พบผลลัพธ์ทั้งหมด 30 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5201/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความค่าติดตั้งและการยึดหน่วงค่าจ้างจากความชำรุดบกพร่อง
จำเลยที่ 1 รับจ้างผู้อื่นปลูกสร้างอาคาร ในการนี้จำเลยที่ 1 ได้สั่งซื้อสังกะสีจากโจทก์และว่าจ้างโจทก์มุงหลังคาอาคาร กรณีจึงตกอยู่ในบังคับของ ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (1) ตอนท้ายที่ว่า เว้นแต่เป็นการที่ได้ทำเพื่อกิจการของฝ่ายลูกหนี้นั้นเอง ดังนั้นอายุความสิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงมีกำหนด 5 ปี เมื่อนับระยะเวลาจากวันครบกำหนดชำระเงิน ซึ่งจำเลยที่ 1 ผิดนัดถึงวันฟ้องยังไม่พ้นกำหนด 5 ปี ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
โจทก์ส่งมอบงานติดตั้งหลังคาอาคารให้แก่จำเลยที่ 1 แล้ว หลังจากนั้นเมื่อฝนตกหลังคารั่วและเปิดออกเมื่อถูกลมตี อันเป็นความชำรุดบกพร่องซึ่งไม่พึงพบได้ในขณะเมื่อรับมอบ โจทก์จึงต้องรับผิดต่อจำเลยที่ 1 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 598 โดยจำเลยที่ 1 มีสิทธิยึดหน่วงค่าจ้างไว้ได้เพียงเพื่อให้โจทก์แก้ไขซ่อมแซมการชำรุดบกพร่องดังกล่าว เมื่อโจทก์ยังซ่อมแซมไม่แล้วเสร็จ จำเลยที่ 1 จึงชอบที่จะยึดหน่วงสินจ้างไว้ได้
โจทก์ส่งมอบงานติดตั้งหลังคาอาคารให้แก่จำเลยที่ 1 แล้ว หลังจากนั้นเมื่อฝนตกหลังคารั่วและเปิดออกเมื่อถูกลมตี อันเป็นความชำรุดบกพร่องซึ่งไม่พึงพบได้ในขณะเมื่อรับมอบ โจทก์จึงต้องรับผิดต่อจำเลยที่ 1 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 598 โดยจำเลยที่ 1 มีสิทธิยึดหน่วงค่าจ้างไว้ได้เพียงเพื่อให้โจทก์แก้ไขซ่อมแซมการชำรุดบกพร่องดังกล่าว เมื่อโจทก์ยังซ่อมแซมไม่แล้วเสร็จ จำเลยที่ 1 จึงชอบที่จะยึดหน่วงสินจ้างไว้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 508/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ขายเกี่ยวกับความชำรุดบกพร่องของสินค้า: ความชำรุดที่เกิดขึ้นหลังการใช้งานไม่ใช่ความรับผิดของผู้ขาย
ความชำรุดบกพร่องของทรัพย์สินที่ขายอันผู้ขายจะต้องรับผิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 572 นั้น จะต้องเป็นความชำรุดบกพร่องที่มีอยู่ก่อนแล้ว หรือมีอยู่ในขณะนำสัญญาซื้อขาย หรือในเวลาส่งมอบทรัพย์สินที่ขาย เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าก่อนที่ผู้ซื้อจะรับมอบเครื่องผลิตไอศกรีมพิพาทจากผู้ขาย ผู้ซื้อได้ตรวจสอบการทำงานของเครื่องแล้วปรากฏว่าเครื่องสามารถใช้การได้ดี ฉะนั้น ที่เครื่องผลิตไอศกรีมพิพาทเกิดชำรุดบกพร่องหลังจากใช้งานไปได้เกือบ 1 ปี จึงเป็นความชำรุดบกพร่องที่มีขึ้นภายหลังอันเกิดจากการใช้งาน ผู้ขายหาต้องรับผิดในความชำรุดบกพร่องนี้ไม่ ผู้ซื้อจึงไม่มีสิทธิยึดหน่วงราคาที่ยังได้ได้ชำระตามมาตรา 488
