พบผลลัพธ์ทั้งหมด 115 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5144/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ประกอบการขนส่งตู้คอนเทนเนอร์ต่อความเสียหายจากความประมาทเลินเล่อในการตั้งวาง
จำเลยที่ 2 เป็นผู้ประกอบกิจการรับขนส่งตู้คอนเทนเนอร์และรับจ้างจากจำเลยที่ 1 ให้นำตู้คอนเทนเนอร์ของโจทก์ไปบรรจุสินค้าที่โรงงานของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 จึงมีหน้าที่ต้องใช้ความระมัดระวังในการตั้งวางตู้คอนเทนเนอร์ที่รับขนส่งให้มั่นคงปลอดภัยเพื่อการนำสินค้าเข้าบรรจุ การที่ ป. ขับรถไปจอดภายในโรงงานของจำเลยที่ 1 จากนั้นได้ปลดขาค้ำยันของหางลากที่บรรทุกตู้คอนเทนเนอร์ลง และปลดล็อกระหว่างรถบรรทุกหัวลากกับหางลาก เมื่อบริเวณที่ตั้งวางหางลากเป็นพื้นลาดเอียง ทำให้ด้านท้ายของหางลากซึ่งรับน้ำหนักด้วยล้ออยู่สูงกว่าด้านหน้า แต่ ป. ไม่นำแผ่นเหล็กคล้ายโต๊ะที่นำติดรถไปวางรองรับน้ำหนักของตู้คอนเทนเนอร์ที่อยู่บนหางลากให้มั่นคงแข็งแรง การที่ตู้คอนเทนเนอร์ของโจทก์ล้มลงจึงเกิดจากความประมาทเลินเล่อของ ป. จำเลยที่ 2 ผู้เป็นนายจ้างจะปัดความรับผิดโดยอ้างว่าเป็นความผิดของพนักงานของจำเลยที่ 1 ไม่ได้จัดเรียงสินค้าตามแนวยาวของตู้คอนเทนเนอร์และแม้พนักงานของจำเลยที่ 1 นำบันไดไปพาดวางไว้ที่ตู้คอนเทนเนอร์และบันไดดังกล่าวกระแทกถูกอุปกรณ์ทำความเย็นขณะตู้คอนเทนเนอร์ล้มลง ก็ต้องถือว่าความเสียหายดังกล่าวเป็นผลโดยตรงอันเกิดจากความประมาทเลินเล่อของ ป. อยู่นั่นเอง ไม่เป็นเหตุให้จำเลยที่ 2 พ้นความรับผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1638/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ขนส่งทางทะเลเมื่อสินค้าเสียหายจากการบรรจุและการขนส่งที่ไม่ระมัดระวังของผู้ส่ง
จำเลยที่ 1 และที่ 2 ว่าจ้างให้จำเลยที่ 3 ทำการขนส่งสินค้าที่บรรจุในตู้สินค้าทางเรือจากประเทศสิงคโปร์มายังท่าเรือกรุงเทพภายใต้เงื่อนไขแบบซีวาย/ซีวาย ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าสินค้าได้รับความเสียหายตั้งแต่ก่อนเปิดตู้สินค้าแล้ว เมื่อไม่ปรากฏว่าตู้สินค้าดังกล่าวอยู่ในสภาพผิดปกติหรือมีรอยชำรุดเสียหายที่จะแสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 3 ทำการขนส่งด้วยความประมาทเลินเล่อทำให้สินค้าถูกกระทบกระแทก จึงรับฟังได้ว่าความเสียหายนั้นเกิดขึ้นหรือเป็นผลจากเหตุอื่นที่มิใช่ความผิดหรือความประมาทเลินเล่อหรืออยู่ในความรู้เห็นของจำเลยที่ 3 จำเลยที่ 3 จึงไม่ต้องรับผิดเพื่อความเสียหายของสินค้านั้น ตาม พ.ร.บ. การรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 มาตรา 52 (13)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5730/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายระยะเวลาอุทธรณ์หลังพ้นกำหนด: เหตุสุดวิสัย vs. ความประมาทเลินเล่อของทนาย
ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาให้คู่ความฟัง เมื่อวันที่ 20 มกราคม 2547 ครบกำหนดอุทธรณ์วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2547 ในวันครบกำหนดอุทธรณ์จำเลยยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ออกไป 30 วัน ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์ถึงวันที่ 19 มีนาคม 2547 ต่อมาวันที่ 22 มีนาคม 2547 ซึ่งพ้นกำหนดระยะเวลาที่จะอุทธรณ์แล้ว จำเลยยื่นคำร้องขออนุญาตอุทธรณ์พร้อมยื่นอุทธรณ์อ้างเหตุว่าเป็นความผิดของทนายความที่ไม่ได้ติดตามดูสำนวนให้จำเลย ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมเห็นควรอนุญาตให้ตามขอ และมีคำสั่งรับอุทธรณ์ของจำเลย กรณีของจำเลยดังกล่าวเป็นกรณีที่ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ภายหลังจากที่กำหนดระยะเวลาอุทธรณ์ได้สิ้นสุดแล้ว