คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ความคล้ายคลึง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 154 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7831/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความคล้ายคลึงของเครื่องหมายการค้า ยาคน-สัตว์ ไม่ทำให้สับสน ศาลอนุญาตจดทะเบียนได้
โจทก์ขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในสินค้าจำพวกที่ 5 เช่นเดียวกับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของบริษัท ค. แต่สินค้าของโจทก์เป็นคนละประเภทกับสินค้าของบริษัทดังกล่าว กล่าวคือ สินค้าของโจทก์เป็นยาและสารที่เตรียมขึ้นทางเภสัชกรรมไว้รักษาและป้องกันโรคผมร่วงหรือโรคหัวล้าน แต่สินค้าของบริษัท ค. เป็นยาทำลายหรือต่อต้านเชื้อแบคทีเรียสำหรับใช้ในการรักษาสัตว์ แม้จะเป็นยาเหมือนกันแต่ก็ใช้รักษาโรคในคนและสัตว์แตกต่างกันผู้ใช้จึงเป็นคนละกลุ่มกัน แม้เครื่องหมายการค้าทั้งสองจะคล้ายกันแต่ไม่ทำให้สาธารณชนสับสนหลงผิดว่ายาของโจทก์เป็นยาของบริษัท ค. หรือมีแหล่งกำเนิดจากบริษัทดังกล่าว เครื่องหมายการค้าของโจทก์จึงเป็นเครื่องหมายการค้าอันพึงรับจดทะเบียนได้ตามมาตรา 6 และมาตรา 13 แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4784/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาความคล้ายคลึงของเครื่องหมายการค้าต้องพิจารณาองค์ประกอบโดยรวม หากแตกต่างกันชัดเจนย่อมไม่ทำให้สับสน
การพิจารณาในเรื่องความเหมือนหรือคล้ายกันของเครื่องหมายการค้าว่าอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของหรือแหล่งกำเนิดของสินค้าหรือไม่นั้น จะต้องพิจารณาองค์ประกอบโดยรวมทั้งลักษณะของคำ ตัวอักษร และเสียงเรียกขานของเครื่องหมายการค้าพิพาท เมื่อพิจารณาเปรียบเทียบเครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยร่วม มีข้อเท็จจริงที่แสดงให้เห็นถึงลักษณะที่แตกต่างกัน คือเครื่องหมายการค้าของโจทก์มีเฉพาะคำภาษาอังกฤษ ส่วนเครื่องหมายของจำเลยร่วมมีทั้งคำภาษาอังกฤษและคำภาษาไทย แม้คำว่า 'EXTRA' ในเครื่องหมายการค้าของโจทก์จะเป็นคำเดียวกับคำว่า 'EXTRA' ซึ่งเป็นสาระสำคัญส่วนหนึ่งในเครื่องหมายการค้าของจำเลยร่วม แต่คำดังกล่าวเป็นคำธรรมดาที่แปลว่า 'พิเศษ' จึงเป็นคำธรรมดา มิใช่คำประดิษฐ์ แต่เหตุที่คณะกรรมการเครื่องหมายการค้ายอมให้จำเลยร่วมจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า 'EXTRA' เนื่องจากจำเลยร่วมใช้คำดังกล่าวร่วมกับคำว่า 'NESCAFE' จนกลายเป็นเครื่องหมายการค้าที่มีชื่อเสียงแพร่หลายทั่วไปและได้ลักษณะบ่งเฉพาะโดยการใช้ ส่วนโจทก์ใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า 'EXTRA' ร่วมกับคำว่า 'FREEZE' และนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าให้โจทก์สละสิทธิแต่ผู้เดียวในการใช้คำว่า 'EXTRA' คำดังกล่าวจึงมิใช่สาระสำคัญในเครื่องหมายการค้าของโจทก์ สาระสำคัญในเครื่องหมายการค้าของโจทก์อยู่ที่คำว่า 'FREEZE' เมื่อพิจารณารูปลักษณะอื่น ๆ ของเครื่องหมายการค้าของโจทก์ และจำเลยร่วมประกอบกันแล้ว เครื่องหมายทั้งสองจึงมีความแตกต่างกัน ไม่อาจทำให้สาธารณชนสับสนหลงผิดในความเป็นเจ้าของหรือแหล่งกำเนิดของสินค้าได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1793/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนคำวินิจฉัยเครื่องหมายการค้าที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย การพิจารณาความคล้ายคลึงของเครื่องหมายและการใช้โดยสุจริต
คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าซึ่งเป็นที่สุดตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 18 วรรคหนึ่ง หมายความเพียงว่า ผู้อุทธรณ์จะอุทธรณ์คำวินิจฉัยของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าต่อเจ้าพนักงานอื่นของฝ่ายบริหารต่อไปอีกไม่ได้เท่านั้น แต่หากเป็นคำวินิจฉัยที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ชอบด้วยกฎหมาย ผู้อุทธรณ์ย่อมมีสิทธินำคดีมาฟ้องต่อศาลเพื่อขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยนั้นได้ โดยศาลมิได้ถูกจำกัดให้พิจารณาเฉพาะกรณีปัญหาข้อกฎหมาย เมื่อโจทก์โต้แย้งว่าคำสั่งของนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าและคำวินิจฉัยของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าไม่ถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ชอบด้วยกฎหมาย อันเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องคดีต่อศาลได้ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 55
เครื่องหมายการค้าพิพาทของโจทก์เป็นอักษรโรมัน เขียนว่า "HIGHER" ส่วนเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนไว้แล้ว เป็นภาษาไทยและอักษรโรมันเขียนว่า "ไฮเออร์ HI - ER" แม้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวจะมีอักษรโรมันเหมือนกันใน 2 ตัวแรก กับ 2 ตัวหลัง แต่เครื่องหมายการค้าดังกล่าวโดยรวมแล้วมีความแตกต่างกันอยู่ โดยเฉพาะเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นมีภาษาไทยกำกับไว้ด้วย และมีขนาดที่ใหญ่เห็นได้ชัดเจนกว่าอักษรโรมันแม้การเรียกขานจะคล้ายกัน แต่โจทก์ได้ขอเปลี่ยนแปลงประเภทของสินค้าที่จะใช้กับเครื่องหมายการค้าพิพาทแล้ว ทำให้สินค้ามิได้เป็นประเภทเดียวกัน ถึงจะยังมีความใกล้เคียงเป็นสินค้าในจำพวกเดียวกันอยู่ แต่โจทก์มีเจตนาใช้เครื่องหมายการค้าพิพาทโดยสุจริตมิได้มุ่งอ้างอิงหรือแสวงหาประโยชน์จากเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนไว้แล้ว สาธารณชนจึงไม่สับสนหลงผิดในความเป็นเจ้าของหรือแหล่งกำเนิดของสินค้าเนื่องจากการใช้เครื่องหมายการค้าพิพาทของโจทก์ ดังนั้น เครื่องหมายการค้าพิพาทจึงไม่ใช่เครื่องหมายการค้าที่มีหรือประกอบด้วยลักษณะอันจะพึงห้ามรับจดทะเบียนตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 6 (3) และมาตรา 13

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1899/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาความเหมือนหรือความคล้ายคลึงของเครื่องหมายการค้า โดยคำนึงถึงจำนวนตัวอักษร, เสียงเรียกขาน, และความหมาย