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 508/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความชำรุดบกพร่องหลังส่งมอบสินค้า ผู้ขายไม่ต้องรับผิด และสิทธิในการยึดหน่วงราคาสิ้นสุดลง
ความชำรุดบกพร่องของทรัพย์สินที่ขายอันผู้ขายจะต้องรับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 472 นั้น จะต้องเป็นความชำรุดบกพร่องที่มีอยู่ก่อนแล้ว หรือมีอยู่ในขณะทำสัญญาซื้อขายหรือในเวลาส่งมอบทรัพย์สินที่ขายส่วนความชำรุดบกพร่องที่มีขึ้นภายหลังผู้ขายหาต้องรับผิดไม่ ปรากฏว่าก่อนที่จำเลยรับมอบเครื่องผลิตไอศกรีมพิพาทจากโจทก์ จำเลยได้ตรวจสอบการทำงานของเครื่องแล้ว ซึ่งสามารถใช้การได้ดี แสดงว่าเครื่องผลิตไอศกรีมดังกล่าวมิได้มีความชำรุดบกพร่องอยู่ก่อนหรือในขณะทำสัญญาซื้อขายหรือในเวลาส่งมอบ ดังนั้น การที่เครื่องผลิตไอศกรีมพิพาทเกิดชำรุดบกพร่องหลังจากใช้งานไปได้เกือบ 1 ปี จึงเป็นความชำรุดบกพร่องนี้ไม่ จำเลยจึงไม่มีสิทธิยึดหน่วงราคาที่ยังไม่ได้ชำระตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 488
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1223/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความชำรุดบกพร่องของสินค้าหลังส่งมอบ ผู้ขายไม่ต้องรับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 472
ความชำรุดบกพร่องในทรัพย์สินซึ่งขายอันผู้ขายจะต้องรับผิดต่อผู้ซื้อตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 472 จะต้องเป็นความชำรุดบกพร่องที่มีอยู่ก่อนแล้วหรือมีอยู่ในขณะทำสัญญาซื้อขายหรือในเวลาส่งมอบทรัพย์สินที่ขาย ส่วนความชำรุดบกพร่องที่มีขึ้นภายหลัง ผู้ขายหาต้องรับผิดไม่ ฉะนั้น เมื่อโจทก์ทำและติดตั้งถังคริสตัลที่โรงงานของจำเลยตามสัญญาซื้อขายแล้ว จำเลยได้ดำเนินการผลิตผงชูรสได้นานประมาณ 2 เดือน จึงเกิดปัญหาหรือความเสียหายในส่วนชุดกวนของถังคริสตัล โจทก์จึงไม่ต้องรับผิดในความชำรุดบกพร่องดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8088/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ขายทาวน์เฮาส์ใหม่จากความชำรุดบกพร่องก่อนเวลาอันสมควร
โจทก์ทั้งสามซื้อทาวน์เฮาส์หลังพิพาทมาในสภาพใหม่เพิ่งก่อสร้างเสร็จจากจำเลย และเข้าอยู่อาศัยใช้ประโยชน์ได้เพียง 6 เดือน ก็เกิดความชำรุดบกพร่องในส่วนสำคัญหลายรายการ จนไม่อาจใช้อยู่อาศัยได้อย่างปกติสุขหรือเหมาะสมแก่ประโยชน์อันมุ่งจะใช้เป็นปกติต่อไปได้ เป็นการชำรุดบกพร่องก่อนเวลาอันสมควร จึงหาใช่เป็นเรื่องที่ความชำรุดบกพร่องเกิดขึ้นจากธรรมชาติของการใช้สอยไม่ จำเลยผู้ขายย่อมต้องรับผิดในความชำรุดบกพร่องของทาวน์เฮ้าส์นั้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 472
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 54/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาว่าจ้างปลูกต้นไม้: การส่งมอบงาน, การชำระเงิน, และขอบเขตความรับผิดชอบความชำรุดบกพร่อง
สัญญาว่าจ้างปลูกต้นปาล์มน้ำมัน ข้อ 10 ความว่าการส่งมอบงานตามสัญญานี้ให้หมายถึงการส่งมอบงานที่แล้วเสร็จ และถูกต้องสมบูรณ์เป็นช่วง ช่วงละ 50 ต้น และข้อ 16 ความว่า ผู้ว่าจ้างตกลงชำระค่าจ้างแก่ผู้รับจ้างตามสัญญา โดยแบ่งชำระเป็นงวด ๆ ดังต่อไปนี้ (16.1) ชำระราคา ต่อเมื่อผู้รับจ้างได้ทำการปลูกต้นปาล์มน้ำมันจนแล้วเสร็จและ ส่งมอบในแต่ละช่วง ช่วงละ 50 ต้น (16.2) ชำระราคา โดยผู้ว่าจ้างจะทำการจ่ายภายหลัง 3 เดือน นับแต่ส่งมอบงาน แล้วเสร็จในแต่ละช่วง (16.3) ชำระราคา โดยผู้ว่าจ้าง จะทำการจ่ายเมื่อครบกำหนดการรับประกันโดยไม่มีข้อชำรุด บกพร่องในงานแต่ละช่วงตามสัญญา ดังนั้น การที่จำเลย จ่ายค่าจ้างงวดแรกให้โจทก์ตามสัญญา แสดงว่าโจทก์ได้ส่งมอบ งานตามสัญญาที่แล้วเสร็จและถูกต้องสมบูรณ์แล้ว เมื่อครบกำหนด 3 เดือน นับแต่ส่งมอบงานแล้วเสร็จในแต่ละช่วงตามสัญญาจำเลยจึงมีหน้าที่ต้องจ่ายเงินตามข้อ 16.2 จำเลยแจ้งความเสียหาย ให้โจทก์แก้ไขเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2536 โจทก์ยอมรับว่า มีความชำรุดบกพร่องจริงเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2537 แสดงว่า นับแต่จำเลยแจ้งความชำรุดบกพร่องครั้งแรกจนถึงวันตรวจสอบ ครั้งหลังเป็นเวลาเกือบหนึ่งปีครึ่ง น่าเชื่อว่าโจทก์ปรับปรุง แก้ไขนานแล้ว เมื่อไม่ปรากฏหลักฐานว่าโจทก์ส่งมอบงาน ที่แล้วเสร็จ สมบูรณ์ แก่จำเลยเมื่อใด แต่จำเลยจ่ายเงินค่าจ้าง งวดแรกแก่โจทก์ครบถ้วน ถือว่าโจทก์ปลูกต้นปาล์มน้ำมัน แล้วเสร็จภายใน 45 วัน คือ ถือว่าโจทก์ปลูกต้นปาล์มน้ำมัน และส่งมอบงานที่แล้วเสร็จ สมบูรณ์ แก่จำเลยภายในวันที่ 2 พฤษภาคม 2536 กำหนดเวลาที่โจทก์รับประกันความชำรุด บกพร่องของต้นปาล์มน้ำมันเป็นเวลา 1 ปี นับแต่ส่งมอบงานในแต่ละช่วง จึงมีกำหนดถึงวันที่ 3 พฤษภาคม 2537 จำเลยแจ้ง ให้โจทก์ทราบว่าต้นปาล์มน้ำมันล้มตายเป็นจำนวนมาก ให้โจทก์แก้ไขซ่อมแซมซึ่งเป็นเวลาหลังจากการรับประกัน ความชำรุดบกพร่องของโจทก์สิ้นสุดลงแล้ว เมื่อไม่ปรากฏว่า ความชำรุดบกพร่องเกิดขึ้นภายในระยะเวลาที่โจทก์รับประกัน ความชำรุดบกพร่อง โจทก์จึงไม่ต้องรับผิดแก้ไขซ่อมแซม ที่กรรมการโจทก์แจ้งให้จำเลยทราบว่ามีต้นปาล์มน้ำมันเสียหาย 12 ต้น ก็ไม่มีข้อความใดระบุว่าความเสียหายเกิดขึ้นภายใน ระยะเวลาที่โจทก์รับประกันความชำรุดบกพร่องจำเลยจึง มีหน้าที่ต้องจ่ายเงินเป็นจำนวนร้อยละ 10 ของจำนวน ค่าจ้างตามสัญญาข้อ 16.3 เมื่อจำเลยไม่จ่ายเงินจึงเป็นฝ่าย ผิดสัญญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1469/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดจากสัญญาจ้างกำจัดปลวก: ความชำรุดบกพร่องและการขาดอายุความ
ความชำรุดบกพร่องตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ.มาตรา 601หมายถึง ความชำรุดบกพร่องอันเกิดขึ้นตามที่บัญญัติไว้ในมาตราก่อน ๆ คือ มาตรา598, 599 และ 600 อันหมายถึงความชำรุดบกพร่องในตัวทรัพย์ที่ผู้รับจ้างส่งมอบให้แก่ผู้ว่าจ้างตามสัญญาจ้างครบถ้วนแล้ว
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยผิดสัญญาที่ไม่ตรวจภายในอาคารคลังพัสดุให้ละเอียดว่ามีปลวกขึ้นหรือไม่ จำเลยจึงไม่เห็นปลวกในจุดที่ปลวกกัดกินผ้าดิบของโจทก์และไม่กำจัดปลวกให้หมดสิ้น กับไม่ใส่ยาเคมีป้องกันมิให้ปลวกขยายพันธุ์ให้ทั่วบริเวณสถานที่ตามข้อตกลงในสัญญาจ้างกำจัดและป้องกันปลวก ซึ่งขณะปลวกกัดกินผ้าดิบยังอยู่ในอายุสัญญาจ้างดังกล่าว ตามคำฟ้องของโจทก์จึงเป็นเรื่องที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 1 รับผิดที่ไม่ปฏิบัติให้ครบถ้วนตามสัญญา กรณีไม่ต้องด้วย ป.พ.พ.มาตรา601 ดังนี้เมื่อจำเลยไม่ปฏิบัติให้ครบถ้วนตามสัญญา จำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา ต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายที่ผ้าดิบของโจทก์ถูกปลวกกัดกินเสียหายแก่โจทก์ สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายดังกล่าวนี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีกำหนดอายุความ10 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/30 และนับแต่วันที่โจทก์พบปลวกกัดกินผ้าดิบเสียหายถึงวันฟ้อง คดียังไม่พ้นกำหนด 10 ปี คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยผิดสัญญาที่ไม่ตรวจภายในอาคารคลังพัสดุให้ละเอียดว่ามีปลวกขึ้นหรือไม่ จำเลยจึงไม่เห็นปลวกในจุดที่ปลวกกัดกินผ้าดิบของโจทก์และไม่กำจัดปลวกให้หมดสิ้น กับไม่ใส่ยาเคมีป้องกันมิให้ปลวกขยายพันธุ์ให้ทั่วบริเวณสถานที่ตามข้อตกลงในสัญญาจ้างกำจัดและป้องกันปลวก ซึ่งขณะปลวกกัดกินผ้าดิบยังอยู่ในอายุสัญญาจ้างดังกล่าว ตามคำฟ้องของโจทก์จึงเป็นเรื่องที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 1 รับผิดที่ไม่ปฏิบัติให้ครบถ้วนตามสัญญา กรณีไม่ต้องด้วย ป.พ.พ.มาตรา601 ดังนี้เมื่อจำเลยไม่ปฏิบัติให้ครบถ้วนตามสัญญา จำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา ต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายที่ผ้าดิบของโจทก์ถูกปลวกกัดกินเสียหายแก่โจทก์ สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายดังกล่าวนี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีกำหนดอายุความ10 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/30 และนับแต่วันที่โจทก์พบปลวกกัดกินผ้าดิบเสียหายถึงวันฟ้อง คดียังไม่พ้นกำหนด 10 ปี คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7806/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการอ้างสัญญาเพิ่มเติมในฎีกา, ความชำรุดบกพร่องหลังส่งมอบ, อายุความค่าของและการผิดนัดชำระหนี้
โจทก์ฟ้องเรียกให้จำเลยชำระหนี้ที่ค้างจากการซื้อเครื่องทำน้ำแข็งหลอด โดยโจทก์มิได้กล่าวอ้างถึงสัญญาติดตั้งเครื่อง การที่โจทก์ยกสัญญาติดตั้งเครื่องทำน้ำแข็งหลอดขึ้นอ้างในฎีกา เมื่อเป็นข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249วรรคหนึ่ง ดังนี้โจทก์จึงนำเงินที่จำเลยชำระแก่โจทก์มาหักเป็นค่าติดตั้งเครื่องไม่ได้
ป.พ.พ.มาตรา 472 ที่บัญญัติให้ผู้ขายต้องรับผิดต่อผู้ซื้อในความชำรุดบกพร่องในทรัพย์สินซึ่งขาย และผู้ซื้อมีสิทธิที่จะยึดหน่วงราคาที่ยังไม่ได้ชำระแก่ผู้ขายตามมาตรา 488 นั้น จะต้องเป็นความชำรุดบกพร่องที่มีอยู่ก่อนแล้วหรือมีอยู่ในขณะทำสัญญาซื้อขายหรือในเวลาส่งมอบทรัพย์สินที่ขาย ส่วนความชำรุดบกพร่องที่มีขึ้นภายหลัง ผู้ขายหาต้องรับผิดไม่
เครื่องทำน้ำแข็งหลอดที่จำเลยซื้อจากโจทก์ไม่สามารถผลิตน้ำแข็งได้ 15,000 กิโลกรัมต่อ 24 ชั่วโมงตามสัญญาได้ เพราะเกิดจากการตั้งเครื่องคอมเพรสเซอร์ห่างจากเครื่องทำน้ำแข็งหลอดมากเกินไป จึงทำให้แรงอัดแอมโมเนียอ่อน และทำให้ลิ้นไอดีไอเสียแตก ซึ่งเป็นความชำรุดบกพร่องที่มีขึ้นในภายหลังที่จำเลยรับมอบและใช้ประโยชน์มาแล้ว จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องชำระเงินส่วนที่ยังค้างชำระให้แก่โจทก์ ส่วนการที่โจทก์ติดตั้งและเกิดมีความชำรุดบกพร่องอย่างไร โจทก์จะต้องแก้ไขให้จำเลยหรือไม่ เป็นเรื่องที่จำเลยจะต้องดำเนินการตามข้อสัญญาที่มีอยู่อีกส่วนหนึ่ง จำเลยจะอ้างมาเป็นเหตุยึดหน่วงราคาไม่ยอมชำระราคาให้แก่โจทก์หาได้ไม่
จำเลยที่ 1 ได้ชำระเงินค่าซื้อเครื่องทำน้ำแข็งหลอดให้แก่โจทก์เป็นครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2532 สิทธิเรียกร้องของโจทก์เป็นการที่ผู้ประกอบการค้าเรียกเอาค่าของที่ได้ส่งมอบให้แก่จำเลย และจำเลยใช้เครื่องทำน้ำแข็งหลอดที่ซื้อผลิตน้ำแข็งออกขาย จึงเป็นการที่ได้ทำเพื่อกิจการของฝ่ายลูกหนี้นั้นเอง จึงมีอายุความ 5 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/33 (5) โจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2535 ยังไม่เกิน 5 ปี คดีโจทก์ไม่ขาดอายุความ
ดอกเบี้ยที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยรับผิดเนื่องจากการผิดนัดไม่ชำระเงินแก่โจทก์ เป็นดอกเบี้ยที่กำหนดแทนค่าเสียหายตาม ป.พ.พ.มาตรา 224วรรคหนึ่ง และไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปีตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/30 กรณีมิใช่ดอกเบี้ยค้างชำระซึ่งมีอายุความ 5 ปีตามมาตรา 193/33 (1)
ป.พ.พ.มาตรา 472 ที่บัญญัติให้ผู้ขายต้องรับผิดต่อผู้ซื้อในความชำรุดบกพร่องในทรัพย์สินซึ่งขาย และผู้ซื้อมีสิทธิที่จะยึดหน่วงราคาที่ยังไม่ได้ชำระแก่ผู้ขายตามมาตรา 488 นั้น จะต้องเป็นความชำรุดบกพร่องที่มีอยู่ก่อนแล้วหรือมีอยู่ในขณะทำสัญญาซื้อขายหรือในเวลาส่งมอบทรัพย์สินที่ขาย ส่วนความชำรุดบกพร่องที่มีขึ้นภายหลัง ผู้ขายหาต้องรับผิดไม่
