว่า ได้ ทำการต่อเติมดัด แปลงอาคารในส่วนด้านหลังของอาคารจริง แต่ มิได้ทำเชื่อมปิดคลุมทางเดินด้านหลังอาคารตาม ฟ้องโจทก์จำเลยเข้าใจโดย สุจริตว่าไม่ต้องขออนุญาตจากใคร เนื่องจากได้ต่อเติม อาคารของตนเองในที่ดินของตนเอง และอาคารใกล้เคียงก็ได้ มีการต่อเติม ไว้ก่อนแล้วเช่นกันจำเลยจึงต้องต่อเติม อาคารของตนเองด้วย เพื่อมิให้เกิดความเสียหายโดย จำเลยไม่ได้ให้การปฏิเสธว่า ไม่ได้ต่อเติม อาคารด้านหลังเป็นแนวไปถึง รั้วหลังอาคารทั้งสองด้าน และมุงหลังคากระเบื้องตาม ฟ้อง คำให้การของจำเลยมีผลเท่ากับเป็นการรับว่าได้ กระทำการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 22 และฝ่าฝืนข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง ควบคุมการก่อสร้างอาคารพ.ศ. 2522 ข้อ 76(4) แล้ว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 771/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถาปนิกมีหน้าที่ตรวจสอบการก่อสร้างตามแบบ แม้จะไม่ได้ควบคุมงานโดยตรง การร้องเรียนต่อ ก.ส. ไม่เป็นละเมิด
โจทก์ซึ่งเป็นสถาปนิกรับจ้างออกแบบบ้านให้จำเลยที่ 1ก็มีหน้าที่โดยอัตโนมัติที่จะต้องตรวจสอบการดำเนินการก่อสร้างและให้คำแนะนำแก่ผู้ดำเนินการหรือผู้ควบคุมงาน รวมทั้งผู้รับเหมาก่อสร้างทั้งนี้เพื่อให้รูปแบบที่ก่อสร้างออกมาตรงตามสถาปัตยกรรมที่โจทก์เป็นผู้ออกแบบไว้ เมื่อบ้านชำรุดเพราะมีการทรุดตัวของฐานรากไม่เท่ากัน การที่จำเลยที่ 1 ร้องเรียนกล่าวหาโจทก์ จึงเป็นสิทธิตามกฎหมายไม่มีข้อเท็จจริงที่จะส่อว่าจำเลยมีเจตนากลั่นแกล้งให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ส่วนผลของการร้องเรียนคณะกรรมการควบคุมการประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรม (ก.ส.) จำเลยจะมีมติลงโทษโจทก์หรือไม่ จำเลยที่ 1 ไม่ได้เกี่ยวข้องด้วยจึงไม่เป็นละเมิดต่อโจทก์ ก.ส. จำเลยมีหนังสือแจ้งข้อกล่าวหาและให้โจทก์ไปให้ถ้อยคำต่อคณะอนุกรรมการตามรายชื่อที่แนบไป เมื่อโจทก์ไม่ไปแก้ข้อกล่าวหาจึงเป็นสิทธิของคณะอนุกรรมการที่จะดำเนินการไต่สวนไปได้ตามข้อบังคับ ก.ส. ว่าด้วยการไต่สวนผู้ประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุมในกรณีถูกกล่าวหาหรือสั่งพักหรือเพิกถอนใบอนุญาต และการที่ก.ส. สั่งพักใบอนุญาตโจทก์ จึงไม่เป็นละเมิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 429/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นในการใช้ดุลพินิจอนุญาตหรือไม่อนุญาตการก่อสร้างอาคารตาม พ.ร.บ.ควบคุมการก่อสร้างอาคาร
เมื่อมีผู้ขออนุญาตก่อสร้างอาคาร เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นตามพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ.2479 ย่อมมีอำนาจหน้าที่ที่จะใช้ดุลพินิจเพื่อให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติดังกล่าวนั้นในการอนุญาต หรือไม่อนุญาตให้บุคคลปลูกสร้างอาคารอย่างใดๆ ได้