เครื่องหมายการค้าของโจทก์ทั้งที่เป็นคำ และเป็นรูปกับคำต่างประกอบด้วยตัวอักษรโรมันแบบพิมพ์ใหญ่และแบบอักษรประดิษฐ์ 4 ตัว คือ "F" "O" "R" และ "D" โดยเครื่องหมายการค้าที่เป็นรูปและคำจะมีวงรีล้อมรอบตัวอักษรประดิษฐ์ดังกล่าวอยู่ ส่วนเครื่องหมายการค้าที่จำเลยยื่นคำขอจดทะเบียนเป็นเครื่องหมายการค้าที่ประกอบด้วยตัวอักษรพิมพ์ใหญ่ 3 ตัว คือ "F" "O" และ "R" ดังนี้ เมื่อพิจารณาจากลักษณะของเครื่องหมายการค้าของโจทก์และเครื่องหมายการค้าที่จำเลยยื่นคำขอจดทะเบียนจะเห็นได้ว่า แม้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวต่างมีตัวอักษรขึ้นต้นด้วยอักษร "F" และตามด้วยตัวอักษร "O" และ "R" ตามลำดับเช่นเดียวกัน แต่เครื่องหมายการค้าของโจทก์มีตัวอักษร "D" อยู่ในตอนท้ายด้วย ซึ่งแม้เครื่องหมายการค้าของโจทก์กับที่จำเลยยื่นคำขอจดทะเบียนจะมีจำนวนตัวอักษรต่างกันเพียงตัวอักษรเดียว แต่เนื่องจากเครื่องหมายการค้าของโจทก์มีตัวอักษรเพียง 4 ตัว เท่านั้น สาธารณชนจึงสามารถสังเกตเห็นความแตกต่างของเครื่องหมายการค้าของโจทก์กับเครื่องหมายการค้าที่จำเลยยื่นคำขอจดทะเบียนได้โดยง่าย และโดยเหตุที่เครื่องหมายการค้าดังกล่าวต่างประกอบด้วยตัวอักษรโรมันเช่นเดียวกัน การเขียนจึงต้องมีตัวสะกดซ้ำกันบ้าง ในกรณีเช่นนี้จะสันนิษฐานว่าจำเลยมีเจตนาเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของโจทก์ไม่ได้ นอกจากนั้นเครื่องหมายการค้าที่จำเลยยื่นคำขอจดทะเบียนมีเสียงเรียกขานว่า "ฟอร์" และมีคำแปลจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยชัดเจนคือแปลว่า "สำหรับ" ส่วนเครื่องหมายการค้าของโจทก์มีเสียงเรียกขานว่า "ฟอร์ด" ซึ่งมีที่มาจากชื่อผู้บุกเบิกอุตสาหกรรมยานยนต์ เครื่องหมายการค้าทั้งสองจึงมีความหมายและเสียงเรียกขานที่ต่างกัน ดังนั้น เครื่องหมายการค้าที่จำเลยยื่นคำขอจดทะเบียนไม่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์จนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหลงผิดในความเป็นเจ้าของสินค้าหรือแหล่งกำเนิดของสินค้า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6401/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลวงขายสินค้าโดยใช้เครื่องหมายการค้าที่คล้ายคลึงกัน การละเมิดสิทธิเครื่องหมายการค้า
คดีก่อนผูกพันโจทก์และจำเลยทั้งสองเฉพาะในประเด็นที่ศาลฎีกาได้วินิจฉัยแล้วว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าที่ยังไม่ได้จดทะเบียนคำว่า"Kyuta" ที่ใช้กับสินค้าเคมีอาหารและมีสิทธิดีกว่าจำเลยทั้งสองในเครื่องหมายการค้าที่จำเลยที่ 1 ได้รับการจดทะเบียนคำว่า "Kyuta" ไว้กับสินค้าเคมีอาหารในจำพวกที่ 42 เดิมเท่านั้น ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องในประเด็นที่ว่า ระหว่างปี 2529 ถึงปี 2542 จำเลยทั้งสองร่วมกันทำละเมิดต่อโจทก์ด้วยการผลิตสินค้าเคมีอาหารออกจำหน่ายแก่ลูกค้าโดยใช้เครื่องหมายการค้าว่า "Kyuta" เหมือนกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ โดยมีลักษณะการบรรจุสินค้าเช่นเดียวกับสินค้าของโจทก์อันเป็นการลวงสาธารณชนให้เข้าใจว่าเป็นสินค้าของโจทก์ โดยจำเลยทั้งสองอาศัยชื่อเสียงและยี่ห้อทางการค้าของโจทก์ที่แพร่หลายทั่วไปแล้วในวงการเคมีอาหารนั้น เป็นการอ้างว่าจำเลยทั้งสองลวงขายสินค้าของจำเลยทั้งสองว่าเป็นสินค้าของโจทก์ผู้เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้า "Kyuta" และเรียกร้องให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้าฯ มาตรา 29 วรรคสอง และ พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้าฯ มาตรา 46 วรรคสอง ซึ่งศาลในคดีก่อนยังไม่ได้วินิจฉัยไว้ ที่โจทก์บรรยายฟ้องในคดีก่อนถึงการกระทำอันเป็นการลวงขายของจำเลยทั้งสอง ก็เพื่อเป็นเหตุผลแสดงให้เห็นว่าโจทก์เป็นผู้มีส่วนได้เสียและมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดีกว่าจำเลยทั้งสองเท่านั้น มิได้ฟ้องว่าจำเลยทั้งสองกระทำการลวงขายสินค้าของจำเลยทั้งสองว่าเป็นสินค้าของโจทก์และเรียกค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอันเกิดแต่การลวงขายนั้นแต่อย่างใด ดังนี้ การฟ้องคดีนี้ของโจทก์จึงมิใช่การรื้อร้องฟ้องจำเลยทั้งสองอีกในประเด็นที่วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันอันเป็นการฟ้องซ้ำต้องห้ามตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ มาตรา 26 ประอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 148
การฟ้องเรียกร้องค่าเสียหายจากการกระทำละเมิดฐานลวงขายของจำเลยทั้งสองต้องฟ้องบังคับภายในกำหนดอายุความ 1 ปี นับแต่วันที่โจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตาม ป.พ.พ. มาตรา 448 โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสองทำการลวงขายสินค้าตั้งแต่ปี 2529 ถึงที่ 2542 เป็นเวลาต่อเนื่องกันโดยโจทก์ขอคิดค่าเสียหายถึงวันที่ 24 มีนาคม 2542 อันเป็นวันอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาในคดีก่อน แสดงว่าโจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ว่าจำเลยทั้งสองเป็นผู้พึงต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตั้งแต่ปี 2529 ตลอดมาจนถึงวันที่ 24 มีนาคม 2542 แล้ว เมื่อโจทก์นำคดีมาฟ้องเมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2543 จึงเป็นการฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองชดใช้ค่าสินไหมทดแทนสำหรับการทำละเมิดตั้งแต่ปี 2529 ถึงวันที่ 23 มีนาคม 2542 เกินกำหนดอายุความ 1 ปีแล้ว สิทธิเรียกร้องของโจทก์ในช่วงเวลาดังกล่าวของโจทก์ย่อมขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 448 โจทก์คงมีสิทธิเรียกร้องเอาค่าสินไหมสำหรับการละเมิดที่โจทก์อ้างว่าจำเลยทั้งสองทำการลวงขายในวันที่ 24 มีนาคม 2542 ซึ่งโจทก์ฟ้องเรียกร้องภายในอายุความ 1 ปี เท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 542/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจดทะเบียนชื่อบริษัทที่คล้ายกับเครื่องหมายการค้าของผู้อื่น จำเลยที่ 9 มีอำนาจหน้าที่ปฏิเสธการจดทะเบียน
คำฟ้องของโจทก์ที่บรรยายว่าจำเลยที่ 9 รับจดทะเบียนชื่อและดวงตรานิติบุคคลของจำเลยที่ 1 ฝ่าฝืนระเบียบสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกลางว่าด้วยการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนบริษัท พ.ศ. 2538 เป็นเรื่องพิมพ์ตัวเลข พ.ศ. ของระเบียบดังกล่าวผิดพลาดโดยพลั้งเผลอ เมื่อโจทก์ขอแก้ไขให้ถูกต้อง และศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางอนุญาตให้แก้ไขแล้ว คำฟ้องของโจทก์ในส่วนนี้จึงเป็นที่แน่ชัดว่าโจทก์กล่าวอ้างระเบียบสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกลางฯ ฉบับ พ.ศ. 2535 ไม่เคลือบคลุม