เครื่องทำน้ำแข็งหลอดที่จำเลยซื้อจากโจทก์ไม่สามารถผลิตน้ำแข็งได้ 15,000 กิโลกรัมต่อ 24 ชั่วโมงตามสัญญาได้ เพราะเกิดจากการตั้งเครื่องคอมเพรสเซอร์ห่างจากเครื่องทำน้ำแข็งหลอดมากเกินไป จึงทำให้แรงอัดแอมโมเนียอ่อน และทำให้ลิ้นไอดีไอเสียแตก ซึ่งเป็นความชำรุดบกพร่องที่มีขึ้นในภายหลังที่จำเลยรับมอบและใช้ประโยชน์มาแล้ว จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องชำระเงินส่วนที่ยังค้างชำระให้แก่โจทก์ ส่วนการที่โจทก์ติดตั้งและเกิดมีความชำรุดบกพร่องอย่างไร โจทก์จะต้องแก้ไขให้จำเลยหรือไม่ เป็นเรื่องที่จำเลยจะต้องดำเนินการตามข้อสัญญาที่มีอยู่อีกส่วนหนึ่ง จำเลยจะอ้างมาเป็นเหตุยึดหน่วงราคาไม่ยอมชำระราคาให้แก่โจทก์หาได้ไม่
จำเลยที่ 1 ได้ชำระเงินค่าซื้อเครื่องทำน้ำแข็งหลอดให้แก่โจทก์เป็นครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2532 สิทธิเรียกร้องของโจทก์เป็นการที่ผู้ประกอบการค้าเรียกเอาค่าของที่ได้ส่งมอบให้แก่จำเลย และจำเลยใช้เครื่องทำน้ำแข็งหลอดที่ซื้อผลิตน้ำแข็งออกขาย จึงเป็นการที่ได้ทำเพื่อกิจการของฝ่ายลูกหนี้นั้นเอง จึงมีอายุความ 5 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/33 (5) โจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2535 ยังไม่เกิน 5 ปี คดีโจทก์ไม่ขาดอายุความ
ดอกเบี้ยที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยรับผิดเนื่องจากการผิดนัดไม่ชำระเงินแก่โจทก์ เป็นดอกเบี้ยที่กำหนดแทนค่าเสียหายตาม ป.พ.พ.มาตรา 224วรรคหนึ่ง และไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปีตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/30 กรณีมิใช่ดอกเบี้ยค้างชำระซึ่งมีอายุความ 5 ปีตามมาตรา 193/33 (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7806/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทซื้อขายเครื่องทำน้ำแข็งหลอด: ยึดหน่วงราคาจากความชำรุดบกพร่อง & อายุความ
โจทก์ฟ้องเรียกให้จำเลยชำระหนี้ที่ค้างจากการซื้อ เครื่องทำน้ำแข็งหลอด โดยโจทก์มิได้กล่าวอ้างถึงสัญญาติดตั้งเครื่อง การที่โจทก์ยกสัญญาติดตั้งเครื่องทำน้ำแข็งหลอดขึ้นอ้างในฎีกา เมื่อเป็นข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้น ว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่งดังนี้โจทก์จึงนำเงินที่จำเลยชำระแก่โจทก์มาหัก เป็นค่าติดตั้งเครื่องไม่ได้ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 472ที่บัญญัติให้ผู้ขายต้องรับผิดต่อผู้ซื้อในความชำรุดบกพร่องในทรัพย์สินซึ่งขาย และผู้ซื้อมีสิทธิที่จะยึดหน่วงราคาที่ยังไม่ได้ชำระแก่ผู้ขายตามมาตรา 488 นั้นจะต้องเป็นความชำรุดบกพร่องที่มีอยู่ก่อนแล้วหรือมีอยู่ในขณะทำสัญญาซื้อขายหรือในเวลาส่งมอบทรัพย์สินที่ขาย ส่วนความชำรุดบกพร่องที่มีขึ้นภายหลัง ผู้ขายหาต้องรับผิดไม่ เครื่องทำน้ำแข็งหลอดที่จำเลยซื้อจาก โจทก์ไม่สามารถผลิตน้ำแข็งได้ 15,000 กิโลกรัมต่อ24 ชั่วโมงตามสัญญาได้ เพราะเกิดจากการตั้งเครื่องคอมเพรสเซอร์ห่างจากเครื่องทำน้ำแข็งหลอดมากเกินไป จึงทำให้แรงอัดแอมโมเนียอ่อน และทำให้ลิ้นไอดีไอเสียแตก ซึ่งเป็นความชำรุดบกพร่องที่มีขึ้นในภายหลังที่จำเลยรับมอบและใช้ประโยชน์มาแล้วจำเลยจึงมีหน้าที่ต้องชำระเงินส่วนที่ยังค้างชำระให้ แก่โจทก์ ส่วนการที่โจทก์ติดตั้งและเกิดมีความชำรุด บกพร่องอย่างไร โจทก์จะต้องแก้ไขให้จำเลยหรือไม่ เป็นเรื่องที่จำเลยจะต้องดำเนินการตามข้อสัญญาที่มีอยู่อีกส่วนหนึ่ง จำเลยจะอ้างมาเป็นเหตุยึดหน่วงราคาไม่ยอมชำระราคาให้แก่โจทก์หาได้ไม่ จำเลยที่ 1 ได้ชำระเงินค่าซื้อเครื่องทำน้ำแข็งหลอดให้แก่โจทก์เป็นครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2532สิทธิเรียกร้องของโจทก์เป็นการที่ผู้ประกอบการค้าเรียกเอาค่าของที่ได้ส่งมอบให้แก่จำเลย และจำเลย ใช้เครื่องทำน้ำแข็งหลอดที่ซื้อผลิตน้ำแข็งออกขายจึงเป็นการที่ได้ทำเพื่อกิจการของฝ่ายลูกหนี้ นั้นเอง จึงมีอายุความ 5 ปี ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/33(5) โจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2535 ยังไม่เกิน 5 ปี คดีโจทก์ไม่ขาดอายุความ ดอกเบี้ยที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยรับผิดเนื่องจากการผิดนัดไม่ชำระเงินแก่โจทก์ เป็นดอกเบี้ย ที่กำหนดแทนค่าเสียหายตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 วรรคหนึ่งและไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30กรณีมิใช่ดอกเบี้ยค้างชำระซึ่งมีอายุความ 5 ปีตามมาตรา 193/33(1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 732/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างก่อสร้าง: ความรับผิดในความชำรุดบกพร่องหลังส่งมอบ และการตีความเงื่อนไขการชำระเงิน
โจทก์ทำสัญญาจ้างจำเลยก่อสร้างอาคารจำเลยก่อสร้างเสร็จและส่งมอบให้แก่โจทก์รับเงินค่าจ้างจากโจทก์ไปครบถ้วนแล้วต่อมาอาคารบางแห่งมีรอยแตกร้าวเมื่อฝนตกน้ำซึมเข้าไปในอาคารซึ่งเกิดจากช่างที่จำเลยจ้างมาไม่ชำนาญหรือมีฝีมือไม่ดีพอหรือไม่ได้ทำตามกรรมวิธีที่ถูกต้องฉะนั้นเมื่อสัญญาจ้างมิได้กำหนดเวลาที่จำเลยจะต้องรับผิดไว้จำเลยจึงต้องรับผิดในความชำรุดบกพร่องที่ปรากฏขึ้นภายใน1ปีนับแต่วันส่งมอบตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา600ส่วนที่ตามสัญญาจ้างระบุว่างวดที่11เงิน200,000บาทตกลงชำระเมื่อการรับมอบงานล่วงพ้นไปแล้วเป็นเวลา6เดือนกับทั้งไม่ปรากฏว่ามีความเสียหายหรือความชำรุดบกพร่องใดๆเกิดขึ้นกับอาคารที่ก่อสร้างนั้นเป็นการกำหนดหน้าที่โจทก์ที่จะต้องชำระเงินงวดสุดท้ายให้แก่จำเลยภายในกำหนดระยะเวลาเท่าใดเท่านั้นมิใช่เป็นกำหนดระยะเวลาที่จำเลยจะต้องรับผิดเพื่อความชำรุดบกพร่องไว้ภายในกำหนดดังกล่าว