ซึ่งจำเลยจะขอขยายระยะเวลาได้เฉพาะในกรณีที่มีเหตุสุดวิสัยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 23 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 การที่ทนายจำเลยไม่ได้ติดตามดูสำนวนให้จำเลยเป็นความประมาทเลินเล่อของทนายจำเลย ไม่เป็นเหตุสุดวิสัยอันจะทำให้จำเลยมีสิทธิยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์เมื่อสิ้นระยะเวลาอุทธรณ์แล้วได้ ศาลชั้นต้นจึงไม่มีอำนาจสั่งขยายระยะเวลาอุทธรณ์ให้จำเลย เมื่อจำเลยยื่นอุทธรณ์ในวันที่ 22 มีนาคม 2547 จึงเกินกำหนดระยะเวลาขยายระยะเวลาอุทธรณ์ คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้รับอุทธรณ์ของจำเลยจึงไม่ชอบ การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิจารณาพิพากษาอุทธรณ์ของจำเลยและที่ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของจำเลยก็ไม่ชอบเช่นกัน ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 254/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความล่าช้าในการขอสำเนาคำพิพากษาเป็นเหตุให้ไม่ขยายเวลาอุทธรณ์ได้ หากเกิดจากความประมาทเลินเล่อของทนายความ
คดีนี้ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาตั้งแต่วันที่ 24 ธันวาคม 2544 แม้ทนายจำเลยจะได้ยื่นคำแถลงขอถ่ายสำเนาคำพิพากษาไว้ตั้งแต่วันที่ 22 มกราคม 2545 และยังไม่ได้รับสำเนาคำพิพากษา แต่ปรากฏว่าเมื่อวันที่ 31 มกราคม 2545 เจ้าหน้าที่ศาลได้บันทึกไว้ในคำแถลงของจำเลยดังกล่าวว่าได้ดำเนินการถ่ายเอกสารให้แก่จำเลยเสร็จแล้วและยังปรากฏจากรายงานเจ้าหน้าที่ฉบับลงวันที่ 31 มกราคม 2545 อีกว่า โจทก์ได้มาติดต่อขอรับสำเนาคำพิพากษาจากศาลไปแล้ว ดังนี้ทนายจำเลยย่อมสามารถมาติดต่อขอรับสำเนาคำพิพากษาได้ตั้งแต่วันดังกล่าวเช่นกัน แต่จำเลยกลับปล่อยเวลาให้ล่วงเลยไปโดยมาติดต่ออีกครั้งในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2545 แสดงให้เห็นว่าทนายจำเลยไม่เอาใจใส่ที่จะมาติดต่อขอรับสำเนาคำพิพากษาอย่างจริงจัง ที่ทนายจำเลยอ้างว่า เพิ่งได้รับสำเนาคำพิพากษา จึงยื่นอุทธรณ์ไม่ทันเพราะมีกำหนดระยะเวลาตามที่ศาลอนุญาตขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ไว้แล้วเหลือเพียง 7 วันนั้น จึงเป็นเพราะความบกพร่องของทนายจำเลยเอง ถือไม่ได้ว่าเป็นกรณีที่มีความจำเป็นและเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมที่จะขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ให้แก่จำเลยอีกต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9140/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์: เหตุผลความประมาทเลินเล่อและเจ็บป่วยไม่ถือเป็นเหตุสุดวิสัย
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ถึงวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2544 คำสั่งศาลชั้นต้นได้เขียน วันที่ไว้ชัดเจนแล้ว การที่ทนายจำเลยไม่มาดูคำสั่งศาลด้วยตนเองเป็นความประมาทเลินเล่อของทนายจำเลย และการที่ทนายจำเลยเจ็บป่วยเป็นลมหน้ามืดต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2544 ซึ่งเป็นวันสุดท้ายของการยื่นอุทธรณ์ ก็ไม่เป็นเหตุสุดวิสัยเพราะศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์ตั้งแต่วันที่ 18 มกราคม 2544 ทนายจำเลยทราบคำสั่งแล้ว ย่อมมีเวลาพอที่จะทำอุทธรณ์ยื่นต่อศาลได้ทันตามกำหนดเวลา แม้ทนายจำเลยป่วยจำเลยก็สามารถตั้งทนายความคนใหม่เรียงอุทธรณ์ให้ได้ กรณีจึงไม่มีพฤติการณ์พิเศษและไม่ใช่เหตุสุดวิสัยอันจะทำให้จำเลยมีสิทธิยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ได้เมื่อสิ้นสุดระยะเวลาอุทธรณ์แล้ว ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 23 ประกอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 15
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลย จำเลยได้อุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยืนตาม คำปฏิเสธของศาลชั้นต้นแล้ว คำสั่งนี้เป็นที่สุดตาม ป.วิ.อ. มาตรา 198 ทวิ วรรคท้าย
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลย จำเลยได้อุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยืนตาม คำปฏิเสธของศาลชั้นต้นแล้ว คำสั่งนี้เป็นที่สุดตาม ป.วิ.อ. มาตรา 198 ทวิ วรรคท้าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7154/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้าม: จำเลยที่ 2 ไม่ยกประเด็นความประมาทเลินเล่อในคำให้การ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 ให้ร่วมรับผิดในมูลละเมิดของจำเลยที่ 1 ตามสัญญาประกันภัยค้ำจุน จำเลยที่ 2 มิได้ยกประเด็นที่ฎีกาว่าพยานหลักฐานโจทก์ไม่มีน้ำหนักรับฟังว่าจำเลยที่ 1 ขับรถยนต์ด้วยความประมาทเลินเล่อขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การของตน คดีในส่วนของจำเลยที่ 2 จึงไม่มีประเด็นดังกล่าวมาแต่ต้นการที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 วินิจฉัยว่าจำเลยที่ 1 ประมาทเลินเล่อทำละเมิดต่อโจทก์นั้น เป็นการวินิจฉัยตามข้อต่อสู้ของจำเลยที่ 1เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ได้ฎีกา ประเด็นดังกล่าวจึงยุติตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 แม้จำเลยที่ 2 จะอ้างมาในฎีกาว่าพยานเอกสารบางฉบับเข้าสู่สำนวนโดยมิชอบ ก็ถือว่าเป็นปัญหาในเรื่องนอกประเด็นตามคำให้การ ฎีกาของจำเลยที่ 2 จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลล่างทั้งสอง ต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7108/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของพนักงานต่อความเสียหายจากความประมาทเลินเล่อในการรักษาความปลอดภัยของทรัพย์สิน
ตู้นิรภัยมีลูกกุญแจใช้ประจำรวม 2 ดอก โดยจะต้องไขพร้อมกันจึงจะเปิดตู้นิรภัยได้ และมีระเบียบว่าด้วย การรับ การจ่าย การเก็บรักษา และการนำส่งเงิน กำหนดให้หัวหน้ากองคือโจทก์ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาหน่วยการเงินหรือผู้ที่หัวหน้ากองมอบหมายถือกุญแจไว้ 1 ดอก และหัวหน้าหน่วยการเงินถือไว้ 1 ดอก ห้ามผู้หนึ่งผู้ใดถือพร้อมกันทั้ง 2 ดอก แต่โจทก์ไม่ได้ถือลูกกุญแจไว้เลย กลับได้มอบให้ น.ผู้ใต้บังคับบัญชาเก็บไว้ทั้ง 2 ดอก โดยโจทก์มิได้ให้ ผู้ใต้บังคับบัญชาถือกุญแจแยกไว้คนละดอกตามระเบียบ ซึ่งเป็นกรณีที่โจทก์สามารถใช้ความระมัดระวังปฏิบัติให้ ถูกต้องตามระเบียบได้ แต่หาได้ใช้ให้เพียงพอไม่ การที่โจทก์ฝ่าฝืนระเบียบดังกล่าวจนเป็นเหตุให้คนร้ายสามารถจี้บังคับ น.ให้เปิดตู้นิรภัยเอาเงินที่เก็บไว้ไปได้ จึงเกิดจากความประมาทเลินเล่อของโจทก์ มิใช่เหตุสุดวิสัย โจทก์จึงต้องรับผิดชดใช้ความเสียหายที่เกิดขึ้น
การที่พนักงานฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับของบริษัทจำเลย แม้จำเลยผู้เป็นนายจ้างจะไม่คัดค้าน ก็ไม่ทำให้การ ฝ่าฝืนระเบียบนั้นกลับกลายเป็นการกระทำที่ชอบด้วยระเบียบขึ้นมาไม่ เมื่อโจทก์ปฏิบัติฝ่าฝืนระเบียบของจำเลยจน ก่อให้เกิดความเสียหายแก่จำเลย โจทก์ก็ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดขึ้นให้แก่จำเลย
การที่พนักงานฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับของบริษัทจำเลย แม้จำเลยผู้เป็นนายจ้างจะไม่คัดค้าน ก็ไม่ทำให้การ ฝ่าฝืนระเบียบนั้นกลับกลายเป็นการกระทำที่ชอบด้วยระเบียบขึ้นมาไม่ เมื่อโจทก์ปฏิบัติฝ่าฝืนระเบียบของจำเลยจน ก่อให้เกิดความเสียหายแก่จำเลย โจทก์ก็ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดขึ้นให้แก่จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2390/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความประมาทเลินเล่อของทนาย, เหตุสมควรยกฟ้อง, การไม่แจ้งศาล, และผลกระทบต่อการพิจารณาคดี
ทนายโจทก์ทราบวันนัดสืบพยานโจทก์โดยชอบแล้วแต่มาถึงศาลชั้นต้นซึ่งเป็นเวลาอันเลยกำหนดนัดไปแล้วหนึ่งชั่วโมงครึ่งเนื่องจากรถยนต์ของทนายโจทก์มีเหตุขัดข้อง ทนายโจทก์สามารถจอดรถไว้ข้างทางแล้วรีบโทรศัพท์แจ้งศาลทราบทันที หรือมิฉะนั้นก็รีบเดินทางมาศาลด้วยรถยนต์รับจ้างได้ แต่ทนายโจทก์มิได้ดำเนินการดังกล่าวแต่อย่างใด แสดงให้เห็นว่าทนายโจทก์ไม่เอาใจใส่หรือเล็งเห็นถึงความสำคัญในเวลานัดของศาล กรณีไม่มีเหตุสมควรให้ยกคดีขึ้นพิจารณาใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3778/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความประมาทเลินเล่อของทนายจำเลยในการจำวันนัดไต่สวน มิอาจยกเป็นเหตุสมควรขอไต่สวนใหม่ได้
ทนายจำเลยทราบวันนัดในคดีนี้เป็นอย่างดีแล้ว ทั้งเมื่อถึงวันนัดไต่สวนดังกล่าว ทนายโจทก์มาศาลตามนัดและศาลชั้นต้นก็ออกนั่งพิจารณาตามเวลาที่นัดแต่ฝ่ายจำเลยกลับไม่มาศาล การจำวันนัดหรือลงวันนัดผิดพลาดเป็นความประมาทเลินเล่อของทนายจำเลยเอง ซึ่งมิได้ใช้ความละเอียดรอบคอบให้สมกับเป็นผู้ประกอบวิชาชีพที่เป็นที่ไว้วางใจของประชาชน ซึ่งหากทนายจำเลยบันทึกวันเวลาที่นัดหมายลงในสมุดนัดความโดยตรวจสอบจากรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นก่อนข้อผิดพลาดเช่นนี้ย่อมไม่มีทางที่จะเกิดขึ้นได้ ความผิดพลาดอันเกิดจากความประมาทเลินเล่อของทนายจำเลยเองเช่นนี้ มิใช่เหตุสมควรที่จะยกขึ้นอ้างเพื่อขอให้มีการยกคดีขึ้นไต่สวนได้อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6992/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับช่วงสิทธิของผู้รับประกันภัย, ความประมาทเลินเล่อร่วม, และการระงับข้อพิพาท
กรณีที่รถยนต์เกิดชนกัน ม.และจำเลยได้ทำบันทึกตกลงต่อหน้าพนักงานสอบสวนว่า แต่ละฝ่ายจะนำรถของตนไปซ่อมเองโดย ม. จะให้โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยรับไปดำเนินการซ่อมและไม่ติดใจเรียกร้องค่าเสียหายกันอีกต่อไป แสดงว่า ม. เจ้าของรถยังมีความประสงค์ที่จะได้รับการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนความเสียหายที่รถของตนได้รับโดยให้ผู้รับประกันภัยเป็นผู้รับผิดชอบ จึงไม่เป็นข้อตกลงในการระงับข้อพิพาทให้เสร็จไปด้วยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กันตามลักษณะของสัญญาประนีประนอมยอมความ เพราะข้อตกลงดังกล่าวไม่ได้ทำให้การชดใช้ค่าสินไหมทดแทนสิ้นสุดลง และไม่ใช่การสละสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน เป็นแต่เพียงการเปลี่ยนตัวผู้ที่จะใช้สิทธิเรียกร้องเท่านั้นเมื่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยได้จัดการซ่อมรถคันที่เอาประกันภัย โจทก์จึงได้รับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัยที่จะเรียกร้องให้จำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนที่โจทก์ได้ชดใช้ไป โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
เหตุที่รถชนกันเกิดความเสียหายเกิดจากความประมาทเลินเล่อของทั้งจำเลยและ ม. ไม่ยิ่งหย่อนกว่ากัน ม. จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากจำเลย และโจทก์ในฐานะผู้รับประกันภัยรถของ ม. ย่อมไม่สามารถรับช่วงสิทธิจาก ม. เรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้
เหตุที่รถชนกันเกิดความเสียหายเกิดจากความประมาทเลินเล่อของทั้งจำเลยและ ม. ไม่ยิ่งหย่อนกว่ากัน ม. จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากจำเลย และโจทก์ในฐานะผู้รับประกันภัยรถของ ม. ย่อมไม่สามารถรับช่วงสิทธิจาก ม. เรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้