พบผลลัพธ์ทั้งหมด 11 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3000/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานออกเช็คโดยไม่มีเงินในบัญชี แม้ผู้ถือหุ้นและกรรมการผู้จัดการเป็นผู้เสียหายก็ยังฟ้องร้องได้
จำเลยที่ 1 และโจทก์ร่วมมีฐานะเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดแยกต่างหากจากกัน แม้ว่าขณะเกิดเหตุจำเลยที่ 2 ในนามของจำเลยที่ 1 เข้าเป็นผู้ถือหุ้นของโจทก์ร่วม และจำเลยที่ 2 ยังเป็นกรรมการผู้จัดการของโจทก์ร่วมก็ตาม แต่เมื่อจำเลยที่ 2 และที่ 3 ลงลายมือชื่อและประทับตราของจำเลยที่ 1 ร่วมกันออกเช็คพิพาทตามฟ้องเพื่อชำระหนี้ค่าจ้างพิมพ์ปฏิทิน และขณะธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คพิพาททั้งสี่ฉบับนั้น บริษัทโจทก์ร่วมเป็นผู้ทรงเช็คและเป็นผู้ได้รับความเสียหายเช่นนี้ จำเลยทั้งสามย่อมเป็นผู้ร่วมกันกระทำความผิดตามมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3000/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานออกเช็คโดยไม่มีเงินเพียงพอ แม้มีส่วนได้ส่วนเสียในบริษัทผู้รับเช็คก็ไม่อยู่ในฐานะผู้เสียหาย
จำเลยที่ 1 และโจทก์ร่วมมีฐานะเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดแยกต่างหากจากกัน แม้ว่าขณะเกิดเหตุจำเลยที่ 2 ในนามของจำเลยที่ 1 เข้าเป็นผู้ถือหุ้นของโจทก์ร่วม และจำเลยที่ 2 ยังเป็นกรรมการผู้จัดการของโจทก์ร่วมก็ตาม แต่เมื่อจำเลยที่ 2 และที่ 3 ลงลายมือชื่อและประทับตราของจำเลยที่ 1 ร่วมกันออกเช็คพิพาทตามฟ้องเพื่อชำระหนี้ค่าจ้างพิมพ์ปฏิทิน และขณะธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คพิพาททั้งสี่ฉบับนั้น บริษัทโจทก์ร่วมเป็นผู้ทรงเช็คและเป็นผู้ได้รับความเสียหายเช่นนี้ จำเลยทั้งสามย่อมเป็นผู้ร่วมกันกระทำความผิดตามมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 ดังนั้น จำเลยที่ 1 จึงมิใช่อยู่ในฐานะผู้เสียหายด้วยแต่อย่างใด โจทก์ร่วมสามารถดำเนินการเพื่อนำคดีมาสู่ศาลได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5829/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้กู้ยืมที่ไม่สมบูรณ์ตามกฎหมาย และผลต่อความผิดฐานออกเช็คโดยไม่มีเงินในบัญชี
วันออกเช็คตาม พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ คือวันที่ลงในเช็ค ส่วนวันที่เขียนเช็คหาใช่วันออกเช็คไม่ หนังสือสัญญากู้ยืมเงินเอกสารหมาย จ.1 อันเป็นตราสารที่โจทก์อ้างเป็นพยานได้ปิดอากรแสตมป์แล้วแต่ไม่มีการขีดฆ่าอากรแสตมป์ จึงต้องถือว่าหนังสือสัญญากู้ยืมเงินดังกล่าวไม่ปิดแสตมป์บริบูรณ์ ไม่อาจรับฟังเป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งได้ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 118 เมื่อหนี้เงินกู้ยืมระหว่างจำเลยและโจทก์มีจำนวนมากกว่าห้าสิบบาทและฟังไม่ได้ว่ามีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือลงลายมือชื่อจำเลยผู้กู้เช่นนี้หนี้ดังกล่าวจึงเป็นหนี้ที่ไม่สามารถบังคับได้ตามกฎหมายดังนั้น การที่จำเลยออกเช็คฉบับพิพาทมอบให้ผู้เสียหาย แม้จำเลยเป็นหนี้เงินกู้ตามจำนวนเงินตามเช็คดังกล่าวแก่ผู้เสียหายอยู่และออกเช็คนั้นชำระหนี้ให้แก่ผู้เสียหายก็ตาม แต่เมื่อหนี้นั้นไม่สามารถบังคับได้ตามกฎหมาย การกระทำของจำเลยย่อมขาดองค์ประกอบความผิดตาม พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 มาตรา 4
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2713/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเป็นผู้เสียหายในความผิดฐานออกเช็คโดยไม่มีเงินในบัญชี ต้องเป็นผู้ทรงเช็คโดยชอบด้วยกฎหมาย
แม้หนี้ตามสัญญาจะเนื่องมาจากต.ภริยาโจทก์นำบ้านและที่ดินซึ่งเป็นสินสมรสไปจำนองประกันหนี้ที่จำเลยกู้ยืมเงินจากธนาคารและโจทก์กับภริยาต้องชำระหนี้แทนจำเลยจึงเป็นเจ้าหนี้จำเลยร่วมกันแต่สัญญาพิพาทระบุว่าไว้โดยชัดแจ้งว่าจำเลยยืมเงินจากต.และชำระหนี้เป็นเช็ครวม4ฉบับซึ่งรวมเช็คพิพาทด้วยโจทก์ลงชื่อเป็นพยานเท่านั้นก็ต้องฟังว่าจำเลยยืมเงินจากต.และออกเช็คพิพาทชำระหนี้แก่ต. ไม่ได้ชำระหนี้ให้แก่โจทก์โจทก์จึงไม่ใช่ผู้ทรงเช็คโดยชอบด้วยกฎหมายย่อมไม่ใช่ผู้เสียหาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1525/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คแลกเงินสดไม่เป็นความผิดฐานออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่ไม่สมบูรณ์ตามกฎหมาย
การออกเช็คแลกเงินสดไม่เป็นการออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย อันจะเป็นความผิดตามมาตรา 4แห่ง พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4ซึ่งเป็นบทบัญญัติของกฎหมายที่บัญญัติในภายหลังที่จำเลยออกเช็คแลกเงินสด การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดต่อไป ตาม ป.อ.มาตรา 2 วรรคสอง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 666/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำเช็คเข้าบัญชีในวันสั่งจ่ายและการพิสูจน์ความผิดฐานออกเช็คโดยไม่มีเงินเพียงพอ
โจทก์อุทธรณ์ว่า โจทก์ไม่เห็นด้วยกับคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ศาลชั้นต้นเห็นว่าโจทก์นำเช็คไปเรียกเก็บเงินหลังวันสั่งจ่ายทั้งสองฉบับ ความจริงโจทก์นำเช็คไปเข้าบัญชีของโจทก์ในวันสั่งจ่ายที่ปรากฏในเช็คแต่ละฉบับ และว่าโจทก์ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องนำสืบให้เห็นว่า ในขณะออกเช็คถึงวันสั่งจ่าย ผู้สั่งจ่ายมีเงินในบัญชีไม่พอจะใช้เงินตามเช็คนั้น เพราะยังไม่ถึงวันสั่งจ่าย แม้จำเลยจะมีเงินในธนาคาร โจทก์ก็เบิกเงินตามเช็คไม่ได้ ดังนี้อุทธรณ์ของโจทก์ดังกล่าวพอแปลได้ว่า โจทก์ไม่เห็นด้วยในการที่ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าคดีโจทก์ไม่มีมูล จึงเป็นอุทธรณ์ที่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 193 แล้ว.(ที่มา-ส่งเสริม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 579/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาออกเช็ค - ความผิดฐานออกเช็คโดยเจตนาไม่ให้ใช้เงิน ต้องพิสูจน์เจตนา
การที่จะเป็นความผิดฐานออกเช็คโดยเจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็คนั้น มิใช่ว่าเมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินแล้ว ก็เกิดเป็นความผิดเสมอไป กรณีจะต้องปรากฏด้วยว่าเช็คที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินนั้น จำเลยได้ออกด้วยเจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็คด้วย เจตนาดังกล่าวเป็นข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบความผิด ดังนั้น เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ในวันที่จำเลยสั่งจ่ายเช็คหรือวันออกเช็ค จำเลยเป็นเจ้าหนี้ธนาคารอยู่เป็นจำนวนเงินสูงกว่าจำนวนเงินตามเช็คที่จำเลยสั่งจ่ายซึ่งถือไม่ได้ว่าจำเลยออกเช็คโดยมีเจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็คนั้น เช่นนี้การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิด (อ้างฎีกาที่ 259/2513)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 411/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะผู้ทรงเช็คเมื่อนำเช็คเข้าบัญชีผู้อื่น และการเป็นผู้เสียหายในความผิดฐานออกเช็คโดยไม่มีเงิน
จำเลยยืมเงินจากโจทก์ และออกเช็คสั่งจ่ายเงินแก่ผู้ถือมอบให้โจทก์ไว้เพื่อชำระหนี้ โจทก์ย่อมเป็นผู้ทรงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 904 ต่อมาโจทก์นำเช็คเข้าบัญชีผู้อื่น โดยยื่นเช็คต่อธนาคารให้เรียกเก็บเงินเองตราบที่เรียกเก็บเงินไม่ได้ และโจทก์ไม่ได้โอนเช็คให้ผู้หนึ่งผู้ใดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 918 โจทก์ย่อมเป็นผู้ทรงเช็คนั้นอยู่ เมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินมายังโจทก์ โจทก์จึงเป็นผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(4)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2295/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานออกเช็คไม่มีเงินรองรับ แม้มีการนำเงินฝากภายหลัง แต่ไม่ใช่การชำระหนี้ตามกฎหมาย