โจทก์ยื่นขออนุญาตก่อสร้างกำแพงต่อจำเลย จำเลยมีหนังสือถึงโจทก์แจ้งไม่อนุญาตโดยอ้างเหตุขัดข้อง 3 ประการ ครั้นเมื่อโจทก์ยื่นฟ้องจำเลย จำเลยได้ยื่นคำให้การแสดงถึงเหตุหลายประการนอกเหนือไปจากเหตุที่จำเลยอ้างไว้ ดังนี้ จำเลยย่อมมีสิทธิยกขึ้นเป็นประเด็นข้อต่อสู้ของจำเลยในคดีได้ ซึ่งศาลจะต้องรับวินิจฉัย
โจทก์ยื่นขออนุญาตก่อสร้างกำแพงต่อจำเลย จำเลยมีหนังสือถึงโจทก์แจ้งไม่อนุญาตโดยอ้างเหตุขัดข้อง 3 ประการ ครั้นเมื่อโจทก์ยื่นฟ้องจำเลย จำเลยได้ยื่นคำให้การแสดงถึงเหตุหลายประการนอกเหนือไปจากเหตุที่จำเลยอ้างไว้ ดังนี้ จำเลยย่อมมีสิทธิยกขึ้นเป็นประเด็นข้อต่อสู้ของจำเลยในคดีได้ ซึ่งศาลจะต้องรับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 786/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การก่อสร้างผนังปิดทางเดินแล้วให้เช่าใช้เข้าข่ายเป็นอาคารตาม พ.ร.บ.ควบคุมการก่อสร้างอาคาร
ตรงที่พิพาทเดิมเป็นช่องทางเดินระหว่างตึก ชั้นบนเป็นห้องโจทก์ก่อผนังตึกด้านหลังปิดช่องทางนี้ โดยมีประตูเหล็กพับได้ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง แล้วให้คนเข้าอยู่อาศัยและค้าขาย ดังนี้เข้าลักษณะเป็น 'อาคาร' ตามมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ.2479 แล้ว
การกระทำดังกล่าว ถือได้ว่าเป็นการปลูกสร้างอาคารตามมาตรา 7(3)
การกระทำดังกล่าว ถือได้ว่าเป็นการปลูกสร้างอาคารตามมาตรา 7(3)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 616/2501 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การต่อเติมพื้นอาคารนอกฝาผนังอิฐ ไม่ถือเป็นการขยายพื้นที่อาคารตาม พ.ร.บ.ควบคุมการก่อสร้างอาคาร
ตลาดสดของจำเลยเทปูนซิเมนต์เป็นพื้น มีหลังคาคลุมรอบ 4 ด้านด้านยาวของตลาดมีกันสาดอยู่หน่อยหนึ่ง และมีฝาผนังอิฐกั้น จำเลยได้เทซิเมนต์ต่อจากฝาผนังอิฐออกไปกว้าง 2 เมตรครึ่ง ยาวตามตัวตลาด 50 เมตรเศษ เช่นนี้ไม่ถือว่า จำเลยเพิ่มเติมหรือขยายพื้นอาคารตลาดตาม พ.ร.บ.ควบคุมการก่อสร้างอาคาร 2479 ม.7 (2) เพราะตลาดนั้นมีฝาผนังอิฐนจึงไม่ใช่เป็นการเพิ่มเติมหรือขยายพื้นอาคาร และไม่ใช่เป็นพื้นเดียวกับพื้นตลาดนั้นเลย แม้จำเลยจะไม่ได้รับอนุญาตก็ไม่ผิดตาม พ.ร.บ.ควบคุมการก่อสร้างอาคารฯ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 616/2501
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การต่อเติมพื้นที่นอกอาคารเดิมที่แยกจากตัวอาคารด้วยผนังอิฐ ไม่ถือเป็นการขยายพื้นที่อาคารตาม พ.ร.บ.ควบคุมการก่อสร้างอาคาร
ตลาดสดของจำเลยเทปูนซิเมนต์เป็นพื้น มีหลังคาคลุมรอบ4 ด้าน ด้านยาวของตลาดมีกันสาดอยู่หน่อยหนึ่ง และมีฝาผนังอิฐกั้น จำเลยได้เทซิเมนต์ต่อจากฝาผนังอิฐออกไปกว้าง 2 เมตรครึ่ง ยาวตามตัวตลาด 50 เมตรเศษ เช่นนี้ไม่ถือว่า จำเลยเพิ่มเติมหรือขยายพื้นอาคารตลาดตามพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร 2479 มาตรา 7(2) เพราะตลาดนั้นมีฝาผนังอิฐกั้นอยู่ การเทปูนต่อเติมออกไปจากฝาผนังอิฐจึงไม่ใช่เป็นการเพิ่มเติมหรือขยายพื้นอาคาร และไม่ใช่เป็นพื้นเดียวกับพื้นตลาดนั้นเลย แม้จำเลยจะไม่ได้รับอนุญาตก็ไม่ผิดตามพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคารฯ