พบผลลัพธ์ทั้งหมด 28 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2086/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คพิพาท: ดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดทำให้หนี้บางส่วนเป็นโมฆะ ไม่ถือเป็นความผิดตาม พ.ร.บ. เช็ค
เช็คพิพาทที่จำเลยออกให้โจทก์เพื่อชำระหนี้ตามสัญญากู้ยืมมีมูลหนี้ที่มีอยู่จริงเพียง 200,000 บาท ส่วนอีก 100,000 บาท เป็นหนี้ที่โจทก์คิดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 8 ต่อเดือน อันเป็นการเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดรวมอยู่ด้วย ทั้งคำฟ้องโจทก์ก็มิได้บรรยายว่าจำนวนเงินต้นและดอกเบี้ยเป็นเท่าใด จำนวนเงินกู้ดังกล่าวจึงไม่อาจแยกเงินต้นและดอกเบี้ยออกจากกันได้ เมื่อจำนวนดอกเบี้ยที่เรียกเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดเป็นการฝ่าฝืนกฎหมายจึงตกเป็นโมฆะฟ้องบังคับมิได้ ดังนั้น การที่จำเลยออกเช็คพิพาทระบุจำนวนเงิน 300,000 บาท เพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่เพียง 200,000 บาท จึงไม่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ มาตรา 4
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7909/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คชำระหนี้แยกต่างหาก แม้ดอกเบี้ยผิดกฎหมายก็ไม่กระทบสิทธิรับต้นเงิน การออกเช็คจึงเป็นความผิดตาม พ.ร.บ. เช็ค
หนี้ต้นเงินกู้ยืมจำนวน 500,000 บาท ที่จำเลยออกเช็คพิพาทสั่งจ่ายให้แก่โจทก์กับดอกเบี้ยของต้นเงินกู้ยืมดังกล่าวอีกจำนวน7,500 บาท เป็นหนี้คนละส่วนแยกต่างหากจากกันได้ แม้จำนวนดอกเบี้ยที่โจทก์เรียกเก็บจากจำเลยจะเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดหรือเป็นการคิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ยก็คงมีผลแต่เพียงว่าโจทก์สิ้นสิทธิในการได้รับดอกเบี้ยที่คิดเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดหรือไม่อาจคิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ยเท่านั้นแต่หาได้สิ้นสิทธิที่จะได้รับต้นเงินกู้ยืมไม่ และหากจำเลยชำระดอกเบี้ยไปแล้วก็หาอาจที่จะเรียกคืนหรือนำไปหักจากต้นเงินกู้ยืมได้ไม่ เมื่อเช็คพิพาทที่จำเลยออกมิได้รวมดอกเบี้ยที่มิชอบเข้าไว้ด้วย การออกเช็คพิพาทของจำเลยจึงเป็นการออกเช็คชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5477/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญากู้ยืมเงินไม่ปิดอากรแสตมป์ ทำให้หนี้ไม่สามารถบังคับได้ตามกฎหมาย ส่งผลให้การออกเช็คชำระหนี้ไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ. เช็ค
เมื่อสัญญากู้ยืมเงินอันเป็นตราสารที่โจทก์อ้างเป็นพยานมิได้ปิดอากรแสตมป์จึงต้องถือว่าสัญญากู้ยืมเงินต้องห้ามมิให้นำมารับฟังเป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งตามประมวลรัษฎากรฯ มาตรา 118 เสมือนว่าการกู้ยืมเงินระหว่างผู้เสียหายกับจำเลยไม่มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือผู้เสียหายจะนำสัญญากู้ยืมเงินมาฟ้องบังคับจำเลยให้คืนเงินแก่ตนมิได้หนี้ดังกล่าวจึงเป็นหนี้ที่ไม่สามารถบังคับได้ตามกฎหมาย แม้ข้อเท็จจริงได้ความว่าจำเลยออกเช็คเพื่อชำระหนี้เงินกู้ให้แก่ผู้เสียหายแต่เมื่อหนี้นั้นไม่สามารถบังคับได้ตามกฎหมาย การออกเช็คของจำเลยจึงขาดองค์ประกอบความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ มาตรา 4