จำเลยออกเช็คชำระหนี้ให้โจทก์ร่วมในท้องที่สถานีตำรวจนครบาลหลักสอง (ธนาคารศรีนคร จำกัด สาขาวงเวียนใหญ่ปฏิเสธการจ่ายเงิน) พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลหลักสองมีอำนาจสอบสวนได้
จำเลยออกเช็คให้โจทก์ร่วมเพื่อชำระหนี้ โจทก์ร่วมเรียกเก็บเงินตามเช็คไม่ได้ เพราะธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน เนื่องจากบัญชีจำเลยปิดแล้ว การกระทำของจำเลยย่อมเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2497 มาตรา 3 แม้ต่อมาจำเลยจะนำเงินไปฝากกับธนาคาร ธนาคารรับฝากเงินจำเลยไว้และออกใบรับให้ก็ตาม แต่เมื่อจำเลยไม่ได้นำเงินเข้าบัญชีจำเลย การฝากเงินของจำเลยดังนี้จึงไม่ใช่กรณีที่จำเลยนำเงินตามเช็คไปชำระหนี้แก่ธนาคารเพื่อจ่ายเงินตามเช็คให้แก่โจทก์ร่วม ไม่ต้องด้วยมาตรา 5 วรรคท้ายแห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2497 ซึ่งแก้ไขโดยประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 196 ข้อ 1
จำเลยออกเช็คให้โจทก์ร่วมเพื่อชำระหนี้ โจทก์ร่วมเรียกเก็บเงินตามเช็คไม่ได้ เพราะธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน เนื่องจากบัญชีจำเลยปิดแล้ว การกระทำของจำเลยย่อมเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2497 มาตรา 3 แม้ต่อมาจำเลยจะนำเงินไปฝากกับธนาคาร ธนาคารรับฝากเงินจำเลยไว้และออกใบรับให้ก็ตาม แต่เมื่อจำเลยไม่ได้นำเงินเข้าบัญชีจำเลย การฝากเงินของจำเลยดังนี้จึงไม่ใช่กรณีที่จำเลยนำเงินตามเช็คไปชำระหนี้แก่ธนาคารเพื่อจ่ายเงินตามเช็คให้แก่โจทก์ร่วม ไม่ต้องด้วยมาตรา 5 วรรคท้ายแห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2497 ซึ่งแก้ไขโดยประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 196 ข้อ 1
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 89-90/2513
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คไม่มีวันออก สิทธิผู้ทรงเช็ค vs ความผิดฐานออกเช็ค การฟ้องเท็จ
ลักษณะความผิดฐานออกเช็คโดยเจตนาที่จะมิให้มีการใช้เงินตามเช็คหรือฐานออกเช็คโดยรู้อยู่แล้วว่าในขณะออกเช็คไม่มีเงินในบัญชีอันจะพึงจ่ายให้ได้นั้น สารสำคัญของความผิดทั้งสองฐานนี้อยู่ที่วันออกเช็คคือวันที่สั่งให้ธนาคารจ่ายเงินตามเช็คนั้น ถ้าเช็ครายใดผู้ออกเช็คไม่ได้ลงวันที่ออกเช็คก็ไม่มีทางที่จะให้ผู้ออกเช็คทราบได้ว่าจะให้มีการใช้เงินตามเช็คนั้นในวันใดซึ่งวันนั้นผู้ออกเช็คจะได้เตรียมเงินไว้ในบัญชีที่ธนาคารอันจะพึงจ่ายเงินตามเช็คนั้น หรืออีกนัยหนึ่งก็คือเช็คที่ไม่มีวันออกเช็ค ถือได้ว่าไม่มีวันที่ผู้ออกเช็คกระทำผิด แม้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 910 ประกอบกับมาตรา 989 จะให้สิทธิผู้ทรงเช็คไว้ว่า ถ้าเช็ครายใดมิได้ลงวันออกเช็ค ผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมายคนหนึ่งคนใดทำการโดยสุจริตจะจดวันที่ถูกต้องแท้จริงลงก็ได้นั้น กฎหมายเพียงแต่ให้เช็คฉบับนั้นเป็นเช็คที่มีรายการสมบูรณ์ตามกฎหมายฟ้องร้องบังคับคดีกันได้ในทางแพ่งเท่านั้น แต่หามีผลที่จะลงโทษผู้ออกเช็คในทางอาญา ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2497 มาตรา 3 อนุมาตรา (1) และ (2) ไม่
การที่ผู้ทรงเช็คฟ้องผู้ออกเช็คดังกล่าวในวรรคต้น จะถือว่านำความเท็จมาฟ้องต่อศาลว่าผู้ออกเช็คกระทำผิดอาญาไม่ได้เพราะมีเหตุที่ทำให้ผู้ทรงเข้าใจผิดว่า ผู้ทรงเช็คมีสิทธิในอันที่จะลงวันออกเช็คในเช็ครายพิพาทได้
การที่ผู้ทรงเช็คฟ้องผู้ออกเช็คดังกล่าวในวรรคต้น จะถือว่านำความเท็จมาฟ้องต่อศาลว่าผู้ออกเช็คกระทำผิดอาญาไม่ได้เพราะมีเหตุที่ทำให้ผู้ทรงเข้าใจผิดว่า ผู้ทรงเช็คมีสิทธิในอันที่จะลงวันออกเช็คในเช็ครายพิพาทได้