ชื่อทางการค้าและเครื่องหมายการค้าคำว่า SONY และโซนี่ของโจทก์เป็นที่แพร่หลายรู้จักกันทั่วไป จำเลยที่ 1 ก็รู้ การที่จำเลยที่ 1 ขอจดทะเบียนคำว่าบริษัทโซนี่อิมเป็กซ์ จำกัด เป็นชื่อบริษัทจำเลยที่ 1 โดยใช้คำภาษาอังกฤษว่า SONYIMPEXCO.,LTD. โดยไม่มีส่วนสัมพันธ์หรือเกี่ยวข้องหรือได้รับอนุญาตจากโจทก์ จึงเป็นการแสวงหาประโยชน์จากความมีชื่อเสียงแพร่หลายของคำว่า SONY หรือโซนี่ โดยไม่สุจริต ทำให้สาธารณชนสับสนหลงผิดคิดว่าจำเลยที่ 1 เป็นบริษัทในเครือของโจทก์หรือมีส่วนเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับโจทก์ โจทก์ผู้เป็นเจ้าของชื่อนิติบุคคลคำว่า SONY และโซนี่จึงมีสิทธิเรียกให้ระงับความเสียหาย และขอให้ศาลสั่งห้ามมิให้ใช้ชื่อดังกล่าวได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 18 ประกอบด้วยมาตรา 421 และมีสิทธิขัดขวางจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 ถึงที่ 8 ในการใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า SONY หรือโซนี่ ของโจทก์เป็นชื่อของจำเลยที่ 1 ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534มาตรา 47
ชื่อบริษัทจำเลยที่ 1 ต้องห้ามมิให้รับจดทะเบียนเป็นชื่อบริษัทเพราะอาจก่อให้เกิดการสำคัญผิดเกี่ยวกับความเป็นเจ้าของลักษณะ วัตถุที่ประสงค์ ฐานะของกิจการหรือโดยประการอื่นตามระเบียบสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกลางว่าด้วยการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนบริษัท พ.ศ. 2535 ข้อ 21(5) จำเลยที่ 9 ซึ่งมีอำนาจหน้าที่ในการรับจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนบริษัท จึงชอบที่จะปฏิเสธการรับจดทะเบียนชื่อบริษัทจำเลยที่ 1ด้วยเหตุผลดังกล่าวแต่เมื่อรับจดทะเบียนไว้แล้ว ก็ต้องเพิกถอนชื่อออกจากทะเบียนนั้นเสีย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3344/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่คล้ายคลึงกัน การโต้แย้งสิทธิ และการเพิกถอนทะเบียน
การที่จำเลยไปยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าซึ่งมีส่วนคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่ได้ จดทะเบียนไว้ก่อนแล้ว ย่อมถือได้ว่าจำเลยได้กระทำการอันเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์แล้ว โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยได้ตาม พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 67 วรรคหนึ่ง ภายใน 5 ปีนับแต่วันที่นายทะเบียนมีคำสั่งให้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้นตามมาตรา 40 ทั้งนี้ไม่ว่าโจทก์จะได้ยื่นคำคัดค้านต่อนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามมาตรา 35 ไว้หรือไม่ก็ตาม เพราะตามบทบัญญัติ มาตรา 67 วรรคหนึ่ง มิได้มีข้อกำหนดจำกัดสิทธิของโจกท์ว่าจะต้องยื่นคำคัดค้านต่อนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าไว้ก่อนฟ้องคดี