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4181/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงข้อตกลงหนี้และการออกเช็คชำระหนี้ใหม่ ย่อมทำให้จำเลยมีความผิดตาม พ.ร.บ. เช็ค
แม้เดิมจำเลยจะออกเช็คพิพาทเพื่อประกันหนี้ตามบันทึกข้อตกลงอันมีผลให้จำเลยไม่มีความผิดตามพระราชบัญญัติ ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ มาตรา 4 ก็ตาม แต่เมื่อ โจทก์ร่วมกับจำเลยตกลงยกเลิกบันทึกข้อตกลงดังกล่าวเสีย แล้วทำ บันทึกข้อตกลงกันใหม่ โดยตกลงให้นำเช็คพิพาทมาชำระหนี้ก็ต้องถือว่าจำเลยออกเช็คพิพาทเพื่อชำระหนี้ตามบันทึกข้อตกลงใหม่ อันเป็นหนี้ ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมายแล้ว กรณีหาใช่โจทก์ร่วมกับ จำเลยตกลงกันใหม่เพื่อไม่ให้คดีอาญาระงับไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3066/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อจะขายมีผลเมื่อธนาคารจ่ายเช็คค่าวางมัดจำ การออกเช็คก่อนเงื่อนไขไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ. เช็ค
จำเลยออกเช็คพิพาทให้แก่โจทก์เป็นค่าวางมัดจำตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินซึ่งจำเลยเป็นผู้จะซื้อที่ดินจากโจทก์สัญญาดังกล่าวมีข้อความข้อหนึ่งว่าสัญญาจะสมบูรณ์ต่อเมื่อเงินค่าวางมัดจำตามเช็คที่ผู้จะซื้อได้สั่งจ่ายให้แก่ผู้จะขายและธนาคารได้ชำระเงินเรียกเก็บตามเช็คที่ได้สั่งจ่ายเป็นที่เรียบร้อยให้แก่ผู้จะขายแสดงว่าโจทก์และจำเลยตกลงให้ถือเอาการที่ธนาคารจ่ายเงินตามเช็คพิพาทหรือไม่เป็นเงื่อนไขของการที่จะมีนิติสัมพันธ์กันตามสัญญาจะซื้อจะขายตราบใดที่ธนาคารยังไม่จ่ายเงินตามเช็คพิพาทสัญญาจะซื้อจะขายย่อมไม่มีผลบังคับดังนั้นขณะที่จำเลยออกเช็คพิพาทจึงยังไม่มีหนี้ระหว่างโจทก์และจำเลยแม้ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คพิพาทจำเลยก็ไม่มีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 772/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิยึดหน่วงการชำระเงินเช็คเมื่อผู้รับจ้างไม่ปฏิบัติตามสัญญา และผลต่อความผิดตาม พ.ร.บ. เช็ค
จำเลยสั่งจ่ายเช็คพิพาทสองฉบับชำระค่าจ้างถมดินทำถนนให้ส. โดยสัญญาว่าจ้างระบุว่าถ้าส. ผู้รับจ้างถมที่ดินไม่เสร็จภายในเวลาที่กำหนดจำเลยผู้ว่าจ้างสามารถอายัดเช็คทั้งสองฉบับได้โดยไม่มีเงื่อนไขใดๆทั้งสิ้นดังนี้เมื่อส. มิได้ถมดินให้แล้วเสร็จภายในเวลาที่กำหนดตามสัญญาจำเลยย่อมมีสิทธิยึดหน่วงการชำระเงินตามเช็คทั้งสองฉบับได้ตามกฎหมายรวมทั้งมีสิทธิอายัดการใช้เงินตามเช็คทั้งสองฉบับต่อธนาคารตามสัญญาอันเป็นการใช้สิทธิโดยชอบด้วยกฎหมายและการที่ส. ถมดินทำถนนไม่เสร็จภายในเวลาที่กำหนดตามสัญญาส. ย่อมไม่อาจบังคับให้จำเลยชำระหนี้เต็มตามสัญญาได้แม้จำเลยจะสั่งจ่ายเช็คสองฉบับแต่เป็นการชำระหนี้ตามสัญญาในมูลหนี้อันเดียวกันไม่สามารถแบ่งแยกกันได้การออกเช็คของจำเลยจึงเป็นการออกเช็คชำระหนี้ที่ไม่อาจบังคับได้ตามกฎหมายตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ.2534มาตรา4ระคนอยู่ในจำนวนหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมายจำเลยจึงไม่มีความผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3722/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดตาม พ.ร.บ. เช็ค ต้องมีหนี้บังคับได้ตามกฎหมาย แม้มีหลักฐานหลังออกเช็คก็ไม่พอ
