พบผลลัพธ์ทั้งหมด 97 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7248/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การล้มละลาย: ศาลต้องพิจารณาความจริง ไม่เพียงแค่ข้อสันนิษฐานทางกฎหมาย และพิจารณาฐานะหนี้สินที่แท้จริงของลูกหนี้
ข้อสันนิษฐานว่าจำเลยเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 8 นั้น เป็นเพียงเหตุหนึ่งที่กฎหมายให้อำนาจโจทก์ฟ้องจำเลยให้ล้มละลายได้เท่านั้น ส่วนการพิจารณาคดีล้มละลาย มาตรา 14 ให้ศาลพิจารณาเอาความจริงตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 9 หรือมาตรา 10 และการที่ศาลจะมีคำสั่งให้ผู้ใดเป็นบุคคลล้มละลาย ไม่ใช่อาศัยแต่ลำพังข้อเท็จจริงอันเป็นเงื่อนไขตามข้อสันนิษฐานของกฎหมายอย่างเดียว แต่ยังต้องพิเคราะห์ถึงเหตุผลอื่นประกอบที่พอแสดงให้เห็นว่าจำเลยตกอยู่ในฐานะผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวจริง เพราะการวินิจฉัยให้บุคคลล้มละลายนั้นย่อมกระทบถึงสิทธิและเสรีภาพในการดำรงชีวิตตามกฎหมายตลอดจนสถานะของบุคคลและสิทธิในทางทรัพย์สินของผู้นั้นโดยตรง ข้อเท็จจริงในคดีนี้แม้จะรับฟังว่า จำเลยเป็นหนี้โจทก์พร้อมดอกเบี้ยคิดถึงวันฟ้องเป็นเงิน 72,915.75 บาท และมีพฤติการณ์เข้าข้อสันนิษฐานตามกฎหมายก็ตาม แต่มูลคดีเดิมที่โจทก์ฟ้องต่อศาลแพ่งกรุงเทพใต้นั้นเป็นมูลหนี้เกิดขึ้นในปี 2532 ซึ่งยอดหนี้ที่จำเลยจะต้องรับผิดเพียง 36,077.25 บาทเท่านั้น โจทก์รอจนกระทั่งปี 2539 จึงได้นำคดีมาฟ้องเป็นคดีล้มละลาย พฤติการณ์เช่นนี้ก่อให้เกิดการคิดคำนวณดอกเบี้ยเรื่อยมานับแต่ปี 2532 ทำให้ต้นเงินและดอกเบี้ยเมื่อคิดถึงวันฟ้องคดีนี้เป็นจำนวนถึง 72,915.75 บาท อีกทั้งการสืบหาทรัพย์สินของจำเลยปรากฏว่าบ้านทาวน์เฮาส์ 2 ชั้นของจำเลยปิดประตูใส่กุญแจอยู่ในลักษณะทิ้งร้างเท่านั้น แต่โจทก์ไม่ได้เข้าไปตรวจดูว่ามีทรัพย์สินอื่นใดบ้างกลับแถลงต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีว่าไม่มีทรัพย์สินของจำเลยอยู่ในบ้านและโจทก์ก็มิได้นำเจ้าพนักงานบังคับคดีที่ไปทำการยึดทรัพย์สินมาเบิกความสนับสนุนให้เห็นถึงฐานะของจำเลยว่าไม่มีทรัพย์สินอันจะพึงให้ยึดได้จริง เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยเป็นหนี้บุคคลอื่นใดอีกรูปคดียังไม่พอฟังว่าจำเลยเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัว กรณีมีเหตุที่ไม่ควรให้ลูกหนี้ล้มละลาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9237/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำสืบพยานบุคคลหักล้างเอกสารในคดีล้มละลาย ศาลต้องพิจารณาความจริงเพื่อความสงบเรียบร้อย
พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 14เป็นกฎหมายพิเศษที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนซึ่งกำหนดให้เป็นหน้าที่ของศาลที่จะต้องพิจารณาเอาความจริงให้ได้ว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัวจริงหรือไม่ การที่ห้ามนำสืบพยานบุคคลเพื่อให้มีผลเป็นการเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสารอันเป็นการตัดรอน มิให้ศาลรับฟังพยานหลักฐานย่อมขัดต่อ พระราชบัญญัติล้มละลาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7055/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับยาที่มีคาเฟอีนเป็นส่วนผสม ไม่ถือเป็นการละเมิดต่อโจทก์ หากเป็นการติชมโดยสุจริตและไม่ฝ่าฝืนต่อความจริง
คาเฟอีนเป็นอันตรายต่อสุขภาพร่างกายไม่ว่าจะผสมอยู่ในตำรับยาใด ก็ไม่สมควรที่จะปล่อยให้ประชาชนซื้อหารับประทานเองตามใจชอบ การที่จำเลยที่ 3 ลงพิมพ์ข้อความด้วยว่า เจ้าตำรับผลิตยามัจจุราชถามหาก็ดีเจ้าตำรับยาพยายมก็ดี แต่เมื่ออ่านข้อความทั้งหมดแล้ว คงมีความหมายแต่เพียงว่ายาดังกล่าวเป็นยาอันตรายต่อร่างกายและอาจถึงแก่ชีวิตได้ หาใช่มีความหมายว่ารับประทานแล้วจะเกิดผลให้ต้องตายในทันทีไม่แต่เป็นการสื่อความหมายให้ประชาชนทราบว่ามีความเสี่ยงต่อภัยอันตรายที่อาจได้รับจากการบริโภคยาสองชนิดดังกล่าวที่มีส่วนผสมของคาเฟอีนอยู่ด้วยเท่านั้น
โจทก์ได้บรรยายสรรพคุณเกี่ยวกับยาโคบาลเคคินว่าเป็นยาบำรุงร่างกาย ส่วนยาโคบาลบีดับบลิว ว่าเป็นยาช่วยกระตุ้นระบบประสาทส่วนกลางและระบบการหายใจกับมีภาพโคบาลขี่ม้าคึกคะนองติดอยู่ที่แผงยาด้วยและโจทก์ประสงค์จะใช้ภาพโคบาลขี่ม้าคึกคะนองเป็นเครื่องหมายการค้าของโจทก์ด้วยก็ตาม การที่จำเลยที่ 3 ใช้ข้อความว่า "เป็นยาปลุกคึกน้องใหม่" กับยาของโจทก์ดังกล่าวย่อมเป็นที่เข้าใจได้ว่าหากบริโภคยาของโจทก์แล้วร่างกายแข็งแรงกระปรี้กระเปร่าคึกคะนอง ยังไม่มีความหมายชัดเจนพอให้ผู้อ่านเข้าใจว่าเป็นยาปลุกกำหนัดทางเพศ สำหรับข้อความที่ว่า "ยังถูกเพ่งเล็งว่ายาของโจทก์เป็นยาม้าเทียม" เมื่อจำเลยที่ 3 ได้กล่าวเป็นทำนองยกขึ้นเปรียบเทียบและมิได้เป็นการกล่าวยืนยันว่ายาของโจทก์เป็นยาม้าแต่อย่างใด ดังนี้ ข้อความที่จำเลยที่ 3 ลงพิมพ์ไปนั้นไม่เป็นข้อความอันฝ่าฝืนต่อความเป็นจริง จึงไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์
โจทก์ได้บรรยายสรรพคุณเกี่ยวกับยาโคบาลเคคินว่าเป็นยาบำรุงร่างกาย ส่วนยาโคบาลบีดับบลิว ว่าเป็นยาช่วยกระตุ้นระบบประสาทส่วนกลางและระบบการหายใจกับมีภาพโคบาลขี่ม้าคึกคะนองติดอยู่ที่แผงยาด้วยและโจทก์ประสงค์จะใช้ภาพโคบาลขี่ม้าคึกคะนองเป็นเครื่องหมายการค้าของโจทก์ด้วยก็ตาม การที่จำเลยที่ 3 ใช้ข้อความว่า "เป็นยาปลุกคึกน้องใหม่" กับยาของโจทก์ดังกล่าวย่อมเป็นที่เข้าใจได้ว่าหากบริโภคยาของโจทก์แล้วร่างกายแข็งแรงกระปรี้กระเปร่าคึกคะนอง ยังไม่มีความหมายชัดเจนพอให้ผู้อ่านเข้าใจว่าเป็นยาปลุกกำหนัดทางเพศ สำหรับข้อความที่ว่า "ยังถูกเพ่งเล็งว่ายาของโจทก์เป็นยาม้าเทียม" เมื่อจำเลยที่ 3 ได้กล่าวเป็นทำนองยกขึ้นเปรียบเทียบและมิได้เป็นการกล่าวยืนยันว่ายาของโจทก์เป็นยาม้าแต่อย่างใด ดังนี้ ข้อความที่จำเลยที่ 3 ลงพิมพ์ไปนั้นไม่เป็นข้อความอันฝ่าฝืนต่อความเป็นจริง จึงไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4853/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หมิ่นประมาททางหนังสือพิมพ์: การลงข้อความใส่ความโจทก์โดยไม่ตรวจสอบความจริง
จำเลยในฐานะบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ ลงพิมพ์ข้อความเกี่ยวกับโจทก์ในหนังสือพิมพ์ว่า "ผู้ที่ไปรายงานให้อุปทูตซาอุดีอาระเบียทราบมีเหตุผลอะไรที่ต้องแอบไปขายเพื่อนให้กับอุปทูต..." และข้อความว่า "...สาเหตุที่พันตำรวจเอกคนนั้นแอบไปสารภาพไถ่บาปกับอุปทูตเพื่อสร้างความดีความชอบให้กับตนเอง พันตำรวจโทสมคิดรู้เต็มอกว่า เพื่อนนายตำรวจในทีมคนไหนแอบใช้มีดปักหลังเพื่อน..." กับข้อความว่า "...และต่อมานายโมจาเอ็ด เอ อัลโนไวเซอร์ อุปทูตซาอุ ฯ ได้ยื่นหนังสือร้องทุกข์กล่าวโทษ พ.ต.ท.สมคิด บุญถนอมว่าเป็นผู้มีส่วนรู้เห็นในการหายตัวลึกลับของนายโมฮัมเหม็ด อัลรู ไวรี่ นักธุรกิจชาวซาอุ ฯ โดยอ้างจากคำบันทึกของ พ.ต.อ.เทพรัตน์ รัตนวานิช ว่าเป็นผู้รายงานให้ทราบ..." ข้อความดังกล่าว มีลักษณะเป็นการใส่ความว่าโจทก์เป็นคนไม่ดี โดยนำเรื่องไปบอกอุปทูตซาอุดีอาระเบีย เป็นคนขายเพื่อนเพื่อหาความดีให้ตน จึงเป็นกรณีน่าจะทำให้โจทก์เสียชื่อเสียงถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชัง ซึ่งจำเลยเองก็ยอมรับว่า จำเลยไม่ทราบว่าข้อความดังกล่าวนั้นจะเป็นความจริงหรือไม่ฉะนั้น จำเลยจะอ้างว่าแสดงความคิดเห็นโดยสุจริต ติชมด้วยความเป็นธรรมอันเป็นวิสัยของจำเลยซึ่งมีวิชาชีพของหนังสือพิมพ์ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4113/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำบอกเล่าของผู้ตายก่อนสิ้นใจมีน้ำหนักรับฟังได้ หากแสดงให้เห็นว่ารู้ตัวว่ากำลังจะตายและไม่มีเวลาปรักปรำผู้อื่น
บาดแผลที่ผู้ตายได้รับเป็นบาดแผลฉกรรจ์เมื่อผู้ตายวิ่งมาขอความช่วยเหลือแล้วผู้ตายก็เงียบเสียงไปพูดไม่ได้อีกขณะนำผู้ตายส่งโรงพยาบาลมีผู้ถามอาการผู้ตายผู้ตายส่งเสียงฮือแล้วไม่พูดอะไรการที่ผู้ตายวิ่งมาขอความช่วยเหลือและบอกถึงคนที่ทำร้ายตนในโอกาสแรกเช่นนี้แสดงให้เห็นได้อยู่ในตัวว่าผู้ตายรู้ตัวว่าตนจะต้องตายและผู้ตายไม่มีเวลาที่จะคิดปรักปรำบุคคลอื่นโดยไม่เป็นความจริงดังนั้นคำพูดของผู้ตายที่พูดบอกก่อนตายจึงมีน้ำหนักให้รับฟังได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8446/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกล่าวความจริงต่อบุคคลที่มีส่วนได้เสีย ไม่เป็นละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 423