เมื่อพฤติการณ์ของจำเลยชี้ให้เห็นว่าจำเลยจงใจลอกเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของโจทก์ แม้ราคาสินค้า จะแตกต่างกันอย่างมาก ก็ไม่ใช่เหตุผลที่จำเลยจะยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ในกรณีนี้ได้ เพราะผู้ซื้ออาจหลงผิดไปว่าเป็นสินค้า ลดราคาของโจทก์ได้ เมื่อพิจารณาประกอบกับข้อที่ว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลยใช้กับสินค้าจำพวกเดียวกับโจทก์ จึงนับได้ว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลยคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์จนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือ หลงผิดในความเป็นเจ้าของของสินค้าหรือแหล่งกำเนิดของสินค้าได้ จึงไม่ใช่เครื่องหมายการค้าที่จะพึงรับจดทะเบียนให้ได้ตาม พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 6 (33) และ 13 (2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8331/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความคล้ายคลึงของเครื่องหมายการค้า MAKITA และ MAKITO และการจดทะเบียนโดยไม่สุจริต ทำให้ถูกเพิกถอนได้
เครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นอักษรโรมันคำว่า MAKITA อ่านว่า มากิต้า หรือ มากิตะ ซึ่งมีลักษณะเป็นตัวพิมพ์ใหญ่ทุกตัวอักษร และตัวเขียนเล็กแบบอักษรประดิษฐ์กับอักษร M.E.W. ในรูปวงกลม ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยเป็นอักษรโรมันคำว่า MAKITO อ่านว่า มากิโต้ หรือ มากิโตะ มีลักษณะเป็นตัวพิมพ์ใหญ่ทุกตัวอักษร ซึ่งทั้งสองคำจะประกอบด้วยจำนวนตัวอักษรโรมัน 6 ตัว เท่ากัน มีอักษร 5 ตัวหน้าเหมือนกัน โดยจัดวางเรียงชิดติดกันอยู่ในตำแหน่งเดียวกัน ต่างกันแต่อักษรตัวสุดท้ายซึ่งของโจทก์จะเป็นตัวอักษร A ส่วนของจำเลยจะเป็นตัวอักษร O แม้จะเห็นความแตกต่างของตัวอักษรตัวสุดท้ายอย่างชัดเจนเมื่อเขียนเป็นอักษรโรมันลักษณะตัวพิมพ์ใหญ่ แต่หากเปรียบเทียบกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์คำว่า makita ในการเขียนเป็นอักษรประดิษฐ์ ซึ่งเขียนในลักษณะของตัวเขียนเล็กคือ makita จะเห็นได้ว่าอักษรตัวสุดท้ายคือ a จะมีลักษณะกลมคล้ายตัวอักษร o เพียงแต่ด้านล่างทางด้านขวาของตัวอักษร a จะมีหางลากออกมา ซึ่งหากบุคคลผู้ไม่คุ้นเคยกับอักษรโรมันอาจสังเกตไม่เห็นความแตกต่างได้ และเมื่อพิจารณาเสียงเรียกขานคำว่า makita กับ MAKITO แล้ว เสียงเรียกขานจะใกล้เคียงกันมาก กล่าวคือ พยางค์แรกออกเสียงเหมือนกัน พยางค์ท้ายสุดของโจทก์ออกเสียงเป็น ตะ หรือ ต้า ส่วนของจำเลยออกเสียงเป็น โต้ หรือ โตะ แม้โจทก์จะยังไม่ได้ใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า MATIKA ซึ่งเขียนด้วยตัวพิมพ์ใหญ่กับสินค้าของโจทก์ คงใช้แต่เครื่องหมายการค้าคำว่า makita ซึ่งเขียนเป็นตัวพิมพ์เล็กและจำเลยใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า MAKITO โดยเขียนเป็นตัวพิมพ์ใหญ่ก็ตาม แต่ข้อแตกต่างระหว่างตัวพิมพ์เล็กกับตัวพิมพ์ใหญ่ดังกล่าวหาใช่ข้อแตกต่างในสาระสำคัญอันจะไม่ทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดไม่ เครื่องหมายการค้าคำว่า MAKITO ของจำเลยจึงคล้ายกับเครื่องหมายการค้าคำว่า makita ของโจทก์
เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2539 จำเลยนำเครื่องหมายการค้าคำว่า MAKITO มาขอจดทะเบียนเพื่อใช้กับสินค้าจำพวกที่ 7 ประเภทเครื่องมือช่าง ในรายการสินค้า ใบเลื่อยใช้กับเครื่องเลื่อยไฟฟ้า ซึ่งเป็นสินค้าที่อยู่ในจำพวกเดียวกันกับสินค้าของโจทก์ จำเลยก็ยอมรับว่าสินค้าใบเลื่อยของจำเลยสามารถใช้กับเครื่องเลื่อยไฟฟ้าของโจทก์ได้ เครื่องหมายการค้า ของโจทก์ได้จดทะเบียนไว้ในประเทศไทยสำหรับสินค้าจำพวกที่ 7 รายการสินค้ารวมถึงเลื่อยวงเดือนแบบมือถือทำงานด้วยกำลังไฟฟ้า เลื่อยชักแบบมือถือทำงานด้วยกำลังไฟฟ้าและเลื่อยสายพานแบบมือถือทำงานด้วยกำลังไฟฟ้าด้วยตั้งแต่เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2510 ก่อนจำเลยจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า MAKITO สำหรับสินค้าจำพวกที่ 7 รายการสินค้าซึ่งมีลักษณะอย่างเดียวกับสินค้าของโจทก์เป็นเวลาถึงประมาณ 27 ปี และปรากฏว่าสินค้าเครื่องมือช่างของโจทก์มีจำหน่ายในประเทศไทยมาประมาณ 30 ปี แล้ว ก่อนสินค้าของจำเลยมีวางจำหน่ายหลายปี การที่จำเลยผลิตสินค้าใบเลื่อยและจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า MAKITO เพื่อใช้กับสินค้าดังกล่าวซึ่งสามารถนำมาใช้กับเครื่องเลื่อยไฟฟ้าของโจทก์ได้ ย่อมส่อแสดงให้เห็นถึงความไม่สุจริตของจำเลยในการเลียนเครื่องหมายการค้าคำว่า makita ของโจทก์ โจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าของจำเลยคำว่า MAKITO ดีกว่าจำเลย โจทก์ย่อมมีสิทธิขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า MAKITO ได้ ตามมาตรา 67 แห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6121/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เครื่องหมายการค้าไม่เหมือนหรือคล้ายกัน แม้มีรูปสี่เหลี่ยมเป็นส่วนประกอบ หากรูปลักษณ์และช่องทางการขายแตกต่างกัน
โจทก์เป็นผู้คิดประดิษฐ์เครื่องหมายการค้าของโจทก์ และใช้เครื่องหมายการค้านั้นกับสินค้าของโจทก์มาก่อนจำเลยจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยประมาณ 3 ปี ทั้งสินค้าของโจทก์อยู่ในรูปวัตถุดิบ ไม่ได้จำหน่ายให้แก่ประชาชนทั่วไป แตกต่างจากสินค้าของจำเลยที่เป็นสินค้าสำเร็จรูป ลูกค้าของโจทก์และลูกค้าของจำเลยจึงเป็นคนละประเภท นอกจากนี้เครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นรูปซึ่งมีลักษณะประกอบด้วยรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสพื้นทึบ 2 รูป เท่า ๆ กันวางอยู่ใต้รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าทึบซึ่งมีด้านยาวขนาดเดียวกับรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส 2 รูป วางเรียงกันส่วนด้านกว้างมีความยาวเท่ากับรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส และระหว่างรูปสี่เหลี่ยมทั้ง 3 รูปนั้น โจทก์จงใจให้เกิดช่องว่างเป็นรูปอักษร T ประดิษฐ์ ซึ่งเป็นอักษรต้นของชื่อโจทก์ แต่เครื่องหมายการค้าของจำเลยเป็นเพียงรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสพื้นทึบ 4 รูปเท่ากันวางเรียงกันในลักษณะสมดุล อยู่ข้างบน 2 รูป ข้างล่าง 2 รูป และระหว่างรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส 4 รูป มีช่องว่างเป็นรูปเส้นตรง 