การกระทำใดจะมีมูลความผิด ตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 จะต้องพิจารณาได้ความว่า มีหนี้ที่จะต้องชำระก่อนและหนี้นั้นจะต้องบังคับได้ตามกฎหมาย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 653 และได้มีการออกเช็คเพื่อชำระหนี้ดังกล่าวนั้น การที่จำเลยได้ยืมเงินโจทก์ไปจำนวน100,000 บาท โดยไม่มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือแต่อย่างใด ต่อมาจำเลยได้ออกเช็คสั่งจ่ายเงิน 100,000 บาท เพื่อชำระหนี้ให้แก่โจทก์โดยในวันออกเช็คจำเลยได้บันทึกไว้ด้วยว่าจำเลยได้ออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่จำเลยได้กู้ยืมจากโจทก์ไว้แล้ว โจทก์มีเฉพาะเอกสารดังกล่าวฉบับเดียวที่อ้างเป็นหลักฐานว่าจำเลยได้กู้เงินโจทก์ ซึ่งได้กระทำขึ้นภายหลังที่ออกเช็คแล้ว แม้จะได้กระทำในวันเดียวกันก็ถือได้ว่าขณะที่จำเลยออกเช็คให้โจทก์นั้น แม้จะฟังว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์อยู่จริงแต่หนี้นั้นก็ไม่อาจบังคับได้ตามกฎหมาย การกระทำของจำเลยจึงขาดองค์ประกอบความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534มาตรา 4
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3722/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คชำระหนี้ที่ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ: ไม่เข้าความผิด พ.ร.บ. เช็ค
จำเลยออกเช็คสั่งจ่ายเงิน100,000บาทเพื่อชำระหนี้แก่โจทก์โดยจำเลยได้บันทึกด้วยว่าได้ออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่จำเลยได้กู้ยืมจากโจทก์โดยทำบันทึกดังกล่าวภายหลังที่ออกเช็คชำระหนี้แก่โจทก์แล้วแม้กระทำในวันเดียวกันก็ตามดังนี้แม้จำเลยเป็นหนี้โจทก์อยู่จริงแต่หนี้นั้นไม่อาจบังคับได้ตามกฎหมายจึงขาดองค์ประกอบความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 496/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คมีมูลหนี้ผิดกฎหมายจากดอกเบี้ยเกินอัตรา: จำเลยไม่ต้องรับผิดตาม พ.ร.บ. เช็ค
จำนวนเงินต้นในสัญญากู้ยืมเงิน ได้รวมดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดไว้ด้วย การที่จำเลยสั่งจ่ายเช็คเพื่อชำระหนี้ดังกล่าว จึงเป็นเช็คที่มีมูลหนี้ผิดกฎหมายไม่อาจบังคับชำระได้รวมอยู่ด้วย แม้ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คนั้น จำเลยก็ไม่มีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ. 2497 มาตรา 3
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คไม่มีวันที่ออก ผลต่อความผิดตาม พ.ร.บ. เช็ค และขอบเขตอำนาจศาลฎีกา
จำเลยที่ 2 ออกเช็คโดยไม่ลงวันออกเช็ค ย่อมถือว่าไม่มีวันที่จำเลยกระทำความผิด แม้ต่อมาจะมีการประทับตรายางวันที่ตามข้อตกลงกันก็มีผลทำให้เช็คนั้นสมบูรณ์มีรายการครบถ้วนตามกฎหมาย เพื่อใช้ฟ้องร้องบังคับคดีกันได้ในทางแพ่งเท่านั้น หาทำให้กลับเป็นความผิดตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2497มาตรา 3 ไม่ แม้จำเลยที่ 2 แต่ผู้เดียวฎีกา แต่การที่เช็คที่จำเลยร่วมกันออกไม่ลงวันที่ออกเช็คเป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดี ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่ 1 ที่มิได้ฎีกาให้มิต้องถูกลงโทษได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 213 ประกอบด้วยมาตรา 225.