โจทก์บรรยายฟ้องให้จำเลยรับผิดฐานละเมิดโดยยกข้ออ้างว่า จำเลยกล่าวหรือไข่ข่าวซึ่งข้อความอันฝ่าฝืนต่อความจริง เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหายแก่ชื่อเสียงเกียรติคุณ ทางทำมาหาได้หรือทางเจริญของโจทก์ซึ่งเป็นความรับผิดเพื่อละเมิดตามมาตรา 423แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ดังนั้น เมื่อข้อความที่จำเลยพูดทางโทรศัพท์แก่ น. ภริยาโจทก์เป็นความจริงการที่จำเลยกล่าวแก่ น. ซึ่งมีทางได้เสียโดยชอบในการนั้นแล้ว ย่อมไม่เป็นละเมิดตามมาตรา 423จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยให้จำเลยรับผิดตามมาตรา 420จึงเป็นการไม่ชอบ เพราะนอกเหนือไปจากที่ปรากฏในคำฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6576/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำสืบตัวแทนและขอบเขตการพิจารณาคดี: การนำสืบเรื่องความจริงที่เป็นอยู่ไม่ขัดป.วิ.พ. และการพิจารณาเกินคำขอ
การที่โจทก์นำสืบว่า ส.ผู้ทำสัญญาซื้อขายที่ดินกับจำเลยเป็นตัวแทนของโจทก์ เป็นกรณีตัวการซึ่งมิได้เปิดเผยชื่อกลับแสดงตนให้ปรากฏ และเข้ารับเอาสัญญาที่ตัวแทนได้ทำไว้แทนตาม ป.พ.พ. มาตรา 806 ย่อมนำสืบได้เพราะนำสืบเรื่องความจริงที่เป็นอยู่ มิได้นำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสารตามป.วิ.พ. มาตรา 94 (ข)
ที่ดินพิพาทเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ เลขที่ 87 ตำบลเขาใหญ่ อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี ซึ่งตามคำฟ้องของโจทก์ได้รรยายไว้แล้วว่าได้มีการขอแบ่งแยกแล้วโดยคำขอท้ายฟ้องระบุว่าเป็นที่ดินล็อกที่ 3 ทั้งได้แนบแผนที่มาท้ายฟ้องด้วย ซึ่งจำเลยก็มิได้ให้การหรือนำสืบโต้แย้งอย่างใด เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่า ที่ดินพิพาทได้มีการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) แล้วเป็นเลขที่ 1319 ตำบลเขาใหญ่ อำเภอชะอำจังหวัดเพชรบุรี ดังนั้นการที่ศาลพิพากษาคดีโดยกล่าวถึงที่ดินพิพาทตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) ดังกล่าว จึงมิได้เป็นการพิจารณาเกินคำขอของโจทก์แต่อย่างใด
ที่ดินพิพาทเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ เลขที่ 87 ตำบลเขาใหญ่ อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี ซึ่งตามคำฟ้องของโจทก์ได้รรยายไว้แล้วว่าได้มีการขอแบ่งแยกแล้วโดยคำขอท้ายฟ้องระบุว่าเป็นที่ดินล็อกที่ 3 ทั้งได้แนบแผนที่มาท้ายฟ้องด้วย ซึ่งจำเลยก็มิได้ให้การหรือนำสืบโต้แย้งอย่างใด เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่า ที่ดินพิพาทได้มีการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) แล้วเป็นเลขที่ 1319 ตำบลเขาใหญ่ อำเภอชะอำจังหวัดเพชรบุรี ดังนั้นการที่ศาลพิพากษาคดีโดยกล่าวถึงที่ดินพิพาทตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) ดังกล่าว จึงมิได้เป็นการพิจารณาเกินคำขอของโจทก์แต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4903/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำรับสารภาพและพยานหลักฐานแวดล้อมใช้พิสูจน์ความผิดฐานปล้นทรัพย์ได้ หากปรากฏข้อเท็จจริงสนับสนุนความสมัครใจและเป็นความจริง