2 เส้น ตัดกันเป็นมุมฉากไม่มีใครเรียกสินค้าของจำเลยว่า ยาตราสี่เหลี่ยม และในการใช้เครื่องหมายการค้าของจำเลยมักจะใช้ชื่อจำเลยคำว่า CHINTA ประกอบด้วย ทำให้บางครั้งลูกค้าเรียกสินค้ายาของจำเลยว่า ยาชินต้า จึงมิใช่กรณีที่เครื่องหมายการค้าทั้งสองนี้มีการเรียกขานเหมือนกัน และช่องว่างของรูปสี่เหลี่ยมพื้นทึบในเครื่องหมายการค้าของจำเลยดังกล่าวไม่มีความหมายอะไรเป็นพิเศษ ความหมายอยู่ที่รูปสี่เหลี่ยมซึ่งหมายถึงทิศทั้งสี่เท่านั้น เมื่อเครื่องหมายการค้าของโจทก์และเครื่องหมายการค้าของจำเลยมีรูปลักษณ์ของรูปสี่เหลี่ยมจำนวนรูปสี่เหลี่ยมรวมทั้งช่องว่างระหว่างรูปสี่เหลี่ยมที่มีการประดิษฐ์แตกต่างกัน ไม่ได้เรียกขานเหมือนหรือคล้ายกัน ตามพฤติการณ์ดังกล่าวสาธารณชนย่อมสามารถสังเกตข้อแตกต่างได้ไม่ยาก นอกจากนี้ลูกค้าก็เป็นกลุ่มคนคนละประเภท ทั้งโจทก์ได้ใช้และจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์นี้ในต่างประเทศมาก่อนจำเลย มิใช่กรณีที่เป็นการลอกเลียนเครื่องหมายการค้าของจำเลย แม้เครื่องหมายการค้าของโจทก์และเครื่องหมายการค้าของจำเลยจะมีรูปสี่เหลี่ยมเป็นส่วนประกอบสำคัญก็ตาม ดังนี้ เครื่องหมายการค้าของโจทก์ไม่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วจนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของหรือแหล่งกำเนิดของสินค้า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1287/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาความเหมือนหรือความคล้ายคลึงของเครื่องหมายการค้า โดยพิจารณาจากพื้นฐานที่มาและรูปแบบลวดลาย
โจทก์ประกอบกิจการผลิตและจำหน่ายสินค้าเครื่องนุ่งห่มและเครื่องแต่งกาย รวมทั้งกางเกงยีน โจทก์เป็น เจ้าของเครื่องหมายการค้า รูปลวดลายเส้นโค้งคู่สองชั้น ปลายส่วนโค้งคู่ชนกัน และรูปลวดลายเส้นโค้งคู่สองชั้น ปลายส่วนโค้งคู่ชนกัน อยู่ภายในกรอบรูปห้าเหลี่ยมคล้ายกระเป๋าหลัง มีแถบอยู่ด้านซ้ายบนภายในแถบมีคำว่า "LeVI'S" และได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวในประเทศต่าง ๆ รวมทั้งประเทศไทยและประเทศ สหรัฐอเมริกา โจทก์ได้ใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า "LeVI'S" กับสินค้ากางเกงยีนจนเป็นเครื่องหมายที่มีชื่อเสียง แพร่หลายทั่วไป ขณะเมื่อโจทก์ไปยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า โจทก์ระบุว่าเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนเป็นรูปและคำ เครื่องหมายการค้าในส่วนที่เป็นรูป เป็นรูปเส้นโค้งคู่สองชั้นคล้ายปีกนก แสดงว่ารูปที่โจทก์นำมาใช้เป็นเครื่องหมายการค้าดังกล่าวไม่ได้มีพื้นฐานมาจากการนำอักษรโรมันมาประดิษฐ์ใช้ ส่วนจำเลยยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าเป็นรูปลวดลายเส้นประคล้ายอักษร V และ W วางซ้อนทับกัน โดยมีพื้นฐานจากการนำอักษรโรมันมาประดิษฐ์ดัดแปลงเพื่อมาใช้ เมื่อพื้นฐานของรูปของเครื่องหมายการค้าของโจทก์และจำเลยมีที่มาแตกต่างกัน และเครื่องหมายการค้าของโจทก์และจำเลยมีลักษณะรูปแบบลวดลายที่มีความแตกต่างกัน ฉะนั้น รูปเครื่องหมายการค้า ของโจทก์และจำเลยจึงไม่เหมือนหรือคล้ายกัน ถือไม่ได้ว่าจำเลยเลียนแบบเครื่องหมายของโจทก์
of 16