การที่จำเลยที่ 3 ให้การรับสารภาพในชั้นจับกุมและชั้นสอบสวนกับนำชี้สถานที่ต่าง ๆ ที่ระบุในคำให้การโดยความสมัครใจ ทั้งมีพยานพฤติเหตุแวดล้อม กรณีว่า จำเลยที่ 3นำเจ้าพนักงานตำรวจไปตรวจค้นยึดเหรียญหลวงปู่แหวนของผู้เสียหายที่ถูกจำเลยที่ 1 และที่ 2 กับพวกปล้นไปคืนได้จากบ้านจำเลยที่ 3 เช่นนี้ทำให้เชื่อได้ว่าจำเลยที่ 3ได้ร่วมกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 กระทำความผิดฐานปล้นทรัพย์ของผู้เสียหายตามฟ้อง แม้โจทก์ไม่มีประจักษ์พยานมาเบิกความยืนยันว่าจำเลยที่ 3 ได้ร่วมกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ปล้นทรัพย์ของผู้เสียหาย คงมีแต่คำให้การรับสารภาพในชั้นจับกุมและชั้นสอบสวนของจำเลยที่ 3 และพยานพฤติเหตุแวดล้อมกรณีแต่คำให้การรับสารภาพดังกล่าวของจำเลยที่ 3 ก็อาจใช้ยันจำเลยที่3 ในชั้นพิจารณาได้ หากมีพยานหลักฐานพอรับฟังได้ว่าจำเลยที่ 3 ให้การรับสารภาพโดยสมัครใจและตามความสัตย์จริง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3285/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปกปิดโรคประจำตัวก่อนทำสัญญาประกันชีวิตทำให้สัญญาเป็นโมฆียะ
การที่ ล.ปกปิดข้อความจริงเกี่ยวกับการเป็นโรคตับต่อจำเลยที่ 1ในเวลาทำสัญญาประกันชีวิต ซึ่งหากจำเลยที่ 1 รู้ว่า ล.เป็นโรคตับอันเป็นโรคที่ร้ายแรง จำเลยที่ 1 จะบอกปัดไม่ยอมรับประกันชีวิต สัญญาจึงเป็นโมฆียะ เมื่อจำเลยที่ 1 ทราบเหตุแห่งการบอกล้างวันที่ 13 กันยายน 2529 และจำเลยที่ 1มีหนังสือลงวันที่ 3 ตุลาคม 2529 บอกล้างต่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้รับประโยชน์ จำเลยที่ 1 จึงไม่มีความผูกพันตามสัญญาที่จะต้องรับผิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5268/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปกปิดเจ็บป่วยก่อนทำประกันชีวิตทำให้สัญญาเป็นโมฆียะ จำเลยมีสิทธิบอกล้างสัญญาได้
ช. ป่วยเป็นโรคพิษสุราเรื้อรังอยู่ในขณะที่ทำคำขอเอาประกันชีวิตแต่ ช. กลับระบุในคำขอดังกล่าวว่าตนสุขภาพสมบูรณ์ดี ในระหว่างสองปีที่แล้วมาไม่เคยเข้าสถานพยาบาลทำการรักษาตัวความจริงเกี่ยวกับสุขภาพของ ช. ดังกล่าวเป็นข้อสำคัญสำหรับประกอบการวินิจฉัยของจำเลยผู้รับประกันภัยว่าจะรับประกันชีวิตหรือไม่ เมื่อ ช. ปกปิดข้อความจริงดังกล่าว สัญญาประกันชีวิตช. จึงเป็นโมฆียะ และข้อความจริงดังกล่าวมิใช่เรื่องที่ตัวแทนของจำเลยจะรู้ได้เอง จึงถือไม่ได้ว่าตัวแทนของจำเลยรู้หรือจำเลยควรจะรู้หากใช้ความระมัดระวัง จำเลยได้บอกล้างสัญญาประกันชีวิตดังกล่าวต่อโจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นผู้รับประโยชน์ตามสัญญาภายในกำหนดเวลาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 865 แล้ว สัญญาประกันชีวิตจึงตกเป็นโมฆะ.